ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำนานหนังสือสามก๊ก/ส่วน 1/ตอน 3"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{หัวเรื่อง | ชื่อ = ../../ | ปี = 2471 | ผู้สร้างสรรค์ = พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ | บรรณาธิการ = | ผู้แปล = | ส่วน = ส่วน 1 | ผู้มีส่วนร่วม = | ก่อนหน้า = ../../คำนำ/ | ถัดไป = ...."
ป้ายระบุ: ถูกแทน
บรรทัดที่ 1:
{{หัวเรื่อง
{{c|{{fs|120%|๓. ว่าด้วยสำนวนแปลหนังสือสามก๊ก}}}}
| ชื่อ = [[../../]]
 
| ปี = 2471
 
| ผู้สร้างสรรค์ = พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ
 
| บรรณาธิการ =
ลักษณะการแปลหนังสือจีนเป็นภาษาไทยแต่โบราณ (หรือแม้จนชั้นหลังมา) อยู่ข้างลำบาก ด้วยผู้รู้หนังสือจีนไม่มีใครชำนาญภาษาไทย ผู้ชำนาญภาษาไทยก็ไม่มีใครรู้หนังสือจีน การแปลจึงต้องมีพนักงานเป็นสองฝ่ายช่วยกันทำ ฝ่ายผู้ชำนาญหนังสือจีนแปลความออกให้เสมียนจดลง แล้วผู้ชำนาญภาษาไทยเอาความนั้นเรียบเรียงแต่งเป็นภาษาไทยให้ถ้อยคำแลสำนวนความเรียบร้อยอีกชั้นหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงต้องมีผู้ซึ่งทรงความสามารถ เช่น กรมพระราชวังหลัง แลเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นต้น จนเมื่อชั้นหลัง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้อำนวยการแปล ท่านผู้อำนวยการบางทีจะไม่ได้เป็นผู้แต่งภาษาไทยเองทุกเรื่อง แต่เห็นจะต้องสันนิษฐานทักท้วงแก้ไขทั้งข้อความแลถ้อยคำที่แปลมากอยู่ ข้อนี้พึงสังเกตได้ในบรรดาหนังสือเรื่องพงศาวดารจีนที่แปลนั้น ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้มีบรรดาศักดิ์สูงอำนวยการแปล สำนวนมักดีกว่าเรื่องที่บุคคลสามัญแปล แต่สำนวนแปลคงจะไม่สู้ตรงกับสำนวนที่แต่งไว้ในภาษาจีนแต่เดิม เพราะผู้แปลมิได้รู้สันทัดทั้งภาษาจีนแลภาษาไทยรวมอยู่ในคนเดียวเหมือนเช่นแปลหนังสือฝรั่งกันทุกวันนี้
| ผู้แปล =
 
