ประกาศกระทรวงดิจิทัลฯ เรื่อง การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลฯ พ.ศ. 2565

ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์
และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๖๕

โดยที่เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปัจจุบัน จึงเป็นการสมควรปรับปรุงขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการให้ทันสมัยเพื่อแก้ไขปัญหาการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ ประกอบมาตรา ๑๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ  ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๖๕"

ข้อ  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ  ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๖๐

ข้อ  ในประกาศนี้

“ระบบคอมพิวเตอร์ ” หมายความว่า อุปกรณ์ หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์ หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ

“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า

(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่นโดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม

“สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)” หมายความว่า สื่อหรือช่องทางในการติดต่อสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Intermediary) ที่เน้นการสร้างหรือเผยแพร่เนื้อหาระหว่างผู้ใช้งานด้วยกัน (Creation and Exchange of User-generated Content) หรือสนับสนุนการสื่อสารสองทาง หรือการนำเสนอและเผยแพร่เนื้อหาในวงกว้างได้ด้วยตนเอง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชัน กระดานข่าว เครือข่ายสังคมออนไลน์ สื่อสำหรับการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ภาพนิ่ง เสียง วีดิทัศน์ หรือแฟ้มข้อมูล หรือให้บริการ เก็บเนื้อที่ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต บล็อก blogs เว็บไซต์ (สำหรับการสร้างและแก้ไขเนื้อหาร่วมกัน) เกมส์ออนไลน์หรือโลกเสมือนที่มีผู้ใช้งานหลายคน หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อออนไลน์อื่นในลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันที่เปิดให้ใช้งาน เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่มบุคคลหรือกับสาธารณะ

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้

“ตำแหน่งข้อมูลที่ผิดกฎหมาย” หมายความว่า ตำแหน่งหรือแหล่งที่อยู่ของข้อมูล (Related Online Location) อาทิเช่น ยูอาร์แอล (Related URL) ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (Related IP Address) ชื่อโดเมน (Related Domain Name) เว็บเพจ (Related web page) ของแหล่งข้อมูลหรือตำแหน่งที่อยู่ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Related Electronic Address) ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น

หมวด ๑
การกระทำหรือการให้บริการที่ไม่ต้องรับโทษของผู้ให้บริการ


ข้อ  ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้ใด ดังต่อไปนี้ ที่พิสูจน์ได้ว่าตนได้ปฏิบัติตามประกาศข้อ ๕ และข้อ ๖ ดังต่อไปนี้ครบถ้วน ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษฐานให้ความร่วมมือ ให้ความยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ อันเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๕

(๑) ผู้ให้บริการในฐานะสื่อกลาง (Intermediary) ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม การสื่อสารกิจการกระจายภาพ กระจายเสียง กิจการอินเทอร์เน็ต รวมถึงการรับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายหรือระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ หรือบริการอำนวยความสะดวกในการส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านเส้นทางจราจรทางคอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ต (routing) หรือจัดให้บริการคอมพิวเตอร์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เกิดการรับส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Transitory Communication - mere conduit) ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ซึ่งได้ดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ตามประกาศข้อ  ครบถ้วน

 (ก) เป็นผู้ให้บริการรับส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามปกติธุระในทางธุรกิจ โดยการใช้บริการดังกล่าวทั้งหมดดำเนินการโดยผู้ใช้บริการ โดยที่ผู้ให้บริการไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 (ข) เป็นผู้ให้บริการที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือเป็นสื่อกลางในการให้บริการอำนวยความสะดวกในการรับส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านเส้นทางจราจรทางคอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ต (Traffic Data) หรือการให้บริการเชื่อมต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (Hosting) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดเกิดจากการประมวลผลอัตโนมัติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Automatic technical process) ซึ่งผู้ใช้บริการหรือบุคคลอื่น (ที่ไม่ใช่ผู้ให้บริการ) เป็นผู้สั่งการทั้งหมด โดยผู้ให้บริการไม่ได้เกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมใด ๆ ในการกำหนดหรือคัดเลือกข้อมูลหรือเนื้อหาของข้อมูลที่รับส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าว

