ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งานแปล:สอดส่องหลายท้องถิ่น: สยาม/บทที่ 8"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Venise12mai1834 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
YURi (คุย | ส่วนร่วม)
ย้ายไปดัชนี
ป้ายระบุ: ถูกแทน
 
บรรทัดที่ 1:
{{หัวเรื่องงานแปล
| ชื่อ = [[../|สอดส่องหลายท้องถิ่น: สยาม]]
| ศักราช = ค.ศ.
| ปี = 24511908
| ภาษา = en
| ต้นฉบับ = Peeps at Many Lands: Siam/Chapter 8
| ผู้สร้างสรรค์ = เออร์เนสต์ ยัง
| บรรณาธิการ =
| ส่วน = บทที่ 8 ภิกษุ
| ผู้มีส่วนร่วม =
| ก่อนหน้า = [[../บทที่ 7/]]
เส้น 14 ⟶ 15:
}}
__NOTOC__
<pages index="Siam (IA siampeepsatmany00youn).pdf" include="55"/>
[[File:Peeps at Many Lands (1908, p 55).jpg|center|400px]]
 
{{ตรคป
|{{ก|{{พญ|A group of Buddhist monks.}} ''Chapter {{ลรม|8}}.''}}
|{{ก|ภิกษุหมู่หนึ่ง ''บทที่ 8''}}
|ไม่ย่อหน้า=
}}
 
{{คหน}}
<pages index="Siam (IA siampeepsatmany00youn).pdf" from="58" to="62"/>
 
{{ตรคป
|{{ก|{{ขนอ|140%|{{พญ|Chapter {{ลรม|8}}}}}}<br>{{พญ|The monks}}}}
|{{ก|{{ขนอ|140%|บทที่ 8}}<br>ภิกษุ}}
|ไม่ย่อหน้า=
}}
 
{{ตรคป
|{{พญล|Siam}} has been called the "Kingdom of the Yellow Robe," on account of the presence everywhere of large numbers of monks, all of whom wear the yellow robe. Every man in Siam enters a monastery at some time or other in his life, and lives as a monk for a period varying from a few months to many years, or even for the whole of his life. The usual age for entering the priestly circle is about nineteen, and the shortest stay that can be decently made is for two months. The person seeking admission goes to the temple wearing his best clothes, and attended by a crowd of friends and relatives, who take presents to the priests. The presents include rice, fish, matches, fruit, cigars, betel-nut, alarm-clocks, vases of flowers, incense sticks, and dozens of other curious things. These are all distributed about the temple floor, till the sacred building looks as though it were about to be the scene of a glorified "jumble sale."
|สยามได้รับการเรียกขานว่า "ราชอาณาจักรแห่งผ้ากาสาวพัสตร์" ด้วยเหตุที่มีภิกษุจำนวนมากอยู่ทุกหนแห่ง และทุกรูปล้วนห่มผ้าเหลือง ชายทุกคนในสยามจะออกบวชไม่ช่วงใดก็ช่วงหนึ่งของชีวิต และจะดำรงชีพเป็นภิกษุเป็นระยะเวลาหนึ่งซึ่งแตกต่างกันไปตั้งแต่ไม่กี่เดือนไปจนหลายปี หรือแม้กระทั่งไปจนชั่วชีวิต ช่วงวัยตามปรกติสำหรับการเข้าสู่วงการนักบวชนั้น คือ ราว 19 ปี และตามความเหมาะสมแล้ว ระยะเวลาสั้นที่สุดที่สามารถอยู่ในภิกษุภาวะได้ คือ 2 เดือน ผู้ประสงค์จะได้รับการยอมรับเข้าสู่ภิกษุภาวะจะไปยังวัด สวมเสื้อผ้าที่ดีที่สุดของตน และมีเหล่าญาติมิตรติดตามไปพร้อมนำของขวัญมาถวายนักบวช ของขวัญเหล่านี้รวมถึงข้าว ปลา ไม้ขีดไฟ ผลไม้ ยาสูบ หมาก นาฬิกาปลุก แจกันดอกไม้ ธูป และของน่าพิศวงอย่างอื่นอีกหลายสิบอย่าง สิ่งของเหล่านี้จะกระจายไว้รอบพื้นวัดจนอาคารศักดิ์สิทธิ์นั้นดูประหนึ่งจะกลายเป็นฉาก "การขายของเลหลัง" อันน่าดูชม
}}
 
