แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)


ปก

ลง



ร้อยเอกสุจิต ศิกษมัต ได้มาแจ้งความจำนงต่อกรมศิลปากรว่า ในการปลงศพสนองคุณนางรอด จันทนะตระกูล ผู้เป็นยาย ณ เมรุวัดไตรมิตรวิทยาราม ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๘๑ นี้ มีความประสงค์จะตีพิมพ์หนังสือแจกเป็นที่ระลึกสักเรื่องหนึ่ง และโดยเหตุที่ร้อยเอกสุจิต ศิกษมิต เป็นนักศึกษาทางวรรณคดี จึงแสดงความประสงค์จะขออนุญาตตีพิมพ์เรื่อง “พระมาลัยคำหลวง” โดยเหตุผลสามประการ คือ เรื่อง “พระมาลัยคำหลวง” นี้เป็นวรรณคดีเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา มีค่าควรแก่การเก็บรักษาไว้เป็นประโยชน์แก่บรรดานักศึกษาวรรณคดีไทย ประการหนึ่ง เรื่องพระมาลัยเป็นเรื่องที่เนื่องในพระพุทธศาสนา นับว่าเหมาะแก่นิสัยของผู้ล่วงลับไป ประการหนึ่ง และเคยถือกันเป็นประเพณีนิยมใช้สวดหน้าศพ อีกประการหนึ่ง กรมศิลปากรประจักษ์ในเจตนาของร้อยเอกสุจิต ศิกษมิต ดังกล่าวนี้ จึงยินดีอนุญาตให้พิมพ์เรื่อง “พระมาลัยคำหลวง” ได้ตามความประสงค์


พระมาลัยคำหลวง


นิพนธ์


เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเจ้าฟ้ากุ้ง


_______________


พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ


คุณยายรอด จันทนะตระกูล


๒๒ เมษายน ๒๔๙๑



หน้า (๑)-(๔)

ขึ้นลง



คำนำ


_______________


“พระมาลัยคำหลวง” ที่ตีพิมพ์นี้ เข้าใจว่าเป็นนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เพราะปรากฏในต้นฉบับสมุดไทยตัวเขียนซึ่งมีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติหลายฉบับจดไว้ว่า “พระมาลัยคำหลวง” และฉบับหนึ่งกล่าวเป็นคำโคลงไว้ว่า

ผู้ใช้:Aristitleism/poem ผู้ใช้:Aristitleism/poem

และได้ความในบทสุดท้ายของ “พระมาลัยคำหลวง” นี้เองว่า

ผู้ใช้:Aristitleism/poem

ดังนี้ เป็นหลักฐานพอจะยุติได้ว่า คงจะเป็นนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เพราะยังมีหนังสือ “นันโทปนันทสูตรคำหลวง” เรื่องหนึ่งซึ่งเป็นนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเหมือนกัน ในนั้นอ้างศักราชไว้ว่า “พ.ศ. ๒๒๗๙”[1] เป็นอันทรงนิพนธ์ไว้ก่อน “พระมาลัยคำหลวง” ผิดกันเพียงปีเดียวเท่านั้น และคงจะนิพนธ์ในเวลาที่ทรงผนวชหรือภายหลังบ้างเล็กร้อย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรที่ทรงนิพนธ์หนังสือเรื่องนี้มักเรียกกันเป็นสามัญตามพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้ากุ้ง” เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าบรมโกศ ได้เป็นพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวร แต่ทิวงคตเสีย หาได้รับรัชทายาทไม่ ทรงเป็นกวีอย่างยอดเยี่ยมในครั้งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่ง นิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรที่ยังชอบร้องกันแพร่หลายต่อมาคือ “กาพย์เห่เรือ” นอกจากนี้ ยังมีหนังสือกาพย์กลอนที่ทรงนิพนธ์ไว้ คือ “กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง” และ “กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท” ซึ่งหอพระสมุดได้พิมพ์รวมเป็นเล่มเดียว ให้ชื่อว่า “ประชุมกาพย์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ นั้นแล้ว ในโอกาสที่ร้อยเอกสุจิต ศิกษมัต ได้จัดตีพิมพ์เรื่อง “พระมาลัยคำหลวง” ซึ่งเป็นนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรอีกเรื่องหนึ่งให้แพร่หลาย ก็เท่ากับรักษาวรรณคดีของไทยเราครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีอยู่น้อยฉบับและหาได้ยากไว้อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งนักศึกษาย่อมจะยินดีอนุโมทนา

