หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐๔
จะลงเห็นว่า เจ้านครเปนขบถนั้นไม่ได้ จึงโปรดพระราชทานให้พ้นโทษ ให้รับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัตยาอยู่เปนข้าราชการในกรุงเทพฯ ต่อไป ๚
๏แล้วโปรดให้พระเจ้าหลานเธอ เจ้านราสุริวงษ์ อยู่ครองเมืองนครศรีธรรมราชได้ ๗ ปี เจ้านราสุริวงษ์ถึงแก่พิราไลยที่เมืองนครศรีธรรมราชณปีวอก อัฐศก จุลศักราช ๑๑๓๘ ฝ่ายเจ้านครเข้ามาอยู่ในกรุงธนบุรี ได้รับราชการตามเสด็จไปทัพศึก เจ้ากรุงธนบุรีไว้วางพระทัยในเจ้านคร จึงให้นครกลับออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อปีวอก อัฐศก จุลศักราช ๑๑๓๘ ได้รับสุพรรณบัตรเปนพระเจ้ารนครศรีธรรมราช เจ้าขัณฑสิมา[1] มีเกียรติยศเสมอเจ้าประเทศราช ตั้งพระยาอรรคมหาเสนาแลจตุสดมภ์สำหรับเมืองนครได้คล้ายกรุงธนบุรี ที่ว่าราชการเมืองนครของเดิมเรียกว่า ท้องพระโรง ซึ่งก่อด้วยอิฐอยู่หลังศาลากลางจังหวัดทุกวันนี้[2] ๚
- ↑ เรื่องพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งเจ้านครเปนเจ้าประเทศราช อ้างเหตุในสา ตราอิกข้อ ๑ ว่า ได้ถวายธิดาทำราชการ แลธิดานั้นมีพระราขโอรส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชวิจารณ์ว่า ทำนองพระเจ้ากรุงธนบุรีจะได้ทรงปรารภเรื่องสืบสันตติวงษ์ พิเคราะห์ตามความมุ่งหมาย ดูเหมือนตั้งพระไทยจะให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ ลูกเธอองค์ ๑ ครองกรุงกัมพูชา ให้เจ้าทัศพงษ์ ลูกเธอซึ่งภายหลังเปนพระพงษ์นรินทร์ ซึ่งเปนหลานเจ้านคร ครองเมืองนครศรีธรรมราช ส่วนกรุงธนบุรีนั้น จะมอบราชสมบัติประทานเจ้าฟ้าสุพันธวงษ์ ที่เรียกว่า เจ้าฟ้าเหม็น ด้วยเปนพระราชนัดดาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ด้วยเหตุนี้ จึงตั้งเมืองนครศรีธรรมราชเปนเมืองปรเทศราชไว้
- ↑ ตึกหลังนี้ ข้าพเจ้าได้เคยเห็น เปนตึกเล็ก ๆ ทำค้าง สงไสยว่า มิใช่ท้องพระโรง แลเปนของที่สร้างทีหลัง อาจจะสร้างตรงที่ท้องพระโรงเจ้านคร จึงเลยเรียกว่า ท้องพระโรง ครั้งเจ้านครนั้น แม้ในกรุงธนบุรี ท้องพระโรงก็ยังไม่เปนตึก