ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งานแปล:สอดส่องหลายท้องถิ่น: สยาม/บทที่ 12"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Venise12mai1834 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Asembleo (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{หัวเรื่องงานแปล | ชื่อ = สอดส่องหลายท้องถิ่น: สยาม | ปี = 2451 | ภาษา = en | ต้นฉบับ = Peeps at Many Lands: Siam/Chapter 12 | ผู้สร้างสรรค์ = เออร์เนสต์ ยัง | บรรณาธิการ = | ส่วน = บทที่ 12 อาหารและเครื่..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน
 
บรรทัดที่ 6:
| ผู้สร้างสรรค์ = เออร์เนสต์ ยัง
| บรรณาธิการ =
|{{ก|{{ขนอ|140%| ส่วน = บทที่ 12}}<br> อาหารและเครื่องแต่งกาย}}
| ส่วน =
| ผู้มีส่วนร่วม =
| ก่อนหน้า = [[../บทที่ 11/]]
บรรทัดที่ 14:
}}
__NOTOC__
<pages index="Siam (IA siampeepsatmany00youn).pdf" from="80" to="84" fromsection="80-2" tosection="84-1"/>
{{ตรคป
|{{ก|{{ขนอ|140%|{{พญ|Chapter {{ลรม|12}}}}}}<br>{{พญ|Food and dress}}}}
|{{ก|{{ขนอ|140%|บทที่ 12}}<br>อาหารและเครื่องแต่งกาย}}
|ไม่ย่อหน้า=
}}
 
{{ตรคป
|{{พญล|The}} third necessary room in a Siamese house is the kitchen, where the two daily meals are prepared. There are no cooking-ranges and no fireplaces of European pattern. Food is cooked and water boiled over small charcoal furnaces, usually made of earthenware. The little furnace has the shape of a bucket. Half-way down there is a tray perforated with holes, on which the charcoal is placed. Below the shelf, in one side of the utensil, there is a hole. A draught is obtained by waving a fan backwards and forwards in front of this hole. The air enters through the aperture, ascends through the openings in the shelf, and so keeps the lighted charcoal glowing. The earthenware pots in which the food is cooked are supported by the top rim of the furnace. Every pot requires a separate furnace to itself, but as rice is often the only food that requires the application of heat, this causes but little difficulty, and few kitchens would contain more than two or three of these simple fireplaces.
|ห้องที่ขาดไม่ได้เป็นแห่งที่สามในบ้านชาวสยาม คือ ครัว อันเป็นที่ตระเตรียมอาหารทั้งสองมื้อของแต่ละวัน ที่นั่นไม่มีชุดเตา<ref>เรนจ์ คือ ชุดเตาไฟที่ประกอบด้วยเตาไฟย่อย ๆ อยู่ด้านบนและเตาอบอยู่ด้านล่าง ดู ''{{ตลล|ส-ร1|รูปที่ 1|ร1}}''</ref> ประกอบอาหารและไม่มีที่ก่อไฟแบบยุโรป อาหารจะทำและน้ำจะต้มอยู่บนเตาถ่านเล็ก ๆ ซึ่งมักทำจากดินเผา เตาใบน้อยนี้มีรูปร่างอย่างถังน้ำ ตรงกลางมีถาดเจาะเป็นรู บนถาดนั้นเป็นที่ใส่ถ่าน ใต้ชั้นถาดนั้นมีโพรงอยู่ตรงด้านหนึ่งของเจ้าเครื่องครัวนี้ พัดจะโบกไปมาที่หน้าโพรงนั้นเพื่อให้มีลมมาโหมไฟ อากาศจะลอดผ่านโพรงนั้นขึ้นสู่รูทั้งหลายในถาด และฉะนั้น จึงช่วยให้ถ่านที่จุดแล้วยังคงลุกโพลง ขอบบนสุดขอบเตาจะรองรับหม้อดินเผาซึ่งใช้ทำอาหาร หม้อทุกใบต้องมีเตาเป็นของตนต่างหาก แต่เรื่องนี้ไม่เป็นที่ยุ่งยากนัก เพราะข้าวมักเป็นอาหารเพียงหนึ่งเดียวที่ต้องใช้ความร้อน อนึ่ง คงมีครัวไม่กี่แห่งที่มีที่ก่อไฟง่าย ๆ อย่างนี้เกินสองหรือสามจุด
}}
 