 (ค) เป็นผู้ให้บริการที่รับส่งหรือเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการหรือบุคคลอื่นซึ่งไม่ได้ทาหน้าที่หรือเกี่ยวข้องกับการเลือกคัดสรรข้อมูลหรือเนื้อ หาของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง การให้บริการทั้งหมดที่ดำเนินการอนุมัติคำสั่งผ่านระบบตอบรับคำสั่งอัตโนมัติโดยระบบคอมพิวเตอร์หรือปัญญาประดิษฐ์เท่านั้น

 (ง) เป็นผู้ให้บริการที่ไม่ได้ทาการเก็บสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเนื้อหาของข้อมูลดังกล่าวไว้ หรือเก็บสำเนาไว้ชั่วคราวเพื่อวัตถุประสงค์ในการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ในการใช้งาน (Transient storage) เท่าที่จำเป็นเพื่อให้การให้บริการข้อมูลสามารถกระทำได้เท่านั้น โดยผู้ให้บริการดังกล่าวต้องไม่ได้การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเนื้อหาของข้อมูลเก็บไว้ในลักษณะถาวรในระบบคอมพิวเตอร์ หรือในลักษณะที่เก็บไว้เป็นฐานข้อมูลของเครือข่ายของผู้ให้บริการของตนในลักษณะที่บุคคลทั่วไปอาจเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ในภายหลัง

 (จ) เป็นการให้บริการรับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือเนื้อหาของข้อมูลนั้นโดยผู้ให้บริการ

 (ฉ) เป็นการให้บริการที่ผู้ให้บริการไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม จากการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ทำซ้ำ ดัดแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔

 (ช) เป็นการให้บริการที่ผู้ให้บริการไม่ได้ให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจกับการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ที่อยู่ในความควบคุม หรือระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองตามมาตรา ๑๔

(๒) ผู้ให้บริการที่เก็บหรือพักข้อมูลคอมพิวเตอร์ชั่วคราว (system caching) ในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ซึ่งได้ดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ตามประกาศข้อ ๖ ครบถ้วน

 (ก) เป็นการให้บริการเก็บพักข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือปัญญาประดิษฐ์ควบคุมการส่งผ่านเนื้อหาข้อมูลทั้งหมดโดยผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอก (ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการ)

 (ข) เป็นการให้บริการรับส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์ระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือปัญญาประดิษฐ์ด้วยกัน เพื่อให้สามารถดำเนินการทางเทคนิคเพื่อให้เก็บพักข้อมูลคอมพิวเตอร์ชั่วคราวได้

 (ค) เป็นการจัดเก็บพักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือปัญญาประดิษฐ์โดยอัตโนมัติซึ่งผู้ให้บริการไม่เกี่ยวข้องและไม่ได้ควบคุมการจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าว

 ในการให้บริการจัดเก็บและพักข้อมูลคอมพิวเตอร์แบบชั่วคราวนั้น ผู้ให้บริการต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้

 (ก) ไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเนื้อหาของข้อมูลดังกล่าวที่เก็บพักไว้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

 (ข) ไม่สามารถเข้าถึงเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเนื้อหาของข้อมูลดังกล่าวได้

 (ค) ไม่มีเจตนาไม่ให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ กับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔

(๓) ผู้ให้บริการซึ่งเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ในระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายระบบของคอมพิวเตอร์ของตนเองเพื่อให้ผู้ใช้บริการดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวด้วยตนเอง (Information Residing on systems or network at direction of users) ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ซึ่งได้ดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ตามประกาศ ข้อ ๖ ครบถ้วน

 (ก) เป็นการให้บริการที่ผู้ให้บริการไม่ได้ให้ความร่วมมือยินยอม รู้เห็นเป็นใจ หรือเกี่ยวข้องรวมถึงไม่ทราบถึงการกระทาใด ๆ ที่ผิดกฎหมายของผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอก

 (ข) ผู้ให้บริการไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔

 (ค) ทันทีที่ผู้ให้บริการได้รับการแจ้งถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔ ผู้ให้บริการต้องรีบดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบคอมพิวเตอร์ที่ตนเองควบคุมหรือเป็นเจ้าของตามที่ระบุไว้ในประกาศ ข้อ ๖ โดยทันที

(๔) ผู้ให้บริการทางเทคนิคเพื่อเป็นที่ตั้งหรือที่พักของแหล่งข้อมูล (Information Location Tools) ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ซึ่งได้ดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ตามประกาศ ข้อ ๖ ครบถ้วน