| ส่วน = ส่วน 1
ในบรรดาหนังสือเรื่องพงศาวดารจีนที่ได้แปลเป็นภาษาไทยนับถือกันว่า สำนวนหนังสือสามก๊กดีกว่าเรื่องอื่น ด้วยใช้ถ้อยคำแลเรียงความเรียบร้อยสม่ำเสมออ่านเข้าใจง่าย ถึงมีผู้ชอบยกเอาประโยคในหนังสือสามก๊กไปพูดเล่นเป็นภาษิต ในเมื่อจะกล่าวถึงสำนวนหนังสือเรื่องอื่นซึ่งไม่ยักเยื้องมักกล่าวว่าเป็นสำนวนอย่าง "สามเพลงตกม้าตาย" หรือ "ได้ฟังดังนั้นก็โกรธ" ดังนั้น แต่มิใช่ติเตียนสำนวนหนังสือสามก๊ก ยอมว่าเป็นสำนวนดีด้วยกันทั้งนั้น จึงได้ใช้หนังสือสามก๊กเป็นแบบสำหรับหัดเรียงความในโรงเรียน แต่เมื่อข้าพเจ้าอ่านหนังสือสามก๊กคราวหลัง มาสังเกตเห็นขึ้นใหม่อย่างหนึ่งซึ่งมิได้เคยรู้มาแต่ก่อนว่า หนังสือสามก๊กนั้นสำนวนที่แต่งคำแปลเป็นสองสำนวน สำนวนหนึ่งแต่งตั้งแต่ต้นไปจนในสมุดพิมพ์เล่มที่ ๓ ตามฉบับเดิมหรือเปลี่ยนเป็นตอนที่ ๕๕ ในฉบับพิมพ์ใหม่นี้ แต่นั้นไปจนหมดเรื่องเป็นอีกสำนวนหนึ่งต่างหาก แต่งก็ไม่เลว แต่ไม่ดีเหมือนสำนวนที่แต่งตอนต้น<ref>ข้าพเจ้าได้ชวนพระยาพจนปรีชาให้ช่วยพิเคราะห์อีกคนหนึ่งก็เห็นว่าเป็นสองสำนวนเช่นเดียวกันกับข้าพเจ้า</ref> ซึ่งหนังสือสามก๊กเป็นสองสำนวนดังกล่าวนี้น่าสันนิษฐานว่า จะเป็นเพราะเจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลอยู่ไม่ทันตลอดเรื่อง ถึงอสัญกรรมเสีย (เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๗) มีผู้อื่นอำนวยการแปลต่อมา สำนวนจึงผิดกันไป
| ผู้มีส่วนร่วม =
 
| ก่อนหน้า = [[../../คำนำ/]]
อนึ่ง การแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยผิดกับแปลภาษาอื่นอีกอย่างหนึ่ง ด้วยจีนต่างเหล่าอ่านหนังสือจีนสำเนียงผิดกัน เช่น หนังสือเรื่องสามก๊กนี้ จีนต่างเหล่าต่างเรียกชื่อเมืองแลชื่อบุคคลผิดกัน ดังจะแสดงพอให้เห็นเป็นตัวอย่างต่อไปนี้
| ถัดไป = [[../ส่วน 2/]]
 
| หมายเหตุ = {{ชุด
{{g}} ราชอาณาเขตของพระเจ้าโจผี คำหลวง (คือ จีนเมืองหลวงเดิม<ref>เมืองหลวงเดิมอยู่แถวเมืองน้ำกิ่ง เมืองปักกิ่งเป็นเมืองหลวงชั้นหลัง สำเนียงชาวปักกิ่งเพี้ยนไปอีกอย่างหนึ่ง</ref>) เรียกว่า ไวโกวะ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า วุยก๊ก จีนแต้จิ๋วเรียกว่า งุ่ยก๊ก จีนกวางตุ้งเรียกว่า ง่ายโกะ จีนไหหลำเรียกว่า หงุ่ยก๊ก
<noinclude>| ชุด = '''[[หมวดหมู่:../../ส่วน 1|ส่วน 1 ตำนานหนังสือสามก๊ก]]</noinclude>'''
 
{{c|{{fs|120%|๓. ชื่อ = ตอน 3 ว่าด้วยสำนวนแปลหนังสือสามก๊ก}}}}
{{g}} ราชอาณาเขตของพระเจ้าเล่าปี่ คำหลวงเรียกว่า จ๊กโกวะ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า จ๊กก๊ก จีนแต้จิ๋วเรียกว่า จ๊กก๊ก จีนแต้จิ๋วเรียกว่า จ๊วกก๊ก จีนกวางตุ้งเรียกว่า ซกโกะ จีนไหหลำเรียกว่า ต๊กก๊ก
| ก่อน = [[../ตอน 2/]]
 
| ถัด = [[../ตอน 4/]]
{{g}} ราชอาณาเขตของพระเจ้าซุนกวน คำหลวงเรียกว่า อู๋โกวะ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า ง่อก๊ก จีนแต้จิ๋วเรียกว่า โหง๊วก๊ก จีนกวางตุ้งเรียกว่า อื้อโกะ จีนไหหลำเรียกว่า โง่วก๊ก
}}
 
}}
{{g}} เล่าปี่ คำหลวงเรียก ลิ่วปี๋ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า เล่าปี่ จีนแต้จิ๋วเรียกว่า เล่าปี๋ จีนกวางตุ้งเรียกว่า เหล่าปี๋ จีนไหหลำเรียกว่า ลิ่วปี่
<pages index="ตำนานฯ สามก๊ก - ดำรง - ๒๔๗๑ b.pdf" from="31" fromsection="31-2" to="35" tosection="35-1"/>
 
----
{{g}} โจโฉ คำหลวงเรียก เฉาเช่า จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า โจโฉ จีนแต้จิ๋วเรียกว่า เช่าเฉา จีนกวางตุ้งเรียกว่า โช่วเชา จีนไหหลำเรียกว่า เซาเซ่า
{{รกออ}}
 
{{g}} ซุนกวน คำหลวงเรียกว่า ซุนขยง จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า ซุ่นกวน จีนแต้จิ๋วเรียกว่า ซึงขวน จีนกวางตุ้งเรียกว่า ซุนคิ่น จีนไหหลำเรียกว่า ตุนเขียน
 
{{g}} ขงเบ้ง คำหลวงเรียกว่า ข้งหมิ่ง จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า ขงเบ้ง จีนแต้จิ๋วเรียกว่า ขงเหมง จีนกวางตุ้งเรียกว่า หงเม่ง จีนไหหลำเรียกว่า ขงเหม่ง
 
{{g}} สุมาอี้ คำหลวงเรียกว่า ซือม้าอี๋ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า สุมาอี้ จีนแต้จิ๋วเรียกว่า ซือเบอี๋ จีนกวางตุ้งเรียกว่า สือหมาอี้ จีนไหหลำเรียกว่า ซีมาอี๋
 
{{g}} จิวยี่ คำหลวงเรียกว่า เจียวหยี จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า จิวยี่ จีนแต้จิ๋วเรียกว่า จิวหยู จีนกวางตุ้งเรียกว่า จาวหยี จีนไหหลำเรียกว่า จิวยี่
 
{{g}} กวนอู คำหลวงเรียกว่า กวานอี้ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า กวนอู จีนแต้จิ๋วเรียกว่า กวนอู๊ จีนกวางตุ้งเรียกว่า กวานยี่ จีนไหหลำเรียกว่า กวนยี่
 
{{g}} เตียวหุย คำหลวงเรียกว่า เจียงฟุย จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า เตียวหุย จีนแต้จิ๋วเรียกว่า เตียฮุย จีนกวางตุ้งเรียกว่า จง/จางฟุย จีนไหหลำเรียกว่า เจียงฮุย ดังนี้
 
หนังสือเรื่องจีนที่แปลเป็นภาษาไทย บางเรื่องเรียกชื่อตามสำเนียงฮกเกี้ยน บางเรื่องเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋ว เพราะจีนในประเทศสยามนี้มีจีนเหล่าฮกเกี้ยนกับเหล่าแต้จิ๋วมากกว่าเหล่าอื่น ผู้แปลเป็นจีนเหล่าไหนอ่านหนังสือสำเนียงเป็นอย่างใด ไทยเราก็จดลงอย่างนั้น หนังสือสามก๊กที่แปลเป็นไทยเรียกชื่อต่าง ๆ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เมื่อเทียบกับหนังสือสามก๊กที่แปลเป็นภาษาอื่น ชื่อที่เรียกจึงผิดเพี้ยนกัน เพราะเขาเรียกตามสำเนียงจีนเหล่าอื่น มักทำให้เกิดฉงนด้วยเหตุนี้
<noinclude>[[หมวดหมู่:ตำนานหนังสือสามก๊ก]]</noinclude>