หน้า:Sources of ancient Siamese law (Masao T, 1905).pdf/1

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
28
วารสารกฎหมายเยล
ที่มาแห่งกฎหมายโบราณของสยาม[1]

มองจากมุมของนิติศาสตร์เปรียบเทียบ อาจกล่าวได้ว่า มีระบบกฎหมายดั้งเดิมอยู่ห้าระบบที่เป็นต้นเค้าของกฎหมายในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก คือ

(1)ระบบกฎหมายโรมัน

(2)ระบบกฎหมายอังกฤษ

(3)ระบบกฎหมายฮินดู

(4)ระบบกฎหมายมุฮัมมัด[2] และ

(5)ระบบกฎหมายจีน

กฎหมายของกลุ่มประเทศภาคพื้นยุโรปเป็นตัวอย่างของระบบกฎหมายโรมัน กฎหมายของกลุ่มประเทศเยอรมันเป็นกฎหมายโรมันแบบบริสุทธิ์กว่าเพื่อน ส่วนกฎหมายของกลุ่มประเทศละตินเป็นกฎหมายโรมันแบบบริสุทธิ์น้อยลงมา กฎหมายของอังกฤษและรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ยกเว้นลุยเซียนา เป็นตัวอย่างของกฎหมายที่มาจากระบบกฎหมายอังกฤษ อินเดีย กับทั้งดินแดนมากมายในอินเดียที่ครั้งหนึ่งเป็นราชอาณาจักรและราชรัฐอิสระ บ้างถือศาสนาอย่างหนึ่ง บ้างถืออีกอย่างหนึ่ง แต่ทุกวันนี้อยู่ในความปกครองของบริเตนทั้งสิ้นแล้ว เป็นตัวอย่างเพียงหนึ่งเดียวในปัจจุบันของประเทศที่ศาลบริเตนต้องบริหารกฎหมายพราหมณ์ พุทธ และมุฮัมมัด ไปตามการนับถือศาสนาของคู่ความ ส่วนกฎหมายของจีนและเกาหลีนั้นเป็นตัวอย่างของระบบกฎหมายจีน กฎหมายโบราณของญี่ปุ่นก็มาจากระบบกฎหมายจีน แต่กฎหมายปัจจุบันนี้ อาจกล่าวได้ว่า ในภาพรวมแล้ว มาจากสาขาหนึ่งของระบบกฎหมายโรมันที่อาจเรียกขานว่า กฎหมายเยอรมัน แม้จะรับหลายสิ่งหลายอย่างมาจากระบบกฎหมายอังกฤษอยู่เหมือนกัน เมื่อคำนึงถึงความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ของสยามกับอินเดีย กับข้อเท็จจริงที่ว่า ในครั้งโบราณ สยามอยู่ใต้อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมากอย่างยิ่ง ก็เป็นธรรมดาที่เราจะคาดหมายได้ว่า กฎหมายโบราณของสยามย่อมมาจากระบบกฎหมายฮินดู แต่น่าสงสัยชวนให้สังเกตเหลือเกินว่า ถึงแม้ใคร ๆ ก็ดูจะเข้าอกเข้าใจกันว่า กฎหมายโบราณของสยามย่อมมาจากระบบกฎหมายฮินดู แต่ไม่มีใครเลยที่เคยลงแรงพิสูจน์เรื่องนี้ ผู้เขียนลองคิดดูว่า ที่เป็นเช่นนี้ มิใช่เพราะหัวเรื่องนี้ไม่น่าสนใจ แต่เพราะประเด็นที่จะให้พิสูจน์นั้นก็เป็นที่ยอมรับละนับถือหมดใจโดยทั่วกันอยู่แล้ว วัตถุประสงค์ของเอกสารนี้จึงเป็นการ


  1. เอกสารนี้จับใจความมาจากบทหนึ่งในวิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษากฎหมายโบราณของสยาม ที่ผู้เขียนเสนอต่อมหาวิทยาลัยหลวงโตเกียว ญี่ปุ่น สองสามปีก่อน และจากปาฐกถาที่ผู้เขียนกล่าวต่อสยามสมาคม กรุงเทพฯ สยาม เมื่อเร็ว ๆ นี้
  2. หมายถึง อิสลาม (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)