ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 7"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pitpisit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Venise12mai1834 (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{หัวเรื่อง | ชื่อ = ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ 7 | ปี = 2460 | ผู้สร้างสรรค์ = | บรรณาธิการ = | ผู้แปล = | ส่วน = | ผู้มีส่วนร่วม = | ก่อนหน้า = 6 | ถัดไป = 8 | หมายเหตุ =..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน
บรรทัดที่ 1:
{{หัวเรื่อง
ประชุมพงษาวดารภาคที่ ๗
| ชื่อ = [[../|ประชุมพงษาวดาร]] ภาคที่ 7
| ปี = 2460
| ผู้สร้างสรรค์ =
| บรรณาธิการ =
| ผู้แปล =
| ส่วน =
| ผู้มีส่วนร่วม =
| ก่อนหน้า = [[../ภาคที่ 6|6]]
| ถัดไป = [[../ภาคที่ 8|8]]
| หมายเหตุ =
}}
<pages index="ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗) - ๒๔๖๐.pdf" include="1"/>
----
{{สบช|
* '''[[/คำนำ/]]'''
: {{ลล|โดย {{ลผส|พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ}}}}
* '''[[/เรื่องที่ 1|คำให้การจีนกั๊ก เรื่อง เมืองบาหลี]]'''
: {{ลล|ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์}}
* '''[[/เรื่องที่ 2|คำให้การเถ้าสา เรื่อง หนังราชสีห์]]'''
: {{ลล|ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์}}
* '''[[/เรื่องที่ 3|คำให้การขุนโขลน เรื่อง พระพุทธบาท]]'''
: {{ลล|ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์}}
* '''[[/เรื่องที่ 4|คำให้การนายจาด เรื่อง เหตุการณ์ในเมืองพม่าเมื่อพระเจ้ามินดงทิวงคต]]'''
: {{ลล|ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์}}
}}
==บรรณานุกรม==
 
* โบราณคดีสโมสร (ผู้รวบรวม). (2460). ''ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ 7''. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ. (พิมพ์แจกในการศพนายอี่ พ.ศ. 2460).
 
{{ลมท}}
พิมพ์แจกในการศพนายอี่
ปีมเสง พ.ศ. ๒๔๖๐
 
[[หมวดหมู่:หนังสืองานศพ]]
พิมพ์ที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ
 
 
 
คำนำ
นายพลตำรวจตรี พระยาคทาธรบดีสีหราชบาลเมือง มาแจ้งความแก่กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณว่า บุตรหลานจะทำการปลงศพสนองคุณนายอี่ ผู้เปนอาว์ของพระยาคทาธร ฯ พร้อมกันมีความศรัทธาจะรับพิมพ์หนังสือในหอพระสมุดสำหรับพระนคร เปนของแจกในการกุศลสักเรื่อง ๑ ขอให้กรรมการช่วยเลือกเรื่องหนังสือให้ ข้าพเจ้าจึงได้เลือกเรื่องประชุมพงษาวดารภาคที่ ๗ ซึ่งกรรมการได้รวบรวมฉบับไว้ให้เจ้าภาพงานศพนายอี่ พิมพ์ตามประสงค์
ที่เรียกว่าหนังสือประชุมพงษาวดารนี้คือรวบรวมเรื่องพงษาวดารเกร็ดต่าง ๆ บรรดาได้ฉบับมาในหอพระสมุด ฯ ซึ่งเห็นว่าเปนเรื่องน่ารู้แลน่าอ่าน พิมพ์เพื่อให้ได้ทราบกันแพร่หลาย แลรักษาเรื่องโบราณคดีนั้นไว้มิให้สูญ หนังสือประชุมพงษาวดารจึงมักมีเรื่องแปลก ๆ ด้วยเหตุนี้จึงเปนหนังสือซึ่งชอบอ่านกันมาก
หนังสือประชุมพงษาวดารได้พิมพ์มาแล้วแต่ก่อนมี ๖ ภาค คือ
ภาคที่ ๑ สมเด็จพระมาตุฉา โปรดให้พิมพ์เมื่อทรงบำเพ็ญพระกุศลการศพหม่อมเจ้าดไนยวรนุช ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๕๗
 
 
 
 
 
ภาคที่ ๒ สมเด็จพระบรมราชินีพันปีหลวง โปรดให้พิมพ์พระราชทานในงานศพ คุณหญิงฟักทอง จ่าแสนบดี ราชินีกูล เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๕๗
ภาคที่ ๓ เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร พิมพ์แจกในงานศพหม่อมเจ้าหญิงอรชร ในพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๕๗
ภาคที่ ๔ พระยาศรีสำรวจ พิมพ์แจกในงานศพมารดาเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๕๘
ภาคที่ ๕ คุณหญิงหุ่น รณไชยชาญยุทธ พิมพ์แจกในงานศพพระยารณไชยชาญยุทธ (ศุขโชติกะเสถียร) เมื่อปีมเสง พ.ศ. ๒๔๖๐
ภาคที่ ๖ นายพลโท พระยาสีหราชฤทธิไกร พิมพ์แจกในงานศพมารดา เมื่อปีมเสง พ.ศ. ๒๔๖๐
ประชุมพงษาวดารที่เจ้าภาพงานศพนายอี่ พิมพ์เล่มนี้จึงเปนภาคที่ ๗
หนังสือประชุมพงษาวดารภาคที่ ๗ นี้ มีเรื่องรวบรวมไว้ ๔ เรื่องคือ (๑) คำให้การจีนกั๊กเรื่องเมืองบาหลี (๒) คำให้การเถ้าสาเรื่องหนังราชสีห์ (๓) คำให้การขุนโขลน เรื่องพระพุทธบาท (๔) คำให้การนายจาด เรื่องเหตุการณ์ในเมืองพม่าเมื่อพระเจ้ามินดงทิวงคต หนังสือเหล่านี้ที่เรียกว่าคำให้การเพราะถามจาก
 
 
ผู้ที่รู้เห็นด้วยตนเองมาจดไว้ แต่เปนเรื่องเนื่องในพงษาวดารดังจะอธิบายโดยเฉภาะเรื่องต่อไปนี้
(๑) คำให้การจีนกั๊กเรื่องเมืองบาหลีนั้น คือเมื่อปีมเมียจุลศักราช ๑๒๐๘ พ.ศ. ๒๓๘๙ ในรัชกาลที่ ๓ พระยาสวัสดิวารีแต่งสำเภาให้จีนกั๊กเปนนายลำไปค้าขายที่เมืองบาหลี อยู่ข้างใต้ไม่ห่างเกาะชวา ทำนองจะไม่ใคร่มีเรือไทยได้ไปถึงเกาะบาหลีมาแต่ก่อน เมื่อจีนกั๊กกลับมาถึงกรุงเทพ ฯ จึงโปรดให้ถามคำให้การเพื่อจะได้ทรงทราบภูมิประเทศ แลการงานบ้านเมือง ตลอดจนระยะทางที่ไปมา แลมีข้อสำคัญอิกอย่าง ๑ ด้วยฝรั่งฮอลันดา ยกกองทัพเรือไปตีเมืองบาหลีเมื่อเวลาจีนกั๊กอยู่ที่นั่น จีนกั๊กเสมอเปน " สักขี " ในการสงครามนั้น จึงจดคำให้การไว้ในราชการ ถึงกระบวนถ้อยคำสำนวน แลข้อความในหนังสือคำให้การของจีนกั๊กเรื่องนี้ ควรนับว่าเปนหนังสือแต่งดีด้วย เพราะถ้อยคำสำนวนเข้าใจง่าย เรื่องราวก็เล่ากระจัดชัดเจนโดยซื่อตรงเปนหนังสือน่าอ่าน แลให้ความรู้ลักษณการค้าขายของไทยในสมัยนั้นเปนอย่างดี ตัวข้าพเจ้าเองแต่แรกสังเกตแต่ชื่อเรื่องที่เรียกว่า " คำให้การจีนกั๊ก " ก็นึกหมิ่นทอดทิ้งเสียเปนช้านาน
ทีหลังอยากจะรู้ว่าเปนเรื่องอะไรจึงเรียกเอามาดู พอจับอ่านก็ชอบใจ อ่านเพลินไปจนจบเรื่องในพักเดียวทั้ง ๒ เล่มสมุดไทย แต่
 
 
 
ท่านผู้อื่นจะชอบฤๅไม่นั้น ก็จะเห็นแล้วแต่อัธยาไศรย แต่ข้าพเจ้าจะกล้ารับรองว่าเปนหนังสือเรื่องดี ดังแสดงมาทุกประการ
(๒) คำให้การเถ้าสา เรื่องหนังราชสีห์นั้น คือเมื่อปีรกา จุลศักราช ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖ ในรัชกาลที่ ๒ หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ กับนายฤทธิรณรงค์ กราบทูลว่าหญิงหม้ายคนหนึ่ง ชื่อเถ้าสา อยู่ที่ริมวัดปากน้ำในคลองบางหลวง มีหนังแปลกปลาดผืน ๑ ว่าเปนหนังราชสีห์ของพระเจ้าเอกทัศ พระที่นั่งสุริยามรินทร์ นายอูสามีของเถ้าสาได้มาเมื่อกรุงเก่าเสียแก่พม่าข้าศึก จึงโปรดให้เรียกเถ้าสามาถามคำให้การ คำให้การนี้เปนแต่เรื่องแปลกปลาด ข้าพเจ้าได้ทำคำอธิบายเฉภาะเรื่องพิมพ์ไว้ข้างท้ายคำให้การนั้นแล้ว
(๓) คำให้การขุนโขลนนั้น ในสำนวนไม่ชัดว่าเปนคำให้การซึ่งให้รับสั่งให้ถามอย่างคำจีนกั๊ก แลคำให้การเถ้าสาสังเกตในทำนองความ ดูเหมือนจะทรงตั้งผู้ว่าราชการเมืองพระพุทธบาทขึ้นไปใหม่ ฤๅมิฉนั้น เมื่อจะทรงสถาปนาการรักษาพระพุทธบาท เมื่อในรัชกาลที่ ๑ จะใคร่ทรงทราบแบบแผนประเพณีการรักษาพระพุทธบาทเมื่อครั้งกรุงเก่า ความปรากฎในบานแพนกว่า เมื่อปีมโรงจุลศักราช ๑๑๔๖ พ.ศ. ๒๓๒๗ กรมการใหญ่ในเมืองพระพุทธบาทนั่งพร้อมกัน ถามคำให้การผู้ใดผู้
 
 
 
หนึ่ง ตรงนี้ตัวฉบับลบเสียทราบไม่ได้ว่าเป็นใคร แต่เข้าใจได้ว่าเปนขุนโขลน คือชาวบ้านในตำบลพระพุทธบาท ซึ่งได้ยกย่องขึ้นไว้เปนผู้ใหญ่โดยเปนผู้มีอายุ ขุนโขลนนี้เล่าถึงตำนานพระพุทธบาทตลอดจนถึงแบบแผนประเพณี ที่รักษาพระพุทธบาทมาในครั้งกรุงเก่า คำให้การนี้ เชื่อได้ว่าคงจะได้บอกส่งเข้ามายังกรุงเทพ ฯ สังเกตข้อความที่กล่าวในคำให้การเห็นว่ามีหลงลืมอยู่บ้างก็จริง แต่เปนเรื่องราวแบบแผนซึ่งเปนความจริงตามตำรา แลทำเนียบการรักษาพระพุทธบาท ครั้งกรุงเก่าซึ่งยังไม่
ปรากฎในหนังสืออื่น ๆ ให้ความรู้ในทางโบราณคดีดีอยู่เปนต้นว่าเรื่องตำนานพบรอยพระพุทธบาท ได้ความในหนังสือนี้ดียิ่งกว่าที่ปรากฎในหนังสือพระราชพงษาวดาร คือว่า เหตุที่จะพบรอยพระพุทธบาทนั้น เดิมพระสงฆ์ไทยออกไปลังกาทวีป ซึ่งมีรอยพระพุทธบาทอยู่บนยอดเขาสุมณะกูฏ เปนที่สักการบูชาของชาวลังกา พระสงฆ์ไทยไปนมัสการรอยพระพุทธบาทนั้น พระสงฆ์ลังกาจึงบอกว่า ที่ในกรุงศรีอยุธยาก็มีรอยพระพุทธบาทอยู่ที่เขาสัจพันธ์เหมือนอย่างที่สิงหฬทวีป พระสงฆ์ไทยได้เนื้อความนี้มาทูลแด่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ๆ มีรับสั่งให้หัวเมืองเที่ยวตรวจตราหารอยพระพุทธบาทตามที่ชาวลังกาว่า เมืองสระบุรีให้สืบสวน ไปได้ความจากพรานบุญ ว่ามีรอยเหมือนรอยเท้าอยู่ที่เขานั้นรอย ๑ ซึ่งพรานบุญได้พบปะไว้แต่ก่อน เมืองสระบุรีจึงบอกเข้ามากราบทูล ฯ ตามที่กล่าวไว้ในหนังสือพระราชพงษาวดาร
(๔) คำให้การนายจาด เรื่องเหตุการณ์ในเมืองพม่าเมื่อพระเจ้ามินดงทิวงคตนั้น นายจาดคนนี้ ปรากฎในคำให้การว่าเปนข้าเก่าของกรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธร แต่จะมีฐานะอย่างไรในชั้นหลังแลเหตุใดจึงออกไปเมืองพม่าไม่ปรากฎ ลองสืบสวนดูเมื่อจะพิมพ์หนังสือนี้ ก็ไม่ได้ความ ปรากฎในคำให้การแต่ว่านายจาดออกไปเมืองพม่าในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีจอจุลศักราช ๑๒๓๖ พ.ศ. ๒๔๑๗ ไปอยู่ที่เมืองมันดเล ๔ ปี ได้เข้ารับราชการพม่าแลเคยเข้าเฝ้าพระเจ้าอังวะ นายจาดกลับมากรุงเทพ ฯ เมื่อปีเถาะจุลศักราช ๑๒๔๑ พ.ศ. ๒๔๒๒ คำให้การนี้ แม้ในหนังสือไม่กล่าวชัดว่ารับสั่งให้ถาม แลทำนองสำนวนเปนเขียนบอกแก่ขุนนาง ด้วยใช้คำว่า " ข้าพเจ้า '' ฉนี้ก็ดี เข้าใจคำให้การนี้มีรับสั่งให้ถาม เพราะในเวลานั้นในเมืองพม่าเปลี่ยนรัชกาลใหม่ ปรากฎว่ามีเหตุฆ่าฟันกันวุ่นวาย นายจาดพึ่งมาจากเมืองพม่า ได้รู้เห็นเหตุการณ์นั้น สมควรถามคำให้การไว้เปนความรู้ในราชการ อิกประการ ๑ ต้นฉบับคำให้การนี้หอพระสมุด ฯ ได้มาจากทางอาลักษณ จึงเชื่อได้ว่าแม้อย่างต่ำคงเปนหนังสือซึ่งได้นำขึ้น ทูลเกล้า ฯ ถวายเมื่อในรัชกาลที่ ๕
ว่าโดยตัวเรื่องในคำให้การของนายจาด ข้อความที่ให้การกล่าวตามรู้ตามเห็นแจ่มแจ้งดี แต่ยังมีเหตุอย่างอื่น ซึ่งน่าอ่านคำให้การนี้ในทางศึกษาโบราณคดี คือว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน
 
เมืองพม่าเมื่อพระเจ้าทีบอจะได้ราชสมบัตินั้น แม้มีผู้เอามาแต่งหนังสือกันแล้วเปนหลายฉบับ แลที่สุดได้แปลเป็นภาษาไทยมีแล้วก็จริง แต่บรรดาหนังสือเหล่านั้น เปนของแต่งเมื่อ อังกฤษได้เมืองพม่าแล้ว ผู้ที่แต่งลงมือแต่งเมื่อตัวรู้เรื่องตลอด แลใจตนได้ตัดสินผิดชอบเสียเสร็จแล้ว ฤๅถ้าจะว่าอิกไนยหนึ่ง ก็เหมือนกับแต่งหนังสือเรื่องสงคราม เมื่อรู้ว่าข้างไหนแพ้ชนะ เสียก่อนแล้ว แต่คำให้การของนายจาดนี้เล่าในเวลาเหตุการณ์ ยังไม่ถึงที่สุด เล่าตามความรู้เห็นในเมืองพม่าที่เปนอยู่ในเวลา เมื่อเกิดเหตุการณ์อันนั้น ด้วยความเปนอุเบกขา ถ้าใครอยาก รู้ว่าคนในเมืองพม่าคิดเห็นกันอย่างไรในเวลาเกิดเหตุการณ์ เมื่อ พระเจ้าทีบอได้ราชสมบัติ อ่านคำให้การของนายจาดจะเข้าใจ ความจริงได้ดีกว่าอ่านหนังสือที่ฝรั่งแต่งในเรื่องพระเจ้าทีบอทุกเรื่อง ราคาคำให้การของนายจาดจึงมีในทางโบราณคดีดังกล่าวมานี้ แต่
ต้องทรงจำไว้อย่างหนึ่งว่านายจาดเปนไทยไปอยู่ในเมืองพม่า ความ รู้เห็นก็ต้องเพียงเท่า ชาวต่างประเทศที่ไปอยู่ในหมู่พลเมืองนั้นคน ๑
ถ้าผู้อ่านคำให้การของนายจาด อ่านด้วยความเข้าใจดังข้าพเจ้าแสดงมา คงจะเห็นว่าคำให้การนี้เปนหนังสือดีน่าอ่านเรื่อง ๑
ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้ว ว่าความจริงในเหตุการณ์เรื่องพระเจ้าทีบอ โดยมากเปนของพึ่งมารู้กันในชั้นหลัง คำให้การ
 
 
 
นายจาดกล่าวตามที่พม่าเข้าใจกันโดยมากในเวลานั้น ย่อมผิด กับการที่เปนจริงอยู่หลายแห่ง ข้าพเจ้าได้ลองสอบกับเรื่องที่เซอร์เยมสก๊อต ได้สืบสวนเรียบเรียงไว้ในหนังสือคเสตเตียพม่า เหนือ ซึ่งรัฐบาลอังกฤษให้เซอร์เยมสก๊อตเรียบเรียงนั้น เก็บ แต่ใจความมาลงเปนอธิบาย หมายเลขไว้ตรงข้อความที่คำให้การ คลาศเคลื่อนกับความจริงฤๅไม่ชัดเจน แลได้ลงอธิบายความ ข้ออื่น ซึ่งเห็นควรจะอธิบายไว้ให้ผู้อ่านเข้าใจสดวกขึ้นด้วย อิกหลายแห่ง
ข้าพเจ้าหวังใจว่า ท่านทั้งหลายที่ได้รับสมุดเล่มนี้ไปอ่านคงจะพอใจอ่านเรื่องที่ได้รวบรวมมาพิมพ์ไว้ แลคงจะอนุโมทนากุศลบุญราษี ซึ่งบุตรหลานได้บำเพ็ญสนองคุณนายอี่ แลที่ได้พิมพ์หนังสือเล่มนี้ให้ปรากฎแพร่หลายเปนครั้งแรก
 
สภานายก
หอพระสมุดวชิรญาณ
วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐
 
 
 
 
สารบาน
 
คำให้การจีนกั๊ก น่า ๑
คำให้การเถ้าสา " ๔๙
คำให้การขุนโขลน " ๕๓
คำให้การนายจาด " ๗๐
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
คำให้การจีนกั๊ก เรื่องเมืองบาหลี
 
* วัน ๙ ค่ำ ปีมเมียอัฐศก ( จุลศักราช ๑๒๐๘) พระยา สมุทปราการบอกส่งตัวนายจีนกั๊กนายเรือ พระสวัสดิวารีแต่งไปค้าเมืองบาหลีกลับเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ถามจีนกั๊กด้วยการบ้านเมืองบาหลี
* วัน ๑ ๑๑ ค่ำ ปีมเมียอัฐศกเพลาค่ำ ๕ ทุ่มเศษ พระยาพิพัฒน์โกษานำคำให้การจีนกั๊กขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่าให้ส่งคำให้กรมพระอาลักษณจำลอง ไว้ที่โรงอาลักษณฉบับ ๑ นั้น
* วัน ๒ ๑๑ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๐๘ ปีมเมียอัฐศก หมื่นชำนาญนิพนธ์กรมท่า นำคำให้การไปส่งนายเฑียรฆราษนายเวร กรมพระอาลักษณแล้ว
* ข้าพเจ้าจีนกั๊กนายเรือให้การว่า พระสวัสดิวารีแต่งเรือ กิมฉายยาว ๑๔ วา ปาก ๔ วา ลำ ๑ ให้ข้าพเจ้าเปนนายเรือ จีน คงเปนล้าต้า จีนฉายเปนหวยเตียว ลูกเรือ ๓๗ คน บรรทุก สินค้าเกลือ ๑๕๐ เกวียน น้ำมันมะพร้าวหนัก ๓๐๐ บาท ครั่ง หนัก ๑๐๐ บาท น้ำตาลดำหนัก ๔๐๐ บาท ฝางหนัก ๔๐๐ บาท แพรจีนเจา ๒๐ ม้วน แพรผังสี ๓๐ พับ ไปค้าขายเมืองบาหลี ล่องไปจากกรุงเทพ ฯ ณวัน ๑๑ ค่ำ ปีมเสงสัปตศก
 
 
* วัน ๑๑ ค่ำ เรือตกฦกผูกเชือกเสาเพลาใบพร้อมเสร็จ
* วัน ๑๑ ค่ำ ปีมเสงสัปตศกใช้ใบออกจากหลังเต่าลมเปนว่าวเปนสลาตัน ไปเดือน ๑ กับ ๗ วัน ถึงเมืองใหม่ (สิงคโปร์) แวะเข้าจำหน่ายสินค้าที่เมืองใหม่บ้าง ยังอยู่ที่เรือบ้าง แล้วข้าพเจ้า จัดซื้อกะทะ ๕๐๐ เถา สีเสียด ๒๐๐ บาท ถ้วยชามใหญ่น้อย ๑๐๐๐ ซอง ทองอังกฤษ ๑๐๐๐ ม้วน ไหมทอง ๕๐ หีบ ผ้าขาว ๕๐ พับ ผ้าเนื้อดิบ ๑๐๐ พับ สินค้าที่เมืองใหม่ลงบรรทุกเรือ ข้าพเจ้าไปจ้างต้นหนอังกฤษว่าราคาเดือนหนึ่ง ๗๐ เหรียญ
* ครั้นณวัน ๓ ค่ำ ปีมเสงสัปตศกใช้ใบเรือออกจากเมืองใหม่ ตัดข้ามช่องเมืองเรียว ๙ วัน ถึงเกาะถังปัวสือ เกาะ เปนรูปตะบะ เพลาพลบค่ำเรือเกยศิลาใหญ่ค้างอยู่ ชวนกันยก มือขึ้นมัสการเทพยดา แล้วกราบถวายบังคมสมเด็จพระพุทธเจ้า อยู่หัว ขอเอาพระเดชพระคุณปกเกล้าปกกระหม่อมเปนที่พึ่ง อย่าให้เรือเปนอันตรายเลย คลื่นลมก็สงบ ประมาณ ๓ ยาม น้ำขึ้น เรือจึงหลุดออกจากศิลาใหญ่ได้ ข้าพเจ้ากับลูกเรือชวน กันเปิดระวางน้ำดู ก็หาเห็นมีน้ำในระวางไม่ นายเรือว่ากับต้นหนอังกฤษว่าหลับตาใช้ใบเรือมาจนเกยศิลา ต้นหนอังกฤษตอบว่า ข้าเคยใช้กำปั่นน่าเรือจับเข็ม เรือจีนเอาข้างเรือจับเข็มอย่างนี้ ข้าไม่เคยใช้ ลูกเรือทั้งปวงร้องกับนายเรือว่า ถ้าไม่เปลี่ยน ต้นหนใหม่ เราก็จะชวนกันขึ้นเสีย ไม่เอาชีวิตรไปให้เปน
 
เหยื่อปลาแล้ว แล้วชวนกันทอดสมอลง ข้าพเจ้าเห็นเรือ ปลาใช้ใบเข้ามาใกล้ ข้าพเจ้าจึงเรียกจีนนายเรือปลาเข้ามาว่าจ้าง โดยสานไปเมืองใหม่เปนเงิน ๑๖ ดุล ข้าพเจ้ากับต้นหนอังกฤษ ลูกเรือด้วยคน ๑ เข้ากัน ๓ คน ลงเรือปลา มาแต่เรือใหญ่ วัน ๓ ค่ำ ใช้ใบมาวัน ๑ กับคืน ๑ ถึงเมืองใหม่ ต้นหน อังกฤษก็ขึ้นอยู่ที่เมืองใหม่ ข้าพเจ้าเที่ยวหาต้นหนได้แขกมุกิด ๒ คนเปนต้นหนใหญ่คน ๑ รองคน ๑ ว่าราคากันไปถึงเมืองบาหลี จนกลับมาเมืองใหม่ เปนเงิน ๑๖๐ เหรียญ แขกมุกิดก็ยอม รับเปนต้นหน ข้าพเจ้าพาแขกมุกิด ๒ คน จ้างเรือปลาเปน เงิน ๔ เหรียญ
* วัน ๔ ค่ำ ออกจากเมืองใหม่ รุ่งขึ้น ๓ ค่ำ เพลากลางวันถึงเรือใหญ่ เพลาเย็นถอนสมอใช้ใบเรือออกจากอ่าว ถังปัว ตั้งน่าเรือไปทิศใต้ไป ๓ วันถึงเกาะปุนโต ๆ อยู่ข้างตวัน ตก ใช้ใบเรือไปอิก ๕ วันถึงน่าเมืองหมาสิน ไปแต่เมือง หมาสินเพลากลางคืน ต้นหนห้ามไม่ให้ตามไฟ กลัวปลาใหญ่ จะมาหนุนเรือ ไป ๗ วัน เข้า ๒๑ วันถึงเมืองบาหลี ท่าเรือ จอดอยู่ข้างตวันตก ทอดสมอน้ำฦก ๖๐ วา กว้านสำปั้นลง ข้าพเจ้ากับต้นหนแขกก็ลงสำปั้น ลูกเรือแจวสำปั้นขึ้นบกชาย ทเล ข้าพเจ้ากับต้นหนแขกเดินบกไปเที่ยวหาห้างกะปิตัน ไป ถึงห้างกะปิตันปันตัดถามข้าพเจ้าว่า มาแต่เมืองไหน ข้าพเจ้า
 