ว่าโดยเฉพาะเรื่องพระมาลัย ตามที่รู้จักกันแพร่หลายก็คือ “พระมาลัยกลอนสวด” พระมาลัยนั้นในตำนานกล่าวว่าเป็นพระอรหันตเถระองค์สุดท้าย ว่าเกิดที่โรหณชนบท[2] ในเกาะลังกา ในเรื่องว่ามีอิทธิฤทธิ์ไปโปรดสัตว์ถึงในนรก และเหาะเหินเดินอากาศขึ้นไปบนสวรรค์ ได้พบกับพระศรีอาริยเมตไตรยซึ่งจะมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในภายหน้า ดังมีเรื่องอยู่ในคัมภีร์ชื่อว่า “มาลัยสูตร” ซึ่งเป็นคัมภีร์อยู่นอกนิบาต ไม่ได้รวมอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎก พิจารณาดูเค้าเรื่อง ค่อนไปข้างคติมหายาน เพราะทางมหายานมีพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งชื่อ พระกษิติครรภ เสด็จไปโปรดสัตว์ในนรกเสมอ จนถึงในพิธีกงเต๊กก็จะขาดรูปพระกษิติครรภไปหาได้ไม่ และโดยเหตุที่พระกษิติครรภมีลักษณะคล้ายกับพระมาลัย ต่างกันแต่องค์หนึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ อีกองค์หนึ่งเป็นพระอรหันต์เท่านั้น ในอานัมนิกายจึงขนานนามพระกษิติครรภ “พระมาลัย” นอกนี้ ที่ใน “มาลัยสูตร” กล่าวถึงพระศรีอาริยเมตไตรยก็มีเค้าไปข้างคติมหายาน ซึ่งนิยมอยู่ในเรื่องพระโพธิสัตว์ จนมหายานให้ชื่อว่า “โพธิสัตวยาน” ผิด...[3]



หน้าแทรก

ขึ้นลง



รอด จันทนะตระกูล
รอด จันทนะตระกูล


คุณยายรอด จันทนะตระกูล
เกิด พ.ศ. ๒๔๑๖   ตาย พ.ศ. ๒๔๙๑




หน้า (๕)-(๑๐)

ขึ้นลง



ประวัติ


_______________


คุณยายรอด จันทนะตระกูล ถึงแก่กรรมเมื่อวันพุธที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๙๑ เวลาประมาณ ๒๒ นาฬิกา ไม่มีใครทราบเวลาที่ท่านสิ้นลมโดยแน่นอน ไม่มีลูกหลานคนใดได้เห็นใจท่าน เพราะท่านนอนหลับแล้วสิ้นลมไปด้วยความสงบ อายุของท่านล่วงเข้าแปดสิบปี

คุณยายเป็นเด็กเกิดในบ้านพระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ์) ท่านเคยเล่าให้ลูกหลานฟังว่า บิดามารดาของท่านมีลูกหญิงไม่ได้ เป็นต้องตายเสียแต่ยังเยาว์หมด ฉะนั้น เมื่อท่านเกิด จึงให้ท่านไว้ผมแกละเพื่อจะให้ผีเกลียด และตั้งชื่อท่านว่า “รอด” เพื่อจะให้ท่านมีชีวิตรอดอยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง ไม่ตายเสียตั้งแต่เด็กเหมือนอย่างพี่ ๆ

ในครั้งนั้น มีเด็กรุ่นคุณยายอีกหลายคนเกิดและอาศัยอยู่ในบ้านพระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ์) เพราะท่านเจ้าของบ้านเป็นผู้ตั้งอยู่ในเมตตาจิต โอบเอื้ออุปถัมภ์ผู้พึ่งใบบุญโดยทั่วหน้า ทั้งบ้านที่อยู่ก็เป็นย่าน[4] ใหญ่ มีบริเวณกว้างขวาง เด็ก ๆ รุ่นคุณยายอยู่ในความปกครองของท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งชื่อ คุณเอม คุณยายเล่าว่า คุณยายมีวาสนาที่คุณเอกรักมากกว่าเพื่อน ข้าวของเงินทองอันใด ถ้าคุณเอมจะแบ่งให้เด็กรุ่นนั้นทีไร คุณยายเป็นต้องได้มากกว่าเพื่อน

