ประชุมกฎหมายประจำศก/เล่ม 55/ภาค 1/เรื่อง 18

พระราชบัญญัติ
ราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๔๘๕

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐
และวันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ. พิชเยนทรโยธิน
ปรีดี พนมยงค์
ตราไว้ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕
เป็นปีที่ ๙ ในรัชชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน

จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๔๘๕”

มาตราให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๔๗๖

มาตราให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


มาตราให้ราชบัณฑิตยสถานเป็นทะบวงการเมือง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี

มาตราให้ราชบัณฑิตยสถานมีหน้าที่

(๑)ค้นคว้าและบำรุงสรรพวิชาให้เป็นคุณประโยชน์แก่ชาติและประชาชน

(๒)ติดต่อและแลกเปลี่ยนความรู้กับองค์การปราชญ์อื่น ๆ

(๓)ให้ความเห็น คำปรึกษา และปฏิบัติการเกี่ยวกับวิชาตามความประสงค์ของรัฐบาล

มาตราให้แบ่งงานของราชบัณพิตยสถานเป็น ๓ สำนัก คือ

(๑)สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

(๒)สำนักวิทยาศาสตร์

(๓)สำนักศิลปกรรม

มาตราให้แบ่งวิชาของสำนักธรรมศาสตร์และการเมืองเป็น ๓ ประเภท คือ

(๑)ปรัชญา

(๒)สังคมศาสตร์

(๓)ประวัติศาสตร์

มาตราให้แบ่งวิชาของสำนักวิทยาศาสตร์เป็น ๓ ประเภท คือ

(๑)วิทยาศาสตร์กายภาพ

(๒)วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

(๓)วิทยาศาสตร์ประยุกต

มาตรา๑๐ให้แบ่งวิชาของสำนักศิลปกรมเป็น ๓ ประเภท คือ

(๑)วรรณศิลป

(๒)สถาปัตยศิลป

(๓)วิจิตรศิลป

มาตรา๑๑การแบ่งวิชาแต่ละประเภทออกเป็นสาขา ให้เป็นไปตามระเบียบการของราชบัณฑิตยสถาน


มาตรา๑๒ราชบัณฑิตยสถานมีสมาชิก ๓ ประเภท คือ

(๑)ภาคีสมาชิก

(๒)ราชบัณฑิต

(๓)ราชบัณฑิตกิติมศักดิ์

มาตรา๑๓ภาคีสมาชิกได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒฑิในสาขาใดสาขาหนึ่งแห่งวิชาซึ่งสมัครเข้าทำการร่วมกับราชบัณฑิตยสถานโดยได้ยื่นความจำนงตามระเบียบการของราชบัณฑิตยสถาน และเมื่อราชบัณฑิตยสถานได้รับสมัครแล้ว

คุณวุฒฑิดังกล่าวในวรรคก่อนได้แก่การแสดงความสามารถดังต่อไปนี้

()ได้คิดขึ้นใหม่หรือคิดแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นซึ่งแบบวิธีหรือหลักอันใดซึ่งราชบัณฑิตยสถานเห็นว่าเป็นประโยชน์ถึงขนาด

(๒)ได้แต่งหนังสือซึ่งราชบัณฑิตยสถานเห็นว่าดีถึงขนาด และหนังสือนั้นได้พิมพ์โฆษณาแล้ว ถ้าเป็นหนังสือซึ่งแปลจากภาษาอื่น ต้นฉบับต้องเป็นที่ยกย่องว่าเป็นหนังสือชั้นเยี่ยม และคำแปลนั้นเป็นคำแปลที่ถูกต้อง

(๓)ได้แสดงฝีมือจนมีชื่อเสียงเกียรติคุณในศิลป และ

(๔)ได้เคยสอนวิชาฉะเพาะในฐานะอาจารย์แห่งสำนักอุดมศึกษาซึ่งรัฐบาลได้รับรองแล้ว

ความในมาตรา ๑๓ นี้ถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนโดยมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ. ราชบัณฑิตยสถาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๗

มาตรา๑๔ผู้สมัครเป็นภาคีสมาชิกจะสมัครได้แต่ในสำนักเดียวและฉะเพาะวิชาเดียว

มาตรา๑๕จำนวนภาคีสมาชิกซึ่งจะมีได้ในแต่ละสำนัก ให้กำหนดไว้ในระเบียบการของราชบัณฑิตยสถาน

มาตรา๑๖ราชบัณฑิตได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒฑิในวิชาใดสาขาหนึ่งซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เลือกและนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต

ความในมาตรา ๑๖ นี้ถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนโดยมาตรา ๔ แห่ง พ.ร.บ. ราชบัณฑิตยสถาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๗

มาตรา๑๗เมื่อมีตำแหน่งราชบัณฑิตว่างลงในสาขาใดสาขาหนึ่งแห่งวิชา ให้ที่ประชุมราชบัณฑิตเลือกภาคีสมาชิกในสาขาแห่งวิชานั้นและเสนอนามไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตในตำแหน่งที่ว่างนั้น

ความในมาตรา ๑๗ นี้ถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนโดยมาตรา ๕ แห่ง พ.ร.บ. ราชบัณฑิตยสถาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๗

