พุทธประวัติ เล่ม๑ ตอน ปฐมโพธิกาล

Warning: หน้านี้ขาด {{หัวเรื่อง}}
ถ้าคุณอยากช่วย คุณสามารถเพิ่มข้อมูลตาม {{หัวเรื่อง}} เข้ามาในหน้านี้ หรือแสดงความเห็นไว้ที่ หน้าพูดคุย
                                      คำชี้แจง
                          พิมพ์ครั้งที่  ๒๓๒๔๘๐ 

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ปรารถนาจะทรงรจนาพุทธประวัติ ตั้งแต่เล่ม ๑ ถึงเล่ม ๔ ตามที่ทรงแสดงไว้ในคำปรารภ, แต่มีโอกาส ทรงรจนาได้เพียงเล่มนี้ฉบับเดียวเท่านั้น จึงยังขาดอีกถึง ๓ เล่ม. พุทธประวัติฉลับนี้มุ่งไปทางวิจารณ์เรื่อง เพื่อนำผู้อื่นผู้เรียนให้ รู้จักใช้วิจารณญาณ, เพราะฉะนั้น ในท้องเรื่องจึงมีทั้งบรรยายความ และวิจารณ์คลุกเคล้ากันตลอดไป. ชั้นเดิมสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงรจนาหนังสือนี้แจกใน งานพระศพ ไม่ได้ทรงรจนาเป็นหลังสูตร จึงปรากฏเป็นรูปหนังสือ สำหรับอ่านยิ่งกว่าสำหรับเรียน, ครั้นภายหลังได้จัดเข้าเป็นหลักสูตร นักธรรมแล้ว ก็ยังไม่ได้มีการแก้ไขตามข้อความในคำนำพิมพ์ครั้ง ที่ ๒๒๔๕๗ และครั้งที่ ๑๘๒๔๗๐ นั้นแล้ว, แม้ครั้งนี้ก็คงเป็นไปโดย นัยนั้น หากแต่ได้แก้ไขระเบียบการย่อหน้าวรรคตอนและเครื่องหมาย พร้อมด้วยอักขรวิธีซึ่งยุติในเวลานี้อย่างหนึ่ง ทำบันทึกเชิงหน้าบอกที่ มาแห่งเรื่องและอธิบายความ หรือชี้แจงอรรถ พยัญชนะ อีออย่างหนึ่ง ส่วนบันทึกเดิมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ได้ลงอักษร ว. ว. กำกับไว้เป็นเครื่องหมาย เพื่อไม่ให้ปะปนกับบันทึกใหม่. อนึ่ง การพิมพ์ครั้งนี้ ได้ช่วยกันจัดทำบานแผนก [Index] ไว้ ในตอนท้ายเล่ม เพื่อสะดวกแก่การค้นคว้าข้อความนั้น ๆ ด้วย, นับ เป็นระเบียบใหม่ที่นำมาใช้ในหนังสือแบบเรียนนักธรรมนี้. ข้าพเจ้าพร้อมด้วยคณะกรรมการกองตำรา ขออุทิศน้ำพัก น้ำแรงที่ช่วยกันปรับปรุงหนังสือ ตามวิธีที่ได้ชี้แจงแล้วแต่ต้นนั้น บูชาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และมอบ ลิขสิทธิแก่มหามกุฏราชวิทยาลัยต่อไป. พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ทองสืบ จารุวณฺโณ ป. ๙) หัวหน้ากองตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๘๐


                                        คำนำ 
                           (พิมพ์ครั้งที่ ๑๘๒๔๗๐)  

หนังสือพุทธประวัติที่พิมพ์ครั้งนี้ คงเค้าความตามฉบับเดิม เป็นแต่ชำระระเบียบอักษรให้ต้องกับนิยมในบัดนี้ เพื่อนุโลมให้ยุติ กับหนังสืออย่างอื่น ๆ ที่ใช้เป็นหลักสูตรการศึกษา โดยพระกระแส รับสั่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า. พระสาสนโสภณ๑ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๔๗๐

ุทธโฆษาจารย์ (าณวร เจริญ ป. เอก) กรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย


                                    คำนำ  
                        (พิมพ์ครั้งที่  ๒๒๔๕๗)  

หนังสือพุทธประวัติภาคที่ ๑ ตอนปฐมโพธิกาลฉบับนี้ ได้ รจนาขึ้น และได้พิมพ์เป็นการพระราชกุศลในงานพระศพ พระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรรมหลวงวรเสฐสุดา ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๕๕. ตั้งแต่นั้นมา สนามหลวงได้สอบความรู้พระ ธรรมวินัยของภิกษุสามเณรขึ้น ได้จัดพุทธประวัติเข้าในหลักสูตร ด้วยอย่างหนึ่ง จึงมีผู้ต้องการหนังสือนี้มากขึ้น, หนังสือที่พิมพ์ ครั้งแรกไม่พอ จึงมอบการพิมพ์หนังสือนี้ให้เป็นธุระของมหามกุฏ- ราชวิทยาลัย เพื่อจะได้มีพอแก่ผู้ต้องการเสมอไป. หนังสือพิมพ์ ฉบับนี้พิมพ์เป็นครั้งที่ ๒ คงตามฉบับที่ ๑ ยังไม่ได้แก้. กรม-วชิรญาณวโรรส วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๕๗

                                      พุทธประวัติ
                                        ปุริมกาล
                                        ปริเฉทที่ ๑  
                           ชมพูทวีป  และ  ประชาชน                        
          ตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์มา  ชมพูทวีปคือแผ่นดินที่เรียกในทุกวัน

นี้ว่าอินเดีย อันตั้งอยู่ในทิศพายัพแห่งประเทศสยามของเรานี้ ชน ชาติอริยกะได้ตั้งมาแล้ว, ชนจำพวกนี้ไม่ใช่เจ้าของถิ่นเดิม, ยกลง มาจากแผ่นดินข้างเหนือ ข้ามภูเขาหิมาลัยมา รุกไล่พวกมิลักขะ เจ้าของถิ่นเดิมให้ถอยเลื่อนลงมาข้างใต้ทุกที แล้วเข้าตั้งถิ่นฐานใน ชมพูทวีปนั้น.

          พวกอริยกะนั้นเป็นผู้เจริญด้วยความรู้และขนบธรรมเนียมและ

มีฤทธิ์มีอำนาจมากกว่าพวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิม จึงสามารถตั้งบ้าน เมืองและปกครองได้ดีกว่า.

          ชมพูทวีปนั้น  แบ่งเป็น ๒  จังหวัด  ร่วมในเรียกว่ามัชฌิมชนบท

หรือมัธยมประเทศ แปลว่าประเทศกลาง, ภายนอกเรียกว่าปัจจันต- ชนบท แปลว่าประเทศปลายแดน, อย่างหัวเมืองชั้นในและหัวเมือง ชันนอกแห่งประเทศสยามของเรานี้. มูลเหตุแบ่งจังหวัดเป็นมัชฌิม- ชนบทและปัจจันตชนบทนั้น สันนิษฐานว่า แรกพวกอริยกะยกมา ตั้งในชมพูทวีป คงจะเรียกชนบทที่ตนเข้าตั้งและเป็นกลางแห่งการ ปกครองว่า ' มัชฌิมชนบท, ' เรียกชนบทที่พวกมิลักขะตั้งอยู่นอกเขต ของตนว่า ' ปัจจันตชนบท. '

          อาณาเขตแห่งมัชฌิมชนบทนั้นคงไม่ยืนที่  น่าจะขยายออกตาม

ยุคที่ผู้ปกครองแผ่อำนาจออกไป กว่าจะได้กำหนดเอาจังหวัดกลาง แห่งชมพูทวีปจริง ๆ, ถึงอย่างนั้น ขอบเขตก็ยังน่าจะเขยิบเข้าออก ได้อยู่. ครั้งพุทธกาล จังหวัดมัชฌิมชนบทกำหนดไว้ในบาลีจัมม- ขันธกะในมหาวรรคแห่งพระวินัย๑ ดังนี้ :-

          ในทิศบูรพา  ภายในแต่มหาศาลนครเข้ามา.
          ในทิศอาคเนย์  ภายในแต่แม่น้ำสัลลวตีเข้ามา.
          ในทิศทักษิณ  ภายในแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา.
          ในทิศปัศจิม  ภายในแต่ถูนคามเข้ามา.
          ในทิศอุดร  ภายในแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา.
          ที่ในกำหนดเท่านี้  เรียกว่า  '  มัชฌิมชนบท, '  ที่นอกออกไป

จากกำหนดที่ว่าแล้ว เรียกว่า ' ปัจจันตชนบท. ' แต่กำหนดที่รู้จัก กันในครั้งหนึ่ง, ครั้งกาลล่วงไปนาน ชื่อบ้านเมืองเป็นต้นตลอดจน ชื่อภูเขา แม่น้ำ ได้เปลี่ยนแปลงยักย้ายไป จะนิยมเอาเป็นแน่ไม่ได้ ถึงอย่างนั้น การจัดจังหวัดเป็นมัชฌิมชนบท ก็ยังมีปรากฏในแผนที่

ทุติย. ๒๕๓๕. อินเดียจนทุกวันนี้ ( พ.ศ. ๒๔๕๕ )๑ มัชฌิมชนบทนั้นเป็นที่นิยมนับถือ ของคนในครั้งนั้น เพราะเป็นท่ามกลาง เป็นที่ตั้งแห่งนครใหญ่ ๆ และเป็นที่ประชุมนักปราชญ์ผู้มีความรู้.

          ชมพูทวีปนั้น  ปันเป็นหลายอาณาจักร,  ที่ปรากฏชื่อในครั้ง

พุทธกาล ระบุไว้ในบาลีอุโบสถสูตรในติกนิบาตอังคุตร๒ เป็นมหา- ชนบท ๑๖ แคว้น คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุระ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ. ระบุไว้ในบาลีแห่งสูตรอื่น ไม่ซ้ำชื่อข้างต้น คือ สักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ อังคุตตราปะ. อาณาจักเหล่านี้ มีพระเจ้า แผ่นดินดำรงยศ เป็นมหาราชาบ้าง เป็นแต่เพียงราชาบ้าง มีอธิบดี บ้าง เป็นผู้ปกครองโดยทรงอำนาจสิทธิ์ขาดบ้าง โดยสามัคคีธรรม บ้าง, บางคราวตั้งเป็นอิสระตามลำพัง บางคราวตกอยู่ในอำนาจอื่น ตามยุคตามคราว.

          คนในชมพูทวีปนั้น  แบ่งเป็น  ๔  จำพวก  เรียกว่า  วรรณะ  คือ :-
          กษัตริย์  จำพวกเจ้า  มีธุระทางรักษาบ้านเมือง ๑.
          พราหมณ์  จำพวกเล่าเรียน  มีธุระทางฝึกสอนและทำพิธี ๑.
          แพศย์  จำพวกพลเรือน  มีธุระทางทำนาค้าขาย ๑.
          ศูทร  จำพวกคนงาน  มีธุระรับจ้างทำการทำของ ๑.

ดนั้น ในทิศบูรพา ภายในแต่ประเทศเบงคอลเข้ามา, ในทิศทักษิณ เดดกันเข้ามา, ในทิศปัศจิม ภายในแต่ประเทศบอมเบเข้ามา, ใน ต่ประเทศเนปาลเข้ามา, ( จากพุทธานุพุทธประวัติ หน้า ๖ ).

๒๐๒๗๓.
          กษัตริย์และพราหมณ์  จัดเป็นชาติสูง,  แพศย์เป็นสามัญ,  ศูทร 

เป็นต่ำ. ในครั้งพุทธกาล กษัตริย์เป็นสูงสุด แต่พวกพราหมณ์เขาก็ ถือว่าพวกเขาสูงสุด. พวกเหล่านั้น ที่เป็นชั้นสูง ย่อมมีมานะ ถือตัวจัดเหตุชาติและโคตรของตน พวกกษัตริย์และพวกพราหมณ์ ย่อมรังเกียจพวกชั้นต่ำลงมา ไม่สมสู่เป็นสามีภรรยาด้วย ไม่ร่วม กินด้วย, เพราะเหตุนั้น พวกกษัตริย์ก็ดี พวกพราหมณ์ก็ดี จึงสมสู่ กันแต่ในจำพวกของตน. พวกมีโคตรสูง ย่อมรังเกียจพวกมีโคตรต่ำ ดุจเดียวกัน ไม่สมสู่ด้วยคนอื่นนอกจากสกุลของตน เช่นพวกศากยะ อันเป็นโคตมโคตร ไม่ยอมสมสู่แม้ด้วยพวกกษัตริย์ด้วยกันแต่ต่างโคตร ย่อมสมสู่ด้วยกันเอง.

          วรรณะ ๔  นี้เป็นจำพวกใหญ่  นอกจากนี้ยังมีอีก  แต่เป็นจำพวก

ที่เลวทั้งนั้น, เกิดแต่วรรณะ ๔ เหล่านี้ สมสู่กับวรรณะอื่นจากพวก ของตน เช่นพวกพราหมณีได้กับศูทร มีบุตรออกมา จัดเป็นอีก จำพวกหนึ่ง เรียกว่า ' จัณฑาล. ' จำพวกคนเกิดจากมารดาบิดา ต่างวรรณะกันเช่นนี้ เขาถือเป็นเลว เป็นที่ดูหมิ่นของคนมีชาติสกุล เช่นกับคนที่เรียกกันว่าครึ่งชาติในบัดนี้.

          การศึกษาของคนทั้งหลาย  ย่อมเป็นไปตามประเภทของวรรณะ
          พวกกษัตริย์  ก็ศึกษาไปในยุทธวิธี.
          พวกพราหมณ์  ก็ศึกษาไปในศาสนาและในวิทยาต่าง ๆ.
          พวกแพศย์  ก็ศึกษาไปในศิลปะและกสิกรรม  พาณิชการ.
          พวกศูทร  ก็ศึกษาไปในการงานที่จะพึงทำด้วยแรง.
          คนในยุคโน้น  สนใจในวิชาธรรมมาก  จึงเป็นคนเจ้าทิฏฐิ. 

ความเห็นของเขา อันปรารภความตาย ความเกิดและสุขทุกข์เป็น ต่าง ๆ กัน, ย่นลงสั้นคงเป็น ๒ อย่าง คือ ถือว่าตายแล้วเกิดก็มี, ถือว่าตายแล้วศูนย์ก็มี. ในพวกที่ถือว่าตายแล้วเกิด, บางพวกเห็นว่า เกิดเป็นอะไรก็เป็นอยู่อย่างนั้น ไม่จุติแปรผันต่อไป, บางพวกเห็นว่า เกิดแล้วจุติแปรผันได้ต่อไป. ในพวกที่ถือว่าตายแล้วศูนย์, บางพวก เห็นว่า ศูนย์ด้วยประการทั้งปวง, บางพวกเห็นว่า ศูนย์บางสิ่ง. บางพวกถือว่า สัตว์จะได้สุขหรือทุกข์ก็ได้เอง สุขทุกข์ไม่มีเหตุ ปัจจัย, บางพวกเห็นว่าสุขทุกข์มีเหตุปัจจัย. ในชนพวกหลัง บางพวก เห็นว่า สุขทุกข์มีมาเพราะเหตุภายนอกมีเทวดาเป็นต้น, บางพวก เห็นว่า สุขทุกข์มีมาเพราะเหตุภายใน คือ กรรม. ต่างก็ประพฤติ กายวาจาใจตามความเห็นของตน และชักนำคนอื่นให้ประพฤติ อย่างนั้นตาม.

          พวกที่ถือว่าตายแล้วเกิด  เข้าใจว่าประพฤติอย่างไร  จะไปเกิด

ในสวรรค์และสุคติ ก็ประพฤติอย่างนั้น, พวกที่ถือว่าตายแล้วศูนย์ ก็ประพฤติมุ่งแต่เพียงเอาตัวรอดในปัจจุบัน ไม่กลัวแต่ความเกิดใน นรกและทุคติ.

          ฝ่ายพวกที่ถือว่า  จะได้สุขหรือทุกข์ก็ได้เอง  สุขทุกข์ไม่มีเหตุ

ปัจจัย ก็ไม่ขวนขวาย ได้แต่คอยเสี่ยงสุขเสี่ยงทุกข์อยู่, ฝ่ายพวก ที่ถือว่า สุขทุกข์มีมาเพราะเหตุปัจจัย แต่เป็นเหตุปัจจัยภายนอก ก็ บวงสรวงเทวดาขอให้ช่วยบ้าง ขวนขวายในทางอื่นบ้าง พวกที่ถือ ว่า สุขทุกข์มีมาเพราะเหตุภายในคือกรรม เห็นว่ากรรมใดเป็นเหตุ แห่งทุกข์ ก็เว้นกรรมนั้นเสียไม่ทำ เห็นว่ากรรมใดเป็นเหตุแห่งสุข ก็ทำกรรมนั้น.