การที่ได้เกิดและอยู่มาในบ้านพระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ์) นี้ นับว่าเป็นโชคของคุณยายที่จะได้ตั้งตนต่อมาโดยแท้ เพราะบ้านนั้นเป็นบ้านของปราชญ์ เป็นเหตุให้คุณยายได้พลอยประสบพบเห็นสิ่งแวดล้อมชีวิตที่ดีงามมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ได้พบเห็นและเกลือกกลั้วอยู่กับขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีที่ดีงามของไทยมานาน คุณยายได้ใกล้ชิดสนิทสนมกับลูกหลานในเครือตระกูลของพระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ์) หลายท่าน เช่น พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ์) ผู้เป็นบุตรพระยาศรีสุนทรโวหาร, คุณหญิงเพ็ง ภริยาพระยาศรีภูริปรีชา, พระยาคชนันทน์นิพัทธพงศ์[5] น้องของคุณหญิงพึ่ง, พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ์) และท่านผู้หญิงถวิล ธรรมศักดิ์มนตรี ซึ่งเป็นบุตรธิดาของพระยาศรีภูริปรีชาอันเกิดแต่คุณหญิงพึ่ง, คุณหญิงชื่น วรฤทธิ์ฦๅชัย เป็นต้น สิ่งแวดล้อมชีวิตดังกล่าวนี้เองได้สร้างสมเป็นนิสัยประจำตัวคุณยาย เป็นที่ประจักษ์แก่ลูกหลานในชั้นหลัง ๆ ว่า คุณยายเป็นผู้กว้างขวาง มีความเข้าใจในการสมาคมในยุคของท่านอย่างชำนิชำนาญ มีความจัดเจนต่อขนบประเพณีไทย และมั่นคงในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างดีเลิศ เป็นผู้มีนิสัยใจคอหนักแน่น เที่ยงธรรม มีเหตุผล รอบคอบ มีน้ำใจกว้างขวางโอบเอื้ออารีเผื่อแผ่ไปทั่ว มีความเฉลียวฉลาด เข้าสมาคมกับคนได้ทุกชั้น ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อคุณยายได้สมรสกับขุนสุภาทิพ (คุณตาโหมด จันทนะตระกูล) ผู้เป็นทนายความชั้นครูในยุคของท่านนั้น คุณยายจึงเป็นคู่สร้างที่คอยเสริมประโยชน์ให้แก่ทุกด้านทุกทาง ก่อร่างสร้างตัวกันมาจนเป็นฝั่งฝา เป็นที่รู้จักรักใคร่ในบรรดาเจ้านายและข้าราชการยุคนั้นเป็นอย่างดี

เมื่อสิ้นบุญคุณตา คุณยายก็ได้ใช้ความสามารถของท่านปกครองทรัพย์สมบัติ บ้านเรือน และลูกหลานให้ได้รับความสุขสืบต่อมา และได้รักษาน้ำใจอันกว้างขวางโอบอ้อมอารีไว้เสมอไม่เสื่อมคลาย ขณะใดมีงานมงคลหรืองานศพในรั้ววังบ้านเรือนใดที่คุณยายสนิทชิดเชื้อ คุณยายมักจะได้รับเชิญให้เป็นแม่งานทางด้านการต้อนรับเลี้ยงดูแขกเหรื่ออยู่เสมอ แม้จนการทำบุญสุนทานในวัดวาอาราม คุณยายก็มักจะได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินงาน คุณยายเป็นผู้ใฝ่ใจมั่นคงในพระบวรพุทธศาสนาอยู่แล้ว เมื่อมีการทำบุญในวัดคราวไร เป้นต้องลงทุนลงแรงอย่างไม่คิดถึงความเหนื่อยยาก ในชีวิตของคุณยายได้เป็นเจ้าภาพงานบวชนาค ทอดกฐิน ทอดผ้าป่าหลายครั้ง ได้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์มหาชาติหลายสิบครั้ง ได้จัดสร้างและบูรณะถาวรวัตถุ เช่น หอไตร กุฏิพระ ไว้ในอารามต่าง ๆ หลายแห่งด้วยกัน ยิ่งในบั้นปลายชีวิตของท่านแล้ว คุณยายยิ่งใช้ชีวิตใกล้ชิดกับวัดมากที่สุด เคยไปจำศีลภาวนาอยู่ตามวัดครั้งหนึ่ง ๆ ร่วมสิบกว่าวัน ในวันสุดท้ายก่อนที่คุณยายจะล้มเจ็บ ดูเหมือนจะเป็นวันออกพรรษา คุณยายก็ไปอยู่ที่วัดรักษาอุโบสถศีล พอตกเย็น รู้สึกไม่สบาย ฝืนกำลังกายไม่ไหวแล้ว จึงได้กลับบ้าน นับแต่วันนั้น คุณยายก็ล้มเจ็บและลุกไม่ขึ้นเรื่อยมาจนถึงวันมรณะ

เพราะเหตุที่คุณยายเป็นผู้มีความรอบคอบในการเป็นแม่บ้านและแม่งานดังกล่าวแล้ว แทนที่ผู้รู้จักมักคุ้นคุณยายจะเรียกชื่อคุณยายว่า “รอด” ตามชื่อที่แท้จริง กลับมากันเรียกเป็น “รอบ” ไปหมด ท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเคยปรารภถึงคุณยายว่า “ช่างรอบคอบสมชื่อเสียจริง ๆ”

