ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งานแปล:โทรเลข 28513 จากสถานเอกอัครราชทูตในกรุงเทพมหานครถึงกระทรวงการต่างประเทศ 14 ตุลาคม 1976"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ขอกำหนดเป็น CC-BY-SA 3.0
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 78:
: ก) การเมือง - จะให้เสรีภาพมากเท่าใดโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสื่อ ความเคลื่อนไหวสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะรวดเร็วเพียงใด จะทำอย่างไรเกี่ยวกับการก่อการกำเริบ จะปรับปรุงสภาพการรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อยอย่างไร จะทำอย่างไรเกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งเป็นความชั่วร้ายแพร่หลายที่มีความสำคัญยืดเยื้อ
: ข) เศรษฐกิจ - จะทำอย่างไรเกี่ยวกับการลงทุน รวมทั้งการลงทุนจากต่างประเทศและในประเทศ และอะไรที่เป็นส่วนผสมระหว่างทั้งสองที่พึงประสงค์ มีความสนใจในการปฏิรูปที่ดินมากน้อยเพียงใด
: ค) นโยบายเศรษฐกิจ - จะทำอะไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านคอมมิวนิสต์ของประเทศไทย (ทั้งเวียดนามและลาวประณามรัฐประหารอย่างรุนแรงตามคาด) แล้วความสัมพันธ์กับสหรัฐจะเป็นอย่างไร (กองทัพไทยไม่อยมเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับสหรัฐในช่วงปีที่ผ่านมา และการกีดกันพวกเขาจากการเจรจาในต้ปนี 1976 ในเรื่องประเด็นการคงกองทัพและฝ่ายข่าวกรองสหรัฐที่เหลือ) สนธิสัญญากรุงมะนิลาจะมีคุณค่าอะไรต่อผลประโยชน์ความมั่นคงของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการกำจัดขั้นสุดท้ายของซีโต้ในเดือนมิถุนายน 1977
|-style="vertical-align:top;"
| 11. || ณ จุดนี้ยังเป็นการง่ายที่จะถามคำถามกว่าให้คำตอบ ในภาพรวม เราเชื่อว่าช่วงเวลาแห่งความไร้เสถียรภาพและความสับสนอยู่บ้างจะอยู่เบื้องหน้า จนกว่าผู้นำรัฐบาลที่ถูกกองทัพครอบงำปักหลักได้ เมื่อคำนึงถึงภูมิหลังและประสบการณ์ของบุคลากรในคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ยังน่าสงสัยอยู่ว่าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่ประกอบขึ้นในปัจจุบันสามารถเป็นผู้นำดังที่ประเทศไทยต้องการในช่วงเวลาต่อจากนี้