ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำนานหนังสือสามก๊ก/ส่วน 1/ตอน 3"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย '{{c|{{fs|120%|'''๓. ว่าด้วยสำนวนแปลหนังสือสามก๊ก'''}}}} ลักษณะ...'
 
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 9:
อนึ่ง การแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยผิดกับแปลภาษาอื่นอีกอย่างหนึ่ง ด้วยจีนต่างเหล่าอ่านหนังสือจีนสำเนียงผิดกัน เช่น หนังสือเรื่องสามก๊กนี้ จีนต่างเหล่าต่างเรียกชื่อเมืองแลชื่อบุคคลผิดกัน ดังจะแสดงพอให้เห็นเป็นตัวอย่างต่อไปนี้
 
{{gap}} ราชอาณาเขตของพระเจ้าโจผี คำหลวง (คือ จีนเมืองหลวงเดิม<ref>เมืองหลวงเดิมอยู่แถวเมืองน้ำกิ่ง เมืองปักกิ่งเป็นเมืองหลวงชั้นหลัง สำเนียงชาวปักกิ่งเพี้ยนไปอีกอย่างหนึ่ง</ref>) เรียกว่า ไวโกวะ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า วุยก๊ก จีนแต้จิ๋วเรียกว่า งุ่ยก๊ก จีนกวางตุ้งเรียกว่า ง่ายโกะ จีนไหหลำเรียกว่า หงุ่ยก๊ก
 
{{gap}} ราชอาณาเขตของพระเจ้าเล่าปี่ คำหลวงเรียกว่า จ๊กโกวะ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า จ๊กก๊ก จีนแต้จิ๋วเรียกว่า จ๊กก๊ก จีนแต้จิ๋วเรียกว่า จ๊วกก๊ก จีนกวางตุ้งเรียกว่า ซกโกะ จีนไหหลำเรียกว่า ต๊กก๊ก
 
{{gap}} ราชอาณาเขตของพระเจ้าซุนกวน คำหลวงเรียกว่า อู๋โกวะ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า ง่อก๊ก จีนแต้จิ๋วเรียกว่า โหง็วก๊ก จีนกวางตุ้งเรียกว่า อื้อโกะ จีนไหหลำเรียกว่า โง่วก๊ก
 
{{gap}} ราชอาณาเขตของพระเจ้าซุนกวน คำหลวงเรียกว่า อู๋โกวะ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า ง่อก๊ก จีนแต้จิ๋วเรียกว่า โหง็วก๊ก จีนกวางตุ้งเรียกว่า อื้อโกะ จีนไหหลำเรียกว่า โง่วก๊ก
 
{{gap}} เล่าปี่ คำหลวงเรียก ลิ่วปี๋ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า เล่าปี่ จีนแต้จิ๋วเรียกว่า เล่าปี๋ จีนกวางตุ้งเรียกว่า เหล่าปี๋ จีนไหหลำเรียกว่า ลิ่วปี่
 
{{gap}} โจโฉ คำหลวงเรียก เฉาเช่า จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า โจโฉ จีนแต้จิ๋วเรียกว่า เช่าเฉา จีนกวางตุ้งเรียกว่า โช่วเชา จีนไหหลำเรียกว่า เซาเซ่า
 
{{gap}} ซุนกวน คำหลวงเรียกว่า ซุนขยง จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า ซุ่นกวน จีนแต้จิ๋วเรียกว่า ซึงขวน จีนกวางตุ้งเรียกว่า ซุนคิ่น จีนไหหลำเรียกว่า ตุนเขียน
 
{{gap}} ขงเบ้ง คำหลวงเรียกว่า ข้งหมิ่ง จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า ขงเบ้ง จีนแต้จิ๋วเรียกว่า ขงเหมง จีนกวางตุ้งเรียกว่า หงเม่ง จีนไหหลำเรียกว่า ขงเหม่ง
 
{{gap}} สุมาอี้ คำหลวงเรียกว่า ซือม้าอี๋ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า สุมาอี้ จีนแต้จิ๋วเรียกว่า ซือเบอี๋ จีนกวางตุ้งเรียกว่า สือหมาอี้ จีนไหหลำเรียกว่า ซีมาอี๋
 
{{gap}} จิวยี่ คำหลวงเรียกว่า เจียวหยี จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า จิวยี่ จีนแต้จิ๋วเรียกว่า จิวหยู จีนกวางตุ้งเรียกว่า จาวหยี จีนไหหลำเรียกว่า จิวยี่
 
{{gap}} กวนอู คำหลวงเรียกว่า กวานอี้ จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า กวนอู จีนแต้จิ๋วเรียกว่า กวนอู๊ จีนกวางตุ้งเรียกว่า กวานยี่ จีนไหหลำเรียกว่า กวนยี่
 
{{gap}} เตียวหุย คำหลวงเรียกว่า เจียงฟุย จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า เตียวหุย จีนแต้จิ๋วเรียกว่า เตียฮุย จีนกวางตุ้งเรียกว่า จง/จางฟุย จีนไหหลำเรียกว่า เจียงฮุย ดังนี้
 
หนังสือเรื่องจีนที่แปลเป็นภาษาไทย บางเรื่องเรียกชื่อตามสำเนียงฮกเกี้ยน บางเรื่องเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋ว เพราะจีนในประเทศสยามนี้มีจีนเหล่าฮกเกี้ยนกับเหล่าแต้จิ๋วมากกว่าเหล่าอื่น ผู้แปลเป็นจีนเหล่าไหนอ่านหนังสือสำเนียงเป็นอย่างใด ไทยเราก็จดลงอย่างนั้น หนังสือสามก๊กที่แปลเป็นไทยเรียกชื่อต่าง ๆ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เมื่อเทียบกับหนังสือสามก๊กที่แปลเป็นภาษาอื่น ชื่อที่เรียกจึงผิดเพี้ยนกัน เพราะเขาเรียกตามสำเนียงจีนเหล่าอื่น มักทำให้เกิดฉงนด้วยเหตุนี้