ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนังสือสัญญากรุงเทพมหานครกับกรุงอังกริษเปนทางไมตรีค้าขายกัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 59:
ข้อ {{gap|0.5em}} ๘ {{gap|0.5em}} ว่า ค่าธรรมเนียมปากเรือที่เคยเรียกแต่ลูกค้าอังกฤษตามสัญญาเก่าซึ่งทำไว้ในคฤษตศักราช ๑๘๒๖ ปีนั้น จะยอมเลิกเสียตั้งแต่หนังสือสัญญานี้ใช้ได้ พ้นนั้นไปจะต้องเสียแต่ภาษีสิ่งของขาเข้าขาออก สินค้าเข้าจะต้องเสียภาษี ๑๐๐ ละสาม จะเสียเปนของฤๅจะเสียเปนเงินคิดราคาตามราคาท้องน้ำสุดแต่ใจเจ้าของจะเสีย ถ้าของเสียภาษี ๑๐๐ ละสามแล้ว ของจำหน่ายไม่ได้ จะเหลือกลับออกไปมากน้อยเท่าใด ต้องคิดภาษีสิ่งของที่เหลือคืนให้แก่เจ้าของให้ครบ ถ้าราคาสิ่งของไม่ตกลงกัน ต้องไปบอกกงสุล ๆ จะเรียกพ่อค้าคนหนึ่งฤๅสองคน เจ้าพนักงานฝ่ายไทยก็จะเรียกพ่อค้าคนหนึ่งฤๅสองคน ช่วยตีราคาภอสมคววร ถ้าลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะบันทุกเอาฝิ่นเข้ามา ณ กรุงเทพฯ ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องขายฝิ่นให้แก่เจ้าภาษี ถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อฝิ่นไว้ ให้บันทุกกลับออกไปไม่ต้องเสียอะไร ถ้าลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษเอาฝิ่นไปลักลอบขายทำผิดสัญญาข้อนี้ ให้ริบเอาฝิ่นไปเสียให้สิ้น แลของที่เปนสินค้าจะบันทุกออกไปนั้น ตั้งแต่ของสิ่งนั้นเกิดมาจนได้เปนสินค้าบันทุกกำปั่นออกไป ให้เสียภาษีแต่ชิ้นเดียว ของสิ่งไรที่เปนสินค้าในกรุงเทพฯ จะเรียกเปนสมพักษร ฤๅจะเรียกเปนภาษีป่า ภาษีในกรุงเทพฯ ภาษีปากเรืออย่างไร ได้กำหนดแจ้งในพิกัดอยู่กับหนังสือสัญญาแล้ว ได้ยอมกันเปนชัดแล้วว่า ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ต้องเสียภาษีข้างในแล้ว เมื่อลงเรือไม่ต้องเสีย พวกลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะซื้อสินค้ายอมให้ซื้อ แต่ผู้ทำ ผู้ปลูก แลของที่เขาขายนั้น ถ้าผู้ใดผู้หนึ่งจะซื้อยอมให้ขาย มิให้ผู้ใดผู้หนึ่งขัดขวางห้ามปราม ภาษีที่กำหนดในพิกัดสัญญานี้ สินค้าที่บันทุกเรือไทยเรือจีนที่เคยเสียแล้ว ฝ่ายไทยจะยอมลดภาษีให้เรือไทยเรือจีนแลชาติอื่น ๆ ก็จะยอมลดให้ลูกค้าซึ่งอยู่ในบังคับอังกฤษเหมือนกัน ลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะเข้ามาต่อเรือ ณ กรุงฯ เสนาบดียอมให้ต่อแล้วก็ต่อได้ แลเข้า ปลา เกลือ ของสามสิ่งนี้ ที่กรุงฯ ไม่บริบูรณ มีหมายประกาศห้ามไม่ให้ออกไปก็ได้ เงินทองแลของสำหรับตัวเข้าออกไม่ต้องเสียภาษี
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๙ {{gap|0.5em}} ว่า ความในกฎหมายซึ่งติดในสัญญานี้ กงสุลกับเจ้าพนักงานฝ่ายไทยพร้อมกันจะต้องรักษา แลจะต้องบังคับให้คนทั้งปวงกระทำตามกฎหมาย เจ้าพนักงานฝ่ายไทยกับกงสุลจะคิดจัดแจงเพิ่มเติมกฎหมายหวังจะรักษาหนังสือสัญญาให้เจริญก็ทำได้ เงินที่ปรับไหมแลของที่ริบเพราะทำผิดสัญญานี้ต้องส่งเปนของในแผ่นดินก่อน เมื่อกงสุลจะเข้ามาตั้งในอยู่ ณ กรุงฯ เจ้าของเรือแลกัปตันนายเรือจะว่าด้วยการค้าขายกับเจ้าพนักงานฝ่ายไทยก็ได้
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๑๐ {{gap|0.5em}} ว่า ถ้าฝ่ายไทยยอมให้สิ่งใด ๆ แก่ชาติอื่น ๆ นอกจากหนังสือสัญญานี้ ก็จะต้องยอมให้อังกฤษแลคนในบังคับอังกฤษเหมือนกัน
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๑๑ {{gap|0.5em}} ว่า เมื่อพ้น ๑๐ ปีตั้งแต่ประทับตราเปลี่ยนหนังสือสัญญานี้แล้ว ถ้าฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษจะขอเปลี่ยนข้อใด ๆ ในหนังสือสัญญานี้ แลข้อใด ๆ ในหนังสือสัญญาเก่าซึ่งทำไว้ในคฤษตศักราช ๑๘๒๖ ปีซึ่งมิได้ยกเสียนั้น แลข้อใด ๆ ในกฎหมายค้าขายแลพิกัดภาษีที่ติดอยู่กับหนังสือสัญญานี้ แลกฎหมายจะทำต่อไปภายน่า เมื่อบอกให้รู้ก่อนปีหนึ่งแล้ว จะตั้งขุนนางฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมได้ตามแต่เห็นควรเห็นชอบด้วยกันทั้งสองฝ่าย
 
ข้อ {{gap|0.5em}} ๑๒ {{gap|0.5em}} ว่า หนังสือสัญญานี้ทำไว้เปนอักษรไทยฉบับหนึ่ง เปนอักษรอังกฤษฉบับหนึ่ง ข้อความต้องกัน เมื่อหนังสือสัญญญาสัญญาประทับตราเข้ามาเปลี่ยนกันแล้ว ใช้ได้เมื่อวันที่ ๖ เดือนเอปริล คฤษตศักราช ๑๘๕๖ ปี คิดเปนไทย ณ วันอาทิตย์เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช ๑๒๑๘ ปีมโรง อัฐศก ผู้สำเร็จราชการฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษทำหนังสือสัญญานี้เขียนเปน ๔ ฉบับ ลงชื่อประทับตราด้วยกันทั้งสองฝ่าย ทำไว้ในกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสิทรมหินทรายุทธยา ณ วันพุฒ เดือนหก ขึ้นสองค่ำ ปีเถาะ สัปตศก