          การสั่งสอนธรรมแก่คนทั้งหลาย  ดูเหมือนจะถือว่าเป็นธุระ

อันประเสริฐของคนที่มีกรุณาเป็นวิหารธรรม, มีพวกมุนียอมสละสมบัติ ในฆราวาสประพฤติพรตเป็นบรรพชิต น้อมชีวิตของตนในการสั่งสอน คนทั้งหลาย เป็นคณาจารย์ตั้งสำนักแยกย้ายกันตามลัทธิ, มีบริวาร ผู้ทำตามโอวาท มุ่งผลอันเป็นที่สุดแห่งลัทธินั้น. เกียรติยศของศาสดา เจ้าลัทธิผู้มีชื่อเสียงดังในสมัยนั้น ได้รับยกย่องเสมอเกียรติยศของ พระเจ้าแผ่นดิน หรือบางทีจะยิ่งเสียกว่า. วาสนาอันจะทำให้เป็นผู้ เช่นนั้น เป็นสมบัติอย่างสูงสุดในฝ่ายหนึ่ง พึงเห็นในคำทำนาย มหาบุรุษลักษณะว่า ท่านผู้ประกอบด้วยลักษณะอย่างนั้น ๆ ถ้าอยู่ ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ, ถ้าออกบวชจักได้ตรัส เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. เกียรติยศอันนี้ พวกคณาจารย์เจ้าลัทธิ กระหยิ่มนักเพื่อจะได้, ต่างประมูลกันว่าลัทธิของตนนั่นแลถูก อาจ นำมนุษย์ให้ถึงผลอย่างสูงสุดได้, ลัทธิของคณาจารย์อื่นผิด ไม่มี แก่นสาร, ทิฏฐิของคนทั้งหลายมีต่าง ๆ กัน เป็นเหตุมีคณาจารย์ สั่งสอนลัทธิต่าง ๆ กันฉะนี้.

          ส่วนคนที่เป็นพื้นเมือง  สงเคราะห์ในวรรณะ  ๔  เหล่า  ได้ถือ

ตามลัทธิของพราหมณ์, ประพฤติตามคำสอนในไตรเพทและเพทางค์ อันเป็นต้นคัมภีร์, ถือว่าโลกธาตุทั้งปวงมีเทวดาสร้าง, มีเทวดาประจำ ธาตุต่างอย่าง เช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม มีเทวดาต่างองค์เป็นเจ้าของ, กราบไหว้เซ่นสรวงเทวดานั้น ๆ อ้อนวอนขอให้ประสิทธิ์ผลที่ตน ปรารถนา, ทำพิธีเพื่อสวัสดิมงคลด้วยบูชายัญ. คือติดเพลิงขึ้นแล้ว เซ่นสรวง มีวิธีประพฤติวัตรเป็นการบุญ เรียกว่า ' ตบะ ' คืออย่าง กิเลสด้วยทรมานร่างกายให้ได้ความลำบาก เช่นถือการยืน การเดิน เป็นวัตร ไม่นั่งไม่นอน, และการถือกินผลไม้เลี้ยงชีวิต ไม่กินข้าว และอื่น ๆ อีก. ถ้าสิ้นชีวิตด้วยการประพฤติตบะนั้น ก็ได้ไปสวรรค์. เมื่อปรารถนาผลอย่างใดอย่างหนึ่ง และบำเพ็ญตละนั้น, เดชแห่ง ตบะอาจบันดาลให้ร้อนถึงเทพเจ้า ๆ ได้เห็นกำลังความเพียรไม่ท้อถอย อย่างนั้นแล้ว ย่อมประสิทธิ์พรให้สมปรารถนา. ลัทธิแห่งพราหมณ์ มีนัยดั่งแสดงมาพอเป็นเค้ามูลฉะนี้.

                                           ปริเฉทที่ ๒ 
                              สักกชนบท  และ  ศากยวงศ์
          ในลำดับนี้  จักพรรณนาชาติภูมิและพระวงศ์ของพระศาสดาของ

เราทั้งหลายไว้ด้วย.

          สักกชนบทนั้น  ตั้งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ  จังหวัดประเทศ

หิมพานต์ ได้ชื่อตามภูมิประเทศ เพราะตั้งขึ้นในดงไม้สักกะมาเดิม มีตำนานเล่าไว้ ดังนี้ :-

          พระเจ้าโอกกากราช  ดำรงราชสมบัติในพระนครตำบลหนึ่ง

มีพระราชบุตร ๔ พระองค์ พระราชบุตรี ๕ พระองค์, ประสูติจาก พระครรภ์พระมเหสีที่เป็นราชภคินีของพระองค์. ครั้นพระมเหสี นั้นทิวงคตแล้ว พระเจ้าโอกกากราชได้พระมเหสีอื่นอีก, พระมเหสี ใหม่นั้น ประสูติพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง, พระเจ้าโอกกากราช ทรงพระปราโมทย์ พลั้งพระราชทานพระพรให้พระนางเจ้าเลือกสิ่ง ที่ต้องประสงค์ พระนางเจ้าจึงทูลขอราชสมบัติให้แก่พระโอรสของ พระองค์, พระเจ้าโอกกากราชตรัสห้ามเสีย, พระนางเจ้าก็ไม่ฟัง ขืนกราบทูลอ้อนวอนอยู่เนือง ๆ; เพราะได้ลั่นพระวาจาแล้ว จะ ไม่พระราชทานก็เสียสัตย์ พระเจ้าโอกกากราชจึงตรัสสั่งพระราช- บุตร ๔ พระองค์ ให้พาพระภคินี ๕ พระองค์ ไปสร้างพระนคร อยู่ใหม่.

          พระราชบุตร  ๔  พระองค์นั้นกราบถวายบังคมลา  พาพระภคินี

๕ พระองค์ ยกจตุรงคินีเสนาออกจากนคร ไปสร้างพระนาครในดง ไม้สักกะประเทศหิมพานต์ ในที่อยู่แห่งกบิลดาบส, จึงขนานนาม พระนครที่สร้างใหม่ ให้ต้องกับที่อยู่ของดาบสว่า ' กบิลพัสดุ์ ' แล้ว สมสู่เป็นคู่กันเอง เว้นแต่พระเชฏฐภคินี สืบศากยวงศ์ลงมา. ฝ่าย พระเชฏฐภคินี ภายหลังมีพระหฤทัยปฏิพัทธ์กับพรเจ้ากรุงเทวทหะ ได้สมสู่ด้วยกันแล้ว ตั้งโกลิยวงศ์สืบมา.

          ได้ความตามตำนานนี้ว่า  สักกชนบทแบ่งเป็นหลายพระนคร

ที่ปรากฏชัดในตำนาน ๓ นคร คือ นครเดิมของพระเจ้าโอกกาก- ราช ๑ นครกบิลพัสดุ์ ๑ นครเทวทหะ ๑ แต่น่าจะเห็นว่าศากย- กุมารเหล่านั้น ไม่ได้สร้างนครกบิลพัสดุ์ตำบลเดียว คงสร้างอีก ๓ นคร ต่างคู่ต่างอยู่ครองนครแห่งหนึ่ง, แต่ในตำนานเล่าแคบไป โดยนัยนี้ น่าจะมีถึง ๖ พระนคร แต่ไม่ปรากฏชื่อ. ( บางทีจะเป็น รามคามอีกสักแห่งหนึ่ง แต่ในมหาปรินิพพานสูตร๑ เรียกว่าพวก โกลิยะ ).

          นครเหล่านี้  มีวิธีปกครองอย่างไร  ไม่ได้กล่าวชัด,  แต่สันนิษ-

ฐานตามประเพณี ชนบทเช่นนี้ปกครองโดยสามัคคีธรรมเหมือนธรรม- เนียมในแว่นแคว้นวัชชีและแว่นแคว้นมัลละ ในแว่นแคว้นวัชชี มีเจ้าวงศ์หนึ่งเรียกว่า ' ลิจฉวี ' ในแว่นแคว้นมัลละ มีเจ้าวงศ์หนึ่ง เรียกว่า ' มัลละ ' เป็นผู้ปกครอง; แต่ในแว่นแคว้นมัลละมี ๒ นคร คือ กุสินารา ๑ ปาวา ๑. ในวงศ์เจ้าทั้งสองนั้น ไม่ได้เรียกผู้ใด

๑๐๑๗๔. ผู้หนึ่งว่าเป็นราชา ไม่เรียกอย่างพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดิน มคธ และพระเจ้าปเสนทิ พระเจ้าแผ่นดินโกศล, ท่านทั้งสองนี้ เขาเรียกว่า ' ราชา ' ส่วนเจ้าในวงศ์ทั้งสองนั้น เขาเรียกว่า ' ลิจฉวี ' และ ' มัลละ ' เสมอกันทั้งนั้น เมื่อมีกิจเกิดขึ้น มีการสงคราม เป็นต้น, เจ้าเหล่านั้นก็ประชุมกันปรึกษา แล้วช่วยกันจัดตามควร. พวกศากยะในบาลีพระวินัยก็ดี ในบาลีมัชฌิมนิกายก็ดี ในบาลี อังคุตตรนิกายก็ดี เรียกว่า ' สักกะ ' เสมอกันทั้งนั้น. พระเจ้า สุทโธทนะพุทธบิดา ก็เรียกว่า ' สุทโธทนสักกะ ' เหมือนกัน, เว้น ไว้แต่พระภัททิยะ โอรสนางกาฬิโคธาผู้อยู่ในชั้นเดียวกันกับพระ อนุรุทธะ, ในบาลีวินัย๑ เรียกว่า ' สักยราชา ' แต่ในบาลีมหาปทาน- สูตรทีฆนิกายมหาวรรค๒ เรียกพระสุทโธทนะว่า ' ราชา ' ในยุค อรรถกถา เข้าใจว่าเป็นราชาทีเดียว.

          ถ้าเพ่งคำว่าเรียก  ' สักกะ '  เสมอกัน, ความสันนิษฐานก็จะ

พึงมีว่า สักกชนบทอันอยู่ในปกครองโดยสามัคคีธรรม หามีพระ ราชาไม่. ถ้าอนุมัติว่า ศากยะบางองค์ทรงยศเป็นพระราชาก็มี ความ สันนิษฐานก็จะพึงมีว่า นั่นเป็นยศสืบกันมาตามสกุล เช่นผู้ครองนคร แห่งพระเจ้าโอกกากราช ก็น่าจะดำรงยศเป็นพระราชาหรือเป็นยศ สำหรับผู้ปกครองนครทีเดียว. ความปกครองก็คงเป็นไปโดยสามัคคี- ธรรมนั้นเอง.

          พึงเทียบด้วยธรรมเนียมในแว่นแคว้นเยอรมนี  ตั้งแต่ได้รวมกัน

ทุติย. ๗๑๕๗. ๒. ที. มหา. ๑๐๘. เป็นราชาธิราชแล้ว, ธรรมเนียมในแว่นแคว้นเยอรมนีนั้น แบ่งอาณา- เขตเป็นส่วน ๆ มีเจ้าเป็นผู้ปกครองทุกส่วน ตั้งเป็นสกุลหนึ่ง ๆ สืบ กันมา, มียศเรียกเจ้าผู้ปกครองต่างกันตามมีอำนาจหรืออาณาเขตมาก หรือน้อย, บางครั้งไม่อยู่ในปกครองอันเดียวกันแต่ภายหลังรวมกัน เข้าได้ ยกพระเจ้ากรุงปรุซเซียขึ้นเป็นราชาธิราชอยู่ในปกครองโดย สามัคคีธรรม.๑

          สักกชนบทนั้น  คงไม่ใหญ่โตเท่าไรนัก  ในบาลีอุโบสถสูตรจึง

มิได้ระบุไว้, มาถึงสมัยแห่งพระศาสดา, ได้ตั้งเป็นอิสระตามลำพัง หรือตั้งอยู่ใต้อำนาจของโกศลชนบท เป็นข้อที่จะพึงพิจารณาอยู่. ใน บรรพชาสูตรแห่งสุตตนิบาต๒ เล่าเรื่องพระศาสดาเสด็จออกบรรพชา เสด็จมาถึงกรุงราชคฤห์, พระเจ้าพิมพิสารตรัสถาม, พระองค์ตรัส ตอบว่า " พระองค์เสด็จออกทรงผนวชจากสกุลของพวกที่เรียกว่า ' ศากยะ ' โดยชาติ, ชื่อว่า ' อาทิตย์ ' โดยโคตร, ชาวชนบทอันตั้ง อยู่ตรงข้ามภูเขาหิมพานต์ สมบูรณ์ด้วยความเพียรหาทรัพย์เป็นถิ่นแห่ง โกศลชนบท " ดังนี้.๓

          พระเจ้าโอกกากราช  มีพระราชบุตร-บุตรี  สมสู่กันเอง  มีเชื้อ

สายสืบสกุลลงมา เป็นพวกศากยะ, แต่บางแห่งก็แบ่งเรียกสกุลพระ เชฏฐภคินีว่า ' พวกโกลิยะ ' พวกศากยะนั้น น่าจะได้ชื่อตามชนบท

ารในหนังสือเฟรเดริกมหาราชของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์. ๔๐๕. ๓. ขุ. สุ. ๒๕๔๐๗ แต่ในอรรถกถา๑ว่าได้ชื่อดังนั้น เพราะความสามารถตั้งบ้านเมืองและตั้ง วงศ์ตามลำพัง, พระเจ้าโอกกากราชพระราชบิดาออกพระโอษฐ์ชมว่า เป็นผู้อาจ. พวกนี้มีโคตรเรียกว่า ' โคตมะ, ' แต่คำของพระมหาบุรุษ ในบรรพชา๒สูตรว่าเป็น ' อาทิตยโคตร ' คงเพ่งความว่าเป็นเชื้อสาย เนื่องมาจากพระอาทิตย์ ที่พวกกษัตริย์ชอบอ้างนัก จนทุกวันนี้; สองชื่อนี้คงเป็นอันเดียวกัน.๓

          ศากยะผู้ครองนคร  หากจะไม่ได้มียศเป็นราชาตามธรรมเนียม

ของชนบทอันปกครองโดยสามัคคีธรรมก็ดี ตามธรรมเนียมของสกุล อันมียศไม่ถึงนั้นก็ดี หรือเพราะเป็นเมืองออกของโกศลรัฐก็ดี จะเรียก ในภาษาไทยว่า ' พระเจ้า ' เห็นไม่ขัด, เพราะคำนี้ใช้เรียกเจ้า ประเทศราชก็ได้ และถ้าแยกยศราชาเป็นมหาราชาและราชาแล้วจุ เรียกว่า ' ราชา ' ก็ได้, เช่นพวกลิจฉวี ในอรรถกถา๔บางแห่งเรียกว่า ' ราชา ' ก็มี แต่ใช้พหูพจน์ ที่หมายความว่ามียศเสมอกัน ไม่มีใคร เป็นใหญ่กว่าใคร, จะใช้โวหารอย่างอื่นขัดเชิง เพราะในพวกไทยเรา ท่านผู้ครองมียศเป็นราชาสืบกาลนานมาแล้ว, เพราะเหตุนั้น ใน หนังสือนี้ จักเรียกศากยะผู้ครองนครว่า ' ราชาหรือพระเจ้า ' แต่อย่า พึงเข้าใจว่าเป็นมหาราชาหรือราชาธิราช.

          สกุลของพระศาสดาครองนครกบิลพัสดุ์  สืบเชื้อสายลงมาโดย

ลำดับ จนถึงพระเจ้าชยเสนะ ๆ นั้น มีพระราชบุตรบุตรีที่ปรากฏ

ม. ๓๒๕. ๒. ขุ. สุ. ๒๕๔๐๓. ๓. เป็นสาขากษัตริยสุริยวงศ์. ติย. ๒. พระนาม ๒ พระองค์, พระราชบุตรมีพระนามว่า ' สีหหนุ ' พระ องค์หนึ่ง พระราชบุตรีมีพระนามว่า ' ยโสธรา ' พระองค์หนึ่ง. ครั้น พระเจ้าชยเสนะทิวงคตแล้ว สีหหนุกุมารได้ทรงราชย์สืบพระวงศ์ พระเจ้าสีหหนุนั้น มีพระมเหสีทรงพระนามว่า า ' กัญจนา ' เป็น กนิฏฐภคินีของพรเจ้าอัญชนะผู้ครองเทวทหนคร, มีพระราชบุตร พระราชบุตรีประสูติแต่พระมเหสีนั้น ๗ พระองค์ พระราชบุตร ๕ พระองค์๑ คือ สุทโธทนะ ๑ สุกโกทนะ ๑ อมิโตทนะ ๑ โธโตทนะ๒ ๑ ฆนิโตทนะ ๑, พระราชบุตรี ๒ พระองค์ คือ ปมิตา ๑ อมิตา ๑. ส่วนนางยโสธราพระราชบุตรีของพระเจ้าชยเสนะนั้น ได้เป็นพระ มเหสีของพระเจ้าอัญชนะ มีพระราชบุตรพระราชบุตรี ๔ พระองค์, พระราชบุตร ๒ พระองค์ คือ สุปปพุทธะ ๑ ทัณฑปาณิ ๑. พระ ราชบุตรี ๒ พระองค์ คือ มายา๓ ๑ ปชาบดี ( อีกอย่างหนึ่ง เรียก โคตมี ) ๑. สุทโธทนกุมารได้นางมายาเป็นพระชายา เมื่อพระเจ้า สีหหนุทิวงคตแล้วได้ทรงราชย์สืบพระวงศ์ต่อมา.

          พระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้พระศาสดาของเราทั้งหลาย  ได้เสด็จมา

อุบัติขึ้นในพวกอริยกชาติ ในจังหวัดมัชฌิมชนบท ชมพูทวีป แคว้น

กับข้าวสุกทั้งนั้น น่าจะเห็นว่า ในชนบทนี้ มีการทำนาเป็นเป็นสำคัญ. ทั้งมี วกศากยะและพวกโกลิยะทำนา แย่งกันไขน้ำในแม่น้ำโรหิณีในปีฝนแล้ง ขึ้น. ๒. โธโตทนะ กับ ฆนิโตทนะ มีสักแต่ว่าชื่อ ไม่มีเชื้อสาย ยมากจึงไม่มีชื่อ คงมีแต่ ๓ พระองค์. ๓. เป็นชื่อของนางอัปสร เจ้า อันล่อให้บุรุษหลง ตรงความว่าเจ้าแม่ประโลมโลก. ว.ว. สักกะ ในสกุลกษัตริย์พวกศากยะผู้โคตมโคตร เป็นพระโอรสของ พระเจ้าสุทโธทนศากยะ เจ้ากรุงกบิลพัสดุ์กับพระนางมายา เมื่อก่อน พุทธศก ๘๐ ปี.

                                        ปริเฉทที่ ๓ 
                                   พระศาสดาประสูติ 
          พระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางเจ้ามายา  ได้ร่วมเสวยรมย์โดย

สุขสบาย, จำเนียรกาลล่วงมา พระศาสดาของเราทั้งหลาย. ได้ทรง ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางเจ้ามายา.๑ เมื่อถึงเวลาจวนจะ ประสูติ พระนางเจ้าทรงปรารถนาจะเสด็จประพาสอุทยานลุมพินีวัน,๒ พระราชสามีก็ทรงอนุมัติมิได้ขัดพระอัธยาศัย ถึงมงคลสมัยวันวิสาข- ปุรณมีเพ็ญเดือน ๖ แห่งปีก่อนพุทธศก ๘๐, เวลาเช้า พระนางเจ้า เสด็จโดยสถลมารค พร้อมด้วยราชบริพารฝ่ายในฝ่ายหน้าถึงป่าลุมพินี เสด็จประพาสเล่นอยู่.

          ในที่นี้  พระคันถรจนาจารย์  กล่าวถึงเหตุเสด็จลุมพินีวันว่า

พระนางเจ้าปรารถนาจะเสด็จเยี่ยมสกุลของพระองค์ ในเทวทหนคร จึงเสด็จถึงสถานตำบลนี้ อันตั้งอยู่ในกึ่งกลางแห่งนครทั้ง ๒. คำนี้ มีหลักฐานที่พอฟังได้, สมด้วยธรรมเนียมพราหมณ์ ภรรยามีครรภ์หา คลอดที่เรือนของสามีไม่ กลับไปคลอดที่เรือนของสกุลแห่งตน.

          ในเวลานั้น  เผอิญพระนางเจ้าประชวรพระครรภ์  จะประสูติ

อำมาตย์ผู้ตามเสด็จ จัดที่ประสูติถวายใต้ร่มไม้สาละ ตามสามารถ

นธิเมื่อวันพฤหัสดี เพ็ญเดือนอาสาฬหะ ปีระกา ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี กว่า ตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาว์ แคว้นเนปาล. ที่จะจัดได้. พระศาสดาได้ประสูติจากพระครรภ์พระมารดาในที่นั้น.๑ พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าว จึงตรัสสั่งให้เชิญเสด็จกลับพระราช- นิเวศน์.

          เป็นธรรมดาของท่านผู้เป็นมหาบุรุษ  ได้เกิดมาทำอุปการะอัน

ยิ่งใหญ่แก่โลก จะมีผู้กล่าวสรรเสริญอภินิหารของท่านด้วยประการ ต่าง ๆ ในปางหลังแต่ยุคของท่าน เหตุนั้น พระคันถรจนาจารย์ก็ ได้กล่าวอภินิหารของพระศาสดาไว้ โดยอเนกนัยเหมือนกัน, เล่า เรื่องตั้งแต่เสด็จอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต, พวกเทวดาพากันมาอาราธนา เพื่อเสด็จลงมาสู่มนุษยโลก นำสัตว์ข้ามโอฆะคือสงสารสาคร. พระ- องค์ทรงจุติจากดุสิตพิภพ ลงสู่พระครรโภทรแห่งพระมารดา. ปรากฏ แก่พระมารดาในสุบินเป็นพระยาช้างเผือก เสด็จอยู่ในพระครรภ์ บริสุทธิ์ อันมลทินมิได้แปดเปื้อน และประทับนั่งขัดสมาธิ ไม่คุดคู้ เหมือนทารกอื่น, พระมารดาและเห็นได้ถนัด. เวลาประสูติ พระมารดา เสด็จประทับยืนไม่นั่งเหมือนสตรีอื่น. พระองค์ประสูติ๒บริสุทธิ์ไม่ เปรอะเปื้อนด้วยครรภมลทิน, มีเทวดามาคอยรับก่อน, มีธารน้ำร้อน น้ำเย็นตกลงมาจากอากาศสนานพระองค์; พอประสูติแล้ว ทรงดำเนิน ด้วยพระบาท ๗ ก้าว, เปล่งวาจาเป็นบุรพนิมิตแห่งพระสัมมาสัม- โพธิญาณ. และพรรณนารูปกายสมบัติของพระองค์ว่า มีพระลักษณะ

่อวันศุกร์ เพ็ญเดือนวิสาขะ ปีจอ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี เวลาสายใกล้เที่ยง ๐๑๗. ต้องด้วยมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ๑ อันรจนาไว้ในตำหรับของ พราหมณ์ และมีทำนายไว้ว่า ท่านผู้ประกอบด้วยลักษณะเห็นปาน นั้น ย่อมมีคติเป็น ๒, ถ้าได้ครองฆราวาส จัดได้เป็นจักรพรรดิราช ครองแผ่นดิน มีสมุทรสาคร ๔ เป็นขอบเขต, ถ้าออกทรงผนวช จัดได้ตรัสเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาเอกในโลก.

          พระศาสดาได้เสด็จอุบัติมา  ทรงทำอุปการะอันยิ่งใหญ่แก่โลก

จึงได้มีอภินิหารบ้างเหมือนกัน อันพระคันถรจนาจารย์พรรณนาไว้ อย่างนี้. เหตุมีอภินิหารเหล่านี้ก็น่าจะมีหลายทาง และค่อยมีมาโดย ลำดับ. ทางหนึ่งคือเรื่องกาพย์, จินตกวีผู้ประพันธ์แต่งขยายเรื่อง จริงให้เขื่อง เพื่อต้องการความไพเราะในเชิงกาพย์ มีตัวอย่างจักกล่าว ถึงในข้างหน้า.

          ฝ่ายอสิตดาบส  ( อีกอย่างหนึ่ง  เรียกกาฬเทวิลดาบส )  ผู้อาศัย

อยู่ข้างเขาหิมพานต์ ผู้คุ้นเคยและเป็นที่นับถือของราชสกุล, ได้ทราบ ข่าวว่า พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะประสูติใหม่ จึงเข้าไป เยี่ยม. พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบ ตรัสสั่งให้เชิญเข้าไปนั่ง ณ อาสนะ อันสมควรแล้ว ทรงอภิวาทและปราศรัยตามควรแล้ว, ทรงอุ้ม พระราชโอรสออกมาเพื่อจะให้นมัสการพระดาบส. พระดาบสเห็นพระ โอรสนั้นมีลักษณะต้องด้วยตำหรับมหาบุรุษลักษณะ ซึ่งที่คำทำนาย

นังสือปฐมสมโพธิ ฉบับของสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส พิมพ์ า ๖๗. คติไว้โดยส่วนสองดังกล่าวแล้วนั้น, ครั้นเห็นอัศจรรย์อย่างนั้นแล้ว มีความเคารพนับถือในพระราชโอรสนั้นมาก ลุกขึ้นกราบลงที่พระ บาททั้งสองของพระโอรสนั้นด้วยศีรษะของตนแล้ว, กล่าวคำทำนาย ลักษณะของพระโอรสนั้น ตามมหาบุรุษลักษณะพยากรณศาสตร์ นั้นแล้ว ถวายพระพรลากลับไปอาศรมแห่งตน.

          ฝ่ายราชสกุล  เห็นดาบสผู้เป็นที่นับถือแห่งตน  ลงกราบที่พระ

บาทของพระราชโอรสแสดงความนับถือ และได้ฟังคำพยากรณ์อย่าง นั้น ก็มีจิตนับถือในพระราชโอรสนั้นยิ่งนัก, ยอมถวายโอรสของตน ๆ เป็นบริวารสกุลละองค์ ๆ ส่วนพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาก็พระ ราชทานบริหาร, จัดพี่เลี้ยงนางนมคอยระวังรักษาพระราชโอรส เป็นนิตยกาล.

          เมื่อประสูติแล้วได้  ๕  วัน,  พระองค์โปรดให้ชุมนุมพระญาติวงศ์

และเสนามาตย์พร้อมกัน, เชิญพราหมณ์ร้อยแปดคนมาฉันโภชนาหาร แล้ว ทำมงคลรับพระลักษณะและขนานพระนามว่า ' สิทธัตถกุมาร๑ ' แต่มหาชนมักเรียกตามพระโคตรว่า ' โคตมะ. '

          ฝ่ายพระนางเจ้ามายาผู้เป็นมารดา  พอประสูติพระราชโอรส

แล้วได้ ๗ วันก็สิ้นพระชนม์, พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงมอบพระราช- โอรสนั้น แก่พระนางปชาบดีโคตมีพระมาตุจฉาเลี้ยงต่อมา. ภายหลัง พระนางนั้นมีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง ทรงนามว่า ' นันทกุมาร '

วามต้องการสำเร็จ. น่าจะหมายความว่า ได้พระโอรสเป็นแรกสมหวัง ารย์แก้ความว่าบริบูรณ์ จะต้องการอะไรได้หมด. ว.ว. มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง ทรงนามว่า ' รูปนันทา. ' แม้ถึงอย่าง นั้น ก็ไม่ทรงนำพาในที่จะทำนุบำรุงให้ยิ่งกว่าสิทธัตถกุมาร.

          เมื่อสิทธัตถกุมารทรงเจริญขึ้นโดยลำดับ  มีพระชนมายะได้ ๗ ปี

พระราชบิดาตรัสให้ขุดสระโบกขรณีในพระราชนิเวศน์ ๓ สระ ปลูก อุบลบัวขาบสระ ๑ ปลูกประทุมบัวหลวงสระ ๑ ปลูกบุณฑริกบัว ขาวสระ ๑. แล้วตกแต่งให้เป็นที่เล่นสำราญพระหฤทัยพระราชโอรส, และจัดเครื่องทรง คือจันทน์สำหรับทา ผ้าโพกพระเศียร ฉลองพระ- องค์ ผ้าทรงสะพัก พระภูษา ล้วนเป็นของมาแต่แว่นแคว้นกาสี ซึ่ง นิยมว่าเป็นของประณีตของดีในเวลานั้นทั้งสิ้น, มีคนคอยกั้นเศวตฉัตร ( คือพระกลดขาวซึ่งนับว่าเป็นของสูง ) ทั้งกลางวันกลางคืน เพื่อจะ มิให้เย็นร้อยธุลีละอองแดดน้ำค้างมาถูกต้องพระกายได้, ครั้นพระราช กุมารมีพระชนม์เจริญ ควรจะศึกษาศิลปวิทยาได้ พระราชบิดาจึงทรง พาไปมอบไว้ในสำนักครูวิศวามิตร, พระราชกุมารทรงเรียนได้ว่องไว จนสิ้นความรู้อาจารย์แล้ว ได้แสดงให้ปรากฏในหมู่พระญาติ ไม่มี ราชกุมารอื่นจะเทียมถึง.

          ในตอนนี้  พระคันถรจนาจารย์ก็ได้แสดงอภินิหารของพระมหา-

บุรุษไว้บ้างว่า เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์นัก, คราวหนึ่งมีการวัปปมงคล แรกนาขวัญ อันเป็นนักขัตฤกษ์ของบ้านเมือง, พระราชบิดาเสด็จ แรกนาด้วยพระองค์เอง โปรดเชิญเสด็จสิทธัตถกุมารไปด้วย และให้ แต่งที่ประทับ ณ ภายใต้ชมพูพฤกษ์, ครั้นถึงเวลาแรกนา พวกพี่เลี้ยง นางนมพากันออกมาดูข้างนอก, ฝ่ายพระกุมารอยู่พระองค์เดียว เสด็จ ขึ้นนั่งตั้งบัลลังก์ขัดสมาธิ เจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ในม่าน ยัง ปฐมฌานให้เกิดขึ้นได้, ขณะนั้นเป็นเวลาบ่าย เงาแห่งต้นไม้อื่นย่อม ชายไปตามตะวัน แต่เงาต้นชมพูตรงอยู่ดุจในเวลาเที่ยง พวกนางพี่เลี้ยง นางนมกลับเข้ามาเห็น ต่างพิศวงและนำความกราบทูลพระราชบิดา, พระองค์เสด็จและบังคมพระโอรสเป็นพระเกียรติปรากฏสืบมา.

          อีกเรื่องหนึ่ง  ในที่บางแห่งแสดงความสามารถของพระราช-

กุมารผู้มิได้ศึกษา, แต่สำแดงศิลปธนูได้โดยช่ำชอง ไม่มีใครเทียมถึง ข้อนี้จะพึงเห็นอัศจรรย์ในยุคก่อน, มาในบัดนี้ จะพึงเห็นตรงกัน ข้าม. ใคร่ครวญตามพระพุทธจรรยา มีพระธรรมเทศนาเป็นอาทิ, กลับมีปรากฏว่า ได้ทรงรับศึกษามาเป็นอันดีในขัตติยธรรมแลคดีโลก อย่างอื่นอีก.

          พระโบราณาจารย์พรรณนาไว้ดังนั้น  ด้วยเชื่อพระสัพพัญุตญาณ

เกินไป จนยอมให้มีก่อนตรัสรู้ ข้อที่พระมหาบุรุษยังอยู่ในศึกษานั้น มีชัดเมื่อครั้งเสด็จออกผนวช แล้วเสด็จไปอยู่ศึกษาสมาบัติบางอย่าง ในสำนักอาฬารดาบสและอุททกดาบส. ข้อว่าด้วยการศึกษาของพระ- ราชกุมารในหนังสือนี้ ได้จากคัมภีร์ของพวกอุตตรนิกาย.๑

          เมื่อพระกุมารทรงพระเจริญวัย  มีพระชนมายะได้ ๑๖ ปี  ควรมี

พระเทวีได้แล้ว, พระราชบิดาตรัสสั่งให้สร้างปราสาท ๓ หลัง เพื่อ เป็นที่เสด็จอยู่แห่งพระราชโอรสใน ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน ฤดูฝน, ตกแต่งปราสาท ๓ กลังนั้นตามสมควร เป็นที่สบายในฤดู

ร ? นั้น ๆ แล้ว ตรัสของพระนางยโสธรา ( บางแห่งเรียกนางพิมพา ) พระ ราชบุตรีพระเจ้าสุปปพุทธะ ในเทวทหนคร อันประสูติแต่นางอมิตา พระกนิฏฐภคินีของพระองค์มาอภิเษกเป็นพระชายา. สิทธัตถกุมาร นั้นเสด็จอยู่บนปราสาททั้ง ๓ นั้น ตามฤดูทั้ง ๓, บำเรอด้วยดนตรี ล้วนแต่สตรีประโคม ไม่มีบุรุษเจือปน, เสวยสุขสมบัติทั้งกลางวัน กลางคืน จนมีพระชนมายุได้ ๒๙ ปี, มีพระโอรสประสูติแต่พระนาง ยโสธราพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า ราหุลกุมาร.๑

          สิทธัตถกุมารบริบูรณ์ด้วยสุข  ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์  จนทรง

พระเจริญวัยเห็นปานนี้ ก็เพราะเป็นพระราชโอรสสุขุมาลชาติ, ทั้ง พระราชบิดาและพระญาติวงศ์ ได้ทรงฟังคำทำนายของอสิตดาบส ว่า จักมีคติเป็นสองอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าอยู่ครองสมบัติ จักเป็น จักรพรรดิราช, ถ้าออกบรรพชา จักได้เป็นพระศาสดาเอกในโลก; จำเป็นอยู่เองที่จะปรารถนาให้เสด็จอยู่ครองสมบัติ มากกว่าที่จะยอม ให้บรรพชา จึงต้องคิดรักษาผูกพันไว้ให้เพลิดเพลินในกามสุขอย่างนี้.