{{ตรคป
|The chief food is rice. This is washed three or four times in different changes of water, and then placed in cold water over the charcoal fire. As soon as the water boils, it is poured away, and the cooking is finished in the steam of the water left behind. When everything is ready, the rice is turned out into a dish; each grain is swollen to quite a large size, is dry, and as white as snow.
|ข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าวนี้จะล้างสามหรือสี่ครั้งโดยเปลี่ยนน้ำใหม่ แล้วจึงใส่ลงในน้ำเย็นวางลงเหนือไฟถ่าน ทันใดที่น้ำเดือด จะเทน้ำทิ้ง และไอน้ำที่หลงเหลืออยู่จะเป็นตัวทำให้การหุงสำเร็จ เมื่อทุกสิ่งพร้อมสรรพ จะคดข้าวลงในจาน ข้าวแต่ละเมล็ดจะพองจนมีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเนื้อแห้ง และมีสีขาวราวหิมะ
}}
 
{{ตรคป
|With the rice various kinds of curry are eaten. They are made from vegetables, fruit, and fish. Frog, decayed prawns, stale fish, and other choice morsels figure in the menu. All the curries are highly flavoured with vinegar, pepper, and strong-tasting spices. The Siamese are so accustomed to these highly flavoured dishes that they would look upon a meal of turkey and plum-pudding as utterly tasteless and insipid. One of the sauces in common use contains chillies, stale prawns, black pepper, garlic, onions, citron-juice, ginger, and brine!
|แกงหลายชนิดกินกับข้าว แกงเหล่านี้ทำจากผัก ผลไม้ และปลา ในรายการอาหารยังปรากฏกบ กุ้งบูด<ref name = ":0">อาจหมายถึง กะปิ</ref> ปลาเน่า<ref>อาจหมายถึง ปลาร้า</ref> และของกินชิ้นเล็กชิ้นน้อยอย่างอื่น แกงทั้งหมดแต่งรสอย่างหนักด้วยน้ำส้มสายชู พริกไทย และเครื่องเทศรสฉุน ชาวสยามคุ้นเคยกับอาหารที่แต่งรสแรงเหล่านี้มากเสียจนอาจมองว่า อาหารตุรกีและพุดดิงพลัมนั้นไร้รสชาติและจืดชืดอย่างสิ้นเชิง ซอสชนิดหนึ่งซึ่งใช้กันดาษดื่นประกอบด้วยพริก กุ้งเน่า<ref name = ":0"/> พริกไทยดำ กระเทียม หัวหอม น้ำมะนาว ขิง และน้ำเกลือ!
}}
 
{{ตรคป
|When the members of the family sit down to take a meal, they squat on the floor. A big bowl of rice is placed in the centre of the ring, and round it are arranged smaller basins of curry. Everybody helps himself, so that the fastest eater gets the biggest share. Forks and knives are not used, and very often spoons also are lacking. In such cases fingers take the place of spoons, and they seem to serve the purpose equally well. Of course, the fingers get greasy and sticky, but they can be put in the mouth and licked clean again quite easily and quickly.
|เมื่อสมาชิกในครอบครัวนั่งลงรับประทานอาหาร เขาจะนั่งยอง ๆ กันบนพื้น เอาข้าวถ้วยใหญ่วางไว้กลางวง แล้วเอาแกงชามน้อยเรียงรอบข้าวนั้น ทุกคนต้องช่วยเหลือตนเอง ดังนั้น ใครไวสุดก็ได้ส่วนแบ่งมากสุด มีไม่การใช้ส้อมหรือมีด และบ่อยครั้งเหลือเกินที่ช้อนก็ยังไม่พอใช้ ในกรณีเช่นนั้น จะใช้นิ้วมือแทนช้อน และนิ้วมือก็ดูจะสนองความต้องการได้เท่าเทียมช้อนเป็นอย่างดี แน่ล่ะ นิ้วย่อมจะมันเยิ้มและเหนียวหนืด แต่จะเอาเข้าปากและเลียให้หมดจดอีกครั้งก็ทำได้โดยง่ายและคล่องดี
}}
 
