อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยาม

อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยาม
พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ
ทรงพระนิพนธ์
พิมพ์ในงารพระราชทานเพลิงศพ
หม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณ ทจ. รัตน จ ป ร ๓.
ชายาในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร
เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙
พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

หม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณ ทจ.
พ.ศ. ๒๔๓๑–๒๔๖๗

คำนำ

อธิบายเบ็ดเตล็ดเรื่องต่าง ๆ ในพงศาวดารสยาม ซึ่งพิมพ์ในสมุดเล่มนี้ บางเรื่องข้าพเจ้าแต่งขึ้นในหนังสือเรื่องอื่น ได้พิมพ์แล้วก็มี บางเรื่องแต่งขึ้นไว้ ยังไม่ได้พิมพ์ก็มี คือ วินิจฉัยเรื่องพระเทียรราชา เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสั่งให้ข้าพเจ้าคิดวินิจฉัยขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ยังหาเคยพิมพ์ไม่ ที่เลือกเรื่องอธิบายเบ็ดเตล็ดของข้าพเจ้ามารวมพิมพ์ด้วยกันในครั้งนี้ เพื่อจะได้แจกในงารพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณ ธิดาของข้าพเจ้า ซึ่งเปนชายาในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนสิงรกรมเกรียงไกร

หม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๙ เดือน ธันวาคม ปีชวด พ.ศ. ๒๔๓๑ หม่อมนวมเปนมารดา พี่น้องของเธอที่ร่วมมารดาเดียวกัน คือ หม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม เปนพี่ใหญ่ ตัวเธอเปนคนกลาง จึงมักเรียกกันว่า “หญิงกลาง” หม่อมเจ้าหญิงสรรพสมบูรณ์เปนน้องน้อย เมื่อยังเยาว์ เธอได้เคยเปนนักเรียนในโรงเรียนสุนันทาลัยด้วยกันกับหญิงจงจิตรถนอม แต่เธอเปนนักเรียนชั้นเล็ก เรียนอยู่ได้ไม่ช้าก็ถึงเวลาโรงเรียนนั้นเลิก จึงสมัคตามหญิงจงฯ เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง หญิงจงฯ อยู่กับทูลกระหม่อมหญิงฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร แต่หญิงพร้อมฯ นั้น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าฯ ทรงพระกรุณาบำรุงเลี้ยงเอง ได้สนองพระคุณอยู่ใกล้ชิดติดพระองค์ จึงได้คุ้นเคยในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เห็นจะโปรดฯ มารยาทแลอัธยาศัยเธอ ครั้นเปนสาวขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีพระราชดำรัสขอ แล้วพระราชทานให้เปนชายาพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิชัยเฉลิมลาภ คือ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าแลเหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ ๓ เหมือนหม่อมเจ้าสะใภ้หลวงองค์อื่น ๆ

หม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณมีหม่อมเจ้าเปนบุตรธิดา ๖ องค์ คือ

 หม่อมเจ้าชายทรงวุฒิชัย

 หม่อมเจ้าชายอุทัยเฉลิมลาภ

 หม่อมเจ้าหญิงสุวภาพเพราพรรณ

 หม่อมเจ้าหญิง (โต) สิ้นชีพิตักษัยแต่ยังเยาว์

 หม่อมเจ้าชาย (พอ) สิ้นชีพิตักษัยแต่ยังเยาว์

 หม่อมเจ้าชาย สิ้นชีพิตักษัยแต่แรกเกิด

เรื่องประวัติของหม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณ ส่วนความประพฤติแลอัธยาศัยนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวคำรำพรรณลำบากอยู่ ด้วยเปนบิดาของเธอ แต่ถ้าว่าเพียงอย่างนี้ก็เห็นจะไม่เปนการยกย่องเหลือเกิน คือ ตั้งแต่ยังเยาว์มา เธอเปนหลานคนหนึ่งซึ่งคุณย่ารักมาก แลเปนลูกรักอย่างยิ่งคนหนึ่งของบิดามารดา ด้วยฉลาดแลอัธยาศัยสุภาพมาแต่เล็ก ไม่เคยทำความเดือดร้อนรำคาญแม้แต่เล็กน้อยให้แก่บิดามารดา แลเชื่อว่าความประพฤติของเธอเมื่อสนองพระคุณอยู่ในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าฯ ก็จะเปนที่ชอบพระหฤทัย ตั้งแต่พระราชทานเธอมาอยู่กับกรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร วังอยู่ใกล้ชิดติดกับบ้านข้าพเจ้า ไปมาหาสู่กันเนืองนิจ ก็ได้แลเห็นแต่ความรักใคร่ปรองดองโดยถูกอัธยาศัยกันแลกันจนสิ้นห่วงใยของข้าพเจ้า ยังความที่เอื้อเฟื้อต่อบุรพการีแลพี่น้องของเธอ แม้ในสมัยเมื่อเธอมีหน้าที่ของภรรยาแลของมารดาจะต้องประพฤติเปนวัตปฏิบัติอยู่แล้ว ก็มิได้ทอดทิ้งให้บกพร่องห่างเหริกว่าที่จำเปน จึงได้ทรงความรักใคร่นับถือของวงศญาติมาจนตลอดอายุของเธอ