          ฝ่ายพระราชกนิฏฐภาดา  ของพระเจ้าสุทโธทนะนั้น  สุกโกทน-

ศากยะมีโอรสองค์หนึ่ง ทรงนามว่า ' อานันทะ, ' อมิโตทนศากยะ มีโอรส ๒ องค์ ทรงนามว่า ' มหานามะ ' ๑ ' อนุรุทธ ' ๑ มีธิดา ๑ องค์ ทรงนามว่า ' โรหิณี, ' นางอมิตาพระราชกนิฏฐภคินี เป็น พระมเหสีของพระเจ้าสุปปพุทธะ ประสูตราชบุตรองค์ ๑ ทรงนามว่า

บ่วง " ตามอรรถกถาแสดงว่า เพราะอาศัยอุทานของมหาบุรุษซึ่งเปล่ง อรสประสูติว่า " ราหุลํ ชาตํ พนฺธนํ ชาตํ " ' เทวทัตต์๑ ' ราชบุตรีองค์ ๑ ทรงนามว่า ' ยโสธรา ' หรือ ' พิมพา ' พระชายาของสิทธัตถกุมาร. ' พระกุมารและพระกุมารีในศากยวงศ์ ทั้ง ๒ สายนั้น ' เจริญขึ้นโดยลำดับ.

สดงว่าเป็นเชฏฐภาดาของพระนางพิมพา. ตามอรรถกถาธรรมบทว่า พระ ่าพระพุทธเจ้าแก่แล้ว ขอปกครองคณะสงฆ์ ส่อว่าพระเทวทัตต์อ่อนกว่า ่ตามพุทธประวัติฝ่ายเหนือเล่าเรื่องพระเทวทัตต์ที่เป็นศัตรูของพระ สดงว่าเป็นอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่เป็นพระภาดาของพระนางพิมพา. บางทีจะมี ระมัง ? ส่วนในอรรถกถาธรรมบทว่าเป็นคนเดียวกัน.

                                         ปริเฉทที่ ๔ 
                                    เสด็จออกบรรพชา 
          สิทธัตถกุมาร  เสด็จอยู่ครองฆราวาสสมบัติตราบเท่าพระชนมายุ

๒๙ พรรษา. แต่นั้น เสด็จออกบรรพชาประพฤติพระองค์เป็นบรรพชิต แสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณ, นำความสันนิษฐานว่า น่าจะ สมจริงตามคำทำนายคติประการหลัง ในตำหรับมหาบุรุษลักษณะ- พยากรณศาสตร์นั้น.

          อะไรเป็นมูลเหตุนำพระองค์ให้เสด็จออกบรรพชา ?  และอาการ

ที่เสด็จออกนั้นเป็นอย่างไร ? เป็นข้อน่าใคร่ครวญอยู่. พระอาจารย์ ผู้รจนาอรรถกถา๑ แสดงความตามนัยมหาปทานสูตร๒ว่า ได้ทอด พระเนตรเห็นเทวทูต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ อันเทวดาแสร้งนิรมิตไว้ในระหว่างทาง, เมื่อเสด็จประพาสพระราช- อุทยาน ๔ วาระโดยลำดับกัน. ทรงสังเวชเหตุได้เห็นเทวทูต ๓ ข้าง ต้น อันพระองค์ยังไม่เคยพบมาในกาลก่อน, ยังความพอพระหฤทัย ในบรรพชาให้เกิดขึ้นเพราะได้เห็นสมณะ, และกล่าวถึงอาการที่เสด็จ ออกนั้นว่า เสด็จหนีออกในกลางคืน ทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะ ตามเสด็จ, ถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ตรัสสั่งนายฉันนะให้นำม้าพระที่นั่ง กลับคืนพระนครแล้ว ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ อธิษฐานเพศ

ติย. ๒๑. ๒. ที. มหา. ๑๐๑. บรรพชิต ณ ที่นั้น.

          ฝ่ายพระอาจารย์ผู้รจนาบาลีมัชฌิมนิกาย๑แสดงว่า  ทรงปรารภ

ความแก่ ความเจ็บ ความตาย อันครอบงำมหาชนทุกคนไม่ล่วง ไปได้, แม้เป็นอย่างนั้น เพราะโทษที่ไม่ได้ฟังคำสอนของนักปราชญ์ เห็นผู้อื่นแก่เจ็บตาย ย่อมเบื่อหน่ายเกลียดชัง, ไม่คิดถึงตัวว่าจะ ต้องเป็นเหมือนอย่างนั้นบ้าง เมาอยู่ในวัยในความไม่มีโรคและใน ชีวิต เหมือนหนึ่งเป็นคนจะไม่ต้องแก่เจ็บตาย, มีแต่ขวนขวายหา ของอันมีสภาวะเช่นนั้น ไม่คิดหาอุบายเครื่องพ้นบ้างเลย, ถึงพระองค์ ก็มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา แต่จะเกลียดหน่ายเหมือนอย่างเขาไม่สมควร แก่พระองค์เลย, เมื่อรู้เห็นอย่างนี้แล้ว ควรจะแสวงหาอุบายเครื่อง พ้น; เมื่อทรงดำริอย่างนี้ ก็บรรเทาความเมา ๓ ประการ และความ เพลิดเพลินในกามสมบัติเสียได้, จึงทรงดำริต่อไปว่า ธรรมดา สภาวะทั้งปวง ย่อมมีของที่มีข้าศึกแก้กัน, เช่นมีร้อนแล้วก็มีเย็น แก้, มีมือแล้วก็มีสว่างแก้, บางทีจะมีอุบายแก้ทุกข์ ๓ อย่างนี้ ได้บ้างกระมัง ? ก็แต่ว่า อันจะแสวงหาอุบายแก้ทุกข์ ๓ อย่างนั้น เป็นยากอย่างยิ่ง, ยังอยู่ในฆราวาสเห็นจะแสวงหาไม่ได้ เพราะ ฆราวาสนี้เป็นที่คับแคบนัก และเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์อันทำใจให้ เศร้าหมอง เหตุความรัก ความชัง ความหลง ดุจเป็นทางที่มา แห่งธุลี, บรรพชาเป็นช่องว่าง พอเป็นที่แสวงหาอุบายนั้นได้; ทรง ดำริอย่างนี้แล้ว ก็มีพระอัธยาศัยน้อมไปในบรรพชา ไม่ยินดีใน

ร ม. มู. ๑๒๓๑๘. ฆราวาสสมบัติ.

          ครั้นสมัยอื่น  พระองค์ยังกำลังเป็นหนุ่ม  มีพระเกศาดำสนิท

ตั้งอยู่ในปฐมวัย, เมื่อพระมารดาพระบิดาไม่ใคร่ยอม มีพระพักตร์ อาบด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงอยู่, พระองค์ปลงพระเกศาและ พระมัสสุแล้ว ทรงครองผ้ากาสายะ ถึงความปฏิบัติเป็นบรรพชิต พระคันถรจนาจารย์กล่าวความไว้ ๒ นัยอย่างนี้.

          พิจารณาถึงมูลเหตุนำให้เสด็จออกบรรพชาก่อน.  พระองค์มี

พระชนมายุถึง ๒๙ ปีแล้ว จักไม่เคยพบ คนแก่ คนเจ็บ คนตายนั้น เป็นอันมีไม่ได้, แม้ในเรื่องกล่าวว่า พระราชบิดาตรัสสั่งให้คอยห้าม ก้น ก็ดูเหมือนจักเป็นอันพ้นสามารถ, จักห้ามกันพระญาติผู้ใหญ่ชั้น เจ้าตาเจ้ายายก็อย่างไรอยู่ ? พระราชบิดาเองก็ทรงชราลงเหมือนกัน, แม้ยังไม่หง่อม ก็พอพระกุมารจะทรงเห็นความแปรของสังขารได้ เป็นแน่; ต่างว่าเอาเป็นห้ามสำเร็จ, คนมีอายุถึงเท่านั้นแล้ว ไม่เคย พบคนแก่ คนเจ็บ คนตายเลย จักเป็นคนฉลาดอย่างไรได้ ? ดูแต่ เด็กที่ผู้ใหญ่ปราบให้หงิมมาแต่เล็กเถิด, ถ้าเด็กนั้นจักว่องไวไหวพริบ เมื่อโต ก็ปราบไม่อยู่, ถ้าเป็นผู้ที่ปราบได้, ก็ต้องเป็นผู้ขาดจาก คุณสมบัติเช่นนั้นมาแต่เดิม หรือเสียลักษณะเช่นนั้นในเวลาที่กำลัง ถูกปราบ, ส่วนพระศาสดา ปรากฏโดยพระพุทธจรรยาว่า ทรง พระปรีชาลึกซึ้ง, อันจะถูกห้าม ก็คงเช่นไม่ให้ไปเยี่ยมไข้เยี่ยมตาย ของใคร ๆ แม้เป็นพระญาติ, และผู้ถือเพศเป็นบรรพชิตเล่า มิใช่ ว่าเฉพาะมีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ก่อนแต่พุทธุปบาทกาลก็มี บรรพชิต คือ นักบวช เช่นชฎิล ปริพาชก เหมือนกัน.

          สันนิษฐานว่า  เรื่องเช่นนั้น  น่าจะได้มาจากหนังสือกาพย์ของ

จินตกวี ท่านผู้ประพันธ์เป็นเจ้าบทเจ้ากลอนแต่งขยายเรื่องจริงให้ เขื่อง ด้วยหมายจะให้ไพเราะในเชิงกาพย์. ถอดเอาใจความก็จะพึง ได้ดังนี้: พระมหาบุรุษ ได้เคยทรงพบ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย มาแล้ว แต่ไม่ได้เก็บเอามาทำในพระหฤทัยต่อไป. คราวที่ว่าเห็นเทวทูตนั้น คือ ทรงปรารภถึงคนแก่เจ็บตาย น้อมเข้ามาเปรียบกับพระองค์เอง แล้ว ทรงสังเวช, ได้ทอดพระเนตรเห็นบรรพชิตในคราวนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " สาธุ โข ปพฺพชฺชา " บวชดีนักแล. ขอขี้หนังสือ เตลงพ่าย และหนังสือยอพระเกียรติ เป็นตัวอย่างแห่งเรื่องเช่นนี้.

          คราวนี้  พระคันถรจนาจารย์นำมากล่าวอีกต่อหนึ่ง,  ถ้าท่าน

ไม่ใช่ผู้เชื่องมงาย ก็คงคิดเห็นว่าจะถอดใจความกล่าว. เมื่อถือเอา ความผิด อาจทำความให้ฉลาดได้ สู้กล่าวไว้ทั้งอย่างนั้นไม่ได้, หา ได้เพ่งถึงความเสื่อมแห่งความเข้าใจในเชิงหนังสือของคนข้างหน้าไม่. ความเห็นเช่นนั้น ได้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าเอง เมื่อครั้งรจนาพุทธา- นุพุทธประวัติคราวแรก ๒๑ ปีล่วงมาแล้ว และนำให้รจนาเรื่องนี้ เข้ารูปอย่างนี้.

          ฝ่ายคำของพระอาจารย์ผู้รจนาบาลีมัชฌิมนิกายนั้น  ถอดกล่าวไว้

เฉพาะใจความเป็นตำนานแท้ แต่หมดอรรถรสในเชิงกาพย์. คงได้ ความตามมติแห่งพระอาจารย์ทั้ง ๑ พวกว่า พระมหาบุรุษทรงปรารภ ชราพยาธิมรณะที่ได้พบเห็นโดยปกตินี้เอง แล้วเสด็จออกบรรพชา. เช่นนี้ ดูเหมือนเป็นทีว่า เสด็จออกด้วยพระหฤทัยสลด ต้องการเพียง จะหาอุบายหลีกให้พ้น ไม่เชิงแสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณแท้ง แต่ครั้นได้ตรัสรู้แล้ว จึงทรงดำริจะโปรดสัตว์ด้วยพระอัธยาศัยประกอบ ด้วยพระกรุณา. ข้อนี้ อาจมีในวารจิตของมนุษย์ แต่ไม่สมกับคำ พรรณนาพระปณิธานของพระโพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญพระบารมีมามากกว่า มากเพื่อจะโปรดสัตว์, ตลอดถึงคำทำนายและอัศจรรย์ต่าง ๆ ใน ปัจฉิมภพ. ถ้าจะถือว่า เรื่องเหล่านั้นเล่าตามหลังพระองค์เมื่อ เป็นผู้วิเศษแล้ว ก็ไม่น่าจะผิด, แต่ยังมีทางสันนิษฐานได้สนิทยิ่งกว่า นี้อีก คือ พระมหาบุรุษทรงพิจารณาเห็นมหาชนผู้เกิดมาแล้ว แก่ เจ็บตายไปเปล่า หาได้ทำชีวิตให้มีประโยชน์เท่าไรไม่, ยิ่งในราชสำนัก มัวเมาอยู่ในหมู่สตรีบำเรอ ทั้งกลางวันและกลางคืน ยิ่งทำชีวิตให้ เป็นหมันหนักเข้า. พระองค์ทรงเบื่อหน่ายความเป็นอยู่ของพระองค์ ด้วยอาการเช่นนั้น ที่เขาอื่นสำคัญเห็นเป็นสุขอย่างยิ่งในทางโลกีย์. สมคำว่า ห้องปราสาทอันเกลื่อนกลาดไปด้วยนางบำเรอผู้นอนหลับ สว่างรุ่งเรืองด้วยประทีป ปรากฏแก่พระองค์ดุจป่าช้า ทรงเห็น บรรพชาเป็นที่ห่างจากอารมณ์อันล่อให้หลงและมัวเมา, เป็นช่องที่ จะได้บำเพ็ญปฏิบัติ เป็นประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น ทำชีวิตให้มี ผลไม่เป็นหมัน, ทรงสันนิษฐานลงเช่นนี้แล้ว จึงได้เสด็จออกบรรพชา. เมื่อถือเอาความเช่นนั้น ข้อว่าทรงปรารภชราพยาธิมรณะ ได้ความ สลดพระหฤทัยจนไม่เพลิน กับข้อว่า พระองค์มีพระอัธยาศัยประกอบ ด้วยพระกรุณามาแต่ไหนแต่ไรย่อมไม่แย้งกัน.

          คราวนี้  พิจารณาถึงอาการเสด็จออกบรรพชาต่อไปอีก.  คำ 

ของพระอรรถกถาจารย์ว่า เสด็จหนีออกในเวลากลางคืน ทรงม้า กัณฐกะ มีนายฉันนะตามเสด็จนั้น, น่าจะกล่าวโดยอุปมา. มีเรื่อง ในพราหมณสมัย อันจะสาธกความนี้ได้อยู่. เป็นธรรมเนียมของ ท่านผู้ปรารถนาจักรพรรดิราชสมบัติ๑ จะต้องเที่ยวจาริกไปตามลำพัง ผู้เดียวหรือน้อยคน สู่ชลาลัยศักดิ์สิทธิ์อันมี ณ ที่นั้น ๆ, นำสักการะ และสรงสนานทั่วตำบลแล้วจึงกลับมานคร. ในลำดับนั้น ปล่อย เศวตอัสดรให้เที่ยวไปในชนบท ยกทัพติดตามม้าไป ชนบทใดไม่ ยอมอยู่ใต้อำนาจ ชนบทนั้นก็ห้ามม้า ไม่ปล่อยให้เหยียบแดน. ทัพที่ยกตามไปก็เข้ารบ เพื่อตีชนบทนั้นไว้ในอำนาจ. ถ้าเจ้าของ ม้าแพ้ ก็ต้องเลิกปล่อยม้า, ถ้าชนะ ก็ปล่อยม้าต่อไป, ชนบทใด ยอมไม่ต่อสู้ ก็ปล่อยม้าและกองทัพเข้าเหยียบแดน. ครั้นได้ชนบท ทั้งหลายอยู่ใต้อำนาจทั่วแล้ว ยกทัพพาม้ากลับนคร, คราวนี้ตั้งพิธี บูชายัญ ฆ่าม้านั้นเซ่นเทวดา เป็นเครื่องหมายความสำเร็จแห่งความ เป็นจักรพรรดิราช ยัญชนิดนี้เรียกว่าอัศวเมธะ แปลว่า เป็นเหตุ ฆ่าม้า, พระเจ้าชนเมชยะได้เคยทรงบูชา. พระโบราณาจารย์ผู้ถือ พระพุทธศาสนาเปลี่ยนชื่อยัญนี้เป็นสัสสเมธะ แปลว่า ความฉลาดใน อันบำรุงข้าวกล้า, ตั้งเป็นสังคหวัตถุประการหนึ่ง อันพระราชาจะพึง ทรงบำเพ็ญการบูชายัญ ก็แสดงโดยเป็นทรงบำเพ็ญมหาบริจาค, ดั่ง

หารข้างพระพุทธศาสนา ว.ว. กล่าวถึงพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชายัญในกูฏทันตสูตร๑ฉะนั้น. เรื่องที่ เล่ามานี้ ตั้งแต่ไปเที่ยวอาบน้ำจนถึงบูชายัญ มีในปกรณ์ของพวกถือ พระพุทธศาสนาแทบทั้งนั้น แต่กระจุยกระจาย, ไม่เคยรู้เรื่องในทาง อื่น คุมกันเข้าไม่ติด.