 (ก) ผู้ให้บริการต้องไม่มีการเชื่อมต่อ (Linking) ไปยังแหล่งข้อมูลที่ผิดกฎหมายแก่บุคคลภายนอกด้วยตนเอง

 (ข) ผู้ให้บริการไม่มีเจตนาและเกี่ยวข้องรวมถึงไม่ทราบถึงการกระทำใด ๆ ที่ผิดกฎหมายของผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอก

 (ค) ผู้ให้บริการไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจากการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔

 (ง) ทันทีที่ผู้ให้บริการได้รับการแจ้งถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔ ผู้ให้บริการต้องรีบดาเนินการระงับการทาให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบคอมพิวเตอร์ที่ตนเองควบคุมหรือเป็นเจ้าของตามที่ระบุไว้ในประกาศ ข้อ ๖ โดยทันที

(๕) สื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นสื่อหรือช่องทางในการติดต่อสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือเครือข่ า ยอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ที่ได้ดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ตามประกาศข้อ ๖ โดยครบถ้วน

 (ก) เป็นผู้ให้บริการที่ทำหน้าที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์ตามปกติธุระโดยการดำเนินการโพสต์ แก้ไขเปลี่ยนแปลง เผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ทั้งหมดกระทำโดยผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ผู้ให้บริการ

 (ข) เป็นผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ที่รับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้เลือกข้อมูลหรือเนื้อหาของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง เป็นเพียงการให้บริการที่ดำเนินการผ่านแพลตฟอร์ม (Platform) หรือระบบตอบรับคำสั่งอัตโนมัติโดยทางคอมพิวเตอร์หรือปัญญาประดิษฐ์ เท่านั้น

 (ค) เป็นการให้บริการรับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือเนื้อหาของข้อมูลนั้นโดยผู้ให้บริการ

 (ง) ไม่ได้รับค่าตอบแทนผลประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม จากการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ทำซ้า ดัดแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔

 (จ) ไม่ได้ให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ กับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมาย ที่อยู่ในความควบคุม หรือระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองตามมาตรา ๑๔

(๖) ผู้ให้บริการที่ไม่ได้มีลักษณะหรือที่ไม่ได้ระบุไว้ใน (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) ซึ่งให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันได้โดยประการอื่นโดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งได้ปฏิบัติตามประกาศ ข้อ ๖

หมวด ๒
การระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง


ข้อ  ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้ใดที่มีลักษณะตามข้อ ๕ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าตนได้จัดเตรียมมาตรการระงับการเผยแพร่ของข้อ มูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลที่ผิดกฎหมายด้วยตนเอง (Notice & Takedown Policy) ตามหมวดนี้โดยครบถ้วน ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษตามมาตรา ๑๕

(๑) ขั้นตอนการแจ้งเตือน

 ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ตามข้อ ๕ จะต้องจัดให้มีมาตรการแจ้งเตือนในเรื่องขั้นตอนการระงับการทาให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ โดยจัดทำนโยบายการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ (Notice & Take Down Policy) หรือหนังสือแจ้งเตือน (Take Down Notice) ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบ โดยอาจดำเนินการด้วยวิธีการทางเทคนิคหรือวิธีการอื่นเพื่อให้ผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอกแจ้งเตือนผู้ให้บริการหรือสื่ อสังคมออนไลน์เพื่อให้ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตนได้ โดยหนังสือแจ้งเตือนดังกล่าวของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ต้องระบุข้อมูลอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

 (ก) ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการหรือช่องทางอื่นใดที่สามารถติดต่อผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์หรือตัวแทนของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์

 (ข) แบบฟอร์มข้อร้องเรียน (Complaint Form) เพื่อให้ผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอกแจ้งผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์เพื่อระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยแบบฟอร์มดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 (๑) รายละเอียดชื่อ นามสกุล ที่อยู่ของผู้ร้องเรียนรวมถึงลายมือชื่อของผู้ร้องเรียนหรือตัวแทนผู้รับมอบอานาจของผู้ร้องเรียนว่ามีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

 (๒) รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกระทาความผิดตามมาตรา ๑๔

 (๓) รายละเอียดที่อยู่ที่ติดต่อได้ของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ อาทิเช่น ชื่อของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ ที่อยู่ของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ เบอร์โทรศัพท์ เบอร์โทรสารของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ หรือวิธีการหรือช่องทางใด ๆ ที่สามารถติดต่อผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ได้

