ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งานแปล:ประชาธิปไตยในสยาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
YURi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 35:
| {{ก|{{พญ|Note}}<br>Democracy in Siam}}
| {{ก|บันทึก<br>ประชาธิปไตยในสยาม}}
| ไม่ย่อหน้า =
}}
{{ตรคป
| The question whether a democratic form of government is suitable, or ever will be suitable, for Siam or not, has been discussed among the intelligentsia of Siam for a long time, and is even now being discussed by the semi-educated people, some of whom having aired their opinions in the Siamese press. The general {{ตตฉ|concensus|consensus}} of opinion is that Siam is not at present ready to have a democratic form of government but may have to adopt it at some distant date. Some people assert that parliamentary government will never be suitable for the Siamese people, giving as reason that it is only the Anglo-Saxons who have been able to make a success of that form of government.
| {{ชว}}คำถามที่ว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นเหมาะสมหรือมีทางที่จะเหมาะสมแก่สยามหรือไม่นั้น ได้อภิปรายกันในหมู่ปัญญาชนของสยามมาช้านานแล้ว และกระทั่งตอนนี้ก็ยังเป็นที่อภิปรายของผู้มีการศึกษาครึ่ง ๆ กลาง ๆ ซึ่งบางคนในกลุ่มนี้ได้กระพือความเห็นของตัวออกสื่อสยามแล้ว ความเห็นที่ลงรอยกันโดยทั่วไปนั้นมีอยู่ว่า สยามยามนี้ไม่พร้อมจะมีการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่อาจต้องรับการปกครองแบบนั้นไม่วันใดก็วันหนึ่งในอนาคตอันห่างไกล บางคนยืนกรานว่า การปกครองแบบมีรัฐสภาไม่มีทางจะเหมาะสมแก่ชาวสยาม โดยให้เหตุผลว่า มีแต่ชาวแองโกล-แซ็กซันที่สามารถสร้างความรุ่งเรืองจากการปกครองแบบนั้น
}}
{{ตรคป
| There is no doubt that a democratic form of government requires a high degree of development of the people to be a real success. It is even possible that there must also be certain racial qualities (which the Anglo-Saxons possess to a high degree) if democratic institutions are to be really beneficial to the people as a whole and to be really and truly democratic, not only in form, but also in fact. Too many democracies are so only in the form.
| {{ชว}}ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยจะสำเร็จจริงได้ต้องอาศัยพัฒนาการระดับสูงของผู้คน ถ้าจะให้สถาบันประชาธิปไตยเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อประชาชนโดยรวม และเป็นประชาธิปไตยอย่างจริงแท้แน่นอน ซึ่งไม่ใช่แต่ในรูปแบบ แต่ในความเป็นจริงด้วย ก็ยิ่งเป็นไปได้ที่จะต้องมีคุณลักษณะบางประการในทางเชื้อชาติ (ซึ่งชาวแองโกล-แซ็กซันมีอยู่ในระดับสูง) รัฐประชาธิปไตยมากมายเหลือเกินที่เป็นประชาธิปไตยแต่ในรูปแบบ
}}
{{ตรคป
| Now I am also inclined to think that a real democracy is very unlikely to succeed in Siam. It may even be harmful to the real interests of the people. One could readily imagine what a parliamentary {{ตตฉ|from|form}} of government would be like in Siam and then there is no need to go into details. I shall just mention one fact, that is the parliament would be entirely dominated by the Chinese Party. One could exclude all Chinese from every political right; yet they will dominate the situation all the same since they hold the hard cash.