          พระอรรถกถาจารย์  กล่าวถึงเรื่องพระมหาบุรุษทรงม้ากัณฐกะ

สีขาวออกผนวช เทียบกับท่านผู้ปรารถนาจักรพรรดิราชสมบัติยกทัพ ไปกับม้า เอาเทวดามาแห่แทนกองเสนา, เพื่อจะแสดงปฏิปทาทั้ง สองฝ่ายเป็นคู่กันดั่งกล่าวไว้ในคำทำนายมหาบุรุษลักษณะนั้น. เมื่อเอา เทวดามาแห่ ก็จำจะต้องเสด็จออกอย่างเงียบในกลางคืน ไม่ให้ใครรู้ อยู่เอง.

          นายฉันนะนั้นมาปรากฏเป็นภิกษุในภายหลัง  ถือว่าตัวเป็นข้า

เก่าแก่ ใครว่าไม่ฟัง เกิดความบ่อย ๆ อยู่มาจนถึงนิพพานสมัย พระศาสดาทรงหาวิธีทรมานอยู่เสมอ, ในครั้งนั้น ตรัสสั่งแนะสงฆ์ ไว้ให้ลงพรหมทัณฑ์ คือ อย่างให้ใครว่ากล่าว ปล่อยเสีย จะทำ อะไรก็ช่าง๒; ด้วยอุบายนั้น พระฉันนะหายพยศ. เรื่องที่เล่า บ่งว่า มีมูลอยู่. ส่วนคำของพระอาจารย์ผู้รจนาบาลีมัชฌิมนิกาย ดูเป็นที แสดงว่า เสด็จออกบรรพชาซึ่งหน้า แย้งคำก่อนอยู่. ถ้าเสด็จหนี ออกไปในกลางคืน, และนครกบิลพัสดุ์ไม่ใหญ่โตหรือคับขัน ก็น่า จะสำเร็จ, แต่ในท้องเรื่องติดขัดที่ไหน ท่านเอาเทวดาเข้าช่วย ก็ละ ไปได้เหมือนกัน, แต่มีปัญหาว่า พระราชบิดาทรงทราบแล้ว เหตุ

๑๖๒. ๒. มหาปรินิพพานสูตร ที. มหา. ๑๑๑๗๘. ไฉนไม่ตรัสสั่งให้ติดตาม ? และเมื่อนายฉันนะกลับมานครแล้วก็ไม่ ได้ยินว่าทรงพระพิโรธและลงราชทัณฑ์แก่นายฉันนะอย่างไร ? ถ้าเสด็จ ออกโดยซึ่งหน้า, ก็มีปัญหาอีกว่า พระราชบิดาไม่ทรงยอมอยู่แล้ว ถึงทรงกันแสง, แต่เหตุไฉนจึงขัดไว้ไม่ได้ ? น่าจะมีเหตุจำเป็น อย่างไรอันไม่ปรากฏ; ถ้าหนีออกไปไม่ให้กล้าติดตาม, ถ้าออกซึ่ง หน้า ไม่ให้กล้าขัด. เทียบกับบรรพชาของสาวกก็มีทั้ง ๒ นัย, พระ ยสออกผู้เดียวในราตรี, พระรัฐบาลที่บิดาหวงออกซึ่งหน้า, แต่มีคำ แก้ปัญหาทั้ง ๒ ข้อ. เมื่อพระยสออกแล้ว พอบิดาทราบก็ออกตาม พบแล้วชวนให้กลับ แต่ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนาสำเร็จพระอรหันต์ แล้ว ไม่ใช่ผู้จะอยู่ครองฆราวาสเสียแล้ว.๑ พระรัฐบาลลาบิดาบวช แต่ไม่ได้รับอนุญาต เสียใจและอดอาหารจะได้ตายเสีย, บิดาจึงต้อง อนุญาตผ่อนตามใจ ด้วยหมายว่าบวชไปไม่ได้ ก็คงกลับมาเอง ดี กว่าจะปล่อยให้ตายเสียในเวลานั้น.๒ ในบรรพชาของพระมหาบุรุษ ยังสันนิษฐานลงไม่ถนัด.

          ในบางพระสูตรกล่าวถึงการบำเพ็ญพรตแห่งพระราชา  บางที

จะได้แก่การเที่ยวจาริกสู่ชลาลัยศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวแล้ว. ถ้าพระมหา- บุรุษเสด็จออกด้วยอาการอย่างนั้นก่อนแล้ว จึงทรงบรรพชาต่อภายหลัง จะออกได้โดยสะดวกกระมัง ? ทั้งจะไม่ถูกติดตามด้วย. ข้อนี้ไม่พ้น จากท่วงทีอันกล่าวไว้ในอรรถกถาทีเดียวนัก เพราะเอาอย่างคติของ ท่านผู้ปรารถนาจักรพรรดิราชสมบัติด้วยกัน, และถ้าถือความว่าเมื่อ

หาวคฺค. ป€ม. ๔๒๘. ๒. รัฏฐปาลสูตร. ม. ม. ๑๓๓๘๘. จะทรงบรรพชา ตรัสสั่งนายฉันนะหรือคนอื่นมาทูลพระราชบิดา ๆ ไม่ปรารถนาให้บวชและทรงกันแสงอยู่ข้างนี้ ทรงบรรพชาอยู่ข้าง โน้น. ข้อนี้ก็ไม่แย้งคำพระอาจารย์ผู้รจนาบาลีมัชฌิมนิกายไปทีเดียว แต่ดูเป็นการเดาจัดเกินไป. ขอยุติลงว่า ยังไม่ได้เหตุอันพอแห่งอาการ ที่เสด็จออกบรรพชา.

          คราวนี้พิจารณาถึงวิธีบรรพชา.  เพื่อจะให้เข้าใจชัด จักกล่าว

ธรรมเนียมไว้ผมแห่งคฤหัสถ์ก่อน. พวกคฤหัสถ์ไว้ผมยาว เกล้ารวบ ขึ้นขมวดเป็นเมาลีไว้บนกระหม่อม, ที่พวกพม่าทำตามอย่าง แต่ได้ พบในหนังสือแสดงธรรมเนียมของพวกพราหมณ์ในยุคหลังว่า พวก พราหมณ์ไว้ผมยาว เกล้าเป็นจุกเฉพาะบนกระหม่อม โกนข้างล่าง อย่างไว้จุกแห่งพวกเด็กในประเทศนี้. พวกเราได้อย่างมา แต่เดิมที ผู้ใหญ่ก็คงไว้เหมือนกัน, ครั้นเรียวลงตัดเสียไม่เกล้าเป็นจุก แต่คง โกนผมข้างล่างเหมือนกัน กลายเป็นผมมหาดไทย, เป็นแต่ปล่อย ให้เด็กไว้ชั่วคราว. ในเมืองพัทลุงยังมีพวกพราหมณ์เกล้าจุกอย่างนี้ ในปี ( ๒๔๕๕ ) ข้าพเจ้าได้พบ ๓ คน. ธรรมเนียมนี้คงมีเก่าแก่เหมือน กัน แต่ตกมาในประเทศเราก็นานแล้ว, เข้าใจว่าน่าจะมีทั้ง ๒ อย่าง.

          เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกบรรพชา  ทรงทำอย่างไรแก่พระ

เมาลี ? คำของพระอรรถกถาจารย์ว่าทรงตัดด้วยพระขรรค์คราวเดียว เท่านั้น, พระเกศาเหลือยาวประมาณ ๒ องคุลี ม้วนกลมเป็น ทักษิณาวัฏ, ตั้งอยู่กำหนดเท่านั้นจนนิพพาน. คำของพระมัชฌิมภาณ- กาจารย์ว่า ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ แปลว่าโกนพระเศียร. พระเมาลีนั้น อย่างไรก็คงต้องตัด คำนั้นเป็นอันไม่ผิด. ถอดใจความ แห่งคำเหลือว่า ตั้งแต่นั้นมา ไม่ไว้พระเกศายาวกว่า ๒ นิ้วอีก จนตลอดพระชนมายุ, ความก็ลงกันกับของพระมัชฌิมภาณกาจารย์ เพราะในพระวินัย มีพระพุทธานุญาตให้ไว้ผมได้ยาวเพียง ๒ นิ้วหรือ นาน ๒ เดือน.

          เหตุไฉนพระพุทธรูปโบราณจึงมีพระเกตุมาลา  ดูเป็นทีเกล้าพระ

เมาลี ? พระพุทธรูปโดยมากเป็นอย่างนั้น แต่พระพุทธรูปศิลาใน แคว้นเนปาล อินเดียตอนเหนือ ดูเป็นตัดพระเมาลีเหลือไว้ยาว ๆ กว่า ๒ นิ้ว. ถ้าพระพุทธรูปเหล่านี้ทำตามเรื่องในอรรถกถาว่าตัดพระ เมาลีด้วยพระขรรค์ก็แล้วไป. ถ้าไม่อย่างนั้น ก็จะนำให้สันนิษฐาน อีกทางหนึ่ง. ธรรมเนียมของบรรพชิตในครั้งนั้น เกล้าผมเซิงที่เรียก ว่าชฎาก็มี เช่นชฎิลกัสสปะพี่น้อง ๓ รูปกับพวกบริวาร, ที่โกนผมก็มี เช่นพวกอาชีวกและพวกนิครนถ์. การบรรพชาของพระมหาบุรุษ ตามเรื่องดูเหมือนเป็นตามลำพังพระองค์เดียว, แต่การเสด็จอยู่ใน สำนักอาฬารดาบสและอุททกดาบส แสดงด้วยว่าเนื่องด้วยคณะ, เมื่อ เป็นเช่นนี้ การถือเพศน่าจะต้องเป็นตามแบบของคณะ. บางทีพระ องค์จะถือเพศเกล้าชฎาหรือตัดพระเมาลีแต่ไว้ยาว ๆ มาก่อน ภายหลัง จึงเปลี่ยนเป็นโกนทีเดียว แต่ในปฐมโพธิกาล คือยุคตื้นแห่งตรัสรู้ นั้นเอง, เพราะเมื่อทรงอนุญาตสาวกเพื่อให้อุปสมบทแก่กุลบุตรได้ ด้วยให้กล่าวแสดงตนถึงพระรัตนะ ๓ เป็นสรณะ, ตรัสให้ผู้จะรับ อุปสมบทปลงผมและหนวดก่อน.๑ บางท่านเข้าใจว่า พระศาสดาเอง ไม่ได้ทรงโกนพระศก เป็นแต่ตรัสให้สาวกเท่านั้นโกนผม. ข้อนี้ไม่ สมกับเรื่องในบาลี ทั้งข้างพระวินัย ทั้งข้างพระสูตร.

          ในพระวินัย๒มีเรื่องเล่าไว้ว่า  พระนันทพุทธอนุขา  มีรูปพรรณ-

สัณฐานคล้ายพระศาสดา ต่ำกว่าพระองค์ ๔ นิ้ว. ท่านดำเนินมา ภิกษุทั้งหลายแลเห็นแต่ไกล สำคัญว่าพระศาสดา พากันลุกยืนรับ เสด็จ ครั้นเข้ามาใกล้กลายเป็นพระนันทะไป.

          ในสามัญญผลสูตร๓  เล่าเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู  พระเจ้าแผ่นดิน

มคธ เสด็จไปเฝ้าพระศาสดา ที่อัมพวันของหมอชีวก แขวงกรุงราช- คฤห์ในคืนหนึ่ง ตรัสถามหมอชีวกว่า " ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้า ? " หมอชีวกทูลว่า " พระองค์ประทับนั่งอิงเสากลาง ผันพระพักตร์มา ทางด้านบูรพา ภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมนั่น. "

          สองเรื่องนี้แสดงว่าพระเศียรของพระศาสดาเหมือนกับของสาวก

บางทีการตัดพระเมาลีนั้นเอง เป็นเหตุให้พระราชบิดาและพระญาติ- วงศ์สิ้นหวังในพระองค์. เพราะได้ยินว่า คนในครั้งนั้น ถือการตัด การโกนผมว่าเป็นจัญไร คนผู้ตัดหรือโกนผมแล้ว เป็นที่ดูหมิ่นของ คนทั้งหลาย, แม้ในภายหลัง พราหมณ์บางคนก็ได้กล่าววาจาปรามาส พระองค์ว่า คนหัวโล้น. เพื่อตัดหวังในทางฆราวาสกระมัง บรรพชิต บางพวกจึงถือเพศโกนผม ?

          ผ้ากาสายะหรือผ้ากาสาวะนั้น  คือผ้าที่ย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้

€ม. ๔๔๑. ๒. มหาวิภงฺค. ทุติย. ๒๕๑๑. ๓. ที. สี. ๙๖๕. สี่เหลืองหม่น เป็นของที่บรรพชิตพวกอื่นใช้เหมือนกัน, มีจำนวน เท่าไร คำพระมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวเป็นพหูพจน์ แปลว่ามากกว่า ผืนเดียว. คำพระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ครบไตรจีวร คือ สังฆาฏิ ผ้าซ้อนนอก อย่างเสื้อหนาวของคฤหัสถ์ในบัดนี้ ๑, อุตตราสงค์ ผ้าห่ม ๑, อันตรวาสก ผ้านุ่ง ๑. แต่สอบได้แน่ว่า เดิมมีเพียงผ้านุ่ง กับผ้าห่มเท่านั้น แคบสั้นไม่ใหญ่เหมือนจีวรพระในทุกวันนี้. สังฆาฏิ เป็นบริขารเพิ่มขึ้นทีหลัง, เรื่องนี้จะงดไว้กล่าวแผนกหนึ่ง๑ เพราะไม่ เกี่ยวกับอนุสนธิ.

          ผ้านี้ทรงได้มาจากไหน ?  พระอรรถกถาจารย์แสดงว่า  ฆฏิการ-

พรหมนำมาถวายพร้อมกับบาตร. พระมัชฌิมภาณกาจารย์หาได้กล่าว ถึงไม่. ถอดใจความแห่งคำอรรถกถา น่าจะทรงได้ในสำนักบรรพชิต ผู้ได้สมาบัติ เพราะสมาบัติเป็นเหตุแห่งความเกิดเป็นพรหม. ถ้าจะ ต้องแสวงหาผ้ากาสายะ บรรพชาของพระองค์ คงเนื่องด้วยความ ตระเตรียม.

          มูลเหตุแห่งบรรพชา  อาการเสด็จออก  และวิธีบรรพชา  เป็น

ปัญหาที่จะพึงพิจารณาอยู่ สุดแท้แต่ปราชญ์ผู้ค้นคว้าในตำนานจะพึง สันนิษฐานเห็น, กล่าวไว้ในที่นี้พอเป็นเครื่องนำทาง.

          จะอย่างไรก็ตาม  คงได้ความลงรอยเดียวกันว่า  พระมหาบุรุษ

ได้เสด็จออกบรรพชาแล้วจากศากยสกุลเมื่อพระชนมายุได้ ๒๙ ปีแล.

ขเล่ม ๒ กัณฑ์ที่ ๑๒ บริขารบริโภค.