 (๔) รายละเอียดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอก

 (๕) คำรับรองว่าข้อความที่แจ้งให้ระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์เป็นความจริง

(๒) การแจ้งเตือนของผู้ใช้บริการ

 ในกรณีที่ผู้ใช้บริการหรือบุคคลใดตรวจพบว่า ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอกสามารถแจ้งเตือนผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์เพื่อขอให้ระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้

 (ก) ลงบันทึกประจำวัน หรือแจ้งความร้องทุกข์เพื่อเป็นหลักฐานต่อพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ตารวจ โดยแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ รายละเอียดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอก เป็นต้น พร้อมยื่นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำความผิดดังกล่าวและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ

 (ข) แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ โดยการกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มตาม (๑) (ข) พร้อมยื่นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการกระทาความผิดดังกล่าวและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์

(๓) วิธีการระงับหรือนาข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์

 เมื่อผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ได้รับข้อร้องเรียนตามแบบฟอร์มในข้อ ๖ (๑) (ข) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ต้องดาเนินการ ดังต่อไปนี้

 (ก) ระงับการทำให้แพร่หลายนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบคอมพิวเตอร์เพื่อไม่ให้แพร่หลายต่อไปโดยทันที

 (ข) จัดทำสำเนาข้อร้องเรียนรวมถึงรายละเอียดข้อร้องเรียนของบุคคลที่ร้องเรียนดังกล่าวส่งให้กับผู้ใช้บริการหรือสมาชิกหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในความควบคุมของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์โดยทันที

 (ค) ระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามความเหมาะสมและขึ้นอยู่กับสภาพของการให้บริการแต่ละประเภท เพื่อเยียวยาความเสียหายและระงับการกระทำความผิดให้เร็วที่สุด

 ทั้งนี้ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ทาให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที และเมื่อเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้สิ้นสุดลง ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ต้องดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน

หมวด ๓
การระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์


ส่วนที่ ๑
คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่


ข้อ  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่ามีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูล ข้อร้องเรียน เอกสารหรือหลักฐานจากผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้มีส่วนได้เสียหรือบุคคลใด ๆ ว่า มีข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔ อยู่ในความควบคุมของ ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยความเห็นชอบของปลัด กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือรองปลัด กระทรวงที่ได้รับมอบหมาย อาจมีคำสั่งตามแบบฟอร์มแนบท้ายประกาศนี้ไปยังผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้ดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้

คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ดาเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก

ข้อ  ให้ถือว่าผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ได้รับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๗ และเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว เมื่อคำสั่งนั้นได้เข้าสู่ระบบของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ เว้นแต่วันและเวลานั้นเป็นวันและเวลานอกทำการของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ ให้ถือว่าผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ได้รับในวันและเวลาทำการถัดไป

เมื่อผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ได้รับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายที่อยู่ในความควบคุมของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ออกจากระบบคอมพิ วเตอร์เพื่อไม่ให้แพร่หลายต่อไปโดยทันทีโดยให้ดำเนินการด้วยมาตรการทางเทคนิคใด ๆ (Technical Measure) ที่ได้มาตรฐานตามสภาพของการให้บริการแต่ละประเภท เพื่อให้บังเกิดผลตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่

(๒) จัดทำสำเนาข้อร้องเรียนรวมถึงรายละเอียดข้อร้องเรียนของบุคคลที่ร้องเรียนดังกล่าวส่งให้กับผู้ใช้บริการหรือสมาชิกหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในความควบคุมของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์โดยทันที

(๓) ระยะเวลาในการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ต้องไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่ระบุดังต่อไปนี้ เพื่อเยียวยาความเสียหายและระงับการกระทำความผิดให้เร็วที่สุด ดังนี้

 (ก) กรณีการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๔ (๑) ให้ระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ทาให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที และเมื่อเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้สิ้นสุดลง ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ต้องดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

 (ข) กรณีการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๔ (๒) และ (๓) ให้ระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันทีเว้นแต่ มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที และเมื่อเหตุสุดวิสัยหรือ เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงสิ้นสุดลง ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ต้องดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