 
บอกว่าเรือมาแต่กรุงเทพ ฯ กะปิตันปันตัดก็ดีใจ จวนเพลาเย็น กะปิตันหาเข้าเลี้ยงข้าพเจ้ากับต้นหนให้กินอยู่เสร็จแล้ว กะปิตัน ให้ข้าพเจ้านอนที่ห้างคืน ๑
* วัน ๔ ค่ำ ปีมเสงสัปตศกเพลาเช้า กะปิตันเอาเรือบด ๒ ลำให้ไปจูงเรือใหญ่ข้าพเจ้ามาทอดอยู่น่าห้าง น้ำฦก ๒๕ วา ครั้นเพลาค่ำประมาณ ๒ ยามเศษ เกิดลมพยุใหญ่พัดต้นมะพร้าว ต้นหมากต้นไม้ใหญ่หักเปนอันมาก เรือทอดสมอ ๔ ตัว สู้ลม อยู่ประมาณ ๓ ยามเศษจึงหายลมพยุ
* ครั้นรุ่งขึ้นวัน ๔ ค่ำ ข้าพเจ้าจัดสิ่งของกำนัน ๔ แห่ง ลงสำปั้นแจวเข้าไปประมาณ ๔ เส้นเศษถึงท่าห้างกะปิตัน ข้าพเจ้า จัดผลลำไยแห้ง ผลพลับแห้ง ผลส้มจีน ผลแห้วจีน กะเทียม ดอง ใบชา ปลาใบไม้ วุ้นเส้น เข้ากัน ๘ สิ่งกำนันกะปิตัน บ้านกะปิตันก่ออิฐถือปูน มุงกระเบื้อง มีจีนอยูที่บ้านกะปิตัน ๒๐ คน มีตลาด ๆ ขายผ้าแพร ผ้าขาว ร่ม ถ้วย ชาม ผักปลา กล้วย ส้ม ของกินเปนอันมาก มีคนซื้อคนขาย แต่ผู้ชาย เดินเสมอ แต่เพลาเช้าจนเพลาค่ำเปลี่ยนกันไปมาบ้างประมาณ ๑๐๐ คน ๒๐๐ คนเศษ ข้าพเจ้าให้กะปิตันพาข้าพเจ้าเอาของอิก ๘ สิ่งไปกำนันปลัดเมือง ข้าพเจ้าไปจากบ้านกะปิตันหนทางกว้างประมาณ ๖ วา ดินไปสัก ๓๐ เส้นเปนชั้นขึ้นไปลาดเหมือนตะ พานช้างสูง ๕ ศอก แล้วเปนที่เสมอไปประมาณ ๕ เส้น จึง
เปนชั้นสูงขึ้นไปอิก ๕ ศอกเหมือนกัน ไปกว่าจะถึงบ้านปลัด เมืองเปนชั้น ๒๐ ชั้น มีบ้านอยู่ ๒ ข้างทางมีกำแพงดินกั้นน่าบ้าน แล้วปลูกต้นขนุน ต้นมะขาม ต้นกะดังงา ต้นมะพร้าว ต้นไทร ต้นมะม่วงบ้าง ทั้ง ๒ ฟากทางกิ่งประกัน ร่มแดดตลอดกันไปทุก ชั้น ๆ จนถึงบ้านปลัดเมือง ที่อยู่ชาวบ้านทำเปนตึกดินดิบ หลัง คาเปนกระโจม มุงแฝกเหมือนกัน หลังบ้านเปนนาหามีกำแพง กั้นไม่ เลี้ยงโค เลี้ยงกระบืออยู่หลังบ้าน แต่บ้านกะปิตันไป จนถึงบ้านปลัดเมืองทางประมาณ ๑๐๐ เส้น ข้าพเจ้าไปถึงบ้าน ปลัดเมือง ข้าพเจ้าก็ยกของขึ้นไปบนเรือนปลัดเมือง ๆ ถามกะ ปิตันว่ามาแต่ไหน กะปิตันบอกว่าพระสวัสดิวารีเจ้าทรัพย์อยู่ที่ กรุงเทพ ฯ แต่งให้จีนกั๊กเปนนายเรือคุมสินค้าออกมาค้าขายเมือง บาหลี ปลัดเมืองถามข้าพเจ้าว่ามาค้าขายเมืองบาหลีนี้จะประสงค์ สินค้าสิ่งใด ข้าพเจ้าบอกปลัดเมืองว่าจะจัดหาซื้อเพ็ชร ทับทิม มรกฎใหญ่ ๆ ที่มีราคาเข้าไปทูลเกล้า ฯ ถวายสมเด็จพระพุทธเจ้า อยู่หัวณกรุงเทพ ฯ ปลัดเมืองว่ากับข้าพเจ้าว่าเมืองบาหลีนี้เปนเมือง ป่าหามีเพ็ชรพลอยไม่ มีแต่เข้าสารถั่วงากาแฟยาเส้นกับผลไม้ สด ทุเรียน มังคุด ลางสาด เงาะ ส้มโอ ส้มเปลือกบาง ส้ม มะแป้น ส้มเกลี้ยง ต่าง ๆ มีอยู่เปนอันมาก ปลัดเมืองสั่งให้ คนจัดหาเข้ามาเลี้ยงข้าพเจ้า ๆ เห็นบ้านปลัดเมืองก่อกำแพงดิน ล้อมบ้านกว้างประมาณ ๓ เส้นเศษ มีโรงข้างน่านอกกำแพง ๓
หลัง ๆ ๑ ขื่อประมาณ ๙ ศอก ๔ เหลี่ยม เสาเครื่องบนทำด้วย ไม้สักตั้งอยู่กลาง มีตะเข้ ๔ มุม กลอนไม้ไผ่มุงด้วยแฝกหลังคา รอบแหลมเช่นเดียวกับหลังคาด่านเหมือนกันทั้ง ๓ หลัง หลังที่รับ แขกไม่มีฝา พื้นดินสูงประมาณศอก ๑ มีแคร่ตั้งไว้ ๒ อันยาว ประมาณ ๕ ศอก กว้างประมาณ ๓ ศอก ตั้งอยู่มุมละอัน มีช่อง เดินกว้างประมาณ ๓ ศอก ข้าพเจ้าเห็นมีปืนคาบศิลาวางไว้บน กระไดแก้ว ประมาณ ๖๐ บอก ๗๐ บอก ทวนยาว ๙ ศอก ๑๐ ศอก วางไว้บนขื่อโรง ประมาณ ๖๐ เล่ม ๗๐ เล่ม ตัวนายนั่งอยู่บน แคร่นุ่งผ้าตาโถงคาดเอว ผ้าริ้วทอด้วยไหม ตัดผมดอกกระ ทุ่ม อายุประมาณ ๔๐ ปีเศษ มีเบาะผ้าแดงวางบนเสื่อสานด้วย ไม้ไผ่เส้นเลอียดรองนั่งผืน ๑ พวกขุนนางบ่าวไพร่ ชายหญิง นั่งอยู่ที่พื้นดินข้างล่างเสมอกับข้าพเจ้าประมาณ ๓๐ คน มีหญิง สาว ๆ ประมาณ ๑๑ คน ๑๒ คนนั่งอยู่ข้างแคร่ พวก ๑ นุ่งผ้า ไหมตาตรางแขก นุ่งผ้าด้ายตาตรางแขกบ้าง ห่มผ้าตาตรางสี ต่าง ๆ ห่มผ้าย้อมขมิ้นสีเหลืองบ้าง นั่งดูข้าพเจ้า พวกผู้ชาย บ่าวปลัดเมืองยกโต๊ะไม้กลึงไม่ได้ทาสี รูปโต๊ะนั้นเหมือนรูป โต๊ะเท้าช้าง ในโต๊ะนั้นรองใบตองสด เข้ากองกลางโต๊ะ มีกะทง ใบตองล้อมกองเข้า ๗ กะทง ในกะทงเนื้อสุกรย่างกะทง ๑ กะทง ตับสุกรทอดกะทง ๑ กะทงไส้สุกรทอดน้ำมันกะทง ๑ กะทง ถั่วเหลืองขั้วน้ำมันกะทง ๑ กะทงเกลือป่นกะทง ๑ พริกเทศกับ
หอมทอดน้ำมันกะทง ๑ แตงกวาผ่าตามยาวกะทง ๑ ให้ข้าพเจ้า รับประทาน หามีชามเข้าไม่ ข้าพเจ้าเรียกเอาชามเข้า ๒ ชามมา ใส่เข้ารับประทาน ข้าพเจ้ากับกะปิตันเปิบเข้าหยิบกับรับประทานเหมือนอย่างไทย พวกชายหญิงที่นั่งดูข้าพเจ้ารับประทาน พูด กันตามภาษาบาหลียิ้มแย้มหัวเราะกันทุกคน ครั้นข้าพเจ้ารับประ ทานเข้าอิ่มแล้ว ปลัดเมืองถามข้าพเจ้าว่า ที่กรุงเทพ ฯ กิน เข้าอิ่มแล้วกินอะไรอิกบ้าง ข้าพเจ้าบอกว่ากินเข้าแล้ว กินขนม กินลูกไม้ต่าง ๆ บ้างเปนของหวาน ปลัดเมืองจึงให้คนยกโต๊ะไม้ กลึงมาโต๊ะ ๑ ใส่ทุเรียน มังคุด ส้มเปลือกบาง น้อยหน่า กล้วย สั้นบ้าง ออกมาให้ข้าพเจ้ารับประทาน แล้วเอาหมากพลู ใส่ หีบทองเหลืองเครื่องในตลับซองพลู ทำด้วยเงิน พลูนั้นจีบ เหมือนไทยจีบ ๆ ๑ ซ้อน ๓ ใบผูกด้วยด้าย กินปูนขาว ข้าพเจ้า รับประทานแล้ว กะปิตันกับปลัดเมืองบ่าวประมาณ ๔ - ๕ คน พาข้าพเจ้าไปหาเจ้าเมืองรอง เดินไปแต่บ้านปลัดเมืองประมาณ เส้นเศษ ทางเดินสูงเปนชั้นขึ้นไปกว่าที่บ้านปลัดเมืองประมาณ ๕ ศอก ลาดเหมือนตะพานช้าง มีบ้านอยู่ ๒ ฟากทาง ปลูกต้นไม้ น่าบ้านเรียงไปทั้ง ๒ ฟาก กิ่งประกันร่มแดด แล้วเปนที่เสมอ ไปประมาณเส้นเศษก็ถึงบ้านเจ้าเมือง มีกำแพงดินล้อมบ้านกว้างประมาณ ๑๐ เส้น สูงประมาณ ๕ ศอกเศษ ทำหลังคาบนกำแพง มุงแฝกให้ร่มฝนรอบทั้ง ๔ ด้าน กะปิตันกับปลัดเมืองพาข้าพเจ้า
เข้าประตูชั้นนอก เข้าไปประมาณ ๑๐ วาถึงโรงที่รับแขก ขื่อ กว้างประมาณ ๓ วา ๔ เหลี่ยม พื้นดินหลังคาเปนกระโจมมีแคร่ ที่นั่งอยู่ ๒ ข้างเหมือนกับบ้านปลัดเมือง ข้าพเจ้าเห็นมีคนอยู่ ชาย ๓ หญิง ๕ รวม ๘ คน ผู้ชายเอาเสื่อสานด้วยไม้ไผ่ กว้าง ๔ ศอก ยาว ๕ ศอก มาปูลงที่พื้นดิน ๓ ผืน กะปิตันจึงบอก ข้าพเจ้าภาษาจีนว่าให้นั่งอยู่ที่นี่ก่อน ข้าพเจ้าก็นั่งลง ปลัดเมือง ที่พาข้าพเจ้าไปจึงเรียกหญิง ๒ คนมา ๆ นั่งพับเพียบประสานมือไว้ บนตัก ปลัดเมืองพูดภาษาบาหลีกับหญิง ๒ คนประการใดข้าพเจ้า ไม่ทราบ หญิง ๒ คนก็เปิดประตูเข้าไปข้างใน ข้าพเจ้าเห็น มีปืนคาบศิลาวางไว้บนกระไดแก้วประมาณ ๘๐ บอก ๙๐ บอก ทวนยาว ๙ ศอก ๑๐ ศอก ไว้บนขื่อโรงรับแขกประมาณ ๗๐ เล่ม ๘๐ เล่ม แล้วกะปิตันบอกข้าพเจ้าว่า หลังบ้านเจ้าเมือง รองมีตลาด ๆ หนึ่ง จะมีคนซื้อขายอยู่มากน้อยเท่าใดข้าพเจ้า หาเห็นไม่ เห็นขุนนางนุ่งผ้าขาวคาดผ้าขาวเหน็บกฤชฝักไม้ลาย ไว้ผมมวยเหมือนพราหมณ์ ปักดอกลั่นทมที่มวยผมเหมือนกัน ทั้ง ๔ คนมาทางประตูที่ข้าพเจ้าเข้าไปนั่งอยู่บนแคร่ก่อน อยู่ประ มาณครู่ ๑ เจ้าเมืองจึงออกมา ข้าพเจ้าเห็นนุ่งผ้าไหมตาโถงตา โต ๓ นิ้ว ตาผ้ามีแต่สีขาวสีดำ นุ่งผ้าเอาชายข้างหนึ่งเข้าข้างใน แล้วพันมาทับกันเหลือชายข้าง ๑ ประมาณ ๓ ศอก หยิบกลาง มาเหน็บ แล้วเอาผ้าไหมริ้วแดงริ้วดำยาวไปตามผืนพันเอวเข้า
๓ รอบ ชายผ้าเอาด้ายขาวเข็ดยาว ๔ ศอกชายผ้าพันทับเข้าอิก ๓ รอบ เหน็บกฤชฝักทองคำ ตัดผมดอกกะทุ่ม โพกผ้าแดง กว้างประมาณ ๓ นิ้วรอบชาย ๒ ข้าง ผูกข้างหลัง อายุประมาณ ๓๐ ปีเศษ มีหญิงอายุ ๑๑ ปี ๑๒ ปี ถือพานหมากทองคำคน ๑ ถือ ร่มเมืองจีนคันยาวปิดทองทั้งคัน ๑ กล้องสลัดมีลูกดอกคนละคัน ๒ เดินเปล่ามาคน ๑ ตามออกมาด้วย รูปพานหมากรีเหมือนรูปไข่ ปากกว้างโดยรีประมาณ ๑๕ นิ้วสูงคืบเศษ เครื่องในพานจะเปน ทองเงินประการใดข้าพเจ้าไม่เห็น เจ้าเมืองขึ้นนั่งบนแคร่ ขุนนาง นุ่งขาว ขุนนางคาดเอว ขุนนางผ้าขาว ๔ คนนั้นนั่งขัดสมาธิ์ประ สานมือไว้บนตักนั่งอยู่บนแคร่ผินหน้าเข้าหากัน ข้างขวา ๒ ข้าง ซ้าย ๒ ปลัดเมืองกะปิตันกับข้าพเจ้า ก็นั่งขัดสมาธิ์ประสานมือ อยู่ที่เสื่อพื้นดิน ห่างน่าเตียงที่เจ้าเมืองนั่งออกมาประมาณ ๔ ศอก ข้าพเจ้าเห็นหญิงออกมาแต่ข้างใน มานั่งอยู่ข้างหลังแคร่ที่เจ้าเมือง นั่งประมาณ ๕๐ คนเศษ ผู้ชายเข้ามาทางข้างน่าประมาณ ๓๐ คน เศษ มานั่งอยู่ดินชั้นล่างต่ำกว่าที่ข้าพเจ้านั่งประมาณศอกเศษ แล้วเจ้าเมืองพูดภาษาบาหลีให้กะปิตันถามข้าพเจ้าภาษาจีน ว่าข้าพเจ้าเปนลูกค้ามาแต่เมืองไหน ข้าพเจ้าบอกว่าเรือมาแต่ กรุงเทพ ฯ เหมือนข้าพเจ้าบอกกับปลัดเมือง เจ้าเมืองจึงว่าเมือง บาหลีเปนเมืองป่าหามีเพ็ชรพลอยไม่ มีแต่เข้าสารถั่วงา ผลกาแฟ
๑๐
ยาเส้น ผลไม้ต่าง ๆ แล้วเจ้าเมืองจึงพูดภาษาบาหลีกับขุนนางที่นั่ง อยู่บนแคร่ กะปิตันปันตัดแปลเป็นภาษาจีนให้ข้าพเจ้าฟัง ว่าเจ้า เมืองถามขุนนาง ๔ คนว่า แต่เมืองบาหลีตั้งมาจนทุกวันนี้ไม่มีเรือ โตใหญ่มาค้าขายเหมือนลำนี้เลย ข้าพเจ้าจึงตอบว่าท่านพระสวัสดิวารีเจ้าทรัพย์อยู่ที่กรุงเทพ ฯ แต่งสำเภาเรือปากใต้ไปเที่ยวค้าขายหลายบ้านหลายเมืองจะต้องการพลอย เพ็ชร ทับทิม มรกฎที่ใหญ่ ๆ ไปทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็หาไม่ได้ มีแต่เล็ก ๆ เท่าผลสวาดิผลบัวบ้าง กล่ำใหญ่กล่ำเล็กบ้าง ได้ ยินชื่อเมืองบาหลีนี้ว่าเปนเมืองใหญ่ตั้งมาช้านาน หามีลูกค้าผู้ใดไป ค้าขายถึงไม่ จึงแต่งเรือชนิดกลางปาก ๔ วา บรรทุกสินค้าได้ หนักสักห้าพันเศษ เปนทุนเงินสักหมื่นเหรียญเศษ ท่านพระ สวัสดิวารีสั่งมาว่า ถ้าพบเพ็ชรพลอยที่ดีจะเปนราคามากน้อยเท่า ใดก็ให้ซื้อเข้าไปให้สิ้นเงินหมื่นเหรียญ จะได้พลอยสักเม็ด ๑ ฤๅ ๒ เม็ดก็ตามเถิด เจ้าเมืองจึงตอบว่า เมืองบาหลีนี้เปนเมือง ป่าเมืองเกาะ หามีของดีวิเศษไม่ มีแต่ของป่าเงินทองเบี้ยอีแปะ เมืองอื่น ๆ เอามาแลกของป่าไป แล้วข้าพเจ้าก็ลาว่าจะไปหา เจ้าเมืองกาล่งกง ซึ่งเปนเจ้าเมืองผู้ใหญ่ กะปิตันก็พาข้าพเจ้า เดินออกมาจากบ้านเจ้าเมืองขึ้นเนินเขาสูงขึ้นไป ๘ ชั้น ทางประ มาณ ๒๐๐ เส้นเศษ มีบ้าน ๒ แถวมีต้นไม้ทั้ง ๒ ฟาก ร่มตลอด ไปจนถึงบ้านเจ้าเมืองกาล่งกง มีกำแพงก่อด้วยอิฐสุกใบสอดิน
๑๑
กว้างประมาณ ๑๕ เส้นเศษ สูง ๕ ศอก หนา ๓ ศอกเศษ หลัง กำแพงกลมเปนกาบกล้วย ที่น่าประตูก่อด้วยอิฐสุกเปนแท่น กว้าง ๕ ศอก ๔ เหลี่ยม สูงประมาณ ๘ ศอก แล้วปลูกโรง เสาไม้จริงเครื่องบนไม้ไผ่หลังคามุงแฝกกรวมแท่นไว้ เอาปืนปะ เรี่ยมทองยาวประมาณ ๔ ศอก ใหญ่รอบ ๓ กำ ใส่รางวางไว้บนแท่นบอก ๑ กะปิตันบอกข้าพเจ้าว่า ปืนบอกนี้เปนของอังกฤษให้ ไว้เปนสัญญา จาฤกหลังปืนเปนหนังสืออังกฤษ ว่าปืนบอกนี้ อยู่ที่เมืองบาหลีตราบใด อังกฤษไม่มากระทำอันตรายกับเมือง บาหลีเปนอันขาดทีเดียว พ้นประตูเข้าไปสัก ๑๐ วามีสระ ๆ ๑ กว้างยาวประมาณ ๒ เส้น มีเขื่อนตรุด้วยไม้ พ้นสระไปอิก ๘ วา ถึงกำแพงชั้น ๒ มีเสาศิลากลมใหญ่รอบ ๓ กำ สูง ๓ ศอก ตั้งเรียงห่างกันคืบ ๑ ข้างบนมีศิลาหนา ๑๖ นิ้ว ๔ เหลี่ยม ยาว ๔ ศอก ๕ ศอกบ้างทับบนปลายเสาศิลา เปนเสาศิลายาวประมาณ เส้นเศษ พ้นเสาศิลาไป ๒ ข้างก่อด้วยอิฐประตูอยู่กลางทำด้วย ไม้สัก บนหลังประตูก่ออิฐเปนหลังเจียดหาได้ถือปูนไม่ มี โรงอยู่โรง ๑ ทำฝาหลังคาเหมือนกับที่บ้านเจ้าเมืองรอง แต่หา เห็นมีปืนคาบศิลา หอก ทวน ไม่ จะเอาไปข้างไหนข้าพเจ้า ไม่ทราบ กะปิตันให้ข้าพเจ้าพักอยู่ที่โรงเปนเพลาเย็น ข้าพเจ้า เอาของกำนัน ๘ โต๊ะตั้งไว้ที่โรง ข้าพเจ้าเห็นชาย ๓ หญิง ๒ นั่งอยู่ที่โรง กะปิตันเรียกหญิงที่อยู่ในโรงมา ๒ คน กะปิตัน
๑๒
พูดกับหญิง ๒ คนเปนภาษาบาหลี จะพูดกันประการใดข้าพเจ้าไม่ทราบ หญิง ๒ คนก็เดินเข้าไปประตูชั้นใน ชาย ๓ คนจึง เอาเสื่อสานด้วยไม้ไผ่ กว้าง ๔ ศอก ยาว ๕ ศอกมาปูลงที่พื้นดิน น่าแคร่ ๔ ผืน ขุนนางนุ่งผ้าขาวคาดผ้าขาวไว้ผมมวยเหมือนพราหมณ์ปักดอกไม้สดที่มวยผม เหน็บกฤชฝักไม้ลายมานั่งอยู่ บนแคร่ขัดสมาธิ์ประสานมือไว้บนตัก เหมือนกับที่บ้านเจ้าเมืองรอง ทั้ง ๔ คน แล้วมีคนนุ่งผ้าตาโถงไว้ผมมวยเหน็บกฤช นั่งขัดสมาธิ์ประสานมืออยู่ที่พื้นดินข้างล่างน่าแคร่ ๓๐ คน แคร่นั้นยาว ๖ ศอก กว้าง ๔ ศอก ปูเสื่อหวาย มีเบาะผ้าแดงวางบนเสื่อหวายเบาะ ๑ อยู่ประมาณครู่ ๑ เจ้าเมืองกาล่งกงก็ออกมา ข้าพเจ้าเห็นนุ่งผ้าไหม ตาโถงตาโต ๔ นิ้ว ตาผ้ามีแต่สีขาวสีดำ นุ่งผ้าเอาชายข้าง ๑ เข้าข้างใน แล้วพันมาทับกันเหลือชายข้างหนึ่งประมาณ ๓ ศอก หยิบกลางมาเหน็บพก แล้วเอาผ้าไหมริ้วแดงริ้วดำยาวไปตามผืน พันเอวเข้า ๓ รอบ ชายผ้าเอาด้ายเข็ดขาวยาว ๔ ศอกต่อชายผ้า พันทับเข้าอิก ๓ รอบ เหน็บกฤชฝักทองคำด้ามงา ผมดอก กะทุ่มหามีผ้าโพกไม่ อายุประมาณ ๖๐ ปีเศษ ไว้หนวดริม ฝีปากข้างบนยาว ๓ นิ้ว มีหญิงสาวอายุ ๑๘ ปี ๑๙ ปี ๒๐ ปี ๒๐ปีเศษบ้าง ๗ คนตามออกมา ถือพานหมากทองคำสลักรูปรีเปนรูปไข่ปากกว้าง ๑๔ นิ้ว ๑๕ นิ้ว สูงคืบเศษ นั่งถือคนทีดินปากเลี่ยมทอง ฝาปิดเปนพุ่มดอกไม้ปิดทองคน ๑ ถือทวนภู่ไหมแดงฝักปิดทอง
๑๓
คำทาดำยาวประมาณ ๔ ศอกเศษ ๒ คน เดินเปล่ามาด้วย ๓ คน นุ่งผ้า ริ้วแดง ริ้วเขียว ริ้วขาว ห่มผ้าคล้องฅอสีเหลืองสีแดงบ้าง เจ้าเมืองกาล่งกงเดินมาถึงโรงแล้วขึ้นนั่งบนแคร่ คนที่นั่งอยู่ข้างล่าง ๓๐ คน ยกมือขึ้นไหว้แล้วประสานมือบนตัก ผู้หญิงที่ตามออกมานั่งอยู่ ข้างแคร่ทั้ง ๗ คน ข้าพเจ้านั่งอยู่กับกะปิตันตรงน่าแคร่ออกมา ประมาณ ๕ ศอก เจ้าเมืองถามภาษาบาหลี กะปิตันแปลภาษาจีน กับข้าพเจ้าว่าเปนลูกค้ามาแต่ไหน ข้าพเจ้าบอกความเหมือนกับข้าพเจ้าบอกแก่เจ้าเมืองคนก่อน แล้วถามว่ามาทางไกลลำบาก นักฤๅ ข้าพเจ้าบอกว่ามาทางไกลข้ามทเลฦกคลื่นใหญ่ลมกล้ามา ๔ เดือนเศษจึงถึง ได้ความลำบากหนักหนา แล้วถามว่าที่ กรุงเทพ ฯ บ้านเมืองโตใหญ่มีผู้คนมากอยู่ฤๅ ข้าพเจ้าบอกว่าที่กรุงเทพ ฯ ไพร่บ้านพลเมืองมีหลายภาษา แต่ไทยภาษาเดียว ก็มากจะประมาณไม่ถูก ยังพวกจีนแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน ไหหลำ เข้ามาพึ่งพระเดชเดชานุภาพตั้งทำมาหากินอยู่ที่กรุงเทพ ฯ แลหัว เมืองขึ้นกับกรุงเทพ ฯ ก็หลายหมื่น ลาว มอญ พม่า ทวาย แขก ฝรั่ง ก็มีอยู่เปนอันมาก สนุกสบายมั่งคั่งบริบูรณ์ มีเรือรบ เรือไล่ปาก ๙ ศอก ๑๐ ศอก ยาว ๑๑ วา ๑๒ วา เปนอันมาก มี กำปั่นรบปากกว้าง ๓ วา ๔ วา ๕ วา ยาว ๑๔ วา ๑๕ วา ๒๐ วา มี ปืนกระสุน ๕ นิ้ว ๖ นิ้ว รายแคมลำหนึ่ง ๑๘ บอก ๒๐ บอกบ้าง ที่ลำใหญ่มีปืนรายแคม ๒ ชั้น ลำละ ๓๐ บอก ๓๔ บอกบ้าง ทั้ง
 
 
๑๔
ใหญ่ทั้งเล็ก ๒๐ ลำ ๓๐ ลำ สำหรับไปลาดตระเวนรักษาเขตรแดนจีนที่มีสติปัญญากว้างขวางก็โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้เปนพระยาเปนพระ เปนหลวง เจ้าภาษีบ้าง เจ้าสัวบ้าง ที่เปนลูกค้ามีเงินทองก็มาก คนหนึ่งมีสำเภาไปค้าเมืองจีนบ้าง เรือตั้วแงไปค้าเมืองแขกข้าง ฝ่ายตวันตกบ้าง คนหนึ่ง ๔ ลำ ๕ ลำทั้งใหญ่ทั้งเล็กสัก ๑๔๐ ลำ ๑๕๐ ลำ ลูกค้าเมืองจีนแต่งสำเภาเข้าไปค้าขายปีหนึ่ง ๑๐๐ ลำ ๑๐๐ ลำเศษบ้าง กำปั่นแขก กำปั่นฝรั่งไปค้าขายปีหนึ่ง ๒๐ ลำ ๓๐ ลำบ้าง เรือลูกค้ามลายูไปค้าขายปีหนึ่ง ๔๐ ลำ ๕๐ ลำบ้าง แล้วถามว่าสำเภาโตฤๅเล็ก ข้าพเจ้าบอกว่าเรือที่ข้าพเจ้าออกมานี้ เปนอย่างกลาง จึงถามว่าเรือปากกว้างยาวเท่าไร ข้าพเจ้าบอกว่าปากกว้าง ๔ วา ยาว ๑๔ วา จึงถามว่าที่กรุงเทพ ฯ มีสินค้าสิ่งไร บ้าง ข้าพเจ้าบอกว่าสินค้าหยาบ ๆ ที่บรรทุกสำเภานั้น ฝาง ไม้ แดง เขา เปลือกโปลง พริกไทย เนื้อปลาต่าง ๆ แต่ของ เลอียดที่มีราคา รังนก กระวาน งาช้าง นอระมาด เร่ว น้ำตาลทราย ปีกนก ดีบุก ไหม ครั่ง เจ้าเมืองกาล่งกงจึงว่าที่เมืองบาหลีนี้ เปนเมืองเกาะหามีสินค้ามากไม่ มีแต่ เข้า ยาสูบ กาแฟ แล้ว เจ้าเมืองกาล่งกงจึงให้คนยกเข้ามา ให้ข้าพเจ้ากับกะปิตันปันตัด รับประทาน กับเข้าเหมือนกับปลัดเมืองทำมาให้ข้าพเจ้ารับประทาน ครั้นข้าพเจ้ารับประทานแล้วก็ลาเจ้าเมืองกาล่งกงจะกลับมาเรือ เจ้าเมืองจึงให้กะปิตันบอกข้าพเจ้าว่า อย่าเพ่อไปก่อนเลยค่ำมืดแล้ว
 
 
๑๕
นอนที่นี่สักคืนหนึ่งเถิด จะมีหนังให้ดู ข้าพเจ้าก็อยู่ ครั้นเพลาค่ำพวกบาหลีจึงเอาจอหนังมาตั้งที่น่าโรง จอหนังทำด้วยผ้าขาว กว้าง ๕ ศอก ๔ เหลี่ยม แล้วจุดตะเกียงแขวนไว้ข้างหลังจอมีกระดานบังลม ตัวหนังสูงคืบ ๑ จมูกผอม แขน เท้า ยาว ผอมกะดิกได้เหมือนหนังแขก มีกลองใบ ๑ ฆ้องโหม่งใบ ๑ ซอ คัน ๑ แล้วตีเกราะด้วย ตัวหนังเอาปักไว้กับหยวกกล้วย ๕ ท่อน ท่อนละ ๑๐ ตัวเปนหนัง ๕๐ ตัว เอาขึ้นเชิดทีละตัว ร้องภาษาบาหลี ตีฆ้องกลองสีซอ สิ้นบทแล้ววางหนังลงเสียเอาตัวอื่นขึ้นเชิดต่อไปกว่าจะสิ้นทั้ง ๕๐ ตัว เจ้าเมืองก็ดูอยู่ด้วยกับข้าพเจ้าเพลาสักยามหนึ่งเจ้าเมืองก็กลับเข้าไปข้างใน แต่คนพวกชาวบาหลีนั้นยังดูอยู่ทั้งหญิงทั้งชายประมาณ ๕๐ คน ๖๐ คน ดึกแล้วข้าพเจ้านอนอยู่ที่โรง หนังนั้นเล่นไปจนรุ่ง ครั้นเพลาเช้าเจ้าเมืองสั่งให้หาเข้ามาเลี้ยงกะปิตันกับข้าพเจ้ากับลูกเรือ เข้าแลกับเข้าเอามาให้กินก็เหมือนกับที่เอามาให้รับประทานครั้งก่อน หาแปลกออกไปไม่ ข้าพเจ้ารับประทานแล้วสักครู่ ๑ เจ้าเมืองออกมา ข้าพเจ้าเห็นเหมือนกับออกมาครั้งก่อน แต่ผ้านุ่งนั้นเปลี่ยนเปนผ้าตาเขียวแดง ข้าพเจ้าบอกให้กะปิตันลาจะกลับไปเรือ เจ้าเมืองจึงให้กะปิตันบอกข้าพเจ้าว่า อย่าเพ่อไปก่อน จะมีลครให้ดูข้าพเจ้าก็อยู่ เจ้าเมืองเรียกลครเล่น ข้าพเจ้าเห็นตัวลครชาย ๕ หญิง ๕ รวม ๑๐ คน ผู้ชายนุ่งผ้าตาโถงโจงกระเบนชาย ๑ เหน็บ
๑๖
ข้างน่าชาย ๑ ผ้าคาดเอวเหน็บกฤช ข้อมือสักผูกผ้าขาวทั้ง ๒ ข้าง ชายผ้าห้อยยาวสักคืบ ๑ ศีศะใส่หมวกใบลานเย็บข้างบนแบนเหมือนซองพลู แล้วเอาดอกไม้สด ดอกลั่นทม ดอกจำปาเหลือง ดอกจำปาขาว ดอกอัญชัน ดอกชบา เหน็บเข้ากับหมวกใส่คน ๑ สี่คนหาได้ใส่หมวกไม่ ผู้หญิงนุ่งผ้าแขก พันแล้วเอาแพรผังสีเชียสา สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีคราม สีขาว เหน็บเอวข้าง ละ ๕ สี ห้อยลงมาทั้ง ๒ ข้าง ยาวข้างละศอกเศษ มีแพรแดงคาดนม เท้าใส่กำไลเงินกลม ข้อมือใส่กำไลแบนเปนน่ากระดานข้างละ ๒ เส้น ถือพัดด้ามจิ้วคลี่ทั้ง ๒ มือ ใส่หมวกใบลานประดับด้วยดอกไม้คน ๑ สี่คนไม่ได้ใส่หมวก ปี่พาทย์มีฆ้องหุ่ยแขวน ๓ ใบ กลองแขกใบ ๑ ขลุ่ยคัน ๑ ฆ้องราวราง ๑ รางทำเหมือนรางระนาด แต่หางอนไม่ ตรง เอาฆ้องผูกบนปากรางเรียงกัน ๔ ใบ ตีด้วยไม้ตีระนาด ๆ นั้นทำด้วยทองเหลือง หลังคลุ่มโต ๙ นิ้ว ยาวคืบ ๑ แล้วเอาไม้ไผ่ลำโตประมาณ ๒ กำ ตัดเปนกระบอกยาวปล้อง ๑ เท่ากัน ๔ กระบอก ตั้งเรียงกันบนกระ ดานมีหลัก ๒ ข้าง แล้วเอาไม้กระหนาบเรียงเข้ากับหลัก แล้วจึงเอาลูกระนาดวางบนปากกระบอก ตีด้วยไม้งอเหมือนไม้ตีระฆัง กลางโรงเอากิ่งไม้มาปักกิ่ง ๑ เก็บดอกไม้สดใส่ตะกร้า ๆ ๑ มาวางไว้ใต้กิ่งไม้ มีคนร้อง ๒ คน ผู้หญิงลุกขึ้นรำก่อน แล้วไปหยิบดอกไม้ในตะกร้ามาทิ้งผู้ชาย ๆ จึงลุกขึ้นรำคนหนึ่ง แล้ว
๑๗
ไปหยิบดอกไม้ในตะกร้าทิ้งผู้หญิงบ้าง แล้วผู้ชายผู้หญิงก็รำไปด้วยกันนาน ๆ จึงไปหยิบดอกไม้มาทิ้งกัน คนร้อง ๒ คน ก็ร้องไป รำล่อกันไป ๆ มา ๆ เหนื่อยแล้วก็นั่งลง คู่อื่นก็ลุกขึ้น รำหยิบดอกไม้ทิ้งกันรำทีละคู่ทั้ง ๕ คู่ เจ้าเมืองถามข้าพเจ้าว่างามฤๅไม่งาม ข้าพเจ้าบอกว่างาม ข้าพเจ้าจึงขอยืมเบี้ยอีแปะกะปิตันห้าพัน มาตกรางวัลให้คนละ ๕๐๐ เจ้าเมืองจึงถามข้าพเจ้าว่าที่กรุงเทพ ฯ มีหนังมีลครอย่างนี้ฤๅไม่ ข้าพเจ้าบอกว่าที่กรุงเทพ ฯ มีโขน หุ่น ละคร มีหนัง มีงิ้ว แล้วถามข้าพเจ้าว่าโขนหุ่นลครนั้น โรง ๑ มีคนสักกี่คน แต่งตัวอย่างไร ข้าพเจ้าบอกว่าโขนโรง ๑ ทั้งชายทั้งหญิง ๑๐๐ บ้าง ๑๐๐ เศษบ้าง แต่งตัวใส่สนับเพลานุ่งยกทองยกไหม โจงกระเบนไว้หางหงษ์ คาดเข็มขัด มีผ้าปักทอง ปักไหมห้อยน่าผืน ๑ ห้อยขาข้างขวาผืน ๑ ห้อยขาข้างซ้ายผืน ๑ ใส่เสื้อลายทองใส่ตาบ ใส่สังวาล ใส่กำไลทองคำที่ข้อมือ ข้างละ ๙ ข้างละ ๑๐ เส้น ทั้ง ๒ ข้าง นิ้วมือใส่แหวนทองคำประดับเพ็ชรพลอยต่าง ๆ นิ้วละวงข้างละ ๔ นิ้ว ทั้ง ๒ มือ ศีศะใส่หน้าโขนหน้าปิดทอง หน้าเขียนบ้างต่าง ๆ กัน มีมงกุฎรัดเกล้าปิดทองประดับเพ็ชรพลอย ปี่พาทย์มีกลองใหญ่กลองกลางกลองเล็ก ฆ้องวง ระนาด ตะโพน เปิงมาง ฉิ่ง ฉาบ โขนโรง ๑ ถ้าจะเล่น
 
 
 