                                     ปริเฉทที่ ๕ 
                                        ตรัสรู้ 
          พระมหาบุรุษทรงบรรพชาแล้ว  เสด็จแรมอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน

แขวงมัลลชนบท ชั่วเวลาราว ๗ วัน, แล้วเสด็จจาริกไปในต่างด้าว เข้าเขตมคธชนบท.๑ มีคำกล่าวในบรรพชาสูตร๒และในอรรถกถา๓เจือกัน ว่า ได้เสด็จผ่านกรุงราชคฤห์, พระเจ้าพิมพิสารพระเจ้ามคธ ได้เสด็จ มาพบเข้า๔ ตรัสถามถึงชาติสกุลแล้ว ตรัสชวนให้อยู่ จะพระราชทาน อิสริยยศยกย่อง, พระองค์ไม่ทรงรับ แสดงพระประสงค์ว่า มุ่งจะแสวง หาพระสัมมาสัมโพธิญาณ. พระเจ้าพิมพิสารทรงอนุโมทนาแล้วตรัส ขอปฏิญญาว่า ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จมาเทศนาโปรด.

          เป็นธรรมดาอยู่เองที่พระองค์ยังไม่เคยเสพลัทธินั้น ๆ  ซึ่งเป็นที่

นิยมนับถือว่าเป็นบุญอย่างยิ่ง และเป็นเหตุสำเร็จแห่งสิ่งที่ประสงค์ นั้น ๆ อันคณาจารย์สั่งสอนกันอยู่ในครั้งนั้น, ก็จำเป็นที่จะต้องทรง ทดลองดูว่า ลัทธิเหล่านี้จะเป็นอุบายเครื่องสำเร็จความประสงค์ได้ บ้างกระมัง ? จึงได้เสด็จไปอยู่ในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ซึ่งมหาชนนับถือว่าเป็นคณาจารย์ใหญ่ โดยลำดับ, ขอศึกษาลัทธิสมัยของท่าน ๆ ก็สั่งสอนตามลัทธิของตน จนสิ้นแล้ว สรรเสริญพระมหาบุรุษว่ามีความรู้เสมอด้วยตน และชวน ให้อยู่ช่วยกันสั่งสอนหมู่ศิษย์ต่อไป. พระองค์ได้ทรงทำทดลองใน

างน่าจะผ่านโกศลชนบทก่อน. ว. ว. ๒. ขุ. สุ. ๒๕๔๐๕. ๓. ป. โช. ๔. พบกันที่ภูเขาบัณฑวะ. ลัทธินั้นทุกอย่างแล้ว เห็นว่าไม่ใช่ทางพระสัมมาสัมโพธิญาณ จึงเสด็จ ออกจากสำนักดาบสทั้ง ๒ นั้น จาริกไปในมคธชนบท บรรลุถึง ตำบลอุรุเทลาเสนานิคม, ได้ทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ราบรื่น แนวป่า เขียวสด เป็นที่เบิกบานใจ แม่น้ำไหล มีน้ำใสสะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ โคจรคาม คือหมู่บ้านที่อาศัยเที่ยวภิกขาจารก็ตั้งอยู่ใกล้ โดยรอบ. ทรงพระดำริเห็นว่าประเทศนั้น ควรเป็นที่ตั้งความเพียร ของกุลบุตรผู้มีความต้องการด้วยความเพียรได้ จึงเสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้น.

          พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา  ทรมานพระกายให้ลำบาก

เป็นกิจยากที่จะกระทำได้.

          วาระแรก  ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์  กดพระตาลุ๑ด้วยพระ

ชิวหาไว้ให้แน่น จนพระเสโท๒ไหลออกจากพระกัจฉะ๓, ในเวลานั้น ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง จับบุรุษมี กำลังน้อยไว้ที่ศีรษะหรือที่คอบีบให้แน่นฉะนั้น, แม้พระกายกระวน กระวายไม่สงบระงับอย่างนี้ ทุกขเวทนานั้น ก็ไม่อาจครอบงำพระ หฤทัยให้กระสับกระส่วน, พระองค์มีพระสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ปรารภ ความเพียร ไม่ท้อถอย. ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนั้นไม่ใช่ทาง ตรัสรู้ จึงทรงเปลี่ยนอย่างอื่น.

          วาระที่ ๒  ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ, เมื่อลมไม่ได้เดิน

สะดวกโดยช่องพระนาสิกและช่องพระโอษฐ์ ก็เกิดเสียงดังอู้ทางช่อง

. ๒. เหงื่อ. ๓ รักแร้. พระกรรณทั้งสอง ให้ปวดพระเศียร เสียดพระอุทร ร้อนในพระกาย เป็นกำลัง, แม้ได้เสวยทุกขเวทนากล้าถึงเพียงนี้ ทุกขเวทนานั้นไม่ อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่าย มีพระสติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน. ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนี้ไม่ใช่ทาง ตรัสรู้ จึงเปลี่ยนอย่างอื่นอีก.

          วาระที่ ๓  ทรงอดพระอาหาร  ผ่อนเสวยแต่วันละน้อย ๆ  บ้าง

เสวยพระอาหารละเอียดบ้าง, จนพระกายเกี่ยวแห้ง พระฉวีเศร้า หมอง พระอัฐิปรากฏทั่วพระกาย, เมื่อทรงลูบพระกาย เส้นพระ โลมามีรากอันเน่าหลุดร่วงจากขุมพระโลมา, พระกำลังน้อยถอยลง จะเสด็จไปข้างไหนก็ซวนล้ม, จนชนทั้งหลายได้เห็นแล้วกล่าวทักว่า พระสมณโคดม ดำไป, บางพวกกล่าวว่า ไม่ดำ เป็นแต่คล้ำไป, บาง พวกกล่าวว่า ไม่เป็นอย่างนั้น เป็นแต่พร้อยไป.

          ภายหลังทรงสันนิษฐานว่า  การทำทุกรกิริยาไม่ใช่ทรงตรัสรู้

แน่แล้ว ได้ทรงเลิกเสียด้วยประการทั้งปวง กลับเสวยพระอาหาร โดยปกติ ไม่ทรงอดต่อไปอีก.

          พระอาจารย์ผู้รจนาบาลีมัชฌิมนิกาย๑  แสดงเหตุทรงปรารภ

บำเพ็ญทุกรกิริยาแล้วเลิกเสียดังนี้ว่า ครั้งนั้น อุปมา ๓ ข้อ ที่พระ มหาบุรุษไม่เคยทรงสดับ มาปรากฏแจ่มแจ้งแก่พระองค์ว่า :-

          สมณพราหมณ์๒เหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ซึ่งมีกายไม่ได้หลีกออกจากกาม

ตร ม. มู. ๑๔๔๗. พวก คือ พราหมณ์ผู้สมณะ ๑ พราหมณ์ผู้คฤหบดี ๑ นี้พวกแรก คือ

ว.

และมีความพอใจรักใคร่ในกาม ยังละให้สงบระงับไม่ได้ดี, สมณพราหมณ์ เหล่านั้น แม้ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแสบเผ็ด ที่เกิดเพราะความ เพียรก็ดี ไม่ได้เสวยก็ดี ก็ไม่ควรจะตรัสรู้, เหมือนไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง บุคคลแช่ไว้ในน้ำ, บุรุษมีความต้องการด้วยไฟ มาถือเอาไม้สำหรับ สีไฟมาสีเข้า ด้วยหวังจะให้เกิดไฟ, บุรุษนั้นไม่อาจให้ไฟเกิดขึ้นได้ ต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า เพราะไม้นั้นยังสดมียางอยู่ ทั้งยังแช่ไว้ ในน้ำ.

          อีกข้อหนึ่ง  สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง  แม้มีกายหลีก

ออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความพอใจรักใคร่ในกาม ยังละให้สงบระงับ ไม่ได้ดี, สมณพราหณ์เหล่านั้น แม้ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้น อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ไม่ได้เสวยก็ดี ก็ไม่ควรจะตรัสรู้, เหมือน ไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง แม้ห่างไกลจากน้ำ บุคคลตั้งไว้บนบก, บุรุษก็ไม่ อาจสีให้เกิดไฟได้ ถ้าสีเข้า ต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า เพราะไม้นั้น แม้ตั้งอยู่บนบกแล้ว ก็ยังเป็นของสดชุ่มด้วยยาง.

          อีกข้อหนึ่ง  สมณพราหณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง  มีกายหลีกออก

จากกามแล้ว และละความพอใจรักใคร่ในกาม ให้สงบระงับดีแล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้น อันเกิดเพราะ ความเพียรก็ดี แม้ไม่ได้เสวยเลยก็ดี ก็ควรจะตรัสรู้ได้, เหมือนไม้ แห้งที่ไกลจากน้ำ บุคคลวางไว้บนบก, บุรุษอาจสีให้เกิดไฟขึ้นได้ เพราะเป็นของแห้ง ทั้งตั้งอยู่บนบก.

          พระองค์จะป้องกันจิตไม่ให้น้อมไปในกามารมณ์  จึงได้ทรง

บำเพ็ญทุกรกิริยา, ครั้นทำไปข้านาน ก็หาได้ผลที่มุ่งหมายไม่, กลับทรง ดำริใหม่ว่า สมณพราหณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้เสวยทุกขเวทนาอัน กล้าแสบเผ็ด ที่เกิดเพราะความเพียรในกาลล่วงแล้วก็ดี จักได้เสวยใน กาลข้างหน้าก็ดี เสวยอยู่ในกาลบัดนี้ก็ดี, ทุกขเวทนานั้น ก็อย่างยิ่ง เพียงเท่านี้ ไม่เกินกว่านี้ขึ้นไป, ถึงอย่างนั้น เราก็ไม่สามารถจะตรัสรู้ ด้วยทุกรกิริยาอันเผ็ดร้อนอย่างนี้ ; ชะรอยทางตรัสรู้จะมีเป็นอย่างอื่น กระมัง ? คราวนี้ เกิดพระสติหวนระลึกถึงความเพียรทางใจว่า จักเป็นทางตรัสรู้ได้กระมัง ? ใคร่จะทรงตั้งปธานทางจิต ทรงคิด เห็นว่า ความเพียรเช่นนั้น คนซูบผอมเช่นนี้ ไม่สามารถให้เป็น ไปได้ จำเราจะกินอาหารแข้นคือข้าวสุก ขนมกุมมาส ให้มีกำลังก่อน; ทรงสันนิษฐานเช่นนี้แล้ว จึงกลับเสวยพระอาหารโดยปกติ.๑

          ฝ่ายปัญจวัคคีย์ คือพวกบรรพชิต ๕  รูป  ชื่อโกณฑัญญะ ๑

วัปปะ ๑ ภัททิยะ ๑ มหานามะ ๑ อัสสชิ ๑, แต่เดิมเป็นพราหมณ์ ได้เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ว่าพระมหาบุรุษมีลักษณะต้องตามมหาบุรุษ- ลักษณพยากรณศาสตร์๒ จึงมีความเคารพนับถือและเชื่อในพระองค์ เป็นอันมาก, เมื่อพระองค์เสด็จออกทรงผนวช พราหมณ์ ๔ คนนั้น ดำริเห็นว่า บรรพชาของพระมหาบุรุษ จักไม่เลวทรามเสื่อมเสียจาก

ตร ม. มู. ๑๒๔๕๘. มา โกณฑัญญะได้อยู่ในพวกพราหมณ์ ๑๐๘ คน ผู้ได้ถูกนิมนต์ฉันในวัน ะขนานพระนาม เป็นเด็กกว่าพราหมณ์อื่น ๆ ฝ่ายพวกพราหมณ์ ุตรของพราหมณ์พวกนั้น ได้ยินบิดาเล่าให้ฟัง. ว. ว. ประโยชน์ คงจะมีผลแก่ผู้อื่นด้วย, ครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว จึงพากัน ออกบวชตามพระมหาบุรุษ คอยเฝ้าอยู่ปฏิบัติทุกเช้าค่ำ ด้วยหวังว่า พระองค์ได้บรรลุธรรมใด จักทรงสั่งสอนให้ตนบรรลุธรรมนั้นบ้าง. ครั้นเห็นพระองค์ทรงละทุกรกิริยาที่ประพฤติมาแล้ว, เห็นร่วมกันว่า พระองค์กลายเป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้ มักมากเสียแล้ว. จึงเบื่อหน่ายในการที่จะปฏิบัติต่อไป ด้วยเห็นว่า พระองค์คงไม่อาจบรรลุธรรมพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง, พากันหลีกไป เสียจากที่นั้น ไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน๑ แขวงเมืองพาราณสี.

          ข้อที่ปัญจวัคคีย์ได้มาอยู่อุปัฏฐากพระมหาบุรุษ  ในเวลาทรง

บำเพ็ญทุกรกิริยา, ดูเหมือนจะมาเป็นพยานของพระองค์ในเวลาที่ได้ ตรัสรู้แล้วไป ถ้าพระองค์จะทรงแสดงธรรมสั่งสอนใคร ๆ ให้ละอัตต- กิลมถานุโยค คือการประกอบความลำบากแก่ตนเปล่า ก็จะได้แนะนำ ให้สิ้นสงสัยว่า ' อัตตกิลมถานโจรนั้น เราได้เคยประพฤติมาแล้ว ไม่มีใครจะประพฤติได้ยิ่งไปกว่าเรา, แม้เช่นนี้ ก็ไม่เป็นทางที่จะให้รู้ ธรรมพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง. ' ผู้นั้นก็จะได้ละความนิยมนับถือใน อัตตกิลมถานโยคนั้น แล้วปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อ บรรลุประโยชน์ตามสมควร. ครั้นถึงเวลาที่จะทำความเพียรเป็นไป ในจิตที่ต้องการความสงัด ก็เผอิญให้ปัญจวัคคีย์นั้นคิดเบื่อหน่ายแล้ว หลีกไปเสีย, ดูเหมือนเธอทั้งหลายไม่ให้เป็นอันตรายแก่ความสงัดของ พระองค์.

กว่า ' สารนาถ ' แขวงเมืองพาราณสี.

          ฝ่ายพระมหาบุรุษเสวยอาหารแข้น  ทำพระกายให้กลับมีพระ

กำลังขึ้นได้อย่างเดิม ทรงเริ่มความเพียรเป็นไปในจิตต่อไป, นับแต่ บรรพชามา ๖ ปีล่วงแล้ว จึงได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ คือได้ พระปัญญารู้ธรรมพิเศษ เป็นเหตุพอพระหฤทัยว่า ' รู้ละ ' ในราตรี แห่งวิศาขปุรณมี ดิถีเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงวิศาขนักขัตฤกษ์ ที่ใต้ ร่มไม้อัสสัตถพฤกษ์โพธิใบ ในปีก่อนพุทธศก ๔๕.

          พระองค์ทรงรู้เห็นธรรมอะไร  จึงพอพระหฤทัยว่ารู้  และหยุด

การแสวงต่อไป และเริ่มสั่งสอนผู้อื่น ? ทางดีในอันสันนิษฐานข้อนี้ คือกระแสพระธรรมเทศนาของพระองค์ ที่ได้ประทานไว้ในที่นั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ มีปฐมเทศนาเป็นอาทิ. ฝ่ายพระมัชฌิมภาณกาจารย์ แสดงความตรัสรู้ของพระองค์ไว้ดังนี้ :-

          ทรงเจริญสมถภาวนา  ทำจิตให้เป็นสมาธิ  คือแน่แน่วบริสุทธิ์

ปราศจากอุปกิเลส คืออารมณ์เครื่องเศร้าหมอง สุขุมเข้าโดยลำดับ นับว่าได้บรรลุฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔,๑ แล้วยังญาณอันเป็นตัว ปัญญา ๓ ประการให้เกิดขึ้นในยามทั้ง ๓ แห่งราตรีตามลำดับกัน.