คุณยายเป็นผู้มีเมตตาคุณอย่างประเสริฐ เป็นเมตตาคุณที่บริสุทธิ์ผุดผ่องจากน้ำจิตทีเดียว ที่กล่าวนี้มิใช่จะยกยอ เป็นความจริงที่บรรดาท่านที่มีน้ำใจสูงสะอาดได้เห็นพ้องและยกย่องทั่วกันแล้ว เมตตาคุณอันนี้ได้ผูกจิตใจลูกหลานและผู้ที่ได้ใกล้ชิดคุณยายไว้อย่างกระชับมั่น ท่านได้ให้ความอุปการะช่วยเหลือลูกหลานและผู้พึ่งพาอาศัยท่านด้วยเมตตาจิตอันแท้จริง นอกจากจะอำนวยความสุขสบายในการพักพิงแล้ว ยังคอยปลอบทุกข์ปลอบสุจปลุกใจให้มีมานะสร้างคุณงามความดีให้เป็นศรีแก่ตนอีกด้วย พูดได้ว่า ใครมีทุกข์ ถ้าได้อยู่ใกล้คุณยาย ทุกข์นั้นจะบรรเทา ใครหมดกำลังใจ ก็จะก่อเกิดพลังใจขึ้นใหม่ คุณยายมีวิธีพูดปลอบประโลมด้วยเหตุและผลที่น่าฟัง มีตัวอย่างดี ๆ มาสอนใจ ชวนให้คนเชื่อถือ และช่วยให้เกิดความสบายใจได้เป็นอย่างดียิ่ง คุณยายพยายามนำอุทาหรณ์ต่าง ๆ มาสั่งสอนลูกหลานอยู่เสมอ ให้เป็นคนมีสัตย์ธรรม ให้เป็นสุภาพชน ไม่เอาเปรียบใคร ให้ตั้งอยู่ในความกตัญญูกตเวที ให้มีความรักชาติบ้านเมือง ทุกคนที่รู้จักคุณยายจะเห็นแปลกทุกคนที่แม้คุณยายจะชราล่วงปูนเจ็ดสิบกว่าในตอนนั้นแล้ว ทั้งยังเป็นสตรีเพศอีกด้วย แต่กำลังของคุณยายเข้มแข็ง มั่นคงด้วยเหตุและผล มีความคิดทันสมัยอยู่เสมอ ในสมัยที่รัฐบาลไทยปลุกใจคนให้สร้างชาติสร้างวัฒนธรรม คุณยายเข้าใจและสนับสนุนเรื่องนี้เป็นอย่างดีที่สุด ได้ปฏิบัติตนส่งเสริมนโยบายนั้น และได้สั่งสอนลูกหลานให้เข้าใจและปฏิบัติตามโดยเต็มที่ คุณยายมักจะนำขนบธรรมเนียมประเพณีเก่า ๆ ของไทยมาเล่าให้ลูกหลานฟัง และสามารถจดจำบทกลอนในวรรณคดีไทยเก่า ๆ มาเล่าเป็นอุทาหรณ์ประกอบได้อย่างสนุกสนาน คุณยายชอบให้เด็กอ่านหนังสือวรรณคดีให้ฟังมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว หนังสืออย่างรามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี สามก๊ก และเรื่องพงศาวดารจีนเกือบทุกเรื่อง ท่านฟังเสียจนจดจำได้ขึ้นใจ นำมาเล่าให้ลูกหลานฟังได้อย่างคล่องแคล่วแม่นยำ รู้สึกว่า คุณยายค่อนข้างจะมีนิสัยชอบในทางวรรณคดีอยู่มาก เมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ท่านเคยตั้งความปรารถนาจะฝากฟังหลานชายซึ่งมีอายุได้ประมาณสักห้าถึงหกขวบให้เป็นศิษย์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ์) แต่ต่อจากนั้นเพียงเล็กน้อย พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ์) มาถึงแก่กรรมลงกะทันหัน คุณยายทราบข่าวนี้ในตอนเช้าตื่นนอน รู้สึกว่า ท่านมีความเสียใจจนเห็นได้ชัด

เนื่องด้วยคุณงามความดีของคุณยายดังกล่าวมาตลอดนี้ ประกอบด้วยกุศลเจตนาที่คุณยายมีต่อบุคคลทุกคน เมื่อคุณยายล่วงลับไป ทั้ง ๆ ที่ล้มเจ็บมาแรมปีถึงอายุขัยแล้ว บรรดาญาติและมิตรโดยทั่วไปก็ยากที่จะหักห้ามความเศร้าโศกเสียดายลงได้ คุณยายล้มเจ็บเป็นโรคหัวใจมาแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ มาถึงแก่กรรมในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑ รวมเวลาที่ล้มเจ็บตราบจนกระทั่งถึงแก่กรรมเป็นเวลาได้ห้าปี ระหว่างเวลาที่ล้มเจ็บได้อยู่ในความประคับประคองของลูกหลานและนายแพทย์เป็นอย่างดีตลอดมา