๑๘
มีปี่พาทย์ ๒ สำรับ คนเจรจา ๔ คน ๕ คน หุ่นนั้นเอาไม้มาทำเปนรูปคนชายบ้างหญิงบ้าง รูปยักษ์บ้าง รูปลิงบ้าง รูปสัตว์ต่าง ๆ บ้าง สูงประมาณศอกคืบ มีคนชักสายกระดิกรำได้เหมือนคนโรงหนึ่ง ๔๐ ตัว ๕๐ ตัว คนเล่นประมาณ ๕๐ คน ๖๐ คน เครื่องแต่งตัวหุ่นก็มีเหมือนกับเครื่องแต่งตัวโขน ถ้าจะเล่นก็มีปี่พาทย์ ๒ สำรับ คนสำหรับเจรจา ๔ คน ๕ คน เหมือนกับโขน ลครโรง ๑ ทั้งหญิงทั้งชาย ๓๐ คน ๔๐ คน เครื่องแต่งตัวลครเหมือนกับเครื่องแต่งตัวโขนหุ่นเหมือนกัน เมื่อลครจะรำนั้น คนสำหรับตีกรับโรงละ ๔๐ คน ๕๐ คน มีปี่พาทย์สำรับ ๑ สิ้นบทรำก็หยุดร้องไปตามเรื่องหามีคนเจรจาแทนเหมือนโขนหุ่นไม่ แล้วเจ้าเมืองถามข้าพเจ้าว่าหนังนั้นทำอย่างไร ข้าพเจ้าบอกว่าเอาหนังโคทั้งผืนมาเขียนเปนรูปคนบ้าง รูปยักษ์บ้าง รูปลิงบ้าง รูปคนชายหญิงบ้าง เปนรูปช้าง รูปม้า รูปโค กระบือ รูปเนื้อ รูปเสือบ้าง ตัวโตเท่าคนรุ่น ๆ ทำท่าต่าง ๆ แล้วสลักเจาะเอาพื้นออกเสีย โรง ๑ มีหนัง ๑๐๐ ๑๐๐ เศษ จอทำด้วยผ้าขาวยาว ๖ วา กว้าง ๑๐ ศอกขึงขึ้น แล้วปลูกทำร้านไฟข้างหลังสูง ๓ ศอก กว้าง ๒ ศอก ยาว ๓ ศอก เอาดินรองแล้วกองไฟบนร้านแล้วเอาเสื่อใบวงบังลมข้างหลังจอ ข้างน่าจอเอาหนังเชิด มีกลองใหญ่ กลองกลาง กลองเล็ก ระนาด ฆ้องวง ตะโพน เปิงมาง ฉิ่ง,ฉาบ กรับโกร่ง ถ้าจะเล่นหนังตัว ๑ คนเชิดคน ๑ เชิดครั้ง ๑
๑๙
หนัง ๙ ตัว ๑๐ ตัวบ้าง คนเชิดก็เท่ากับตัวหนัง พวกปี่พาทย์ก็ตีขึ้นพร้อมกัน คนสำหรับเล่นที่อยู่ในจอนั้นตีกรับโกร่งร้องไปตามเพลง สิ้นบทแล้ว คนเชิดหยุดยืนเชิดหนังอยู่น่าจอ คนสำหรับเจรจาก็เจรจาไปตามเรื่อง สิ้นบทแล้ว เอาหนังพวกนั้นกลับเข้าในจอ เอาหนังตัวอื่นมาเชิดต่อไปกว่าจะสิ้นตัวหนัง ๆ เชิดได้ทั้งข้างในจอข้างน่าจอ คนดูเห็น ๆ เหมือนกัน โรง ๑ มีคนเชิด ๓๐ คน ๔๐ คนบ้าง คนร้องคนเจรจา ๓ คนบ้าง ๔ คนบ้าง เจ้าเมืองกาล่งจงจึงว่าสร้างโขนหุ่นลครหนังโรง ๑ จะมิเปนเงินมากหนักหนาฤๅ ข้าพเจ้าบอกว่าสร้างโขนโรง ๑ เปนเงิน ๑๐๐ ชั่ง ๒๐๐ ชั่งบ้าง สร้างหุ่นโรงหนึ่งเปนเงิน ๖๐ ชั่งบ้าง ๗๐ ชั่งบ้าง สร้างลครโรง ๑ ๔๐ ชั่งบ้าง ๕๐ ชั่งบ้าง สร้างหนังโรง ๑ เปนเงิน ๒๐ ชั่งบ้าง ๓๐ ชั่งบ้าง เจ้าเมืองจึงถามว่าอย่างไรเรียกว่าชั่ง ๑ ข้าพเจ้าบอกว่าไทยชั่ง ๑ คิดข้างจีนเปน ๒ ชั่ง ถ้าจะคิดเปนเหรียญชั่งไทย ๑ เปนเงิน ๔๐ เหรียญ เจ้าเมืองจึงว่าที่กรุงเทพพระมหานครมั่งมีเงินมากจึงทำได้ แล้วข้าพเจ้าก็ลาจะมาเรือเจ้าเมืองจึงพาข้าพเจ้าไปดูเสือ ว่าเสือที่เมืองบาหลีนี้จะเหมือนเสือที่กรุงเทพพระมหานครฤๅไม่ แล้วเจ้าเมืองพาข้าพเจ้าออกมานอกกำแพงชั้นกลางมีโรงอยู่โรง ๑ กรงขังเสืออยู่ในโรง เสือตัวยาว ๓ ศอกคืบ สูง ๒ ศอก รูปร่างเหมือนเสือที่กรุงเทพ ฯ
 
 
 
๒๐
แล้วจึงพาข้าพเจ้าไปดูโรงตีเหล็ก ข้าพเจ้าเห็นมีคนตีเหล็กชาติมุกิดบ้าง บาหลีบ้าง สัก ๙ คน ๑๐ คน เห็นขันปืนอยู่บอก ๑ ตะไบแต่งตัวอยู่ ๒ บอก มีเตาตีเหล็ก ๒ เตา ใช้สูบยืนเหมือนสูบลาว ข้าพเจ้าเห็นมีคนอยู่ในกำแพงเมืองประมาณ ๓๐ คน ๔๐ คน แล้วเจ้าเมืองถามข้าพเจ้าว่าที่กรุงเทพ ฯ มีสัตว์สิ่งใดบ้าง ข้าพเจ้าบอกว่ามีสัตว์เปนอันมาก แต่ข้าพเจ้ารู้จักช้าง ม้า โค กระบือ แรด เสือ เนื้อ หมี กวาง ทราย เจ้าเมืองกาล่งกงจึงว่าบ้านเมืองโตใหญ่ ไพร่บ้านพลเมืองลูกค้าวานิชสัตวต่าง ๆ ก็มีมาก ที่เมืองบาหลีนี้เปนเมืองเกาะ มีแต่วัว ควาย ม้า เนื้อ หามีช้างไม่ รูปร่างอย่างไรไม่รู้จัก ได้เห็นแต่เขี้ยวช้างเล็ก ๆ ลูกค้าเมืองใหม่เอามาขายซื้อไว้ทำด้ามกฤชบ้าง ฝักกฤชบ้าง ถ้าแลจะได้มาค้าขายข้างน่าช่วยซื้อเขี้ยวช้างที่โต ๆ มาฝากสักอัน ๑ ฤๅ ๒ อัน ข้าพเจ้าว่าราคาซื้อขายกันที่เมืองใหม่หนักหาบหนึ่ง ๒๐๐ เหรียญ ๒๕๐ เหรียญก็มี ตามใหญ่ตามเล็ก เจ้าเมืองกาล่งกงจึงว่าจะเปนราคามากน้อยเท่าใด ก็ช่วยซื้อมาฝากให้ได้ ข้าพเจ้ารับคำแล้วก็ลาจะมาเรือ เจ้าเมืองกาล่งกงสั่งข้าพเจ้าว่าสินค้ามีมาในเรือนั้นชาวบาหลีจะมาซื้อก็ให้ขายเถิด ให้เขียนบาญชีชื่อไว้ เรือจะกลับไปทวงเงินไม่ได้เราจะช่วยชำระให้
ข้าพเจ้าก็มาเรือ เดินมาแต่บ้านเจ้าเมือง
 
 
 
๒๑
* วัน ๔ ค่ำ ปีมเสงสัปตศกเพลาเที่ยง กะปิตันก็พาข้าพเจ้าออกมาถึงประตูชั้นนอกมีตลาดผู้ชายขายของอยู่ที่น่าบ้านเมือง ทั้งคนซื้อคนขายประมาณ ๒๐๐ คน ๓๐๐ คนเศษ มีผ้าแพร ร่ม ถ้วย ชาม ของกินบ้าง ตลาดผู้หญิงขายของตลาด ๑ ข้างกำแพงเมือง ไม่ให้ผู้ขายซื้อขาย ๆ กันแต่พวกผู้หญิง จะมีคนมากน้อยเท่าใดหาได้ไปดูไม่ ข้าพเจ้าเห็นหญิงเดินไปมา ตามทาง ศีศะทูนของเหมือนทวายเหมือนแขก ข้าพเจ้าถามกะปิตันว่าผู้ชายผู้หญิงจะซื้อจะขายด้วยกันไม่ได้ฤๅ กะปิตันบอกข้าพเจ้าว่าอย่างธรรมเนียมเมืองบาหลีนี้ ถ้าผู้หญิงจะออกเดินนอกบ้านไปซื้อขายก็ดี มิใช่บิดามารดาญาติพี่น้องผัวเมียกันจะไปถูกต้องตัวผู้หญิงไม่ได้ ถ้าผู้ชายมิใช่ญาติพี่น้องไปถูกต้องตัวผู้หญิงเข้า ผู้หญิงร้องขึ้นแล้วไปตีเกราะ พวกชายญาติพี่น้องข้างหญิงรู้ ชวนกันถือกฤชวิ่งออกมาจากบ้านหลายคน เอากฤชแทงชายที่ถูกตัวหญิงนั้นตายก็หามีโทษไม่ ข้าพเจ้าเห็นเกราะทำไว้ด้วยไม้แก่นโต ๓ กำ ๔ กำ ยาว ๓ ศอก ๔ ศอก แขวนไว้ที่ต้นมะม่วง ต้นมะขาม ต้นจำปา ต้นไทร ต้นกระดังงา ต้นขนุนบ้าง ตามถนนห่างกัน เส้น ๑ บ้าง ๓๐ วาบ้าง แต่บ้านเจ้าเมืองตลอดไปถึงท่าเรือจอด ข้าพเจ้าเดินมาถึงเรือเพลาบ่าย ๕ โมงเศษ ข้าพเจ้าจึงบอกกะปิตันว่า เพลาพรุ่งนี้ข้าพเจ้าจะเอาของขึ้นขาย
 
 
 
๒๒
? รุ่งขึ้นวัน ๔ ค่ำ เพลาเช้า กะปิตันให้บุตรไปบอกกับปลัดเมืองว่า จีนกั๊กนายเรือจะเอาสินค้าขึ้นขาย ปลัดเมืองกับเจ้าเมืองรอง คนประมาณ ๓๐ เศษ พากันมาที่บ้านกะปิตัน ข้าพเจ้าจึงเอาตัวอย่างของขึ้นไปให้ดู แพรจีนเจาสีต่างกัน ๕ ม้วน แพรผังสี ๕ สี ๕ พับ ไหมทองหีบ ๑ จานพลชามพลสิ่งละซอง สีเสียดกระสอบ ๑ กะทะเล็กปากกว้างศอกเถา ๑ เจ้าเมืองซื้อแพรจีนเจา ๑๐ ม้วน ๆ ละ ๑๘๐๐๐ อีแปะ เงิน ๑๑ ตำลึง ๑ บาท แพรผังสี ๒๐ พับ ๆ ละ ๑๘๐๐ อีแปะ เงิน ๑ ตำลึง ๒ สลึง ไหมทอง ๒๐ หีบ ๆ ละ ๕๐๐๐ อีแปะ เงิน ๓ ตำลึง ๒ สลึง ปลัดเมืองซื้อ แพรจีนเจาขาว ๓ ม้วน ๆ ละ ๑๕๐๐๐ อีแปะ เงิน ๙ ตำลึง ๑ บาท ๒ สลึง ไหมทอง ๑๐ หีบ ๆ ละ ๕๐๐๐ อีแปะ เงิน ๓ ตำลึง ๒ สลึง แล้วเจ้าเมืองรอง ปลัดเมืองจึงว่ากับข้าพเจ้าว่าสินค้านอกนั้นผู้ใดจะซื้อก็ให้ขายเถิด ข้าพเจ้าก็ขายเหล็กฟากหาบละ ๕๐๐๐ เงิน ๓ ตำลึง ๒ สลึง กะทะเถาละ ๑๐๐๐ เงิน ๒ บาท ๒ สลึง สีเสียดหาบละ ๓๐๐๐ เงิน ๑ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง จานใหญ่ ๑๐๐๐ ละ ๓๕๐๐๐ เงิน ๑ ชั่ง ๑ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ชามพล ๑๐๐๐ ละ ๖๐๐๐ เงิน ๓ ตำลึง ๓ บาท ไหมตะเภาหาบละ ๓ แสน เงิน ๙ ชั่ง ๗ ตำลึง ๒ บาท ข้าพเจ้าขายได้เงินเหรียญเงินอีแปะบ้าง ขายเชื่อบ้าง จนสินค้าในเรือ ที่ซื้อเชื่อยังไม่ให้เงินนั้น ข้าพเจ้าจด
๒๓
บาญชีผู้ซื้อของไว้ ข้าพเจ้าไปทวงเงินได้บ้างยังไม่ได้บ้าง แล้วข้าพเจ้าถามกะปิตันปันตัดว่าสินค้าที่เมืองบาหลีนี้มีฝาง มีกาแฟ มีเข้าสารอยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าจะขอไปเที่ยวซื้อ กะปิตันบอกข้าพเจ้าว่า ฝางมีอยู่ป่า ชื่อหวนตุหลัน ผลกาแฟมีอยู่เมืองตัวปันหลัน เมืองมองงุย เข้าสารกับยาสูบมีอยู่ที่เมืองบาหลีนี้กะปิตันจึงว่ากับข้าพเจ้าว่าถ้าจะไปซื้อ ก็ให้ไปหาเจ้าเมืองรอง ขอหนังสือไปถึงเจ้าเมืองตัวปันหลัน เจ้าเมืองมองงุย จึงจะไปซื้อได้
* ครั้นณวัน ฯ ๕ ค่ำ ปีมเมียอัฐศก ข้าพเจ้ากับจีนอู่ลูกเรือคน ๑ ไปหาเจ้าเมืองรอง บอกว่าข้าพเจ้าจะขอไปเที่ยวซื้อผลกาแฟที่เมืองปันหลัน เมืองมองงุย เจ้าเมืองจึงให้คนไปเอาใบลานทั้งก้านมาใบ ๑ แล้วเอาเหล็กแบน ๆ ยาวสักคืบ ๑ ลับให้แหลมเขียนลงกับใบลานเหมือนจานหนังสือ ตัวหนังสือคล้ายกับหนังสือขอม เขียนหนังสือแล้วจึงเอาตราเหล็กเปนรูปดอกไม้มาตีลงที่ใบลานส่งให้ข้าพเจ้า แล้วให้ล่ามบอกกับข้าพเจ้าว่าจะให้หญิงชาวบาหลีที่รู้จักภาษาแขกคน ๑ กับชาย ๔ คนไปด้วย กับม้า ๓ ม้า ทวน ๒ เล่ม พรุ่งนี้จะให้ไปรับที่ท่าเรือ ข้าพเจ้าจึงว่าจะขอเช่าม้าสัก ๒๐ ม้า บรรทุกอีแปะไปซื้อของ เจ้าเมืองก็รับว่าจะเช่าให้ ม้า ๑ ไปถึงเมืองมองงุยเปนราคาพันอีแปะคิดเปน
 
 
 
๒๔
เงิน ๒ บาท ๒ สลึง บรรทุกของกลับมาส่งถึงท่าเรือ คิดค่าเช่าอิกตัวละพันอีแปะ เพลารุ่งเช้าจึงจะให้ไปรับที่ท่าเรือ ข้าพเจ้าก็ลากลับมา ครั้นรุ่งเช้าหญิงคน ๑ ขี่ม้า ๆ หนึ่ง ชาย ๔ คนจูงม้ามา ๒ ม้า ๒ คน ถือทวนคนละเล่มกับม้า ๒๐ ม้า บรรทุกต่างหลังละ ๔ ต่าง คนสำหรับม้า ๆ ละคน เปนคน ๒๐ คน ลงมาที่ท่าเรือ ข้าพเจ้าเห็นต่างที่ใส่หลังม้าสานด้วยไม้ไผ่สูงศอกคืบปากกลมกว้างสัก ๑๗ นิ้ว ต่าง ๑ ใส่ได้เปนน้ำหนัก ๓๗ ชั่งเศษ ม้าหนึ่ง ๔ ต่าง เปนน้ำหนัก ๑๕๐ ชั่งจีน ข้าพเจ้าเอาอีแปะลงบรรทุกต่าง ๑๘ ม้า บรรทุกผ้าม้า ๑ เปนผ้าขาว ๒๐ พับ กับของกินเล็กน้อย บรรทุกกะทะม้า ๑ เปนกะทะ ๖ เถา ใหญ่เล็ก ๓๐ ใบ ล่ามหญิงจึงเอาม้าให้ข้าพเจ้าม้า ๑ จีนอู่ลูกเรือม้า ๑ หญิงล่ามขี่ม้า ๑ ม้าที่ขี่มีจั๋งถักเหมือนเบาะรองหลังม้าชั้น ๑ แล้วเอาเบาะผ้าปูทับจั๋งอิกชั้น ๑ มีรัดอกซองหาง รัดอกพานน่าผูกกับเบาะ บัง เหียนทำด้วยเหล็กเหมือนบังเหียนไทยหามีโกลนไม่ ผู้หญิงขี่ไม่คร่อมหลังม้าเหมือนผู้ชาย เอาเท้าห้อยข้างม้าข้างเดียวทั้ง ๒ เท้าขี่ควบก็ไม่ตก ม้าที่หญิงล่ามขี่นำทางไปน่าพาข้าพเจ้าเดินตามหาดทรายชายทเล ตั้งหน้าม้าไปทิศเหนือทางประมาณครึ่งวันสิ้นหาดทรายชายทเล ถึงทางกว้างประมาณ ๔ วา ๒ ข้างทางเปนสวนบ้างนาบ้าง ที่เปนสวนมีต้นทุเรียนต้นมังคุดต้นลางสาดต้นเงาะบ้าง น้อยหน่า ส้มโอ ส้มเกลี้ยง ส้มเปลือกบาง หมาก มะพร้าว
๒๕
สับปะรด แตงอุลิตไทย แตงกวาไทย ฟักทอง ฟักเขียว พริกเทศ มะเขือ ถั่วงา เข้าโพด หอม กะเทียม เผือก มัน แต่ที่นาทำที่ให้เสมอ แล้วทำคันกั้นน้ำกว้างประมาณเส้นบ้าง ๓๐ วาบ้าง ๒ เส้นบ้าง เปนชั้นๆ กันขึ้นไป มีทางน้ำไหลมาแต่บนเขาทำๆ นบด้วยศิลา กั้นไว้ให้น้ำไหลเข้านาต่อ ๆ กันไปได้ทั่วกัน นาทำได้ทั้งน่าแล้งน่าฝนไม่เปนฤดู เกี่ยวเข้าแล้วก็ดำต่อไปอิก พ้นจากที่นาที่สวนขึ้นไปเปนป่าไม้ใหญ่ ๆ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก ต้นตาล ต้นจั๋ง ต้นมะขามป้อม ต้นสัก ต้นมะขาม กะดานบ้าง ต้นตะขบ หวายโป่ง หวายหินบ้าง ที่ข้าพเจ้าไม่รู้จักเปนอันมาก ข้าพเจ้าเดินไปแต่เชิงเขาวัน ๑ ถึงบ้านเหลื่อยหล้นพวกล่ามให้ข้าพเจ้าพักอยู่นั่น เอาหนังสือให้นายบ้านดู นายบ้านก็หาเข้ามาให้ข้าพเจ้ารับประทาน เอาโต๊ะไม้ใส่เข้ากองกลางโต๊ะ กับเข้ามีสุกรทอดน้ำมันถั่วน้ำมันเกลือ กองราย ๆ อยู่ในโต๊ะกับเข้าสุกด้วยกันมาให้รับประทาน พวกข้าพเจ้า ๒ คน หญิงล่ามคน ๑ เข้ากัน ๓ คนกินรวมกัน แต่ชาย ๔ คนนั้น ข้าพเจ้าให้เบี้ยคนละ ๒๐ อีแปะ ไปซื้อเข้าชาวบ้านรับประทาน รุ่งขึ้นเช้าข้าพเจ้าเห็นบ้านมีโรงอยู่ประมาณ ๑๐๐๐ หลังโรงเศษ พื้นฝาดินหลังคามุงแฝกเปนกระโจมเหมือนกันทั้งสิ้น คนชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๔๐๐๐ เศษ ไปจากบ้านเหลื่อยหล้นเพลาเช้าประ
๒๖
มาณ ๓ โมงเศษ ไปตามเนินเขาทางลาดเสมอขึ้นไป เพลาเช้ากลางวันถึงบ้านอิกแห่ง ๑ มีโรงเรือนประมาณ ๑๐๐ หลังโรง คนชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๔๐๐ คน ตามข้างทางมีสวนบ้างนาบ้าง ข้าพเจ้าซื้อเข้ารับประทานแล้วเดินไปอิก จนเพลาเย็นถึงบ้านอำหมัด ๆ มีเจ้าเมืองปลัดเมือง ข้าพเจ้าพักนอนอยู่ที่บ้านอำหมัดคืน ๑ หาได้ไปหาเจ้าเมืองไม่ กำนันบ้านดูหนังสือแล้ว หาเข้ามาให้รับประทาน รุ่งขึ้นเพลาเช้าหาเข้ารับประทานแล้วหญิงล่ามก็พาข้าพเจ้าไปจากบ้านอำหมัด เดินไปตามทางมีสวนมีนาเปนป่าเปนบ้านบ้างเรี่ยรายกันไปแห่งละ ๕ โรงบ้าง ๖ โรงบ้าง ๙ โรงบ้าง ๑๐ โรงบ้าง ๒๐ โรงบ้าง ถึงเพลารับประทานแวะเข้าบ้านไหนเอาเบี้ยอีแปะซื้อเข้ารับประทานได้ทุกบ้าน ไปจนเพลาเย็นถึงบ้านกะนาซมเปนบ้านใหญ่ มีเจ้าเมืองปลัดเมืองผู้คนมาก ข้าพเจ้าหาได้ไปหาเจ้าเมืองไม่ เอาหนังสือเดินทางให้ดู กำนันก็หาเข้ามาให้รับประทานพักนอนอยู่คืน ๑ รุ่งขึ้นเช้าออกจากบ้านกะนาซมเดินไปตามทางบ้านราย ๆ กันแห่งละ ๗ โรงบ้าง ๘ โรงบ้าง ๙ โรงบ้าง ๑๐ โรงบ้าง จนเพลากลางวันซื้อเข้ารับประทานแล้วออกเดินหามีบ้านไม่ เปนป่าไม้ต่าง ๆ ตามทางเดินเปนศิลามากกว่าดินเพลาค่ำหยุดนอนอยู่ในป่าหามีบ้านผู้คนไม่ อดเข้าคืน ๑ ได้รับประทานแต่ของกินที่เอาบรรทุกหลังม้าไปบ้างเล็กน้อย รุ่งเช้าเดินไปอิกจนเพลาเที่ยงถึงสระใหญ่บนยอดเขา ข้าพเจ้าก็บอกกับ
 
 
๒๗
ล่ามให้หยุดพักอาบน้ำเสียก่อน แล้วปลงต่างปล่อยม้าให้กินหญ้า ข้าพเจ้าก็ลงอาบน้ำในลำธาร ทางน้ำไหลออกมาจากสระใหญ่ ๆ แห่ง ๆ หนึ่ง ปากช่องกว้างประมาณ ๓ วา กลางร่องฦก ๒ ศอก น้ำไหลเชี่ยว ยาวประมาณ ๔ วา ๕ วา แล้วกว้างออกไปประ มาณ ๑๐ วา ฦกคืบเศษ น้ำไหลหาเชี่ยวไม่ ไหลลงไปเชิงเขา น้ำจะไหลไปข้างไหนต่อไปอิกข้าพเจ้าหาทราบไม่ แล้วข้าพเจ้าเดินเลียบธารน้ำไปดูที่สระ สระกว้างใหญ่น้ำใสเย็น แลไปสุดสายตาหาเห็นขอบสระข้างโน้นไม่ ต้นไม้ในบริเวณสระก็หามีไม่ ไกลออกมาสัก ๙ เส้น ๑๐ เส้น จึงมีต้นไม้มีเขาติดอยู่กับขอบสระข้างตวันตกยอดหนึ่ง สูงแต่ขอบสระขึ้นไปประมาณเส้นเศษ ข้าพเจ้าได้ยินเสียงตึง แล้วเปนควันพลุ่งขึ้นที่ยอดเขา ข้าพเจ้าตกใจข้าพเจ้าถามหญิงล่าม ๆ จึงบอกว่าเขานี้ดังเองนาน ๆ สักหม้อเข้าสุก ๑ ดังที ๑ เสมออยู่ทั้งตาปี ขอบสระข้างตวันออกก็มีเขา ๆ ๑ สูงเท่ากัน เพลากลางคืนแลเห็นเปนไฟติดอยู่บนยอดเขา เหมือนไฟเผาหญ้าที่กลางทุ่ง เปลวสูงประมาณ ๔ วา ๕ วา เทือกไฟโตประมาณ ๒๔ วา ๒๕ วา เพลากลางวันหาเห็นเปลวไฟไม่หญิงล่ามจึงบอกว่าผู้เถ้าผู้แก่แต่ก่อน เล่าให้ฟังว่าสระเปนกะทะจงโพ่หุงเข้า เขาที่ดังว่าน้ำเดือด เขาที่เปนไฟว่าเตาไฟ พวกข้าพเจ้าอาบน้ำแล้วไปอิกจนเพลาบ่าย ๔ โมงเศษถึงบ้านงัวตุดแวะเข้าเอาหนังสือให้นายบ้านดู นายบ้านหาเข้ามาให้ข้าพเจ้ารับ
๒๘
ประทาน ข้าพเจ้าพักนอนอยู่ที่บ้านงัวตุดคืน ๑ หนาวนักใส่เสื้อ ๓ ชั้นกับผ้าห่มผืน ๑ ก็ไม่อุ่น ชาวบ้านนอนบนร้านเอาไฟใส่ข้างล่าง เพลากลางคืนแสงไฟที่ยอดเขาสว่างมาถึงในบ้านจริงเหมือนหญิงล่ามบอก ครั้นเพลาเช้าข้าพเจ้าแลไปดูเห็นเปนแต่ต้นหญ้าแดง จึงถามหญิงล่ามว่าทำไมจึงไม่เห็นแสงไฟ หญิงล่ามบอกว่า กลางวันแลไม่เห็นแสงไฟ แลเห็นแต่กลางคืน ว่าเขาที่ดังตึงนั้นเพลาเช้าเย็นกลางคืนจึงดังแรง เพลากลางวันเสียงหาสู้ดังแรงไม่ ข้าพเจ้าเห็นบ้านมีโรงประมาณ ๖๐๐ หลัง โรงทำเหมือนกัน มีคนชายหญิงใหญ่น้อย ๓๐๐๐ นายบ้านหาเข้ามาให้ข้าพเจ้ารับประทาน ข้าพเจ้ารับประทานแล้วหญิงล่ามกับกำนันบอกว่ามีศาลเจ้าจงโพ่อยู่ที่เนินเขาไฟศาลหนึ่ง ว่าเดิมจีนมาแต่เมืองไอ้มุ่ยแซ่ตั๋นเปนจงโพ่มากับสำโปก๋ง ๆ ไปขึ้นอยู่เมืองสำปาหลัง จงโพ่ลาว่าจะกลับไปเมืองไอ้มุ่ย มาถึงเกาะบาหลีเรือเสียคนตายสิ้น เหลือแต่จงโพ่ขึ้นมาอยู่บนเขานี้ ได้คนป่าเปนภรรยามีลูกหลานสืบต่อ ๆ กันมาหาเปนจีนไม่ กลายเปนชาวบาหลีจนทุกวันนี้ มีเสื้อถักด้วยรกจั๋งตัว ๑ กับหมวกทำด้วยไม้ไผ่เปนซี่ ๆ เหมือนหมวกไหหลำวางอยู่บนเตียงศิลาด้วยกัน
หญิงล่ามกับกำนันพาข้าพเจ้าไปดู เดินไปแต่บ้านกำนันทางประ มาณ ๒ เส้นถึงศาลเจ้า ๆ ก่ออิฐสุกถือปูนกว้างประมาณ ๓ วา ๔ เหลี่ยม หลังคาแหลมเหมือนกระโจมถือปูน ข้าพเจ้าไปดู
๒๙
เห็นมีแท่นศิลาสูง ๒ ศอกกว้าง ๒ ศอก ยาว ๓ ศอก เห็นมีเสื้อตัวหนึ่งถักด้วยรกจั๋ง หมวกใบ ๑ โตประมาณ ๒ ศอกวางไว้บนแท่นจริง ข้าพเจ้าเอากระดาษทองกระดาษเงินจุดไฟไหว้เจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจึงถามว่าเสื้อหมวกอยู่สักกี่ปีมาแล้ว หญิงล่ามกับกำนันบอกว่าแต่จงโพ่ตายถึงทุกวันนี้สักกี่ร้อยกี่ปีก็ไม่รู้ ที่เมืองบาหลีนี้ตั้งบ้านเมืองหารู้จักปีเดือนวันคืนไม่ เกิดมาปีใดเดือนใดอายุเท่าใดก็ไม่รู้ด้วยกันทุกคน แล้วกำนันว่าบรรดาคนบ้านงัวตุดนี้เปนลูกหลานจงโพ่ทั้งสิ้น ผู้ใดจะรับคนชายหญิงบ้านงัวตุดขายให้จีนแขกต่างเมืองไปก็ไม่ได้ ถ้าผู้ใดไม่ฟังซื้อเอาไปก็คงเปนอันตรายในกลางทเล พูดกันอยู่จนเพลากลางวันก็พากันกลับมาบ้านกำนัน แล้วหญิงล่ามพาข้าพเจ้าออกจากบ้านกำนันเพลาเที่ยงเดินมาประมาณสัก ๒๐ เส้นเศษเปนป่าไม้ต่าง ๆ บ้าง ต้นกาแฟโตกำ ๑ สองกำสูง ๕ ศอก ๖ ศอกบ้างรายกันไป แล้วมืดเปนน้ำค้างตกเหมือนฤดูเดือน ๑ เดือน ๒ ข้าพเจ้าถามหญิงล่าม ๆ ว่าเพลาเที่ยงแล้วเปนน้ำค้างลงอย่างนี้ทุกวัน เดินต่ำลงไปจนเพลาเย็นถึงเมืองมองงุยอาไศรยนอนอยู่บ้านกำนันคืน ๑ เพลาเช้าข้าพเจ้าให้กำนันพาไปหาเจ้าเมือง ข้าพเจ้าจัดได้สุรา ๒ ขวด ผ้าขาวพับ ๑ กะทะเถาหนึ่ง ๕ ใบไปให้เจ้าเมือง ๆ แต่งตัวนุ่งห่มมีผู้คนชายหญิงตามออกมาเหมือนกับเจ้าเมือง ๆ บาหลี ถามข้า พเจ้า ๆ บอกเหมือนกับบอกเจ้าเมืองบาหลี แล้วข้าพเจ้าว่าจะ
๓๐
มาขอซื้อผลกาแฟหาบ ๑ เปนราคาเท่าไร เจ้าเมืองบอกว่าหาบ ๑ จะเอาราคา ๓๒๐๐ อีแปะเปนเงิน ๒ ตำลึง ๒ บาท เฟื้อง ๑ ข้าพเจ้าว่าจะซื้อ ๔๐๐ หาบ เจ้าเมืองว่าเดือน ๑ จึงจะได้กาแฟหนัก ๔๐๐ หาบ ข้าพเจ้าสัญญาว่าให้ไปส่งถึงท่าเรือหาบ ๑ จะเอาค่าจ้างเท่าไร เจ้าเมืองว่าหาบ ๑ จะเอาราคา ๖๕๐ อีแปะ ข้าพเจ้าค้างอยู่ที่เมืองมองงุย ๕ วัน ได้กาแฟหนัก ๑๐๐ หาบ ข้าพเจ้าเช่าม้าที่เมืองมองงุยอิก ๓๐ ม้า ราคาตัวละ ๑๐๐๐ อีแปะเหมือนกับที่เมืองบาหลีเหลง คนสำหรับม้า ๓๐ คน เข้ากันเปนม้าบรรทุกกาแฟ ๕๐ ม้า คน ๕๐ คน บรรทุกกาแฟแล้ว ข้าพเจ้าก็ลา กลับมา ล่ามพาข้าพเจ้าเดินมาหากลับมาทางเดิมไม่ มาทางใหม่ผินหน้าม้ามาทางตวันตก เดินมาอิกวัน ๑ ถึงเมืองกีอ้นเจียกหาได้แวะเข้าในเมืองไม่ ล่ามบอกว่าเมืองนี้เปนเมืองใหญ่ ผู้คนมากขึ้นกับเมืองบาหลี ข้าพเจ้าพักนอนอยู่กลางทุ่งคืน ๑ รุ่งขึ้น เพลาเช้าชาวบ้านเอาเข้าสุกกับเนื้อสุกรย่างจิ้มเกลือมาขาย ข้าพเจ้าซื้อเข้ารับประทานแล้ว ออกเดินมาแต่เพลาเช้า มีแต่พงแขม ไม่มีต้นไม้ใหญ่ ที่ไร่ที่นาก็ไม่มี มาจนเพลาเย็นถึงบ้านอาพอนหาได้เข้าในบ้านไม่ พักนอนอยู่กลางทุ่งคืน ๑ รุ่งขึ้นเพลาเช้าเดินมาจนเพลาเที่ยงถึงเมืองมองหลี เปนเมืองใหญ่ผู้คนมีมาก เมืองมองหลีนี้ผู้คนวิวาทกันหาได้ขึ้นกับเมืองบาหลีไม่ ถ้าแลคนข้างเมืองบาหลีมาข้างแดนเมืองมองหลี ชาวเมืองมองหลีจับริบเอา
๓๑
สิ่งของ ตัวคนก็เอาไปขายเสีย ถ้าชาวเมืองมองหลีไปข้างแดนเมืองบาหลี ชาวบาหลีมากกว่าก็จับริบเอาสิ่งของตัวคนไปขายเสียเหมือนกัน เมืองมองหลีมีเจ้าเมืองผู้คนมาก จะมีท่าเรือลูกค้าไปมาค้าขายถึงฤๅไม่มีประการใด ข้าพเจ้าหาได้ถามไม่ พวกข้าพเจ้าเดินมาถึงแขวงเมืองมองหลี ชาวเมืองมองหลีถือปืนบ้างหอกบ้าง ประมาณสัก ๑๐๐ คนเศษออกตีชิงแทงถูกชาวเมืองบาหลี ๓ คน ชิงเอาม้าบรรทุกกาแฟไปได้ ๕ ม้า พวกข้าพเจ้าหามีปืนหอกไม่ มีแต่กฤชสู้ไม่ได้ ก็ถอยมาบ้านอาพอน หญิงล่ามจึงให้คนบาหลีไปตีเกราะที่บ้านอาพอน ชาวบ้านอาพอนถือปืนถือหอกถือหลาวบ้างประมาณสัก ๒๐๐ คน วิ่งออกมาเห็นพวกข้าพเจ้าจึงถามว่าทำไมทะเลาะวิวาทกันอย่างไร หญิงล่ามบอกว่าจีนลูกค้าชาวกรุงเทพ ฯ ออกมาค้าขายที่เมืองบาหลี เจ้าเมืองบาหลีให้เราพาเที่ยวซื้อกาแฟที่เมืองมองงุยได้แล้ว จะกลับไปเมือง บาหลี มาถึงเมืองมองหลีชาวเมืองมองหลีออกตีชิงแทงถูกคนชาวเมืองบาหลีป่วย ๓ คน ชิงเอาม้าบรรทุกกาแฟไปได้ ๕ ม้า ให้เจ้าเมืองอาพอนไปส่งให้ถึงแขวงเมืองบาหลีด้วย นายบ้านจึงให้คนที่ถือปืนถือหอกถือหลาวออกมา ๒๐๐ คนนั้นป้องกันมาส่งพ้นแขวงเมืองมองหลีแล้วก็พากันกลับไป ข้าพเจ้าเดินมาจนเพลายามเศษถึงบ้านกะปิตัน ปลงของลงจากม้าแล้วเอาไว้ที่บ้านกะปิตัน ข้าพเจ้านอนอยู่ที่บ้านกะปิตันคืน ๑ รุ่งเช้าข้าพเจ้าให้
๓๒
เบี้ยอีแปะหญิงล่าม ๒๐๐๐ ชายคนละ ๑๐๐๐ เข้ากัน ๖๐๐๐ อีแปะกับค่าเช่าม้าให้เสร็จแล้ว หญิงล่ามแลชาย ๔ คนกับเจ้าของม้าก็พากันกลับไป ข้าพเจ้าก็ขนกาแฟลงบรรทุกเรือ อยู่ ๙ วัน ๑๐ วัน เจ้าเมืองมองงุยจึงเอาม้าต่างบรรทุกกาแฟมาส่งอิก ๓๐๐ หาบ ข้าพเจ้าคิดอีแปะให้แล้วชาวเมืองมองงุยก็กลับไป กะปิตันจึงเรียกเอาภาษีกาแฟกับข้าพเจ้าหาบหนึ่ง ๒๐๐ อีแปะ กาแฟหนัก ๔๐๐ หาบเปนอีแปะแปดหมื่น เปนเงิน ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ข้าพเจ้าถามกะปิตันว่าภาษีนี้ได้กับเจ้าเมืองฤๅ ๆ ได้กับผู้ใด กะปิตันบอกข้าพเจ้าว่าภาษีนี้ เจ้าเมืองยกให้สำหรับเลี้ยงพวกจีนมาอยู่ในเมืองบาหลี ข้าพเจ้าถามว่าจีนมาอยู่ในเมืองบาหลีสักเท่าไร กะ ปิตันบอกว่ามีจีนอยู่ประมาณ ๘๐ คน ๙๐ คนเศษ ข้าพเจ้าซื้อสินค้าอยู่สักเดือนครึ่ง ชาวเมืองบาหลีบรรทุกเข้ามาขายวันละ ๒ เกวียน ๓ เกวียนบ้าง ราคาทั้งภาษีหาบละ ๑๐๐๐ อีแปะ ถังละ ๒ สลึง เกวียนละ ๑๒ ตำลึง ๒ บาท ยาสูบหาบละ ๔๐๐๐ อีแปะ เงิน ๒ ตำลึง ๒ บาท เนื้อกระบือหาบละ ๒๐๐๐ อีแปะ เงิน ๑ ตำลึง ๑ บาท หนังกระบือหาบละ ๑๕๐๐ อีแปะ เงิน ๓ บาท ๓ สลึง น้ำมันมะพร้าวหาบละ ๓๐๐๐ อีแปะ เงิน ๑ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ข้าพเจ้าซื้อได้เข้าสารหนัก ๓๐๐๐ บาท เปนเข้า
ยาสูบหนัก ๑๐๐ บาท เนื้อกระบือหนัก ๒๐๐ บาท หนังกระบือ
 
