ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนังสือสัญญากรุงเทพมหานครกับกรุงอังกริษเปนทางไมตรีค้าขายกัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Itpcc (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไข HTML Tag
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{หัวเรื่อง <!-- ข้อมูลหลัก --> | ชื่อ = หนังสือสัญญากรุงเท..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน
บรรทัดที่ 1:
{{หัวเรื่อง
{{คุณภาพเนื้อหา|75%}}
<!-- ข้อมูลหลัก -->
{{หัวเรื่องกฎหมาย
| ชื่อ = หนังสือสัญญากรุงเทพมหานครกับกรุงอังกริษเปนทางไมตรีค้าขายกัน
| ชื่อเรื่อง = สนธิสัญญาเบาว์ริง
| ปี = 2399
| ชื่อเรื่องย่อย = หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม
| ผู้สร้างสรรค์ =
| วิกิพีเดียชื่อเรื่อง =
| บรรณาธิการ =
| พระราชนิพนธ์ =
| พระนิพนธ์ =
| ผู้แต่ง =
| ผู้แต่งไม่ลิงก์ =
| วิกิพีเดียผู้แต่ง =
| ผู้แปล =
| ส่วน =
| เรื่องก่อนหน้า =
| ผู้มีส่วนร่วม =
| เรื่องถัดไป =
| ก่อนหน้า =
| ถัดไป =
| หมายเหตุ =
<!-- ข้อมูลย่อย (สำหรับจัดระเบียบหรือเชื่อมโยงไปหน้าอื่น) -->
| หมวดหมู่ =
| แก้กำกวม =
| รุ่น =
| สถานีย่อย = สนธิสัญญา
| ผู้สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้อง =
| วิกิพีเดีย =
| คอมมอนส์ =
| หมวดหมู่คอมมอนส์ =
| วิกิคำคม =
| วิกิข่าว =
| วิกิพจนานุกรม =
| วิกิตำรา =
| วิกิห้องสมุด =
| วิกิสนเทศ =
| วิกิท่องเที่ยว =
| วิกิวิทยาลัย =
| วิกิสปีชีส์ =
| เมทา =
}}
<pages index="สัญญากรุงเทพฯ กับกรุงอังกฤษเป็นทางไมตรีค้าขายกัน (๒๓๓๙).pdf" include="1"/>
{{Plain sister
----
| edition = yes
{{สบช|
| wikipedia = สนธิสัญญาเบาว์ริง
* [[/หนังสือสัญญา|หนังสือสัญญา ลงวันพุทธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ สับตศก จ.ศ. 1217 (พ.ศ. 2398)]]
| commons = Category:Bowring Treaty
* [[/กดหมายอย่างพ่อค้า|กดหมายอย่างพ่อค้าอังกฤษซึ่งมาค้าขายในกรุงฯ ต้องใช้]]
* [[/พิกัดภาษีนอกแลใน|พิกัดภาษีนอกแลในที่จะเรียกเอาตามหนังสือสัญญานี้]]
* [[/ไขข้อสัญญาฮาริปาก|ไขข้อสัญญาฮาริปาก ปีมโรง อัฐศก จ.ศ. 1218 (พ.ศ. 2399)]]
* [[/พิกัดอากอรแลสมภักษร/]]
* [[/กดหมายเรื่องเกบภาษี|กดหมายเรื่องเกบภาษีท่านเสนาบดียอมไว้]]
* [[/ปิดตรา/]]
}}
==บรรณานุกรม==
{{clear}}
<div id="treaty">
{{pb2|label=สนธิสัญญา}}
{{fs|85%|[[#กฎ|ลง]]}}
 
* ''[[ดัชนี:สัญญากรุงเทพฯ กับกรุงอังกฤษเป็นทางไมตรีค้าขายกัน (๒๓๓๙).pdf|Treaty of friendship and commerce between Great Britain and Siam. Signed April 18, 1855. Ratified April 5, 1856]]''. (1856). Bangkok: Washington Press.
 
{{ลิขสิทธิ์หมดอายุ-ไทย}}
 
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาไทย|เบาว์ริง]]
 
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาสหราชอาณาจักร|เบาว์ริง]]
 
{{c|{{fs|140%|'''หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี'''}}}}
 
 
{{c|{{fs|120%|'''ประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม'''}}}}
 
 
{{r|8em}}
 
 
 
 
 
ศุภมัศดุ จุลศักราช ๑๒๑๗ ปีเถาะ สัปตศก ความเจริญงามจงมีแก่บ้านเมืองเทอญ
 
ครั้งนี้ มีทูตอังกฤษมาแต่พระนางซึ่งเปนใหญ่เปนเจ้าราชอาณาจักรอันผสมกัน คือ ทวีปปริตเตียนใหญ่แลทวีปไอยยิแลน แลที่อื่น ๆ อันขึ้นแก่ราชอาณาจักรนั้น เข้ามาฃอทำสัญญาทางพระราชไมตรีแลการค้าขายกับกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยา จึ่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏ สุทธสมมติเทพยพงษวงษาดิศวรกระษัตริย์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แลพระบาทสมเด็จพระบวเรนทราเมศวรมหิศเรศรังสรรค์ มหันตวรเดโชไชยมโหฬารคุณอดุลยเดช สรรพเทเวศรานุรักษ์ บวรจุฬจักรพรรดิราชสังกาศ บวรธรรมิกราชบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สองพระองค์ทรงเห็นชอบกับราชดำริห์พระนางเปนเจ้าเปนใหญ่ในทวีปปริตเตียนใหญ่แลไอยยิแลน ร่วมพระราชประสงค์ทำหนังสือสัญญาทางไมตรีกับพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษเมืองปริตเตนอิริลานต์ เพื่อจะให้มีผลประโยชน์แก่ราษฎรอยู่ใต้บังคับไทยแลคนอยู่ในบังคับอังกฤษ จัดแจงการทำมาหากินค้าขายให้มีประโยชน์เรียบร้อย เพราะเหตุฉะนี้ จึ่งได้ตั้งพระไทยจะทำหนังสือสัญญาไมตรีการค้าขาย จึ่งได้ตั้งเสนาบดีให้มีอำนาจทั้งสองฝ่าย ๆ พระเจ้าแผ่นดินเมืองปริตเตนไอยยิแลนตั้งเซอยอนโบวริงเปนขุนนางลูกขุนผู้ใหญ่ ฝ่ายพระบาทสมเด็จบรมนาถบพิตร์พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์พร้อมกันกับความคิดพระราชวงษานุวงษ์แลข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งปวง มอบความพระราชดำริห์แลพระราชประสงค์ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท มาประชุมแทนพระราชวงษานุวงษ์ แล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาปยุรวงษ์ วรุตมพงษ์นายก สยามดิลกโลกานุปาลนนารถ สกลราชวราณาจักราธิเบนทร ปรเมนทรมหาราชานุกูล สรรพกิจมูลมเหศวรเชฐามาตยาธิบดี ตรีสรณรัตนธาดา อดุลยเดชานุภาพบพิตร์ ซึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีอาญาสิทธิ์บังคับบัญชาได้สิทธิ์ขาดทั่วทั้งพระราชอาณาจักร กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ นรเนตรนารถราชสุริยวงษสกุลพงษปดิฐามุขมาตยาธิบดี ไตรสรณศรีรัตนธาดา สกลมหารัชชาธิเบนทร ปรเมนทรมหาราชวโรประการ มโหฬารเดชานุภาพบพิตร์ ซึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีอำนาจบังคับบัญชาทั่วทั้งพระนคร กับเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ สมันตพงษ์พิสุทธิ์ มหาบุรุษรัตโนดม ผู้ว่าที่สมุหพระกลาโหม