ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำนานหนังสือสามก๊ก/คำนำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย '{{c|{{fs|130%|คำนำ}}}} สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี ...'
 
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 7:
เมื่อกราบทูลรับแล้ว มาพิเคราะห์ดูเห็นว่า การที่จะพิมพ์หนังสือสามก๊กฉบับงานพระเมรุสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าครั้งนี้มีข้อสำคัญซึ่งควรคำนึงอยู่สองข้อ ข้อหนึ่ง คือ นักเรียนทุกวันนี้ การเรียนแลความรู้กว้างขวางกว่าแต่ก่อน หนังสือสามก๊กฉบับพิมพ์ใหม่จะต้องให้ผู้อ่านได้ความรู้ยิ่งขึ้นกว่าอ่านฉบับที่พิมพ์ไว้แต่เดิม จึงจะนับว่าเป็นฉบับดีสมกับที่พิมพ์ในงานพระเมรุสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า ความข้อนี้เห็นทางที่จะทำได้มีอยู่ ด้วยอาจตรวจสอบหนังสือต่าง ๆ หาความรู้อันเป็นเครื่องประกอบหนังสือสามก๊กมาแสดงเพิ่มเติม แลการส่วนนี้เผอิญมีผู้สามารถอยู่ในราชบัณฑิตยสภา คือ อำมาตย์โท พระเจนจีนอักษร (สุดใจ ตัณฑากาศ) ซึ่งเชี่ยวชาญทั้งภาษาจีน แลได้เคยอ่านหนังสือจีนเรื่องต่าง ๆ มาก รับเป็นผู้เสาะหาความรู้ทางฝ่ายจีน แลมีศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ อีกคนหนึ่งรับช่วยเสาะหาทางประเทศอื่น ตัวข้าพเจ้าเสาะหาทางฝ่ายไทย ช่วยกันค้นคว้าหาความรู้เนื่องด้วยหนังสือเรื่องสามก๊กอันยังมิได้ปรากฏแพร่หลายมาแต่ก่อนได้อีกหลายอย่าง ถ้าว่าตามแบบที่เคยทำมา ความรู้ที่ได้เพิ่มเติมเช่นนี้มักแสดงไว้ใน “คำนำ” หรือ “คำอธิบาย” ข้างหน้าเรื่อง แต่ความอันจะพึงกล่าวด้วยเรื่องสามก๊ก ถ้าเรียบเรียงให้สิ้นกระแสซึ่งจะเป็นประโยชน์ในทางความรู้ เห็นจะเป็นหนังสือมากเกินขนาดที่เคยลงในคำนำหรือคำอธิบาย เมื่อคิดใคร่ครวญว่าจะทำอย่างไรดี ข้าพเจ้าหวนรำลึกถึงครั้งสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษาครบหกสิบปีเมื่อระกา พ.ศ. ๒๔๖๔ โปรดให้พิมพ์หนังสือบทละครเรื่องอิเหนาะพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประทานเป็นมิตรพลี ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้แต่งเรื่องตำนานละครอิเหนาพิมพ์เพิ่มเป็นภาคผนวกถวายอีกเล่มหนึ่ง สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าโปรด งานพระเมรุครั้งนี้ข้าพเจ้าก็นึกปรารถนาอยู่ว่า จะรับหน้าที่ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งพอสนองพระคุณสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าซึ่งได้มีมาแก่ตัวข้าพเจ้าตลอดจนเหล่าธิดาหาที่จะเปรียบปานได้โดยยาก ก็นึกขึ้นได้ว่า ถ้าลงแรงแต่งตำนานหนังสือสามก๊กพิมพ์เพิ่มเป็นภาคผนวกถวายบูชาพระศพเหมือนอย่างเคยแต่งเรื่องตำนานละครอิเหนาถวายเมื่อพระองค์ยังเสด็จดำรงพระชนม์อยู่ เห็นจะสมควรยิ่งกว่าอย่างอื่น อันนี้แลเป็นมูลเหตุให้ข้าพเจ้าแต่งตำนานหนังสือสามก๊กซึ่งพิมพ์ในสมุดเล่มนี้
 