{{ตรคป
|Occasionally children enter the temple service and wear the yellow robe. It often happens that when one of a boy's parents is cremated he becomes a "boy-monk," because by this means he hopes to help his father in that other world to which he has been called. As a rule, too, each monk has a boy servant, or disciple, who cleans out his cell, and does other work of a lowly character for him. Monks may not possess silver money, but these disciples may receive it and spend it for the benefit of their masters.
|บางทีก็มีเด็กเข้าสู่การรับใช้พระศาสนาและได้ครองผ้าเหลือง มักปรากฏว่า เมื่อฌาปนกิจบิดามารดาคนใดคนหนึ่งของเด็กผู้ชายแล้ว เด็กชายผู้นั้นก็จะกลายเป็น "ภิกษุน้อย" เพราะเขาหวังว่า วิธีนี้จะช่วยสงเคราะห์บิดาในปรโลกที่ซึ่งคนผู้นั้นถูกเรียกตัวไปสู่ และก็เป็นธรรมดาเช่นกันที่ภิกษุแต่ละรูปจะมีข้ารับใช้หรือลูกศิษย์เป็นเด็กชายไว้คอยทำความสะอาดกุฏิหรือทำงานลักษณะต่ำต้อยอย่างอื่นให้แก่ตน ภิกษุไม่อาจครอบครองเงินทองได้ แต่ศิษย์เหล่านี้อาจรับเงินและใช้เงินเพื่อประโยชน์ของภิกษุผู้เป็นนายได้
}}
 