{{ตรคป
|Each member of the family knows how to cook — father, mother, and children — for there are few dishes to prepare, and the preparation of these is an art soon acquired. Two meals only are taken each day — one in the morning and another in the early evening. Between whiles tea is drunk, tobacco is smoked, and betel-nut is chewed. The hours for meals are rather irregular, and often the hungry members do not wait for those whose appetites are less keen, but begin as soon as ever the rice is boiled. Amongst the rich the men eat first and by themselves. What they leave serves for their wives and children, and the last remnants of all are thrown to the dogs.
|สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวทำอาหารเป็น ทั้งพ่อ แม่ และลูก เพราะอาหารที่ต้องเตรียมนั้นมีไม่กี่อย่าง และการเตรียมอาหารเหล่านี้เป็นศิลปะที่ไม่นานก็ชำนาญ แต่ละวันจะกินอาหารกันเพียงสองมื้อ มื้อแรกตอนเช้า ส่วนอีกมื้อตอนหัวค่ำ ระหว่างมื้อมีการดื่มชา สูบยา และเคี้ยวหมาก มื้ออาหารนั้นค่อนข้างจะไม่เป็นเวล่ำเวลา และเป็นประจำที่สมาชิกผู้ท้องหิวจะไม่รั้งรอคนที่ยังไม่ใคร่อยากอาหาร กระนั้น ทุกครั้งก็เริ่มมื้อกันทันที่ที่ข้าวสุก ในหมู่ผู้ร่ำรวย ผู้ชายจะกินก่อนและกินตามลำพัง สิ่งใดที่ผู้ชายกินเหลือจะนำมาให้เมียและลูกต่อ และเดนสุดท้ายจากอาหารทั้งหมดจะโยนให้สุนัข
}}
 
{{ตรคป
|As dessert there are many kinds of fruit, some of which are unknown in this country. Amongst the most popular fruits are young coco-nuts; the ripest of bananas; mangoes, that taste at first like a mixture of turpentine and carrots, but which, after a few efforts, are found to be as pleasant to the palate as the apple or the pear; mangosteens — little sweet snow-white balls set in crimson caskets; durians, that smell like bad drains, but taste, when one is used to them, like a mixture of strawberries, ices, honey, and all other things that are pleasant to eat.
|สำหรับของว่างนั้น มีผลไม้หลายประเภท บางประเภทก็ไม่เป็นที่รู้จักในประเทศเรา ในเหล่าผลไม้ยอดนิยมนั้นมีมะพร้าวอ่อน, กล้วยสุกงอม, มะม่วง ซึ่งทีแรกรสชาติเหมือนน้ำมันสนปนกับแคร์รอต แต่ฝืนกินไปไม่กี่คำก็พบว่า บรรเจิดเลิศลิ้นเหมือนกินแอปเปิลหรือผลแพร์, มังคุด ซึ่งมีผลกลมหวานและขาวราวกับหิมะจัดวางอยู่ในตลับสีแดงก่ำ, ทุเรียน ซึ่งกลิ่นเยี่ยงท่อน้ำเน่า แต่รสชาตินั้นเล่า หากผู้ใดคุ้นชินแล้ว จะเหมือนมีสตรอว์เบอร์รี น้ำแข็ง น้ำผึ้ง และสรรพสิ่งอื่น ๆ ซึ่งกินแล้วรื่นรมย์ ประสมกันอยู่
}}
 
{{ตรคป
|When the meal is over, each person washes his own rice-bowl, and turns it upside down in a basket in the corner of the room to drip and dry till it is needed again.
|เมื่อเสร็จมื้อ แต่ละคนจะล้างถ้วยข้าวของตน แล้วคว่ำไว้ในตะกร้าตรงมุมห้องเพื่อให้น้ำหยดและแห้งไป จนกว่าจำเป็นต้องใช้อีกครั้ง
}}
 
{{ตรคป
|Dress is a very simple matter. There are no such things as fashions. The smallest children wear no clothing at all, except, perhaps, a necklace of coral or beads. The garment worn as a covering for the lower part of the body is the same for all — King and peasant, man, woman, and child. As seen in pictures and photographs, it resembles a pair of baggy knicker-bockers. It consists of a long strip of coloured cloth, about the same size and shape as a bath-towel. The method of draping it about the body is not easily explained on paper. This much, however, may be said: there are no pins, tapes, buttons, or fastenings of any kind; but the ''panoong'', as it is called, is so cleverly twisted and tied, that it can be worn at all times and under all circumstances without any fear of it ever becoming loose. You may run in it, sleep in it, or swim in it, and you will always be perfectly cool and comfortable. This is the only native garment for men, though in the capital, and in other places where white men are seen, the people have learned to wear white linen jackets. These are buttoned to the throat, and collars and shirts are not required. Shoes and stockings are not known, except where the European has taught their use. The soles of the feet get so hard that, in time, they are like leather itself, and cut or wounded feet are very seldom seen.
|เครื่องแต่งกายนั้นเป็นสิ่งของง่าย ๆ ยิ่งนัก สิ่งต่าง ๆ อย่างสมัยนิยมนั้นหามีไม่ เด็กเล็กสุดไม่สวมใส่ผ้าผ่อนสักชิ้น แต่บางทีก็มีสร้อยปะการังหรือลูกปัด ผ้าที่นุ่งหุ้มท่อนล่างของร่างกายนั้นเป็นแบบเดียวกันสำหรับทุกคน ทั้งเจ้าและไพร่ ทั้งหญิง ทั้งชาย และเด็ก ดังที่เห็นในรูปวาดและรูปถ่าย ผ้านี้คล้ายกับกางเกงกระสอบ<ref>นิกเกอร์บอกเกอส์ คือ กางเกงกระสอบแบบหนึ่ง ดู ''{{ตลล|ส-ร2|รูปที่ 2|ร2}}''</ref> ป่อง ๆ ตัวหนึ่ง ประกอบด้วยริ้วผ้ายาวมีสี ขนาดและรูปลักษณ์โดยประมาณนั้นเหมือนผ้านุ่งอาบน้ำ วิธีสวมใส่ผ้านี้ไว้รอบกาย เขียนอธิบายบนกระดาษได้ไม่ง่าย แต่ก็พอจะกล่าวให้ฟังได้ดังนี้ เขาไม่มีเข็มหมุด สายผูก กระดุม หรือเครื่องรั้งอย่างใด ๆ เลย แต่จะบิดและพันเจ้าสิ่งที่เรียกว่า ผ้านุ่ง นั้นอย่างหลักแหลมกันเหลือเกิน ชนิดที่สวมใส่ได้ทุกเวลาและทุกสภาวะโดยไม่ต้องเกรงว่า จะเกิดหลุดลุ่ยได้ ท่านอาจใส่มันวิ่ง ใส่มันนอน หรือใส่มันว่ายน้ำ และท่านจะรู้สึกเย็นสบายอย่างเยี่ยมยอดตลอดเวลา นี่เป็นเครื่องนุ่มห่มแบบพื้นเมืองเพียงชิ้นเดียวที่ผู้ชายใช้ แต่ในราชธานี และในที่อื่น ๆ ที่พบเจอคนขาวได้ ผู้คนหัดสวมเสื้อนอกทำจากลินินสีขาวกันแล้ว เสื้อนอกนี้ติดกระดุมขึ้นมาถึงคอ และไม่จำเป็นต้องมีปกคอและเสื้อในแต่อย่างใด รองเท้ากับถุงเท้านั้นก็ไม่ปรากฏ เว้นแต่ในแหล่งที่ชาวยุโรปไปสอนให้ใช้ข้าวของเหล่านี้แล้ว ฝ่าเท้าจึงด้านหนักหนา จนเวลาผ่านไป ก็จะกลายเป็นเหมือนหนังเกือกเสียเอง อนึ่ง เท้าที่เป็นแผลหรือบาดเจ็บนั้นพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก
}}
 