 (ค) กรณีการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๔ (๔) ให้ระงับการทำให้แพร่หลายนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที และเมื่อเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้สิ้นสุดลง ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ต้องดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลาสามวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

 ในกรณีการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๔ (๔) เป็นภาพลามกอนาจารเด็กอันเป็นความผิดตามมาตรา ๒๘๗/๑ และ ๒๘๗/๒ ของประมวลกฎหมายอาญา ให้ระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที และเมื่อเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้สิ้นสุดลง ผู้ ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ต้องดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

ข้อ  ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ดำเนินการตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวดนี้อย่างครบถ้วนและภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้สันนิษฐานว่าผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้นั้น ร่วมมือสนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทาความผิดตามมาตรา ๑๕

ส่วนที่ ๒
การอุทธรณ์และการเพิกถอนคำสั่ง


ข้อ ๑๐ การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่ง และไม่เป็นเหตุให้ผู้ได้รับคำสั่งยกเป็นข้ออ้างหรือปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวดนี้

ข้อ ๑๑ ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ และผู้ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ออกตามประกาศนี้ อาจอุทธรณ์คำสั่งโดยยื่นต่อปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง หรือนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงคำสั่งดังกล่าว แล้วแต่กรณี เพื่อขอให้เพิกถอน แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว

คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ โดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย

ให้ผู้รับคำอุทธรณ์ออกใบรับคำอุทธรณ์ลงวัน เดือน ปี ที่รับและลายมือชื่อผู้รับให้แก่ผู้อุทธรณ์

ข้อ ๑๒ ให้ผู้พิจารณาอุทธรณ์พิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้ดำเนินการมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นตามความเห็นของตน ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย

ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย ให้มีคำสั่งยกคำอุทธรณ์ และแจ้งผู้อุทธรณ์ทราบ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง

ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาคำอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้พิจารณาอุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว

ข้อ ๑๓ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้ผู้พิจารณาอุทธรณ์พิจารณาทบทวนคำสั่งได้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือความเหมาะสมของการทำคำสั่ง และอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นไปในทางใด หรือมีข้อกำหนดเป็นเงื่อนไขอย่างไรก็ได้

ข้อ ๑๔ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่ง หรือปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนคำสั่งในเวลาใด ๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะพ้นขั้นตอนการกำหนดให้อุทธรณ์ตามประกาศนี้ หรือไม่ โดยต้องทำเป็นหนังสือเพิกถอนคำสั่งเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งส่งไปยังบุคคลที่ได้รับคำสั่งนั้น และด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้

(๑) คำสั่งที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย

(๒) มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ

(๓) ถ้าคำสั่งได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่คู่กรณี

หมวด ๔
แนวทางการดำเนินคดี


ข้อ ๑๕ ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้ใด ได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ โดยชอบแล้ว เพิกเฉยไม่ดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือตามที่ประกาศนี้กำหนด และมิได้อุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๑) (๒) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และภายใต้กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

(๒) ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีกับผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ในฐานร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

(๓) ดำเนินการสรุปความเห็นทางกฎหมายในพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดภายในหกสิบวัน นับแต่พ้นกาหนดระยะเวลาในข้อ ๘ เพื่อส่งข้อมูลการกระทาความผิดดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดาเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์

(๔) ดาเนินการประสานงานกับสานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อให้มีคำสั่งระงับการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย หรือเพื่อให้หน่วยงานกำกับดูแลดำเนินการกับผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ยังคงเพิกเฉย ฝ่าฝืนไม่ดำเนินการหรือกระทำความผิดอย่างต่อเนื่อง พนักงานเจ้าหน้าที่อาจประสานงานกับสานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อพิจารณาดำเนินการระงับใบอนุญาต หรือดำเนินการอื่นใดตามสมควร ภายใต้ขอบเขตแห่งกฎหมายที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือหน่วยงานกำกับดูแลมีหน้าที่และอำนาจ ทั้งนี้ เพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น จากข้อมูลที่ผิดกฎหมาย

หมวด ๕
เบ็ดเตล็ด


ข้อ ๑๗ ในการดำเนินการตามประกาศนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ โดยให้พิจารณาจากพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง พยานแวดล้อม และประกอบกับมาตรฐานทางวิชาชีพ หลักกฎหมายที่ผู้ให้บริการทั่วไปหรือสื่อสังคมออนไลน์พึงกระทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ข้อ ๑๘ ให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการให้เป็นไปตามประกาศนี้และให้มีอานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติตามประกาศนี้

ในการตีความและการวินิจฉัยปัญหา หรือเพื่อประสานงานให้การดำเนินการตามประกาศนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอาจตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมพิจารณาและดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้

  • ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕
  • ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ตราครุฑ
ตราครุฑ
คำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
.............................................

