ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mopza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mopza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 334:
 
ประธานกรรมการและกรรมการย่อมได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
 
 
{{c|'''มาตรา ๓๑'''}}
 
ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าการ<ref>มาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๕</ref>
 
ให้ผู้ว่าการได้รับเงินเดือนตามที่คณะกรรมการกำหนด และอยู่ในตำแหน่งได้จนกว่าคณะกรรมการจะให้ออกจากตำแหน่งเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนสมรรถภาพ มติให้ผู้ว่าการออกจากตำแหน่ง ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งจำนวนกรรมการทั้งหมดนอกจากผู้ว่าการ
 
การแต่งตั้ง การกำหนดเงินเดือน และการให้ออกจากตำแหน่งตามมาตรานี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
 
 
{{c|'''มาตรา ๓๒'''}}<ref>มาตรา ๓๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๓</ref>
 
ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ว่าการ
 
(๑) ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นกรรมการของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์ผู้อื่น หรือมีส่วนได้เสียในสัญญากับการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือในกิจการที่กระทำให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เว้นแต่เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนหรือเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเช่นว่านั้นโดยสุจริต และได้แจ้งให้คณะกรรมการทราบก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการ
 
(๒) เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการในกิจการร่วมลงทุนตามมาตรา ๙ (๕) หรือในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามมาตรา ๙ (๑๐) หรือ (๑๑)
 
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
 
 
{{c|'''มาตรา ๓๓'''}}
 
ผู้ว่าการเป็นผู้บริหารกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้เป็นเป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยทุกตำแหน่ง
 
ผู้ว่าการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการจัดการและดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย
 
 
{{c|'''มาตรา ๓๓ ทวิ'''}} <ref>มาตรา ๓๓ ทวิ ยกเลิกโดย พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๕</ref> (ยกเลิก)
 
 
{{c|'''มาตรา ๓๔'''}}
 
ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำการในนามของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็นตัวแทนของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเพื่อการนี้ผู้ว่าการอาจมอบอำนาจให้ผู้แทนของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา ๘ หรือบุคคลใด ๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนได้ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
 
ในกรณีที่มีข้อบังคับซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา ๒๕ วรรคท้าย กำหนดว่านิติกรรมใดผู้ว่าการจะทำได้ก็แต่โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการก่อน บรรดานิติกรรมที่ผู้ว่าการทำขึ้นโดยมิได้รับความเห็นชอบดังกล่าว ย่อมไม่ผูกพันการรถไฟแห่งประเทศไทย เว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน
 
 
{{c|'''มาตรา ๓๕'''}}
 
ผู้ว่าการมีอำนาจ
 
(๑) แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อนขั้นหรือลดขั้นเงินเดือนพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าพนักงานเช่นว่านั้นเป็นพนักงานชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้อำนวยการฝ่ายต่าง ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน
 
(๒) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยไม่แย้งหรือขัดต่อข้อบังคับที่คณะกรรมการวางไว้
 
== เชิงอรรถ ==