ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทรัพยศาสตร์/คำนำพิมพ์ครั้งที่ 2"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 22:
หนังสือเศรษฐวิทยาที่ได้จัดพิมพ์ออกจำหน่ายนี้ ชั้นเดิมท่านเจ้าของได้ให้โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ จัดพิมพ์เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๔ โดยใช้ชื่อว่า "ทรัพย์ศาสตร์" แต่ในการพิมพ์ออกจำหน่ายในครั้งนั้นยังไม่แพร่หลาย เพราะรัฐบาลได้ขอร้องไม่ให้นำออกเผยแพร่ จึงไม่มีใครได้อ่านมากนัก
 
ในเวลานี้หนังสือที่เกี่ยวกับวิชาเศรษฐวิทยา ซึ่งแต่งเรียบเรียงโดยคนไทยเป็นภาษาไทยยังหาอ่านได้ไม่ง่ายนัก จะมีก็เป็นเรือ่งเรื่องที่แปลจากภาษาต่างประเทศอยู่บ้าง อย่างไรก็ดีก็ยังนับว่าไม่พอกับความต้องการของผู้ที่รักจะเรียนรู้ในวิชานี้อยู่นั่นเอง ตำราเศรษฐวิทยานี้เป็นการยากเพียงไร หวังว่าท่านผู้ที่เอาใจใส่ศึกษาค้นคว้าคงจะรู้ดี ยิ่งเป็นตำราภาษาต่างประเทศด้วยแล้วความยากลำบากก็ทวีขึ้น มิใช่จะยากในเนื้อวิชาอย่างเดียว ศัพท์ที่ใช้ก็พลอยยากไปด้วย เพราะคำบางคำเป็นคำเฉพาะยากที่่จะค้นคว้าให้เข้าใจได้
 
ความสำคัญหรือคุณประโยชน์ของวิชานี้สำคัญเพียงไรนั้นเราเกือบจะไม่ต้องกล่าวถึง เพราะวิชานี้แฝงอยู่เกือบทุกวิชาหรือทุกสิ่งทุกอย่างในการดำรงชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักการเมืองก็คือการทำนุบำรุงบ้านเมือง ยิ่งสมัยนี้เป็นสมัยที่ตกอยู่ในสมัยเศรษฐกิจด้วยแล้ว ความจำเป็นในการเรียนรู้วิชานี้เพื่อจะนำมาทำประโยชน์ก็ยิ่งทวีขึ้นสำหรับประเทศสยามเราผู้ที่ฝักใฝ่ในทางนี้อันจัดอยู่ในชั้นเอกได้นั้นก็ยังมีน้อยไม่พอกับความต้องการของประเทศ ฉะนั้นจคงเป็นการจำเป็นอยู่บ้างที่พวกเราจะต้องทำการค้นคว้าเรียนรู้กันให้สมยุคสมสมัย แต่การเรียนวิชานี้จะให้รู้อย่างแท้จริงนั้นเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสละเวลาไปเรียนยังต่างประเทศเป็นนานปีจึงจะสำเร็จ หรือถ้าจะเรียนโดยลำพังตนเองก็ต้องเป็นผู้รู้ในภาษาต่างประเทศดี ความยากลำบากมีอยู่ดังนี้ จึงเป็นการที่จะให้รู้กันทั่ว ๆ ไปได้โดยยาก