 
๓๓
หนัก ๕๐ บาท น้ำมันมะพร้าวหนัก ๕๐ บาท ฝางข้าพเจ้าซื้อกับจีน ๆ จะเอาราคาหาบละ ๑๕๐ อีแปะ เงิน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ยังหาได้เอาฝางมาส่งไม่ อยู่ประมาณ ๙ วัน ๑๐ วัน
* ณวัน ๖ ค่ำ ปีมเมียอัฐศก ข้าพเจ้าเห็นกะปิตันปันตัดแต่งงานบ่าวสาวบุตรชายขอหญิงสาวชาวเมืองบาหลี บิดาหญิงเปนจีน ชายบุตรกะปิตัน มารดาเปนชาวบาหลี เห็นปลูกโรง ๆ ๑ เหมือนโรงไทยเครื่องบนไม้ไผ่หลังคามุงแฝก ข้าพเจ้าเห็นชาวบาหลีเอาของมาช่วย ใส่โต๊ะไม้กลึง มีเรียงเล็ด กล้วย ส้ม เข้าต้มใส่กล้วย หมาก พลู คนละโต๊ะ ๑ บ้าง ๒ โต๊ะบ้าง ๓ โต๊ะบ้าง ประมาณสัก ๒๐๐ คน ครั้นถ่ายของแล้วข้างกะปิตันตอบแทนให้เข้าสุกกับเนื้อสุกรทอด เนื้อสุกรย่าง จังลอนทำด้วยเนื้อสุกร ใส่โต๊ะไม้กลึงให้ไปทุกคน ๆ เพลาเย็นจัดแจงขันหมากใส่โต๊ะไม้ เอาด้ายเข็ดมาต่อ ๆ กันเข้า ๓ เข็ดแล้ววงลงในโต๊ะไม้ เอาเข้าสารกองกลาง เอาหมากพลูรายทับบนเข้าสาร เอาดอกไม้ทองอังกฤษปักเปนรูปพุ่มโต๊ะ ๑ ใส่ส้ม กล้วย ขนมบ้าง ๕๐ โต๊ะ เอาผ้าเช็ดหน้าแขกคลุมทุกโต๊ะ คนที่นำน่าขันหมากแต่งตัวใส่กางเกงขาวคาดเอวผ้าลาย ผ้าเช็ดหน้าแขกโพกศีศะเอารูปนกยูง ทำด้วยไม้โตเท่าไก่ปิดทองทั้งตัวมีสายยูติดอยู่ที่หลังนกยูง ๒ สายยู เอาด้ายผูกที่สายยู แล้วเอามาตะพายแล่งรำไป
๓๔
ข้างน่าขันหมาก มีปี่พาทย์เหมือนกับเล่นลครหามตีตามไปข้างหลัง ข้าพเจ้าก็ตามไปดูด้วย ไปถึงบ้านมีหญิงสาว ๆ ๙ คน ๑๐ คนออกมารับ แล้วร้องเพลงตามภาษาบาหลี คนที่ตะพายนกยูงก็รำสักครู่ ๑ ฝ่ายข้างพวกหญิงเอาเข้าสารคลุกขมิ้นซัดคนรำที่ตะพายนกยูง ๓ ที แล้วมีหญิงออกมาจูงเอาคนรำตะพายนกยูงเข้าไปในประตูบ้าน จึงปลดเอานกยูงรับเอาโต๊ะที่ใส่เข้าสาร หมากพลูปักพุ่มทองอังกฤษนั้นเข้าไปในเรือนบิดามารดาหญิง ของทั้งนั้นก็ถ่ายไว้สิ้น แล้วก็เลี้ยงน้ำกาแฟกับน้ำตาลโตนด ขนม กล้วย ส้มเสร็จแล้ว ฝ่ายข้างชายที่เอาขันหมากไปก็พากันกลับมาบ้าน เว้นอยู่ ๓ วัน ฝ่ายข้างบิดามารดาหญิงก็พาเอาตัวหญิงมาส่งบ้านชาย มีหญิงห้อมล้อมมาประมาณ ๒๐ คน ๓๐ คน เจ้าสาวแต่งตัวนุ่งผ้าริ้วทองอย่างแขก ห่มผ้ายกแขกมีกรวยเชิงสไบเฉียงศีศะคลุมผ้าเช็ดหน้าแขก มือใส่กำไลทองคำข้างละ ๓ เส้น เท้าใส่กำไลเงินทั้ง ๒ เท้า มาถึงบ้านชาย ข้างฝ่ายชายตีปี่พาทย์รับแล้วบิดามารดาพาเจ้าบ่าวมา เจ้าบ่าวเปิดผ้าที่คลุมศีศะหญิงออก บิดามารดาข้างชายก็จูงมือหญิงเข้าไปในเรือน พวกข้างหญิงที่มาส่งเจ้าสาวก็กลับไปบ้าน เจ้าบ่าวเจ้าสาวก็อยู่กินด้วยกัน อยู่ประมาณ ๙ วัน ๑๐ วัน ข้าพเจ้าขึ้นไปที่ตึกบ้านกะปิตันเพลาบ่าย เจ้าเมืองกาล่งกงให้ล่ามเอาปืนคาบศิลาบอก ๑ หอกเล่ม ๑ คนทีใส่น้ำทำด้วยดินคนที ๑ ถ้วยแก้วเขียวใส่น้ำถ้วย ๑ มาที่บ้าน
๓๕
กะปิตันว่าฝากข้าพเจ้าเข้ามาให้กับพระสวัสดิวารีเจ้าทรัพย์ ถ้าเห็นควรจะทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ได้ก็ช่วยทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายด้วย ถ้าเห็นไม่ควรจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายก็ให้พระสวัสดิวารีเจ้าทรัพย์รับเอาไว้เปน ของพระสวัสดิวารีเถิด ข้าพเจ้ารับของไว้แล้วพวกล่ามก็พากันกลับไป ข้าพเจ้าถามกะปิตันว่า เกาะเมืองบาหลีนี้โตสักเท่าไร เจ้าเมืองบังคับบัญชาการงานบ้านเมืองอย่างไร คนมีมากฤๅน้อยกะปิตันจึงเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าเกาะนี้โตใหญ่ แล่นเรือไปลมดีวันหนึ่ง ๑๒ โยชน์ แล่นไป ๑๐ วันจึงรอบเกาะคิดได้ ๑๒๐ โยชน์ มีเมือง ๑๖ เมือง เมือง ๑ ชื่อบาหลีเลง ๑ เมืองกาหลงอาเสียม ๑ เมืองอาโบ ๑ เมืองอาหมัด ๑ เมืองกิอันเจียด ๑ เมืองมองงุย ๑ เมืองบาตอง ๑ เมืองอาตัด ๑ เข้ากัน ๘ เมือง เจ้าเมืองกาล่งกง เปนเจ้าใหญ่ สำหรับได้ว่ากล่าวเจ้าเมือง ๗ เมือง แต่เมืองฟากเขาข้างใต้ ๘ เมืองนั้น ข้าพเจ้าจำชื่อได้แต่เมืองมองหลีบาตอง ตัวปันหลัน ยังอีก ๕ เมืองข้าพเจ้าจำชื่อไม่ได้ เมือง ๘ เมืองนี้หาอยู่ในบังคับเจ้าเมืองกาล่งกงไม่ ถ้าคนแดนข้างเมืองกาล่งกง จะลงไปฟากเขาข้างใต้ถ้าพบพวกเมืองมองหลีมากกว่า พวกเมืองมองหลีก็จับเอาไว้ขายเสีย ถ้าพวกเมืองมองหลีข้ามฟากเข้ามาข้างเหนือพบพวกเมืองกาล่งกงมากกว่าก็จับเอาไว้ขายกินเหมือนกัน เมืองกาล่งกงมีท่าเรือลูกค้าจอดข้างตวันออก ชื่อ จูเล็กท่า ๑ ปา
๓๖
ดังท่า ๑ โกชุนปาท่า ๑ อาแชท่า ๑ รวม ๔ ท่า ข้างตวันตกมีท่าเรือลูกค้าจอด ชื่อบาหลีเหลงท่า ๑ กาม่องกุฎท่า ๑ สุนสิดท่า ๑ รวม ๓ ท่า มีจีนเปนกะปิตันสำหรับซื้อสำหรับขายอยู่ทุกท่า ที่เมืองอยู่ฟากเขาข้างใต้ก็มีท่าเรือวิลันดามาตั้งห้าง รับซื้อขาย อยู่คน หนึ่ง กำปั่นวิลันดามาจัดซื้อผลกาแฟปีละลำ ๑ บ้าง ๒ ลำบ้าง ข้างเมืองบาหลี ก็มีกำปั่นวิลันดามาซื้อเข้าสารปีละลำ ๑ บ้าง ๒ ลำบ้าง ลูกค้าแขกจีนก็มาค้าขายปีหนึ่ง ๙ ลำบ้าง ๑๐ ลำบ้าง เจ้าเมืองเรียกเอาภาษีของหาบหนึ่ง ๒๐๐ อีแปะ สำหรับซื้อเข้าเลี้ยงจีนที่มาตั้งค้าขายอยู่ที่เมืองบาหลีให้กินวันละ ๓ เพลา มีคนชายฉกรรจ์ประมาณ ๘-๙ หมื่นเศษ เจ้าเมืองจะเรียกเอาค่านา ค่าอากรสวน ค่าตลาด สิ่งใดกับไพร่บ้านพลเมืองนั้น ข้าพเจ้าหาได้ถามไม่ แล้วกะปิตันเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ถ้าขุนนางตายใส่โลงเหมือนกับไทย ไว้ศพเดือน ๑ บ้าง ๒ เดือนบ้าง ๓ เดือนบ้าง ๔ เดือนบ้าง ๕ เดือนบ้าง ปีหนึ่งบ้าง แล้วมีคนนุ่งขาวห่มขาวอยู่พวกหนึ่งหามีภรรยาไม่ มีอยู่ประมาณ ๕๐-๖๐ คน เจ้าเมืองเลี้ยงให้กิน จะเปนชาวบาหลีบวช ฤๅจะเปนชาติพราหมณ์อย่างไร กะปิตันหาทราบไม่ ถ้าเจ้าเมืองจะออกมาว่าการงาน คนนุ่งขาวห่มขาวพวกนี้ไปนั่งอยู่ด้วยเพลาละ ๒ คนบ้าง ๔ คนบ้างเปนที่ปฤกษาสำหรับเขียนหนังสือด้วย ถ้าเจ้าเมืองจะไปข้างไหน คนนุ่งขาวห่มขาวพวกนี้นำน่าไป ๒ คนบ้าง ๔ คนบ้างทุกครั้ง ถ้า
๓๗
ขุนนาง แลไพร่บ้านพลเมืองตายก็ไปเรียกคนพวกนี้ มาสวดเพลา บ่ายวันละ ๒ คนเสมอทุกวัน แล้วบุตรภรรยาญาติพี่น้องผู้ตายเอากำยานไปเผาเอาดอกไม้ไปวางข้างโลง แล้วเอาเข้าไปเส้นเสมอทุกวันกว่าจะเผา เมื่อกำหนดจะเผานั้นบรรดาพวกญาติพี่น้องเอาไม้ไผ่มาทำเปนร้านม้าขึ้น ๓ ชั้น ๆ ล่างเอาผ้าขาวปิด ชั้น ๒ ชั้น ๓ เอาแผงกรุแล้วเอากระดาษสีปิดทับ เอาสำลีย้อมสีแดง สีเขียว สีเหลือง สีน้ำเงิน สีขาว ๕ สีกับทองอังกฤษมาติดทำเปนลายดอกไม้บ้าง ลายริ้วบ้าง ต่าง ๆ กัน หลังคาเปนหลังเจียดดาดผ้าขาวมีดอกไม้สดห้อย คล้าย ๆ กันกับเครื่องศพไทยโลงนั้นเอาผ้าขาวปิดมีปี่พาทย์เหมือนกับเล่นลคร ตีไปบนร้านม้าชั้นล่างมีคนหาม ถ้าร้านใหญ่คนหาม ๕๐-๖๐ คนบ้าง ถ้าร้านม้าเล็กหาม ๒๐-๓๐ คนบ้าง ดอกไม้ทำด้วยทองอังกฤษคนถือแห่น่าศพประมาณ ๒๐-๓๐ คน แล้วคนนุ่งขาวห่มขาว ๔ คน ถือขันเงินใส่เข้าตอกใส่ดอกไม้โปรยไปตามทาง บุตรภรรยาญาติพี่น้องตามไปข้างหลัง แต่ภรรยาที่จะตายด้วยผัวนั้นนุ่งขาวห่มขาวไปถึงที่เผาเปนที่ว่างเปล่า แล้วพูนดินขึ้นสูงศอกเศษ รื้อเอาเครื่องศพทำพื้น เผาแล้วขุดหลุมเคียงที่เผาศพยาว ๔ ศอก กว้าง ๔ ศอก ฦก ๓ ศอก ๔ เหลี่ยม เอาไม้ไผ่พันผ้าชุบน้ำมันมะ พร้าวใส่หลุมไว้ให้เต็มหลุม แล้วผู้ที่จะตายนั้นมีหนังสือไปบอกเจ้าเมืองใหญ่ว่าจะขอตายด้วยผัว เจ้าเมืองมีหนังสือห้ามมา
๓๘
ว่าเขาตายแล้วก็แล้วไปเถิดอย่าตายตามเขาเลย ครั้ง ๑ สองครั้ง หญิงผู้จะตายนั้นไม่ฟังจึงมีหนังสือไปบอกอิกครั้ง ๑ เปน ๓ ครั้ง เจ้าเมืองจึงมีหนังสือมาว่าห้ามไม่ฟังแล้วมีน้ำใจรักใคร่ผัว จะตายกับผัวได้ก็ตายเถิด คนนุ่งขาวห่มขาวเหมือนพราหมณ์ ๔ คนจึงเอาไฟจุดเผาศพผู้ตายก่อนแล้วจึงจุดไฟในหลุมด้วย ญาติพี่น้องจึงเอาผ้าพันไม้บ้างด้ายพันไม้บ้างชุบน้ำมันมะพร้าว จุดไฟเผาติดพร้อมแล้ว หญิงภรรยาที่จะตายนั้น ลาบิดามารดาญาติพี่น้องแล้วก็โจนลงในหลุมตายไปด้วยกัน ดอกไม้ทองอังกฤษที่แห่ศพไปนั้น ก็ทิ้งเข้าไปในไฟเผาเสียด้วย รุ่งเช้าญาติพี่น้องชวนกันไปเก็บกระดูกใส่ขันเงินคนละขันทั้ง ๒ คนมาไว้ที่เรือน เส้น เช้า กลางวัน เย็น ๓ เพลาครบ ๓ เดือนแล้วจึงไปหาคนนุ่งขาวห่มขาว ๔ คนมาแห่เอากระดูกไปทิ้งเสียที่ทเล หญิงที่จะตายตามผัวได้นั้น ที่เปนภรรยาเจ้าเมือง ปลัดเมือง ถ้าผัวตายแล้วจะมีผัวอิกไม่ได้ ที่มีบุตรนั้นอยู่เลี้ยงบุตรไปกว่าจะโตกว่าจะแก่ จะมีผัวอิกนั้นไม่ได้ ถ้ามีผัวอิกญาติพี่น้องข้างผัวที่ตายไปร้องฟ้องแก่เจ้าเมือง ๆ ทำโทษ ลางทีฆ่าเสียบ้าง ขายเสียบ้าง ภรรยาที่ไม่มีบุตรนั้นจะมีผัวอิกก็ไม่ได้เหมือนกัน จึงต้องไปตายเสียกับผัวลางทีมีหนังสือไปบอกเจ้าเมืองว่าจะตายตามผัว เจ้าเมืองมีหนังสือห้ามครั้ง ๑ บ้าง ๒ ครั้งบ้าง ฟังคำเจ้าเมืองที่ไม่ตายตามผัวก็มีหญิงภรรยาไพร่บ้านพลเมืองนั้นไม่ต้องตายตามผัว ๆ ตายแล้วจะมี
 
 
๓๙
ผัวใหม่อิกก็ได้ไม่มีโทษ ถ้าแลชายก็ดีหญิงก็ดีเปนผู้ร้ายลักของจับตัวได้ครั้ง ๑ เจ้าเมืองเอาไปชำระเอาของคืนให้เจ้าของ ห้ามปรามสั่งสอนแล้วปล่อยไป ถ้าไปลักเขาจับได้อิกครั้ง ๑ เจ้าเมืองเอาตัวมาทำโทษใส่กรงทำด้วยไม้จริงกว้าง ๔ ศอกยาว ๕ ศอก ๖ ศอก สูงศอก ๑ ใส่ในกรงให้นอน ลุกขึ้นนั่งไม่ได้ เพลาเช้า เพลาเย็นเอาออกให้กินเข้า ใส่กรงไว้เดือน ๑ บ้าง ๒ เดือนบ้าง ๓ เดือนบ้าง เห็นเข็ดหลาบแล้วปล่อยตัวไป ถ้าไปลักเขาอิก จับได้เปน ๓ ครั้ง เจ้าเมืองให้เอาตัวไปแทงเสีย ถ้าแลภรรยามีชู้ผัวจับได้เจ้าผัวแทงเสียทั้งหญิงทั้งชาย ถ้าจะแทงแต่ชายชู้ก็ไม่ได้ จะแทงแต่หญิงก็ไม่ได้มีโทษกับเจ้าผัว ต้องแทงเสียทั้ง ๒ คน ถ้าจับไม่ได้แต่รู้ว่าภรรยามีชู้เจ้าผัวขายภรรยาเสียได้ ถ้าแลลูกค้าผู้ใด ๆ ก็ดีไปซื้อคนชาวบาหลีต้องบอกกับกะปิตัน ๆ เรียกเอาภาษีคนละ ๑๐๐๐ อีแปะจึงเอาคนลงเรือได้ ถ้าแลไม่เสียค่าภาษีให้เอาคนมาไว้ในเรือซ่อนไว้ที่ไหนก็ดีมีผู้มาร้องฟ้อง เจ้าเมืองเอาตัวไปเสีย เงินที่ซื้อคนก็สูญเปล่า จะร้องฟ้องว่ากล่าวเอาเงินคืนไม่ได้
* ครั้นณวัน ฯ๕ ข้างขึ้น ๆ กี่ค่ำจำไม่ได้ ปีมเมียอัฐศก ข้าพเจ้าเห็นกำปั่นลูกค้าเมืองสรียะบานายเรือเปนจีน ต้นหนเปนชาติวิลันดามาถึงเมืองบาหลีลำ ๑ ต้นหนวิลันดาถือหนังสือเจ้าเมืองไยกระตรามาถึงเจ้าเมืองบาหลีฉบับ ๑ ในหนังสือนั้นว่าให้เจ้าเมือง
 
 
๔๐
บาหลีปลูกเรือนไว้ เจ้าเมืองไยกระตราจะเอาคนมาไว้ที่เมืองบาหลีสักห้าพันคน เจ้าเมืองบาหลีเหลงจึงมีหนังสือให้ต้นหนวิลันดาถือไปถึงเจ้าเมืองไยกระตราว่า เมืองบาหลีเหลงนี้แต่ก่อนไม่เคยมีคนชาติวิลันดามาอยู่ ถ้าจะมาอยู่ให้ได้ก็มาเถิด เรือนที่จะให้คนอยู่นั้นเราปลูกไว้แล้ว อยู่ประมาณ ๙ วัน ๑๐ วันต้นหนวิลันดาก็ถือหนังสือกลับไปเมืองสรียะบา เจ้าเมืองบาหลีเหลงจึงเกณฑ์คนประมาณห้าพันคนมาทำสนามเพลาะเปนวงเดือน ที่ชาย ทเลท่าเรือจอดน่าบ้านกะปิตันปันตัด เอาไม้มะพร้าวปักเรียงกันห่างประมาณ ๓ ศอก สูง ๗ ศอก กว้าง ๗ ศอก ๒ แถวยาวประมาณ ๑๐ เส้น ใส่ขื่อชักบนปลายไม้มะพร้าวเปนคู่ ๆ กัน จึงเอาไม้ไผ่ทั้งลำมาวางเรียง ๆ กันกรุข้างใน แล้วเอาดินถม เอาน้ำรด เอาไม้กระทุ้งให้แน่น สูง ๗ ศอกถึงปลายไม้มะพร้าว
* ครั้นณวัน ๖ ค่ำปีมเมียอัฐศก วิลันดาเอาเรือบดปาก กว้างประมาณ ๑๐ ศอก ๒ เสาคนในลำประมาณ ๒๐ คน มีปืนกระสุน ๔ นิ้ว ๒ บอกมาหยั่งน้ำที่อ่าวน่าเมืองบาหลีเหลงอยู่ ๒ วัน วันเดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำก็กลับไป
* วัน ๖ ค่ำ ข้าพเจ้าเห็นเรือรบวิลันดากลับมาหยั่งน้ำอยู่อิก ๒ วัน วัน ๖ ค่ำก็กลับไป
* อยู่ณวัน ๗ ค่ำ ปีมเมียอัฐศก ข้าพเจ้าเห็นกำปั่นไฟลำ ๑ กำปั่นใหญ่ปืน ๒ ชั้นลำ ๑ มาทอดสมอลงที่อ่าวน่าเมืองบาหลีเหลง
 
 
๔๑
กำปั่นใหญ่ทอดใกล้เรือข้าพเจ้าประมาณ ๒๐ เส้นเศษ กำปั่นไฟมาทอดชิดเรือข้าพเจ้าประมาณ ๓ วา ๔ วา ข้าพเจ้าก็ลงเรือสำปั้นเอาสุกร ๒ ตัว เป็ด ๖ ตัว ลูกเรือ ๓ คนแจวเรือไปถึงท่ากำปั่นไฟ ข้าพเจ้าขึ้นไปบนกำปั่น ทหารวิลันดาถามข้าพเจ้าว่ามาแต่ไหน ข้าพเจ้าบอกว่าเปนลูกค้ากรุงเทพพระมหานครมาค้าขาย ทหารจึงลงไปบอกแก่นายทหารในท้องกำปั่น แล้วขึ้นมาพาข้าพเจ้าลงไปในท้องกำปั่น นายทหารวิลันดาจึงถามข้าพเจ้าว่าเปนลูกค้ามาแต่ไหน ข้าพเจ้าบอกว่ามาแต่กรุงเทพพระมหานคร นายทหารจึงว่าทำไมไม่รู้ฤๅ ว่าเราจะมาตีเมืองบาหลีเหลง ข้าพเจ้าบอกว่าไม่รู้ นายทหารจึงว่าเราได้มีหนังสือไปถึงเจ้าเมืองใหม่ว่าอย่าให้ลูกค้ามาค้าขายที่เมืองบาหลีเหลง ข้าพเจ้าตอบว่าข้าพเจ้าไปขอหนังสือเดินทางที่เมืองใหม่ ๆ ก็หาได้บอกแก่ข้าพเจ้าไม่ จึงได้มาค้าขายเมืองบาหลีเหลง นายทหารจึงบอกข้าพเจ้าว่าเจ้าเมืองไยกระตาบังคับมาว่า ถ้ากำปั่นมาถึงพร้อมกันแล้วให้รบเมืองบาหลีเหลงใน ๓ วัน ให้นายเรือเร่งทวงเงินให้เสร็จแล้วกลับไปเสียเร็ว ๆ ข้าพเจ้าจึงบอกว่าเงินขายของไว้ทวงได้แล้วสัก ๒ ส่วน ยังค้างอยู่กับชาวบาหลีเหลง ๒ ส่วน นายทหารจึงว่ากับข้าพเจ้าว่าให้เร่งทวงเงิน สินค้าซึ่งค้างอยู่นั้นขนลงบรรทุกเรือให้แล้วใน ๒ วัน ข้าพเจ้าจะลากลับมาเรือ นายทหารจึงว่าจะฝากหนังสือขึ้นไปให้เจ้าเมืองด้วยฉบับ ๑ แล้วเอาหนังสือ
 
๔๒
มาให้ข้าพเจ้า ๆ จึงว่า ถ้าเจ้าเมืองบาหลีเหลงรับหนังสือไว้แล้ว ข้าพเจ้าจะกลับมาบอก ถ้าไม่รับไว้ข้าพเจ้าจะเอาหนังสือมาคืน ข้าพเจ้ารับเอาหนังสือ ลงเรือสำปั้นกลับไปขึ้นท่าเมืองบาหลีเหลง ข้าพเจ้าเอาหนังสือซ่อนเสียในเสื้อ ข้าพเจ้าจึงไปที่บ้านกะปิตัน ข้าพเจ้าเห็นเจ้าเมืองใหญ่เจ้าเมืองรองปลัดเมือง มาพร้อมกันอยู่ที่บ้านกะปิตัน ข้าพเจ้าหาได้เอาหนังสือออกให้ไม่ ข้าพเจ้าจึงบอกว่านายทหารวิลันดาอยู่ที่กำปั่นไฟหาตัวข้าพเจ้าไปที่กำปั่น จะให้ข้าพเจ้าเอาหนังสือขึ้นมาให้กับเจ้าเมือง ข้าพเจ้าหาอาจรับมาไม่ เจ้าเมืองจึงถามว่าเขาว่าอย่างไรบ้าง ข้าพเจ้าบอกกับนายทหารว่าเปนลูกค้ามาค้าขาย นายทหารว่าเปนลูกค้าก็ให้เร่งขนของทองเงินเสียให้เสร็จใน ๒ วัน ถ้ากำปั่นมาพร้อมกันเมื่อใดจะตีเมืองบาหลีเหลง เรือจะกีดทางปืน เจ้าเมืองจึงว่าไม่รับเอาหนังสือขึ้นมานั้นดีแล้ว ถ้าเขาจะมีหนังสือขึ้นมาให้เขาเอามาเอง เข้าของเบี้ยอีแปะซึ่งยังค้างอยู่กับผู้ใด เร่งขนลงบรรทุกเรือเสียเถิดเจ้าเมืองจึงให้คนไปตีเกราะที่ต้นทางจะขึ้นไปเมืองบาหลี บ้านตามทางก็ตีเกราะต่อ ๆ ตลอดกันไป ข้าพเจ้าดูอยู่ประมาณ ๓ บาท ๔ บาทนาฬิกา ข้าพเจ้าแลเห็นคนถือปืนถือหอกถือหลาว ที่บ้านไกล ๆ วิ่งลงมาหาเจ้าเมืองที่บ้านกะปิตันประมาณ ๑๕๐ คน ๑๖๐ คนเศษ แล้วข้าพเจ้าก็รีบลงเรือสำปั้นกลับมาที่กำปั่นไฟ เอาหนังสือคืนให้กับนายกำปั่น ๆ ถามว่าเจ้าเมืองว่ากะไร ข้าพเจ้าบอกว่าเจ้า
 