ผู้สำเร็จราชการบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลปากใต้ฝ่ายตะวันตก กับเจ้าพระยาผู้ช่วยสำเร็จราชการกรมท่า เปนผู้สำเร็จราชการบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายตะวันออก ทั้ง ๕ เปนประธาน ฝ่ายเสนาบดีไทยก็ได้ส่งพระราชลัญจกร ฝ่ายขุนนางอังกฤษได้ส่งหนังสือเจ้าวิกตอเรียซึ่งให้เข้ามาทำหนังสือสัญญากับไทย เห็นถูกต้องพร้อมกันทั้งสองฝ่าย ได้ตกลงกันตามข้อสัญญาที่เขียนไว้สืบต่อไปข้างน่า
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๑ {{gap|0.5em}} ว่า ตั้งแต่นี้ไป พระเจ้าแผ่นดินกรุงบริตตันไอยยิแลนกับพระเจ้าแผ่นดินที่จะสืบวงษ์ต่อไปภายน่า กับด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ ทั้งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินไทยที่จะสืบพระราชอิศริยยศต่อไปภายน่า ให้มีไมตรีรักใคร่กันราบคาบไปชั่วฟ้าแลดิน แต่บรรดาคนที่อยู่ในบังคับอังกฤษซึ่งเข้ามาอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร เสนาบดีฝ่ายไทยก็จะช่วยบำรุงรักษาให้อยู่เปนศุขสบาย ให้ได้ค้าขายโดยสดวก มิให้ผู้ใดฝ่ายไทยคุมเหงเบียดเบียฬ แต่บรรดาคนที่อยู่ในบังคับไทยที่จะไปอยู่ในแดนอังกฤษ ขุนนางอังกฤษก็จะช่วยบำรุงรักษาให้อยู่เปนศุขสบาย ให้ได้ค้าขายโดยสดวก มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดฝ่ายอังกฤษคุมเหงเบียดเบียฬ
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๒ {{gap|0.5em}} ว่า แต่บรรดาการงานของคนที่อยู่ในบังคับอังกฤษซึ่งเข้ามาอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร ก็ต้องฟังบังคับบัญชาของกงสุลที่เข้ามาตั้งอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร กงสุลจะได้ทำตามหนังสือสัญญานี้แลข้อหนังสือสัญญาเก่าที่มิได้ยกเสียจงทุกประการ แล้วจะได้บังคับบัญชาคนในบังคับอังกฤษให้ทำตามด้วย แล้วกงสุลจะรับรักษากฎหมายการค้าขาย แลกฎหมายที่จะห้ามปรามมิให้คนที่อยู่บังคับอังกฤษทำผิดล่วงเกินกฎหมายของอังกฤษกับไทยที่มีอยู่แล้วแลจะมีต่อไปภายน่า ถ้าคนอยู่ในบังคับอังกฤษทำผิด กงสุลจะทำโทษตามกฎหมายอังกฤษ คนอยู่ในบังคับไทยทำผิด ไทยจะทำโทษตามกฎหมายเมืองไทย ถ้าคนอยู่ในใต้บังคับไทยเปนความกันเอง กงสุลไม่เอาเปนธุระ คนอยู่ใต้บังคับอังกฤษเปนความกันเอง ไทยก็ไม่เอาเปนธุระ แลไทยกับอังกฤษยอมกันว่า กงสุลซึ่งจะเข้ามาตั้งอยู่ ณ กรุงเทพมหานครนั้นยังไม่ตั้ง ต่อเมื่อทำหนังสือสัญญาตกลงลงชื่อกันแล้ว กำปั่นอังกฤษเข้ามาค้าขาย ณ กรุงเทพมหานครใช้ธงอังกฤษมีหนังสือสำหรับลำเปนสำคัญครบ ๑๐ ลำ หนังสือสัญญาประทับตราเข้ามาถึงเปลี่ยนกันแล้ว กงสุลจึงตั้งได้