| {{ชว}}เวลานี้ ข้าพเจ้ามีแนวโน้มที่จะคิดอยู่เหมือนกันว่า แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ประชาธิปไตยจริง ๆ จะประสบความสำเร็จในสยาม แต่อาจเป็นภัยต่อประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชนด้วยซ้ำไป เราอาจนึกภาพได้ในทันทีว่า การปกครองแบบมีรัฐสภาจะมีหน้าตาอย่างไรในสยาม ฉะนั้น จึงไม่จำต้องลงรายละเอียดกันอีก ข้าพเจ้าเพียงจะเล่าถึงข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่ง คือว่า รัฐสภาคงจะถูกพรรคชาวจีนครอบงำโดยสิ้นเชิง เราอาจกีดกันชาวจีนทุกคนจากสิทธิทางการเมืองทุกอย่างได้ แต่ชาวจีนก็จะยังอยู่เหนือสถานการณ์เหมือนเดิมทุกอย่าง เพราะเขามีเงินสด
}}
{{ตรคป
| Any party that does not depend on Chinese funds cannot succeed, so that politics in Siam will be dominated and dictated by the Chinese merchants. This is indeed a very probable eventuality. One could easily find many arguments to support the idea that Siam ought not to have a parliamentary form of government. This being the case, one may ask “Then why think about democracy at all?” The answer is that one must remember that the majority of people do not think rationally but think only sentimentally. This is particularly true of the crowd. There may come a time when the Siamese people will clamour for a parliament. (Are there not signs of that even now in Bangkok?) It would be of no avail to explain, even with the best of reason, that a parliamentary government is not suited to the racial qualities of the Siamese. They will surely yell louder that they are being oppressed by a tyrannical ruling class, and there may be some trouble. (At the present moment I do not believe that there is any Siamese who would sacrifice his life for a political faith.)
| {{ชว}}พรรคใดไม่พึ่งพาทุนจีน พรรคนั้นก็ไม่อาจประสบความสำเร็จ ดังนั้น พ่อค้าชาวจีนย่อมจะครอบงำและบงการการเมืองในสยาม นี่เป็นผลลงเอยที่เป็นไปได้มากทีเดียว แนวคิดที่ว่าสยามไม่พึงมีการปกครองแบบมีรัฐสภานั้น เราอาจหาเหตุผลมากมายมาสนับสนุนได้โดยง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ เราอาจถามขึ้นว่า "แล้วจะคิดเรื่องประชาธิปไตยไปทำไมกัน?" คำตอบก็คือ เราต้องจำไว้ว่า คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้เหตุผลคิด แต่ใช้อารมณ์คิด ข้อนี้เป็นจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับฝูงชน ช่วงเวลาที่ชาวสยามจะร่ำร้องหารัฐสภาอาจมาถึงสักวัน (แม้ในพระนครทุกวันนี้ก็มีเค้าลางเรื่องนั้นอยู่แล้วมิใช่หรือ?) คงป่วยการที่จะอธิบาย แม้จะด้วยเหตุผลแสนประเสริฐ ว่า การปกครองแบบมีรัฐสภาไม่สอดรับกับคุณลักษณะทางเชื้อชาติของชาวสยาม เขาเหล่านั้นจะแหกปากดังขึ้นเป็นแน่ว่า ชนชั้นปกครองที่เป็นทรราชกำลังกดขี่เขาอยู่ แล้วก็คงเกิดความวุ่นวายบางอย่าง (ในยามนี้ ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าจะมีชาวสยามหน้าไหนยอมสละชีวิตของตัวเพื่อศรัทธาทางการเมือง)
}}
{{ตรคป
| Perhaps some countries have adopted democracy merely as a necessity, knowing full well that it does not suit the character of the people. That is why there are countries who play at having parliaments. It seems to me that it is quite on the cards that we shall have to play that sort of game in Siam sometime. It is with these considerations in view that I am now considering certain reforms.
| {{ชว}}บางทีบางประเทศอาจรับประชาธิปไตยเพียงเพราะเลี่ยงไม่ได้ แม้รู้อยู่เต็มอกดีว่าไม่เหมาะแก่ลักษณะของประชาชนเลยก็ตาม นั่นเป็นเหตุว่าทำไมถึงมีบางประเทศที่มีรัฐสภากันเล่น ๆ ดูเหมือนค่อนข้างจะปรากฏอยู่บนไพ่แล้วว่า เราจะต้องเล่นเกมอย่างนั้นในสยามกันสักมื้อสักคาบ ข้าพเจ้าจึงกำลังพิจารณาการปฏิรูปบางอย่างอยู่ในเวลานี้โดยมีข้อใคร่ครวญเหล่านี้อยู่ในทัศนะ
}}
{{ตรคป
| It seems to me that, if it is admitted that {{ตตฉ|some day|someday}} we may be forced to have some form of democracy in Siam, we must prepare ourselves for it gradually. We must learn and we must educate ourselves. We must learn and experiment so as to have an idea as to how a parliamentary government would work in Siam. We must try to educate the people to be politically conscious, to realize these real interests so that they will not be misled by agitators of mere dreamers of Utopia. {{ตตฉ|if|If}} we are to have a parliament, we must teach the people how to vote and how to elect representatives who will really have their interests at heart.
