ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปัญญาสชาดก/ภาคที่ 19"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1:
{{คุณภาพเนื้อหา|75%}}
{{หัวเรื่องกฎหมาย2
|ชื่อเรื่อง= สุวรรณสังขชาดก
|ชื่อเรื่องย่อย=
บรรทัดที่ 269:
พระเจ้ากรุงพรหมทัตหามีปรีชาไม่ หลงเชื่อถ้อยคำเสนาบดีและนางสุวรรณจัมปากเทวี ทรงพระพิโรธอย่างใหญ่ จึ่งบังคับรับสั่งอำมาตย์ว่า พวกอำมาตย์ จงช่วยกันผูกแพให้ใหญ่ เอานางจันทากับกุมารใส่ไว้ในแพ ไปลอยเสียในแม่น้ำคงคา ฝ่ายพระนางจันทาเทวีและชนชาวบุรีทราบเหตุนั้นแล้วก็พากันร่ำร้องไห้ยกใหญ่
 
'''เตน วุตฺตํ''' เพราะเหตุนั้น พระบรมศาสดาพระองค์ได้ถึงสัมโพธิญาณแล้ว จึ่งนำเหตุเรื่องมาแสดงธรรมแก่พระสารีบุตร อันมีในจริยาปิฎกปกรณ์ว่า ดูกร ธรรมเสนาบดีสารีบุตร เมื่อกาลครั้งก่อน เราผู้ตถาคตยังแสวงหาพระโพธิญาณอยู่ ได้เกิดเป็นราชโอรสแห่งพระเจ้าพรหมทัต ณ พรหมบุรีพระนคร พระราชานั้นหลงเชื่อถ้อยคำราชเทวีผู้ใจบาป นำเรา ตถาคต กับพระมารดา ไปลอยแพเสียในกระแสน้ำคงคา คราวนั้น พวกอำมาตย์และราษฎรทั้งหลายประชุมกัน ณ หน้าพระลายหลวง พากันทูลขอพระบรมโพธิสัตว์ไว้ พระราชาก็มิได้ประทานให้ พากันร้องไห้ล้มลง ณ พื้นปถพี เหมือนป่ารังอันถูกลมยุคันตวาตพัดให้ล้มลงฉะนั้น กาลเมื่อใดพวกอำมาตย์เข้าจับเรา ตถาคต กับมารดา ใส่เข้าไว้ในแพใหญ่ กาลเมื่อนั้น มหัศจรรย์ก็เกิดเป็นโกลาหล เมทินีดลอันหนาได้สองแสนสี่หมื่นโยชน์ก็เกิดหวั่นไหวปานประหนึ่งว่าจะโศกเศร้า พระยาเขาสิเนรุเป็นที่พึ่งของโลกก็อ่อนเอนอยู่ไปมาเปรียบดังยอดหวายฉะนั้น ฝนก็ตกลงมาแต่เบื้องบน สาครก็คำรนร้องก้องสนั่นเหมืองดังช้างอันเมามันฉะนั้น บรรดาหมู่สัตว์ดิรัจฉานทั้งปวงก็เกิดความกรุณาใหญ่ด้วยประการฉะนี้<ref name = "Chariyapidok">ย่อหน้านี้มาจาก จริยาปิฎก ''— [เชิงอรรถโดยของ วิกิซอร์ซ, ปรับปรุงจากเชิงอรรถต้นฉบับ ซึ่งว่า “แต่หน้า ๑๐ บรรทัดที่ ๘ ถึงหน้า ๑๑ บรรทัดที่ ๒ เป็นความในจริยาปิฎก”]''</ref>
 