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๓ {{gap|0.5em}} ว่า คนซึ่งอยู่ในบังคับไทยจะไปเปนลูกจ้างอยู่กับคนอยู่ในบังคับอังกฤษ ฤๅคนไทยที่มิได้เปนลูกจ้างก็ดี ทำผิดกฎหมายเมืองไทย จะหนีไปอาไศรยอยู่กับคนในบังคับอังกฤษซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ ถ้ามีพยานว่า ทำผิดหนีไปอยู่กับคนในบังคับอังกฤษจริง กงสุลจะจับตัวส่งให้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายไทย ถ้าคนอยู่ในบังคับอังกฤษที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนแลเข้ามาอาไศรยค้าขายอยู่ในกรุงเทพฯ ทำผิดหนีไปอยากับคนในใต้บังคับไทย ถ้ามีพยานว่า ทำผิดหนีไปอยู่กับคนในใต้บังคับไทยจริง กงสุลจะฃอเอาตัว เจ้าพนักงานฝ่ายไทยจะจับตัวส่งให้ ถ้าพวกจีนคนไรว่าเปนคนอยู่ในบังคับอังกฤษ ไม่มีสิ่งสำคัญสิ่งไรเปนพยานว่า เปนคนอยู่ในบังคับอังกฤษ กงสุลก็ไม่รับเอาเปนธุระ
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๔ {{gap|0.5em}} ว่า คนอยู่ในบังคับอังกฤษจะมาค้าขายตามหัวเมืองชายทเลซึ่งขึ้นแก่กรุงเทพฯ ก็ค้าขายได้โดยสดวก แต่จะอาไศรยอยู่ได้ที่เดียวก็แต่ในกรุงเทพฯ ตามในจังหวัดซึ่งกำหนดไว้ในหนังสือสัญญา ประการหนึ่ง คนอยู่ในบังคับอังกฤษจะมาเช่าปลูกโรงปลูกเรือนปลูกตึก แลจะซื้อเรือนซื้อโรงซื้อตึก พ้นกำแพงออกไปในกำหนด ๒๐๐ เส้น คือ สี่ไมล์อังกฤษ เช่าได้ แต่จะซื้อที่ซื้อไม่ได้ ถ้าอยู่ถึง ๑๐ ปีแล้วจึ่งจะซื้อได้ ถ้าอยู่ยังไม่ถึง ๑๐ ปี ท่านเสนาบดีจะโปรดให้ซื้อก็ซื้อได้ แลที่นอกกำหนด ๒๐๐ เส้นนั้น คนอยู่ในบังคับอังกฤษจะซื้อจะเช่าที่เรือนที่สวนที่ไร่ที่นาตั้งแต่กำแพงเมืองออกไปเดินด้วยกำลังเรือแจวเรือภายทาง ๒๔ ชั่วโมง จะซื้อจะเช่าเมื่อไรก็ซื้อได้เช่าได้ แต่เมื่อคนอยู่ในบังคับอังกฤษจะซื้อที่ซื้อเรือน จะต้องบอกกงสุล ๆ จะได้บอกเจ้าพนักงานฝ่ายไทย เจ้าพนักงานกับกงสุลเห็นว่า คนที่จะซื้อที่นั้น เปนคนจะทำมาหากินโดยจริง เจ้าพนักงานกับกงสุลจะช่วยว่ากล่าวให้ซื้อตามราคาสมควร แล้วจะได้ดูแล ปักที่ วัดที่ ทำหนังสือประทับตราเจ้าพนักงานให้ไว้เปนสำคัญ แล้วจะได้ฝากฝังเจ้าเมือกรมการให้ช่วยดูแลทำนุบำรุงด้วย แลให้ผู้ที่ไปอยู่นั้นฟังบังคับบัญชาเจ้าเมืองกรมการตามยุติธรรม ค่าธรรมเนียมที่ทำไร่ทำสวน ราษฎรบ้านนั้นเมืองนั้นต้องเสียอย่างไร ก็ให้เสียตามชาวบ้านนั้นชาวเมืองนั้น ถ้าในกำหนดสามปีแล้ว ผู้ที่ซื้อไม่มีทุนรอนฤๅแชเชือนเสียมิได้ตั้งการปลูกสร้าง เสนาบดีจะคืนเงินค่าที่ให้ จะตัดสินคืนเอาที่นั้นเสีย
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๕ {{gap|0.5em}} ว่า คนอยู่ในบังคับบัญชาอังกฤษที่เข้ามาอาไศรยอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร ต้องไปบอกแก่กงสุลให้จดชื่อไว้ ถ้าคนเหล่านี้จะออกไปทะเลฤๅจะไปเที่ยวเกินกำหนด ๒๔ ชั่วโมงตามสัญญาไว้ ที่จะให้คนในบังคับอังกฤษอยู่ กงสุลจะไปฃอหนังสือเบิกล่องเจ้าพนักงานฝ่ายไทยให้ไป ถ้าคนในบังคับอังกฤษจะกลับออกไปกรุงเทพฯ ถ้าขุนนางเจ้าพนักงานฝ่ายไทยบอกแก่กงสุลว่า มีเหตุควรจะห้ามมิให้ออกไป กงสุลก็จะมิให้ออกไป ถ้าคนอยู่ในบังคับอังกฤษไปเที่ยวในระหว่าง ๒๔ ชั่วโมง กงสุลจะเขียนเปนหนังสือไทยให้ไปว่า คนนั้นชื่ออย่างนั้น รูปร่างอย่างนั้น มีธุระอย่างนั้น แลจะต้องให้เจ้าพนักงานฝ่ายไทยประทับตราหนังสือให้ไปเปนสำคัญด้วย เจ้าพนักงายฝ่ายไทยดูหนังสือแล้ว ให้คืนหนังสือ ให้ปล่อยตัวไปโดยเร็ว ถ้าไม่มีหนังสือกงสุลประทับตราเจ้าพนักงานฝ่ายไทยไปสำหรับตัว สงไสยว่าเปนคนหนี ก็ให้ยึดเอาตัวไว้ แล้วให้มาบอกความแก่กงสุลให้รู้