| {{ชว}}ดูเหมือนว่า ถ้าต้องยอมรับว่าวันหนึ่งเราอาจถูกบีบให้มีประชาธิปไตยบางรูปแบบในสยามแล้วไซร้ เราก็ต้องเตรียมตัวสำหรับประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไป เราต้องเรียนรู้และเราต้องหาความรู้ใส่ตัวเอง เราต้องเรียนรู้และทดลองกันไปเพื่อให้ได้แนวคิดว่า การปกครองแบบมีรัฐสภาจะใช้การได้อย่างไรในสยาม เราต้องเพียรให้การศึกษาแก่ประชาชนเพื่อให้มีจิตสำนึกทางการเมือง ให้ตระหนักถึงประโยชน์ที่แท้จริงเหล่านี้ เพื่อที่ประชาชนจะไม่เขวไปตามนักยุแยงหรือ<ref>ต้นฉบับว่า "of" (ของ, แห่ง ฯลฯ) แต่คงเป็นการเขียนหรือพิมพ์ "or" (หรือ) ผิด ในที่นี้แปลตามความหมายของ "or"</ref> นักฝันเฟื่องถึงแต่ยุคพระศรีอาริย์ ถ้าเราจะมีรัฐสภา เราต้องสอนประชาชนให้รู้จักออกเสียงและรู้จักเลือกตั้งผู้แทนที่เก็บประโยชน์ของประชาชนเอาไว้ในหัวใจ
}}
{{ตรคป
| The reorganization of the Privy Council is an attempt to carry out the first step of these ideas. It will be said that the Committee of the Privy Council as reorganized will not really represent public opinion in general, and that as a body it will not really be representative of the interests of the people. This is, of course, quite true. It is firstly intended to be an experiment and an education in methods of parliamentary debate. I believe that the experience to be gained will be useful. The body may possibly reflect something of the general public opinion, and I do not think that it will be entirely useless. It is to be expected, however, that the creation of this body will not satisfy everybody, and that it will be variously criticised. (I do not believe that it is possible to do anything or organize anything without being destructively criticised by a certain section of the people in Siam.)
| {{ชว}}การจัดระเบียบองคมนตรีเสียใหม่เป็นความพยายามจะดำเนินตามแนวคิดเหล่านี้ในขั้นแรก คนจะพูดกันว่า กรรมการองคมนตรีที่จัดระเบียบใหม่นี้จะมิได้แสดงให้เห็นจริงถึงความคิดของสาธารณชนโดยทั่วไป และจะไม่ใช่องค์กรที่เป็นสื่อแทนประโยชน์ประชาชนโดยแท้ แน่ล่ะ เรื่องนี้ก็ถูกอยู่ เพราะทีแรกตั้งใจจะให้องค์กรนี้เป็นแต่เครื่องทดลองและศึกษาวิธีอภิปรายแบบรัฐสภา ข้าพเจ้าเชื่อว่า ประสบการณ์ที่จะได้รับนั้นจะเป็นประโยชน์แน่ อาจเป็นไปได้ที่องค์กรนี้สะท้อนอะไรบางอย่างในความคิดเห็นโดยทั่วไปของสาธารณชน และข้าพเจ้าไม่คิดว่า องค์กรนี้จะเปล่าประโยชน์เสียทีเดียว ถึงกระนั้น ก็คาดหมายได้ว่า การจัดตั้งองค์กรนี้จะเป็นที่ถูกใจของทุกคนไม่ได้ และจะถูกวิจารณ์ไปต่าง ๆ นานา (ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่า จะสามารถทำอะไรหรือจัดระเบียบอะไรได้โดยไม่ถูกคนบางกลุ่มในสยามวิจารณ์เละเทะ)
}}
{{ตรคป
| The next step in our education towards democracy would be the organization of municipalities. This will be a means of teaching the people how to vote, and the experiment would also prove useful and instructive. It will certainly be better for the people first to control local affairs before they attempt to control state affairs through a parliament. I sincerely believe that if reforms are gradually introduced in this way, a democratic form of government could possibly be introduced without too much harm. But the process must be very gradual and carefully administered in doses. If the experiments fail at every step, then it may be possible to persuade {{ปตปต|the people that democracy is not for Siam. The danger lies in impatience.}}