ความสำคัญอีกข้อหนึ่งนั้น คือ การที่จะชำระต้นฉบับแลพิมพ์หนังสือสามก๊กฉบับงานพระเมรุครั้งนี้ ด้วยหนังสือสามก๊กเป็นเรื่องใหญ่ถึงสี่เล่มสมุดพิมพ์ และจะต้องพิมพ์ให้แล้วภายในเวลามีกำหนด ตัวพนักงานการพิมพ์หนังสือซึ่งมีประจำอยู่ในราชบัณฑิตยสภาไม่พอการ ต้องหาบุคคลภายนอกช่วย เผอิญได้มหาเสวกโท พระยาพจนปรีชา (ม.ร.ว.สำเริง อิศรศักดิ์ ณ อยุธยา) ซึ่งเป็นนักเรียนมีเกียรติมาแต่ก่อน มีแก่ใจรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ด้วยเห็นว่า การพิมพ์หนังสือสามก๊กจะเป็นสาธารณประโยชน์อย่างสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอทรงพระดำริ ข้าพเจ้าจึงได้มอบการให้พระยาพจนปรีชาทำตั้งแต่ชำระตั้นฉบับตลอดจนตรวจฉบับพิมพ์ แลให้รองอำมาตย์ตรี ขุนวรรรรักษ์วิจิตร (เชย ชุมากร) เปรียญ รองบรรณารักษ์ในหอพระสมุดวชิราวุธ เป็นผู้ช่วยในการนั้น<ref>เดิมให้อำมาตย์โท พระพินิจวรรณการ (แสง สาลิตุล) เปรียญ เลขานุการราชบัณฑิตยสภา เป็นผู้ตรวจฉบับพิมพ์ แต่พระพินิจฯ ทำงานเหลือกำลังจนมีอาการป่วย จึงผ่อนงานนี้ให้ทำเพียงแต่งสารบัญ</ref>
 
หนังสือซึ่งใช้เป็นต้นฉบับชำระใช้หนังสือสามก๊กฉบับหมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรก ฉบับหนึ่ง หนังสือนี้ที่ในหอพระสมุดฯ มีไม่บริบูรณ์ ต้องเที่ยวสืบหาตามบรรดาท่านผู้ที่สะสมหนังสือทั้งฝ่ายในพระบรมมหาราชวังแลฝ่ายหน้า ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้แสดงความขอบคุณด้วย ไม่ว่าท่านผู้ใดเมื่อได้ทราบว่าต้องการฉบับเพื่อจะพิมพ์ในงานพระเมรุสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าก็ยินดีให้ยืมตามประสงค์ทุกราย ที่ยอมยกหนังสือนั้นให้เป็นสิทธิ์แก่หอพระสมุดฯ ทีเดียวก็มี อาศัยเหตุนี้ จึงได้ฉบับพิมพ์ครั้งแรกของหมอบรัดเลมาครบครัน นอกจากนั้น ให้เอาหนังสือฉบับเขียนของเก่าสอบด้วย อีกฉบับหนึ่ง บรรดาฉบับเขียนที่มีอยู่ในหอพระสมุดฯ ฉบับของกรมหลวงวรเสรฐสุดาซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ประทานไว้ในหอพระสมุดฯ เป็นบริบูรณ์ดีกว่าเพื่อน ได้ใช้ฉบับนี้สอบกับฉบับพิมพ์ครั้งแรกของหมอบรัดเลเป็นสองฉบับด้วยกัน แลยังได้อาศัยฉบับพิมพ์ภาษาจีนด้วยอีกฉบับหนึ่ง สำหรับสอบในเมื่อมีความบางแห่งเป็นที่สงสัย หรือต้นฉบับภาษาไทยแย้งกันแต่ชี้ไม่ได้ว่าฉบับไหนถูก