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๖ {{gap|0.5em}} ว่า คนซึ่งอยู่ในบังคับอังกฤษจะเข้ามาเที่ยวแลจะเข้ามาอาไศรยอยู่ ณ กรุงเทพฯ จะถือสาศนาคฤษเติน ไทยก็ไม่ห้ามปราม เมื่อจะสร้างวัดขึ้น จะทำได้ก็แต่ในที่เสนาบดีจะโปรดให้ ถ้าคนอยู่ในบังคับอังกฤษซึ่งจะเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ จะจ้างคนซึ่งอยู่ในใต้บังคับไทยมาเปนลูกจ้าง เสนาบดีฝ่ายไทยจะไม่ห้ามปราม ถ้าคนที่มีมุลนายจะมารับจ้างอยู่กับคนอยู่ในบังคับอังกฤษ มุลนายไม่รู้ มุลนายจะมาเอาตัวไปก็เอาไปได้ ถ้าคนในบังคับอังกฤษไปจ้างคนในใต้บังคับไทยเปนลูกจ้าง ไม่ได้ทำสัญญากับมุลนายเขา ภายหลังถ้าเกี่ยวข้องสิ่งหนึ่งสิ่งใด เสนาบดีฝ่ายไทยไม่ชำระให้
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๗ {{gap|0.5em}} ว่า กำปั่นรบจะเข้ามาทอดน่าด่านเมืองสมุทปราการ เข้ามาทอดได้ แต่จะขึ้นมา ณ กรุงเทพฯ ไม่ได้ เมื่อกำปั่นรบชำรุดจะต้องเข้าอู่ เสนาบดีเจ้าเมืองกรมการเห็นว่า ชำรุดจริง จะยอมให้เอามาเข้าอู่ ถ้าจะมีขุนนางถือหนังสือพระเจ้าแผ่นดินกรุงบริเตนให้มาด้วยกำปั่นรบเข้ามา ณ กรุงเทพฯ จะให้ขึ้นมาแต่ลำเดียว ต้องให้ขึ้นมาทอดอยู่ใต้ป้อมป้องปัจจามิตร ป้อมปิจปัจจนึก อย่าให้ขึ้นมาพ้นป้อม เว้นไว้แต่เสนาบดีจะโปรดให้ขึ้นมาพ้นป้อม จึ่งขึ้นมาได้ ถ้าไม่มีเรือรบอังกฤษอยู่ในกรุงเทพฯ คนอยู่ในบังคับอังกฤษจะวิวาทกันขึ้น กงสุลจะไประงับ ไทยจะให้ทหารไปช่วยกงสุลระงับภอระงับได้
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๘ {{gap|0.5em}} ว่า ค่าธรรมเนียมปากเรือที่เคยเรียกแต่ลูกค้าอังกฤษตามสัญญาเก่าซึ่งทำไว้ในคฤษตศักราช ๑๘๒๖ ปีนั้น จะยอมเลิกเสียตั้งแต่หนังสือสัญญานี้ใช้ได้ พ้นนั้นไปจะต้องเสียแต่ภาษีสิ่งของขาเข้าขาออก สินค้าเข้าจะต้องเสียภาษี ๑๐๐ ละสาม จะเสียเปนของฤๅจะเสียเปนเงินคิดราคาตามราคาท้องน้ำสุดแต่ใจเจ้าของจะเสีย ถ้าของเสียภาษี ๑๐๐ ละสามแล้ว ของจำหน่ายไม่ได้ จะเหลือกลับออกไปมากน้อยเท่าใด ต้องคิดภาษีสิ่งของที่เหลือคืนให้แก่เจ้าของให้ครบ ถ้าราคาสิ่งของไม่ตกลงกัน ต้องไปบอกกงสุล ๆ จะเรียกพ่อค้าคนหนึ่งฤๅสองคน เจ้าพนักงานฝ่ายไทยก็จะเรียกพ่อค้าคนหนึ่งฤๅสองคน ช่วยตีราคาภอสมคววร ถ้าลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะบันทุกเอาฝิ่นเข้ามา ณ กรุงเทพฯ ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องขายฝิ่นให้แก่เจ้าภาษี ถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อฝิ่นไว้ ให้บันทุกกลับออกไปไม่ต้องเสียอะไร ถ้าลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษเอาฝิ่นไปลักลอบขายทำผิดสัญญาข้อนี้ ให้ริบเอาฝิ่นไปเสียให้สิ้น แลของที่เปนสินค้าจะบันทุกออกไปนั้น ตั้งแต่ของสิ่งนั้นเกิดมาจนได้เปนสินค้าบันทุกกำปั่นออกไป ให้เสียภาษีแต่ชิ้นเดียว ของสิ่งไรที่เปนสินค้าในกรุงเทพฯ จะเรียกเปนสมพักษร ฤๅจะเรียกเปนภาษีป่า ภาษีในกรุงเทพฯ ภาษีปากเรืออย่างไร