มาตรา๑๘ราชบัณฑิตกิติมศักดิ์ได้แก่ผู้ทรงเกียรติคุณในวิชาประเภทใดประเภทหนึ่งซึ่งนายกรัฐมนตรีจะได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงแต่งตั้งเป็นพิเศษตามคำแนะนำของราชบัณฑิตยสถาน

มาตรา๑๙สมาชิกราชบัณฑิตยสถานจะพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุ

(๑)ตาย

(๒)ลาออก

(๓)ไร้ความสามารถ หรือ

(๔)ที่ประชุมราชบัณฑิตวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งโดยที่คะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามของจำนวนราชบัณฑตที่มาประชุม

การพ้นจากตำแหน่งของราชบัณฑิตตามอนุมาตรา ๒ และอนุมาตรา ๔ ให้นำความกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ

ความในมาตรา ๑๙ นี้ถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนโดยมาตรา ๖ แห่ง พ.ร.บ. ราชบัณฑิตยสถาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๗


มาตรา๒๐เมื่อทรงแต่งตั้งราชบัณฑิตแล้ว

(๑)ให้ราชบัณฑิตแต่ละสำนักประชุมกันเลือกตั้งราชบัณฑิตในสำนักของตนเป็นประธานและเลขานุการสำหรับสำนัก

(๒)ให้ราชบัณฑิตทุกสำนักรวมกันประชุมเลือกตั้งราชบัณฑิตเป็นนายก อุปนายก และเลขาธิการรราชบัณฑิตยสถานเพื่อปฏิบัติงานทั่วไปตามระเบียบการของราชบัณฑิตยสถาน

มาตรา๒๑นายก อุปนายก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กับทั้งประธานและเลขานุการซึ่งได้เลือกตั้งขึ้นตามความในมาตรา ๒๐ นั้น ให้ดำรงตำแหน่งสองปี เมื่อครบกำหนดแล้ว ให้มีการเลือกตั้งใหม่ และจะเลือกตั้งผู้ที่รับตำแหน่งมาแล้วอีกก็ได้

มาตรา๒๒ให้มีการประชุมของสำนักตามระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานเพื่อปรึกษาการงานของสำนักและแถลงเรื่องที่ค้นคว้าได้ ทั้งเพื่อวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับความรู้บรรดาที่ภาคีสมาชิกและราชบัณฑิตส่งมายังสำนักตามความในมาตรา ๒๘

มาตรา๒๓ให้มีการประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักร่วมกันอย่างน้อยปีละสองครั้งเพื่อปรึกษาการงานของราชบัณฑิตยสถาน และพิจารณาเรื่องที่สำนักต่าง ๆ นำเสนอ รวมตลอดทั้งวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถาน

มาตรา๒๔ในการประชุมและการปรึกษาของราชบัณฑิตยสถาน ให้นำข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎรมาใช้โดยอนุโลม

มาตรา๒๕ในการประชุมของสำนักตามมาตรา ๒๒ ภาคีสมาชิกสำนักนั้น ๆ มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและแสดงความเห็น ไต่ถาม หรืออภิปราย แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

มาตรา๒๖ในการประชุมราชบัณฑิตตามมาตรา ๒๓ ภาคีสมาชิกทุกสำนักมีสิทธิเข้าฟังการประชุม แต่ไม่มีสิทธิแสดงความเห็น ไต่ถาม หรืออภิปรายอย่างหนึ่งอย่างใด

มาตรา๒๗บุคคคลภายนอกจะเข้าฟังการประชุมและการปรึกษาของราชบัณฑิตยสถานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตและได้ปฏิบัติตามระเบียบการของราชบัณฑิตยสถาน

มาตรา๒๘ภาคีสมาชิกและราชบัณฑิตมีหน้าที่เสนอเรื่องเกี่ยวกบวิชาที่ตนค้นคว้าได้ต่อสำนักของตนตามระเบียบการของราชบัณฑิตยสถาน

มาตรา๒๙ข้อความที่พิจารณากันในที่ประชุม ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิชา ให้ราชบัณฑิตยสถานนำออกโฆษณาเท่าที่จะทำได้


มาตรา๓๐ให้สมาชิกมีเอกสิทธิประดับเครื่องหมายตามระเบียบการของราชบัณฑิตยสถาน

มาตรา๓๑ให้ภาคีสมาชิกมีเอกสิทธิรับเงินอุปการะตามระเบียบการของราชบัณฑิตยสถาน

มาตรา๓๒ให้ราชบัณฑิตมีเอกสิทธิดังต่อไปนี้

(๑)รับเงินอุปการะตามระเบียบการของราชบัณฑิตยสถาน

(๒)ได้ความยกย่องในงานพิธีหรือสโมสรสันนิบาตทางราชการเสมอด้วยข้าราชการชั้นพิเศษ

(๓)รับอุปการะจากราชบัณฑิตยสถานตามสมควร ในกรณีที่พ้นจากตำแหน่งและอยู่ในพฤตติการที่ควรอนุเคราะห์

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
(๕๙ ร.จ. ๗๘๙ ตอนที่ ๒๒ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๘๕)