ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 17 (2463)

























หลวงโสภณอักษรกิจมาแจ้งความณหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครว่า คุณหญิงอินทรมนตรีจะปลงศพสนองคุณนางยิ้มผู้เปนมารดา เจ้าภาพงานศพนี้ให้หลวงโสภณอักษรกิจมาขออนุญาตพิมพ์หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๗ ซึ่งว่าด้วยเรื่องตำนานการเลิกหวยแลบ่อนเบี้ย เปนของแจกเนองในการกุศลทักษิณานุปทานที่บำเพ็ญนั้น
กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณอนุญาตให้พิมพ์ตามประสงค์ แลขออนุโมทนากุศลบุญราศีทักษิณานุปทานซึ่งเจ้าภาพได้บำเพ็ญในการปลงศพสนองคุณบุรพการี ทั้งที่พิมพ์หนังสือเรื่องนี้ให้ได้อ่านกันแพร่หลายอิกครั้งหนึ่ง หวังใจว่า ผู้ที่ได้รับหนังสือเรื่องนี้ไปคงจะอนุโมทนาด้วยทั่วกัน

เรื่องตำนานการเลิกหวยแลบ่อนเบี้ยที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ ข้าพเจ้าเก็บเนื้อความจากหนังสือจดหมายเหตุต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร คือ หนังสือราชกิจจานุเบกษา เปนต้น มาเรียบเรียงขึ้นเปนเรื่องตำนาน เพื่อจะให้ทราบเรื่องราวของอากรหวยแลอากรบ่อนเบี้ยตั้งแรกมีขึ้นในเมืองไทย จนกระทั่งได้เลิกหมดมิให้เล่นกันต่อไป ความข้อใดไม่มีหนังสือจะสอบสวน ก็ได้ไต่ถามตามผู้รู้เห็นซึ่งยังมีตัวอยู่ แลถามเจ้าพนักงานในกระทรวงพระคลังบ้าง แต่งประกอบกับความรู้แลความคิดเห็นของข้าพเจ้าเอง จนตลอดเรื่อง ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ได้ช่วยสงเคราะห์นั้นทั่วกัน
หนังสือเรื่องนี้ เห็นว่า เปนเรื่องพงศาวดาร จึงได้พิมพ์รวบรวมไว้ในหนังสือประชุมพงศาวดาร นับเปนภาคที่ ๑๗ ได้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีมแม พ.ศ. ๒๔๖๒ แต่เมื่อพิมพ์ครั้งนั้น มีเวลาน้อย แต่งพลางส่งลงพิมพ์พลาง ไม่มีเวลาที่จะสอบสวนได้กว้างขวาง ได้คิดเห็นอยู่แต่ครั้งนั้นว่า เรื่องราวที่แต่งไปคงจะยังมีวิปลาศแลบกพร่องอยู่ ครั้นพิมพ์หนังสือนั้นแล้ว วานพระยาโบราณราชธานินทร์ตรวจ ก็ปรากฎว่า ยังบกพร่องจริง ด้วยยังมีความในกฎหมายเก่าว่าด้วยบ่อนเบี้ยซึ่งยังมิได้ตรวจอยู่หลายแห่ง คือ
ในพระธรรมนูญว่า ตราปักษาวายุภักษ์ของพระยาราชภักดีเปนผู้ตั้งนายอากรบ่อนเบี้ย แห่ง ๑
ในลักษณะเบ็จเสร็จ ห้ามมิให้ข้าราชการเล่นเบี้ย และว่าด้วยการเล่นเบี้ยเงินติดค้าง แห่ง ๑
ในลักษณพยาน ห้ามมิให้ฟังคำนักเลงเล่นเบี้ยบ่อนเปนพยาน เว้นแต่โจทย์จำเลยยอมให้ฟังทั้ง ๒ ฝ่าย แห่ง ๑
สามแห่งที่กล่าวมานี้ เข้าใจว่า เปนกฎหมายตั้งครั้งกรุงเก่า แลยังมีกฎหมายตั้งครั้งรัชกาลที่ ๑ เนื่องด้วยบ่อยเบี้ยอิก ๓ บท คือ
ในพระราชกำหนดใหม่ บทที่ ๒ เพิ่มพระราชอาญาลงแก่ข้าราชการที่เสพสุราแลเล่นเบี้ย แห่ง ๑
พระราชกำหนดใหม่ บทที่ ๒๖ กำหนดอัตราเงินที่นายบ่อนขาดรองให้คนเล่นเบี้ย
ในพระราชบัญญัติ บทที่ ๘ ว่าด้วยกระทรวงศาลที่จะพิจารณาความซึ่งเกิดด้วยการเล่นเบี้ย แห่ง ๑
รวมกฎหมายเก่าเกี่ยวด้วยการบ่อนเบี้ยซึ่งตั้งในรัชกาลที่ ๑ กรงรัตนโกสินทร์ ๓ แห่งด้วยกัน ถ้าว่าโดยเนื้อเรื่อง ก็เปนแต่ปรากฎความพิศดารขึ้น แต่หาได้ลบล้างความสำคัญข้อใดที่ได้เรียบเรียงไว้ไม่
นอกจากกฎหมายเก่าที่ได้กล่าวมา ยังได้พบในสำเนาตราตั้งนายอากรบ่อนเบี้ย ได้ความแปลกออกไปอิกอย่าง ๑ ว่า บ่อนเบี้ยแต่ก่อนนั้น กำหนดเปน ๒ อย่าง เรียกว่า บ่อนเบี้ยจีน อย่าง ๑ บ่อนเบี้ยไทย อย่าง ๑ ต่างกันด้วยวิธีเล่น บ่อนจีนยอมให้เล่นติดคิดบาญชีหักใช้กันได้ตามประเพณีจีน แต่บ่อนไทยให้เล่นเงินสด แต่เดิมตั้งบ่อนแยกกัน ต่อมาจึงรวมเปนบ่อนเดียวกัน
ข้าพเจ้าได้ตั้งใจว่า มีโอกาศเมื่อใด จะแก้ไขหนังสือเรื่องตำนานบ่อนเบี้ยให้ตรงตามความรู้ที่ได้ใหม่ให้บริบูรณ แต่ยังไม่มีโอกาศจะทำได้ บัดนี้ หลวงโสภณอักษรกิจจะขออนุญาตพิมพ์หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๗ เปนครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าจะแก้ไขให้บริบูรณไม่ทัน จึงแต่งแจ้งความนี้ไว้ให้ทราบ
บรรณานุกรมแก้ไข
- ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2463). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 17. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. (พิมพ์ครั้งที่ 2 แจกในงานศพนางยิ้ม มารดาคุณหญิงอินทรมนตรี ปีวอก พ.ศ. 2463).
งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
- ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
- แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก