ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งานแปล:สอดส่องหลายท้องถิ่น: สยาม/บทที่ 17"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Venise12mai1834 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Venise12mai1834 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 59:
{{ตรคป
|The priests then baptized the animal and gave him his new name and titles, which were very numerous, and which were written on a piece of sugar-cane; this the elephant promptly swallowed. It was probably the only part of the ceremony that gave him any pleasure. He was taken to his new apartment, and there fed by kneeling servants, who offered him food on dishes made of silver.
|ครั้นแล้ว นักบวชก็สมโภช<ref>คำว่า "baptize" ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ทำพิธีทางศาสนาคริสต์ที่เรียกว่า ศีลล้างบาป (baptism) ให้ ซึ่งจะมีการมอบชื่อใหม่ให้ด้วย ([[#d1|Dictionary.com, 2022]]) ดังนั้น ในที่นี้จึงหมายถึง พิธีสมโภชและตั้งนาม ดังมีตัวอย่างใน ''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4'' ([[#ท1|ทิพากรวงศฯ, 2548]]: 189) ซึ่งกล่าวถึงการรับช้างเผือกเมื่อ พ.ศ. 2406 ว่า "ครั้นเวลาบ่าย พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ มีการมหรสพทำขวัญ 3 วัน 3 คืน...จารึกชื่อในท่อนอ้อยว่า พระเสวตรสุวรรณาภาพรรณ...ประทานให้ช้างรับต่อพระหัตถ์ เสร็จ ''การสมโภช'' ตั้งชื่อแล้ว ก็แห่เข้ามาผูกยืนโรงไว้ที่ทำใหม่ สวดมนต์ทำขวัญ 3 วัน"</ref> สัตว์นั้น แล้วมอบชื่อและยศใหม่ให้แก่มัน โดยมีถ้อยคำมากมายเหลือเกิน และเขียนไว้บนอ้อยชิ้นหนึ่ง<ref>เช่น [[#จ1|''จดหมายเหตุ เรื่อง รับพระยาเศวตกุญชรช้างเผือกแรกได้ในรัชกาลที่ 2 เมื่อปีวอก พ.ศ. 2355'' (2470]]: 30–31) บรรยายพิธีมอบชื่อแก่ช้างเผือกว่า "พระโหราธิบดีถวายพระฤกษ์จะได้ขนานชื่อพระยาช้างเผือก...อาลักษณลงอักษรเปน พระยาเศวตกุญชร บวรพาหนาถ...ลงในท่อนอ้อย แล้วพระหมอเถ้าจารึกเทวมนต์ลงในท่อนอ้อย ครั้นได้ฤกษ์...พระวิเชียรปรีชา ราชบัณฑิต รับเอาพานทองรองท่อนอ้อยต่อพระหมอเถ้าเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงรับเอาท่อนอ้อยไปพระราชทานพระยาช้างเผือกผู้ต่อพระหัตถ์"</ref> ซึ่งเจ้าช้างกลืนกินเข้าไปในทันที นี่น่าจะเป็นส่วนเดียวในพิธีที่ยังความพอใจให้แก่ช้างได้บ้าง แล้วช้างก็ได้รับการนำไปสู่เคหาสน์แห่งใหม่ และได้รับการเลี้ยงดูอยู่ที่นั่นจากบ่าวไพร่ที่คลานเข่า ผู้เฝ้าปรนเปรอมันด้วยอาหารจากจานทำด้วยเงิน
}}