 
๔๓
เมืองว่าตัวเปนลูกค้าไปรับเอาหนังสือเขามาทำไม เมื่อจะมีหนังสือขึ้นมาก็ให้เขาเอาขึ้นมาเอง แล้วข้าพเจ้าก็ลานายทหารกลับมาเรือ ข้าพเจ้าให้ลูกเรือ เอาเรือสำปั้นขึ้นไปขนของที่ห้างกะปิตันลงมาบรรทุกเรือ
* รุ่งขึ้น ณ วัน๗ ค่ำ เพลาเย็น ของก็ยังหาหมดไม่ ข้าพเจ้าเห็นกำปั่นมาทอดอยู่ราย ๆ กันประมาณ ๒๔ ลำ ๒๕ ลำ ข้าพเจ้าก็ลงสำปั้นไปหานายทหารที่กำปั่นไฟ ข้าพเจ้าขอทุเลากับนายทหารว่าขนของ ๒ วันแล้วขนได้ ๒ ส่วน ยังส่วน ๑ ขอทุเลาอิก ๓ วัน นายทหารจึงว่าเจ้าเมืองไยกระตาบังคับขาดมาว่ากำปั่นรบมาถึงพร้อมแล้วเมื่อใดก็ให้รบเมืองบาหลีเหลงใน ๓ วัน นายทหารจึงว่าข้าพเจ้าเปนลูกค้ากรุงเทพพระมหานครจะงดให้ อิก ๓ วัน ถ้าถึง ๓ วันแล้วเราจะยิงสนามเพลาะเมืองบาหลีเหลงให้ทลายให้สิ้น จะมาทุเลาอิกนั้นไม่ได้แล้ว ข้าพเจ้าก็กลับมาเรือเร่งขนของอยู่ จนณวัน ๘ ค่ำ ข้าพเจ้ากับลูกเรือขึ้นไปขนของบนบ้านกะปิตัน มีลูกเรือเฝ้าเรือใหญ่อยู่ ๓ คน ข้าพเจ้าลงมาที่หาดทรายชายทเล แลไปเห็นกำปั่นใช้ใบมาแต่ไกลประ มาณสัก ๒๓ ลำ ๒๔ ลำ แล้วข้าพเจ้าเห็นฝรั่งที่กำปั่นไฟลงเรือช่วงประมาณ ๓๐ คน ไปที่เรือข้าพเจ้า ขึ้นบนเรือแล้วถอนสมอข้าพเจ้าก็เร่งลงเรือสำปั้นออกไปดู ข้าพเจ้าขึ้นบนเรือถามเปน
 
 
 
๔๔
ภาษามลายูว่าจะถอยเรือข้าพเจ้าไปข้างไหน พวกทหารวิลันดาบอกว่าจะถอยไปทอดเสียให้พ้นทางต่อแหลมข้างใต้ กำปั่นรบมาถึงจะมาทอดที่นี่ พวกทหารกับลูกเรือก็ถอนสมอขึ้นใช้ใบไปทอดข้างต่อแหลมข้างใต้ พ้นที่เดิมออกไปประมาณสัก ๒๐ เส้น ทอดสมอลงแล้วพวกทหารก็กลับไปกำปั่นไฟ อยู่ประมาณโมง ๑ ข้าพเจ้าแลไปดูเห็นกำปั่นมาถึง ทอดอยู่ที่เรือข้าพเจ้าทอดอยู่ก่อนประมาณ ๒๓ ลำ ๒๔ ลำ
* รุ่งขึ้นณวัน ๘ ค่ำ ข้าพเจ้าขึ้นไปขนของที่บ้านกะปิตัน ข้าพเจ้าเห็นพวกชาวบาหลีเหลงถอนเอาต้นเข้าในนาริที่ทำสนามเพลาะตามชายทเลมากองเปนคันสูง ๓ ศอก ยาวประมาณ ๒ เส้นเศษ ทั้ง ๒ ข้างต่อปีกกาออกไปบังตาไม่ให้เห็นคน แล้วขุดหลุมเปนฟันปลา ฦก ๒ ศอก กว้าง ๒ ศอกบ้าง ๓ ศอกบ้าง ข้างน่ารับปืนตรง ข้างหลังไถลลาดพอขึ้นได้ลงได้ง่าย ประมาณหลุมสุดปีกกาข้างเหนือสัก ๑๕๐ หลุม ข้างใต้สัก ๑๕๐ หลุม คนอยู่ในหลุม ๆ ละ ๒ คนบ้าง ๓ คนบ้าง ประมาณ ๖๐๐ คน ๗๐๐ คน ถือปืนบ้าง ถือหอกบ้าง ถือหลาวบ้าง ทุกคน แล้วเจ้าเมืองให้รื้อเรือนที่ใกล้ ๆ ทางปืนเสีย ให้พวกครัวขึ้นไปอยู่บนเนินเขาบ้านปลัดเมืองทั้งสิ้น เอาไว้รบแต่ชายฉกรรจ์ประมาณคน ๓๐๐๐ เศษ ข้าพเจ้าขนของเสร็จแล้ว ครั้นเพลาค่ำข้าพเจ้าก็กลับลงไปเรือสินค้าที่ข้าพเจ้าขายไว้กับชาวบาหลีเหลงที่ยังทวงไม่ได้ ประมาณเงินสัก ๑๗๐๐ เหรียญ ๑๘๐๐ เหรียญ
 
๔๕
* ครั้นณวัน ๘ ค่ำ นายทหารจึงให้พวกสิป่ายมาบอกข้าพเจ้าว่าวัน ๘ ค่ำ จะตีเมืองบาหลีเหลง จะยิงปืนกระสุนปืนจะถูกเรือเข้า ให้นายเรือใช้ไปเสียให้พ้น ข้าพเจ้าบอกว่าต้นหนใหญ่กับจีนลูกเรือคนหนึ่งขึ้นไปซื้อผลกาแฟ ที่เมืองมองงุย ยังหากลับไม่ ข้าพเจ้าจะขอรอท่าอยู่ก่อน พวกสิป่ายก็กลับไป เพลาเย็นข้าพเจ้าเห็นกำปั่นใหญ่มาทอดสมอเรียงลำน่ากำปั่นอยู่ข้างเหนือ ข้างกำปั่นตรงน่าสนามเพลาะออกมาประมาณ ๕ เส้นเศษ ๒๐ ลำ แล้วเอาเรือบดปากกว้าง ๕ ศอก ๖ ศอกลงน้ำ เอาปืนใหญ่ใส่น่าเรือบดลำละบอก กระสุน จะโตเล็กประการใด ข้าพเจ้าแลดูแต่ไกลประมาณหาถูกไม่ แล้วเอาสมอเล็ก ๆ สายสมอเชือกน้ำมันไปทอดไว้ริมฝั่ง เอาหางเชือกมาผูกไว้กับกำปั่นทุกลำทั้ง ๒๐ ลำ กำปั่น ๒ เสาบ้าง ๓ เสาบ้าง มีปืนรายแคมชั้นเดียวจะเปนลำละกี่บอกข้าพเจ้าหาได้นับไม่ กำปั่นอิก ๒๐ ลำเศษ ทอดห่างออกไปประมาณ ๙ เส้น ๑๐ เส้น ข้าพเจ้าเห็นกำปั่นใหญ่ปืน ๒ ชั้นลำหนึ่ง กำปั่นไฟ ๒ ลำ กำปั่นใบ ๒๐ ลำ กำปั่นใหญ่ ๓ เสาปืน ๒ ชั้น มีคนในลำประมาณ ๓๐๐ เศษ กำปั่นไฟ ๒ ลำ ๆ หนึ่งคนประมาณ ๑๐๐ เศษ กำปั่นไฟ ๒ เสาบ้าง ๓ เสาบ้าง ๒๐ ลำ คนประมาณลำละ ๑๐๐ คนบ้าง ๑๒๐ คนบ้าง ๑๓๐ คนบ้าง เข้ากันเปนกำปั่น ๔๓ ลำ ครั้นเพลาเช้าโมงเศษ
 
 
 
๔๖
ข้าพเจ้าเห็นคนในลำกำปั่นใหญ่ที่มาทอดสมอเรียงกันอยู่ทั้ง ๒๐ ลำ ลงเรือบดลำละ ๑๕ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง ถือปืนคาบศิลาบ้าง ถือกระบี่บ้าง สาวเชือกน้ำมันสายสมอที่ไปทอดไว้ริมตลิ่งพร้อมกันทั้ง ๒๐ ลำ เรือบดเข้าไปใกล้สนามเพลาะประมาณ ๒ เส้นเศษเอาสายสมอผูกเรือบดแล้วก็ยิงปืนใหญ่ทุกลำ ๆ ไม่ได้หยุดเสียงปืนจนเพลาเที่ยงจึงหยุด ข้าพเจ้าแลไปเห็นกำปั่นใหญ่ที่ทอดเรียงกันอยู่ยิงปืนใหญ่ขึ้นไปอีก ๓ กระสุน ๆ ข้ามสนามเพลาะไปตกลงกลางบ้านที่โรงยังไม่ได้รื้อ ห่างสนามเพลาะเข้าไปประมาณห้าเส้น กระสุนแตกออกจะถูกคนตายบ้างอย่างไร ข้าพเจ้าไม่ทราบ เห็นไฟไหม้โรงอยู่ประมาณสัก ๕ บาท ๖ บาทนาฬิกา เปลวไฟดับลงแล้ว ข้าพเจ้าเอากล้องส่องไปดูเห็นสนามเพลาะที่กลางพังราบลงกว้างประมาณ ๒ เส้น ตึกกะปิตันปันตัดก็ทลายลงด้วย พวกวิลันดาที่ในเรือบดทั้ง ๒๐ ลำ สาวสายสมอเข้าไปจนถึงฝั่งแล้วก็ขึ้นบกถือปืนคาบศิลาบ้าง ถือกระบี่บ้าง พากันกรูเข้าไปในสนามเพลาะ พวกบาหลีเหลงขึ้นจากหลุมเอาปืนคาบศิลายิงเอาพวกวิลันดาถูกเห็นล้มลงตายบ้าง ลำบากบ้าง พวกวิลันดาก็เอาปืนยิงถูกพวกบาหลีเหลงบ้าง สิ้นคราวปืนพวกบาหลีเหลงวิ่งเอาหอกไล่แทงพวกวิลันดาตายเปนอันมาก ที่หลือตายก็วิ่งหนีลงเรือบด สาวสายสมอกลับมาขึ้นกำปั่นใหญ่ วิ ลันดาจะคิดอ่านประการใดต่อไปนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบ เพลาบ่าย
 
 
๔๗
๓ โมงเศษข้าพเจ้าปฤกษากับต้นหนรองลูกเรือทั้งปวงว่า บ้านเมืองเขารบกันอยู่อย่างนี้ ที่ไหนต้นหนใหญ่กับจีนลูกเรือจะมาได้เราอย่าคอยเลย พากันไปเถิด เห็นพร้อมแล้วก็ฉ้อใบขึ้นตัดสมอทิ้งเสียตัวหนึ่ง ใช้ใบเรือมาแต่อ่าวเมืองบาหลีเหลง
* ณวัน ๘ ค่ำ ปีมะเมียอัฐศกเพลาเย็น มาถูกทางบ้างผิดทางบ้าง เดือน ๑ กับ ๖ วัน ถึงเมืองใหม่
* วัน ๙ ค่ำ ข้าพเจ้าเอาของเมืองบาหลีมาแลกของที่เมืองใหม่ ได้ผ้าขาว ๕๐ ศอก ๒๐๐ พับ ได้ด้ายขาวหนัก ๔๐ บาท ได้หมากแห้งหนัก ๒๐๐ บาท ได้หวายหินหนัก ๑๐๐ บาท หอยเบี้ยหนัก ๕๐๐ บาท
* วัน ๙ ค่ำ ปีมะเมียอัฐศก กำปั่นไฟมาแต่เมืองมะเกาถึงเมืองใหม่ลำหนึ่ง ข้าพเจ้าได้ยินชาวเมืองใหม่พูดกันว่าอังกฤษนายกำปั่นเล่าให้ฟังว่าเมื่อวัน ๘ ค่ำ เกิดห้องไถที่น่าเมืองกวางตุ้ง กำปั่นเสีย กำปั่นใบ ๒๒ กำปั่นไฟ ๑ รวม ๒๓ กับสำเภาจีน ๗ ลำ
* ครั้นณวัน ๙ ค่ำ ข้าพเจ้าไปขอหนังสือเบิกล่องกับเสมียนเจ้าเมืองใหม่ที่โรงความ ข้าพเจ้าได้ยินพวกจีนเปนความต้องขังอยู่ในตารางพูดกันว่า เจ้าเมืองใหม่ป่วยไปรักษาตัวอยู่เมืองเกาะหมาก เมื่อไรจะหายก็ไม่รู้เลย เจ้าเมืองหายแล้วกลับมา
 
 
๔๘
ความจึงจะได้ว่ากัน ข้าพเจ้าหาได้ถามกับเสมียนไม่ ได้หนังสือแล้วกลับมาลงเรือจะใช้ใบเข้ามาณกรุงเทพพระมหานคร ต้นหนรองชาติมุกิดคน ๑ กับคนหุงเข้าของต้นหนรองคน ๑ เข้ากัน ๒ คน ขอโดยสานเข้ามาณกรุงเทพพระมหานครกับข้าพเจ้าชมบ้านชมเมืองด้วย ออกเรือจากเมืองใหม่ วัน ๙ ค่ำ ต้นหนจีนสำหรับเรือเดิม ใช้ใบมา ๑๙ วัน
* วัน ๑๐ ค่ำ ถึงเมืองสมุทปราการ ๆ ถามข้าพเจ้าแล้วก็บอกส่งขึ้นมาณกรุงเทพพระมหานคร ข้าพเจ้าได้ทราบความแต่เท่านี้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
๔๙
คำให้การเถ้าสา เรื่องหนังราชสีห์
 
* ข้าพระพุทธเจ้า เถ้าสาอายุได้ ๘๕ ปี ให้การว่า เดิมเมื่อครั้งพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ข้าพระพุทธเจ้าอยู่กับนายอูผัวข้าพระพุทธเจ้าณป่าทองในกรุงเก่า ผัวข้าพระพุทธเจ้าเปนขุนหมื่นอยู่ในกรมรักษาพระองค์ ครั้นพม่าล้อมเมืองเอาไฟเผาเมือง ผัวข้าพระพุทธเจ้ากับข้าพระพุทธเจ้าเข้าไปอยู่ในพระราชวัง ที่นั่งสุริ ยามรินทร์ กับพระเจ้าลูกเธอเจ้าชาย ๓ เจ้าหญิง ๑ สี่พระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าจำพระนามหาได้ไม่ เสด็จออกมา ข้าพระพุทธเจ้ากับผัวข้าพระพุทธเจ้าก็ตามเสด็จออกมาด้วย ครั้นถึงประตูดินผัวข้าพระพุทธเจ้าจึงส่งหนังอันนี้ให้ข้าพระพุทธเจ้า เห็นกระดาษห่ออยู่ข้างนอกหลายชั้น ผัวข้าพระพุทธเจ้าบอกข้าพระพุทธเจ้าว่า เมื่อเสด็จพระราชดำเนินออกมาจากพระมหาปราสาทนั้น ที่นั่งสุริยามรินทร์ส่งหนังอันนี้ให้ แล้วตรัสว่าหนังราชสีห์นี้เก็บไว้ให้ดีอย่าให้พม่าเอาไปได้ ข้าพระพุทธเจ้าก็รับเอาหนังราชสีห์อันนี้ห่อผ้าซ่อนไว้กับตัวข้าพระพุทธเจ้า ผัวข้าพระพุทธเจ้าจึงเอาบาตรเหล็กซึ่งใส่เครื่องทรงไปซ่อนไว้ ในกอไผ่หลังวัดหน้าพระเมรุ ผัวข้าพระพุทธเจ้าก็กลับมาถึงข้าพระพุทธเจ้า พออ้ายพม่าจับเอาที่นั่งสุริยามรินทร์ไป จึงตรัสเรียกผัวข้าพระพุทธเจ้าไปด้วย
 
 
๕๐
ข้าพระพุทธเจ้ากับพี่น้องข้าพระพุทธเจ้า ๕ คน หนีเข้าซ่อนอยู่ในโบถวัดขุนเมืองใจ ประมาณ ๙ วัน ๑๐ วัน ครั้นเพลาค่ำพี่น้องข้าพระพุทธเจ้าเอาเรือมารับที่ประตูดิน ข้าพระพุทธเจ้าก็พากันลงเรือหนีลงมาอยู่กับเถ้าอินณวัดปากน้ำบางหลวง ข้าพระพุทธเจ้าจึงแก้กระดาษออกดู เห็นสักกระหลาดห่อหนังราชสีห์ ข้าพระพุทธเจ้าก็คลี่ดู เห็นแล้วข้าพระพุทธเจ้าก็ห่อเข้าไว้ดังเก่า ข้าพระพุทธเจ้าอยู่ประมาณปี ๑ พอผัวข้าพระพุทธเจ้าตามมาพบ ข้าพระพุทธเจ้าที่วัดปากน้ำ ผัวข้าพระพุทธเจ้าถามข้าพระพุทธเจ้า ว่า หนังราชสีห์ซึ่งให้ไว้ยังดีอยู่ฤๅ ข้าพระพุทธเจ้าบอกว่ายังอยู่ดีอยู่ดอก อยู่ประมาณ ๓ ปี ๔ ปี ผัวข้าพระพุทธเจ้าศรัทธาบวช เปนภิกขุอยู่ณวัดปากน้ำพอถึงแก่กรรมตาย อยู่ประมาณ ๑๑ ปี ๑๒ ปี ฝนตกรั่วถูกหีบที่ใส่ของไว้ ข้าพระพุทธเจ้ารฦกขึ้นได้จึงเปิดหีบดูของ แล้วข้าพระพุทธเจ้าจึงเอาหนังอันนี้ออกตากแดด พอสมีม่วงเดินลงมาเห็นหนังข้าพระพุทธเจ้าตากอยู่ ถามข้าพระพุทธเจ้าว่าหนังอะไรตากแดดอยู่นั้น ข้าพระพุทธเจ้าบอกว่าหนังราชสีห์ สมีม่วงจึงว่าดีแล้วข้าจะช่วยเก็บไว้ให้ แล้วข้าจะเลี้ยงยายให้ทานกินไปกว่าจะตาย ข้าพระพุทธเจ้าก็เอาหนังราชสีห์อันนี้ส่งให้แก่สมีม่วง ๆ ก็รับเอาไว้ประมาณ ๙ วัน ๑๐ วันสมีม่วงหาให้ทานข้าวปลาข้าพระพุทธเจ้ากินไม่ ข้าพระพุทธเจ้าโกรธ ข้าพระพุทธเจ้าจึงทวงเอาหนังราชสีห์ของข้าพระพุทธเจ้า
 
 
๕๑
๒ ครั้ง ๓ ครั้ง สมีม่วงก็หาให้ข้าพระพุทธเจ้าไม่ ข้าพระพุทธเจ้าจึงไปต่อว่าสมีม่วง ๆ ก็ให้หนังอันนี้มาแก่นายสัง ๆ จึงเอามาให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า
ณวัน ๖ เดือน ๘ แรม ๕ ค่ำ ปีรกาเบ็ญจศก จุลศักราช ๑๑๗๕ ( ในรัชกาลที่ ๒ ) เถ้าสา เถ้าอิน เอาหนังมาณเรือนนายฤทธิรณรงค์ หาพบตัวนายฤทธิไม่ มาเข้าเวรอยู่ในพระราชวัง พบแต่บิดานายฤทธิ์ ๆ จึงว่าหนังอันนี้เห็นปลาด เกลือกจะเป็นของต้องพระราชประสงค์ เพลาเช้านายฤทธิจึงจะลงไปเอาหนังอันนี้ขึ้นมาทูลเกล้า ฯ ถวาย เถ้าสา เถ้าอิน ก็พาเอาหนังอันนี้กลับไปให้พระสมุห์ดู นายสังจึงมาบอกแก่หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ ๆ ก็ข้ามไปดูหนังอันนี้เห็นปลาดอยู่ให้งดไว้ก่อน เพลาเช้าพบนายฤทธิพร้อมกันที่วัดปากน้ำ จึงจะนำตัวข้าพระพุทธเจ้ากับหนังขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย ครั้นรุ่งเช้านายฤทธิรณรงค์กับหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ไปหาข้าพระพุทธเจ้า เอาหนังกับตัวข้าพระพุทธเจ้าขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย เปนความ ( สัตย์จริงของ ) ข้าพระพุทธเจ้าเท่านี้ ขอเดชะ
 
 
 
 
 
 
๕๒
อธิบายเรื่องหนังราชสีห์
หนังที่กล่าวถึงในคำให้การนี้ ไม่ปรากฎว่าแล้วไปอยู่ที่ไหนต่อมา แต่ไม่ได้ใช้ในราชการ จึงเข้าใจว่าเมื่อถามคำให้การแล้ว จะไม่ทรงเชื่อถือว่าเปนหนังราชสีห์ แลไม่เชื่อคำให้การเถ้าสาว่าเปนความจริงด้วย เพราะที่เรียกกว่าหนังราชสีห์นั้นแต่ก่อนมา ถือกันว่ารูปร่างอย่างที่เขียนกันไว้แต่โบราณ เช่นเขียนในดวงตราพระราชสีห์เปนต้น เห็นเปนของไม่มีจริง ฤๅที่ยอมรับว่ามี คนก็เชื่อว่ามีในป่าพระหิมพานต์ อันมนุษย์จะพบเห็นได้ด้วยยาก มีเรื่องราวหนังสือพงษาวดารเหนือ ว่าขุนสิงหฬสาครไปได้หนังราชสีห์มาครั้งหนึ่ง ก็เปนเรื่องพิฦกกึกกือน่ากลัวอันตรายมาก พ้นวิไสยที่ใครจะไปทำอย่างขุนสิงหฬสาครได้อิก คติความคิดที่มาถืออย่างประเทศอื่นว่า ไลออน ฤๅ สิงโต นี้เองคือราชสีห์ ฉนี้ พึ่งมาปรากฎต่อเมื่อในรัชกาลที่ ๔ แต่มีความปลาดอยู่ในเรื่องพระราชพงษาวดารว่า เมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศที่เรียกพระที่นั่งสุริยามรินทรนั้น แขกฤาฝรั่ง ชื่อ อะลังกะปูนีได้เอาสิงโตเข้ามาถวาย ถ้าหากเกิดความเชื่อถือในครั้งนั้นว่า สิงโต ฤา ไลออนเปนอย่างเดียวกับราชสีห์ หนังราชสีห์ที่มีในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ก็เห็นจะเปนหนังสิงโตตัวนั้นเอง แต่ที่เถ้าสาว่าตัวไปได้มาอย่างไรนั้นเปนคนละเรื่อง เหลือวินิจฉัย.
 
 
๕๓
คำให้การขุนโขลน เรื่องพระพุทธบาท
 
* วัน ๔ ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๖ ปีมโรงสัมฤทธิศก ขุนสัจพันธคีรี ขุนอินทรพิทักษ์ ขุนธรรมการ ประขาวเพ่ง นั่งพร้อมกันบนที่ทักษิณโรงประโคม จึงบอก ( ฉบับลบ )๑ ได้ ทำราชการมาแต่ครั้งบรมโกษฐ มาจนถึงพระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงเอาตำรารายจดหมาย อย่างธรรมเนียมท้องที่อำเภอ๒ พระพุทธบาทแต่ก่อนนั้นมาส่งให้ข้าพเจ้า
เปนอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน ขุนหมื่นกรมการข้าพระพุทธบาทนั้น ขุนยกรบัตรข้าหลวงกำกับท่านตั้งมาแต่กรุงเทพมหานคร
 
๑ ความตรงที่ฉบับลบตอนนี้ สันนิฐานว่า คงเปนชื่อกรมการ เก่าซึ่งเคยเปนผู้รั้งตำแหน่งขุนโขลน ให้เอาตำราเรื่องพระพุทธบาทมาให้แก่ขุนสัจพันธคิรีที่เปนตำแหน่งขึ้นใหม่
๒ ที่เรียกว่าอำเภอตรงนี้ ทำให้เข้าใจว่าครั้งกรุงเก่าการปกครองเปนอำเภอ ตำแหน่งนายอำเภอเรียกว่า "ขุนโขลน'' ต่อมาในชั้นกรุงรัตนโกสินทรยกขึ้นเปนเมืองจัตวา กลับลดลงเปนอำเภอเมื่อจัดตั้งมณฑลในรัชกาลที่ ๕ เดี๋ยวนี้ที่พระพุทธบาทเปน แต่กิ่งอำเภอ เพราะตัดที่ตอนเมืองเก่าตั้งเปนอำเภอหนองโดน
 
 
 
๕๔
ครั้นเมื่อเทศกาลถือน้ำ ขุนยกรบัตรนั้นได้ลงไปถือน้ำกรุงเทพ มหานครทุกปี ถ้าแลราษฎรชาวบ้านจะร้องฟ้องหาความแก่กันด้วยความสิ่งใด ๆ ถ้าแลเปนความแพ่งสลักหักฟ้องส่งให้ขุนเทพสุภาชลธี หมื่นศรีพุทธบาทราชรักษาเอาไปพิจารณา ถ้าเปนความอาญาประทับฟ้องส่งให้ขุนเฉลิมราชปลัดเอาไปพิจารณา ถ้าเปนความหันตโทษนครบาล ประทับฟ้องส่งให้หมื่นชินบาลชาญราชรักษาเอาไปพิจารณา ถ้าเปนความด้วยไร่นา ขุนอินทรเสนาขุนพรหมเสนาได้เอาไปพิจารณา ถ้าจะให้เรียกเงินทองวิวาทแก่กัน ขุนอินทรพิทักษ์ ขุนพรหมรักษา หมื่นพิทักษ์สมบัติ หมื่นพิทักษ์รักษาเอาไปพิจารณา เปนสัตย์ด้วยความสิ่งใด ๆ ส่งสัตย์ไปปรับณเมืองลพบุรี เมืองสระบุรีณเมืองนครขีดขินนี้ ๓ แต่ก่อนเปนเมืองคู่ปรับกัน ครั้นมาเมื่อครั้งบรมโกษฐได้เสวยราชสมบัติ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการพระพุทธบาท จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ สั่งว่าข้าหลวงขึ้นมาเปนที่ยกรบัตรนั้นไม่ยืนนานปี ๑ ตาย ๒ ปี ตาย แต่นี้สืบไปเมื่อน่าให้จัดขุนหมื่นข้าพระพุทธบาท เปนที่ยกรบัตรบ้างเถิด แล้วอย่าให้ขุน
 
๓ ในหนังสือนี้ ที่เรียกว่าเมืองขีดขิน ฤๅเมืองปรันตปะ เปน เมืองเดียวกัน เพราะเรียกว่าเมืองขีดขินอยู่ก่อน เมื่อพบรอยพระ พุทธบาทแล้วจึงเรียกเมืองปรันตปะ ให้ต้องตามตำนานพระพุทธบาท
 
 
๕๕
ยกรบัตรขึ้นไปถือน้ำกรุงเทพมหานครเลย ให้ถวายบังคมเทียนพรรษา ซึ่งจบพระหัตถ์ขึ้นมานั้นให้พร้อมกัน ถ้าผู้ใดขาดมิได้ถวายบังคมมีโทษถึงสิ้นชีวิตร ถ้าแลพิจารณาเนื้อความอันใดเปนแต่ความมโนสาเร่ ก็ให้ว่ากล่าวกันเสียให้สำเร็จแค่ในพระพุทธบาทนี้เถิด ถ้าแลเปนความมหันตโทษ พิจารณาเปนสัตย์ความข้อใหญ่นั้น ให้บอกส่งสัตย์ลงไปปรับยังลูกขุนศาลหลวงพิจารณามิตกลงกันให้บอกส่งลงไปยังลูกขุนศาลา อย่าให้ ( ส่งไปปรับที่เมืองลพบุรี เมือง ) สระบุรีเหมือนอย่างแต่ก่อนเลยเปนตำแหน่งเมืองนครขีดขินอยู่ก็จริง แต่ว่าขุนหมื่นเหล่านี้ได้รักษาพระพุทธบาทอยู่ด้วย จะให้ขึ้นแก่ผู้รั้งกรมการเมืองใดนั้นหามิได้ จึงขาดแต่วันนั้นมาจนถึงที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงมิได้ไปปรับณเมืองลพบุรี เมืองสระบุรีแต่ครั้งนั้นมา
* อนึ่งแต่โบราณมา เมื่อยัง (ไม่?) มีอำเภอพระพุทธบาท มีกรมการสำหรับเมืองขีดขินนั้น ๘ คน หลวงสารวัดราชธานีศรีบริบาล ( เปนผู้รั้ง ) คน ๑ ขุนเฉลิมราชปลัดคน ๑ ขุนเทพยกรบัตรคน ๑ ขุนเทพสุภาคน ๑ ขุนจ่าเมืองคน ๑ ขุนสัสดี คน ๑ ขุนอินทรเสนาคน ๑ ขุนพรหมเสนาคน ๑ มีพรานคน ๑
* เมื่อจะพบฝ่าพระพุทธบาทครั้งนั้น ท้าวอภัยทศราชได้เสวย
 
 
 
๕๖
ราชสมบัติในกรุงเทพมหานคร ๔ พระสงฆ์ไปไหว้พระบาทเมืองลังกา จึงมีลายเข้ามาว่า มีพระพุทธบาทอยู่ณกรุงเทพมหานครอยู่ในเขาสัจพันธบรรพต ในแว่นแคว้นปรันตปะนครราชธานีไปจากปรันตปะนครนั้นหนทางประมาณ ๓๐๐ เส้น ครั้นพระสงฆ์กลับเข้ามาแต่เมืองลังกาจึงถวายพระ ( พร ) แก่พระมหากระษัตราธิราชเจ้า จึงให้ไปหาบนยอดเขาสัจพันธ์ ( ได้ทราบ ) เรื่องราวแต่นายพราน ( บุญ ) ซึ่งพบฝ่าพระพุทธบาท ( ว่า ) มีศิลาเปนลิ้นถอดปิดอยู่ มีน้ำขังอยู่ในรอยแต่พอเนื้อนกกินได้ ครั้นนายพรานยิงเนื้อถูกเข้าลำบาก เนื้อนั้นก็วิ่งไปถึงฝ่าพระพุทธบาทได้กินน้ำในรอยก็หายดีไป นายพรานนั้นเห็นเหตุปลาดอยู่ เข้าไปดูเห็นศิลาลิ้นถอดมีน้ำขังอยู่ นายพรานจึงตักน้ำนั้นมากิน นายพรานเปนเกลื้อนกลากก็หายหมด นายพรานจึงวิดน้ำเสียให้แห้งแล้วจึงเห็นพระลักษณสำคัญว่ารอยคนโบราณ นายพรานก็นิ่งความไว้ ครั้นพระสงฆ์ถวายพระพร นายพรานนั้นนำไปพบฝ่าพระพุทธบาท ท่านจึงให้ก่อเปนผนังทำเปนหลังคามุงกระเบื้องไว้อย่างวัดเจ้าพนังเชิง ท่านจึงให้ตั้งขุนหมื่นไว้ให้รักษาพระพุทธบาท เอานามพระสัจพันธฤๅษีตั้ง จะตั้งเปนพระก็ไม่ได้ จะตั้งเปนหลวงก็
 
๔ ที่เรียกท้าวอภัยทศราชตรงนี้ ในพระราชพงษาวดารตรงกับสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
 
