พระราชบัญญัติลักษณทาษมณฑลตวันตกเฉียงเหนือ ร.ศ. 119

ตราพระบรมราชโองการ
ตราพระบรมราชโองการ
  • พระราชบัญญัติลักษณทาษ
  • มณฑลตวันตกเฉียงเหนือ
  • รัตนโกสินทรศก ๑๑๙

ด้วยมีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงษ์ วรุตมพงษบริพัต วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ด้วยเรื่องทาษในมณฑลตวันตกเฉียงเหนือ บัดนี้ มีอยู่ ๒ จำพวก คือ ตามคำภีร์พระธรรมสาตรอันโบราณราชกระษัตริยได้ทรงบัญญัติไว้ เรียกว่า นำธงไชยไปรบศึกแล้วได้มาเปนทาษชะเลย ๑ ทาษไถ่มาด้วยทรัพย์ ๑ แลทาษชะเลยนั้น ตามประเพณีโบราณกาลก่อนมา พระมหากระษัตราธิราชเจ้าได้มีพระบรมราชโองการให้เจ้านายพระยาแสนท้าวหัวเมืองในมณฑลตวันตกเฉียงเหนือยกกำลังไปปราบปรามข้าศึกสัตรูนั้น เมื่อได้ไชยชนะแล้ว บรรดาคนฝ่ายข้าศึกซึ่งจับม่ได้เปนชะเลยมากน้อยเท่าใด ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แบ่งให้เปนบำเหน็จบำนาญแก่ข้าราชการแม่ทัพนายกองซึ่งได้ไปรับราชการปราบปรามข้าศึกสัตรูสนองพระเดชพระคุณตามความดีความชอบ คนชะเลยแลบุตรหลานของคนชะเลยพวกนั้นได้ตกเปนทาษแก่แม่ทัพนายกองบุตรหลานของแม่ทัพนายกองสืบมาจนกาลบัดนี้ มีกำหนดค่าตัวของทาษชะเลยตามอัตราประเพณีเมืองในมณฑลนั้นต่างกันดังนี้ คือ

นครเชียงใหม่ ชายมีค่าตัว ๕๔ บาท หญิงค่าตัว ๗๒ บาท

นครน่าน ชายมีค่าตัว ๔๕ บาท หญิงค่าตัว ๖๐ บาน

นครลำพูน ชายมีค่าตัว ๕๔ บาท หญิงค่าตัว ๗๒ บาท

เมืองแพร่ ชายมีค่าตัว ๔๘ บาท หญิงค่าตัว ๔๘ บาท

เมืองเถิน ชายมีค่าตัว ๔๒ บาท หญิงค่าตัว ๖๔ บาท

จนครบอายุ ๖๐ ปี จึงพ้นค่าตัวหลุดเปนไทย แลบุตรของคนจำพวกนี้ เมื่อเกิดมา คิดค่าตัวอัตราต่าง ๆ เปนรายปี ๆ ขึ้นไปเปนเต็มค่าตัวสืบไปดังนี้ชั่วบุตรหลานเหลน

อนึ่ง ทาษสินไถ่ในมณฑลตวันตกเฉียงเหนือนั้น ยังคงใช้ตามพระราชบัญญัติเดิมอันโบราณราชกระษัตริยตั้งไว้ตามคำภีร์พระธรรมสาตรในลักษณทาษ ๗ จำพวก คือ ทาษไถ่มาด้วยทรัพย์ เพราะฉนั้น ถ้าทาษไม่มีเงนมาให้แก่เจ้าทาษครบค่าแล้ว ก็ไม่มีเวลาที่จะพ้นยากจากทุกข์เปนไทยได้ ฝ่ายลูกทาษซึ่งเกิดแต่ทาษสินไถ่นั้น ถ้าเกิดในเรือนเบี้ย พอเกิดมา ก็นับว่า เปนทาษมีค่าตัวไปดังนี้ จึงทรงพระราชดำริห์เห็นว่า ทาษชะเลยซึ่งได้มาในการศึกสงครามชั้นปู่ย่าบิดามารดาของคนทาษชะเลยปัจจุบันี้ ได้เปนทาษรับการงานใช้สอยของปู่ย่าบิดามารดาของนายเงินแลตัวนายเงินอยู่จนทุกวันนี้แล้ว ลูกหลานเหลนของทาษชะเลยเหล่านี้ ตามประเพณีเมือง ยังต้องจะเปนทาษสืบไปไม่มีที่สุดสิ้น ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า เปนการเดือดร้อนแก่อาณาประชาราษฎร ด้วยลูกหลานของทาษชะเลยสืบไปยังต้องรับโทษทุกข์ของปู่ย่าบิดามารดาอยู่ อนึ่ง การที่ว่าเปนทาษเช่นนี้ ก็ไม่มีหลักถานสิ่งใด มักนำให้บุตรหลานของนายเงินผู้รับมรฎกทาษต่อมาแย่งชิงเกิดเปนคดีวิวาทพาให้ยุ่งยากแก่โรงศาลบ้านเมือง แลส่วนลูกหลานของทาษสินไถ่นั้น เมื่อไม่มีเงินค่าไถ่ค่าตัวตามอัตราตัวเกษียญอายุเดิม ก็ต้องเปนทาษสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้สืบไปดังนี้