{{ตรคป
|In the early morning the big bell of the monastery calls the monk to rise and go out to beg for his breakfast. He takes a big iron bowl in his hands, holds it in front of him, and then with downcast head walks slowly through the streets allotted to him. He may not wander into another man's street, but must keep to his own. As he walks along, the people come out of their houses and put food into the bowl. One puts in a handful of rice, another a spoonful of curry. Someone else adds a few bananas, or some stale fish, or some scraped coco-nut. The monk looks neither to the right hand nor to the left, and gives no thanks to the donor of the meal. By the time he gets back to the monastery it is no exaggeration to say that his bowl often contains a very varied and weird assortment of oddments. It looks rather "a mess," and there is not much to be surprised at when we learn that some of the monks, who do not keep the rules of their Order very strictly, throw all this motley assortment of fish, flesh, fowl, and stale red-herrings to the dogs, afterwards partaking of a rather more tempting breakfast that has been prepared for them in the monastery. At certain times of the year only a few monks from each monastery go in search of food. The others stay at home at the temple. If a monk has rich relations, his disciple often receives for him well-cooked and appetizing meals upon which to break his fast.
|เช้าตรู่ ระฆังใหญ่ในอารามจะปลุกภิกษุให้ตื่นและออกไปขออาหารเช้า ภิกษุจะนำชามเหล็กขนาดใหญ่<ref>คือ บาตร</ref> มาไว้ในมือ โดยถือไว้เบื้องหน้าตน จากนั้น จะเดินคอตกอย่างแช่มช้าไปตามมรรคาที่จัดช่องไว้ให้ ภิกษุไม่อาจเตร่เข้าไปในช่องทางของผู้อื่น แต่ต้องอยู่เฉพาะที่ของตน เมื่อภิกษุดั้นด้นเดินไป ผู้คนทั้งหลายจะออกมาจากบ้านเรือนและใส่อาหารลงในชามนั้น คนหนึ่งใส่ข้าวเต็มกำมือ อีกคนหนึ่งใส่แกงเต็มทัพพี คนอื่นบางคนอาจเพิ่มกล้วยสองสามใบ หรือปลาแห้งสักจำนวนหนึ่ง หรือมะพร้าวขูดบ้าง ภิกษุจะไม่ทั้งเหลียวซ้ายและแลขวา และจะไม่กล่าววาจาขอบคุณใด ๆ ต่อผู้บริจาคอาหาร พอภิกษุกลับถึงอาราม ก็คงจะไม่เกินไปถ้าจะบรรยายว่า ชามข้าวของท่านนั้นมักเต็มไปด้วยของเล็กของน้อยระคนปนเปกันอย่างพิสดารและไม่น่าพิสมัยยิ่งนัก ดูออกไปทาง "เละ" เสียมากกว่า และก็ไม่น่าประหลาดใจอันใดมากมายเมื่อเราได้รู้ว่า ภิกษุบางรูปที่ไม่ยึดถือระเบียบแห่งนิกายตนเคร่งครัดนักจะนำปลา เนื้อ ไก่ และปลาเฮร์ริงแดงตากแห้ง<ref>{{w|ปลาเฮร์ริง|เฮร์ริง}}เป็นปลาในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งไม่น่าใช่ปลาที่ชาวสยามยุคนั้นจะหาได้ตามปรกติ บางทีผู้เขียนอาจสื่อถึงปลาอย่างอื่นที่มีรูปลักษณ์คล้ายกัน (ดูปลาเฮร์ริงใน ''{{ตลล|ส-ร1|รูปที่ 1|ร1}}'')</ref> ที่ผสมผเสเปปนกันทั้งหมดนี้มาโยนให้หมา ก่อนจะฉันอาหารเช้าที่เย้ายวนใจกว่านั้นมากซึ่งมีผู้ตระเตรียมไว้ให้แล้วในอาราม ในบางช่วงเวลาของปี แต่ละอารามจะมีภิกษุไม่กี่รูปเท่านั้นที่ออกไปหาอาหาร ส่วนรูปอื่น ๆ จะอยู่กับกุฎิที่วัด ถ้าภิกษุมีญาติโยมเยอะ ศิษย์ของภิกษุรูปนั้นมักจะรับอาหารที่ปรุงอย่างเลิศล้ำและชวนน้ำลายสอเอาไว้ให้ฉันเป็นมื้อเช้า<ref>สำนวน "[[:wikt:en:break one's fast|break one's fast]]" แปลว่า กินเป็นมื้อเช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังอดอาหารมาทั้งคืน</ref>
}}
 
{{ตรคป
|When breakfast is over, the brethren of the yellow robe go into the temple for service, after which there is work for those who care to do it. The majority do nothing, a form of employment which suits the average Siamese a great deal better than work. As the monks are drawn from all classes of society, there are always amongst them some who can repair the buildings or help in building boats, or even, perhaps, teach in the school,
|ครั้นสิ้นมื้อเช้า เหล่าภราดรผ้าเหลืองจะเข้าไปในวัดเพื่อทำพิธีกรรม เสร็จแล้วจะมีงานสำหรับรูปใดที่ใฝ่ใจจะทำ แต่ส่วนใหญ่ไม่ทำอันใด นับเป็นภาวะการมีงานทำรูปแบบหนึ่งซึ่งเหมาะเหลือเกินกับชาวสยามทั่วไปยิ่งกว่าการลงแรงทำงาน เนื่องจากภิกษุนั้นมาจากทุกชั้นวรรณะในสังคม จึงจะปรากฏเสมอว่า มีบางรูปในหมู่ภิกษุที่สามารถซ่อมแซมอาคาร หรือช่วยสร้างเรือ หรือกระทั่งบางทีก็สอนที่โรงเรียนได้ด้วย
}}
 
{{ตรคป
|At noon another meal is eaten; after that there is neither tea nor supper, so that the monks get nothing more to eat until the next morning. They manage to stifle their natural hunger by drinking tea, chewing betel-nut, and smoking tobacco.
|ยามเที่ยง มีการฉันอาหารอีกมื้อ ถัดนั้นแล้ว ไม่มีทั้งมื้อชาและมื้อเย็น ด้วยเหตุนั้น ภิกษุจึงไม่มีอะไรให้ฉันอีกจนกว่าจะถึงเช้าวันใหม่ ภิกษุระงับความหิวตามธรรมชาติของตนได้ด้วยการดื่มชา เคี้ยวหมาก และสูบยา
}}
 
{{ตรคป
|Towards evening the priests bathe, either in the river or in some pond in the temple grounds. As soon as it is dark they must confine themselves within the monastery walls. Every evening at about half-past six the bell rings to tell the monks that "locking-up" time has arrived. The bells, which play so important a part as clocks in the temples, are hung in a wooden framework, usually built in three stories. Strictly speaking, it is not correct to say that the bells are rung. They are not rung — they are beaten with a thick piece of wood. There are generally a number of little boys playing about in the cool, shady grounds who are only too willing at the proper time to scramble up the rickety wooden ladders and hammer away on the bells with a lump of wood.
|ครั้นจวนค่ำ เหล่านักบวชจะสรงน้ำ ไม่ว่าในแม่น้ำหรือในสระน้ำบางอย่างในเขตวัด ทันทีที่มืด ภิกษุต้องกักตนอยู่ภายในกำแพงอาราม ทุก ๆ ค่ำจะมีการสั่นระฆัง ณ เวลาราว 6 โมงครึ่งเพื่อแจ้งภิกษุว่า ถึงเวลา "กักขัง" แล้ว ระฆังซึ่งมีบทบาทสำคัญมากในฐานะเป็นนาฬิกาประจำวัดนั้นจะแขวนไว้กับโครงร่างไม้ที่มักสร้างเป็น 3 ชั้น พูดกันให้ชัด จะว่ามีการสั่นระฆังก็ไม่ถูก เขาไม่สั่นระฆัง เขาตีระฆังด้วยไม้ท่อนหนา รอบ ๆ เขตอันร่มเย็นนี้ปรกติจะมีเด็กชายตัวน้อยกลุ่มหนึ่งเล่นอยู่ ซึ่งเมื่อถึงเวลาอันควรแล้ว จะยอมปีนป่ายบันไดไม้โคลงเคลงขึ้นไปแล้วเคาะระฆังด้วยดุ้นไม้
}}
 
{{ตรคป
|From July to October, when the heavy rains fall, the priests meet together in the evening and chant prayers. The only light in the temple is that of dim candles or smoky lamps, and the dull rays fall on the kneeling yellow-robed figures below, or lose themselves in the blackness of the lofty roofs above, while there rolls out into the evening air the rich, mellow notes of the voices in prayer. The frogs in the pond croak a sonorous bass, the crickets add their chirpy treble, and the fireflies flash on shrub and palm, all adding their share to the evening service.
|ช่วงกรกฎาคมถึงตุลาคมซึ่งมีฝนตกหนัก นักบวชจะประชุมกันในกาลค่ำแล้วพร่ำสวดภาวนา แสงเดียวในวัด ก็คือ แสงของเทียนที่สลัวหรือตะเกียงอันควันคลุ้ง และรัศมีที่พร่ามัวจะสาดส่องลงบนเหล่าผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ที่คุกเข่าอยู่เบื้องล่าง หรือไม่ก็สลายตัวไปในความมืดมิดของหลังคาสูงตระหง่านด้านบน ขณะที่เสียงภาวนาเป็นทำนองนุ่มนวลก็แผ่แพร่ไปในบรรยากาศยามค่ำ ฝ่ายกบในสระก็จะครวญเสียงทุ้มกันสนั่น จิ้งหรีดก็พลันเสริมเสียงแหลมระเบ็งเซ็งแซ่ ส่วนหิ่งห้อยก็คอยกระพริบอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้และไม้ตาล ต่างผสมโรงในพิธีกรรมยามค่ำกันถ้วนหน้า
}}
 