 
๕๗
ไม่ได้ ด้วยท่านได้อรหัตแล้ว จึงตั้งเปนขุนสัจพันธคิรี ( ศรีรัตนไพรวัน เจติยาสันคามวาสี) นพคูหาพนมโขลน จึงตั้งหมื่นสุวรรณปราสาท หมื่นแผ้วอากาศ หมื่นชินธาตุ หมื่นศรีสัปรุษ ๔ คนนั้นรักษาพระมณฑป ให้บังคับบัญชาว่ากล่าวปะขาวในมณฑป จึงตั้งนายประตู ๔ นาย หมื่นราชชำนาญทมุนิน ๕ หมื่นอินทรรักษา หมื่นบูชาเจดีย์ หมื่นศรีพุทธบาล จึงตั้งขุนหมื่นรักษาคลัง ๔ นาย ขุนอิน ทรพิทักษ์ ขุนพรหมรักษา หมื่นพิทักษ์สมบัติ หมื่นพิทักษ์รักษาในคลังนั้นแต่ก่อนมีผ้าทรงพระนารายณ์ผืน ๑ ม่านปักวันทองผืน ๑ สำเภาทองมียนต์ลำ ๑ ช้างทองคำตัว ๑ ม้าทองคำตัว ๑ กวางทองคำตัว ๑ ต้นไม้กัลปพฤกษ์ ๓ ต้น เงินต้น ๑ ทองต้น ๑ นากต้น ๑ มีปืนใหญ่ ๒ กระบอก หามแล่น ๒ กระบอก ขานกยาง ๒ กระบอก ๖ กระบอกสำหรับคลัง จึงตั้งหมื่นสนั่นไพเราะ หมื่นเสนาะเวหา พันเสนาะ รองเสนาะ ๔ คนนี้สำหรับประโคมยาม ทั้งกลางวันกลางคืนทุกวันมิได้ขาด ขุนธรรมการนั้นให้ตรวจตราว่ากล่าว พระสงฆ์สามเณรปะขาวรูปชีซึ่งวิวาทแก่กัน เปนกระทรวงธรรมการ มีเสมาธรรมจักรตั้ง พระเสด็จได้ตั้ง หมื่นจิตรจอมใจราชนั้น สำหรับได้ไปเบิกน้ำมันหลวงขึ้นมาตามถวาย
 
๕ สงไสยว่าจะเปน หมื่นบาทมุนินทร์
 
 
๕๘
พระพุทธบาท หลวงจังหวัดไพรี หมื่นศรีไพสณฑ์ เปนพรานสำหรับป่าได้นำเสด็จ หมื่นทิพชลธี หมื่นคิรีคงคา ได้รักษาอ่างแก้วเชิงเขา หมื่นศรีชลธาร ได้รักษาธารทองแดง หมื่นศรีวานร ๖ ได้รักษาตำหนักพระราชวังหลวง ครั้นเพลาเช้าเย็นไล่วานรมารับประทานเข้าสุกทุกเวลากว่าจะเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้ากรุงเทพ มหานคร หมื่นศรีรักษาได้รักษาตำหนักกรมพระราชวังน่า พันบาลอุโบสถ ได้รักษาพระอุโบสถ หมื่นพรหม พันทต พันทอง พันคำ ๔ คน สำหรับได้ว่ากล่าวข้าพระโยมสงฆ์ให้สีซ้อมจันหันนิตยภัตรถวายพระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาอยู่ณเขาจังหวัดพระพุทธบาทองค์ละ ๓๐ ทนาน พระมหามงคลเทพมุนีได้เงินเดือน ๆ ละ ๔ ตำลึง ๑๐ สลึง พระสงฆ์อันดับได้เงินเดือน ๆ ละ ๖ สลึง ขุนหมื่นพันทนายตั้งไว้สำหรับพระพุทธบาท ๒๗ คน
* จึงยกเอากรมการสำหรับปรันตปะนครราชธานีนั้นขึ้นมารัก ษาพระพุทธบาทด้วย หลวงสารวัดราชธานีศรีบริบาลเปนจางวางขุนเฉลิมราชปลัด พันสารวัด ๗ ขุนเทพยกรบัตร ตั้งเปนขุนศรีพุทธ
 
๖ ถ้าเปน หมื่นประธานวานร จะเหมาะกว่า
๗ ตรงนี้จะหมายความว่า ขุนเฉลิมเปนสารวัด ฤๅอย่างไรสงไสยอยู่ แต่ตำแหน่งขุนเฉลิมยังเปนปลัดเมืองพระพุทธบาทมาจนยุบลงเปนอำเภอ
 
 
๕๙
บาลยกรบัตร ขุนเทพสุภานั้น เมื่อเสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการพระพุทธบาทนั้น กับตำรวจใน ๒ คน กำกับกันไปรักษาน้ำศิลาดาษจึงตั้งว่าขุนเทพชลธี หมื่นรองสุภานั้นเปนหมื่นศรีพุทธบาลราชรักษา เปนปลัดขุนยกรบัตร ขุนจ่าเมืองนั้นตั้งเปนขุนชินบาลชาญราชรักษา เปนปลัดขุนสัจพันธคิรี ขุนสัสดีตั้งเปนหมื่นมาศคิรีสมุหบาญชี แต่ขุนอิทรเสนา ขุนพรหมเสนาคงที่เดิมแต่ก่อนมา
* หลวงสารวัตถือตรารูปองคต ขุนสัจพันธคิรีถือตรารูปคน ถือดอกบัวถือเทียนข้าง ๑ ขุนเฉลิมถือตรารูปช้าง ขุนยกรบัตรถือตรารูปคนถือโคม ขุนเทพสุภาถือตรารูปหงษ์ ขุนชินบาลถือตรารูปคนถือดอกบัว ขุนอินทรเสนาถือตรารูปคนถือเชือก ขุนพรหมเสนาถือตรารูปคนถือสมุดเหมือนพระพุทธบาท ถือตรารูปคนถือธง หมื่นมาศคิรีถือตรารูปคนถือสมุด หมื่นสุวรรณปราสาทถือตรารูปมณฑป ขุนอินทรพิทักษ์ถือตรารูปคนถือพาน ขุนพรหมรักษาถือตราบัว หมื่นพิทักษ์สมบัติถือตรารูปสิงห์ หมื่นพิทักษ์รักษาถือตรารุปตะไกร ขุนสารวัต ขุนสัจพันธคิรี ขุนหมื่นทั้งนี้ท่านมหาด ไทยได้ตั้ง แต่ขุนยกรบัตรนั้นท่านกรมวังได้ตั้งแต่เดิมมา
* มีทั้งพระกัลปนาตราพระราชสีห์ พระธรรมนูญ พระธรรมสาตรหลักอินทภาษ ไว้สำหรับให้ว่าเนื้อความตามตำแหน่งเมืองปรันตะปะนครราชธานีแต่ก่อนมาทุก ๆ พระองค์ ซึ่งหลวงสารวัดราช
 
 
๖๐
ธานีศรีบริบาลได้พินัยจ่ายราชการกึ่ง ๑ ขุนสัจพันธคิรีได้ค่าที่นั่งตำลึง ๑ ขุนยกรบัตรได้ค่าที่นั่ง ๘ สลึง ถ้าเปนความแพ่งได้ค่า ที่นั่งกึ่ง ๑ เปนอย่างธรรมเนียมสืบ ๆ กันมา จนถึงที่นั่งสุริยา มรินทร์
ถ้าแลผู้ใดมิใช่ภูมิชาติจะได้รู้จักตำแหน่งปรันตปะนครนั้นหามิได้ ด้วยตำแหน่งเมืองตกมาช้านาน แต่ครั้งพระยากาลราชนั้นแล้ว๘ เมืองนั้นมีคู ๒ ชั้น มีประตู ๔ ประตู ๆ ซอง ๑ ประตูไชย ๑ ประตูน้ำ ๑ ประตูผี ๑ มีเสามีประตู ๔ ประตู ตะลุงช้างเผือกโคกปราสาทเสา ๑ มีศีศะคนโบราณอยู่ศีศะ ๑ ใหญ่ประมาณ ๘ กำ มีตำแหน่งวัด ๑๕ วัด วัดธรรมเสนา ๑ วัดสาร ภี ๑ วัดสัก ๑ วัดมหาโลก ๑ วัดโกคบ้านหมอ ๑ วัดหัวตะพาน ๑ วัดแจงนางเพียร ๑ วัดนางผล ๑ วัดเกต ๑ วัดสุด ๑ วัดขวิด ๑ วัดหลวง ๑ วัดนาค ๑ วัดพระนอน ๑ วัดพี่น้อย ๑ วัดนนทรี ๑ มีตำแหน่งน่าบ้าน ๒๑ บ้าน บ้านตลาดน้อย ๑ บ้านวัดตะพาน ๑ บ้านขนอนสาซ่อง ๑ บ้านใหญ่ ๑ บ้านโขมด ๑ บ้านน้อย ๑ บ้านเกาะสารภี ๑ บ้านไร่ ๑ บ้านกระมัง ๑ บ้านปลาขวัญ ๑ บาง
 
๘ เมืองปรันตปะที่ว่านี้ ก็คือเมืองขีดขิน เปนเมืองโบราณ ว่า ยังมีเชิงเทินดินเปนเค้าอยู่ อยู่ไม่ห่างบางโขมด
 
 
 
 
๖๑
ยานี ๑ บางขมิ้น ๑ บ้านมาบโพ ๑ บ้านขวาง ๑ บ้านมะกอก ๑ บ้านหมอ ๑ บ้านหนองจิก ๑ บ้านหนองสระแก ๑ บ้านเคร่าครับตัง ๑ แต่เมืองนครขีดขินออกไปถึงพุสงครีบหนทาง ๔๕ เส้น แต่พุสงครีบไปถึงพุนารายณ์หนทาง ๓๐ เส้น แต่พุนารายณ์ไปถึงธารถวายศรหนทาง ๒๐๐ เส้น
* อนึ่งตำแหน่งได้ทำทำนบน้ำธารทองแดงนั้น คือ ฤทธานนท์พนพิจิตร หลวงศรียศ ได้คุมไพร่หลวงขึ้นมาทำทำนบธารเกษมสำหรับตำบลนั้น เมืองลพบุรีได้ทำทำนบศิลาดาดข้างใต้นั้น ข้าพระพุทธบาทได้ทำทำนบสวนมลิ ทำนบเจ้าพระน่าเมืองนั้น เมืองสระบุรีได้ทำอัน ๑
* ตำแหน่งทำทางรับเสด็จพระราชดำเนินนั้น ข้าพระพุทธบาทได้ทำแต่ลานพระลงไปถึงตำหนักนารายน์เปนเจ้าท้ายสระยอ แต่สมเด็จนารายน์เปนเจ้าลงไปถึงโป่งนางงามนั้น เมืองลพบุรีได้ทำแต่โป่งนางงามลงไปถึงบางโขมดนั้น ข้าหลวงผู้กำกับกรมการหัวเมืองบรรดาซึ่งมาคอยรับเสด็จนั้น ได้ช่วยกันระดม ( ทำ ) แต่บางโขมดลงไปมาบกระทุ่มนั้น เมืองสระบุรีได้ทำ แต่มาบกระทุ่มลงไปถึงท่าเจ้าสนุกนั้นขุนนครได้ทำ
* ครั้นเสด็จพระราชดำเนิน ขุนเฉลิม ขุนหมื่นทั้งปวงได้รับเสด็จที่ตำหนักนารายน์ ครั้นเสด็จขึ้นมาถึงพระพุทธบาทแล้ว
 
 
๖๒
เมืองลพบุรีได้ไปจุกช่องน่าวัด เมืองสระบุรีได้ไปจุกช่องทางเขาขาด เมืองไชยบาดาลได้ไปจุกช่องทางทุ่งแฝก ตำรวจ ๓ คน กับหมื่นสุวรรณปราสาท หมื่นชินธาตุ หมื่นศรีรักษา ลงไปตั้งด่านอยู่เขาตก เมืองลพบุรีตั้งด่านอยู่ห้วยมันหวาน ได้ตรวจดูลูกค้าวานิชเอาเต่าปลาไก่นกสัตว์อันมีชีวิตรขึ้นมาซื้อขาย ให้จับเอาตัวไว้ทำโทษตามข้อละเมิด ผู้ใดไปมาผิดเวลาให้คุมเอาตัวไปส่งให้กะหลวงพัน๙ เมื่อจะเสด็จพระราชดำเนินกลับลงไปนั้น แต่บรรดาข้าทูลลออง ฯ ซึ่งตามเสด็จพระราชดำเนินไปนั้น ให้ดูตราขุนพรหมจงทุกคน ถ้าผู้ใดมิได้เสียค่าพระกัลปนา มิได้มีโฉนดฎีกาขุนพรหมเสนาลงไปให้เอาตัวไว้ เรียกเอาค่าพระกัลปนาเฟื้อง ๑
* อนึ่งเมื่อจะขึ้นไปนมัสการนั้น ห้ามมิให้แปลกปลอมกัน ให้พระสงฆ์สามเณรไปเพลา ๑ ผู้ชายผู้หญิงไปเวลา ๑
* อนึ่งบนทักษิณนั้นท่านห้ามมิให้ผู้ชายผู้หญิงขึ้นไปพูดจากันแต่สองต่อสอง ถ้าผู้ใดมิฟังมีผู้จับตัวได้เอาไปส่งให้ขุนกรมการ ๆ เอาตัวไปมัดไว้วิหารพระป่าเลไลย
* อนึ่งเมื่อจะเสด็จขึ้นนมัสการนั้น ขุนอินทรพิทักษ์ชาวคลัง ขุนพรหมพิทักษ์ชาวคลัง เชิญเอาผ้าทรงพระนารายณ์กับม่านปักวันทองกับสำเภาทองยนต์ขึ้นมาไว้รับเสด็จ ครั้นเมื่อเสด็จออก
 
๙ ส่งให้ใครตรงนี้ตีความไม่ออก
 
 
๖๓
จากมณฑปแล้วทรงนั่งอยู่ที่ทักษิณ ขุนอินทรพิทักษ์ ขุนพรหมรักษาจึงเอาพระกัลปนาออกมาส่งให้ราชบัณฑิตย์ถวาย
* ในต้นพระกัลปนานั้นว่า พระตรีภูวนารถพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว คือองค์สมเด็จพระนารายณ์ผู้ทรงทศพิธราชธรรมอันมหาประเสริฐ มีพระราชโองการสุรสิงหนาทดำรัสสั่ง ให้ชุมนุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตย์ปโรหิตพราหมณ์ ให้ตั้งพระกัลปนาตราพระราชสีห์ไว้สำหรับพระพุทธบาท อย่าให้ผู้ใดกะเกณฑ์เอาไพร่ข้าพระโยมสงฆ์ไปใช้สอยนอกกว่าพนักงาน ห้ามมิให้ผู้ใดเอาไปทำตพานบางโขมด ถ้าแลผู้ใดมิฟังเบียดเบียนบังเอาไพร่ข้าพระโยมสงฆ์ไปเปนอาณาประโยชน์ของตัวนั้น ให้ตกนรกแสนกัลป์ อนันตชาติอย่าได้รู้ผุดรู้เกิดเลย ให้เกิดฉันวุฒิโรค ๙๖ ประการ ตามสังหารผลาญชีวิตรบุคคลผู้นั้นให้ฉิบหายไป ด้วยราชภัย โจรภัย อุทกภัย ปีศาจภัย ถ้าแลผู้ใดจะไปทำมาหากินในท้องอำเภอพระพุทธบาท ทำไร่นาตัดเสาตัดหวายตัดฟืนทำยางฉีกตอกลอกเชือกสารพัดการทั้งปวง แต่ไม้ท่อนฟืนดุ้น ๑ ก็ให้ขุนอินทรเสนา ขุนพรหมเสนา เรียกเอาหัวป่าค่าที่เปนค่าพระกัลปนามาแบ่งเปน ๓ ส่วน เปนของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้ใดเรียกนั้นได้รับพระราชทาน ๑๐ ลด ๑ ถ้าแลผู้ใดมิได้เสียค่าพระกัลปนา ท่านแช่งไว้ให้ตกนรกแสนกัลป์อนันตชาติอย่าได้รู้ผุดรู้เกิดเลย ให้ฉิบหายไปด้วยภัยต่าง ๆ
 
 
๖๔
ถ้าแลผู้ใดรุกที่ดินรุกแดนของพระเจ้าไปชั่วองคุลี ๑ ก็ดี ชั่วเม็ดเข้าเปลือก ๑ ก็ดี ให้ผู้นั้นตกนรกหมกไหม้ในมหาอเวจีแสนกัลป์อนันตชาติอย่าให้รู้ผุดรู้เกิดเลย ให้เกิดฉันวุฒิโรค ๙๖ ประการ ตามสังหารผลาญชีวิตรบุคคลผู้นั้น ให้ฉิบหายไปด้วยภัยต่าง ๆ ดุจพรรณามาแต่หลัง ถ้าไพร่ข้าพระโยมสงฆ์เกิดวิวาทแก่กันขึ้นกับข้าหลวงและสังฆภัตรด้วยความสิ่งใด ๆ โจทย์จับช้างม้าโค กระบือแก่กันก็ดี ถ้าแลพิจารณาเปนสัตย์ ถ้าข้าพระแพ้ส่งสัตย์ไปปรับ ปรับมามีแต่สินไหม พินัยท่านให้ยกเสีย ท่านว่าข้าพระนั้นเปนข้าหลวงใหญ่ ถ้าแลข้าหลวงแพ้ปรับมามีทั้งสินไหมพินัย จะพรรณาไปให้สิ้นในพระกัลปนานั้นมากนักจำไม่ได้
* แต่หัวป่าค่าที่นาคู่ละ ๑๐ สลึง ที่อ้อยไร่ละบาท ทำยางนั้น ๕ วันไปตักครั้ง ๑ ได้มา ๒ หาบ เรียกปี ๑ เอา ๒ สลึง ตัดไม้แต่พร้าแบกปี ๑ เอา เฟี้อง ๑ ถ้าตัดเสาเปนไม้ใหญ่ปี ๑ เอา ๒ สลึง ถ้าตัดสีฟันตัดหวายฉีกตอกลอกเชือกสารพัดการทั้งปวง ถ้าผู้ชายเอาสลึง ๑ ถ้าผู้หญิงเอา เฟื้อง ๑ ที่ตลาดนั้นร้านละ ๒ สลึง หาบของมาขายเอา เฟื้อง ๑ ยกพระราชทานให้หมื่นสนั่นพันเสนาะให้เปนพกหมากด้วยคน ๔ คนนี้ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการนั้นให้ตระเวนไฟตามถนนตลาด ได้ตรวจตราว่ากล่าว แล้วได้เก็บดอกไม้ทูลเกล้า ฯ ถวายทุกวันมิได้ขาด
 
 
 
๖๕
* ขุนหมื่น ทั้งนั้นโปรดให้พระราชทานสัตโทรปี ๑ เอาเงินมาให้คน ๑ ตำลึง ๒ บาท ไม่ได้ทำราชการเลยขาดตัวทีเดียว หลวงสารวัด ๘ คน ขุนสัจพันธคิรี ๘ คน ขุนยกรบัตร ๖ คน ขุนเฉลิม ๖ คน ขุนเทพสุภา ๒ คน ขุนชินบาล ๒ คน หมื่นศรีพุทธบาท ๒ คน หมื่นมาศคิรี ๒ คน หมื่นศรีสุวรรณปราสาท ๒ คน รวม ๑๐ คน ขุนหมื่นทั้งนั้นได้คนละคน ขุนอินทรพิทักษ์ ๑ ขุนพรหมรักษา ๑ ขุนพิทักษ์สมบัติ ๑ หมื่นทิพรักษา ๑ สี่คนนี้ได้คนยกในเดือน ๆ ละคน เข้าเดือนเปน ๑๐ ลด
* แต่ก่อนมาท่านตั้งง่าวข้าพระไว้ ๓ คน ปะขาวน้อย ๑ ปะขาว มะ ๑ ปะขาวหมัง ๑ ถ้าแลวิวาทกันด้วยข้าพระโยมสงฆ์ สมสังกัดพรรค์จะแบ่งปันฝ่ายพ่อแม่ว่ากล่าวมิตกลงกัน ให้ถามท่านผู้เฒ่า ๓ คนนั้น ว่าพ่อเปนข้าพระ แม่เปนข้าหลวงฤๅ ถ้าแลท่านทั้ง ๓ คนนั้นว่าพ่อเปนข้าพระ แม่เปนข้าหลวง จึงให้แบ่งปันกันฝ่ายพ่อแม่ ด้วยท่าน ๓ คนนั้นรู้จักพงษาวดาร ว่าลูกคนนั้นหลานคนนั้น ๆ เปนปู่ย่าตายาย ได้รู้จักกำเนิดทั้งนั้นมาท่านตั้งไว้เปนง่าวข้าพระสืบต่อมา ถ้าแลไพร่ข้าพระโยมสงฆ์ไปต้องทุกขยากอยู่ที่ใดตำบลใด ให้เอาเงินของพระไปช่วยไถ่เอาไว้คงหมู่
 
 
 
๖๖
* เมื่อครั้งเกิดศึกกลางเมืองนั้น ๑๐ ขุนโขลนพาคุมเอาไพร่ข้าพระไปช่วยรบร้อยหนึ่ง ครั้นสำเร็จราชการแล้ว จึงพระราชทานถาดหมากคนโทให้ แล้วพระราชทานให้มีคนสำหรับตามหลังไปกิจราชการ ๓๐ คน จึงพระราชทานเงินหลวงขึ้นมา ๑๐ ชั่ง ให้ไปช่วยไถ่แต่บรรดาผู้ได้ไปต้องทุกขยากอยู่ จะเปนไพร่หลวงสมสังกัดพรรค์ก็ดี ซึ่งเจ้าขุนมูลนายมิได้ช่วยไถ่แล้วนั้น ให้ไปช่วยไถ่เอามาไว้เปนข้าพระไถนาหลวง เอาขึ้นถวายพระสงฆ์ปีละ เกวียนตวงด้วยทนานพัน แต่นั้นมาข้าพระจึงมากขึ้น แต่คนฉกรรจ์ถึง ๖๐๐ ครัว ขุนธรรมการ ๑ หมื่นศรีเกิด ๑ ปะขาวอยู่ ๑ อำแดงมอน ๑ ปะขาวด้วง ๑ นายดิศ ๑ พันทอง ๑ พันคำ ๑ พันจัน ๑ อำแดงเพียน ๑ นั้นก็เอาเงินพระเงินหลวงช่วยไถ่ เมื่อครั้งเจ้าเสียนั้น ๑๑ เงินหลวงช่วยไถ่ ๑๐ ครัว แต่บรรดาเงินพระเงินหลวงช่วยไถ่มานั้นหลายครัวจำไม่ได้
* แต่เปนที่ขุนโขลนมานั้นมากมายหลายคนแล้ว ขุนโขลนป่าชมภู่นั้นเดิมเปนราชาบาลอยู่ก่อน ครั้นมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ขึ้นเปนผู้รั้งอยู่ณเมืองนครราชสิมาได้ปีหนึ่ง หลวง
 
๑๐ เข้าใจว่าคราวสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ รบกับเจ้าฟ้าอภัย เจ้าฟ้าปรเมศรวร์
๑๑ น่าจะเปนเจ้าเสือ หมายความว่าสมเด็จพระเจ้าเสือ
 
๖๗
มหาดไทยนอกราชการมีตราให้หาลงมา จึงเปนที่ขุนโขลน ๆ เก่านั้นขัดรายผู้ร้ายไว้ ท่านว่าขัดพระราชโองการ จึงให้พิพากษาโทษไว้ครั้งหนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ไปเปนผู้รั้งณเมืองเพ็ชรบูรณ์ แต่เปนขุนโขลนมาในครั้งบรมโกษฐ ๖ คน เมื่อครั้งสุริยามรินทร์ ๔ คน ขุนยกรบัตร ๒ คน ขุนยกรบัตรปู่ปะขาวเท้งนั้น ขุนยกรบัตรปู่ขุนธรรมการนั้น นานมาจึงถึงขุนยกรบัตรบุญรอดนั้น เปนข้าหลวงกำกับเมื่อครั้งพระลายจักรหายนั้น ท่านให้พระยายมราชกำกับพิจารณา เอาข้าพระมามัดผูกตีโบยที่ตึกสวนมะพร้าว เพลากลางคืนนั้นพระธาตุเสด็จออกจากยอดพระมณฑปใหญ่ประมาณเท่าลูกมะขวิด ครั้นถึงสวนมะ พร้าวนิ่งลอยอยู่บนอากาศจึงหายไป พระยายมราชนั้นก็เกิดวิปริตต่าง ๆ
* แต่ก่อนมีทั้งบ่อนเบี้ยนายอากรเหล้า เมื่อครั้งขุนไชยบาลนายอากรเหล้าฟ้องหากล่าวโทษนายลิ้มกับผู้มีชื่อ ๔ คนว่าต้มเหล้าจึงมีตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ขึ้นมาให้พิจารณาตามกระทรวง ครั้นขุนหมื่นกรมการข้าพระพุทธบาทพิจารณาตามท้องตรา โจทย์จำเลยมีคำต่อกันไปมา พิจารณาไม่ตกลงกัน จึงบอกส่งลงไปยังท่านลูกขุนณศาลา ท่านจึงส่งคู่ความไปยังศาลพระพัศดี ครั้นถึงศาลโจทย์จำเลยสมัคพรรคพวกกับจำเลย ๔ คน เสียเงินคนละ ๙ ตำลึง ๔ คนเปนเงิน ๑ ชั่ง ๑๖ ตำลึง
 
 
๖๘
* แต่โบราณมามีต้นไม้ต้น ๑ ใหญ่ประมาณ ๓ อ้อม มีดอกเท่าฝาบาตร ครั้นเพลาเช้าเพลาเย็นบาน กลางวันตูม เมื่อจะบานนั้นหันน่าดอกเข้าไปข้างพระมณฑปทุกเพลา มีสัณฐานดอกนั้นเหมือนดอกทานตวัน ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าแตงโม ทำมณฑปขึ้นไปว่าต้นไม้นั้นกีดทรงพระมณฑปอยู่ จึงฟันต้นไม้นั้นเสีย แต่วันนั้นไปท่านสมเด็จพระเจ้าแตงโมก็ตั้งแต่ลงโลหิตไปจนเท่าวันตาย ๑๒
* พระมณฑปนั้นสูง ๑๘ วา ๒ ศอกคืบ เงินดาดพื้น ๖๐๐ ชั่ง กระจกปูผนังข้างในใหญ่ ๓ ศอกคืบ ๔ เหลี่ยมจัตุรัส กระจกประดับผนังข้างนอก ๑๘๐ แผ่น กระจกประดับเสาใน ๓๒๐ ทองคำปูหลังคาลงมา ๖๒ ชั่ง ทองคำเปลว ๒๙๔๖๐๐ แผ่น
 
๑๒ สมเด็จเจ้าแตงโมนี้ มีเรื่องตำนานทางเมืองเพ็ชรบุรี ว่าเปนชาวบ้านหนองหว้า มาบวชเปนเณรอยู่วัดใหญ่ แล้วเข้ามาอุปสมบทอยู่กรุงเก่า มีคุณวิเศษจนถึงได้เปนสมเด็จพระสังฆราช จึงกลับ ไปบุรณวัดใหญ่แลวัดหนองหว้าที่เมืองเพ็ชรบุรี ยังมีตำหนักแลรูปหล่อของสมเด็จเจ้าแตงโมอยู่ที่วัดใหญ่จนทุกวันนี้ ในหนังสือพระราชพงษาวดารตอนแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ มีปรากฎว่า สมเด็จพระสังฆราชรับออกไปเปนแม่การปฏิสังขรณ์ที่พระพุทธบาท เข้าใจว่าคือสมเด็จพระสังฆราชแตงโมองค์นี้
 
 
๖๙
* ขุนหมื่นรักษาพระตำหนักพระนครหลวง ขุนพรหมมนตรีคน ๑ ขุนทิพมนตรี ๑ ขุนเทพมนตรี ๑ รวม ๓ ขุนทิพราช ๑ ขุนเทพราช ๑ รวม ๒ หมื่นอินทร์ ๑ หมื่นพรหม ๑ รวม ๒ เปนธรรมเนียมมาแต่ครั้งบรมโกษฐมาจนถึงที่นั่งสุริยามรินทร์
* เมืองนครขีดขิน ในพระบาฬีเรียกว่าปรันตปะนครราชธานี จึงตั้งสมเด็จเจ้า ตั้งว่า พระมหามงคลเทพมุนีศรีรัตนไพรวันปรันตประเทศ เขตรอรัญวาสี ( บพิตร ) เมืองลพบุรีในพระบาฬีเรียกว่าเมืองสังฆปัต จึงตั้งสมเด็จเจ้าตั้งว่า พระสังฆราชา
* พระมณฑปแต่ในลานกว้าง ๓ ศอก คืบ ๔ เหลี่ยมจัตุรัส แต่พชนออกไปถึงผนัง ๕ ศอก ข้างพระบาทออกไปถึงผนังขวา ๖ ศอกคืบ ซ้าย ๖ ศอกคืบ พระบาทยาว ๓ ศอก ๑ ( ฉบับลบ )
* ครั้งนั้นขุนเทพสุภาคน ๑ นายบุนนาคคน ๑ กับผู้มีชื่อ ๓ คนคบคิดกันเปนสมัคพรรคพวกพากันลงไปตีเกวียนชาวสัปรุษ ที่ทุ่งงิ้ว จับตัวได้ส่งไปชำระเปนสัตย์ ทรงเห็นว่าขุนเทพสุภากับผู้มีชื่อ ๓ คน ทำละเมิดพระราชกำหนดกฎหมายให้เปนเสี้ยนหนามกับพระสาสนา จึงสั่งให้ลงพระราชอาญาตามโทษานุโทษ แต่ขุนเทพสุภานั้น ทรงพระกรุณาโปรดให้ตัดตีนสินมือเสียจนสิ้นชีวิตร แต่นายบุนนาคกับผู้มีชื่อ ๓ คนนั้น ให้ตัดศีศะเสียบไว้ที่ตะพานบางโขมด
 
 
 
๗๐
คำให้การนายจาด เรื่องเหตุการณ์ในเมืองพม่า
เมื่อพระเจ้าเม็งดงทิวงคต
 
* ข้าพเจ้า นายจาด เปนข้าเดิมในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธร ได้จดหมายเหตุเรื่องเมืองพม่า ที่ข้าพเจ้าได้ทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ เมื่อข้าพเจ้าไปอยู่ที่เมืองพม่านั้น เดิมข้าพเจ้าออกจากกรุงเทพ ฯ ลงปากใต้ไปพักอาไศรยอยู่ที่เมืองตะกั่วป่าเดือนเศษ
* ครั้นณวัน ๗ ๒ ค่ำปีจอฉศก จุลศักราช ๑๒๓๖ ข้าพเจ้าโดยสานเรือกลไฟชื่อ อนันต์ออฟไอรอน เปนเรือเมล์ของอังกฤษ ๆ ใช้จักรออกจากปากน้ำเมืองตะกั่วป่ามาทางทเล ๖ วัน เข้าเมืองระนอง เมืองมลิวัน เมืองมฤท เมืองทวาย ออกจากเมืองทวายวันกับคืนหนึ่งถึงเมืองร่างกุ้ง ขึ้นพักอยู่ที่โฮเตลในเมืองร่างกุ้งขวบอาทิตย์หนึ่ง จึงโดยสานเรือกลไฟเมล์อังกฤษ ขึ้นไปเมืองอังวะ เมื่อเรือกลไฟใช้จักรออกจากเมืองร่างกุ้งขึ้นไปตามลำแม่น้ำพม่านั้น ข้าพเจ้าได้ตรวจนับเมืองตามรายทางขึ้นไปได้ ๒๘ เมือง แต่เรือกลไฟใช้จักรขึ้นไปได้ ๑๕ วัน ถึงเมืองอังวะเก่า แล้วใช้จักรต่อไปอิกครู่หนึ่งถึงเมืองอังวะใหม่ ชื่อ
 
 
 
