เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 13:
== Memo ==
* [[วิกิซอร์ซ:หลักการตั้งชื่อบทความ]]
 
== อาจจะทำ ==
* พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 [http://www.thaishooting.com/pic/Arm_Law.pdf]
 
== กระบะทราย ==
== พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ==
{{c|{{fs|140%|'''พระราชบัญญัติ'''}}}}
 
{{c|{{fs|140%|'''อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด'''}}}}
 
{{c|{{fs|140%|'''ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน'''}}}}
 
{{c|{{fs|140%|'''พ.ศ. 2490'''}}}}
 
{{c|_______________}}
 
{{c|{{fs|100%|'''ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช'''}}}}
 
{{c|{{fs|100%|'''คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์'''}}}}
 
{{c|{{fs|100%|'''รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร'''}}}}
 
{{c|{{fs|100%|'''พระยามานวราชเสวี'''}}}}
 
{{c|{{fs|100%|'''ให้ไว้ ณ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2490'''}}}}
 
{{c|{{fs|100%|'''เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน'''}}}}
 
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด และดอกไม้เพลิงกับควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืน
 
พระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
 
 
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490"
 
 
มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
*[รก.2490/42/556/9 กันยายน 2490]
 
 
มาตรา 3 ให้ยกเลิก
 
(1) พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดและดอกไม้เพลิง พุทธศักราช 2477
 
(2) พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดและดอกไม้เพลิงแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477
 
(3) พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดและดอกไม้เพลิงแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)
 
(4) พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดและดอกไม้เพลิง (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2479
 
(5) พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดและดอกไม้เพลิง (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2484
 
และบรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
 
 
มาตรา 4* ในพระราชบัญญัตินี้
 
(1)* "อาวุธปืน" หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิดหรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลมหรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง
 
(2)* "เครื่องกระสุนปืน" หมายความรวมตลอดถึงกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ทั้งชนิดที่มีหรือไม่มีกรดแก๊ส เชื้อเพลิง เชื้อโรค ไอพิษ หมอกหรือควัน หรือกระสุน ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน หรือเครื่อง หรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำ หรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน
 
(3)* "วัตถุระเบิด" คือ วัตถุที่สามารถส่งกำลังดันอย่างแรงต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลันในเมื่อระเบิดขึ้นโดยมีสิ่งเหมาะมาทำให้เกิดกำลังดัน หรือโดยการสลายตัวของวัตถุระเบิดนั้นทำให้มีแรงทำลายหรือแรงประหาร กับหมายความรวมตลอดถึงเชื้อประทุต่าง ๆหรือวัตถุอื่นใดอันมีสภาพคล้ายคลึงกันซึ่งใช้หรือทำขึ้นเพื่อให้เกิดการระเบิด ซึ่งรัฐมนตรีจะได้ประกาศระบุไว้ในราชกิจจานุเบกษา
 
(4) "ดอกไม้เพลิง" หมายความรวมตลอดถึงพลุ ประทัดไฟ ประทัดลม และวัตถุอื่นใด อันมีสภาพคล้ายคลึงกัน
 
(5) "สิ่งเทียมอาวุธปืน" หมายความว่า สิ่งซึ่งมีรูปและลักษณะอันน่าจะทำให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน
 
(6) "มี" หมายความว่า มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครองแต่ไม่หมายความถึงการที่อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดที่มีไว้โดยชอบด้วยกฎหมายและตกอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นซึ่งไม่ต้องห้ามตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัตินี้เท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาสิ่งที่ว่านี้มิให้สูญหาย
 
(7) "สั่ง" หมายความว่า ให้บุคคลใดส่งหรือนำเข้ามาจากภายนอกราชอาณาจักร
 
(8) "นำเข้า" หมายความว่า นำเข้ามาจากภายนอกราชอาณาจักรไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ
 
(9) "รัฐมนตรี"หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 
*[บทนิยามตามมาตรา 4 (1) (2) และ (3) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501]
 
