ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พาราณสิราชชาดก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้สระซ้อน
สดับ← ดับ ,ดำรง←ดำรงง ,บันลือ←บันสือ ,ทรัพย์←ทร้พย์ ,โทษ←โทา ,อัน←อีน
 
บรรทัดที่ 1:
ในพาราณสีราชชาดกนี้ ไม่มีคำปรารภความเบื้องต้น ไม่มีเรื่องที่เป็นปัจจุบัน มีแต่เรื่องที่เป็นอดีต ดังจะกล่าวต่อไปนี้
ความมีอยู่ว่า ได้ดับสดับมาว่า สมัยหนึ่ง ในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ในภัทรกัลป์นี้ คราวนั้น มีสตรีผู้หนึ่งมีจิตรักใคร่กับสามี มีจิตบริสุทธิ์ด้วยอำนาจความสิเนหาในสามีอย่างยิ่ง วันหนึ่ง สตรีผู้นั้นบูชาและถวายบิณฑบาตแก่ภิกษุสงส์มีองค์พระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วตั้งความปรารถนาว่า ข้าพเจ้าจะเกิดไปในสรรพภพใด ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากความเป็นสตรี สามีนั้นขอให้ได้เป็นพี่ชาย รักสนิทชิดชมกับข้าพเจ้า อนึ่งเล่า ถ้าหากว่า ข้าพเจ้าทั้งสองจะไปเกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานไซร้ ขอให้ข้าพเจ้ามีกายติดเนื่องเป็นอันเดียว แต่ศีรษะนั้นขอให้เป็นสองหัว ดังนี้ พระศาสดาทรงทำอนุโมทนาแล้ว จึงเสด็จกลับยังพระวิหารพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
แต่นั้นมา สตรีผู้นั้นกับสามีดำรงชีพอยู่ในมนุษยโลกสิ้นกาลนาน ครั้นสิ่้นอายุแล้ว ด้วยบุญกรรมนำไปให้เกิดเป็นหงส์ทอง อาศัยอยู่ที่สระประทุม ณ หิมวันตประเทศ หงส์ทองนั้นมีกายติดกัน แต่ศีรษะนั้นเป็นสองหัว หงส์สองหัวนั้นปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จะไปหากินที่ถิ่นใดก็พร้อมใจกันไป
อยู่มาวันหนึ่ง นายพรานผู้หนึ่งเที่ยวไปถึงที่หงส์ทองอยู่นั้น เห็นหงส์ทองสองหัวติดกัน นึกอัศจรรย์ใจ แล้วกลับมาทูลพระเจ้าพาราณสีให้ทรงทราบ คราวนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระราชาพาราณสี พระเจ้าพาราณสีได้ทรงสดับทราบความแล้ว ทรงประทานทรัพย์และเสบียงอาหารแก่นายพรานแล้ว ตรัสอย่างนี้ว่า ถ้าหากว่า เจ้าจักไปนำหงส์นั้นมาให้เราได้ เราจักให้สมบัติแก่เจ้ามากยิ่งกว่านี้ นายพรานถวายบังคมลา ถือเอาเมณฑุสิงคธนูออกจากพระนคร เข้าไปในหิมวันตประเทศ จับหงส์ทองสองหัวน้นได้ด้วยอุบายของตน แล้วนำมาถวายเป็นบรรณาการแด่พระเจ้าพาราณสี พระเจ้าพาราณสี ครั้นเห็นหงส์ทองนั้นแล้ว ทรงยินดีพระหฤทัยประทานทรัพย์และบ้านส่วยให้แก่นายพราน ท้าวเธอทรงรับหงส์ทองด้วยพระหัตถ์ พระอัครมเหสีอุ้มด้วยพระหัตถ์อันอ่อนนุ่มประทับยืนอยู่ ขณะนั้น หัวทั้งสองของหงส์ เปล่งรัศมีดุจทองคำและบันสือบันลือสำเนียงไพเราะจับใจ พระนางทรงพอพระทัย ฝ่ายพระราชเทวีสดับเสียงอันไพเราะ รับสั่งให้ใส่ไว้ในกรงทอง พระราชทานข้าวตอกกับน้ำผึ้งใส่ถาดทอง
ต่อมา พระอัครมเหสีกราบทูลพระเจ้าพาราณสีว่า ถ้าหากว่า ใครสามารถพรากหงส์ทองออกเป็นสองตัวได้ไซร้ ตัวหนึ่งจะได้เลี้ยงไว้ในราชนิเวศน์ ตัวหนึ่งจะให้ไปเลี้ยงไว้ที่สวนประสมสัตว์ พระเจ้าพาราณสีทรงมีรับสั่งให้อำมาตย์คนหนึ่งผู้ฉลาดนำหงส์ทองนั้นไปยังเรือนของตนเลี้ยงไว้ อยู่มาวันหนึ่ง อำมาตย์ผู้นั้นเข้าไปเฝ้าพระราชา กลับจากราชนิเวศน์เข้าไปใกล้หงส์ทองนั้น เอียงคอของตนเข้าไปให้ใกล้หัวหงส์ทองหัวหนึ่ง ประหนึ่งว่าจะกระซิบที่หู ไม่กล่าวคำอะไรเลย วางนกนั้นแล้วผละไปเสีย ฝ่ายอำมาตย์ผู้นั้นรอเวลาอยู่สองสามวัน จึงไปเลี้ยงหงส์อีกหัวหนึ่ง ทำเหมือนที่ทำแล้วแก่หงส์หัวที่หนึ่งนั้น เพราะเหตุเพียงเท่านี้ หงส์ทองทั้งสองหัวนั้นจึงเกิดทะเลาะกัน ไม่สนทนากัน ด่าว่ากันกระพือปีกจิกกัน ด้วยอำนาจความโกรธแรงกล้า สรีระแยกออกไปเป็นสองส่วน
อำมาตย์ผู้นั้น นำหงส์ทองสองหัวไปถวายพระราชา พระราชาทอดพระเนตรเห็นนกสองตัวแล้ว ทรงพระโสมนัส ประทานทร้พย์ทรัพย์และบ้านส่วนให้แก่อำมาตย์ แล้วมีรับสั่งให้นำหงส์ตัวหนึ่งไปเลี้ยงไว้ภายในราชนิเวศน์ แล้วให้นำหงส์อีกตัวหนึ่งไปเลี้ยงไว้ในสวนประสมสัตว์ ตรัสถามว่า ท่านทำอุบายอย่างใด จึงให้หงส์แยกจากกันออกเป็นสองตัวได้ พระเจ้าพาราณสีทรงสดับทราบความที่อำมาตย์กราบทูลนั้นแล้ว ได้ความสลดจิต จึงตรัสว่า โอ น่าใจหาย หงส์ทองสองหัวติดกัน เป็นสหายรักสนิทมั่นถึงเพียงนี้ เมื่อถูกคนอื่นเขายุให้แตกกันเข้า มาถือเอาโทษที่เขายุให้แตกนั้นเป็นอารมณ์ แล้วไม่เอื้อเฟื้อซึ่งความรักใคร่กันมานานถึงการแตกกันได้จะกล่าวไปใยถึงอย่างอื่นๆ เล่า แม้ประชาชนทั้งมวลถือเอาโทษที่จะแตกร้าวกันไว้ ไม่พิจารณาแล้ว ทำไปอาจแตกร้าวกันได้เหมือนกัน
