หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/13

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๔๐  โฉมหน้าศักดินาไทย

๒) ระบบแรงงานเกณฑ์

นอกจากค่าเช่าที่ และภาษีที่พวกชาวนาจะต้องเสียแล้ว พวกชาวนาจักต้องช่วยไถนา ทํานา และทํางานอื่นๆ ให้แก่พวกเจ้าขุนมูลนายเป็นประจำทุกปีอีกด้วย อาจจะเป็นปีละสามเดือนจนถึงหกเดือนก็ได้ ในบางแห่งชาวนาจะต้องขนเอาวัวควายและเครื่องมือของตนเองไปช่วยทํานาให้แก่พวกเจ้าขุนมูลนายโดยที่พวกเจ้าขุนมูลนายลงทุนแต่ที่ดินและพันธ์ุข้าวเท่านั้นนอกจากการทํานาให้เจ้าขุนมูลนายแล้ว พวกชาวนายังต้องช่วยงานโยธาต่างๆ ทั้งของรัฐบาลศักดินาและทั้งของเจ้าขุนมูลนายของละแวกบ้านตน ระบบเช่นนี้เรียกกันว่าระบบ "แรงงานเกณฑ์" (Corvée) ซึ่งถ้าเป็นในประเทศรัสเซียสมัยซาร์ก็เรียกว่า Otrabotki หรือ Barshchina ระบบแรงงานเกณฑ์นี้ถือเป็นสิ่งชอบธรรมที่ทุกคนจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นการทดแทนบุญคุณของพวกเจ้าขุนมูลนายที่อุตส่าห์สละเวลาอันมีค่ามาทําการปกครองพวกตน และที่กรุณา "ประทาน" ที่ดินให้ได้ทํากิน ประทานน้ำในคลองให้ดื่ม และประทานอากาศให้หายใจ

๓) เทคนิคและรูปแบบแห่งการผลิต

มนุษย์ในยุคศักดินามีเทคนิคในการกสิกรรมสูงขึ้นกว่าเดิม (คือยุคทาส) ทั้งนี้ เพราะรู้จักใช้เครื่องมือที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะเครื่องมือเหล็กของยุคนี้ก้าวหน้าไปไกล ทำให้การผลิตประณีตขึ้นและได้ผลมากขึ้น การใช้แรงงานสัตว์เข้าช่วยลากจูงในการทำงานซึ่งมนุษย์เริ่มรู้จักใช้มาตั้งแต่ปลายสมัยสังคมทาสอันเป็นสังคมก่อนยุคศักดินา ก็ได้แพร่หลายขึ้นจนเป็นปัจจัยในการผลิตสำคัญของยุค การผลิตของยุคศักดินาโดยเฉพาะทางกสิกรรมจึงก้าวหน้าและมีผลมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง ในด้านการหัตถกรรมมนุษย์รู้จักใช้ฝีมือทำการ