พระราชบัญญัติเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความอาญา รัตนโกสินทรศก 126

ตราพระบรมราชโองการ
ตราพระบรมราชโองการ
  • พระราชบัญญัติเพิ่มเติมวิธีพิจารณา
  • ความอาญา
รัตนโกสินทรศก ๑๒๖

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกัน ด้วยทรงพระราชดำริห์ถึงความผู้ร้ายบางเรื่องซึ่งเจ้าของทรัพย์ต้องเสียทรัพย์ไปโดยทางโจรภัยหรืออื่น ๆ แลอัยการเปนโจทย์ ศาลได้พิพากษาลงโทษผู้ร้ายแล้ว ยังเปนการยากลำบากแก่ผู้เจ้าของทรัพย์ในเรื่องที่จะเรียกทรัพย์คืนอยู่ เพราะเหตุนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้เปนพระราชบัญญัติเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความอาญาต่อไป ดังนี้.

มาตรา  ในคดีเรื่องลักทรัพย์, แย่งชิง, วิ่งราว, ปล้นทางบกทางน้ำ, กันโชก, ฉ้อโกง, ยักยอกทรัพย์ผู้อื่นเปนประโยชน์ของตนในทางอาญา, แลรับของโจรใด ๆ ที่เจ้าพนักงานอัยการเปนผู้ยื่นคำหากล่าวโทษผู้กระทำผิดตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญามีโทษนั้น แต่นี้ไป ให้เปนหน้าที่ของเจ้าพนักงานอัยการที่กล่าวแล้วนั้นเปนผู้ฟ้องแทนผู้ที่ได้รับความเสียหายเพื่อเรียกทรัพย์หรือราคาของทรัพย์ซึ่งผู้เจ้าของได้เสียไปโดยผิดกฎหมายในคดีอาญาที่ว่ามาแล้วนั้นคืนจากผู้ต้องหาได้.

มาตรา  คดีที่ฟ้องเรียกทรัพย์คืนดังกล่าวแล้วนั้น ให้เจ้าพนักงานอัยการยื่นรวมกันกับข้อหาในความอาญา หรือให้ทำเปนคำร้องยื่นในเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างที่ศาลเดิมพิจารณาความอาญานั้นอยู่ก็ได้ คำพิพากษาในเรื่องเรียกทรัพย์คืนนี้ให้ชี้ขาดลงไว้ในคำพิพากษาคดีอาญาส่วนหนึ่งด้วย คดีเช่นนี้จะแยกฟ้องเปนความแพ่งเมื่อภายหลังคำพิพากษาในความอาญานั้นถึงที่สุดแล้วก็ได้.

มาตรา  ในทางพิจารณา ถ้าพยานหลักถานที่ได้นำสืบนั้นไม่เปนที่เพียงพอ จะให้รู้ชัดได้ว่า จำนวนหรือราคาทรัพย์นั้นมากน้อยอย่างไร หรือใครเปนเจ้าของทรัพย์นั้นแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ไต่สวนต่อไปและเรียกพยานหลักถานมาสืบประกอบเพิ่มเติมอีก.

ในคดีเช่นนี้ ศาลจะยังไม่ทำคำชี้ขาดเรื่องเรียกทรัพย์คืนแลค่าเสียหายนั้นลงในคำพิพากษาคดีอาญาก่อน แลจะรอไว้วินิจฉัยเปนคำสั่งต่อทีหลังก็ได้.

มาตรา  ถ้าการวินิจฉัยเพื่อให้ได้ความแน่ชัดว่า จำนวนทรัพย์ที่ควรจะได้แก่ผู้ต้องเสียหายมากน้อยเพียงไรนั้นจะทำให้เปนการชักช้าแก่คดีที่พิจารณาอยู่ เช่น จะต้องคิดหักชำระบาญชีที่ยุ่งยากต่อกัน เปนต้น ดังนี้แล้ว ศาลมีอำนาจจะสั่งให้แยกคดีที่ฟ้องเรียกทรัพย์คืนนั้นออกเสียจากความอาญา แลให้พิจารณาคดีนั้นไปต่างหากส่วนหนึ่งได้ ตามความในมาตรา ๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้

มาตรา  เมื่อศาลได้พิพากษาให้คืนทรัพย์หรือให้ใช้ราคาค่าทรัพย์แก่เจ้าพนักงานอัยการ แต่ทรัพย์นั้นไม่ได้อยู่ในความรักษาของศาลแล้ว ก็ให้เปนหน้าที่ของผู้ที่ได้รับความเสียหายจะต้องขอให้ศาลบังคับคดีไปตามคำตัดสินและจะต้องทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่จำเปนเพื่อตนจะได้รับทรัพย์หรือราคาค่าทรัพย์นั้นคืน.

มาตรา  ห้ามไม่ให้ศาลเรียกค่าธรรมเนียมแก่เจ้าพนักงานอัยการในการที่เปนผู้ฟ้องเดิมหรือยื่นคำร้องขอเรียกทรัพย์นั้นเลย แต่ให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายนั้นเองเปนผูเสียเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในกระบวนพิจารณาชั้นหลังคำพิพากษาทุกอย่าง จำเลยในคดีอาญาเรื่องนั้นจะต้องรับผิดชอบเสียค่าใช้จ่ายแลค่าธรรมเนียมตามที่กล่าวข้างบนแล้วแทนทั้งสิ้น กับทั้งจะต้องใช้ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ซึ่งจะมีขึ้นเหมือนกับคดีเรื่องนั้นได้ว่ากล่าวกันในทางแพ่งธรรมดาด้วย เมื่อทรัพย์สมบัติของจำเลยนั้นได้เอามาใช้ทุนทรัพย์ที่ผู้ต้องเสียหายเรียกเสร็จแล้วแลยังเหลืออยู่เท่าใด จึงเอามาใช้ค่าเสียหายแลค่าธรรมเนียมที่กล่าวนั้นตามมากแลน้อย.

ประกาศมาณวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ เปนวันที่ ๑๔๓๕๑ ในรัชกาลปัตยุบันนี้ ๚

บรรณานุกรม แก้ไข

 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"