| {{ชว}}ขั้นต่อมาในการศึกษาเพื่อมุ่งสู่ประชาธิปไตยนั้นคงจะเป็นการจัดระเบียบประชาภิบาล<ref>คำเรียก "municipality" ในภาษาไทยนั้น เท่าที่ตรวจเอกสารต่าง ๆ (ดู [[สถานีย่อย:เทศบาล]]) ได้ความดังนี้
# ในช่วง พ.ศ. 2469–2471 อันเป็นช่วงที่พระราชบันทึกนี้จัดทำขึ้น มีการเรียกสลับไปมาระหว่าง "ประชาภิบาล" และ "สุขาภิบาล"
# คำว่า "ประชาภิบาล" ดูจะปรากฏมากในพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 7 ขณะที่เอกสารราชการนิยมใช้ "สุขาภิบาล"
เส้น 74 ⟶ 75:
{{ตรคป
| Another question which has also occupied the minds of all thinking men in Siam is the danger of unrestrained absolute power of the King. Absolute monarchy, like democracy, may become harmful at any time, because both principles rely on the perfection of human nature, a very frail thing to depend on. A sound democracy depends on the soundness of the people, and a benevolent absolute monarchy depends on the qualities of the King. It is unfortunately a fact that every dynasty, however brilliant, will sooner or later decay, and the danger of having {{ตตฉ|some day|someday}} a bad king is almost a certainty. I believe that every method has been tried so as always to obtain a good king on the throne, and every method has developed some flaw. The method of elected kings seems to be sound in principle; yet it produced some of the worst tyrants, i.e. some of the Caesars of Rome.
| {{ชว}}ปัญหาอีกข้อที่ฝังใจวิญญูชนทั้งหลายในสยามอยู่เหมือนกัน คือ อันตรายจากพระราชอำนาจอันเบ็ดเสร็จไร้การเหนี่ยวรั้ง สมบูรณาญาสิทธิราชย์อาจกลายเป็นภัยร้ายเมื่อใดก็ได้เหมือนกับประชาธิปไตยนั่นแหละ เพราะหลักการทั้งสองนั้นอ้างอิงความผุดผ่องในกมลสันดานของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งเปราะบางอย่างยิ่งเกินกว่าจะไปพึ่งพิงได้ ประชาธิปไตยที่มั่นคงย่อมอาศัยจิตใจที่มั่นคงของประชาชนฉันใด สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เป็นคุณก็ย่อมอาศัยลักษณะที่เป็นคุณของพระเจ้าแผ่นดินฉันนั้น โชคไม่ดีที่มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า ทุกราชวงศ์ ต่อให้รุ่งเรืองเพียงไหน ก็จะตกต่ำลงในไม่ช้าก็เร็ว และความเสี่ยงที่จะมีพระเจ้าแผ่นดินชั่วช้าโผล่มาสักวันนั้นก็เป็นเรื่องที่แทบจะแน่ใจได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่า ได้ลองมาแล้วทุกวิธีเพื่อให้ได้พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงธรรมมาประทับอยู่บนบัลลังก์เป็นนิจ แต่วิธีทั้งหมดก็ปรากฏช่องโหว่บางอย่างขึ้นทีละเล็กละน้อย โดยหลักการแล้ววิธีสมมติราชดูจะเข้าที แต่วิธีนี้ได้ก่อให้เกิดทรราชจอมโฉดมาบ้างแล้ว ก็คือ ซีซาร์บางองค์ของโรม
}}
{{ตรคป
| The alternative method used is to chance on having a bad king and make some institution that could control him.