ในการปลงศพสนองคุณคุณยายครั้งนี้ บรรดาท่านที่ได้ประจักษ์ในคุณงามความดีของคุณยาย ตลอดจนมิตรสหายของลูกหลาน ได้พร้อมใจกันช่วยเหลือในงานเป็นอย่างดียิ่ง นับแต่วันตั้งศพที่บ้าน ซึ่งจะละเว้นความขอบคุณเสียมิได้ โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง “พระมาลัยคำหลวง” ที่ตีพิมพ์แจกเป็นที่ระลึกเล่มนี้ ก็ได้รับความกรุณาจากท่านที่เคารพและมิตรสหายของลูกหลายคุณยายหลายท่าน ดังเช่น ท่านอาจารย์พระยาอนุมานราชธน[6] อธิบดีกรมศิลปากร ได้เมตตาคัดตอน[7] ข้อความเกี่ยวกับเรื่องพระมาลัยซึ่งท่านได้เขียนไว้ในเรื่อง “เมืองสวรรค์” อันเป็นนิพนธ์เรื่องใหม่ของท่านส่งมาตีพิมพ์ประกอบ ช่วยให้หนังสือ “พระมาลัยคำหลวง” เล่มนี้ดีงามสมบูรณ์ขึ้นอีก ท่านอาจารย์พระพรหมพิจิตร[8] อาจารย์เอกในวิชาหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ได้กรุณาออกแบบและเขียนตัวหนังสือหน้าปกให้อย่างประณีตงดงาม คุณเหม เวชกร ซึ่งเป็นเสมือนหลานแท้ของคุณยาย ได้กรุณาเขียนภาพวิจิตรประกอบเรื่อง และรับทำแม่พิมพ์ทั้งภาพปกภาพแทรกให้โดยตลอด คุณอุดมและคุณประหยัด ชาตบุตร กรุณาให้ความช่วยเหลือเป็นหลักในการตีพิมพ์หนังสือนี้ คุณประยูร หอมวิไล เจ้าของโรงพิมพ์ไทยพานิชสาขา ได้กรุณาช่วยตีพิมพ์ภาพแทรกให้อย่างประณีต คุณสด กูรมะโรหิต และคุณนิยม โรหิตเสถียร ได้กรุณาจัดหากระดาษสำหรับทำปกและภาพแทรกส่งมาช่วย ส่วนกระดาษทองสำหรับใช้ทำปกบางเล่มก็ได้รับความเมตตาจากคุณชลอ รังควร ช่วยจัดหาให้ พระคุณของทุกท่านที่ได้เกื้อกูลตลอดมา ทั้งที่เอ่ยนามไว้ในที่นี้ หรือที่มิได้เอ่ยก็ตาม ล้วนเป็นพระคุณที่บริสุทธิ์สะอาด ยังความปลาบปลื้มปีติให้บังเกิดแก่ลูกหลานคุณยายยากที่จะเปรียบได้



หน้า ๑-๖

ขึ้นลง



พระมาลัยคำหลวง


_______________


นโม อันว่ากฤษฏาญชวลิตวา มม แห่งข้าผู้ภักดี อตฺถุ[9] ขอจงมีเนืองนิตย์ ตสฺส นาถสฺส แก่บพิตรอิศวรารัตน์ อันสรณัศแห่งตรีโลก อันข้ามโอฆอมรนิกรนรสบสัตว์ ภควโต ผู้ธรงศีลศรีสวัสดิ์ ชยัสดุมงคล สุวิมลวิบุลย์ อดุลยาวิเศษ อรหโต ผู้ตัดเกลศเย็นสมุจเฉทปหาน ผลาญกำสงสารให้หัก เผด็จกงจักสงสารให้ทำลาย าณาสินา ด้วยมารญาณหมายบั้นอุดม์ ดุจเล็งอาวุธ[10] ฟันฟาด ดุจอสนีบาตผลาดผลาญ จำราญให้ขาดคายเด็จ[11] สมฺมาสมฺพุทธสฺส พระสรรเพ็ชญ์ก็ตรัส ดำรัสไญยธรรมแท้ถ่อง โดยทำนองพุทธกิจ มิได้วิปริตนิจผล ดำกลเป็นแก่นสาร โดยอาการอันควร ล้วนทั้งมวลทุกประการ สมุปฺปจิตสมฺภารนิพฺพตฺตสยมฺภูาณน ด้วยสยัมภูญาณอันเลิศ ยังเกิดแต่โพธิสมภารวิสุทธิ์ อันพระพุทธได้ส่ำสม แต่บรมนายกาจารย์ เมืองมานได้สี่อสงไขย กำไรยิ่งแสนมหากัลป์ ทุกอันสรรพ์ได้บำเพ็ญ ถึงเบ็ญจมหาบริจาค อันยากที่ผู้จะทำได้ เธอก็ให้ด้วยง่าย จับจ่ายทรัพย์ด้วยงาม บเข็ดขามความประภาษ[12] องอาจฤไทยเสล...[13] สละ บอาทระแก่ชีวิต เธอปลิดปลงส่งเป็นทาน สำเร็จการจึ่งตรัสเสร็จ เป็นพระสรรเพ็ชญ์มุนี สูรโมลีปิ่นเกล้า เจ้าจอมโลกนี้แล