 
มาตรา 5* พระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่มาตรา 8 ทวิ มิให้ใช้บังคับแก่
 
(1) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนของ
 
::(ก) ราชการทหารและตำรวจที่มีหรือใช้ในราชการ
 
::(ข) หน่วยราชการที่มีหรือใช้เพื่อป้องกันประเทศหรือรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
 
::(ค) หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มีและใช้ในการป้องกันและรักษาทรัพย์สินอันสำคัญของรัฐ
 
::(ง) ราชการทหารและตำรวจตาม (ก) หรือหน่วยราชการตาม (ข) ที่มอบให้ประชาชนมีและใช้เพื่อช่วยเหลือราชการของทหารและตำรวจหรือของหน่วยราชการ แล้วแต่กรณี
 
(2) อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนประจำเรือเดินทะเล รถไฟ และอากาศยานตามปกติ ซึ่งได้แสดงและให้พนักงานศุลกากรตรวจตามกฎหมายแล้ว
 
(3) ดอกไม้เพลิงสัญญาณประจำเรือเดินทะเล อากาศยาน และสนามบินตามปกติ หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามวรรคหนึ่ง (1) (ข) หรือ (ค) รวมทั้งชนิด ขนาด และการกำหนดจำนวน ตลอดจนการมีและใช้ การเก็บรักษา การพาติดตัว การซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลักษณะ และการอย่างอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความปลอดภัยอันเกี่ยวกับอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ที่ให้หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจดังกล่าวมีและใช้หรือมอบให้ประชาชนมีและใช้เพื่อช่วยเหลือราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
 
*[มาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522]
 
 
มาตรา 6* ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนและเจ้าหน้าที่อื่นและออกกฎกระทรวงในเรื่องต่อไปนี้ คือ
 
(1) จำกัดชนิดและจำนวนอาวุธปืนของกระทรวงทบวงกรมอื่น นอกจากของราชการทหารและตำรวจหรือหน่วยราชการตามมาตรา 5 วรรคสอง
 
(2) วางระเบียบการทะเบียน การขอและการออกใบอนุญาต
 
(3) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งต้องไม่เกินอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
 
(4) กิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
 
ในส่วนที่เกี่ยวกับการออกกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง (1) ตามมาตรา 5 วรรคสอง และตามมาตรา 55 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมร่วมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยด้วย
 
ในส่วนที่เกี่ยวกับการศุลกากร ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
 
กฎกระทรวงนั้นเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
 
*[มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522]
 
 
{{c|{{fs|140%|'''หมวด 1'''}}}}
 
{{c|{{fs|140%|'''อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน'''}}}}
 
{{c|_______________}}
 
 
{{c|{{fs|140%|'''อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน'''}}}}
 
{{c|{{fs|140%|'''อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล'''}}}}
 
{{c|_______________}}
 
 
มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่
 
 
มาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้
 
 
มาตรา 8 ทวิ* ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
 
ไม่ว่ากรณีใด ห้ามมิให้พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้น เพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด
 
*ความในมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่
 
(1) เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทหารและตำรวจ ซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
 
(2) ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) (ข) หรือ (ค) ซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการป้องกันประเทศหรือรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือรักษาทรัพย์สินอันสำคัญของรัฐ
 
(3) ประชาชนผู้ได้รับมอบให้มีและใช้ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) (ง) ซึ่งอยู่ในระหว่างการช่วยเหลือราชการและมีเหตุจำเป็นต้องมี และใช้อาวุธปืนในการนั้น
 
*[มาตรา 8 ทวิ เพิ่มความโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ส่วนความในวรรคสามแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522]
 
 
มาตรา 9 ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนให้ออกให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน หรือในการกีฬาหรือยิงสัตว์
 
ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก
 
 
มาตรา 10
 
[[:หมวดหมู่:พระราชบัญญัติ]]
 
{{User วิกิพีเดีย}}