| {{ชว}}วิธีทางเลือกที่ได้ใช้มาแล้ว คือ ยอมเสี่ยงมีพระเจ้าแผ่นดินที่โฉดชั่ว แล้วค่อยสร้างสถาบันสักอย่างที่คุมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นได้
}}
{{ตรคป
| This method also fails occasionally, as in the case of King Charles I of England, but on the whole it has worked fairly well.
| {{ชว}}บางคราววิธีนี้ก็ล้มเหลวเหมือนกัน ดังในกรณีพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ของอังกฤษ แต่ในภาพรวมแล้วก็ใช้การได้ดีพอดู
}}
{{ตรคป
| I most earnestly desire to organize some institution which will serve to restrain any arbitrary or unwise actions of the King of Siam. (I presume that nobody will want to restrain his good actions?) I feel that if I succeeded in evolving something really useful, I would have done a great service to my country and the Dynasty.
| {{ชว}}ข้าพเจ้ามีความปรารถนาสุดแรงกล้าที่จะจัดระเบียบสถาบันบางอย่างซึ่งจะทำหน้าที่เหนี่ยวรั้งพระเจ้าแผ่นดินสยามมิให้กระทำการใด ๆ โดยพลการหรือโดยไม่รอบคอบ (ข้าพเจ้าอนุมานว่า คงไม่มีใครอยากขวางพระราชจริยวัตรอันดีงามดอกกระมัง?) ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ถ้าข้าพเจ้าวิวัฒนาบางสิ่งบางอย่างที่มีประโยชน์จริง ๆ ได้สำเร็จแล้ว ข้าพเจ้าคงเหมือนได้รับใช้ชาติและราชวงศ์เป็นการใหญ่
}}
{{ตรคป
| The question is, what institution shall we organize now, admitting that the parliamentary system is impossible for the moment{{ปตปต|?}}
| {{ชว}}คำถาม คือ เมื่อยอมรับว่า ระบบรัฐสภาเป็นไปไม่ได้ในขณะนี้ แล้วตอนนี้เราจะจัดระเบียบสถาบันใดดี?
}}
{{ตรคป
| Perhaps the new Committee of the Privy Council could be made to serve that purpose in a small way? This is the reason why I think Mom Chao Sithiporn’s opinion is of some interest. I should like, however, to suggest a slight modification. A clause could be added to or after Article 13 saying that— “If fifteen members of the กรรมการองคมนตรี make a written request to the President of the Committee, asking the President to submit to His Majesty the King that certain matters are of importance for the general welfare of the country and the people, and that His Majesty should be graciously pleased to allow the matters to be discussed by the Committee, the President shall submit a petition to His Majesty, asking for a Royal sanction to hold a meeting to discuss the matters.” It is understood that the King may grant the permission to hold the meeting or not as he thinks fit. (It is the right of veto recognized by all democracies. The King can also dissolve parliament.) I think that in this form, it is quite admissible and is much better than to grant a general right to a non-elected body to hold a meeting at any time. I believe that it will be able to fulfil its purpose of being a deterrent to those in power from acting arbitrarily or against the interests of the State. Anybody in power would hesitate to refuse such requests, unless he has very good reasons. Of course, a perfectly unscrupulous man may possibly refuse the request. But then with such a man, no institution could prevent him from doing bad actions, not even a parliament (cf. Charles I), and the only thing to do then is to chop off his head!
