คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑/๒๕๕๘

แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ที่ ๑/๒๕๕๘
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตามองค์ประกอบคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ




เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และแนวทางในการกำหนดองค์ประกอบของ คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๒๗/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ

ข้อ ๑ คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วย

๑) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
๒) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ
๓) นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาประธานกรรมการ
๔) หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
๕) พลเอก อุดมเดช สีตบุตร กรรมการ
๖) พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ กรรมการ
๗) พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง กรรมการ
๘) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการ
๙) นายประมนต์ สุธีวงศ์ กรรมการ
๑๐) นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการ
๑๑) นางจุรี วิจิตรวาทการ กรรมการ
๑๒) นายต่อตระกูล ยมนาค กรรมการ
๑๓) นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ กรรมการ
๑๔) นายวิชัย อัศรัสกร กรรมการ
๑๕) รองศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์สังศิต พิริยะรังสรรค์ กรรมการ
๑๖) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการ
๑๗) ประธานกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ กรรมการและเลขานุการ
๑๘) ผู้แทนสำนักงบประมาณ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ (๑)
๑๙) ผู้แทนสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ (๒)
๒๐) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ (๓)

ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการตามข้อ ๑ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) จัดทำแนวทางและมาตรการในการบูรณาการเพื่อเสริมสร้างและประสานความร่วมมือในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายในเรื่องดังกล่าวเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและไปในทิศทางเดียวกัน และเสนอให้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
(๒) ติดตาม ประสานงาน และสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการดำ เนินงานของคณะกรรมการตามกฎหมายหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตลอดจนพิจารณาข้อเสนอของภาคเอกชนในการต่อต้านป้องกัน และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(๓) จัดทำผลการดำเนินการและเสนอแนะความเห็นหรือกลไกในการดำเนินการที่จำเป็นในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน หรือเพื่อมีมติสั่งการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ
(๔) จัดทำข้อเสนอแนะในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประกอบการพิจารณาตามที่เห็นสมควร
(๕) ในกรณีที่เห็นสมควรอาจแจ้งต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อขอให้มีการประชุมร่วมกันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อปรึกษาหารือหรือพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การแก้ไขปัญหาในเรื่องของการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
(๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือช่วยเหลือในการปฏิบัติงานตามความจำเป็น
(๗) เชิญเจ้าหน้าที่ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อเท็จจริง ความเห็นหรือคำแนะนำทางวิชาการ หรือเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
(๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


สั่ง ณ วันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๘
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


เชิงอรรถ แก้ไข

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ /ตอนพิเศษ ๙ ง /หน้า ๖๐ / ๑๔ มกราคม ๒๕๕๘ .



๑๗๘/๒๕๕๗ ขึ้น ๒/๒๕๕๘

 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"