ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 70/ผู้วายชนม์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัดที่ 31:
๑๑. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ
 
หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช ได้เสด็จเข้าไปอยู่ในพระบรม-มหาราชวัง กับสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ตั้งแต่พระชันษาย่าง ๑๖ ปี เข้าไปอยู่ได้ ๔ เดือนด้วยคุณงามความดีของท่าน สมเด็จกรมพระยาสุดารัตน ฯ ได้ทรงมอบให้เป็นหน้าที่ปอกผลไม้ ตั้งเครื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่รัชกาลที่ ๕ ตลอดมาและเทียบเครื่องคาวด้วย จนพระชันษาได้ ๓๗ ปี ตรงกับปี ร.ศ.๑๑๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านได้ทรงรับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้าที่ ๓ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดขึ้นทั้งข้างในและข้างนอก
ปี ร.ศ. ๑๑๔ สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ทิวงคต
พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค ได้ทรงมอบให้หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า เป็นผู้จัดการจ่ายเงินเครื่องพระศพ และค่าอาหารของข้าหลวงทั้งหมด
ปีกุน ร.ศ. ๑๑๗ ถวายพระเพลิงกรมพระยาสุดารัตน ฯ แล้ว ท่านได้ไปรับราชการทำเครื่องต้นอยู่กับพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎทธาสินีนาฏ
ปีจอ ร.ศ. ๑๒๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่รัชกาลที่ ๕ สวรรคตแล้ว ท่านยังทรงทำเครื่องพระบรมศพตลอดไปจนถวายพระเพลิง
ร.ศ. ๑๒๙ ปลายปี สมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินี พระพันปีหลวง ได้ทรงขอร้องให้ไปช่วยทำเครื่องพระบาทสมเด็จพระ-มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้ช่วยคุณท้าวราชกิจทำอยู่ ๒ ปี จนถึงปี ร.ศ. ๑๓๑ ได้รับพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้าที่ ๒
ปี ร.ศ.๑๓๒ ได้ทรงเป็นผู้อำนวยการห้องเครื่องต้นทั้งหมด แทนคุณท้าวราชกิจ และต่อมาได้รับราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ชั้น ๓ เข็มพระบรมนามาภิไธยชั้น ๑ ประดับเพ็ชร และเข็มเสมา ร.ร.๖ ชั้น ๒
 
ระหว่างที่ท่านทรงรับราชการอยู่ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ไปตามจังหวัดต่าง ๆ ทุกคราว เหตุด้วยพระองค์ท่านมีพระนิสสัยนิสัยอันดีงาม และโอบอ้อมอารีทำให้เป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาข้าราชการหัวเมือง ที่มาติดต่อกับพระองค์ท่าน ต่างพากันชมเชยคุณความดีของท่านอยู่เสมอ คราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จไปซ้อมรบเสือป่า ท่านทรงทำเครื่องต้นและรับเลี้ยงอาหารเสือป่าที่ไปซ้อมรบเป็นจำนวนมากทั้งหมด ขณะที่ทรงรับราชการอยู่นั้นได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดทั้งในและนอกปีละ ๓,๐๐๐ บาท และเงินเดือนๆละ ๓๐๐ บาท ต่อมาท่านได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ ด้วยโรคภัยเบียดเพียฬเบียดเบียน เมื่อปีจอ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ตอนนี้ยังได้ทรงรับเงินปีอยู่ปีละ ๑,๐๐๐ บาท
หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมชทรงเป็นผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้ที่ยามท่านล่วงลับไปแล้ว ในฐานะที่ท่านทรงเป็นอุบาสิกาในวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันท่านสิ้นนั้น สมเด็จ-วชิรญาณ ฯ ได้มีการเทศนาถึงคุณความดีของท่านที่ได้มีแก่วัด และแก่พระสงฆ์ดังปรากฏอยู่แก่ท่านผู้ฟังธรรมในวัดนั้นแล้วทุกท่าน ทั้งคณะสงฆ์วัดบวร ฯ ได้ทำบุญถวายท่าน ๗ วันครั้งหนึ่ง อุบาสิกาในวัดบวร ฯ ๗ วันครั้งหนึ่ง สมเด็จวัดบวร ฯ ๗ วันครั้งหนึ่ง ท่านได้ทรงสร้างกุฏิคอยท่า ปราโมช ๑ หลังเป็นเงิน ๕,๕๐๐ บาท และทรงบริจาคทรัพย์สร้างเสนาสนะ และถนนในวัดบวร ฯ และถวายนิตยภัตต์ประจำเดือนแก่ภิกษุบางรูป ทรงเป็นประมุขของอุบาสิกาในวัดบวรนิเวศ ฯ
 
ส่วนวัดบรมนิวาสได้ทรงสร้างหอเขียว ฉะเพาะหอเขียวนี้ส่วนพระองค์ท่านได้ทรงออกเงิน ๘,๐๐๐ บาท และสร้างกุฏิอีกหนึ่งหลัง ได้เคยทรงสร้างกุฏีกุฎีวัดราชาธิวาส ๑ หลัง ซึ่งภายหลังได้ใช้เป็นโรงเรียนบาลีสำหรับพระสงฆ์ และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปใหญ่ ๑ องค์ บนพระตำหนักเขียวที่วัดราชาธิวาสและซ่อมศาลาแดงคู่ที่หน้าวัดราชาฯ
 