{{ตรคป
|The women wear a coloured scarf, called the ''pahom'', wound round the upper part of the body. This is the only addition to the costume of the men ever invented by the ladies of Siam. As for hats, there are no such things, except a few big straw-plaited erections that look like baskets turned upside down, and which are worn by the women who sit selling their goods in the markets.
|ผู้หญิงสวมผ้าคลุมไหล่มีสี เรียกว่า ผ้าห่ม<ref>อาจหมายถึง สไบ</ref> ซึ่งพันไว้รอบกายท่อนบน นี่เป็นสิ่งเดียวที่แม่หญิงแห่งสยามได้คิดค้นเพิ่มเติมขึ้นจากเครื่องแต่งกายของชาย ส่วนหมวกนั้น ไม่มีของอะไรเช่นนั้นดอก เว้นแต่ของประดิษฐ์ไม่กี่อย่างที่สานด้วยฟางและดูคล้ายตะกร้าคว่ำ<ref>อาจหมายถึง งอบ</ref> ผู้หญิงสวมเจ้าสิ่งนี้ยามนั่งขายของในตลาด
}}
 
{{ตรคป
|The ''panoong'' and the ''pahom'' are of brightly coloured material, and a Siamese crowd is always a picturesque sight. According to one of the many superstitions that prevail in the country, every day of the week is under the rule of some particular planet, and to be fortunate throughout the day one should wear garments and jewels of the same colour as the ruling planet. Many rich people do actually observe this custom, and wear red silk and rubies on Sundays in honour of the sun; white and moonstones on Monday, the day of the moon; light red and coral on Tuesday, the day of Mars; green and emeralds on Wednesday, the day of Jupiter; stripes and cat's-eyes for Jupiter's Thursday; silver blue and diamonds on Friday, when Venus rules; and dark blue and sapphires on Saturday, when the chief planet is Saturn.
|ผ้านุ่งและผ้าห่มนั้นทำจากวัสดุสีสดใส ฝูงชนชาวสยามจึงเป็นทัศนียภาพสดสวยเหมือนแกล้งวาดอยู่เสมอ ตามความเชื่อโชคลางมากมายที่แพร่หลายในประเทศนี้มีแขนงหนึ่งว่า แต่ละวันในสัปดาห์นั้นอยู่ใต้อิทธิพลของดาวบางดวงอย่างเจาะจง และเพื่อจะมีโชคดีตลอดวัน เราต้องสวมเครื่องนุ่งห่มและอัญมณีสีเดียวกับดาวที่มีอิทธิพล คนรวยหลายคนยึดถือธรรมเนียมนี้เป็นจริงเป็นจัง และใส่ผ้าไหมสีแดงกับทับทิมในวันอาทิตย์เพื่อเชิดชูดวงอาทิตย์ ใส่สีขาวกับพลอยจันทรกานต์ในวันจันทร์ วันแห่งดวงจันทร์ ใส่สีแดงอ่อนกับปะการังในวันอังคาร วันแห่งดาวอังคาร ใส่สีเขียวกับมรกตในวันพุธ วันแห่งดาวพุธ ใส่ผ้าลายแถบกับแก้วตาแมวในวันพฤหัสบดีของดาวพฤหัสบดี ใส่สีน้ำเงินยวงกับเพชรในวันศุกร์ซึ่งดาวศุกร์มีอิทธิพล และใส่สีน้ำเงินเข้มกับไพลินในวันเสาร์ซึ่งดาวเสาร์เป็นดาวประธาน
}}
 
==หมายเหตุ==