ด้วยปรากฏว่ามีข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามที่มีผู้ร้องเรียน เมื่อวันที่................................................ ให้ระงับการทำให้แพร่หลาย/นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมดังปรากฏตามรายการของข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือตำแหน่งแหล่งที่อยู่ของข้อมูลที่ผิดกฎหมาย (Target Online Location) อาทิเช่น ยูอาร์แอล (Target URL) หรือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (Target IP Address) หรือชื่อโดเมน (Target Domain Name) พร้อมเว็บเพจ (Target web page) ของแหล่งข้อมูลที่ผิดกฎหมายหรือตำแหน่งที่อยู่ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Target Electronic Address) ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกับข้อมูลผิดกฎหมาย จำนวน................................. รายการดังต่อไปนี้

๑. (URL หรือรายละเอียดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมาย)..........................................

๒. (URL หรือรายละเอียดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมาย)..........................................

๓. (URL หรือรายละเอียดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมาย)..........................................

ฯลฯ

ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๖๕ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ ประกอบมาตรา ๑๕ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีคำสั่งให้.............................................................................................. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ/สื่อสังคมออนไลน์ตามพระราชบัญญัตินี้ ดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย/นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ดังปรากฏตามรายการของข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือตำแหน่งแหล่งที่อยู่ของข้อมูลที่ผิดกฎหมาย (Target Online Location) อาทิเช่น ยูอาร์แอล (Target URL) หรือ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (Target IP Address) หรือชื่อโดเมน (Target Domain Name) พร้อมเว็บเพจ (Target web page) ของแหล่งข้อมูลที่ผิดกฎหมายหรือตำแหน่งที่อยู่ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Target Electronic Address) ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกับข้อมูลผิดกฎหมายในทันทีที่ได้รับคำสั่งแต่ไม่เกินวันที่................................................ ทั้งนี้ ได้แนบสำเนาเอกสารการร้องเรียนและหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาพร้อมกับคำสั่งนี้ด้วยแล้ว หากมีเหตุจำเป็นอันสมควร ซึ่งทำให้ไม่อาจดำเนินการตามคำสั่งนี้ได้ ขอให้ท่านแจ้งไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่อยู่ หรือหมายเลขโทรศัพท์ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ตามที่ปรากฏท้ายคำสั่งนี้

  • สั่ง ณ วันที่ .. เดือน ..................... พ.ศ. ....
  • (ลงชื่อ) 
  • (................................................)
  • ตำแหน่งงาน...................................
  • พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
  • ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

ชื่อหน่วยงาน และสังกัด เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กองกฎหมาย

โทร. ๐ ๒๑๔๑ ๖๗๖๓

โทรสาร ๐ ๒๑๔๓ ๘๐๑๓

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : xxx@xxx.xxx

หมายเหตุ : ให้ฆ่าคำว่า "ระงับการทำให้แพร่หลาย" หรือ "นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์" แล้วแต่กรณี ให้ตรงตามข้อร้องเรียน รวมทั้งให้แนบสำเนาเอกสารอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ไปพร้อมคำสั่งด้วย
๑. รายละเอียดชื่อนามสกุล ที่อยู่ ของผู้ร้องเรียน ว่ามีการกระทำความผิด และ/หรือ บันทึกประจำวันหรือแจ้งความร้องทุกข์ที่ได้ลงบันทึกประจำวันเป็นลายลักษณ์อักษรต่อพนักงานสอบสวน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีการกระทำความผิด ตามมาตรา ๑๔
๒. ข้อมูลรายละเอียดตำแหน่งข้อมูลที่ผิดกฎหมาย และรายละเอียดการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายที่อยู่ในความควบคุมของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ตามมาตรา ๑๔
๓. เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดที่ผ่านการรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว ตามแบบฟอร์มที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้

บรรณานุกรม แก้ไข

 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"