วัดเสาธงทองที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นวัดคุณจอมมารดาอำภา คุณย่าของท่านปฏิสังขรณ์ วัดนี้เมื่อหม่อมเจ้าหญิงคอยท่ายังมีพระชนม์อยู่ และเมื่อยังอยู่ในราชการท่านเคยทรงทอดกฐินหลายครั้ง ได้ทรงช่วยปฏิสังขรณ์โบสถ์ สร้างศาลาน้ำ และกุฎี และเคยทรงสอนหลาน ๆ ว่าวัดนี้เป็นวัดคุณชวดได้ปฏิสังขรณ์ ถ้าต่อไปหลานคนใดมีอันจะกินขึ้นควรจะมาทอดกฐินทุกคนจะได้มีความเจริญรุ่งเรือง ในภายหน้า นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นพระทัยอันดีงามของท่านว่า แม้แต่สิ่งใดที่เป็นของบรรพบุรุษก็มิได้ทรงลืม แม้ทรงเห็นว่าพระชนม์ของท่านมากแล้ว ก็ยังอุตส่าห์ทรงสอนหลาน ๆ ไว้ให้ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อพระองค์ท่านอีก
บรรทัดที่ 48:
ส่วนตามวัดหัวเมือง ได้ทรงเข้าทำโบสถ์วัดเมืองหลังสวน ๕๐๐ บาท และวัดจันนฤมิตต์ (เขาพระงาม) จังหวัดสระบุรี ๔๐๐ บาท เมื่อสมเด็จพระมงกุฏเกล้า ฯ ทรงซ่อมองค์พระปฐมเจดีย์ ท่านก็ได้เข้าเงินตามเสด็จซ่อมองค์ปฐม ๑ ช่อง
 
ทางโรงพยาบาลท่านได้เข้าเงินที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ๓๐๐๐บาท ได้ทรงเป็นสมาชิกกิติมศักดิ์กิตติมศักดิ์แห่งโรงพยาบาลนี้ และเมื่อทรงทำบุญพระชันษาครบ ๕ รอบ ก็ได้เข้าเงินตามโรงพยาบาลเท่าพระชนม์ มีวชิรพยาบาล, โรงพยาบาลกลาง, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อทรงทำบุญ ๘๑ ก็ทรงเข้าตามโรงพยาบาลเหล่านี้อีกเช่นกัน
 
อนึ่ง ท่านได้ทรงเป็นบุพพการีบุพการีแก่หลานทุกคน ไม่ว่ามีหรือจน ได้ทรงช่วยเหลือตามวิทยะฐานะ มิได้ทรงลำเอียงเลย ผู้ใดประพฤติดีก็ทรงยินดีด้วย ถ้าผู้ใดยากจนก็ทรงประทานตามพระกำลังที่พอจะทำได้ ทรงเป็นหลักของสกุลปราโมช ไม่ว่าเจ้านายพี่น้องก็ดี หลานก็ดี ทรงพระเมตตาทั่วถึงกัน ยามใครมีสุขก็ทรงยินดีด้วยน้ำพระทัยอันแท้จริง ยามทุกข์ก็ทรงสั่งสอนด้วยธรรมให้คลายทุกข์ ทรงเป็นผู้อุปการะแก่มวลญาติเป็นที่พึ่งแก่ผู้น้อย เป็นมิตรที่ดี แม้ยามประชวรนายแพทย์มีพระวรสุนทรโรสถได้เคยกล่าวว่าท่านเป็นคนไข้ที่เอาใจหมอดีมาก แม้จะทรงหงุดหงิดเพราะพยาธิ ก็ยังทรงคุยให้สนุกสนานได้ในเมื่อยามทรงทุเลา ในคราวประชวรหนักคราวนี้ยังได้นิมนต์พระสงฆ์มาสวดถวายทุกคืน เมื่อเวลาพระสวดท่านอุตส่าห์พะยุงพระองค์ขึ้นนั่งประณมพระหัตถ์ฟังตลอดเวลา จนลุกไม่ได้ก็บรรทมประณมพระหัตถ์ฟังโดยสำรวม ท่านเป็นผู้ที่มั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอันแท้จริง
 
เมื่อเวลาประชวรก่อนสิ้นพระชนม์ท่านทรงปรารภว่า ถ้าชีวิตยังมีอยู่ จะรวมเงินช่วยป้องกันภัยทางอากาศ การป้องกันภัยทางอากาศนี้รัฐบาลได้แถลงในวิทยุ ท่านทรงฟังวิทยุทีไรก็ปรารภอยู่เสมอ แต่หากเป็นเวลากำลังประชวร ทั้งยังมีพระทัยเป็นห่วงพวกพี่น้องที่อพยพมาจากอินโดจีนด้วยความสงสาร เคยรับสั่งอยู่เสมอจะได้จัดการมอบเงินเพื่อประโยชน์แก่องค์การณ์ ทั้งนี้ให้สบพระทัยเมื่อเวลายังมีพระชนม์อยู่ต่อไป
 
หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช ประชวรด้วยพระโรคชราสิ้นชีพตักษัยชีพิตักษัยด้วยพระอาการอันสงบ ในท่ามกลางพระสงฆ์ที่มาเยี่ยมและหมู่พระญาติมิตร เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๘๓ เวลา ๑๖.๕๕ น. คำนวณพระชันษาได้ ๘๔ บริบูรณ์ เป็นที่วิปโยคแก่บรรดาพระญาติ วงศ์มิตรสหาย และบริวารทั่วกัน
 
ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี