ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งานแปล:สอดส่องหลายท้องถิ่น: สยาม/บทที่ 15"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Venise12mai1834 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Asembleo (คุย | ส่วนร่วม)
ย้ายไปเนมสเปซหน้า
ป้ายระบุ: ถูกแทน
 
บรรทัดที่ 6:
| ผู้สร้างสรรค์ = เออร์เนสต์ ยัง
| บรรณาธิการ =
| ส่วน = บทที่ 15 พิธีไถหว่าน
| ผู้มีส่วนร่วม =
| ก่อนหน้า = [[../บทที่ 14/]]
บรรทัดที่ 14:
}}
__NOTOC__
<pages index="Siam (IA siampeepsatmany00youn).pdf" include="95"/>
[[File:Peeps at Many Lands (1908, p 95).jpg|center|400px]]
 
{{ตรคป
|{{ก|{{พญ|The annual rice-ploughing festival.}} ''Page 65.''}}
|{{ก|เทศกาลไถหว่านประจำปี<ref name = "15-2"/> ''หน้า 65''}}
|ไม่ย่อหน้า=
}}
 
{{คหน}}
<pages index="Siam (IA siampeepsatmany00youn).pdf" from="97" to="101" tosection="101-1"/>
 
{{ตรคป
|{{ก|{{ขนอ|140%|{{พญ|Chapter {{roman|15}}}}}}<br>{{พญ|A ploughing ceremony}}}}
|{{ก|{{ขนอ|140%|บทที่ 15}}<br>พิธีไถหว่าน}}
|ไม่ย่อหน้า=
}}
 
{{ตรคป
|{{พญล|We}} have already described the way in which rice is cultivated in a land where the success of the rice-crops means life to thousands of people. It is not surprising to find, under these circumstances, that before the planting of the rice takes place there is held each year a ceremony of great importance. This is a "ploughing festival," and until the holiday has been celebrated no one is supposed to begin the cultivation of his rice-fields.
|เราได้พรรณนามาแล้วว่า เขาเพาะปลูกข้าวกันอย่างไรในดินแดนซึ่งความงอกงามของรวงข้าวบ่งบอกถึงความอยู่รอดของผู้คนหลายพันคน ในพฤติการณ์เช่นนี้ ย่อมไม่น่าแปลกใจที่จะพบเจอว่า มีการประกอบพิธีกรรมอันสำคัญยิ่งก่อนปลูกข้าวในแต่ละปี พิธีนี้เรียกว่า "เทศกาลไถหว่าน"<ref name = "15-2">หมายถึง แรกนาขวัญ</ref> และคาดหมายได้ว่า จะไม่มีใครลงมือเพาะปลูกในไร่นาตนจนกว่าจะดำเนินพิธีในวันนักขัตฤกษ์นี้แล้ว
}}
 
{{ตรคป
|About March or April the rains arrive, and the farmer turns his thoughts to the work that lies before him. An astrologer is consulted as to a lucky day for the ploughing festival, and when this has been fixed every one waits anxiously to see what will happen, for on this day much will be learned about the prospects of the coming season.
|ฝนจะมาราวมีนาคมหรือเมษายน และชาวนาจะหันไปง่วนอยู่กับงานซึ่งอยู่เบื้องหน้าตน จะมีการปรึกษาโหราจารย์ในเรื่องวันมงคลสำหรับเทศกาลไถหว่าน และเมื่อกำหนดวันนี้กันแล้ว ทุกคนจะใจจดใจจ่อรอดูว่า จะเกิดอะไรขึ้น เพราะในวันนี้จะได้รู้กันสักทีว่า ฤดูกาลที่จะถึงจะดีร้ายประการใด
}}
 
{{ตรคป
|A certain Prince presides over the festival, and for the time being represents the King. He wears a crown, has a royal umbrella, and even receives a portion of the taxes. At one time his personal servants and followers were allowed to take goods without paying for them from the shops along the route which is followed by the procession.
|เจ้าชายพระองค์หนึ่งจะทรงเป็นประธานในเทศกาล และปฏิบัติงานแทนพระเจ้าแผ่นดินเป็นการเฉพาะคราว เจ้าชายจะทรงสวมมงกุฎ<ref>อาจหมายถึง ลอมพอก</ref> ทรงมีร่มหลวง<ref name = "15-3">อาจหมายถึง กลด สัปทน ฯลฯ</ref> และยิ่งกว่านั้น จะทรงได้เงินภาษีส่วนหนึ่งด้วย สมัยหนึ่งเคยยอมให้ข้าทาสบริวารส่วนพระองค์ของเจ้าชายหยิบฉวยข้าวของจากร้านค้าตามเส้นทางที่ขบวนผ่านโดยไม่ต้องชำระราคาก็ได้
}}
 
{{ตรคป
|Early in the morning the Prince rises and puts on a special suit of clothes of the richest material. Over his cloaks he wears a long cloak of white net, which is heavily embroidered with figures of fruit and flowers, worked in gold and silver. Before he leaves his house he entertains his friends, so that they may get a good look at him in all his holiday finery. When he is quite ready he sits in a gilded chair, and is carried on the shoulders of eight stalwart men. He is accompanied by a crowd of noblemen, some of whom carry curious things that are considered necessary for the success of the fête. Amongst these are a royal umbrella, a large fan such as the priests carry, a sword decorated with white flowers, and a small gold cow with a wreath of sweet-smelling blossoms round its neck.
|เจ้าชายจะทรงตื่นแต่เช้าตรู่ และฉลองพระองค์ชุดพิเศษทำจากวัสดุเลอค่า พระองค์จะทรงครุยยาวทำจากผ้าตาข่ายสีขาวทับเสื้อคลุม ครุยนั้นมีรูปผลหมากรากไม้ปักอยู่เนืองแน่น โดยถักด้วยเงินและทอง ก่อนเสด็จออกจากพระตำหนัก พระองค์จะทรงหยอกเย้ากับพระสหาย เพื่อที่เขาเหล่านี้จะได้ชมดูพระองค์ในชุดวันนักขัตฤกษ์แบบเต็มตัวอย่างเต็มตา เมื่อทรงพร้อมดีแล้ว พระองค์จะประทับคานหามปิดทองซึ่งมีชายฉกรรจ์แปดคนหามไปบนไหล่ คณะขุนนาง ซึ่งบางคนถือข้าวของชวนมองอันเชื่อกันว่าจำเป็นต่อความสำเร็จลุล่วงของงานพิธี จะโดยเสด็จด้วย ในบรรดาข้าวของเหล่านี้ ได้แก่ ร่มหลวง<ref name = "15-3"/> พัดขนาดใหญ่อย่างที่นักบวชถือ<ref>อาจหมายถึง บังแทรก บังสูรย์ ฯลฯ ซึ่งดูคล้ายตาลปัตร</ref> ดาบประดับด้วยดอกไม้ขาว และวัวทองคำตัวเล็กมีมาลัยกลิ่นหอมหวานคล้องคอ
}}
 
{{ตรคป
|In front of the state chair there are men in scarlet coats and knickerbockers, beating the usual drums in the usual way. Soldiers in old-fashioned uniforms, priests in yellow robes, nobles in cloth of gold, and men and women of all classes dressed in the brightest colours, pass slowly along in front of the bearers. Behind the chair are more priests who blow weird sounds from horns and conch-shells, and last of all a long string of sight-seers, all of whom are interested in what is going to happen.
|เบื้องหน้าคานหามอันงามสง่า มีบุรุษชุดแดงนุ่งโจงถือกลองแบบทั่วไปขึ้นตีเหมือนที่เขาตีกลองกันทั่วไป ทหารแต่งเครื่องแบบล้าสมัย นักบวชห่มผ้าเหลือง ขุนนางนุ่งผ้าทอง และชายหญิงจากทุกชนชั้นแต่งองค์ทรงเครื่องสีสดใสกว่าใคร เคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ เป็นทิวแถวไปข้างหน้าผู้หามคานหาม ด้านหลังคานหามนั้นมีนักบวชเป่าเขาสัตว์และหอยสังข์เป็นเสียงพิลึกพิลั่น และที่สุดมีคนมามุงดูเป็นแนวยาว ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้สนใจใคร่รู้ว่า กำลังจะมีอะไรกัน
}}
 
{{ตรคป
|With much merry noise, the procession wends its way to a piece of ground outside the city walls. Here a few simple preparations have been made. There is a roofed-in platform made of bamboo, attap-leaf, and boards, and some rather soiled drapery of red and white cloth. In front of the open booth are three bamboo-stakes, firmly fixed in the ground, and marking out the space which the Prince has to plough. In a shed not far away are the cream-coloured bullocks that are to draw the plough. A cord of sacred cotton encircles the booth, the shed, and the selected ground, and, as usual, keeps out all the evil spirits, who are simply aching to get inside the thread, play tricks, and upset the proceedings.
|ขบวนดำเนินไปด้วยเสียงครึกครึ้นยิ่งนักจนถึงพื้นที่แห่งหนึ่งภายนอกกำแพงนคร มีการตระเตรียมเล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้ที่นี่แล้ว มียกพื้นดาดหลังคาทำด้วยไผ่ ใบจาก และแผ่นไม้ รวมถึงผืนผ้าสีแดงขาวซึ่งออกจะสกปรกสักหน่อย เบื้องหน้าปะรำเปิดโล่งนี้มีเสาไผ่สามต้นปักตรึงไว้กับพื้นเป็นเครื่องกำหนดเขตที่ว่างที่เจ้าชายจะต้องทรงไถหว่าน ในเพิงไม่ไกลจากนี้มีวัวหนุ่มสีขาวนวลซึ่งจะใช้เทียมคันไถ มีการใช้ด้ายทำจากฝ้ายศักดิ์สิทธิ์<ref name = "15-1">อาจหมายถึง สายสิญจน์</ref> ล้อมรอบปะรำ เพิง และพื้นที่ที่เลือกสรรไว้ ด้วยความมุ่งหมายเหมือนเคย คือ ป้องกันผีร้ายที่อยู่ ๆ กระสันอยากเข้าไปในวงล้อม เล่นลูกไม้ต่าง ๆ แล้วก่อกวนพิธีการ
}}
 
{{ตรคป
|Within the guarded area is the wooden plough, similar to that described in the last chapter, but gaily decorated with ribbons and flowers. Moreover, the ends of the yoke and the end of the beam are both beautifully carved, and where the yoke is fastened to the beam there is a little gilded idol.
|ในอาณาบริเวณที่พิทักษ์รักษากันไว้นั้น มีไถทำด้วยไม้คล้ายกับที่พรรณนาไว้ในบทที่แล้ว เพียงแต่มีริ้วผ้าและบุปผาประดับไว้อย่างตระการ นอกจากนี้ ตรงปลายแอกและปลายคานมีการแกะสลักอย่างวิจิตรทั้งคู่ และมีรูปเคารพปิดทององค์เล็กอยู่ตรงจุดที่ผูกแอกไว้กับคาน
}}
 
{{ตรคป
|When the Prince arrives on the ground he is shown three pieces of cloth. They are folded up neatly, and look exactly alike, but they differ in length. The Prince looks earnestly at the three little parcels, and chooses one. If he chooses the longest piece of cloth, then there will be little rain that year, and men will be able to let the ''panoong'' drop to the ankle. If he chooses the shortest, a wet season will follow, and the men who work in the wet rice-fields will have to pull the ''panoong'' high above the knee. Having chosen the cloth, he fastens it round his body, and is ready to begin ploughing. He holds the handle of the plough and a long rod at the same time, and he has to guide the plough nine times round the space marked out by the three bamboos. A nobleman walks in front of the bullocks, sprinkling consecrated water on the ground. After the third journey a number of old women take part in the performance. They are the very oldest women that can be found, but they are richly dressed, and when their work for the day is done, they are allowed to keep their dresses as payment for their services. They carry a gilded rod over the shoulder. From the ends of this rod are suspended two baskets, one gilded and the other silvered. The baskets are filled with consecrated grain. Three times more the plough is guided along the proper path, the women following the Prince, and scattering the precious seed to right and left. Everybody tries to get a few grains to mix with the ordinary seed that is to be used in sowing the fields; for if the consecrated seed be mixed with seed of the ordinary kind, then will the harvest be much richer.
|ครั้นเจ้าชายเสด็จถึงพื้นที่ จะมีการถวายพระภูษาสามชิ้น ภูษาเหล่านี้พับไว้อย่างประณีตบรรจง และดูเหมือนกันทุกจุด เพียงต่างกันที่ความยาว เจ้าชายจะทรงพินิจผ้าผืนน้อยทั้งสามผืนนี้อย่างถ้วนถี่ ก่อนจะทรงเลือกมาผืนหนึ่ง ถ้าทรงเลือกภูษาผืนยาวที่สุด ปีนั้นจะมีฝนน้อย และผู้คนจะปล่อยผ้านุ่งให้ตกถึงตาตุ่มได้ ถ้าทรงเลือกผืนสั้นที่สุด ฤดูฝนจะตามมา และผู้คนที่ทำนาปีจำจะต้องถกผ้านุ่งให้สูงเหนือเข่า เมื่อเลือกพระภูษาแล้ว เจ้าชายจะทรงพันพระภูษานี้ไว้รอบพระวรกาย และเป็นอันพร้อมเริ่มแรกนาได้ พระองค์จะทรงถือคันไถกับคทายาว<ref>อาจหมายถึง ปฏัก</ref> พร้อมกัน และจะต้องทรงคุมไถไปรอบที่ว่างที่กำหนดเขตไว้ด้วยไม้ไผ่นั้นเก้ารอบ ขุนนางผู้หนึ่งจะต้องเดินนำโคหนุ่มพลางประพรมน้ำมนต์ไปบนพื้น เมื่อดำเนินไปสามรอบแล้ว หญิงชราจำนวนหนึ่งจะเข้าร่วมประกอบพิธี บุคคลเหล่านี้เป็นสตรีชราที่สุดเท่าที่จะหามาได้ แต่จะแต่งองค์อลังการ และเมื่อเสร็จงานในวันนั้นแล้ว จะได้รับอนุญาตให้เก็บเครื่องแต่งกายไว้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงาน หญิงดังกล่าวจะหามคทาปิดทอง<ref>หมายถึง คานสำหรับหาบตะกร้าใส่เมล็ดพันธุ์ในพิธี และหญิงเหล่านี้ก็คือที่เรียกกันว่า เทพีคู่หาบ</ref> ไว้บนไหล่ ที่ปลายคทานี้มีตะกร้าสองใบแขวนอยู่ ใบหนึ่งเคลือบทอง ใบหนึ่งเคลือบเงิน ตะกร้าเหล่านี้บรรจุเมล็ดข้าวที่ปลุกเสกแล้ว คันไถจะดำเนินไปตามหนทางที่สมควรอีกสามรอบ โดยที่สตรีเหล่านั้นดำเนินตามเจ้าชาย แล้วโปรดกระจายเมล็ดพันธุ์อันทรงค่าไปทางซ้ายและขวา ทุกคนเพียรพยายามจะให้ได้เมล็ดข้าวเหล่านี้มาสักนิด เพื่อนำไปประสมกับเมล็ดพันธุ์ทั่วไปสำหรับใช้หว่านในนา เพราะถ้าได้เมล็ดปลุกเสกมาประสมกับเมล็ดชนิดทั่วไปแล้ว ฤดูเก็บเกี่ยวย่อมจะอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
}}
 
{{ตรคป
|Finally, the Prince makes three more journeys, after which he leaves the ground. The sacred cord is broken, and the people rush about all over the place, picking up any of the grains that they can find, and carefully treasuring them for the good luck they will bring.
|ในบั้นปลาย เจ้าชายจะทรงพระดำเนินอีกสามรอบ เสร็จแล้ว จะเสด็จออกจากพื้นที่ จะมีการปลดด้ายศักดิ์สิทธิ์<ref name = "15-1"/> และผู้คนจะกรูกันเข้ามาท่วมท้นสถานที่ พลางเก็บเมล็ดข้าวใด ๆ ที่ตนเจอ และใส่ใจถนอมเมล็ดเหล่านั้นไว้เพราะจะนำโชคดีมาให้
}}
 
{{ตรคป
|But the ceremony is not yet over. There still remains one very important deed to be done. The oxen are unyoked and led back to their shed, and in front of them are placed small baskets made of banana-leaves, and filled with different kinds of seed. One basket contains rice, another grass-seed, another maize, and so on. If the bullocks eat up the maize and leave the rice, then the rice-crops that year will be poor, and the maize-crops will be good. Thus it happens that on this day the farmer finds out what kind of weather he is going to have, and what kind of grain will yield the richest crop.
|แต่พิธียังไม่แล้วสิ้น ยังเหลือสิ่งสำคัญยิ่งอีกอย่างให้ต้องกระทำ จะมีการถอดแอกฝูงโคแล้วพากลับเพิง ก่อนนำกระทงเล็ก ๆ ซึ่งทำจากใบตองและบรรจุเมล็ดพันธุ์หลายชนิดมาวางไว้เบื้องหน้าพวกมัน ใส่ข้าวกระทงหนึ่ง เมล็ดพันธุ์หญ้ากระทงหนึ่ง ข้าวโพดกระทงหนึ่ง ฯลฯ ถ้าเจ้าวัวหนุ่มกินข้าวโพดหมดสิ้น และเหลือข้าวเอาไว้ เช่นนี้ ปีนั้น รวงข้าวจะแย่ ส่วนรวงข้าวโพดจะงาม ฉะนั้น จึงปรากฏว่า ในวันนี้ ชาวนาจะได้รู้ว่า สภาพอากาศแบบใดที่ตนจะต้องเผชิญ และเมล็ดข้าวชนิดใดจะออกรวงดกดื่นที่สุด
}}
 
{{ตรคป
|The Prince is carried back to his home again, with drums beating, horns blowing, and with the same attendant crowd of soldiers, priests, nobles, and peasants. Once upon a time the people really believed in the ceremony, and what it was supposed to tell them. Even now many thousands of them have great faith in the acts that have been performed; but as education spreads, the belief in these quaint and picturesque ceremonies will die out. It will, however, be long before they are entirely given up, for they provide opportunities for a merry holiday; and if there is one thing a Siamese loves more than another, it is a day of feasting and merriment, a day when work is thought of as something belonging only to the morrow.
|เจ้าชายจะทรงขึ้นคานหามกลับพระตำหนักอีกหน พร้อมเสียงกลองก้องกาหล เสียงแตรคำรน และมีคณะทหาร นักบวช ขุนนาง และผองไพร่กลุ่มเดิมเฝ้าแห่แหน ครั้งหนึ่งในอดีต ผู้คนมีความเชื่อถือมาก ทั้งในตัวพิธี และในสิ่งที่คาดว่าพิธีจะสำแดงให้ทราบ แม้จนบัดนี้ หลายพันคนก็ยังมีความเลื่อมใสใหญ่หลวงในพิธีกรรมทั้งปวงที่กระทำนั้น แต่ด้วยเหตุที่การศึกษาเริ่มแพร่หลาย ความเชื่อถือในพิธีอันทรงมนต์ขลังและงดงามดังแกล้งวาดนี้ย่อมจะสิ้นสูญไป อย่างไรก็ดี คงจะอีกนานกว่ายกเลิกพิธีเหล่านี้ได้ทั้งหมด เพราะพิธีดังกล่าวทำให้มีโอกาสหยุดรื่นเริง และหากจะมีสิ่งใดที่ชาวสยามชอบใจยิ่งกว่าสิ่งอื่น สิ่งนั้นก็คือวันกินเลี้ยงรื่นเริง อันเป็นวันที่ถือกันว่า การงานเป็นเรื่องของวันพรุ่งนี้ต่างหาก
}}
 
==หมายเหตุ==