มาตรา  พระราชบัญญัตินี้ ให้เรียกว่า พระราชบัญญัติลักษณทาษมณฑลตวันตกเฉียงเหนือ ร,ศ, ๑๑๙

มาตรา  พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ เปนต้นไป

มาตรา  คำซึ่งว่า ทาษชะเลย หมายความว่า ทาษซึ่งเรียกว่า ค่าปลายหอกงาช้าง หรือค่าหอคนโฮ่ง ซึ่งเปนคนในพื้นเมือง

คำซึ่งว่า ทาษสินไถ่ นั้น หมายความว่า ทาษซึ่งนายเงินได้ออกช่วยไถ่ค่าตัวมาตามพระราชกำหนดกฎหมาย

มาตรา  ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ เปนต้นแลสืบไป ในมณฑลตวันตกเฉียงเหนือ ให้ลดค่าตัวทาษชะเลยทั้งปวง ชายให้คงมีค่าตัวแต่ ๒๕ บาท หญิงแต่ ๓๒ บาท

มาตรา  ทาษชะเลยก็ดี ทาษสินไถ่ก็ดี ทั้งชายหญิง ถ้าอายุถึง ๖๐ ปีแล้ว พ้นค่าตัวเปนไทย

มาตรา  ทาษชะเลยมีเงินจะมาขอไถ่ค่าตัวตามอัตราค่าตัวที่ลดตามมาตรา ๔ นายเงินต้องรับเงินจากตัวทาษ จะกักขังหน่วงเหนี่ยวไว้ไม่ยอมให้ไถ่ค่าตัวไม่ได้

มาตรา  บรรดาลูกทาษชายหญิงทั้งปวง ซึ่งเปนลูกทาษชะเลยก็ดี หรือลูกทาษสินไถ่ก็ดี ซึ่งเกิดในวันที่ ๑๖ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ หรือภายหลังวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๑๑๖ ซึ่งเปนวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศยุโรปคืนสู่พระนครโดยสวัสดิภาพนั้น สืบไปให้พ้นค่าตัวเปนไทย

มาตรา  บรรดาลูกทาษชะเลยชายหญิงซึ่งเกิดก่อนวันที่ ๑๖ ธันวาคม ศก ๑๑๖ นั้น ให้คิดค่าตัวตามรายปีจนอายุ ๑๐ ปี จึงให้เปนทาษเต็มค่าตัว เปนต้นว่า ลูกทาษชาย ให้คิดค่าตัวขึ้นตามอายุลูกทาษ ปีละ ๒ บาท ๓๒ อัฐ เพิ่มขึ้นเปนรายปีไปจนอายุ ๓๐ ปี เต็มค่าตัวชาย ๒๕ บาท

มาตรา  คนซึ่งเกิดในมณฑลตวันตกเฉียงเหนือในวันที่ ๑๖ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ หรือภายหลังนั้นต่อมา ห้ามมิให้เปนทาษอย่างใด ๆ ต่อไปเปนอันขาด

