ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๓"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mopza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mopza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1:
{{ไม่เสร็จ}}
* [[พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๓/บทนำ]]
* [[พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๓/หมวด ๑]]
* [[พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๓/หมวด ๒]]
* [[พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๓/หมวด ๓]]
* [[พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๓/หมวด ๔]]
* [[พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๓/หมวด ๕]]
* [[พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๓/หมวด ๖]]
* [[พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๓/หมวด ๗]]
* [[พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๓/บทเฉพาะกาล]]
 
{{วิกิพีเดีย|โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์}}
{{หัวเรื่องกฎหมาย
|ชื่อเรื่อง= พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
|ชื่อเรื่องย่อย=
|วิกิพีเดียชื่อเรื่อง=
|พระราชนิพนธ์=
|พระนิพนธ์=
|ผู้แต่ง=
|ผู้แต่งไม่ลิงก์= รัฐบาลไทย
|วิกิพีเดียผู้แต่ง=
|ผู้แปล=
|เรื่องก่อนหน้า=
|เรื่องถัดไป=
|ก่อนหน้า=
|ถัดไป=
|หมายเหตุ= {{รุ่น}}
}}
[[ไฟล์:New Seal of the Royal Command of Thailand 001.jpg|center|Seal of the Royal Command of Thailand|150px]]
 
 
{{c|{{fs|140%|'''พระราชกฤษฎีกา'''}}}}
 
 
{{c|{{fs|120%|'''จัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์'''}}}}
 
 
{{c|{{fs|120%|'''พ.ศ. ๒๕๔๓'''}}}}
 
 
{{r|8em}}
 
 
 
{{c|{{fs|140%|ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.}}}}
 
 
 
{{c|ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓}}
 
 
{{c|เป็นปีที่ ๕๕ ในรัชกาลปัจจุบัน}}
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
 
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ขึ้นเป็นองค์การมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
 
 
 
 
{{c|'''มาตรา ๑'''}}
 
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๓”
 
 
 
{{c|'''มาตรา ๒'''}}
 
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
 
 
 
{{c|'''มาตรา ๓'''}}
 
ในพระราชกฤษฎีกานี้
 
“โรงเรียน” หมายความว่า โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
 
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
 
“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
 
“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
 
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
 
 
 
{{c|'''มาตรา ๔'''}}
 
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
 
 
 
 
 
{{c|{{fs|120%|'''หมวด ๑'''}}}}
 
 
{{c|{{fs|120%|'''การจัดตั้ง วัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่'''}}}}
 
 
{{r|8em}}
 
 
 
 
 
{{c|'''มาตรา ๕'''}}
 
ให้จัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นเรียกว่า “โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์” และให้มีชื่อ เป็นภาษาอังกฤษว่า “Mahidol Wittayanusorn School”
 
 
 
{{c|'''มาตรา ๖'''}}
 
ให้โรงเรียนมีที่ทำการอยู่ในจังหวัดนครปฐม
 
 
{{c|'''มาตรา ๗'''}}
 
ให้โรงเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการและดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีศักยภาพสูงทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
 
 
{{c|'''มาตรา ๘'''}}
 
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ ให้โรงเรียนมีอำนาจหน้าที่ หลัก ดังนี้
 
(๑) ดำเนินการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นความเข้มข้นของการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีศักยภาพสูงทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
 
(๒) จัดทำหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับใช้ในโรงเรียน
 
(๓) ดำเนินการและส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน
 
(๔) ให้บริการพิเศษทางด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
 
 
{{c|'''มาตรา ๙'''}}
 
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๘ ให้โรงเรียนมีอำนาจทำกิจการดังต่อไปนี้ด้วย
 
(๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
 
(๒) ก่อตั้งสิทธิ หรือทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน
 
(๓) ทำความตกลงและร่วมมือกับองค์การหรือหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกิจการที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของโรงเรียน
 
(๔) จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาของนักเรียนและการดำเนินงานของโรงเรียน
 
(๕) เข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโรงเรียน
 
(๖) กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในกิจการที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของโรงเรียน
 
(๗) ให้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนของโรงเรียนซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์โดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์
 
(๘) เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินกิจการ
 
(๙) ให้ประกาศนียบัตร หนังสือรับรอง และเครื่องหมายวิทยฐานะในกิจกรรมที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของโรงเรียน
 
(๑๐) กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของโรงเรียน การเข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นตาม (๕) และการกู้ยืมเงินตาม (๖) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
 
{{c|'''หมายเหตุ'''}}
 
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลนนักวิจัยพัฒนาและนักประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้มีการส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในโรงเรียน ตลอดจนมีการจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนเฉพาะสายวิทยาศาสตร์เท่านั้น โดยไม่มีการเปิดสอนสายศิลป์และสายอื่น จำนวน ๑๓ แห่งขึ้น เพื่อจัดการศึกษาให้แก่นักเรียน แต่หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนก็ยังคงเป็นเช่นเดียวกับโรงเรียนทั่วไป ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้เด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งจำเป็นต้องมีวิธีการและหลักสูตรที่มีลักษณะพิเศษ อันแตกต่างไปจากการเรียนการสอนในโรงเรียนปกติ ดังนั้น สมควรให้มีการจัดให้มีโรงเรียนวิทยาศาสตร์ขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้นให้แก่นักเรียนที่มีความสามารถเป็นพิเศษในทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อเป็นการเตรียมพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีคุณภาพสูงเพื่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในการที่จะสร้างนักวิชาการอันยอดเยี่ยมของประเทศและเพื่อที่จะให้โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นมีการบริหารและการจัดการเรียนการสอนที่มีความเป็นอิสระ คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ สมควรกำหนดให้เป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน จึงได้นำโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มาจัดตั้งเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นต้นแบบแก่โรงเรียนในลักษณะดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
 
== เชิงอรรถ ==
 
{{reflist}}
 
 
 
 
 
----
{{ท้ายเรื่อง}}
----
{{แม่แบบ:ข้อมูลข่าวสารของราชการ-ไทย}}
 
[[หมวดหมู่:พระราชกฤษฎีกา]]