พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558


เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๐ ก

๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
หน้า ๔๓
ราชกิจจานุเบกษา

ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๒)
พ.ศ. ๒๕๕๘

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๕๘"

มาตรา  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๖) ของมาตรา ๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

"(๑๖) "เจ้าพนักงาน" หมายความว่า บุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นเจ้าพนักงาน หรือได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่ว่าเป็นประจำหรือครั้งคราว และไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่"

มาตรา  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๑๐๒ ความผิดลหุโทษ คือ ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นลักษณะ ๑๓ ความผิดเกี่ยวกับศพ มาตรา ๓๖๖/๑ มาตรา ๓๖๖/๒ มาตรา ๓๖๖/๓ และมาตรา ๓๖๖/๔ ในภาค ๒ ความผิด แห่งประมวลกฎหมายอาญา

"ลักษณะ ๑๓
ความผิดเกี่ยวกับศพ

มาตรา ๓๖๖/๑ ผู้ใดกระทำชำเราศพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของศพ หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของศพ

มาตรา ๓๖๖/๒ ผู้ใดกระทำอนาจารแก่ศพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๓๖๖/๓ ผู้ใด โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้เสียหาย เคลื่อนย้าย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งศพ ส่วนของศพ อัฐิ หรือเถ้าของศพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๓๖๖/๔ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามศพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา  ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา ๓๖๗ มาตรา ๓๖๘ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาตรา ๓๖๙ มาตรา ๓๗๐ มาตรา ๓๗๑ มาตรา ๓๗๒ มาตรา ๓๗๓ มาตรา ๓๗๔ มาตรา ๓๗๕ มาตรา ๓๗๖ มาตรา ๓๗๗ มาตรา ๓๗๘ มาตรา ๓๗๙ มาตรา ๓๘๐ มาตรา ๓๘๑ มาตรา ๓๘๒ มาตรา ๓๘๓ มาตรา ๓๘๔ มาตรา ๓๘๕ มาตรา ๓๘๖ มาตรา ๓๘๗ มาตรา ๓๘๘ มาตรา ๓๘๙ มาตรา ๓๙๐ มาตรา ๓๙๑ มาตรา ๓๙๒ มาตรา ๓๙๔ มาตรา ๓๙๕ และมาตรา ๓๙๖ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้อัตราโทษต่อไปนี้แทน

มาตรา ๓๖๗ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท"

มาตรา ๓๖๘ วรรคหนึ่ง ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๖๘ วรรคสอง ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๖๙ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท"

มาตรา ๓๗๐ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท"

มาตรา ๓๗๑ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น"

มาตรา ๓๗๒ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท"

มาตรา ๓๗๓ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท"

มาตรา ๓๗๔ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๗๕ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท"

มาตรา ๓๗๖ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๗๗ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๗๘ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท"

มาตรา ๓๗๙ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๘๐ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๘๑ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๘๒ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๘๓ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๘๔ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๘๕ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท"

มาตรา ๓๘๖ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท"

มาตรา ๓๘๗ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท"

มาตรา ๓๘๘ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท"

มาตรา ๓๘๙ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๙๐ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๙๑ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๙๒ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๙๔ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา ๓๙๕ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท"

มาตรา ๓๙๖ ... "ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท"

มาตรา  ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา ๓๙๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ และให้ใช้อัตราโทษต่อไปนี้แทน

มาตรา ๓๙๓ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรา  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๙๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๓๙๗ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล หรือเป็นการกระทำอันมีลักษณะส่อไปในทางที่จะล่วงเกินทางเพศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นการกระทำโดยอาศัยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำอันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท"

มาตรา  ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา ๓๙๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้อัตราโทษต่อไปนี้แทน

มาตรา ๓๙๘ ... "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในการพิจารณาคดีในปัจจุบันมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความหมายของคำว่า "เจ้าพนักงาน" สมควรกำหนดบทนิยามคำว่า "เจ้าพนักงาน" ไว้ให้ชัดเจน นอกจากนั้น ประมวลกฎหมายอาญายังมิได้กำหนดความผิดเกี่ยวกับศพ ได้แก่ การกระทำชำเราศพ การกระทำอนาจารแก่ศพ การกระทำให้ศพเสียหาย และการดูหมิ่นเหยียดหยามศพ อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ และชื่อเสียง ซึ่งมาตรา ๔ และมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้รับรองไว้ สมควรให้มีบทบัญญัติความผิดดังกล่าว ประกอบกับมาตรา ๓๙๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติเฉพาะกรณีกระทำการอันเป็นการรังแก ข่มเหง หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล ซึ่งยังไม่ครอบคลุมการกระทำในที่รโหฐาน การคุกคาม การกระทำอันมีลักษณะส่อไปในทางที่จะล่วงเกินทางเพศ และการกระทำโดยอาศัยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำ สมควรกำหนดให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิด เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลในความเป็นอยู่ส่วนตัว ซึ่งมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้รับรองไว้ด้วย อีกทั้งอัตราโทษปรับสำหรับความผิดลหุโทษยังไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สมควรปรับปรุงอัตราโทษปรับให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"