นโม


ผู้ใช้:Aristitleism/poem ผู้ใช้:Aristitleism/poem


จบนโม


ผู้ใช้:Aristitleism/poem ผู้ใช้:Aristitleism/poem

ขอถวายนมัสประนม เรณูบรมบทรัตน์ ด้วยทัศนขสโมธาน อลงการอภิวาท บรมนารถบพิตร วิชิตมารภิมต อลงกฎวิสุทธ์ พระจอมมกุฏมหัศจรรย์ อมรนรสรรพ์สูรพรหม บังคมบทบรรเจิด ประเสริฐสวัสดิมหิศโร โลเกษเชษฐไตรพิธ โมลิศจุธามณี ศรีสรรเพชดาญาณ สุคตปภาธมฺมํ อันว่านมัสการสุเบญจางค์ ด้วยอุตมางคศิโรเพศ โอนวรเกษวิสุทธ์ นบพระนวโลกุตรธรรม คืออำมฤตาโมทย์ หลั่งจากโอษฐ์ทิพยรศ พระศรีสุคตสมโพธิ คัมภิโรชสุขุมอรรถ อันนำสัตว์จากสงสารโลก สู่บทโมกข์เกษมศุข นฤทุกข์แท้บมีเทวษ นฤเภทแท้บมีไภย ไกลอริราชศัตรู อันกล่าวคืออกุศล ประทุษฐกลทุรยศ สํฆญฺจ นตฺวา ข้าขอประณตบงกชมาลย์ แห่งพระอัษฎารยาวิเศษ อันนฤเกลศผัด[14] แผ้ว นฤราคแร้วราคี ข้าก็สดุดีพุทโธรส สงฆสมมตสามรรถ ธรงพระจัตุปาริวิสุทธิ์ อุตมทฤษฎีเพท เป็นเกษตรเขตต์กุศล อันนรชนชื่นบาน ถวายซึ่งทานทักษิณา ให้ลุอิจฉาสัมฤทธิ์ ประสทธิ์สมบัติไตรพิธ ประนิตด้วยวรทาน อันอุตมานยิ่งไซร้ คิดสิ่งใดจึ่งได้ เสร็จซึ่งนฤพาน

สพฺพสุภมํคล อันว่าสรรพสวัสดิ์ แห่งพระรัตนไตรย จงมีในเศียรข้า จงศรัทธาทุกเมื่อ ด้วยเพื่อข้ากระทำนมัสการ โอนโมลีธารเทรอดเกษ ต่อพระเดชพระไตรรัตน์ ด้วยสักกัจจเคารพ นบอภิวันท์อคร้าว ข้าจะขอกล่าวตามพระบาลี ในคัมภีร์พระมาลัย ตามอัชฌาศรัยอัตโนมัติ ให้โสมนัสศรัทธา แก่นรนราสรพสัตว์ วิจิตรอรรถโดยไสมย อันจำเริญในมนัส ขอสรรพสวัสดิ์จงมี แก่ข้านี้ไซร้

ผู้ใช้:Aristitleism/poem ผู้ใช้:Aristitleism/poem

อติเต ถิร ติรตนปทิฏฺานภูเต ลงฺกาทีปสงฺขาเทํ[15] ตามฺพปณฺณียทีเป[16]

