ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 64:
ความสามารถในการปกครองบ้านเมืองนั้น พระยาโบราณฯ ได้ขึ้นไปรับราชการตั้งแต่สมัยเมื่อแรกตั้งมณฑล รู้การที่กรมขุนมรุพงศศิริพัฒน์ทรงจัด และได้ช่วยทำการนั้นๆ มาแต่แรกจนชำนิชำนาญ ครั้นกรมขุนมรุพงศฯ เสด็จย้ายไปมณฑลอื่น พระยาโบราณฯ สามารถรักษาการต่างๆ ที่กรมขุนมรุพงศฯ ได้ทรงจัด เช่นวิธีปราบโจรผู้ร้ายเป็นต้น ไว้ได้ดังแต่ก่อนหมดทุกอย่าง นอกจากนั้นได้คิดอ่านจัดการให้เป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองต่อมาด้วยสติปัญญาสามารถของตนเองอีกก็มาก จะพรรณาถึงรายการ (แม้เพียงในเวลาที่ผู้แต่งหนังสือนี้ได้มีหน้าที่ในการปกครองมาด้วยกันกับพระยาโบราณฯ จน พ.ศ. ๒๔๕๘) ก็จะยืดยาวนัก และเป็นการจัดตามหัวเมืองเหมือนกันทุกมณฑลโดยมาก เพราะฉะนั้นจะกล่าวแต่โดยย่อ ว่ามณฑลอื่นได้ทำอย่างไร พระยาโบราณฯ ก็ทำได้อย่างนั้น บางเรื่องก็ดีกว่ามณฑลอื่น จะยกพอเป็นอุทาหรณ์เรื่องหนึ่ง แรกตั้งพระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหารใน พ.ศ. ๒๔๔๘ คนพากันหลบหนีเข้าบวชเป็นอันมาก ถึงกระทรวงมหาดไทยเรียกเทศาฯ มณฑลที่ใช้พระราชบัญญัตินั้น เข้าไปปรึกษาว่าควรจะทำอย่างไร เทศาฯ บางคนเห็นว่าการหลบหนีบวชก็เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ ควรจับเอาตัวมาฟ้องศาลเอาโทษตามกฎหมาย แต่พระยาโบราณฯ เสนอความเห็นว่าคนกำลังตื่น ถ้าจับกุมก็จะยิ่งตื่นกันหนักขึ้น ถ้าเห็นว่าวัดคุ้มไม่ได้ก็คงพากันหนีเข้าป่า เมื่อหมดสะเบียงอาหารก็จะเที่ยวปล้นสดมภ์เลี้ยงชีพ จะเลยต้องปราบโจรผู้ร้ายด้วยอีกอย่างหนึ่ง เห็นว่าปล่อยให้บวชอยู่ในวัดดีกว่า เหมือนกับฝากพระให้คุมไว้ เมื่อคนเหล่านั้นรู้ความตามพระราชบัญญัติ เห็นว่าที่ต้องเป็นทหารชั่วคราวไม่เป็นการเดือดร้อนเหลือเกิน ก็คง สึกออกมาเอง ที่จะทนอดเข้าเย็นเห็นจะมีน้อย กระทรวงมหาดไทยอนุมัติตามความเห็นของพระยาโบราณฯ การเกณฑ์ทหารครั้งนั้นก็สำเร็จได้ จึงนับถือกันว่าพระยาโบราณฯ อยู่ในเทศาฯ ที่มีสติปัญญาคนหนึ่ง ถึงกระนั้นความสามารถของพระยาโบราณฯ ในการปกครองบ้านเมืองก็ยังมีเทศาฯ มณฑลอื่นพอเปรียบได้ แต่ความสามารถด้วยรอบรู้โบราณคดีของมณฑลอยุธยา ข้อนี้ไม่มีผู้อื่นเปรียบได้ทีเดียว
 
พระยาโบราณฯ เป็นผู้รักรู้โบราณคดีโดบอุปนิสัยโดยอุปนิสัย ชอบอ่านหนังสือพระราชพงศาวดารตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน พอขึ้นไปรับราชการอยู่ณพระนครศรีอยุธยาก็ตั้งต้นเที่ยวดูโบราณวงัตถุสถานต่างๆ ที่กล่าวถึงในหนังสือพระราชพงศาวดาร แห่งใดไม่ปรากฏก็พยายามค้นหา สุดแต่จะมีเวลาว่างเมื่อใดก็วานชาวบ้านพาบุกป่าฝ่าหนามเที่ยวค้นหาโบราณวัตถุสถานมาตั้งแต่ยังเป็นหลวงอนุรักษ์ภูเบศร จนเป็นพระยาโบราณฯ ก็มีความรอบรู้ด้วยได้พบโบราณวัตถุสถานในพระนครศรีอยุธยา ซึ่งผู้อื่นยังไม่เคยเห็นเป็นอันมาก เมื่อความนั้นทราบถึงเจ้านายและผู้อื่นที่ชอบรู้โบราณคดีก็พากันไต่ถาม หรือให้พระยาโบราณฯ พาไปเที่ยวดูเนืองๆ จนความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดโบราณคดีมาก และเอาพระราชหฤทัยใส่ในเรื่องโบราณคดีกรุงศรีอยุธยามาช้านาน ก็โปรดทรงซักไซ้ไต่ถามพระยาโบราณฯ เวลาเสด็จไปประทับ ณ พระราชวังบางปะอิน ก็โปรดให้พระยาโบราณฯ ถากถางนำทางเสด็จไปทอด พระเนตรโบราณสถานต่างๆ ทั้งที่ในกระนครและตามหัวเมืองในมณฑลอยุธยาเนืองๆ เป็นเหตุที่ทรงพระเมตตากรุณาพระยาโบราณฯ ยิ่งขึ้นเป็นลำดับมา
 