ได้กำหนดแจ้งในพิกัดอยู่กับหนังสือสัญญาแล้ว ได้ยอมกันเปนชัดแล้วว่า ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ต้องเสียภาษีข้างในแล้ว เมื่อลงเรือไม่ต้องเสีย พวกลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะซื้อสินค้ายอมให้ซื้อ แต่ผู้ทำ ผู้ปลูก แลของที่เขาขายนั้น ถ้าผู้ใดผู้หนึ่งจะซื้อยอมให้ขาย มิให้ผู้ใดผู้หนึ่งขัดขวางห้ามปราม ภาษีที่กำหนดในพิกัดสัญญานี้ สินค้าที่บันทุกเรือไทยเรือจีนที่เคยเสียแล้ว ฝ่ายไทยจะยอมลดภาษีให้เรือไทยเรือจีนแลชาติอื่น ๆ ก็จะยอมลดให้ลูกค้าซึ่งอยู่ในบังคับอังกฤษเหมือนกัน ลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะเข้ามาต่อเรือ ณ กรุงฯ เสนาบดียอมให้ต่อแล้วก็ต่อได้ แลเข้า ปลา เกลือ ของสามสิ่งนี้ ที่กรุงฯ ไม่บริบูรณ มีหมายประกาศห้ามไม่ให้ออกไปก็ได้ เงินทองแลของสำหรับตัวเข้าออกไม่ต้องเสียภาษี
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๙ {{gap|0.5em}} ว่า ความในกฎหมายซึ่งติดในสัญญานี้ กงสุลกับเจ้าพนักงานฝ่ายไทยพร้อมกันจะต้องรักษา แลจะต้องบังคับให้คนทั้งปวงกระทำตามกฎหมาย เจ้าพนักงานฝ่ายไทยกับกงสุลจะคิดจัดแจงเพิ่มเติมกฎหมายหวังจะรักษาหนังสือสัญญาให้เจริญก็ทำได้ เงินที่ปรับไหมแลของที่ริบเพราะทำผิดสัญญานี้ต้องส่งเปนของในแผ่นดินก่อน เมื่อกงสุลจะเข้ามาตั้งอยู่ ณ กรุงฯ เจ้าของเรือแลกัปตันนายเรือจะว่าด้วยการค้าขายกับเจ้าพนักงานฝ่ายไทยก็ได้
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๑๐ {{gap|0.5em}} ว่า ถ้าฝ่ายไทยยอมให้สิ่งใด ๆ แก่ชาติอื่น ๆ นอกจากหนังสือสัญญานี้ ก็จะต้องยอมให้อังกฤษแลคนในบังคับอังกฤษเหมือนกัน
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๑๑ {{gap|0.5em}} ว่า เมื่อพ้น ๑๐ ปีตั้งแต่ประทับตราเปลี่ยนหนังสือสัญญานี้แล้ว ถ้าฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษจะขอเปลี่ยนข้อใด ๆ ในหนังสือสัญญานี้ แลข้อใด ๆ ในหนังสือสัญญาเก่าซึ่งทำไว้ในคฤษตศักราช ๑๘๒๖ ปีซึ่งมิได้ยกเสียนั้น แลข้อใด ๆ ในกฎหมายค้าขายแลพิกัดภาษีที่ติดอยู่กับหนังสือสัญญานี้ แลกฎหมายจะทำต่อไปภายน่า เมื่อบอกให้รู้ก่อนปีหนึ่งแล้ว จะตั้งขุนนางฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมได้ตามแต่เห็นควรเห็นชอบด้วยกันทั้งสองฝ่าย
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๑๒ {{gap|0.5em}} ว่า หนังสือสัญญานี้ทำไว้เปนอักษรไทยฉบับหนึ่ง เปนอักษรอังกฤษฉบับหนึ่ง ข้อความต้องกัน เมื่อหนังสือสัญญาประทับตราเข้ามาเปลี่ยนกันแล้ว ใช้ได้เมื่อ ณ วันที่ ๖ เดือนเอปริล คฤษตศักราช ๑๘๕๖ ปี คิดเปนไทย ณ วันอาทิตย์เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช ๑๒๑๘ ปีมโรง อัฐศก ผู้สำเร็จราชการฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษทำหนังสือสัญญานี้เขียนเปน ๔ ฉบับ ลงชื่อประทับตราด้วยกันทั้งสองฝ่าย ทำไว้ในกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสิทรมหินทรายุทธยา ณ วันพุฒ เดือนหก ขึ้นสองค่ำ ปีเถาะ สัปตศก
 
 
 
 
 
: (ลงชื่อประทับตรา) {{fs|120%|เซอยอนโบวริง ราชทูตอังกฤษ}}
 
: (ลงชื่อประทับตรา) {{fs|120%|ท่านผู้สำเร็จราชการฝ่ายไทย ห้าดวง}}
 
 
 
 
</div>
<div id="rule">
{{pb2|label=กฎตามความในข้อ ๙ แห่งสนธิสัญญา}}
{{fs|85%|[[#สธสญ|ขึ้น]] • [[#พิกัด|ลง]]}}
 
 
 
 
 
{{c|{{fs|140%|'''กฎหมายอย่างพ่อค้าอังกฤษซึ่งมาค้าขายในกรุงฯ ต้องใช้'''}}}}
 
 
{{r|8em}}
 
 
 
 
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๑ {{gap|0.5em}} ว่ากปิตันนายกำปั่นซึ่งจะเข้ามาค้าขายณกรุงเทพมหานคร เมื่อเข้ามาถึงนอกสันดอน จะทอดสมอใช้คนเข้ามาบอกแก่เจ้าพนักงานฤๅจะเอากำปั่นเลยเข้ามาเมืองสมุทปราการก็ได้ตามใจ แล้วจะต้องมาบอกเจ้าพนักงานที่ด่านเมืองสมุทปราการว่าเรือมาแต่เมืองใดมีลูกเรือขี่คน มีปืนขี่บอก ทอดสมอที่เมืองสมุทปราการแล้ว ต้องมอบปืนใหญ่แลดินดำแก่ขุนนางเจ้าพนักงานเมืองสมุทรปราการฝ่ายไทแล้ว ต้องมีขุนนางกรมการฝ่ายไทกำกับเรือขึ้นมาจนถึงกรุงฯ ๚ะ๛
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๒ {{gap|0.5em}} ว่าถ้ากำปั่นเลยเดินด่านสมุทปราการขึ้นมามิได้เอาปืนแลดินดำขึ้นไว้ที่เมืองสมุทปราการตามกดหมายนี้ ต้องเอากำปั่นกลับลงไปเอาปืนแลดินดำขึ้นไว้เสียที่เมืองสมุทปราการแลต้องปรับไหมเงิน ๘๐๐ บาดด้วยไม่ฟังกดหมายนี้ ถ้าเอาปืนใหญ่แลดินดำขึ้นไว้ที่เมืองสมุทปราการแล้วต้องปล่อยให้เรือขึ้นมาค้าขายที่กรุงฯ ๚ะ๛
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๓ {{gap|0.5em}} ว่าถ้ากำปั่นลูกค้าในบังคับอังกฤษขึ้นมาทอดสมอที่กรุงฯ แล้ว ถ้าไม่ได้เปนวันอาทิตย์กปิตันนายกำปั่นต้องเอาหนังสือสำรับลำแลบาญชีสิ่งของซึ่งมีเข้ามาในลำกำปั่น ต้องมอบให้แก่กงซุนใน ๒๔ ชั่วโมง กงซุนจะได้เอาบาญชีไปให้เจ้าพนักงานฝ่ายไทที่ได้เรียกภาษี แล้วเจ้าพนักงานคนนั้นต้องให้หนังสือสำรับเปิดรวางในเวลานั้น ถ้ากปิตันนายเรือมิได้ส่งหนังสือแลบาญชีสิ่งของใน ๒๔ ชั่วโมงนั้นฤๅส่งบาญชีไม่ครบจำนวนสิ่งของในลำเรือจะต้องปรับไหมเงิน ๔๐๐ บาทแต่ว่ายอมให้กปิตันนายเรือแก้บาญชีสิ่งของที่หลงลืมในรว่าง ๒๔ ชั่วโมงตั้งแต่ได้ส่งหนังสือถึงกงซุนนั้น ไม่ปรับไหมเอาเงิน ๚ะ๛
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๔ {{gap|0.5em}} ว่าถ้ากำปั่นอังกฤษเปิดรวางขนสินค้าก่อนยังไม่ได้หนังสือเปิดรวางแลลักลอบขายสิ่งของในกรุงฯ ก็ดี นอกสันดอนก็ดี จะต้องปรับไหมเงิน ๘๐๐ บาท แลสิ่งของที่ลักขายนั้นให้ริบเอาให้หมด ๚ะ๛
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๕ {{gap|0.5em}} ว่า เมื่อกำปั่นอังกฤษขนของออกแล้วบันทุกของที่ออกไปเสรจแล้วเสียภาษีให้เสร็จแล้วได้ให้บาญชีแก่กงซุนครบสิ่งของแล้ว ถ้ามิได้เกี่ยวข้องสิ่งใด ๆ ต้องมีเบิกล่องอักษรไทให้กงซุน ๆ คืนหนังสือสำหรับลำให้กปิตันนายเรือ ปล่อยเรือให้ล่องไปเมืองสมุทปราการ ต้องมีเจ้าพนักงานกำกับเรือลงไปจนถึงเมืองสมุทปราการ ถ้าเจ้าพนักงานเมืองสมุทปราการไปตรวจดูที่กำปั่นแล้ว ปืนและดินดำที่เอาขึ้นไว้ให้กับตันนายเรือไป ๚ะ๛
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๖ {{gap|0.5em}} ว่าฝ่ายราชทูตอังกฤษซึ่งเข้ามาทำหนังสือสัญญาครั้งนี้ ราชทูตหารู้จักภาษาไทไม่เสนาบดีฝ่ายไทยยอมให้เอาหนังสืออักษรอังกฤษในหนังสือสัญญาไมตรี แลกฎหมาย แลค้าขาย แลพิกัดซึ่งติดอยู่กับหนังสือสัญญานั้นเปนแน่ ๚ะ๛
 
พิกัดภาษีนอก และใน ที่จะเรียกเอาตามหนังสือสัญญา ข้อหนึ่งเปนพิกัดสินค้าภาษีชั้นในไม่ต้องเสียเลย เสียแต่เมื่อบันทุกลงเรือ เสียภาษีอย่างนี้ ๚ะ๛
 
 
 
 
 
: (ลงชื่อประทับตรา) {{fs|120%|เซอยอนโบวริง ราชทูตอังกฤษ}}
 
: (ลงชื่อประทับตรา) {{fs|120%|ท่านผู้สำเร็จราชการฝ่ายไทย ห้าดวง}}
 
 
 
 
</div>
<div id="range">
{{pb2|label=พิกัดภาษีตามความในข้อ ๘ แห่งสนธิสัญญา}}
{{fs|85%|[[#กฎ|ขึ้น]]}}
 
 
 
 
 
{{c|{{fs|140%|'''พิกัดภาษีนอกแลในที่จะเรียกเอาตามหนังสือสัญญานี้'''}}<ref>[[พูดคุย:สนธิสัญญาเบาว์ริง|ต้นฉบับ]]ปรากฏแต่ข้อ ๑ และตารางในข้อ ๑ ก็ไม่สมบูรณ์ด้วย มีเพียง ๔๕ รายการจากทั้งหมด ๕๑ รายการ ดูเพิ่มที่[[:en:Bowring Treaty|ฉบับภาษาอังกฤษ]]</ref>}}
 
 
{{r|8em}}
 
 
 
 
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๑ {{gap|0.5em}} เปนพิกัดสินค้าภาษีชั้นใน ไม่ต้องเสียเลย เสียแต่เมื่อบันทุกลงเรือ เสียหย่างนี้
 
{{:สนธิสัญญาเบาว์ริง/พิกัด}}
 
</div>
 
 
 
== เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ ==
{{smr}}
 
 
 
 
 
----
{{ท้ายเรื่อง}}
----
{{ข้อมูลข่าวสารของราชการ-ไทย}}
 
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาไทย]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาสหราชอาณาจักร]]
 
[[en:Bowring Treaty]]