กษณนั้นดั่งจะฦาเลื่อง แต่บั้นเบื้องกาลไกล พระรัตนไตรยประดิษฐา ในลังกาทีปดามพ์[17] โรหนคามบริเวณ ปากโฏ มาลยเทวกฺเถโร นาม มีพระมหาเถระหนึ่งไซร้ ชลาไศรยแห่งหั้น ในบ้านนั้นส้องเสพ มาลัยเทพนามา มีศรัทธาประสิทธิ์ ท่านธรงฤทธิ์ประเสริฐ ปรีชาเลิศสามรรถ สุขุมอรรถสัจจา สิ้นราคาทิกิเลศ ศีลวิเศษสันโดษ ปองประโยชน์จะโปรดสัตว์ ธรงอรหัตต์อดุล ธรงคุณคัมภีรัตน์ ปรากฏสรัทการา ในศาสนามุนิวรณ์ ดั่งจันทร...[18] จรัส ปรัศว์พื้นคัคณา ยถาปิ โมคฺคลฺลาโน จ ดุจพระโมคคัลลาน์ล้นเลิศ ประเสริฐเมตตาจิตต์ เสด็จด้วยฤทธิสามรรถ ไปโปรดสัตว์นรกานต์ แล้วเห็จทยานทางสวรรค์ โปรดอมรรสรรพเทเวศร ด้วยธรรเมศประเสริฐ การุญเลิศลบสมัย เทวตฺเโร ชิโต ตถา ส่วนพระมาลัยเรืองฤทธิ์ ฤๅผิดเพียงพิมพ์เดียว ธโทนเที่ยวทรรเห็จ ครั้งหนึ่งเสด็จคลาไคล ยังต่ำใต้นรกานต์ หวังประทานความสวัสดิ์ จงจัดให้สูรัง[19] ครั้นสัตว์สั่งความอนาถ มาถึงญาติพงศ์พันธุ์ ให้ธรงธรรม์ธรับรอง ธปองมาแจ้งทุกสิ่ง หฤทัยยิ่งการุญญา ธพิจารณาฝูงสัตว์ ทนทุกข์สหัสสาหส กำสรดแสนสุดเทวศ ด้วยอาเภทผลกรรม ทำมาเองฤๅหยุด พหูคุโณ นรกานํ เทวนาญฺจ พหูคุโณ ธธรงคุณสุดสรวงสวรรค์ ทั้งนิริยันยมโลก หวังดับโศกโศกา ครั้งหน่งจราหรรเห็จ ลัดมือเด็ดเดียวผล นรกายลบทันนาน ด้วยกฤทธิญาณจำเรอญ ก็พัญเออญภูลสิงหาศน์ ปทุมมาศเท่ากงจักร พระองค์อรรคเสด็จนั่ง เป็นบัลลังก์ไพจิตร ธก็ทำฤทธิ์มหัศจรรย์ เย็นฝนสวรรค์เซงซู่ ดับเพลิงวู่วอดกาย ทำลายโลหกุมภี เป็นธุลีม้วยหมด แม่น้ำกรดแสบร้อน แห้งขอดข้อนเหือดหาย ภูเขาเพลิงกลายดับดาษ ไม้งิ้วขาดหนามขจัด

สรรพสัตว์นิรยา ดับทุกขาเกษมสานต์ วันทนาการกราบเกล้า พระเจ้ามาแต่ใด จึ่งมาให้ศุขแก่ข้า พระเถราพจนาท เรามาแต่ชาติมนุสสา ฝูงนรกาฟังข่าว อันธกล่าวเปรมปรีดิ์ จึ่งทูลคดีพระเป็นเจ้า จงโปรดเกล้าลัดตา บอกฐานาที่อยู่ ขอพระผู้เป็นเจ้า จงบอกเล่าแก่ญาติ แห่งข้าบาทอันมี ในบุรีชื่อนั้น ในบ้านอันชื่อนี้ ชนบทมีชื่อไกล บอกนามในบิตุเรศ[20] อยู่ประเทศที่นั้น นามพงศ์พันธุ์นานา บุตรธิดาสามี มาตุภคินีพี่ชาย ให้ทั้งหลายเร่งทำ กุศลกรรมส่งมา ให้บูชาพระพุทธ ธรรเมศอุดมเลิศ สงฆ์ประเสริฐศีลาจารย์ แล้วให้ทานยาจก ทักษิโณทกส่งมา แก่ฝูงข้าทุกทน จึ่งจะพ้นจากทุกขา

พระเถราฟังสาร รับพจมานทุกอัน ธเหาะหรรษ์ด้วยฤทธิรุด เถโร อาคนฺตวา ธคืนยังมนุษย์สถาน นำอาการพิบัติ มีแก่สัตว์นรกานต์ โดยวิตถารธแถลง กล่าวสำแดงแก่ชน ทั่วสากลมาฟัง เธอบอกตามสั่งฝูงญาติ ให้ชนชาติเร่งทำ กุศลกรรมบหึง อุทิศถึงพงศ์พันธุ์ จงฉับพลันอย่าช้า เขาจะพ้นทุกขาดูรดล

ครั้นฝูงชนได้ยินพระศาสน์ ว่าฝูงญาติทุกข์พิบัติ ก็โทมนัสร่ำไร ได้ฟังไภยในนรก ก็ตื่นตระหนกประพรั่น อภิวันทน์พระไตรสรณา ทำทานาทิกุศล บำเพ็ญผลบุญญา แล้วพงศาจึ่งอุทิศ กุศลอิฏฐ์ส่งให้ ขอจงได้แก่เผ่าพันธุ์ พ้นจากสรรพทุกขา ด้วยเดชาเราแผ่ผล กุศลทักษฺโณทุก ครั้นตกเมธนีธาร[21] ฝ่ายนรกานต์ปรีดา อนุโมทนาส่วนกุศล บัดสิ้นสกนธ์ชนมชาติ ด้วยเดชอาตม์อนุโมทน์ กุศลโสดอุบัติ ในทิพยรัตนพิมาน อันอลังการภิรมย์ สมบัติอุดมโอฬาร ไทธรงญานเสด็จถึง ยังไตรตรึงส์บนาน เห็นพัสถานเทเวศ อันพิเศษโดยอิษฏิ์ ด้วยกุศลฤทธิ์ส่งให้ อานุภาพในพระไตรรัตน์ ด้วย...[22] ศรัทธา พระเถราทฤษฎี แล้วก็จรลีบนาน มากล่าวสารแสดงให้ ชนแจ้งใจทุกอัน ดุจเห็นสวรรค์แก่ตา ชนศรัทธาสามารถ ในพระศาสน์สรรเพ็ชญ์ เร่งสำเร็จกุศลบุญ อันเพิ่มพูนบประมาท อุททิศถึงญาติเนืองนิตย์ จงจิตต์ใฝ่ในทาน ทุกทั่วสถานแหล่งไหล้ พร...[23] ได้ฟังพจน์ไท้ ท่านแจ้งทุกอัน