การต่างๆ ที่พระยาโบราณฯ ได้ทำให้เกิดประโยชน์แก่ความรู้โบราณคดีมีหลายอย่าง จะเห็นได้ในคำอธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งพิมพ์ต่อไปข้างหน้าโดยมาก แต่มีบางอย่างพระยาโบราณฯ มิได้กล่าวถึง และบางอย่างซึ่งเป็นการสำคัญกว่าที่พระยาโบราณฯ กล่าว จะเอามาพรรณนาให้ปรากฏต่อไปนี้ ตั้งแต่พระยาโบราณฯ มีชื่อเสียงว่าเป็นผู้รู้โบราณคดีมาก แม้จะยินดีก็เห็นจะรู้สึกรับผิดชอบที่จะต้องมิให้เสียชื่อเสียงในทางนั้น หรือจะเป็นด้วยความรักวิชาพาไปก็อาจเป็นได้เหมือนกัน พระยาโบราณฯ พยายามหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอเป็นนิจ ทั้งด้วยค้นหาหนังสืออ่านและเที่ยวดูตามท้องที่ บรรดาหนังสือซึ่งมีความเนื่องถึงพระนครศรีอยุธยา จะเป็นพงศาวดารก็ดี จดหมายเหตุก็ดี กฎหมายก็ดี ดูเหมือนพระยาโบราณฯ จะได้อ่านหมดไม่มีเว้น และจำความไว้ได้ด้วย จะยกอุทาหรณ์ครั้งหนึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จลงเรือพระที่นั่ง พายในสระบางปะอินจะไปเที่ยวประพาส ตรัสเรียกพระยาโบราณฯ ให้ตามเสด็จ นั่งไปที่กระทงเรือหลังที่ประทับ พอเรือพายผ่านพระที่นั่งไอสวรรย์ทิพอาสนปราสาทที่อยู่กลางสระ ตรัสถามพระยาโบราณฯ ว่า "ปราสาทครั้งเกรุงเก่ายอดประดับกระจกหรือไม่" พระยาโบราณฯ กราบทูลสนองทันทีว่า "ประดับ" ตรัสย้อนถามว่า "ทำไมเจ้าจึงรู้ว่าประดับกระจก" พระยาโบราณฯ กราบทูลสนองว่า "ในหนังสือพระราชพงศาวดารแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองว่า ครั้งหนึ่งพระนารายณ์ราชกุมารเล่นอยู่บนเกยปราสาท อสนีบาตลงต้องยอดปราสาทจนกระจกตกปลิวลงมาต้องพระองค์ พระนารายณ์ก็หาเป็นอันตรายด้วยสายฟ้าไม่" สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตรัสว่า "เออจริงแล้ว" บรรดาผู้ที่ตามเสด็จไปในเรือพระที่นั่งพากันชมความทรงจำของพระยาโบราณฯ กับทั้งที่คิดขึ้นได้ว่องไวด้วย เมื่อพระยาโบราณฯ อ่านเรื่องกรุงศรีอยุธยาที่มีในหนังสือไทยหมดแล้วยังไม่พอใจอุตส่าห์พยายามเรียนภาษาอังกฤษต่อไปในเวลาเมื่อเป็นเทศาฯ อยู่แล้วจนรู้ภาษาอังกฤษ อาจอ่านหนังสือเรื่องพระนครศรีอยุธยาซึ่งฝรั่งแต่งไว้แต่โบราณได้ และเลยพูดภาษาอังกฤษพอนำแขกเมืองบรรดาศักดิ์สูงเที่ยวดูพระนครศรีอยุธยาได้เอง แต่ข้อที่ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้น พระยาโบราณฯ มิใคร่บอกให้ใครทราบ เห็นจะเป็นด้วยเกรงผู้ที่ได้เรียนรู้มากกว่าจะหัวเราะเยาะเพราะพระยาโบราณฯ ปรารถนาจะเรียนแต่พออ่านหนังสือเรื่องกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
บรรทัดที่ 79:
* พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ ครั้น พ.ศ. ๒๔๔๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนคร เป็นอนุสรณ์สนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนารถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อจำนวนปีแต่พระบรมราชสมภพครบสตพรรษ ทรงตั้งกรรมการสำหรับอำนวยการหอพระสมุดฯ นั้น โปรดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นสภานายก และโปรดให้กรมพระสมมตอมรพันธุ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ พระยาประชากิจกรจักษ์ (แช่ม บุนนาค ซึ่งแต่งหนังสือตำนานโยนก) กับพระยาโบราณฯ เป็นกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดสำหรับพระนคร มาแต่แรก
* พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งโบราณคดีสโมสร ทรงรับเป็นสภานายกเอง โปรดฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เป็นอุปนายก และทรงตั้งพระยาโบราณฯ เป็นเลขานุการ พระราชทานพระราชลัญจกรมังกรคาบแก้วให้ใช้สำหรับสโมสร
* พ.ศ. ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้น ทรงรับเป็นสภานายกเอง และโปรดฯ ให้สภา นายกหอพระสมุดสำหรับพระนครเป็นอุปนายก<ref>เวลานั้นสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นนายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร</ref> ให้กรรมสัมปาทิก หอพระสมุดสำหรับพระนครเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง พระยาโบราณฯ จึงเป็นกรรมการด้วยคน ๑ และโปรด ฯโปรดฯ ให้สร้างพระราชลัญจกรรูปพระคเณศขึ้นสำหรับสโมสรนั้น
* พ.ศ. ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งราชบัณฑิตย์ โปรดฯ ให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นนายก สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์เป็นอุปนายก แผนกศิลปากร กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์เป็นอุปนายกแผนกวรรณคดี และโปรดฯ ให้พระยาโบราณราชธานินทร์เป็นอุปนายกแผนกโบราณคดี
 