{{ตรคป
|The cells in which the monks live are small whitewashed rooms, with practically no furniture. There are a few mats, perhaps a bedstead — or, failing that, a mattress on the floor — a few flowers, and an image of the Buddha, the founder of their religion. In a little cupboard the monk keeps a teapot and a few tiny cups, and he is always glad to give a visitor as much tea as he can drink. Most likely he possesses a chessboard and a set of chessmen, for most of the Siamese are fond of this ancient game.
|กุฏิที่ภิกษุอยู่นั้นเป็นห้องเล็ก ทาสีขาวทั่ว แทบไม่มีเครื่องเรือนใด ๆ มีเพียงพรมไม่กี่ผืน บางทีก็โครงเตียง หรือหาไม่แล้ว ก็จะมีฟูกอยู่บนพื้น มีดอกไม้สักนิดสักหน่อย และมีรูปพระพุทธเจ้าผู้สถาปนาศาสนาของพระภิกษุเหล่านั้น ภิกษุจะเก็บกาชาหนึ่งใบกับถ้วยใบจิ๋วสองสามใบไว้ในตู้หลังเล็ก และยินดีอยู่เสมอที่จะจัดน้ำชาให้แขกมากเท่ากับที่ตนฉันได้ เป็นไปได้มากว่า ภิกษุจะมีกระดานหมากรุกพร้อมตัวหมากสักชุดอยู่ในครอบครอง เพราะชาวสยามส่วนใหญ่คลั่งไคล้การละเล่นโบราณนี้
}}
 
{{ตรคป
|The prayers and chants are written with a hard, fine point of ivory or iron upon long strips of palm-leaf. The strips are held together by a string or a piece of tape passed through a series of holes. The bundle is gilded round the edges and carefully preserved in a chest. These "books" are written in a language which the common people do not understand, and, in fact, only those monks who stay long enough in the temple service to learn the language have any idea what the chants are about that they so diligently repeat.
|บทภาวนาและบทสวดนั้นจะใช้หัวเข็มอันแข็งและละเอียด ทำจากงาช้างหรือเหล็ก จารลงบนใบตาลที่เป็นริ้วยาว<ref>คือ ใบลาน</ref> ริ้วใบตาลนี้จะใช้เชือกหรือแถบสักชิ้นยึดไว้ด้วยกันผ่านแนวรู เอกสารผูกนี้จะปิดทองไว้ตามขอบและเก็บรักษาอย่างระมัดระวังไว้ในหีบ "หนังสือ" เหล่านี้จะเขียนเป็นภาษาที่ผู้คนทั่วไปไม่เข้าใจ และอันที่จริง มีแต่ภิกษุที่อยู่รับใช้พระศาสนามานานพอจนได้เรียนภาษานี้แล้ว จึงจะรู้ว่า บทสวดที่ตนเพียรท่องนักหนานี้มีเนื้อหาว่าด้วยสิ่งใด
}}
 
{{ตรคป
|Amongst the few possessions which a monk may lawfully hold is a big fan made of broad palm-leaves. This he is supposed to hold in front of his face as he walks about, in order that he may keep his eyes from beholding the things of the world. But as often as not, during the heat of the day, he holds it over his head to shield him from the fierce rays of the sun. And one can scarcely blame him, for he is not allowed to wear a hat of any kind, and every bit of hair has been shaved off the top of his head.
|ในบรรดาข้าวของไม่กี่อย่างที่ภิกษุอาจครอบครองได้ตามกฎหมายนั้น มีพัดขนาดใหญ่ทำจากใบตาลใบกว้าง<ref>คือ ตาลปัตร</ref> เป็นที่คาดหมายว่า ภิกษุจะถือพัดนี้ไว้เบื้องหน้าตนในยามที่เดินไปรอบ ๆ เพื่อป้องกันสายตาของตนมิให้ยลสิ่งต่าง ๆ ของโลก แต่บ่อยครั้งเหลือเกินที่ในช่วงเวลาร้อนระอุของวัน ภิกษุจะถือพัดนี้ไว้บนศีรษะเพื่อจะกันตนจากรังสีอันร้อนแรงแห่งดวงตะวัน และคงยากที่ใครจะโทษท่านได้ เพราะท่านไม่ได้รับอนุญาตให้สวมหมวกชนิดใด ๆ อยู่แล้ว ทั้งต้องโกนเผ้าผมทุกอณูออกจากบนกบาลอีก
}}
 
{{ตรคป
|There is a chief priest to each monastery, whose business it is to see that the temple services are properly conducted, and that the monks behave themselves in a becoming manner. If one of the brethren does anything wrong, and his superior hears about it, punishment is sure to follow. For a very serious offence the guilty one is expelled from the monastery and handed over to the police. Such a man gets the severest punishment allowed by the law. But if the offence is only a mild one, then the punishment is a light one. The sinner will perhaps be set to draw water, to sweep the temple courtyard, or to perform some other menial duty usually undertaken by the ordinary servants.
|อารามแต่ละแห่งมีหัวหน้านักบวชหนึ่งรูป ซึ่งมีกิจเป็นการสอดส่องว่า พิธีกรรมของวัดจะได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสม และภิกษุจะประพฤติตนในลักษณะที่เหมาะที่ควร ถ้าภิกษุรูปหนึ่งในหมู่ภราดรสงฆ์กระทำสิ่งผิดใด ๆ และผู้มีอำนาจเหนือล่วงรู้เรื่องนั้นเข้า ก็แน่นอนว่า สิ่งที่ตามมาคือการลงโทษ สำหรับความผิดอันร้ายแรงยิ่ง ผู้มีความผิดจะถูกขับจากอาราม และส่งตัวให้ตำรวจ ชายผู้นั้นจะได้รับโทษหนักที่สุดตามที่กฎหมายอนุญาต แต่ถ้าความผิดนั้นเป็นแต่เรื่องเล็กน้อย เช่นนั้นแล้ว โทษก็จะเบา ส่วนผู้มีบาปนั้น บางทีจะถูกจัดให้ชักลากน้ำ กวาดลานวัด หรือกระทำหน้าที่ต่ำต้ออย่างอื่นบางประการซึ่งมักเป็นงานของคนรับใช้ตามปรกติ
}}
 
{{ตรคป
|Some of the "sins" that the priest may not commit are very curious to us, and many of them are, in fact, committed regularly without any punishment following. For instance, it is a sin to sleep more than twelve inches above the ground, to listen to music, to eat too much, to sleep too long, to swing the arms when walking, to burn wood, to wink, to slobber or make a noise when eating, to ride on an elephant, or to whistle.
|"บาป" บางอย่างที่นักบวชไม่อาจกระทำได้นั้น ชวนให้เราฉงนสนเท่ห์นัก และที่จริง บาปเหล่านั้นหลาย ๆ อย่างก็กระทำกันเป็นกิจวัตรโดยปราศจากบทลงโทษใด ๆ ตามมา เป็นต้นว่า จะเป็นบาปถ้านอนสูงกว่าพื้นเกิน 12 นิ้ว ฟังเพลง กินมากเกิน นอนมากไป แกว่งแขวนขณะเดิน เผาไม้ ขยิบตา ปล่อยให้น้ำลายยืดหรือส่งเสียงดังในยามกิน ขี่ช้าง หรือผิวปาก
}}
 
==หมายเหตุ==