หน้าแทรก

ขึ้นลง



พระมาลัย
พระมาลัย


แม้นจักอุบัติชาติใด   อันความไร้พสุชาติ   อย่ามีในอาตม์แห่งข้า




หน้า ๖-๔๒

ขึ้นลง



แม่แบบ:พระมาลัยคำหลวง/๗


หน้า ๔๓-๔๕

ขึ้นลง



แม่แบบ:พระมาลัยคำหลวง/๔๓


หน้า ๔๖

ขึ้น






พิมพ์ที่ โรงพิมพ์อุดม ใกล้ ป.ณ. ป้อมปราบ พระนคร
นางประหยัด ชาตบุตร ผู้พิมพ์และผู้โฆษณา ๒๔๙๑







เชิงอรรถ แก้ไข

  1. ต้นฉบับเห็นไม่ชัด เลขสองตัวหลังอาจเป็น ๒, ๓, ๔, ๗, ๘ หรือ ๙ ก็ได้ แต่เลือกใช้ “๗๙” (“๒๒๗๙”) เพราะคำนำของกรมศิลปากรกล่าวต่อมาว่า พระมาลัยคำหลวง แต่งหลัง นันโทปนันทสูตรคำหลวง หนึ่งปี — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  2. ต้นฉบับว่า “โรหิชนบท” — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  3. ไม่มีหน้า (๔) ในต้นฉบับ — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  4. ต้นฉบับไม่ชัด อาจเป็น “บ้าน” — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  5. คือ พระยาคชนันทน์นิพัทธพงศ์ (ล้วน คชนันทน์) — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  6. คือ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  7. ต้นฉบับเห็นไม่ชัด อาจเป็น “คัดตอน”, “ตัดตอน”, “คัดทอน” หรือ “ตัดทอน” ก็ได้ — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  8. คือ พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  9. อาจเป็นคำอื่น เพราะต้นฉบับไม่ชัด — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  10. อาจเป็นคำอื่น เพราะต้นฉบับไม่ชัด — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  11. ต้นฉบับไม่ชัด สองคำหลังใน “ขาดคายเด็จ” อาจเป็น “ตาย” และ “เค็จ” ตามลำดับ ก็ได้ — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  12. บางฉบับว่า “บเข็ดขามปลดเปลื้องไท้” หรือ “บเข็ดขามปลดเปลื้องได้” — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ, ปรับปรุงจากเชิงอรรถของกรมศิลปากร ซึ่งเห็นไม่ชัดว่าเป็นคำ “ไท้” หรือ “ได้”].
  13. ต้นฉบับอ่านไม่ออก — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  14. อาจเป็นคำอื่น เพราะต้นฉบับไม่ชัด — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  15. ต้นฉบับไม่ชัด อาจเป็น “สงฺขาเตํ”, “...เทํ” หรือ “...เกํ” ก็ได้ — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  16. บางฉบับเป็น “ตามฺพปณฺณํหิเป”, “ตามฺพปณฺอหิเป” — [เชิงอรรถของ กรมศิลปากร].
  17. ต้นฉบับไม่ชัด อาจเป็น “คามพ์” — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  18. ต้นฉบับอ่านไม่ออก — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  19. ต้นฉบับไม่ชัด อาจเป็น “จงจัก” หรือ “จงจัด”, และ “สูรัง” หรือ “สูซัง” ก็ได้ — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  20. ต้นฉบับไม่ชัด อาจเป็น “ปิตุเรศ” ก็ได้ — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  21. เมทนิ — [เชิงอรรถของ กรมศิลปากร].
  22. ต้นฉบับอ่านไม่ออก แต่มีเชิงอรรถของกรมศิลปากรว่า มีฉบับอื่นว่า “นรบดี” หรือ “นฤบดี” (เป็น “ด้วยนรบดีศรัทธา” หรือ “ด้วยนฤบดีศรัทธา” — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
  23. ต้นฉบับอ่านไม่ออก — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].




ขึ้น

(เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ถึงแก่พระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๒๘๙ และลิขสิทธิ์งานของพระองค์สิ้นอายุคุ้มครองลงเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๙)

 

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก