ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หน้า:พระราชลัญจกร - เสฐียรโกเกศศ - ๒๔๙๓.pdf/23"

Bitterschoko (คุย | ส่วนร่วม)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:46, 20 มกราคม 2564

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๔

ประกาศพระราชบัญญัติทั้งปวง และใบกำกับสุพรรณบัฏ หิรัญญบัฏ และประกาศนียบัตรนพรัตนราชวราภรณ์ อยู่ในหว่างกลางพระราชลัญจกรมหาโองกรและพระครุฑพาห ในพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร รัตนโกสินทรศก ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) มาตรา ๔ มีข้อความเหมือนที่กล่าวมาข้างต้นนี้ แต่เปลี่ยนพระครุฑพาหเป็นหงสพิมาน เพราะเหตุที่ทรงพระราชดำริว่า ตราพระครุฑพาหใช้เป็นตราประจำรัชกาลและประจำแผ่นดินซ้ำกัน

พระราชลัญจกรไตรสารเศวต

พระราชลัญจกรองค์นี้ (ดู รูปที่ ๑๕) พบประทับกระดาษปลิว สอดไว้ในหนังสือสัญญาค้าขายกับต่างประเทศของเก่า เข้าใจว่า สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๒ หมายถึง พระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา พระยาเศวตคชลักษณ์ ซึ่งได้มาในรัชกาลนั้น (จ.ศ. ๑๑๗๙) ใช้เป็นตราประจำพระองค์

ข. พระราชลัญจกรที่โปรดให้สร้างขึ้นใหม่

พระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดินที่โปรดให้สร้างขึ้นใหม่และยังคงใช้อยู่ คือ

๑. พระราชลัญจกรพระบรมราชโองการ

๒. พระราชลัญจกรสยามโลกัคราช

๓. พระราชลัญจกรนามกรุง

๔. พระราชลัญจกรจักรรถ

๕. พระราชลัญจกรอุณาโลมในกลีบบัว