'''โส อุลุมฺโป''' ความว่า แพนั้นลอยไปตามกระแสน้ำคงคาช้านาน ด้วยบุรพอกุศลกรรมของพระราชเทวีและพระโพธิสัตว์ มีลมพายุใหญ่พัด ทำให้แพแตกออกไป พระนางจันทาเทวีได้ไม้ที่แพแตกนั้นท่อนหนึ่งเกาะลอยไป ทอดพระเนตรเห็นไม้ต้นหนึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง มียอดประลงมาใกล้น้ำ นางจึ่งพยายามว่ายไปด้วยกำลังแรง จับยอดไว้นั้นไว้ได้มั่น ค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปถึงคบไม้ นั่งนึกถึงโอรส แล้วทางโศกายกใหญ่ นางก็เลยนั่งอยู่ ณ ต้นไม้ที่ฝั่งคงคาใกล้มัทราชบุรี<ref name = "Chariyapidok"/>
บรรทัดที่ 305:
ตั้งแต่นั้นมา นางยักขเทวีพร่ำสอนพระโพธิสัตว์ให้ตั้งอยู่ในโอวาท และตั้งใจอภิบาลบำรุงไว้สิ้นกาลนานนักหนา จนนางมีกายาซูบผอม เพราะอดอยากลำบากด้วยไม่ค่อยได้เนื้อสดมากิน วันหนึ่ง จึ่งยักขเทวีเรียกพระโพธิสัตว์มาสั่งว่า พ่อลูกรักของมารดา มารดาจะไปป่า เที่ยวหาอาหาร พ่อจงอยู่เป็นสุขเถิดหนา พ่ออย่าเที่ยวซนไป สอนสั่งแล้วก็ไปป่าแสวงหาเนื้อเพื่อเป็นอาหาร
 
คราวนั้น พระโพธิสัตว์ เมื่อยักขินีไปป่าแล้ว จึ่งคิดว่า เมื่อเราอยู่ที่นี้จะมีประโยชน์อะไร เราจักประดับกายด้วยทิพาภรณ์แล้วหนีมารดาเลี้ยงไปเสียดีกว่าอยู่ คิดแล้วจึ่งขึ้นไปบนปราสาทชั้นบน ลงอาบน้ำทิพย์ในบ่อทองสกล กายก็ผุดผ่องเป็นทองไปหมด แล้วสวมเกราะรูปเงาะป่าเข้ากับกาย เหน็บพระขรรค์ด้ามแก้ว แล้วสอดเท้าเข้าในเกือกทอง จึ่งเหาะออกไปตามช่องสีหบัญชรลอยไปในอากาศ จนบรรลุถึงแว่นแคว้นแดนเมืองตักสิลา ได้เห็นบรรณศาลาหลังหนึ่งซึ่งตั้งอยู่นอกเมือง ณ ฝั่งฟากโน้น ใกล้แม่น้ำแห่งหนึ่ง จึ่งเหาะข้ามนทีไปอาศัยอยู่ ณ บรรณศาลานั้น
 
นางยักขเทวีแสวงหาอาหารในป่า ถึงเวลาเย็นก็กลับมายังปราสาทของตน ไม่เห็นสุวรรณสังข์ บุตรเลี้ยง แล้วถามว่า แน่ะ สาวใช้ ลูกของเราหายไปไหน
บรรทัดที่ 329:
แน่ะ หลานน้อย พ่ออย่าไปที่อื่นเลย จงอยู่กับเรา เราจะรับเลี้ยงพ่อไว้
 
นายคามโภชกจัดแจงโภชนะให้พระโพธิสัตว์บริโภคแล้ว จึ่งห่อข้าวให้พระสุวรรณสังขกุมารห่อหนึ่ง แล้วให้ไปเลี้ยงโคกับเด็กเลี้ยงโคทุกวัน พวกเด็กเลี้ยงโคเห็นพระสุวรรณสังขกุมารรูปแปลกเหมือนเงาะป่า บางคนก็หมิ่นประมาท บางคนก็กล่าวท้าทายว่า เจ้ามาณพรูปชั่วช้า เจ้าจงมาเล่นขลุบกับพวกเรา พวกเด็กเลี้ยงโคเล่นขลุบอยู่กับพระโพธิสัตว์ แม้แต่คนหนึ่งก็ไม่อาจทำให้พระโพธิสัตว์แพ้ได้ ครั้นเวลาเย็น พากันมาบ้าน แล้วไปชวนพระโพธิสัตว์เล่นขลุบอีก ต้องการจะให้พวกตนชนะ เมื่อเล่นขลุบกัน ก็ไม่อาจทำให้พระโพธิสัตว์แพ้ได้ ก็เกิดโทมนัสน้อยใจทุกคน
 
วันหนึ่ง พวกเด็กเลี้ยงโคไปหาพระโพธิสัตว์พูดว่า เจ้าฉลาดในการเล่นขลุบ ขอให้พวกเราเรียนบ้าง พวกเราเรียนได้ชำนาญแล้ว แต่นี้ไป เราไปเลี้ยงโคแล้วจะให้ข้าวห่อเจ้ากินทุกวัน ๆ พระโพธิสัตว์นั้นยอมให้โคปาลทารกเรียนวิชาเล่นขลุบ ทำให้ฉลาดดี โคปาลทารกก็ดีใจ เมื่อไปยังที่เลี้ยงโคแล้วจึ่งแบ่งห่อข้าวของตนให้เป็นสองส่วน แล้วให้พระโพธิสัตว์บริโภคส่วนหนึ่งทุก ๆ วัน
บรรทัดที่ 535:
สมมติเทวา พระราชบิดาของพระองค์ทรงพระสำราญ หาโรคาพยาธิมิได้ แต่ทรงพระอาลัยระลึกถึงพระองค์ ทรงปริเทวนาการเป็นนิตย์ทุกวันมิได้ขาด สองกษัตริย์ทรงฟังดังนั้น ก็ทรงรับว่าจะเสด็จไปด้วยเสนาบดี
 
พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงโสมนัส จึ่งรับสั่งพนักงานให้จัดพาหนะมีช้างม้าเป็นต้น แล้วมอบให้สองกษัตริย์เสร็จ คราวนั้น กษัตริย์สามพระองค์ คือ พระนางจันทาเทวี และพระสุวรรณสังข์ กับพระนางคันธาเทวี จึ่งพร้อมกันกราบทูลถวายบังคมลาพระเจ้าพาราณสี พระเจ้าพาราณสีทรงพระอาลัยในสองโอรส<ref>ควรว่า “บุตร” (ลูก) มากกว่า “โอรส” (ลูกชาย) เพราะหมายถึง พระสุวรรณสังข์ กับนางคันธาเทวี ''— [เชิงอรรถโดยของ วิกิซอร์ซ]''</ref> นัก มิใคร่จักให้จากไป ทรงพิลาปร่ำไรแล้วประทานพรชัยว่า พระโอรสจงเสด็จไปครองราชย์สมบัติให้เป็นสุขแก่ชาวรัฐวาสี และรักษาขัตติยประเพณีโดยสุจริตเถิด สามกษัตริย์รับพระพรชัยแล้วถวายบังคม ออกมาบอกลามหาชนมีข้าหลวงชาวอภิรมย์เป็นต้นบรรดาที่มาคอยส่งเสด็จ ครั้นถึงฤกษ์งามตามเนมิตกาจารย์คำนวณถวายแล้ว จึ่งพร้อมกันเสด็จขึ้นประทับ ณ ราชอาสน์ เหล่าเสนามาตย์เหล่าจตุรงคเสนามีมหาเสนาบดีเป็นต้นพร้อมกันแห่นำตามเสด็จเป็นขบวนหน้าและหลัง โดยเสด็จแต่เมืองพาราณสีไปกระทั่งถึงพรหมบุรีรัฐ จึ่งได้ให้หยุดพวกพลนิกรจัดทำราชนิเวศนาสน์เสด็จประทับอยู่ในที่นั้น
 