เกียรติศักดิ์ตามที่ว่ามาเป็นฝ่ายข้างสูง พระยาโบราณฯ ยังได้เป็นตำแหน่งเกียรติศักดิ์ถึงชั้นราษฎร์อาจเป็นได้ก็มี เช่นรับเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่หนึ่งในตำบลหอรัตนไชยตามราษฎรเลือก และได้ทำการตามหน้าที่ เช่น ไปนั่งประชุมทำการกับกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลนั้นทั้งเป็นเทศาอยู่ด้วย เรื่องนี้พระยาโบราณฯ ประพฤติตามเยี่ยงอย่างกรมขุนมรุพงศ์ฯ และเทศาฯ มณฑลอื่น เพื่อจะบำรุงความนิยมของราษฎรในแบบการปกครองที่จัดใหม่ ต่อมาเมื่อตั้งพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ มีพระสงฆ์บางวัดเลือกพระยาโบราณ ฯโบราณฯ เป็นตำแหน่งมัครนายกตามพระราชบัญญัติ พระยาโบราณฯ ก็รับ เป็นมัครนายกวัดสุวรรณดาราราม วัดมณฑป และวัดพุทไธสวรรย์ รวมถึง ๓ วัดด้วยกัน
จะเลยกล่าวบรรยายถึงการต่างๆ ที่พระยาโบราณฯ ได้ทำให้เกิดประโยชน์แก่พระศาสนาต่อไป เมื่อทำราชการเป็นหลักแหล่งแล้ว พวกญาติก็สมมตให้เป็นหัวหน้าในสกุลเดชะคุปต์ พระยาโบราณฯ บริจาคทรัพย์ปฏิสังขรณ์วัดยี่ส่าย และวัดศรีสุดาราม ในคลองบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี อันเป็นที่ทำบุญของสกุลแต่เดิมมาทั้ง ๒ วัดตามกำลังสามารถจะทำได้ ส่วนที่พระนครศรีอยุธยานั้นตั้งแต่พระยาโบราณฯ ยังเป็นตำแหน่งปลัดเทศาภิบาล ได้เสนอความเห็นเรื่องวัดที่พระนครศรีอยุธยาว่าได้ให้ตรวจนับวัดร้างมีจำนวนถึง ๕๔๓ วัด เป็นเนื้อที่ดิน ๒๑๓๘ ไร่ ในที่วัดร้างทั้งปวงนั้นมักมีคนเข้าไปทำไร่และป่าฟืนเก็บผลประโยชน์ด้วยไม่มีกรรมสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งไม่ต้องเสียเงินอากร เพราะรัฐบาลงดเว้นไม่เก็บในที่วัดมาแต่ก่อน บางแห่งก็ถึงเข้าไปปลูกเรือนชานอยู่ในที่วัดร้างด้วยไม่มีผู้ใดห้ามปราม นอกจากนั้นยังมีพวกที่ไปเที่ยวรื้อเจดียสถานที่ หักพังเอาอิฐไปใช้เป็นอาณาประโยชน์อีกพวกหนึ่ง พระยาโบราณฯ เห็นว่ารัฐบาลควรจะจัดการรักษาวัดร้าง และวิธีที่จัดนั้นเห็นว่า
 
บรรทัดที่ 114:
 
สิ้นเรื่องประวัติพระยาโบราณราชธานินทร์เพียงนี้.
 
==เชิงอรรถ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]