 
๗๑
มันทลีรัตนภูมิ ๑ เมืองใหม่ห่างจากเมืองเก่าทางไกล ๑๒๕ เส้น ข้าพเจ้าได้ขึ้นพักอยู่ที่บ้านเจ้าท่าคืน ๑ รุ่งขึ้นมีพม่าที่เปนพ่อค้าเศรษฐีแลขุนนางแต่ล้วนที่เปนเชื้อชาติไทย พากันมาเยี่ยมเยียนทักถามทุกข์แลศุขวันยังค่ำจึงสิ้นคนมาเยี่ยมเยียน ครั้นเวลาค่ำ ๒ ทุ่ม มองสวัสดีเศรษฐีใหญ่ในเมืองพม่า แต่เปนหลานเหลนเชื้อชาติไทยครั้งกรุงเก่า เอารถเทียมม้าเทศคู่หนึ่งมารับเชิญข้าพเจ้าให้ไปอยู่บ้านเขา ข้าพเจ้าก็ไปอยู่บ้านมองสวัสดี ๆ พูดภาษาไทยไม่ได้ มีพระสงฆ์มาเยี่ยมเยียนทักถามข่าวทุกข์แลศุขโดยภาษาไทยหลายองค์ ได้พักอยู่ที่บ้านมองสวัสดี ๔ วัน แล้วมีขุนนางพม่ามากับมองสะไดล่ามสะกาเบียน มาแจ้งความว่าแมงงีโปเจ้าพระยากรมท่าให้หาตัวเข้าไปในพระราชวัง ข้าพเจ้าก็ไปกับขุนนางแลล่ามพนักงาน เข้าไปหาแมงงีโป ๆ นั่งอยู่บนเตียงติดทองคำเปลวปูพรมมีเบาะด้วย แมงงีโปเจ้าพระยากรมท่าสั่งให้มองสะไดล่ามไต่ถามกิจการทั้งปวงในกรุงสยาม ฝ่ายข้าพเจ้าก็ได้ให้การบ้านเมืองพอสมควรแก่ภูมรู้ของราษฎร แล้วแมงงีโปเจ้าพระยากรมท่าให้ล่ามถึงข้อราชการแผ่นดินสยาม แลพระมหากระษัตริย์เจ้านายขุนนางไทยอย่างไร ข้าพเจ้าว่าเปนแต่ราษฎรพ่อค้าหาทราบข้อราชการโดยเลอียดไม่ ทราบแต่หยาบ ๆ ได้บอกข้อราชการบ้างเล็กน้อย แลการสาสนาบ้าง การค้าขายบ้าง
 
๑ ที่ฝรั่งเรียกว่ามันดะเล
 
๗๒
ตามควร แมงงีโปสั่งให้เสมียนจดหมายถ้อยคำที่ข้าพเจ้าให้การนั้น จดลงบานแพนกนำขึ้นกราบทูลพระเจ้าอังวะ ๒ ๆ มีรับสั่งให้หาข้าพเจ้านัดวันจะให้เข้าเฝ้า ครั้นถึงกำหนดเจ้าพนัก งานมาพาข้าพเจ้าไปเฝ้าที่น่าพลับพลา ในสวนดอกไม้ในพระราช วัง พร้อมด้วยเจ้านายขุนนางเปนอันมาก ขุนนางพม่าไม่ได้หมอบเฝ้า นั่งพับพะนางเชิงพนมมือเหมือนท่าเทวดานั่ง พระเจ้าอังวะทรงพระภูษาลายทองกงจักร ทรงฉลองพระองค์ปักทองอย่างพม่า ทรงพระภูษาโปร่งปักทองพันพระเกษา ทรงนั่งขัดสมาธิ์อยู่บนพระแท่นสามชั้น ปิดทองคำใต้พระมหาเสวตรฉัตร เก้าชั้น มีนางพนักงานเชิญพระแซ่หางนกยูงอยู่สี่ทิศพระที่นั่งเสวตฉัตร มีขุนนางฝ่ายนายทหารรักษาพระองค์นับไม่ถ้วนล้วนแต่แต่งกายมีสง่าทั้งสิ้นด้วยกัน เฝ้าล้อมรักษาพระองค์เปนอันดับตามตำแหน่ง พระเจ้าอังวะตรัสสั่งแก่แมงงีโปเจ้าพระยากรมท่า ให้สั่งมองสะไดล่ามถามข้าพเจ้าว่า พระพุทธสาสนาวัฒนาบริบูรณ์อยู่ฤๅ
 
๒ พระจ้าอังวะพระองค์นี้ พระนามเดิมว่า มังลวิน เสวยราชย์เมื่อปีชวด จุลศักราช ๑๒๑๔ พ.ศ. ๒๓๙๕ เปนรัชกาลที่ ๑๐ ใน ราชวงษ์อลองพญา ถวายพระนามเมื่อราชาภิเศกว่า พระเจ้าศิริบวรวิชยานันทยศ บัณฑิตมหาธรรมราชาธิราช แต่คนทั้งหลาย เรียกว่าพระเจ้ามินดง เพราะเหตุที่ได้เมืองมินดงเปนเมืองส่วยเมื่อก่อนเสวยราชย์
 
๗๓
ข้าพเจ้าก็ตอบพอสมควรที่รู้เห็นเปนราษฎร พ่อค้าไม่ใช่นักปราชญ์ราชบัณฑิตย์ แล้วรับสั่งถามถึงกิจราชการบ้านเมืองสยามทั้งปวง ข้าพเจ้าก็บอกแก่ล่าม ให้กราบทูลตามที่ข้าพเจ้ารู้เห็นพอควรแก่สติปัญญาประเภทพ่อค้า ไม่ทูลให้เหลือเกิน พระเจ้าอังวะพระราชทานเสื้อผ้าปะโสปะวา ๔ สำรับ กับเงินเหรียญพม่า ๕๐๐ เหรียญ เจ้าพนักงานออกมาส่งให้ต่อน่าพระที่นั่งที่นั่น ข้าพเจ้าก็กราบถวายบังคมสามที แล้วรับเอาของพระราชทานทูนศีศะเดินเข่าถอยหลังออกจากน่าพระที่นั่งห่าง ๔ ศอกก็นั่งลงดังเก่า พระเจ้าอังวะมีรับสั่งแก่แมงงีโปว่า ให้ล่ามว่าจะให้เปนครูอยู่สอนหนังสือไทยพวกเด็กบุตรขุนนางสักสามสิบคนจะได้ฤๅไม่ได้ ข้า พเจ้าตอบว่าจะรับสนองพระเดชพระคุณสอนให้พออ่านได้ แล้วก็จะขอถวายบังคมลากลับไปปฏิบัติบิดา มารดา ยังบ้านเมืองสยาม พระเจ้าอังวะได้ทรงทราบแล้ว จึงมีรับสั่งให้แมงงีโปจัดบุตรขุนนางที่มีอายุ ๑๐ ปี ๑๑ ปี ๑๒ ปี ๓๐ คน มามอบให้ข้าพเจ้าสอนหนังสือไทย แล้วก็เสด็จคืนเข้าไปในพระราชวัง ข้าพเจ้าก็มาพักอยู่ที่บ้านมองสวัสดีได้ ๑๐ วัน แมงงีโปไปให้คนมาเรียกข้าพเจ้าไปยังบ้านบอกว่าพระเจ้าอังวะมีรับสั่งโปรดเกล้า ฯ มาว่าให้ท่านมาอยู่กินที่บ้านของเราเถิด จะได้สั่งสอนหนังสือไทยแก่เด็กทั้ง ๓๐ คน ตั้งแต่วันนั้นข้าพเจ้าก็ไปอยู่ที่บ้านแมงงีโปเจ้าพระ
๑๐
 
 
๗๔
ยากรมท่า แลได้สั่งสอนหนังสือไทยแก่เด็กพม่า ๓๐ คนช้านาน ๖ ปีเศษ พระเจ้าอังวะพระราชทานเงินเดือนให้เปนค่าสอนหนังสือเด็กพม่านั้นเดือนละ ๒๕๐ รูเปีย ค่าเบี้ยเลี้ยงเดือนละ ๑๐๐ รูเปีย รวมเปนเงินเดือน ๆ ละ ๓๕๐ รูเปีย ถ้ามีกิจราชการใด ๆ ได้เฝ้า ก็ได้พระราชทานเงินตราเสื้อผ้าเปนรางวัลต่างหากทุกครั้งไปมิได้ขาด แต่ข้าพเจ้าอยู่เมืองพม่าได้ ๕ ปีเศษ จนพูดภาษาพม่าได้
* ครั้นถึงวัน ๘ ค่ำปีขาลสัมฤทธิศกจุลศักราช ๑๒๔๐ เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในกำแพงเมืองมันทลีรัตนภูมิ ซึ่งเปนพระมหานครของพระเจ้าอังวะ ๓ ขณะนั้นลมพัดกล้าจัดนัก ไฟลุกลามไปติดบ้านขุนนางถึง ๖๗ บ้าน วังเจ้า ๑๓ วัง บ้านราษฎรกว่า ๑๐๐ เศษ ลูกไฟไปตกลงเรือนใกล้คลังน้ำมันดิน ไฟไหม้คลังน้ำมันดินเปลวไฟลุกกระพือขึ้นบนอากาศ เสียงดังเหมือนเสียงช้างร้อง เจ้านายขุนนางแลราษฎรชายหญิงขนของใส่ล้อเกวียน แลรถแลช้างจะ หนีไฟ ขณะเกิดโจรผู้ร้ายตีชิงวิ่งราว แย่งเอาเข้าของทองเงินของผู้ที่หนีไฟไปได้เปนอันมาก แมงฆองวุ่นเจ้าพระยากรมเมืองเร่งทหารเข้าดับไฟเปนอลหม่าน ไฟนั้นยังไม่หยุด ลุกลามไหม้ต่อไปติดซุ้มประตูหลายประตู แล้วไฟติดพระมหาปราสาท
 
๓ เมืองมันทลิรัตนภูมินี้ พระเจ้ามินดงสร้างขึ้นปีวอกจุลศักราช ๑๒๒๒ พ.ศ. ๒๔๐๓
 
๗๕
พังทลายลง ปราสาทหนึ่งเปนพระมหาปราสาทสำหรับประทับทอดพระเนตรจัดกระบวนแห่ ไฟไหม้วันนั้นดับต่อเวลาย่ำค่ำสิ้นเชิง
* ณวัน ๙ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศกนั้น บัวหลวงที่ปลูกไว้ในคูคลองรอบกำแพงพระนครนั้น ก็อาเภทเหี่ยวแห้งตายสิ้น ไม่ทราบว่ามีเหตุประการใด
* ณวัน ๑๐ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศกนั้น พระเจ้าอังวะทรงพระประชวรพระโรคตกมูกตกเลือด พระอาการให้ปวดพระนา ภีเปนกำลัง ฝ่ายแพทย์หมอประกอบพระโอสถถวายเสวยหลายเวลาพระอาการไม่คลาย ฝ่ายข้าราชการผู้ใหญ่ผู้ใหญ่ผู้น้อยมานอนประ จำซองอยู่ในพระราชวัง ๑๐๐๐ เศษ ท่านกิววะเมนยีที่เจ้าพระยากลาโหม สั่งให้ทหารมาประจำอยู่ในพระราชวัง ๕๐๐๐ นอกพระราชวัง ๕๐๐๐
* ครั้นณวัน ๑๐ ค่ำ พระโรคกำเริบพระอาการหนักไปเสวยไม่ได้ประธมไม่หลับ พระอาการให้อ่อนระทวยไป จะลุกนั่งต้องพยุงพระกาย ในวันนั้นมีรับสั่งให้หาท่านกิววะเมนยี ๔ ที่เจ้า พระยากลาโหมให้เข้าไปเฝ้าข้างในบนพระมหาปราสาท ที่ทรงพระประชวรนั้น พระเจ้าอังวะทรงปฤกษาข้อราชการแผ่นดินด้วย
 
๔ ฝรั่งเรียกว่า "เกงหวุ่นเม็งยี''
 
 
๗๖
กิววะเมนยี มีรับสั่งว่าเราป่วยครั้งนี้ก็เปนทุกข์หนักใจอยู่ เห็นว่าอายุจะสั้นจะไม่คืนคงอยู่รักษาแผ่นดินได้เปนแน่แล้ว เราคิดว่าจะตั้งเจ้าสิมโปราชโอรสผู้ใหญ่ของเรา ให้เปนที่อุปราชเสียก่อนทันตาต่อหน้าเราเห็นด้วย แล้วจะได้รักษาแผ่นดินสืบวงษ์ต่อไป ๕ ท่านจะเห็นเปนอย่างไรให้ว่ามาตามที่เห็นของท่าน ฝ่ายกิววะเมนยีที่เจ้าพระยากลาโหม จึงกราบทูลว่าควรแล้ว พระเจ้าอังวะมีรับสั่งแก่กิววะเมนยีว่า ท่านเห็นชอบแล้วจงไปปฤกษาเสนาบดีแลข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เสียก่อน ให้เขาทั้งหลายเห็นชอบด้วยพร้อมกันมาก ๆ จึงจะสิ้นคำครหานินทา แลจะได้สิ้นเสี้ยนศัตรูด้วย
 
๕ เรื่องพระมหาอุปราชของพระเจ้ามินดงนั้น เดิมเมื่อพระเจ้ามินดงได้ราชสมบัติเมื่อปีชวด จุลศักราช ๑๒๑๔ ตั้งให้อนุชาองค์ ๑ เปนพระมหาอุปราช อยู่มาจนปีขาล จุลศักราช ๑๒๒๘ เจ้าเมงกูน กับเจ้าเมงกูนแดงลูกเธอของพระเจ้ามินดง คิดขบถฆ่าพระมหาอุป ราชเสีย แล้วจะจับพระเจ้ามินดง ถึงสู้รบกันในพระราชวัง เจ้าเมงกูนกับน้องสู้ไม่ได้ จึงหนีไปอาไศรยต่างประเทศ ทางโน้นพระเจ้ามินดงก็ไม่ตั้งพระมหาอุปราชต่อมา มีขุนนางอังกฤษที่ชอบพอกับพระเจ้ามินดงเคยทูลตักเตือนว่า ควรจะตั้งลูกเธอองค์ใดองค์หนึ่งขึ้นเปนพระมหาอุปราชเสีย หาไม่ถ้าสิ้นแผ่นดิน ลูกเธอจะเกิดรบราฆ่าฟันแย่งราชสมบัติกัน พระเจ้ามินดงตอบว่า ถ้าตั้งใครเปนพระมหา
 
 
๗๗
กิววะเมนยีกราบถวายบังคมลาออกมาประชุมเสนาบดี แลขุนนางผู้ใหญ่ ๆ ก็ลงเปนคำเดียวกันแล้วเข้าชื่อทำคำปฤกษาเห็นพร้อมยอมด้วยขึ้นถวายพระเจ้าอังวะ ๆ มีรับสั่งให้หาเจ้าสิมโปพระราชโอรสผู้ใหญ่ ให้เข้าไปเฝ้าที่ทรงพระประชวรนั้น พระเจ้าอังวะ
 
อุปราชขึ้น นั่นและจะเกิดฆ่าฟันกัน ด้วยเหตุนี้จึงเข้าใจกันว่า พระเจ้ามินดงตั้งพระไทยรอไว้จนจะถึงทิวงคตเมื่อใด จึงจะมอบเวนราชสมบัติแก่ลูกเธอองค์ใดองค์หนึ่ง ครั้นประชวรลงคราวนี้ผู้อื่นสัง เกตเห็นก่อนว่าจะทิวงคต นางอะเลนันดอมเหษีมีแต่ราชธิดา เกรง ราชสมบัติจะได้แก่ลูกเธอองค์อื่นคิดจะให้ราชสมบัติได้แก่เจ้าสิมโป ด้วยเจ้าสิมโปรักใคร่อยู่กับเจ้าสุพยาลัดธิดาของนางอะเลนันดอ จึงคบคิดกับเกงหวุ่นเมงยี อรรคมหาเสนาบดี อ้างกระแสรับสั่งของพระเจ้ามินดง สั่งไปให้เสนาบดีปฤกษาว่าลูกเธอองค์ใดควรจะเปนพระมหาอุปราชได้ เกงหวุ่นเมงยีเปนผู้ชักชวนให้ยกย่องเจ้าสิมโป เสนาบดีอื่นมีความกลัวก็ยินยอม นางอะเลนันดอนำความกราบทูลพระเจ้ามินดง ว่าเสนาบดีปฤกษาพร้อมกันว่าเห็นควรจะทรงตั้งเจ้าสิมโปเปนพระมหาอุปราช พระเจ้ามินดงประชวรอยู่มิรู้จะทำประการใดก็ต้องยอม อนึ่ง นามที่เรียกว่า เจ้าสิมโปนี้ ฝรั่งเรียกว่า ทีบอ ไทยเหนือเรียกว่า สี่ป่อ เปนนามเมืองไทยใหญ่เมือง ๑ ด้วยนางผู้เปนชนนีของเจ้าองค์นั้นเปนธิดาเจ้าฟ้าเมืองสิมโป
 
 
๗๘
ตรัสว่าพ่อเจ็บครั้งนี้เห็นจะไม่รอดเปนแน่ พ่อจะตั้งเจ้าให้เปนมหาอุปราชก่อน แล้วจะได้ครอบครองราชสมบัติดูแลแผ่นดินแทนพ่อ เจ้าจงมีน้ำใจโอบอ้อมอารีกับพี่น้องญาติทั้งปวง แลตั้งใจรักษาทางยุติธรรมราชประเพณีโดยขัติยราชานุวัตร ขณะนั้นรับสั่งให้เจ้าพนักงานจัดเครื่องราชูประโภค ตามตำแหน่งพระมหาอุปราชมาพระราชทานให้พระเจ้าสิมโป โปรดตั้งเจ้าสิมโปเปนพระมหาอุปราช พระราชทานทหาร ๕๐๐๐ ให้แก่พระมหาอุปราช ออกไปประทับอยู่ณพลับพลาน่าประตูสองชั้น ในพระราชวังชั้นในตรวจตรารักษาพระราชวัง มิให้ผู้คนที่แปลกหน้าเข้าออกละเล้าละลุม เมื่อเจ้าสิมโปพระราชโอรสผู้ใหญ่ได้เปนพระมหาอุปราชแล้ว ยังมีเจ้าสององค์พี่น้องต่างมารดากันกับพระมหาอุปราช๖ เจ้าสององค์พี่น้องนั้นตั้งวังอยู่ในพระนคร เจ้าสององค์พี่น้องนั้นคิดจะเอาราชสมบัติเมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว การก็ไม่สมคิด เพราะมีพระมหาอุปราชรักษาพระราชวังแล้ว จะแย่งชิงไม่ถนัด เมื่อเจ้าสององค์พี่น้องไม่สมคิดแล้วจึงปฤกษากันว่า
 
๖ เจ้า ๒ องค์นี้ชื่อ นะยองยานองค์ ๑ นะยองโอ๊กองค์ ๑ ร่วมมารดากัน เจ้านะยองยานนับเปนลูกชั้นใหญ่ใน ๓ องค์ แลเปนผู้กำกับหมอรักษาพระเจ้ามินดงอยู่ รู้ว่าจะเกิดจลาจลมารดาบอกให้หนี จึงพาเจ้าน้องหนีไปอาไศรยเรสิเดนต์อังกฤษ
 
 
๗๙
ถ้าพระราชบิดาสวรรคตลงเมื่อไร พระมหาอุปราชคงจะจับเราฆ่าเสียเปนแม่นมั่น ด้วยมีสาเหตุอยู่แล้ว ถ้าเราขืนอยู่ในบังคับเขาไภยก็จะมาถึงตัวเราเปนแน่ เจ้าพี่น้องสององค์พร้อมใจกันจะคิดหนี ครั้นเวลากลางคืนดึกสองยามเศษ ปีนกำแพงพระนครหนีออกไปได้ ตรงไปหามิศเตอร์อะแยไบกงสุลอังกฤษ๗ พูดว่าข้า พเจ้าทั้งสองพี่น้องหนีไภยมาอาไศรยอยู่กับท่านด้วย ถ้าท่านไม่รับธุระช่วยชีวิตรข้าพเจ้าทั้งสองนี้แล้วคงตายเปนแน่ ข้าพเจ้าทั้งสองหาความผิดมิได้เลย พระมหาอุปราชจะจับข้าพเจ้าฆ่าเสียโดยไม่มีผิด ฝ่ายมิศเตอร์อะแยไบกงสุลอังกฤษก็สงสารจึงรับเจ้าทั้งสองไว้ เมื่อวันก่อนที่เจ้าพี่น้องทั้งสองยังไม่หนีนั้น กิววะเมนยีที่เจ้าพระยากลาโหมกราบทูลพระมหาอุปราชว่า บัดนี้พระราชบิดาทรงพระประชวรหนัก ฝ่ายพระเจ้าน้องยาเธอของพระองค์ที่เปนชายนั้นมีถึง ๓๐ พระองค์ มีกำลังผู้คนมากทั้ง ๓๐ พระองค์ ต่างองค์ก็ต่างจะปราถนาเอาราชสมบัติ ถ้าเกิดลุกลามขึ้นจะระงับดับยากเหมือนหนึ่งดูหมิ่นพระยาพยัคฆราช ฤๅไม่เช่นนั้นเหมือนต้นไม้ ถ้าทิ้งไว้ให้ใหญ่รากก็จะหยั่งลงฦก ครั้นจะถอนก็ถอนยาก ถ้า
 
๗ ที่เรียก มิศเตอร์ อะแยไบ ตรงนี้เปนชื่อตำแหน่งที่พม่าเรียกมิใช่ชื่อตัว แลมิใช่กงสุล อังกฤษเรียกว่าเรสิเดนต์ เปนตำแหน่งตั้งประจำเมืองประเทศราช ผู้ที่เปนเรสิเดนต์อังกฤษอยู่ในเวลานั้นชื่อ นายชอ
 
๘๐
จะขุดถอนก็ให้ขุดถอนเสียแต่ยังอ่อนแลเล็ก อย่าเอาไว้ให้ใหญ่จะถอนยาก พระมหาอุปราชได้ทรงฟังก็ทรงเชื่อทุกประการ จึงรับสั่งว่า ท่านจงคิดจับเอาตัวเจ้าน้องชายที่มีกำลังมาคุมตัวไว้ก่อนอย่าให้เกิดจลาจลได้ กิววะเมนยีจึงสั่งขุนนางให้ออกไปเชิญเสด็จเจ้าชายทั้ง ๓๐ พระองค์ ว่าพระมหาอุปราชมีรับสั่งให้หาเข้ามารับมรฎกที่พระราชบิดาแจก แลจะทรงตั้งให้เจ้าทั้ง ๓๐ พระองค์เปนเจ้าครองเมืองเอกโทตรีตามสมควร จะได้มีกำลังช่วยกันรักษาแผ่นดิน ด้วยเรามีอายุน้อยไม่อาจจะรักษาแผ่นดินได้แต่ผู้เดียวเหมือนพระราชบิดานั้นได้ ให้เจ้าพี่เจ้าน้องเจ้าลุงเจ้าอาว์เข้ามาช่วยกัน คิดราชการให้ตกลงเสียแต่พระชนม์พระราชบิดายังมีอยู่ จะได้เปนที่เย็นพระไทยพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงพระประชวรอยู่นั้น เหมือนท่านทั้งหลายเจ้านายพวกนั้น ๆ มาปรอง ดองสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าอังวะ ให้ท่านหลับพระเนตรสวรรคตเทอญ
* เมื่อเจ้านายฝ่ายพระบรมวงษานุวงษ์แลเจ้าน้อง๓๐ พระองค์ ได้ฟังหนังสือรับสั่งของพระมหาอุปราชนั้นแล้ว ก็พระไทยอ่อนสำคัญสัญญาว่าจริงก็พากันเข้ามาเฝ้าทุกพระองค์ ครั้นเจ้านายทั้งหลายที่กระด้างกระเดื่องนั้น เข้ามาในพระราชวังถึงประตูสองชั้น ฝ่ายทหารพระมหาอุปราชที่ซุ่มไว้นั้น ก็กรูกันกลุ้มรุมจับเจ้านาย
 
 
 
๘๑
ทั้งหลาย แลเจ้าน้อง ๓๐ พระองค์ไปลงเหล็กใส่คุกขังไว้๘ ขณะที่ตรวจหาเจ้านายที่จับได้นั้น ยังขาดอยู่ ๒ พระองค์ คือเจ้าสองพี่น้องที่หนีไปอยู่บ้านท่านกงสุลอังกฤษเสียก่อน เมื่อจับนั้นคืนหนึ่ง ครั้นพระมหาอุปราชทรงทราบว่า ยังขาดเจ้าสองพี่น้องอยู่ยังหาได้ตัว ไม่ จึงโปรดให้ทหารออกไปค้นหาที่วังนอกก็หาพบไม่ จึงรับสั่งให้แมงคุงวุ่นจาโป ที่เจ้าพระยากรมเมืองเปนนายทัพคุมทหารไปติดตามเจ้าสองพี่น้องถึง ๖ วันไม่พบ ฝ่ายที่ในพระราชวังก็บอกสายตะเลแครบขึ้นไปยังหัวเมืองฝ่ายเหนือแลฝ่ายใต้ ให้เจ้าเมือง
 
๘ เรื่องจับลูกเธอของพระเจ้ามินดงนี้ พอพระเจ้ามินดงประชวรนางอะเลนันดอเห็นว่าจะไม่หายได้ ก็คบคิดกับเกงเวุ่นเมงยี อ้าง กระแสรับสั่งของพระเจ้ามินดง ให้ทูลเจ้านายลูกเธอว่า พระเจ้ามินดงมีรับสั่งให้เข้าไปเฝ้า ฯ ด้วยมีพระราชประสงค์จะทรงสั่งเสียแลพระราชทานมรฎก นางผู้เปนมารดาเจ้านะยองยาน เจ้านะยองโอ๊กกริ่งเกรงใจว่าจะมีเหตุอันตราย ให้ไปห้ามลูกเสีย เจ้า ๒ องค์นั้นจึงไม่เข้ามา เจ้าองค์อื่นไม่รู้ความ พากันเข้าไปในวัง พอเข้าไปถึงชั้นใน เกงหวุ่นเมงยีก็ให้จับคุมไว้ทั้งหมด พอรู้ข่าวถึง มารดาของเจ้าที่ถูกจับเหล่านั้น ก็พากันเข้าไปเฝ้า ฯ จนถึงพระองค์พระเจ้ามินดง ร้องไห้กราบทูลว่า เดี๋ยวนี้เขาจับลูกไว้ พระ
๑๑
 
 
๘๒
ประมอฝ่ายเหนือกักด่านทางให้แขงแรง ให้เจ้าเมืองมูกองฝ่ายใต้รักษาด่านทางอย่าให้เจ้าสององค์หนีออกนอกเขตรแดนได้ ฝ่ายในกรุงก็ตั้งกองจุกช่องล้อมวงรักษาพระนครโดยกวดขัน เกรงจะมีศัตรูภายในภายนอกขึ้น
 
เจ้ามินดงขัดเคือง ให้คนเชิญรับสั่งไปบอกให้ปล่อยลูกเธอเสีย ในทันที แลให้ลูกเธอเหล่านั้นขึ้นไปเฝ้า ฯ ให้ถึงพระองค์ ผู้ที่ควบคุมเกรงพระราชอาญา ก็ปล่อยลูกเธอตามรับสั่ง ได้ขึ้น ไปเฝ้า ฯ พระเจ้ามินดงจึงให้เขียนหนังสือรับสั่ง ตั้งลูกเธอที่เปนชั้นผู้ใหญ่ ให้ไปครองเมือง อย่างเปนเจ้าประเทศราช ๓ พระองค์ แลสั่งว่าลูกเธอที่เปนชั้นเล็กลงมา ใครจะสมัคอยู่ในปกครองของพี่องค์ไหนใน ๓ องค์นั้นก็ให้ไปอยู่ด้วยตามใจสมัค แล้วทรงกำชับสั่งลูกเธอที่ได้เปนเจ้าประเทศราช ว่า ให้รีบออกไปครองเมืองตามรับสั่ง แลอย่าให้กลับเข้ามาเมืองหลวงเลยเปนอันขาด เว้นไว้แต่ ได้เห็นลายพระราชหัดถ์เรียกโดยเฉภาะจึงให้เข้ามา นางอะเลนันดอ รู้เรื่องที่พระเจ้ามินดงตั้งลูกเธอเปนเจ้าประเทศราช ก็ให้รีบไปบอกเกงหวุ่นเมงยี พอเจ้านายทูลลากลับลงมาเกงหวุ่นเมงยีก็ให้จับเจ้านายไว้เสียอิก แลให้เก็บหนังสือรับสั่งไว้เสีย คราวนี้นางอะเลนันดอ ระวังกวดขันมิให้ใครเข้าไปทูลพระเจ้ามินดงได้ พระเจ้า มินดงเลยไม่ทรงทราบเรื่องลูกเธอถูกจับคราวหลัง จนทิวงคต
 
 
๘๓
* ครั้นณวัน ๑๑ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๔๐ เวลาบ่าย ๓ โมง พระเจ้าอังวะสวรรคต พระชนมายุได้ ๖๗ พรรษาอยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี พระมหาอุปราชมีรับสั่งให้เจ้าพนักงานต่อหีบไม้หอมอันพิเศษ แล้วแผ่ทองคำจำหลักเปนลายเครือวัลย์ประดับเนาวรัตนทองคำหุ้มพระหีบแล้ว เชิญพระหีบมารับพระบรมศพพระเจ้าอังวะขึ้นตั้งไว้ ในพระมหาปราสาทที่สวรรคตนั้น พระมหาอุปราช มีรับสั่งให้เจ้าพนักงานโยธาก่อพระมหาปราสาทใหม่ ให้แล้วเสร็จแต่ใน ๗ วัน จะบรรจุพระบรมศพพระเจ้าอังวะ เจ้าพนักงานทุกหมู่ทุกกรมก็ระดมกันทำพระมหาปราสาททั้งกลางวันกลางคืน ๕ วันแล้ว
* ณวัน ๑๑ ค่ำ เจ้าพนักงานเชิญพระบรมศพพระเจ้าอังวะออกจากพระราชวังขึ้นตั้งบนบุษบกทองคำ แห่ไปบรรจุไว้ในพระมหาปราสาทที่ก่อใหม่ การเล่นเต้นรำสิ่งใดไม่มี มีแต่การพระราชกุศลทรงบำเพ็ญทานแก่ พระสงฆ์ สามเณร ไพร่ข้าแผ่นดิน จะนับจะประมาณมิได้ เวลาค่ำมีดอกไม้เพลิงต่าง ๆ แล้วเสด็จกลับเข้าพระราชวังเวลายามเศษ ข้าพเจ้าก็ได้ตามเสด็จไปด้วยแลได้รับพระราชไทยทานหลายอย่างต่าง ๆ ครั้งนั้นเจ้านายขุนนางแลราษฎรโกนผมทั้งสิ้น เมื่อแห่พระบรมศพนั้น พระเจ้าแผ่นดินใหม่ทรงโกนพระเกษา แลทรงพระภูษาขาว ขุนนางแลกระบวนแห่นุ่งขาวทั้งสิ้น
 
 
๘๔
* ณวัน ๑๑ ค่ำ ตั้งการพระราชพิธีราชาภิเศกตามขัติยราชประเพณีของพระมหากระษัตริย์ แล้วเสด็จขึ้นนั่งบนพระแท่นบุษบกตั้งอยู่บนหลังหงษ์ทอง ออกขุนนาง ๆ เข้าเฝ้าทุกตำแหน่งพร้อมด้วยกงสุลต่างประเทศ มีกงสุลจีน แลกงสุลยี่ปุ่น กงสุลญวณ แลกงสุลชาวยุโรป แลเจ้าประเทศราชใหญ่ ๆ ที่ขึ้นแก่กรุงอังวะพระมหาอุปราชเปนพระเจ้าแผ่นดินใหม่ณกรุงมันทลีรัตนภูมิ ทรงตั้งข้าหลวงเดิมที่มีความชอบ เปนขุนนางในตำแหน่งตามคุณานุรูปโดยสมควร ทรงตั้งพระราชมารดาซึ่งเปนพระมหาราชเทวีของพระราชบิดานั้นเปนพระเจ้าล้นฟ้า๙ พระเจ้าแผ่นดินใหม่ไม่ได้ทรงตั้งพระมหาอุปราช ทรงว่าราชการแผ่นดินพระองค์เดียว
* ครั้งนั้นกิววะเมนยีที่เจ้าพระยากลาโหมกราบทูลว่า เจ้าสองพี่น้องหนีไปอยู่ที่บ้านกงสุลอังกฤษ พระเจ้าอังวะใหม่ทรงพระ
 
๙ ราชเทวีองค์นี้ มิใช่พระชนนีของพระเจ้าสิมโป เปนเจ้าฟ้า ราชธิดาของพระเจ้าจักกายแมง รัชกาลที่ ๗ เดิมเปนมเหษีรอง ของพระเจ้ามินดง พม่าเรียกนางผู้นี้ว่า อะเลนันดอ มเหษีใหญ่ ไม่มีราชโอรสธิดา นางนี้มีแต่ธิดา เมื่อมเหษีใหญ่พิลาไลยแล้ว นางนี้ก็เปนใหญ่อยู่ในพระราชวัง เจ้าสุพยาลัดธิดาของนางนี้รักใคร่อยู่กับเจ้าสิมโป จึงเปนเหตุให้นางนี้คิดอ่านชิงราชสมบัติให้แก่เจ้าสิมโป
 
 
๘๕
พิโรธนัก มีรับสั่งให้เจ้าพระยากลาโหม เจ้าพระยากรมเมืองไปบอกแก่กงสุลอังกฤษว่า อย่าให้คบค้าเจ้าสองคนพี่น้องไว้ให้ส่งตัวมาถวายโดยเร็ว เจ้าพระยาทั้งสองก็ไปบอกแก่กงสุลอังกฤษตามรับสั่ง กงสุลอังกฤษตอบว่าเจ้าสองพี่น้องนี้ไม่มีความผิด แต่กลัวไภยจะตายจึงได้หนีมาพึ่งอำนาจคอเวอนแมนต์อังกฤษ ๆ จำเปนต้องช่วยอุปถัมภ์ไว้เพราะเปนทางไมตรีกัน ถ้ากงสุลจะไม่รับธุระช่วยทำนุบำรุงเจ้าทั้งสองนี้ไว้ เจ้าทั้งสองนี้ก็จะไปอยู่ที่อื่น คงจะคุมทหารมาทำจลาจลแก่บ้านเมืองพม่าคราวหนึ่งเปนแน่ ถ้าเจ้าทั้งสองนี้มาทำการจลาจลแก่บ้านเมืองพม่าเวลาใดเวลาหนึ่งแล้ว คงต้องเกิดรบราฆ่าฟันกัน ฤๅไม่ฉนั้นก็จะเกิดไฟไหม้บ้านเมือง ๆ เสียไปเช่นนั้น พวกค้าขายซึ่งเปนสัปเยกต์ของคอเวอนแมนต์อังกฤษก็จะพลอยฉิบหายเปนอันตราย ไปด้วยทั้งสิ้น เพราะเช่นนั้นกงสุลอังกฤษจึงได้รับเจ้าสองพี่น้องไว้ไม่ให้หนีไปที่อื่น เพื่อกงสุลจะระงับเหตุร้ายแก่บ้านเมืองพม่า แลการค้าขายของอังกฤษด้วย กงสุลรับเจ้าทั้งสองไว้นั้น เพื่อเปนการบำรุงทางไมตรีมิให้เสื่อมเสียไปในการคราวนี้ ถ้าพระเจ้าอังวะจะให้ส่งเจ้าสองพี่น้องนั้น ท่านเสนาบดีทั้งสองนี้ต้องรับประกันว่าอย่าให้พระเจ้าอังวะทำโทษแก่เจ้าทั้งสองนี้เลย จะได้ฤๅไม่ได้ เจ้าพระยาทั้งสองตอบว่ารับไม่ได้ กงสุลอังกฤษจึงว่าถ้าท่านเสนาบดีทั้งสอง ไม่รับประกันแล้วเราจะถามเจ้าทั้งสองดูก่อน
 
 
๘๖
ว่าจะกลับไปฤๅจะอยู่ที่นี่ก็สุดแล้วแต่น้ำใจเจ้าทั้งสอง เราจะบัง คับข่มขืนส่งนั้นไม่ได้ ผิดประเพณีฝ่ายยุโรป แล้วกงสุลอังกฤษจึงเรียกเจ้าทั้งสองมาถามต่อหน้าเสนาบดีพม่าว่า เจ้าทั้งสองจะกลับไปฤๅจะอยู่ที่นี่ก็ตามแต่ใจเถิด เจ้าทั้งสองก็ว่าไม่ยอมกลับไปจะขออยู่พึ่งบุญอำนาจคอเวอนแมนต์อังกฤษ เสนาบดีพม่าทั้งสองก็กลับมา เอาเนื้อความมากราบทูลพระเจ้าอังวะ ๆ มีรับสั่งว่าถ้ากงสุลอังกฤษอยากได้เจ้าทั้งสองนั้นไว้ ก็ให้กงสุลอังกฤษส่งเจ้าทั้งสองไปไว้ที่เมืองอังกฤษ อย่าให้กงสุลอังกฤษคบค้าเอาเจ้าทั้งสองนี้ไว้ในแผ่นดินพม่า เสนาบดีพม่าทั้งสองก็กลับมาแจ้งความตามรับสั่งพระเจ้าอังวะ ให้กงสุลอังกฤษฟังทุกประการ กงสุลอังกฤษจึงว่า จะให้เราส่งเจ้าทั้งสองไปไว้ในเมืองอังกฤษตาม รับสั่งพระเจ้าอังวะนั้นก็ได้ไม่ขัดขวาง แต่เราจะขอเงินเดือนให้เจ้าทั้งสองพี่น้องกินเลี้ยงชีวิตรเจ้าทั้งสองไปจนกว่าจะตาย เดือนหนึ่งเปนเงิน ๓๐๐๐ รูเปียเสมอทุกเดือน ถ้าเจ้าทั้งสองนี้ตายลงองค์หนึ่ง เจ้าอังวะต้องให้เงินเดือน ๆ ละ ๑๕๐๐ รูเปีย ถ้าตายทั้งสองเมื่อไรไม่ต้องให้เมื่อนั้น ถ้าพระเจ้าอังวะยอมรับให้เงินเดือนแก่เจ้าทั้งสองเปนที่เลี้ยงชีวิตรดังนั้นแล้ว เราก็จะส่งเจ้าทั้งสองไปไว้ที่อังกฤษ ถ้าพระเจ้าอังวะไม่ให้เงินเดือน ๓๐๐๐ แก่เจ้านั้น เราก็ไม่รับธุระส่งไป แลไม่ยอมส่งคืนให้แก่พระเจ้าอังวะด้วย เราจะปล่อยเจ้าทั้งสองไปให้พ้นบ้านเรา ในเวลาที่ควรจะไม่เปนอัน
 
 
๘๗
ตราย ฝ่ายเสนาบดีพม่าทั้งสองกลับมากราบทูลพระเจ้าอังวะตามคำกงสุลอังกฤษสั่งมานั้นทุกประการ พระเจ้าอังวะทรงทราบแล้วมีรับสั่งกับเจ้าพระยาทั้งสองว่า ท่านจงเอาถ้อยคำของกงสุลอัง กฤษนั้นไปปฤกษาเสนาบดีทั้งแปดคนแลขุนนางผู้ใหญ่ทั้งปวงด้วย เสนาบดีทั้งแปดคนแลขุนนางผู้ใหญ่ทั้งปวงเห็นพร้อมกันว่า ควรจะยอมให้เงินเดือน ๆ ละ ๓๐๐๐ รูเปียแก่เจ้าทั้งสองตามคำกงสุลอังกฤษว่า ถ้าไม่ยอมให้เงินเดือนตามคำกงสุลแล้ว เจ้าทั้งสองพี่น้องจะหนีไปอยู่ตามหัวเมืองปลายเขตรแดน เกลี้ยกล่อมผู้คนได้มากจะยกมาทำอันตรายแก่อาณาประชาราษฎร ได้ความเดือดร้อนขึ้นภายหลังจะดับก็ยาก ถ้าจะดับก็ให้ดับเสียแต่ต้นดังนี้เห็นจะดี พงกอยีพญาแยคองที่สมุหนายก ลงชื่อเห็นก่อน เสนาบดีทั้ง ๗ นาย รวมเปน ๘ คนด้วยกันเข้าชื่อกันทำคำ ปฤกษาขึ้นถวายพระเจ้าอังวะ ๆ โปรดให้เสนาบดีทั้ง ๘ คนทำหนัง สือสัญญากับกงสุลอังกฤษจึงจะยอมให้เงิน เสนาบดีพม่าแลกงสุลอังกฤษพร้อมใจกันทำหนังสือสัญญา ว่ามิศเตอร์อะแยไบกงสุลอังกฤษทำสัญญา
ข้อ ๑ ว่า ฝ่ายอังกฤษจะรับประกันเจ้าทั้งสองพี่น้องมิให้เปนขบถมาทำจลาจลแก่คนพม่าในแผ่นดินพม่าต่อไป แต่ฝ่ายพม่าจะต้องส่งเงินเดือน ๆ ละ ๓๐๐๐ รูเปียแก่กงสุลอังกฤษ ๆ จะได้ส่งเงิน ๓๐๐๐ นั้นไปให้แก่เจ้าทั้งสองเลี้ยงชีวิตร ถ้าอังกฤษ
 
 
๘๘
ปล่อยให้เจ้าทั้งสองมาทำจลาจลแก่พม่าก็ดี ฤๅให้เข้ามาในเขตรแดนพม่าเมื่อใดก็ดี ฝ่ายพม่าก็จะจับเจ้าทั้งสองฆ่าเสีย ฤๅจะเกิดการรบกันกับเจ้าทั้งสองนั้น ฝ่ายอังกฤษจะไม่ช่วยเจ้าทั้งสองเลย พระเจ้าอังวะจะจับเจ้าทั้งสองนั้นฆ่าได้ อังกฤษไม่เปนธุระอิก แต่ค่าจ้างทหารแลเสบียงอาหารที่พม่าต้องยกทัพไปรบกับเจ้าทั้งสองนั้น อังกฤษจะต้องใช้ให้พม่าทั้งสิ้น เพราะอังกฤษปล่อยให้เจ้าทั้งสองมา ถ้าอังกฤษไม่ใช้เงินค่าทัพให้แก่พม่า อัง กฤษจะต้องจับเจ้าทั้งสองส่งให้แก่พม่าจงได้แต่ในกำหนด ๓ เดือน ถ้าฝ่ายพม่าไม่ส่งเงิน ๓๐๐๐ รูเปีย ให้แก่กงสุลอังกฤษเว้นแต่ ๓ เดือนแล้ว อังกฤษจะปล่อยเจ้าทั้งสองก็ได้ แลหนังสือ สัญญานี้เปนใช้ไม่ได้ ผิดใจกัน จะต้องต่อว่ากันใหญ่โตตามอำ นาจแผ่นดินทั้งสองฝ่าย
ข้อ ๒ ว่าไม่ให้พระเจ้าอังวะทำโทษแก่มารดาบุตรภรรยาญาติของเจ้าทั้งสองโดยไม่มีความผิด ถ้ามีความผิดแท้ ราษฎรเสนา บดีแลกงสุลต่างประเทศทั้งหลายเห็นด้วยว่า มารดา บุตรภรรยา ญาติ ของเจ้าทั้งสองนี้มีความผิดกฎหมายจริงแล้ว พระเจ้าอังวะทำโทษได้ไม่ขัดขวาง แต่จะต้องชำระแลให้กงสุลลงชื่อเห็นโทษผิดด้วยจึงจะทำโทษแก่มารดาบุตรภรรยาของเจ้าทั้งสองนั้นได้ ถ้าพระเจ้าอังวะทำโทษแก่ มารดา บุตรภรรยา ของเจ้าทั้งสองนั้นโดยไม่มีความ ผิดแล้ว หนังสือสัญญาก็เปนใช้ไม่ได้ เปนเลิกแล้วแก่กัน
 
 
๘๙
เปนขาดทางพระราชไมตรีกัน ต้องมีผู้มีอำนาจใหญ่ คือแอดมิราลแม่ทัพเรือมาตัดสินก่อน
ข้อ ๓ ว่าถ้ามารดาบุตรภรรยาของเจ้าทั้งสองนั้น จะฝากสิ่งของสิ่งใดออกไปให้เจ้าทั้งสองนั้น ต้องกราบทูลพระเจ้าอังวะก่อน ต่อโปรดอนุญาตจึงฝากได้ ถ้าไม่โปรดอนุญาตให้ ขืนลักลอบฝากไปมีโจทย์ ฟ้องชำระเปนสัตย์แล้ว พระเจ้าอังวะจะฆ่า ( เห็นจะเปนทำโทษ ) ก็ได้ แต่ต้องให้กงสุลอังกฤษลงชื่อเห็นความผิดจริงด้วย อังกฤษจะว่าห้ามปรามไม่ได้เลยเปนอันขาดทีเดียว ถ้าเจ้าทั้งสองจะฝากหนังสือแลสิ่งของมาแก่พ่อค้า ๆ ต้องไปแจ้งความแก่กงสุลอังกฤษ ๆ ต้องมาแจ้งความแก่เจ้าพนักงานฝ่ายพม่า ให้นำความขึ้นกราบทูลพระเจ้าอังวะก่อน ถ้าโปรดให้มารดาบุตรภรรยาเจ้าทั้งสองรับจึงจะรับได้ ถ้าไม่โปรดให้รับก็รับไม่ได้ ขืนรับมีผิด อังกฤษจะไม่เปนธุระเลย ถ้าแลกงสุลลอบเอาของฝากของเจ้าทั้งสองนั้นให้แก่ มารดา บุตรภรรยา ของเจ้าทั้ง สองนั้น เจ้าพนักงานฝ่ายพม่าจับมีพยานแท้จริง หนังสือสัญญา ๓ ข้อนี้เปนเสียใช้ไม่ได้ เปนต้องเลิกกันทั้งสิ้นทั้ง ๓ ข้อ๑๐
 
๑๐ สัญญา ๓ ข้อนี้ข้าพเจ้าไม่เคยพบในที่อื่น แต่พิเคราะห์ดูความ ที่กล่าวในหนังสือนี้คงจะมีเค้าความจริง แต่ความในสัญญาจริง เห็นจะไม่ตรงกับถ้อยคำที่นายจาดรู้จากพม่า ดังกล่าวไว้ในคำให้การนี้
๑๒
๙๐
* ครั้นอังกฤษแลพม่าทำหนังสือสัญญาประทับตราทั้งสองฝ่าย เสร็จแล้ว กงสุลอังกฤษก็ส่งเจ้าทั้งสองพี่น้องลงเรือกลไฟต่อหน้าเจ้าพนักงานพม่า ส่งเจ้าทั้งสองให้ไปปอยู่ที่เมืองกลักตาเปนหัวเมืองขึ้นของอังกฤษ
* ครั้นณวัน ๒ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศก เวลา ๕ โมงเช้า เกิดเพลิงไหม้ที่ยอดพระมหาปราสาททองคำ เจ้าพนักงานเอาบันไดพาดขึ้นไปดับได้ พระเจ้าอังวะปูนบำเหน็จรางวัลแก่ผู้ที่ดับไฟไหม้ได้เปนอันมาก แต่ทรงพระวิตกนักมีรับสั่งให้หาโหราจารย์เข้ามาในที่เฝ้า ตรัสถามว่าเพลิงไหม้ยอดพระมหาปราสาทดังนี้จะมีเหตุประการใด โหรกราบทูลว่าจะมีเหตุใหญ่พระเคราะห์ร้ายนัก แลจะมีราชศัตรูภายนอกภายใน คิดร้ายต่อพระองค์เปนแม่นมั่น พระเจ้าอังวะมีรับสั่งให้ เจ้าพนักงานทำพระราชพิธีเสดาะพระเคราะห์ ๓ วัน แล้วทรงทำการพระราชกุศลบำเพ็ญทานแก่พระสงฆ์เปนอันมาก
* ครั้นณวัน ๒ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศกนั้น ขุนนางข้าหลวงเดิมกราบทูลฟ้องกล่าวโทษเยนาเมนยีขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายทหาร ซึ่งเปนตาของเจ้าสุรเมงโย พระราชบุตรของพระเจ้าอังวะพระองค์ก่อน ที่เปนพระไอยกาของพระเจ้าอังวะใหม่นี้ แต่เจ้าสุรเมงโยนั้นมีความผิด ติดคุกขังแต่ในแผ่นดินพระราชบิดาพระเจ้าอังวะใหม่นี้ เยนาเมนยีขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งเปนตาของเจ้าสุระเมงโยใน
 
 
๙๑
คุกนั้นคิดขบถนัดหมายกับเจ้านายหลายองค์ จะทำร้ายแก่พระเจ้า อังวะใหม่ ๆ ทรงทราบแล้ว เสนาบดีผู้ใหญ่เกณฑ์ทหารไปจับตัวเยนาเมนยีมาชำระเปนสัตย์ ซัดถึงมารดาบุตรญาติของเจ้าทั้งสองที่ไปอยู่เมืองกลักตานั้นด้วย แลซัดถึงขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อย ๙๕ คน แลซัดถึงพระเจ้าน้องยาเธอ ๓๐ องค์ ชำระเปนสัตย์ทั้งสิ้น พระเจ้าอังวะมีรับสั่งให้ทหารจับเยนาเมนยีต้นเหตุคน ๑ กับขุนนาง ๙๕ คน เจ้า ๓๐ องค์ ไปฆ่าเสียในเวลากลางคืน มารดาแลบุตรภรรยาญาติของเจ้าทั้งสองที่ไปอยู่เมืองกลักตานั้น ก็รับสั่งให้เอาไปฆ่าเสียด้วยพร้อมกันกับพวกขบถในเวลากลางคืน รวมขุนนางเจ้านายที่ฆ่านั้น ๑๒๕ คน ๑๑ จึงทรงตั้งข้าหลวงเดิมแลข้าราชการเก่าที่มีความชอบนั้น ให้เปนขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยแทนที่ขุนนางที่ฆ่าเสียนั้นเต็มที่แล้ว ครั้นรุ่งขึ้นกงสุลอังกฤษทราบเหตุว่า พระเจ้าอังวะฆ่าขุนนางที่มีความผิดบ้างที่ไม่มีความผิดบ้างแล ( บุตรภรรยา ) เจ้านายที่มีชื่อในหนังสือสัญญานั้น เมื่อฆ่าหาได้มาบอกความผิดของเจ้านั้น ให้กงสุลอังกฤษรู้เห็นลงชื่อตาม
 
๑๑ การที่ฆ่าเจ้านายลูกเธอของพระเจ้ามินดงนี้ แต่เดิมพระเจ้าสิมโปไม่ได้ตั้งพระไทยจะฆ่า ถึงสั่งให้สร้างเรือนจำหลังใหญ่ขึ้นในพระราชวัง สำหรับจะขังเจ้านายเหล่านั้นไว้ ด้วยเปนประ เพณีเคยมีมาในเมืองพม่า แม้พระเจ้าอังวะรัชกาลที่ ๙ ซึ่งเรียก
 
 
๙๒
ความสัญญาด้วยไม่ กงสุลเห็นว่าพระเจ้าอังวะไม่ตั้งอยู่ในยุติธรรมราชประเพณี ทำให้เสียทางพระราชไมตรีผิดสัญญาแล้ว มิศเตอร์อะแยไบกงสุลอังกฤษจึงมีหนังสือบอกลงมาถึงเกาวนา เจ้าเมืองร่างกุ้งฉบับหนึ่ง แสดงการที่เจ้าอังวะทำการผิดทางพระราชไมตรีเสียทางสัญญาแล้ว ท่านเกาวนาเจ้าเมืองร่างกุ้งทราบเหตุแล้วก็เห็นว่า พระเจ้าอังวะทำการหยาบช้า ฆ่าคนที่หาความผิด
 
ว่าพระเจ้าภุกาม ผู้เปนเชษฐาของพระเจ้ามินดง ซึ่งพระเจ้ามินดงก็ปลงเสียจากราชสมบัตินั้น พระเจ้ามินดงก็คุมขังไว้ อยู่มาทิวงคตทีหลังพระเจ้ามินดง พระเจ้าสิมโปก็จะคุมขังเจ้านาย พี่น้องไว้อย่างนั้น แต่หากมีเหตุเกิดขึ้น สงไสยกันว่าเปนความ คิดของนางอะเลนันดอแลนางสุพยาลัด คือเมื่อพระเจ้าสิมโปออกเลียบพระนคร ตามราชประเพณีพม่าให้เอาพานทองไปตั้งไว้ทั้ง ๔ มุมเมือง ราษฎรใครจะถวายฎีกาในวันเลียบพระนคร ก็เอาฎีกาไปส่งให้วางไว้ถวายในพานทอง ฎีกาที่ถวายเมื่อวันพระเจ้าสิมโปเลียบพระนคร มีฟ้องหาเรื่องคิดขบถที่กล่าวนี้ จึงเกิดชำระกันขึ้น แล้วเลยฆ่าฟันกัน แต่เจ้านายผู้หญิงที่ไม่ถูกฆ่าฟันมีหลายองค์ ยังต้องคุมขังอยู่ในวัง จนเมื่ออังกฤษได้เมือง พม่าก็มี
 
 
 
๙๓
มิได้ เจ้าอังวะละทางยุติธรรมเสียสัตย์สุจริตแล้วจะนิ่งอยู่ไม่ได้ การจะเกิดกำเริบขึ้น เกาวนาเจ้าเมืองร่างกุ้งก็เรียกกำปั่นรบกลไฟสามเสา ๕ ลำมีทหารพร้อมทุกลำ ให้อยู่ประจำรักษาเมืองร่างกุ้ง แล้วเกาวนาสั่งเยเนราลแม่ทัพบกเรียกทหาร ๑๓๐๐๐ มาประจำอยู่ที่เมืองร่างกุ้ง เพื่อจะได้จ่ายไปรักษาเขตรแดน แล้วเกาวนาเจ้าเมืองร่างกุ้ง มีหนังสือไปถึงเจ้าสองพี่น้องที่เมืองกลักตา ให้มาหาโดยเร็ว เจ้าสองพี่น้องแต่งตัวเปนเพศแขกเทศโดยสานเรือกลไฟเข้ามาหาเจ้าเมืองร่างกุ้ง ๆ แจ้งความว่า เจ้าอังวะใหม่นี้ไม่ตั้งอยู่ในทางยุติธรรม ละทางพระราชไมตรีทำให้เสียหนังสือสัญญาแก่อังกฤษแล้ว บัดนี้เจ้าอังวะฆ่าขุนนางเจ้านายที่มิได้มีความผิดนั้นมาก แลฆ่ามารดาบุตรภรรยาของท่านเสียสิ้นแล้ว ท่านจะคิดประการใดให้ว่าไป ฝ่ายเจ้าพม่าทั้งสองจึงตอบว่าจะขอไปเกลี้ยกล่อมทหารพม่าให้ได้แสนหนึ่งแล้ว จะยกทัพขึ้นไปตีรบชิงเอาราชสมบัติกรุงอังวะมาขึ้นแก่อังกฤษให้จง ได้ ตัวข้าพเจ้านี้จะขอรักษาเมืองอังวะขึ้นแก่อังกฤษต่อไป เจ้าเมืองร่างกุ้งจึงว่ากับเจ้าพม่าทั้งสองนั้นว่า ท่านพูดว่านั้นหาชอบไม่ เกินกับอำนาจคำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษไป เราจะทำการดังนั้นไม่ได้ ท่านต้องกลับไปอยู่เมืองกลักตาดังเก่าเถิดเราจะขึ้นไปว่ากล่าวพระเจ้าอังวะเอง พระเจ้าอังวะจะว่าประการ
 
 
 
๙๔
ใด ๑๒ เจ้าเมืองร่างกุ้งมีคำสั่งนายทหารให้คุมทหาร ๓๐๐๐ ขึ้นไปรัก ษาเมืองโตจองกองหนึ่ง ให้ทหาร ๒๐๐๐ ขึ้นไปรักษาเมืองเปกอง ( ภุกาม ) กองหนึ่ง ให้ทหาร ๓๐๐๐ ขึ้นไปรักษาเมืองตองอูกองหนึ่ง ให้ทหาร ๓๐๐๐ ขึ้นไปรักษาเมืองตะระกองหนึ่ง ที่เมืองร่างกุ้งนั้นสั่งให้ขุนนางอังกฤษอยู่รักษาเมือง ๕๐๐๐ ฝ่ายท่านเกาวนาเจ้าเมืองร่างกุ้งคุมเรือรบกลไฟ ๓ ลำ มีทหาร ๑๐๐๐ มีนายทหารเปนแม่ทัพใหญ่ ๕ นาย ขึ้นไปยังเมืองมันทลีรัตนภูมิ คือกรุงอังวะตั้งใหม่นั้น ๑๓
 
๑๒ เรื่องตรงนี้ชอบกล ในจดหมายเหตุอังกฤษว่า เจ้านะยองยาน นะยองโอ๊ก ที่อังกฤษเอาไปไว้เมืองอินเดีย ลอบมาคิดชิงราชสมบัติ อังกฤษไม่ได้รู้เห็นเกี่ยวข้อง เมื่อทำการไม่สำเร็จหนีกลับเข้าไป ในเขตรแดนอังกฤษ อังกฤษจึงจับกลับเอาไปไว้อินเดียอิก แต่พม่า คงจะสงไสยว่าอังกฤษรู้เห็นเปนใจด้วย ดังกล่าวในคำให้การของนายจาด
๑๓ ที่ว่าท่านเกาวนาเจ้าเมืองร่างกุ้งขึ้นไปเมืองมันทลิรัตนภูมิคราวนี้ ปรากฏในจดหมายเหตุอังกฤษว่า ที่จริงนั้นลอด ริปอน ไวสรอยอินเดียขึ้นไปเยี่ยมเยือน แต่ต่อติดกับเวลาเกิดเหตุเรื่องเจ้าทั้งสอง อังกฤษกับพม่าในเวลานั้นเห็นจะคุมเชิงกัน จริงดัง กล่าวในคำให้การนี้
 
 
๙๕
* เมื่อเรือกลไฟกำปั่นรบอังกฤษมาถึงเมืองมันทลีรัตนภูมินั้น พอพระเจ้าเชียงตุง แลเจ้าเชียงรุ้งทูลลาพระเจ้าอังวะจะกลับไปบ้านเมือง เจ้าเมืองเชียงตุงอายุ ๕๗ ปี เจ้าเมืองเชียงรุ้งอายุ ๒๒ ปี เจ้าเมืองเชียงตุงแลเชียงรุ้งมาอยู่ในกรุงอังวะ ๔ ปี ๑๔ ได้รู้จักรักใคร่ชอบพอกันกับข้าพเจ้าสนิทสนมเหมือนญาติ เมื่อปีที่ ๔ นั้นเจ้าเมืองทั้งสองจะไปบ้านเมือง เพราะว่าพระเจ้าอังวะละสุจริตราชประ เพณีไม่เปนที่ตั้งยุติธรรม เจ้าเมืองเชียงตุงแลเชียงรุ้งนั้น พูดว่าพระมหากระษัตริย์เช่นนี้ไม่น่าจะเปนข้าขอบขัณฑเสมาเลย ข้า พเจ้าจึงได้สรรเสริญพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรุงสยาม ว่ามีพระราชหฤไทยโอบอ้อมอารีแก่ประเทศราช ไม่ได้เก็บส่วยเหมือนกรุงอังวะ แลไม่ได้เบียดเบียนแก่ไพร่ฟ้าข้าขอบขัณฑเสมาให้ได้ความเดือดร้อนดังเช่นกรุงอังวะ ควรที่ท่านเจ้าเมืองเชียงตุงแลเชียงรุ้งทั้งสอง ซึ่งเปนเมืองประเทศราชใหญ่โต จะถวายพระราชบรรณาการแก่กรุงสยามก็จะมีความศุขแก่อาณาประชาราษฎรของท่าน ๆ จะได้มีเกียรติยศสืบไปในปรโลกแลอิธโลก แลประจุบัน ข้าพเจ้าพูดเปนทีเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองทั้งสองดังนี้หลายครั้งแล้ว เจ้าเมืองทั้งสองรับว่าชอบแล้ว อยู่มาวันหนึ่งเจ้าเมืองเชียงตุงพบข้าพเจ้าที่น่าวัดสะโลบัง เปนวัด
 
๑๔ ที่ว่ามาอยู่เมืองอังวะ ๔ ปีเช่นนี้ ส่อให้เห็นว่าเอาตัวมาคุมไว้แต่รัชกาลก่อน ครั้นเมื่อเปลี่ยนรัชกาลใหม่จึงปล่อยไป
 
๙๖
ใหญ่ในพระนคร เจ้าเมืองเชียงตุงชวนข้าพเจ้าให้ทำสัตย์สาบาลเปนมิตรไมตรีกัน ต่อหน้าพระพุทธปฏิมากรในพระอารามแล้ว เจ้าเชียงตุงชักชวนข้าพเจ้าให้ไปอยู่บ้านเมืองด้วยกัน จะได้ช่วยกันคิดราชการที่จะมาสวามิภักดิกรุงสยามนั้น ถ้ากรุงเมืองเชียงรุ้ง ( จะลงมา ) เมื่อใดจะให้ข้าพเจ้าเปนผู้นำขุนนางลาวลงมากรุงเทพ ฯ ข้าพเจ้าตอบว่าไปกับท่านไม่ได้เปนทางไกล แลทางป่ากันดารนักจะกลับทางทเล เจ้าเมืองเชียงตุงตอบว่าถ้ามีโอกาศคราวใดที่ควรจะมีหนังสือไปถึงเจ้าฟ้าเชียงใหม่ ให้ทูลแก่พระเจ้าอยู่หัวกรุงสยามด้วย พูดกันเท่านั้นแล้วอยู่มาอิก ๘ วันพระเจ้าอังวะโปรดอนุญาตให้เจ้าเมืองเชียงตุงแลเชียงรุ้งกลับไปบ้านเมือง แลให้เกณฑ์ดินประสิวขาวส่งมาสำหรับพระนครอังวะตามกำหนดแต่ก่อน แล้วเพิ่มส่วยช้างขึ้นอิก เพราะเปนแผ่นดินใหม่จะได้รักษาพระนครอังวะด้วย เจ้าเมืองเชียงตุงแลเชียงรุ้งก็กราบถวายบังคมลาออกจากเมืองมันทลีรัตนภูมิอังวะใหม่ ไปยังประเทศแห่งตน ๑๕
 
๑๕ เมืองเชียงตุงแลเชียงรุ้งทั้ง ๒ นี้เปนไทย พูดภาษาไทย ขึ้น อยู่กับพม่าด้วยความกลัว เพราะอยู่ใกล้อำนาจพม่า ถ้าเห็นอำนาจพม่าหย่อนลงคราวใด ฤาเกิดอริกับพม่า ก็ขวนขวายมาขึ้นไทย เปนดังนี้ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุทธยามา
 
 
 
 
 
๙๗
* เมื่อทัพเรือกลไฟอังกฤษ ๓ ลำถึงน่าเมืองมันทลีรัตนภูมินั้นจัดแจงเกณฑ์กองทัพรักษาพระนคร ฝ่ายราษฎรก็ป่วนปั่นระส่ำ ระสายไม่ปรกติ ฝ่ายข้าพเจ้าอยู่ที่เมืองมันทลีรัตนภูมิได้ ๖ ปีเมื่อมีเหตุบ้านเมืองไม่เปนศุขดังนั้น ข้าพเจ้าก็ลาท่านเสนาบดีแลเศรษฐีที่อุปถัมภ์บำรุงเลี้ยงข้าพเจ้ามาได้ ๖ ปี ว่าจะกลับมาปรนนิบัติบิดามารดาซึ่งเปนผู้มีพระคุณอันใหญ่ยิ่ง ท่านเสนาบดีก็ให้ใบยอมอนุญาตให้ออกจากเมืองได้โดยสดวก แต่ไม่ได้กราบทูลลาพระเจ้าอังวะ เพราะมีราชการบ้านเมืองไม่สบาย ข้าพเจ้าก็รีบเร่งมาลงเรือกลไฟเมล์ ชื่ออนันตออฟไอรอนลำเดิมที่ข้าพเจ้าเคยมาแต่ก่อนนั้น ลงเรือมาแต่เมืองมันทลีรัตนภูมิ มาพักอยู่ที่เมืองร่างกุ้งหลายวัน แล้วลงเรือกลไฟโดยสานมาจากเมืองร่างกุ้ง ขึ้นพักอยู่ที่เมืองทวายคอยเรือกลไฟไม่มีมา ข้าพเจ้าต้องขึ้นบกเดินแต่เมืองทวายจ้างช้างจ้างเกวียนส่งเปนตอน ๆ พักร้อนแรมมาถึงเมืองกาญจนบุรี พระยากาญจนบุรีรับรองเลี้ยงดูโดยปรกติ แล้วเดินมาแต่เมืองกาญจนบุรี มาถึงพระแท่นแขวงเมืองราชบุรี แล้วตัดมาทางพระปฐมเจดีย์ ออกจากพระปฐม เจดีย์มาถึงกรุงเทพ ฯ ณวัน ๖ ค่ำ ปีเถาะเอกศก จุลศัก ราช ๑๒๔๑
--------
{{PD-Thailand}}
[[หมวดหมู่:ประชุมพงศาวดาร|๐๗]]