ครั้นแล้ว มหาเสนาบดีจึ่งเข้าไปเฝ้ากราบทูลพระเจ้าพรหมทัตว่า พระมหาราช บัดนี้ พระราชโอรสของพระองค์เสด็จมาถึงรัฐประเทศนี้แล้วพระเจ้าข้า พระเจ้าพรหมทัตทรงพระโสมนัส ดำรัสสั่งให้พนักงานเอาเภรีไปตีประกาศว่า บัดนี้ พระสุวรรณสังขกุมาร โอรสของเรา มาถึงนครรัฐแล้ว เราจักออกไปรับโอรสให้เข้ามาครองราชสมบัติ ณ เมืองนี้ ชาวเมืองพาราณสีจึ่งพากันประดับมรรคาซึ่งจะเสด็จมาด้วยพวงดอกไม้เงินทองและพวงสุคนธมาลา สองฟากมรรคาก็ปักธงและแผ่นผ้ากับทั้งต้นกล้วยและอ้อยลำ ผูกขัดจัดประจำตามระวางเป็นจังหวะแลไสว ครั้นแล้ว พระเจ้าพรหมทัตพร้อมด้วยราชบริวารเสด็จออกไปต้อนรับสามกษัตริย์ยังที่ประทับ ณ พลับพลา สามกษัตริย์ทอดพระเนตรพระราชาเสด็จมาถึงพร้อมกันต้อนรับแล้วถวายบังคม
บรรทัดที่ 597:
 
 
'''อหํ ภิกฺขเว ปุพฺเพ พาราณสิราชา อโหสิ''' ความว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ในกาลปางก่อน ตถาคตเกิดเป็นพระราชาพาราณสี พระราชาพาราณสีนั้นประสงค์จะถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์ ทรงทราบว่า พวกพ่อค้าเขาเอาผ้าเนื้อดี ๆ มาจำหน่ายที่พระนครของพระองค์ จึ่งทรงตรัส<ref>ตามหลักภาษาปัจจุบัน ต้องใช้ว่า “ตรัส” อย่างเดียว ไม่ใช่ “ทรงตรัส” เพราะ “ตรัส” เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องเติม “ทรง” ให้เป็นราชาศัพท์อีก อนึ่ง ผู้อ่านจะพบการใช้ทำนองนี้อีกในหลาย ๆ จุด เช่น ในตอนถัดมามีว่า “...ทรงกริ้วพวกพ่อค้า...” ''— [เชิงอรรถโดยของ วิกิซอร์ซ]''</ref> ใช้ให้อำมาตย์ไปซื้อผ้ามาจากพ่อค้า ผ้าผืนหนึ่งราคาถึงแสนกหาปณะ พระราชาทอดพระเนตรผ้าผืนนั้นแล้วทรงซื้อไว้ ประทานราคาให้เท่าน้ำหนักทองคำหนักหนึ่ง พวกพ่อค้าผ้าจึ่งปรึกษากันว่า พระราชาประทานให้ราคาเท่าน้ำหนักทองคำหนักหนึ่งนี้ หาคู่ควรแก่ราคาผ้าผืนนี้ไม่ พวกเราจักขอให้พระราชาประทานราคาให้สมควรแก่ผ้าผืนนี้ พระราชาทรงทราบความข้อนั้นแล้วก็ทรงกริ้วพวกพ่อค้ามาก พวกพ่อค้าผ้ารู้ว่าพระราชากริ้ว ก็ไม่อาจขอขึ้นราคาผ้าอีกได้ จึ่งพากันกลับไปยังเมืองที่อยู่ของตน พระเจ้าพาราณสีนั้น ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้มาเกิดเป็นสุวรรณสังขกุมาร และได้เป็นลูกเขยแห่งพระเจ้าพาราณสี พวกพ่อค้านั้น ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้มาเกิดเป็นหกกษัตริย์ลูกเขยพระเจ้าพาราณสี หกกษัตริย์นั้นชวนกันประทุษร้ายตถาคต ทูลยุยงให้พระราชาฆ่าตถาคต ด้วยบาปกรรมที่ตถาคตข่มเหงเขาซื้อผ้าลดราคาด้วยประการฉะนี้