หม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณเริ่มป่วยมาแต่คลอดบุตรสุดท้อง กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกรได้ทรงจัดการรักษาพยาบาลทุกอย่างที่จะพึงทำให้ได้ ทั้งด้วยอาศัยแพทย์แลพาแปรสถานไปเปลี่ยนอากาศ อาการฟื้นขึ้นบ้างแล้ว กลับซุดหนักลงเปนลำดับมา เมื่อเธอรู้ตัวว่าจะไม่รอด ทูลสั่งฝากลูกสิ้นห่วงแล้ว ก็ตั้งหน้าบำเพ็ญการกุศล อันกรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกรได้ทรงจัดให้เปนดังประสงค์ของเธอทุกอย่าง เปนต้นว่า หล่อพระพุทธรูป สร้างพระธรรม แลสงเคราะห์กุลบุตรให้ได้อุปสมบทสืบพระสาสนา พอเธอได้หล่อพระพุทธรูป แลกรมขุนสิงหวิกรมขอให้ช่างต่อยหุ่นในวันเดยวกันให้เธอให้ชมสมศรัทธาบูชาแล้ว ในวันนั้นก็สิ้นชีพิตักษัยเมื่อณวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๗ คำนวณชนมายุได้ ๓๕ ปี ๘ เดือน ๒๗ วัน

ขอท่านทั้งหลายที่ได้อ่านเรื่องประวัติของหม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณ จะเปนท่านผู้ที่ได้มีพระเดชพระคุณแก่เธอมาก็ดี หรือผู้ที่ได้ชอบชิดเปนมิตรเปนญาติก็ดี ที่สุดจนเปนสักแต่ว่าได้รู้จักกันก็ดี ข้าพเจ้าเชื่อว่า เธอมิได้เคยทำการอันใดให้มีผู้หนึ่งผู้ใดจองภัยเกลียดชัง แม้จะมีบ้างก็ดี ขอท่านทั้งปวงจงปลงพระไตรลักษณให้เกิดกุศลธรรมแล้วแผ่ส่วนกุศลแลให้อโหสิกรรมแก่เธอผู้ไปสู่ปรโลกแล้วตามอัธยาศัยเทอญ.

สภานายก
หอพระสมุดวชิรญาณ
วันที่ ๔ พฤษภาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๙