มาตรา ๑๐ ผู้ใดเปนเจ้าเงิน มีทาษมากน้อยเท่าใด จะเปนทาษชะเลยก็ดี หรือทาษสินไถ่ก็ดี ให้เจ้าเงินมาทำหนังสือสารกรมธรรม์ทาษต่อนายแขวงเสียให้เสร็จภายในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ สิบไป ถ้าผู้ใดจะร้องฟ้องว่ากล่าวว่า ผู้ใดเปนทาษก็ดี ถ้าไม่มีหนังสือสารกรมธรรม์ซึ่งมีศุภมาสวันคืนทำที่แขวงแลนายแขวงได้ลงชื่อประทับตราเปนหลักทรัพย์ตามพระราชกำหนดกฎหมายแล้ว ห้ามมิให้โรงศาลรับไว้พิจารณา

มาตรา ๑๑ ถ้าผู้ใดมีอาสน จะขอทำหนังสือสารกรมธรรม์ขายตัวเปนทาษสินไถ่ท่านต่อหน้านายแขวง ให้นายแขวงพิจารณาดูไต่สวนดูจนกระหนักว่า เปนคนเกิดก่อนหรือภายหลังวันที่ ๑๖ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ ถ้านายแขวงมีเหตุผลควรสงไสยว่า เปนคนเกิดภายหลังวันที่ ๑๖ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ แล้ว ให้บังคับให้ผู้จะขายตัวนั้นนำพยานผู้ซึ่งรู้เห็นว่า ผู้นั้นเกิดก่อนวันที่ ๑๖ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ มาสาบาลตัวไม่น้อยกว่า ๒ คนรับรองว่า ผู้จะเปนทาษนั้นเปนคนเกิดก่อนวันที่ ๑๖ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ แล้วจึงให้นายแขวงทำสารกรมธรรม์ให้ ถ้ามิฉนั้น ห้ามมิให้นายแขวงทำสารกรมธรรม์ให้ขายตัวกันเปนทาษ

มาตรา ๑๒ ถ้าบิดามารดาญาติผู้ใหญ่จะนำบุตรหลานเอาไปขายเปนทาษสินไถ่ใส่ชื่อในสารกรมธรรม์ ต้องให้มันเรือนตัวเบี้ยรู้เห็นลงกำแหงแก่งใดเขียนชื่อไว้ในสารกรมธรรม์เปนสำคัญ จึงเปนสิทธิได้แก่เจ้าเงิน ถ้าตัวเบี้ยมิรู้เห็นไม่ได้ลงกำแหงแก่งใดหรือไม่ได้เขียนชื่อด้วยลายมือเองเปนสำคัญ อย่าให้นับว่าเปนทาษ

มาตรา ๑๓ ถ้าผู้มีทรัพย์รับช่วยไถ่คนซึ่งเกิดภายหลังวันที่ ๑๖ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ นั้นมาเปนทาษ มิได้เปนสิทธิ์แก่เจ้าสินโดยพระราชบัญญัติ ถึงกรมธรรม์มีศุภมาศวันคืน ชื่อตัวเบี้ย จำนวนเงิน ประการใด ตัวเบี้ยจะไปจากเจ้าเบี้ยนายเงินได้ตามลำพังใจ เจ้าเบี้ยนายเงินจะตามกุมเกาะมาว่ากล่าวไม่ได้ เงินค่าตัวเปนพับแก่เจ้าเบี้ยนายเงินโดยโทษล่วงพระราชกฤษฎีกา

มาตรา ๑๔ บรรดาพระราชกำหนดกฎหมายเก่าทั้งปวงว่าด้วยเรื่องทาษซึ่งไม่ขัดด้วยพระราชบัญญัตินี้ใช้อยู่เท่าใด ก็ให้นำมาใช้พร้อมกันวันที่ได้ใช้พระราชบัญญัตินี้ทั้งนั้น

มาตรา ๑๕ ให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยออกข้อบังคับแลแบบแผนสำหรับใช้ในการทำสารกรมธรรม์ทาษแลทำบาญชีทาษตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าได้ออกข้อบังคับแลแบบแผนอย่างใด เมื่อได้ประกาศโฆษณาการให้มหาชนทราบทั่วกันในหนังสือพิมพ์ราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ถือแลใช้เปนส่วนของพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๖ ให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเปนเจ้าน่าที่จัดการรักษาให้เปนไปตามพระราชบัญญัตินี้จงทุกประการ

ประกาศมาณวันที่ ๒๑ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ ฤๅเปนวันที่ ๑๑๕๔๕ ในรัชกาลปัตยุบันนี้

บรรณานุกรม แก้ไข

 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"