พระราชา ทำความสลดจิตให้เกิดขึ้นแล้วด้วยประการฉะนี้ ตั้งแต่นั้นมา พระราชาให้จับคนยุแหย่ ให้ไล่ออกไปเสียจากรัฐของพระองค์ แต่โปรดให้ยกโทาเสียโทษเสีย ทรงสอนเหล่าราชบุรุษว่า ถึงแม้ชีวิตจะพรากจากกาย บุคคลอย่าจึงทำความแตกร้าวฉาน พึงสำรวมกายวาจาพิจารณาให้ถ่องแท้แล้วจึงทำ นักปราชญ์ทั้งหลาย ใคร่ครวญแล้วจึงทำ ยังไม่ได้ใคร่ครวญก่อนแล้วจะไม่ทำ บุคคลไม่ใคร่ครวญไต่สวนแล้วทำลงไป ย่อมจะเดือดร้อนในภายหลัง เหมือนหงส์ทองสองหัวติดกัน ถูกอำมาตย์ผู้หนึ่งยุให้แตกกัน ต่างถือเอาคำของอำมาตย์คนยุ เลยแตกจากกันและกันหงส์ตัวหนึ่ง ได้ให้เลี้ยงไว้ภายในวัง หงส์ตัวหนึ่งให้ไปอยู่นอกวัง ต่างแยกกันไปได้ประจักษ์แล้ว
ต่อแต่นั้นมา พระราชาทรงครองราชสมบัติโดยธรรมสม่ำเสมอ ชาวพระนครได้อยู่ด้วยความปรองดองกัน มนุษย์ผู้อยู่ในสกลรัฐ ระงับกายวาจาจิตเรียบร้อยดี พระเจ้าพาราณสีตั้งพระทัยบำเพ็ญสมติงสบารมีเป็นเบื้องหน้า เสด็จไปตามกรรมที่ทำไว้ เคลื่อนจากชาตินั้นแล้วดำรงอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ทรงบบำเพ็ญสัตตสดกมหาทานเสร็จ แล้วเสด็จไปอุบัติในดุสิตบุรีเทพยดาในหมื่นจักรวาฬวิงวอนให้จุติ ทรงพิจารณาปัญจมหาวิโลกนะ ถือปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งพระมหามายา โดยล่วงไปสิบเดือน ก็ประสูติจากพระครรภ์แล้ว ถึงความเป็นหนุ่มตามลำดับ ครองฆราวาสได้ยี่สิบเก้าพรรษา ได้พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ในสมัยเที่ยงคืนวันหนึ่ง มีหมู่เทพยดาหมื่นจักรวาฬกับนายฉันนท์เป็นสหายแวดล้อม เสด็จออกสู่มหาภิเนกษกรมณ์ ทรงบำเพ็ญมหาปธานวิริยะอยู่ในป่าอีนอันน่ารื่นรมย์ถึงหกพรรษา ต่อนั้น ได้เสวยมธุปายาสอันนางสุชาดานำมาถวาย แล้วเสด็จขึ้นโพธิบัลลังก์ ตั้งพระพักตร์ต่อบุรพทิศดำรงจิตโดยสมาธิวัตร ทรงกำจัดพระยามารทั้งมารพลแล้ว ได้ตรัสรู้พระสัพพัญุตญาณเป็นอนันตบริวาร ทรงประทานธรรมเทศนาแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระศาสดาครั้นทรงนำธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประมวลชาดกว่า นายพรานเนื้อผู้เที่ยวไปในป่าในกาลนั้น กลับชาติมาคือพระฉันนเถระคนเลี้ยงม้า หงส์ทองตัวหนึ่งในกาลนั้น กลับชาติมาคือพระคิริมานนทเถระ หงส์ทองตัวหนึ่งในกาลนั้น กลับชาติมาคือพระกาลุทายีเถระผู้แสดงหนทาง อำมาตย์ผู้ฉลาดในกาลนั้น กลับชาติมาคือพระสารีบุตรเถระผู้มีญาณปรากฏแล้ว บริษัททั้งหลายแม้ที่เหลือในกาลนั้น กลับชาติมาคือพุทธบริษัท พระเจ้าพาราณสีในกาลนั้น กลับชาติมาคือเราพระอภิสัมพุทโธ ขอท่านทั้งหลายจงทรงจำชาดกไว้ด้วย ด้วยประการฉะนี้