| {{ชว}}บางทีอาจสร้างกรรมการองคมนตรีแบบใหม่ขึ้นสนองความมุ่งหมายนั้นได้ในแนวทางเล็ก ๆ กระมัง? นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมข้าพเจ้าจึงคิดว่า ความเห็นของหม่อมเจ้าสิทธิพร<ref>ดู [[หนังสือหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2470]]</ref> ก็น่าสนใจอยู่ กระนั้น ข้าพเจ้าใคร่เสนอให้แก้ไขเล็กน้อย อาจเพิ่มข้อความเข้าไปในหรือหลังมาตรา 13 ว่า "ถ้าสมาชิก 15 คนในกรรมการองคมนตรีมีคำร้องเป็นหนังสือต่อประธานกรรมการขอให้ประธานกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินว่า มีบางเรื่องที่สำคัญต่อสวัสดิภาพโดยทั่วไปของบ้านเมืองและประชาชน และควรที่พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรรมการได้อภิปรายเรื่องนั้นไซร้ ก็ให้ประธานทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระองค์ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดประชุมอภิปรายเรื่องดังกล่าว" เป็นที่เข้าใจกันว่า พระเจ้าแผ่นดินจะทรงอนุญาตให้จัดประชุมหรือไม่ก็ได้ตามที่ทรงเห็นควร (นี่เป็นสิทธิในการยับยั้งซึ่งรัฐประชาธิปไตยทุกรัฐยอมรับ พระเจ้าแผ่นดินจะทรงยุบรัฐสภาก็ยังได้) ข้าพเจ้าคิดว่า เมื่ออยู่ในรูปแบบนี้ ก็ค่อนข้างจะยอมรับได้ และดียิ่งกว่าจะมอบสิทธิทั่วหน้าให้แก่องค์กรที่มิได้มาจากการเลือกตั้งไปประชุมกันในเวลาใดก็ได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่า สภานี้จะสามารถบรรลุความมุ่งหมายในการเป็นเครื่องกีดกันมิให้ผู้อยู่ในอำนาจประพฤติโดยพลการหรือโดยขัดกับประโยชน์ของรัฐได้ ใครก็ตามที่อยู่ในอำนาจคงอึกอักที่จะยกคำร้องเช่นนั้น เว้นแต่เขาจะมีเหตุผลที่ดีจริง ๆ แน่นอนว่าเป็นไปได้ที่คนผู้เสื่อมศีลธรรมอย่างสมบูรณ์แบบจะยกคำร้องนั้นเสีย แต่เมื่อมีคนเยี่ยงนี้แล้ว จะสถาบันไหนก็ไม่อาจขวางมันมิให้กระทำการชั่วได้ดอก ต่อให้เป็นรัฐสภาก็ตาม (ลองเทียบกรณีชาลส์ที่ 1 ดู) และสิ่งเดียวที่จะต้องทำ ก็คือ กุดหัวมันเสีย!
}}
{{ตรคป
| Thus the formation of this Committee may possibly serve two useful purposes (however imperfectly):—
| {{ชว}}ฉะนั้น การก่อตั้งกรรมการชุดนี้ บางทีจะสนองความมุ่งหมายสองข้อที่ก่อประโยชน์ (ถึงจะไม่สมบูรณ์แบบก็ตาม) คือ
}}
{{ตรคป
| 1.{{ชว|1em}}As a means of experimenting and learning in methods of parliamentary debate.
| {{ชว}}1.{{ชว|1em}}เป็นช่องทางทดลองและเรียนรู้วิธีอภิปรายแบบรัฐสภา
}}
{{ตรคป
| 2.{{ชว|1em}}As a restraining influence against misuse of power.
| {{ชว}}2.{{ชว|1em}}เป็นอิทธิพลเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจโดยมิชอบ
}}
{{ตรคป
| Note. It should be noted that the English translation of องคมนตรี as Privy Councillors is somewhat misleading, as our Privy Council, particularly as reorganised, will resemble the English Privy Council only in name. There is no intention of imitating the British Privy Council. We must try and evolve our own Political Institutions and not merely copy others. That is why I believe in making experiments.
| {{ชว}}หมายเหตุ ควรสังเกตว่า การแปล "องคมนตรี" เป็นภาษาอังกฤษว่า "Privy Councillors" นั้นชวนให้เข้าใจผิดอยู่หน่อย เพราะองคมนตรีของเรา โดยเฉพาะเมื่อจัดระเบียบใหม่แล้ว จะคล้ายคลึงกับองคมนตรีอังกฤษแต่ในนาม ไม่มีเจตนาจะลอกเลียนองคมนตรีของบริเตนเลย เราต้องพยายามวิวัฒนาสถาบันการเมืองของเราเอง ใช่แต่จะลอกคนอื่นเขา นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมข้าพเจ้าจึงเชื่อในการทดลอง
}}