สารบารพ์
อธิบายเรื่องนามประเทศสยาม หน้า
อธิบายพระนามพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยา
อธิบายเรื่องพระมหาอุปราช ๒๓
อธิบายมูลเหตุที่ไทยมีไมตรีกับฝรั่ง ๓๑
พวกโปจุเกตออกมาถึงเมืองกาฬีกูฎในอินเดียครั้งแรก ๓๓
พวกโปจุเกตออกมาถึงเมืองกาฬีกูฎครั้งที่ ๒ ๔๓
พวกโปจุเกตออกมามีอำนาจในอินเดีย ๔๕
พวกโปจุเกตออกมาถึงเมืองมละกา ๔๖
พวกโปจุเกตตีได้เมืองมละกา ๔๗
โปจุเกตเข้ามาทำไมตรีกับไทย ๔๘
โปจุเกตทำไมตรีกับเมืองหงสาวดี ๔๙
อธิบายเรื่องพระเทียรราชาได้ราชสมบัติ ๕๑
ก. อธิบายเรื่องพงศาวดาร ๕๑
แสดงลำดับพงศาวดารเปนข้อ ๆ ๕๑
พงศาวดารที่แตกต่างกัน ๕๗
ข. วินิจฉัยเรื่องพระเทียรราชาได้ราชสมบัติ ๕๙
วินิจฉัยเรื่องสมเด็จพระไชยราชาสวรรคต ๕๙
วินิจฉัยเรื่องพระแก้วฟ้ารับรัชทายาท ๕๙
วินิจฉัยเรื่องผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ๖๑
วินิจฉัยเหตุที่พระเทียรราชาออกทรงผนวช ๖๒
วินิจฉัยเหตุที่ให้ช้างบำรูงา หน้า ๖๗
วินิจฉัยเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์คบชู้ ๖๘
วินิจฉัยเหตุที่ท้าวศรีสุดาจันทร์ตั้งขุนชินราชเปนขุนวรวงศาธิราช ๗๐
วินิจฉัยข้อว่าท้าวศรีสุดาจันทร์ให้เอาราชอาสน์ไปปูให้ขุนวรวงศาธิราช ๗๑
วินิจฉัยเหตุที่พระยามหาเสนาถูกแทงตาย ๗๑
๑๐ วินิจฉัยเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ให้ขุรวรวงศาธิราชว่าราชการแผ่นดิน ๗๒
๑๑ วินิจฉัยเหตุที่สมเด็จพระแก้วฟ้าถูกปลงพระชนม์ ๗๔
๑๒ วินิจฉัยเรื่องกำจัดขุนวรวงศาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์ ๗๗
๑๓ วินิจฉัยเรื่องขุนวรวงศาธิราชไปจับช้าง ๗๘
๑๔ วินิจฉัยอุบายที่กำจัดขุนวรศาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์ ๗๘
๑๕ วินิจฉัยลักษณะที่กำจัดขุนชินราช ๘๐
๑๖ วินิจฉัยเรื่องถวายสมบัติแก่พระเทียรราชา ๘๑
๑๗ วินิจฉัยเรื่องสมเด็จพระมหาจักรพรรดิปูนบำเหน็จ ๘๒
ค. ข้อความเบ็ดเตล็ดในเรื่องพระเทียรราชา ๘๓
การกำหนดเหตุการณ์ ๘๓
บุคคลที่ปรากฎนามในเรื่อง หน้า ๘๓
เรื่องไพร่พลของขุนวรวงศาธิราช หน้า ๘๖
ภูมิสถานบ้านเรือนที่กรุงศรีอยุธยา ๘๗
ง. เรื่องพระเทียรราชาได้ราชสมบัติ ๘๓
สมเด็จพระไชยราชาไปตีเมืองเชียงใหม่ ๘๗
พระไชยราชาสวรรคต ๘๘
๓ก. พระเทียรราชาออกทรงผนวช ๘๘
ท้าวศรีสุดาจันทร์ตั้งพันบุตรศรีเทพเปนขุนชินราช พนักงารเฝ้าหอพระ ๘๙
ท้าวศรีสุดาจันทร์ตั้งขุนชินราชเปนขุนวรวงศาธิราช ๙๐
ท้าวศรีสุดาจันทร์ให้ลอบฆ่าเจ้าพระยามหาเสนา ๙๑
ท้าวศรีสุดาจันทร์อุบายให้พระเทียรราชาทรงผนวช ๙๒
ท้าวศรีสุดาจันทร์คิดอุบายตั้งขุนวรวงศาธิราชเปนผู้บังคับการทหารล้อมวัง ๙๒
ขุนวรวงศาธิราชได้กำลังในราชการ ๙๒
สมเด็จพระแก้วฟ้าถูกวางยาพิษ ๙๓
๑๐ ขุนวรวงศาธิราชได้เปนผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ๙๔
๑๑ ขุนวรวงศาธิราชได้เปนพระเจ้าแผ่นดิน ๙๕
๑๒ พระเทียรราชาเสี่ยงเทียน ๙๕
๑๓ กำจัดขุนวรวงศาธิราช ๙๗
๑๔ พระเทียรราชาได้ราชสมบัติ หน้า ๙๘
๑๕ เจ้าเมืองฝ่ายเหนือคุมกำลังหัวเมืองลงมา ๙๙
๑๖ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิปูนบำเหน็จข้าราชการ ๙๙
ตำนานกฎหมายเมืองไทย ๑๐๐
วิธีตั้งกฎหมาย ๑๐๑
ศักราชที่ใช้ในกฎหมาย ๑๐๓
กฎหมายครั้งกรุงเก่า ๑๐๕
วิธีจัดหมวดกฎหมายครั้งกรุงเก่า ๑๑๑
คาถาธรรมศาสตรรามัญ ๑๑๓
คาถาธรรมศาสตรไทย ๑๑๕

  • พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
  • ตำบลถนนราชบพิธ จังหวัดพระนคร
  • วันที่ ๘ พฤษภาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๙

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก