ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 70/ผู้วายชนม์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Venise12mai1834 (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{หัวเรื่อง | ชื่อ = ../../ ภาคที่ 70 | ปี = 2484 | ผู้สร้างสรรค์ = กรมศิลปากร | บรรณาธิการ = | ผู้แปล = | ส่วน = ประวัติผู้วายชนม์ | ผู้มีส่วนร่วม = หม่อมราชวงศ์บุญรับ พินิจชนคดี |..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน
บรรทัดที่ 1:
{{หัวเรื่อง
ลำดับพระวงศ์ของหม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช
| ชื่อ = [[../../]] [[../|ภาคที่ 70]]
 
| ปี = 2484
ทางพระบิดา
| ผู้สร้างสรรค์ = กรมศิลปากร
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เจ้าจอมมารดา อำภา
| บรรณาธิการ =
มีพระโอรส ธิดา ๖ พระองค์ คือ
| ผู้แปล =
๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ กรมหมื่นนฤบาล (พระองค์เจ้า กปิตถา ต้นสกุล กปิตถา ณอยุธยา)
| ส่วน = ประวัติผู้วายชนม์
๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ (พระ-องค์เจ้าปราโมช ต้นสกุลปราโมช ณ อยุธยา)
| ผู้มีส่วนร่วม = หม่อมราชวงศ์บุญรับ พินิจชนคดี
๓. พระองค์เจ้าชาย กรรฐา
| ก่อนหน้า = [[../คำนำ/]]
๔. พระองค์เจ้าชาย เกยูร
| ถัดไป = [[../เรื่องที่ 1|1.]]
๕. พระองค์เจ้าหญิง กัลยาณี
| หมายเหตุ =
๖. พระองค์เจ้าหญิง กนิษฐน้อยนารี
| สถานีย่อย = ชีวประวัติ
 
}}
สายทางพระมารดาสืบมาดั่งนี้
<pages index="ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗๐) - ๒๔๘๔.pdf" include="8"/>
กรมพระราชวังสถานพิมุข (พระวังหลัง)
{{คหน}}
พระองค์เจ้าทับทิม หม่อมแย้ม
<pages index="ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗๐) - ๒๔๘๔.pdf" from="9" to="15"/>
มีธิดา ๓ ท่าน คือ
{{คหน}}
๑. หม่อมราชวงศ์ ดวงใจ ปราโมช
<pages index="ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗๐) - ๒๔๘๔.pdf" include="16"/>
๒. หม่อมราชวงศ์ จร อิศรางกูร
๓. หม่อมราชวงศ์ ดาว ปราโมช
กรมขุนวรจักร ฯ และ หม่อมราชวงศ์ ดวงใจ ปราโมช มีพระ-โอรส, พระธิดา ๑๑ องค์
๑. หม่อมเจ้าหญิง ไม่มีนาม
๒. หม่อมเจ้าชาย ไม่มีนาม
๓. หม่อมเจ้าหญิง เมาฬี ปราโมช
๔. หม่อมเจ้าหญิง ฉวีวาด ปราโมช
๕. หม่อมเจ้าหญิง คอยท่า ปราโมช
๖. หม่อมเจ้าชาย จำรูญ ปราโมช
๗. หม่อมเจ้าชาย ไม่มีนาม
๘. หม่อมเจ้าชาย เสพย์บัณฑิตย์ ปราโมช
๙. หม่อมเจ้าหญิง โอษฐอ่อน ปราโมช
๑๐. หม่อมเจ้าหญิง รัมแข ปราโมช
๑๑. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ
 
หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช ได้เสด็จเข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง กับสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ตั้งแต่พระชันษาย่าง ๑๖ ปี เข้าไปอยู่ได้ ๔ เดือนด้วยคุณงามความดีของท่าน สมเด็จกรมพระยาสุดารัตน ฯ ได้ทรงมอบให้เป็นหน้าที่ปอกผลไม้ ตั้งเครื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ตลอดมาและเทียบเครื่องคาวด้วย จนพระชันษาได้ ๓๗ ปี ตรงกับปี ร.ศ.๑๑๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านได้ทรงรับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้าที่ ๓ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดขึ้นทั้งข้างในและข้างนอก
ปี ร.ศ. ๑๑๔ สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ทิวงคต
พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค ได้ทรงมอบให้หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า เป็นผู้จัดการจ่ายเงินเครื่องพระศพ และค่าอาหารของข้าหลวงทั้งหมด
ปีกุน ร.ศ. ๑๑๗ ถวายพระเพลิงกรมพระยาสุดารัตน ฯ แล้ว ท่านได้ไปรับราชการทำเครื่องต้นอยู่กับพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ
ปีจอ ร.ศ. ๑๒๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ สวรรคตแล้ว ท่านยังทรงทำเครื่องพระบรมศพตลอดไปจนถวายพระเพลิง
ร.ศ. ๑๒๙ ปลายปี สมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินี พระพันปีหลวง ได้ทรงขอร้องให้ไปช่วยทำเครื่องพระบาทสมเด็จพระ-มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้ช่วยคุณท้าวราชกิจทำอยู่ ๒ ปี จนถึงปี ร.ศ. ๑๓๑ ได้รับพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้าที่ ๒
ปี ร.ศ.๑๓๒ ได้ทรงเป็นผู้อำนวยการห้องเครื่องต้นทั้งหมด แทนคุณท้าวราชกิจ และต่อมาได้รับราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ชั้น ๓ เข็มพระบรมนามาภิไธยชั้น ๑ ประดับเพ็ชร และเข็มเสมา ร.ร.๖ ชั้น ๒
 
ระหว่างที่ท่านทรงรับราชการอยู่ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ไปตามจังหวัดต่าง ๆ ทุกคราว เหตุด้วยพระองค์ท่านมีพระนิสัยอันดีงาม และโอบอ้อมอารีทำให้เป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาข้าราชการหัวเมือง ที่มาติดต่อกับพระองค์ท่าน ต่างพากันชมเชยคุณความดีของท่านอยู่เสมอ คราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จไปซ้อมรบเสือป่า ท่านทรงทำเครื่องต้นและรับเลี้ยงอาหารเสือป่าที่ไปซ้อมรบเป็นจำนวนมากทั้งหมด ขณะที่ทรงรับราชการอยู่นั้นได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดทั้งในและนอกปีละ ๓,๐๐๐ บาท และเงินเดือนๆละ ๓๐๐ บาท ต่อมาท่านได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ ด้วยโรคภัยเบียดเบียน เมื่อปีจอ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ตอนนี้ยังได้ทรงรับเงินปีอยู่ปีละ ๑,๐๐๐ บาท
หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมชทรงเป็นผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้ที่ยามท่านล่วงลับไปแล้ว ในฐานะที่ท่านทรงเป็นอุบาสิกาในวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันท่านสิ้นนั้น สมเด็จ-วชิรญาณ ฯ ได้มีการเทศนาถึงคุณความดีของท่านที่ได้มีแก่วัด และแก่พระสงฆ์ดังปรากฏอยู่แก่ท่านผู้ฟังธรรมในวัดนั้นแล้วทุกท่าน ทั้งคณะสงฆ์วัดบวร ฯ ได้ทำบุญถวายท่าน ๗ วันครั้งหนึ่ง อุบาสิกาในวัดบวร ฯ ๗ วันครั้งหนึ่ง สมเด็จวัดบวร ฯ ๗ วันครั้งหนึ่ง ท่านได้ทรงสร้างกุฏิคอยท่า ปราโมช ๑ หลังเป็นเงิน ๕,๕๐๐ บาท และทรงบริจาคทรัพย์สร้างเสนาสนะ และถนนในวัดบวร ฯ และถวายนิตยภัตต์ประจำเดือนแก่ภิกษุบางรูป ทรงเป็นประมุขของอุบาสิกาในวัดบวรนิเวศ ฯ
 
ส่วนวัดบรมนิวาสได้ทรงสร้างหอเขียว เฉเพาะหอเขียวนี้ส่วนพระองค์ท่านได้ทรงออกเงิน ๘,๐๐๐ บาท และสร้างกุฏิอีกหนึ่งหลัง ได้เคยทรงสร้างกุฎีวัดราชาธิวาส ๑ หลัง ซึ่งภายหลังได้ใช้เป็นโรงเรียนบาลีสำหรับพระสงฆ์ และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปใหญ่ ๑ องค์ บนพระตำหนักเขียวที่วัดราชาธิวาสและซ่อมศาลาแดงคู่ที่หน้าวัดราชาฯ
 
วัดเสาธงทองที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นวัดคุณจอมมารดาอำภา คุณย่าของท่านปฏิสังขรณ์ วัดนี้เมื่อหม่อมเจ้าหญิงคอยท่ายังมีพระชนม์อยู่ และเมื่อยังอยู่ในราชการท่านเคยทรงทอดกฐินหลายครั้ง ได้ทรงช่วยปฏิสังขรณ์โบสถ์ สร้างศาลาน้ำ และกุฎี และเคยทรงสอนหลาน ๆ ว่าวัดนี้เป็นวัดคุณชวดได้ปฏิสังขรณ์ ถ้าต่อไปหลานคนใดมีอันจะกินขึ้นควรจะมาทอดกฐินทุกคนจะได้มีความเจริญรุ่งเรือง ในภายหน้า นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นพระทัยอันดีงามของท่านว่า แม้แต่สิ่งใดที่เป็นของบรรพบุรุษก็มิได้ทรงลืม แม้ทรงเห็นว่าพระชนม์ของท่านมากแล้ว ก็ยังอุตส่าห์ทรงสอนหลาน ๆ ไว้ให้ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อพระองค์ท่านอีก
 
ส่วนตามวัดหัวเมือง ได้ทรงเข้าทำโบสถ์วัดเมืองหลังสวน ๕๐๐ บาท และวัดจันนฤมิตต์ (เขาพระงาม) จังหวัดสระบุรี ๔๐๐ บาท เมื่อสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงซ่อมองค์พระปฐมเจดีย์ ท่านก็ได้เข้าเงินตามเสด็จซ่อมองค์ปฐม ๑ ช่อง
 
ทางโรงพยาบาลท่านได้เข้าเงินที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ๓๐๐๐บาท ได้ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งโรงพยาบาลนี้ และเมื่อทรงทำบุญพระชันษาครบ ๕ รอบ ก็ได้เข้าเงินตามโรงพยาบาลเท่าพระชนม์ มีวชิรพยาบาล, โรงพยาบาลกลาง, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อทรงทำบุญ ๘๑ ก็ทรงเข้าตามโรงพยาบาลเหล่านี้อีกเช่นกัน
 
อนึ่ง ท่านได้ทรงเป็นบุพการีแก่หลานทุกคน ไม่ว่ามีหรือจน ได้ทรงช่วยเหลือตามวิทยฐานะ มิได้ทรงลำเอียงเลย ผู้ใดประพฤติดีก็ทรงยินดีด้วย ถ้าผู้ใดยากจนก็ทรงประทานตามพระกำลังที่พอจะทำได้ ทรงเป็นหลักของสกุลปราโมช ไม่ว่าเจ้านายพี่น้องก็ดี หลานก็ดี ทรงพระเมตตาทั่วถึงกัน ยามใครมีสุขก็ทรงยินดีด้วยน้ำพระทัยอันแท้จริง ยามทุกข์ก็ทรงสั่งสอนด้วยธรรมให้คลายทุกข์ ทรงเป็นผู้อุปการะแก่มวลญาติเป็นที่พึ่งแก่ผู้น้อย เป็นมิตรที่ดี แม้ยามประชวรนายแพทย์มีพระวรสุนทรโอสถได้เคยกล่าวว่าท่านเป็นคนไข้ที่เอาใจหมอดีมาก แม้จะทรงหงุดหงิดเพราะพยาธิ ก็ยังทรงคุยให้สนุกสนานได้ในเมื่อยามทรงทุเลา ในคราวประชวรหนักคราวนี้ยังได้นิมนต์พระสงฆ์มาสวดถวายทุกคืน เมื่อเวลาพระสวดท่านอุตส่าห์พะยุงพระองค์ขึ้นนั่งประนมพระหัตถ์ฟังตลอดเวลา จนลุกไม่ได้ก็บรรทมประนมพระหัตถ์ฟังโดยสำรวม ท่านเป็นผู้ที่มั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอันแท้จริง
 
เมื่อเวลาประชวรก่อนสิ้นพระชนม์ท่านทรงปรารภว่า ถ้าชีวิตยังมีอยู่ จะรวมเงินช่วยป้องกันภัยทางอากาศ การป้องกันภัยทางอากาศนี้รัฐบาลได้แถลงในวิทยุ ท่านทรงฟังวิทยุทีไรก็ปรารภอยู่เสมอ แต่หากเป็นเวลากำลังประชวร ทั้งยังมีพระทัยเป็นห่วงพวกพี่น้องที่อพยพมาจากอินโดจีนด้วยความสงสาร เคยรับสั่งอยู่เสมอจะได้จัดการมอบเงินเพื่อประโยชน์แก่องค์การ ทั้งนี้ให้สบพระทัยเมื่อเวลายังมีพระชนม์อยู่ต่อไป
 
หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช ประชวรด้วยพระโรคชราสิ้นชีพิตักษัยด้วยพระอาการอันสงบ ในท่ามกลางพระสงฆ์ที่มาเยี่ยมและหมู่พระญาติมิตร เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๘๓ เวลา ๑๖.๕๕ น. คำนวณพระชันษาได้ ๘๔ บริบูรณ์ เป็นที่วิปโยคแก่บรรดาพระญาติ วงศ์มิตรสหาย และบริวารทั่วกัน
 
ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี
 
 
 
(หนานอ้น - คัด)