          ญาณ ๓  นั้น  ที่ ๑  บุพเพนิวาสานุสสติญาณ  แปลว่าความ

รู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ท่านแจกอรรถโดย อาหารระลึกชาติหนหลังของตนได้. ที่ ๒ จุตูปปาตญาณ แปลว่า ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, ท่านแจกอรรถโดยอาการรู้สัตว์ ทั้งหลายอันดีเลวต่างกันว่าเป็นด้วยอำนาจกรรม, อีกนัยหนึ่งเรียกว่า

ธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ๒ หมวด ๔ หน้า ๔๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑๒๔๗๙ ทิพพจักขุญาณ แปลว่าความรู้ดุจดวงตาทิพย์. ที่ ๓ อาสวักขยญาณ แปลว่าความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ คือเครื่องเศร้าหมองอันหมักหมม อยู่ในจิตสันดาร, ท่านแจกอรรถโดยอาการกำหนดรู้ขันธ์พร้อมทั้ง อาการ โดยความเป็นเหตุและเป็นผลเนื่องต่อกันไป, จบลงด้วย รู้อริยสัจ คือความจริงอย่างสูง ๔ ประการ คือรู้ทุกข์ ๑ รู้ทุกขสมุทัย เหตุเกิดแห่งทุกข์ ๑ รู้ทุกขนิโรธ ความดับแห่งทุกข์ ๑ รู้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา ทางดำเนินถึงความดับทุกข์ ๑. หรือกล่าวสั้นว่า รู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค, และรู้อาสวะ เหตุเกิดอาสวะ ความ ดับอาสวะ ทางดำเนินถึงความดับอาสวะ เมื่อพระองค์รู้เห็นอย่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะทั้งปวง ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

          ญาณทั้ง ๓  นั้น๑  พึงเห็นโดยนัยดังนี้ :-
          ญาณที่ต้น  ให้หยั่งรู้อัตภาพโดยเป็นแต่สภาวะอย่างหนึ่ง ๆ  คุม

กันเข้า ได้ชื่อว่าขันธ์ เช่นธาตุ ๔ ปฐวี อาโป เตโช วาโย คุมกันเป็นเป็นขันธ์อันหนึ่ง เรียกรูป, ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ เป็น ขันธ์อีกอันหนึ่ง เรียกเวทนา, ความจำนั่นจำนี่ได้ เป็นขันธ์อีกอัน หนึ่ง เรียกสัญญา, ความนึกความคิด เป็นขันธ์อีกอันหนึ่ง เรียกสังขาร, ความรู้ทางทวาร ๕ ภายนอกและจิตอันเป็นพนักงานผู้นึกผู้คิด เป็น ขันธ์อีกอันหนึ่ง เรียกวิญญาณ; โดยบรรยายนี้เป็นปัญจขันธ์. แม้ ขันธ์หนึ่ง ๆ ก็เป็นมาแต่สภาวะย่อย ๆ คุมกันเข้าอีก, เหมือนรถ หรือเรือน เป็นนของที่สัมภาระย่อยคุมกันเข้า, เป็นอย่างนี้ทั้งส่วนอัน

ธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ๒ หมวด ๓ หน้า ๓๐ พิมพ์ครั้งที่ ๑๑๒๔๗๙. ล่วงไปแล้ว ทั้งส่วนยังเป็นไปอยู่ คนผู้ไม่ได้เคยสดับย่อมเห็นเป็นสิ่ง เป็นอัน เป็นผู้เป็นคน และหลงรักลงชังในขันธ์นั้น, เหมือนคน ผู้ไม่ได้เป็นช่าง เห็นเป็นแต่รถแต่เรือน ถึงจะรู้บ้างก็ยังหยาบ. ต่อนายช่างจึงจะเล็งเห็นละเอียดลงไปถึงสัมภาระ. ญาณนี้ย่อมนำ [ กำจัด ] ความหลงในขันธ์อันเป็นเหตุรักหรือชังเสีย.

          ญาณที่ ๒  ให้หยั่งรู้ว่าขันธ์นั้นแล  ย่อมเป็นไปตามอำนาจแห่ง

ธรรมดา, มีอันคุมกันเข้าเป็นสัตว์เป็นบุคคล แล้วภายหลังสลาย จากกัน เป็นอย่างนี้เหมือนกันทั้งหมด, แต่ถึงอย่างนั้น ยังดีเลว งามไม่งาม ได้สุขได้ทุกข์ต่างกันอยู่, เป็นอย่างนี้เพราะกรรมที่ทำ. ญาณนี้ย่อมนำ [ กำจัด ] ความหลงในคติแห่งขันธ์อันเป็นเหตุสำคัญ ผิดด้วยประการต่าง ๆ เสีย.

          ญาณที่ ๓  ให้หยั่งรู้ขันธ์พร้อมทั้งอาการโดยความเป็นเหตุและ

ผลเนื่องประพันธ์กันไป, สภาวะอย่างหนึ่งเป็นผลเกิดแต่เหตุอย่างหนึ่ง แล้ว ซ้ำเป็นเหตุยังผลอย่างอื่นให้เกิดต่อไปอีกเล่า เหมือนลูกโซ่เกี่ยว คล้องกันเป็นสาย, บรรยายนี้เรียกปฏิจจสมุปบาท.๑ ญาณนี้ย่อมนำ [ กำจัด ] ความหลงในธรรมดาเป็นเหตุเพลินในขันธ์อันประณีตเสีย ที่ท่านแสดงว่าเห็นอริยสัจ ๔ มีทุกข์เป็นต้น และเป็นเหตุถึงความ บริสุทธิ์สิ้นเชิง ที่ท่านแสดงว่าสิ้นอาสวะทั้งปวง.

          ฝ่ายพระอาจารย์ผู้รจนาอรรถกถา  แสดงธรรมพิเศษที่พระองค์

ธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ หมวดอติเรกทสกะ หน้า ๑๒๑ พิมพ์ครั้ง

ตรัสรู้โดยสังเขปเพียงสักว่าชื่อ แต่กล่าวประพฤติเหตุอันเป็นไปในวัน ตรัสรู้โดยพิสดารดังนี้ :-

          ในเช้าวันนั้น  นางสุชาดาบุตรีกุฎุมพีนายใหญ่แห่งชาวบ้าน 

เสนานคม ณ ตำบลอุรุเวลา, ปรารถนาจะทำการบวงสรวงเทวดา หุงข้าปายาสคือข้าวสุก หุงด้วยน้ำนมโคล้วนเสร็จแล้ว จัดลงในถาด ทองนำไปที่โพธิพฤกษ์. เห็นพระมหาบุรุษเสด็จนั่งอยู่ สำคัญว่า เทวดาจึงน้อมข้าวปายาสเข้าไปถวาย.๑ ในเวลานั้นบาตรของพระองค์ เผอิญอันตรธานหาย, พระองค์จึงทรงรับข้าวปายาสนั้นทั้งถาดด้วย พระหัตถ์ แล้วทอดพระเนตรแลดูนาง. นางทราบพระอาการจึง ทูลถวายทั้งถาดแล้วกลับไป. พระมหาบุรุษทรงถือถาดข้าวปายาส เสด็จไปสู่ท่าแห่งแม่น้ำเนรัญชรา, สรงแล้วเสวยข้าวปายาสหมดแล้ว ทรงลอยถาดเสียในกระแสน้ำ. พระองค์เสด็จประทับอยู่ในดงไม้สาละ ใกล้ฝั่งแม่น้ำในกลางวัน, ครั้นเวลาเย็น เสด็จมาสู่ต้นพระมหาโพธิ ทรงรับหญ้าของคนหาบหญ้า ชื่อโสตถิยะ ถวายในระหว่างทาง, ทรง ลาดหญ้าต่างบัลลังก์ ณ ควงพระมหาโพธิด้านปราจีนทิศ๒แล้ว เสด็จนง ขัดสมาธิ ผันพระพักตร์ทางบุรพทิศ๓ ผันพระปฤษฎางค์๔ทางลำต้น พระมหาโพธิ, ทรงอธิษฐานในพระหฤทัยว่า " ยังไม่บรรลุพระสัมมา- สัมโพธิญาณเพียงใด จักไม่เสด็จลุกขึ้นเพียงนั้น พระมังสะและพระ โลหิตจะแห้งเหือดไป เหลือแต่พระตจะ๕ พระนหารุ๖ และพระอัฐิ๗

เนียมบริจาคทานของพวกพราหมณ์ ดังแสดงในพระสูตร แต่งอาหา หาปฏิคาหก พบเข้าบริจาค. ว. ว. ออก. ๔. หลัง. ๕. หนัง. ๖. เอ็น. ๖. กระดูก. ก็ตามที. "

          ในสมัยนั้น  พระยามารเกรงว่า  พระมหาบุรุษจะพ้นจากอำนาจ

แห่งตน จึงยกพลเสนามาผจญ, แสดงฤทธิ์มีประการต่าง ๆ เพื่อ จะยังพระมหาบุรุษให้ตกพระหฤทัยกลัวแล้วจะเสด็จหนีไป. พระองค์ ทรงนึกถึงพระบารมี ๑๐ ทัศ ที่ได้ทรงบำเพ็ญมา ตั้งมหาปฐพีไว้ในที่ เป็นพยาน เสี่ยงพระบารมี ๑๐ ทัศนั้นเข้าช่วยผจญ ยังพระยามาร กับเสนาให้ปราชัย แต่ในเวลาพระอาทิตย์ยังไม่ทันอัสดงคตแล้วบรรลุ บุพเพนิวาสานุสสติญาณในปฐมยาม, ได้ทิพพจักขุญาณในมัชฌิมยาม, ทรงใช้พระปัญญาพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ทั้งฝ่ายเกิดฝ่ายดับ สาว หน้าสาวกลับไปมาในปัจฉิมยาม, ก็ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ในเวลาอรุณขึ้น.๑

          ในประพฤติเหตุเหล่านี้  ข้อที่จะพึงปรารภถึง  มีแต่เรื่องผจญ

มาร. สันนิษฐานเห็นว่า เป็นเรื่องแสดงน้ำพระหฤทัยของพระมหาบุรุษ โดยบุคคลาธิฏฐาน คือกล่าวเปรียบด้วยตัวบุคคล. กิเลสกามเปรียบ ด้วยพระยามาร, กิเลสอันเป็นฝ่ายเดียวกัน เปรียบด้วยเสนามาร. กิเลสเหล่านั้น เกิดขึ้นท่องเที่ยวอยู่ในจิตของพระมหาบุรุษ ให้นึกถึง ความเสวยสุขสมบัติในปางหลังและทวนกลับ เปรียบด้วยพระยามาร ยกพลเสนามาผจญ. พระบารมี ๑๐ ทัศนั้น คือ ทาน ๑ ศีล ๑ เนกขัมมะ คือความออกจากกามได้แก่บรรพชา ๑ ปัญญา ๑ วิริยะ ๑ ขันติ ๑ ความสัตย์ ๑ อธิฏฐาน คือความมั่นคง ๑ เมตตา ๑ อุเบกขา

ร ม. มู. ๑๒๔๖๐. คือความวางเฉยได้ ๑ พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญพระบารมีเหล่านี้มา ทรงนึกถึงแล้ว ทำพระหฤทัยให้หนักแน่น เปรียบด้วยตั้งมหาปฐพี ไว้ในที่เป็นพยาน, ทรงเอาพระคุณสมบัติเห็นปานนั้น มาหักพระหฤทัย ห้ามความคิดกลับหลังเสียได้เป็นเด็ดขาด เปรียบด้วยเสี่ยงพระบารมี ผจญมารได้ชัยชนะ. เรื่องนี้ได้ถอดใจความแสดงโดยธัมมาธิฏฐาน กล่าวตามสภาพ จะพึงมีเช่นนี้.

          พระผู้มีพระภาคเจ้า  ได้พระปัญญาตรัสรู้ธรรมพิเศษ  เป็นเหตุ

ถึงความบริสุทธิ์จากกิเลสาสวะ จึงได้พระนามว่า ' อรหํ ' และตรัสรู้ ชอบโดยลำพังพระองค์เอง จึงได้พระนามว่า ' สมฺมาสมฺพุทฺโธ ' ๒ บท นี้เป็นพระนามใหญ่ของพระองค์ ได้โดยคุณนิมิตอย่างนี้แล.

                                  ปฐมโพธิกาล   
                                    ปริเฉทที่ ๖
                         ปฐมเทศนา  และ  ปฐมสาวก
          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว  เสด็จประทับอยู่

ณ ภายใต้ร่มไม้พระมหาโพธินั้น, เสวยวิมุตติสุข ( คือ สุขเกิดแต่ความ พ้นจากกิเลสาสวะ ) สิ้นกาล ๗ วัน. ครั้งนั้น พระองค์ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาทที่พระองค์ได้ทรงกำหนดรู้แล้วนั้น ตามลำดับและ ถอยกลับ ทั้งข้างเกิดทั้งข้างดับ ตลอดยาม ๓ แห่งราตรีแล้ว เปล่ง อุทาน๑ ( คือ พระวาจาที่ตรัสออกด้วยความเบิกบานพระหฤทัย ) ในยาม ละครั้ง.

          อุทานในยามต้นว่า   " เมื่อใด  ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์

ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อม สิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมว่าเกิดแต่เหตุ. "

          อุทานในยามเป็นท่ามกลางว่า   " เมื่อใด  ธรรมทั้งหลายปรากฏ

แก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่, เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย ( ว่าเป็นเหตุ สิ้นแห่งผลทั้งหลายด้วย ). "

๗๔-๖. มหาวคฺค. ป€ม. ๔๒,๓,๔.

          อุทานในยามที่สุดว่า   " เมื่อใด  ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ 

ผู้มีเพียรเพ่งอยู่, เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น. "

          ครั้นล่วง ๗  วันแล้ว  เสด็จออกจากภายใต้ร่มไม้พระมหาโพธิ

นั้น ไปยังภายใต้ร่มไม้ไทร ซึ่งเป็นที่พักแห่งคนเลี้ยงแพะ อันได้ชื่อว่า ' อชปาลนิโครธ ' อันตั้งอยู่ในบุรพทิศแห่งพระมหาโพธิ, ทรงนั่งเสวย วิมุตติสุข ๗ วัน. ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้หนึ่ง มีชาติแห่งคนมักตวาดผู้ อื่นว่า ' หึ หึ ' เป็นปรกติ มายังที่นั้น, ทูลถามถึงพราหมณ์และธรรม ซึ่งทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ว่า " บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุ เพียงเท่าไร ? และธรรมอะไรทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ ? " พระองค์ ตรัสตอบว่า " พราหมณ์ผู้ใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว ไม่มีกิเลส เป็นเครื่องขู่ผู้อื่นว่า ' หึ หึ ' เป็นคำหยาบ และไม่มีกิเลสอันย้อมจิต ให้ติดแน่นดุจน้ำฝาด มีตนสำรวมแล้ว ถึงที่สุดจบเวทแล้ว มี พรหมจรรย์ได้อยู่เสร็จแล้ว, ผู้นั้น ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้นในโลกแม้น้อย หนึ่ง ควรกล่าวถ้อยคำว่า ตนเป็นพราหมณ์โดยธรรม.๑ " พระสัมมา- สัมพุทธเจ้า ทรงแสดงสมณะและธรรมซึ่งทำบุคคลให้เป็นสมณะว่า เป็นพราหมณ์ และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ในพระพุทธศาสนา โดยโวหารพราหมณ์ ด้วยพระวาจานี้.

          อธิบายว่า  คนพวกหนึ่ง  ถือตัวว่าเป็นเหล่ากอสืบเนื่องมาแต่

๗๗. มหาวคฺค. ป€ม. ๔๕. พรหม จึงได้นามว่า ' พราหมณ์ ' แปลว่าเป็นวงศ์พรหม๑ พราหมณ์ นั้น ระวังชาติชอบตนไม่ให้ปนคละด้วยชาติอื่น แม้จะหาสามีภรรยา ก็หาแต่ในพวกคนเท่านั้น, เขาถือว่า พวกเขาเป็นอุภโตสุชาติ เกิดดี แล้วทั้ง ๒ ฝ่าย คือทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดา, เป็นสังสุทธคหณี มีครรภ์ เป็นที่ปฏิสนธิหมดจดดี, แม้ชาติอื่นที่นับว่าต่ำกว่าชาติพราหมณ์ก็ย่อม นับถือพราหมณ์, แม้พวกกษัตริย์ผู้ถือตนว่ามีชาติสูง ก็ย่อมนับถือ พราหมณ์ เช่นเจ้านายทรงนับถือพระฉะนั้น.

          พราหมณ์นั้น  มีวิธีลอยบาป  คือตั้งพิธีอย่างหนึ่งเป็นการประจำ

ปี ที่เรียกว่า ' ศิวาราตรี ' ในพิธีนั้น เขาลงอาบน้ำในแม่น้ำ สระ เกล้าชำระกายให้หมดจดแล้ว ถือว่าได้ลอยบาปไปตามกระแสน้ำแล้ว เป็นสิ้นบาปกันคราวหนึ่ง, ถึงปีก็ทำใหม่.๒ เขามีเวท คือตำหรับแสดง คำสวนอ้อนวอนเทวดาและการบูชายัญกับทั้งมนต์สำหรับเซ่น และกิจ ที่จะต้องทำในศาสนาของเขา ๓ อย่าง ชื่ออิรุพเพท๓ ๑ ยชุพเพท๔ ๑ สามเพท๕ ๑. ถ้าเติมอถัพพนเพท๖เข้าด้วย ก็เป็น ๔. พราหมณ์ผู้กำลัง เรียนเพททั้ง ๓ หรือทั้ง ๔ นั้น ชื่อ ' พรหมจารี ' ผู้ประพฤติพรหม- จรรย์ ผู้เรียนจบแล้ว ชื่อว่าถึงที่สุดเพทหรืออยู่จบพรหมจรรย์แล้ว คือเสร็จกิจเป็นเหตุอยู่ในสำนักครู. พราหมณ์ก็คือคนชาตินั้น ธรรมที่

ป€ม. ๓๑๕.   ๒. ดูพระราชพิธีสิบสองเดือน.   ๓.  ฤคเวท ตำหรับแถลงพิธี

ิธีกรรม. ๔. ยชุรเวท ตำหรับแถลงพิธีทำกิจบูชายัญ. ๕. สามเวท สวดเป็นทำนองในเวลาทำพิธีต่าง ๆ. ๖. อถรรพนเวท ตำหรับแถลง ะไล่ผีที่เข้าสิงในกายมนุษย์. ดูพิสดารในคำอธิบายและอภิธานสำหรับ รายณ์สิบปางของสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ หน้า ๑๕ พิมพ์ ครั้งที่ ๑๒๔๖๖. ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ ก็คือไตรเพท.

          ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้โวหารนั้น  แต่เปลี่ยนแสดง

สมณะและธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นสมณะว่าเป็นพราหมณ์ และธรรม ที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ ในพระพุทธศาสนา ด้วยพระวาจานั้น. พรรณนาความว่า บุคคลผู้ยังบาปให้สงบระงับจากสันดาน ชื่อว่าเป็น พราหมณ์ พราหมณ์นั้นละกิเลสที่ทำให้เป็นผู้ดุร้ายเย่อหยิ่งและย้อม จิตให้ติดแน่นในกามารมณ์แล้ว จึงชื่อว่ามีบาปอันลอยเสียแล้ว, ได้ ศึกษาจบวิทยาอย่างยอก ๓ ประการในศาสนาเสร็จแล้ว จึงชื่อว่าถึง ที่สุดจบเวทแล้ว, มีกิจที่จำจะต้องทำในการละสิ่งอันควรละ เจริญสิ่ง อันควรเจริญ ได้ทำเสร็จแล้ว ไม่ต้องเพียรเพ่งกิจอื่นอีก จึงชื่อว่า มีพรหมจรรย์ได้อยู่เสร็จแล้ว.

          ครั้นล่วง ๗  วันแล้ว  เสด็จออกจากร่มไม้อชปาลนิโครธ  ไปยัง

ไม้จิกซึ่งได้นามว่า ' มุจจลินท์ ' อันตั้งอยู่ในทิศอาคเนย์แห่งพระ มหาโพธิ, ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน ทรงเปล่งอุทาน ณ ที่นั้นว่า " ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมได้สดับแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามเป็นจริงอย่างไร, ความไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์ ทั้งหลาย และความปราศจากกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก, ความนำอัสมิมานะ คือถือว่า ตัวตนให้หมดได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง.๑ "

          พระคันถรจนาจารย์๒  แสดงประพฤติเหตุในสถานที่นี้ว่า  ฝนตก

๘๖. มหาวคฺค. ป€ม. ๔๖. ย. ๑๐. พรำ เจือด้วยหนาวตลอด ๗ วัน พระยานาคชื่อ ' มุจจลินท์ ' เข้า มาวงด้วยขนด ๗ รอบ และแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ จะป้องกันฝนและลมมิให้ถูกพระกาย, ครั้นฝนหายแล้ว คลายขนด ออก จำแลงเพศเป็นมาณพ มายืนเฝ้า ณ ที่เฉพาะพระพักตร์, พระ- องค์ได้ทรงเปล่งอุทานมีความดังกล่าวแล้ว.

          เรื่องนี้ เห็นว่าพรรณนาเทียบด้วยปางเทวรูปนาคปรก.  อันปาง

นาคปรกนั้น ไม่เฉพาะมีแต่พระพุทธรูป เทวรูปก็มี และเข้าใจว่า มีมาก่อนพระพุทธรูปด้วย. พวกที่เรียกว่านาคนั้น น่าจะได้แก่พวกที่ นับถือเทวรูปนาคปรกนี้เอง, ยังไม่เคยพบตำนาน เป็นแต่ได้เห็นรูป ที่ทำได้. เทวรูปชนิดนี้มีเทวสถานเมืองลพบุรีเป็นอันมาก ทำด้วย ศิลา องค์ใหญ่ ๆ แต่ปั้นพอกแปลงเป็นพระพุทธรูปและปิดทอง, ที่ยัง ไม่ได้แปลงหรือที่รอยปั้นหลุดออกแล้ว แลเห็นเป็นเทวรูปตามเดิม, ไม่พบตำนานแห่งเทวรูปนาคปรก จะถอดความให้ชัดกว่านี้ไม่ถนัด.

          ครั้นล่วง ๗  วันแล้ว  เสด็จออกจากร่มไม้มุจจลินท์ไปยังไม้เกต

ซึ่งได้นามว่า ' ราชายตนะ ' อันตั้งอยู่ในทิศทักษิณแห่งพระมหาโพธิ ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน. สมัยนั้น พาณิช ๒ คน ชื่อตปุสสะ ๑ ภัลลิกะ ๑ เดินทางจากอุกกลชนบทถึงที่นั้น, ได้เห็นพระผู้มีพระ- ภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นไม้ราชายตนะ จึงนำข้าวสุตตุผง ข้าว สัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวายแล้ว, ยืน ณ ที่ควร ข้างหนึ่ง. พระองค์ทรงรับแล้ว เสวยเสร็จแล้ว, พาณิช ๒ คนนั้น กราบทูลแสดงตนเป็นอุบาสก อ้างพระองค์กับพระธรรมเป็นสรณะเป็น ปฐมอุบาสกในพุทธกาลแล้วหลีกไป.

          พระคันถรจนาจารย์๑กล่าวแระพฤติเหตุในสถานที่นี้  ขยายให้

เขื่องออกไปว่า สองพาณิชมาพบพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เพราะเทวดา บอก, และในเวลานั้นบาตรทรงหามีไม่ เพราะหายเสียแต่คราวทรง รับข้าวปายาสของนางสุชาดาแล้ว ทรงดำริว่า พระตถาคตเจ้าท่าน ไม่รับบิณฑบาตด้วยพระหัตถ์ จักทำไฉนหนอ ? ท้าวจาตุมหาราช ๔ องค์ทรงทราบพระพุทธดำริแล้ว ต่างนำบาตรศิลาองค์ละใบเข้าไป ถวาย, ทรงรับและอธิษฐานเข้าเป็นใบเดียวกันแล้ว ทรงรับข้าว สัตตุ ๒ ชนิดของ ๒ พาณิชด้วยบาตรนั้น.

          เรื่องนี้  พรรณนาเทียบด้วยวัตถุอะไร  สันนิษฐานไม่ถนัด,

บางทีจะเพ่งอรรถว่าเป็นทักขิไณย ควรรับสักการะอันทายกจะพึงนำมา ถวายแต่ ๔ ทิศกระมัง ? เพราะท้าวจาตุมหาราชเป็นเจ้าแห่งทิศองค์ ละทิศ๒, และเมื่อกล่าวในตอนรับบิณฑบาตทาน ถวายบาตรเป็น เหมาะกว่าอย่างอื่น ทั้งจะได้แทนบาตรเดิมที่หายเสียด้วย.

          ความในปริเฉทนี้  เรียงตามโครงเรื่องแห่งบาลีมหาวรรคพระ

วินัย.๓ ฝ่ายพระอรรถกถาจารย์๔ แทรกความในระหว่างเสด็จอยู่ที่พระ มหาโพธิและที่อชปาลนิโคระว่า เสด็จจากพระมหาโพธิไปทางทิศ อีสาน เสด็จยืนจ้องดูพระมหาโพธิด้วยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด ๗ วัน, สถานที่นั้นเรียกว่า ' อนิมิสเจดีย์, ' เสด็จกลับจากที่นั้น

ย. ๑๒. ๒. ทิศบูรพา ท้าวธตรัฏฐ์, ทิศทักษิณ ท้าววิรุฬหก, ทิศปัจจิม

ทิศอุดร ท้าวกุเวร.   ๓.  มหาวคฺค. ป€ม. ๔๔-๗.   ๔.  สมนฺต. ตติย. ๘.

มาหยุดในระหว่างกลางแห่งพระมหาโพธิและอนิมิสเจดีย์ ทรงนิรมิต ที่จงกรมขึ้นแล้ว เสด็จจงกรม ณ ที่นั้นถ้วน ๗ วัน, สถานที่นั้น เรียกว่า ' รัตนจงกรมเจดีย์, ' ในสัปดาหะที่ ๔ เทวดานิรมิตเรือน แก้วขึ้นในทิศปัจจิมหรือในทิศพายัพแห่งพระมหาโพธิ เสด็จนั่งขัด บัลลังก์ ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกสิ้น ๗ วัน, สถานที่นี้เรียกว่า ' รัตนฆรเจดีย์ ' ต่อนี้จึงเสด็จไม้อชปาลนิโครธ, ตามนัยนี้ เพิ่มสถาน ในจังหวัดพระมหาโพธิ อันเรียกว่า ' โพธิมัณฑะ ' อีก ๓ สถาน, เพิ่มกาลเข้าอีก ๓ สัปดาหะ, รวมเป็น ๗ สถาน ๗ สัปดาหะ. การเพิ่ม สถานและกาลเข้าดั่งนี้ น่าจะเก็บเอามาจากหนังสืออื่น อันกล่าว แปลกออกไปจากมหาวรรค.

          สมัยที่ว่าเก็จประทับอยู่  ณ  สถานนั้น ๆ  ตำบลละสัปดาหะหนึ่ง

นั้น น่าใคร่ครวญอยู่บ้าง. การนับสัปดาหะนั้น คือ นับขวบวาระ ๗ อย่างที่พวกอังกฤษนับว่า วิก๑, ไทยเราเอาอย่างมาใช้เรียกว่า อาทิตย์. ครั้งบาลีการนับสัปดาหะมีแจ้งแล้ว แต่การนับวาระหาปรากฏไม่. ตรงกันข้ามกับการนับของพวกเรา ๆ รู้จักนับวาระมานานแล้ว เรียก ชื่อวาระตามชื่อ พระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวเคราะห์อื่น๒ แต่ไม่ รู้จักนับสัปดาหะ พึ่งเอาอย่างฝรั่งมาใช้เมื่อภายหลัง. วาระและ สัปดาหะเป็นคู่กัน มีต้องมีด้วยกัน, สันนิษฐานเห็นว่า ครั้งบาลี ชะรอยจะไม่ได้ใช้เรียกชื่อวาระตามพระเคราะห์ทั้ง ๗. ชะรอยจะเรียก นับสังขยาว่า วาระที่ ๑ ที่ ๒ ไปจนถึงที่ ๗ เหมือนพวกจีนนับ เป็น

 อังคาร,  พุทธ,  พฤหัสบดี, ศุกร์, เสาร์.

แต่ของเขามีสุญวาระหน ๑ จึงมีในลำดับเพียง ๖. บางทีในเรื่องเดิมจะ กล่าวว่า ที่ ๑ แห่งสัปดาหะ เสด็จประทับอยู่ที่นั่น, ที่ ๒ แห่ง สัปดาหะ เสด็จประทับอยู่ที่นี่, ภายหลังเข้าใจปนกันไปเป็นสัปดาหะ ที่ ๑ สัปดาหะที่ ๒.

          เพราะกำหนดวันเสด็จอยู่  ณ  โพธิมัณฑะมาก  ทั้งเข้าใจว่า  เสด็จ

นั่งอยู่กับที่ไม่ได้เสวยพระอาหาร, พระอรรถกถาจารย์๑จึงพรรณนาว่า ข้าวปายาสที่นางสุชาดาถวายนั้น ปันเป็นคำได้ ๔๙ คำ พอไปได้, วันละคำ. ถ้าเข้าใจว่า การเสวยพระอาหารไม่มีเหตุ ก็ไม่ได้กล่าวถึง เล่นในเวลาเลิกทุกรกิริยา วันจะนานเท่าไรก็ได้.

          ในสมัยเสด็จอยู่ที่ไม้อชปาลนิโครธนั้น  พระอรรถกถาจารย์หาได้

กล่าวถึงพราหมณ์เข้าไปเฝ้าไม่, กล่าวถึงธิดามาร ๓ คน คือ นาง ตัณหา นางอรดี นางราคา อาสาพระยามารผู้บิดา และเข้าไป ประโลมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอาการจ่าง ๆ แต่พระองค์มิได้ใยดี, ความข้อนี้ แต่งขยายเป็นบุคคลาธิษฐานจากคาถา ตรัสตอบแก่ พราหมณ์ แสดงพราหมณ์คือสมณะ และธรรมทำให้เป็นพราหมณ์ คือสมณะนั้นเอง และชื่อธิดามาร ก็บ่งอยู่แล้ว.

          แสดงความสืบอนุสนธิต่อไปว่า  ครั้นล่วง  ๗  วันแล้ว  พระผู้มี

พระภาคเจ้า เสด็จออกจากร่มไม้ราชายตนะ กลับไปประทับ ณ ร่มไม้ อชปาลนิโครธอีก, ทรงพิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วว่า เป็นคุณอันลึก ยากที่บุคคลผู้ยินดีในกามคุณจะตรัสรู้ตามได้ ท้อ

ย. ๑๓. พระหฤทัยเพื่อจะตรัสสั่งสอน, แต่อาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรง พิจารณาอีกเล่า ว่าจะมีผู้รู้ทั่วถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่ ? ก็ทรงทราบ ด้วยพระปัญญาว่า บุคคลผู้มีกิเลสน้อยเบาบางก็มี, ผู้มีกิเลสหนาก็มี, ผู้มีอินทรีย์คือศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา กล้าก็มี, ผู้มี อินทรีย์อ่อนก็มี, ผู้มีอาการอันดีก็มี, ผู้มีอาการอันชั่วก็มี, เป็นผู้จะ พึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี, เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยยากก็มี, เป็นผู้ สามารถจะรู้ได้ก็มี, เป็นผู้ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี. มีอธิบายเป็นคำ เปรียบว่า ในกออุบลคือบัวขาว ในกอปทุมคือบัวหลวง หรือใน กอบุณฑริกคือบัวขาว, ดอกบัวที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ น้ำ เลี้ยงอุปถัมภ์ไว้, บางเหล่ายังจมในน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บาง เหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ. ในดอกบัว ๓ อย่างนั้น ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำแล้ว นั้น คอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่ จักบาน ณ วันนี้, ดอกบัวที่ตั้ง อยู่เสมอน้ำนั้น จักบาน ณ วันพรุ่งนี้, ดอกบัวที่ยังไม่ขึ้นจากน้ำ ยัง ตั้งอยู่ภายในน้ำ จักบาน ณ วันต่อ ๆ ไป, ดอกบัวที่จะบานมีต่างชนิด ฉันใด เวไนยสัตว์ก็มีต่างพวกฉันนั้น; ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง มี อินทรีย์กล้า มีอาการอันดี เป็นผู้ที่จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย ก็อาจ จะรู้ธรรมพิเศษนั้นได้ฉับพลัน, ผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้น เป็นประมาณ กลาง ได้รับอบรมในปฏิปทาเป็นบุพพภาค จนมีอุปนิสัยแก่กล้า ก็สามารถจะบรรลุธรรมพิเศษนั้นดุจเดียวกัน, ผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้น ยังอ่อน หรือหาอุปนิสัยมิได้เลย ก็ยังควรได้รับแนะนำในธรรม เบื้องต่ำไปก่อน เพื่อบำรุงอุปนิสัย; เมื่อเป็นเช่นนี้ พระธรรม- เทศนาคงไม่ไร้ผล จักยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่คนทุกเหล่า, เว้นแต่ จำพวกที่ไม่ใช่เวไนย คือไม่รับแนะนำ ที่เปรียบด้วยดอกบัวอันเป็น ภักษาแห่งปลาและเต่าฉิบหายเสีย. ครั้นทรงพิจารณาด้วยพระญาณ หยั่งทราบเวไนยสัตว์ ผู้จะได้รับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาดั่งนั้น แล้ว, ได้ทรงอธิษฐานพระหฤทัยในที่จะแสดงธรรมสั่งสอนมหาชน และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดำรงพระชนม์อยู่ กว่าจะได้ประกาศพระ ศาสนาแพร่หลาย ประดิษฐานให้ถาวร สำเร็จประโยชน์แก่ชนนิกร ทุกเหล่า.

          ในอธิการนี้  พระคันถรจนาจารย์๑แสดงความว่า  ในกาลเป็น

ลำดับแห่งพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า น้อมไปเพื่อทรงขวน ขวายน้อยเสียดั่งนั้น, ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบพระพุทธอัธยาศัย แล้ว ลงมาจากพรหมโลก กราบทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรม อัางว่า สัตว์ผู้มีกิเลสเบาบางอาจรู้ได้ก็มีอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง พิจารณาสอบด้วยพระญาณ ก็ได้เห็นสัตว์มีประการต่าง ๆ เปรียบ ดุจดอกบัวต่างชนิด อันจะบานในวันเป็นลำดับดังนั้นแล้ว ก็ทรงรับ อาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม เพื่อจะทรงแสดงธรรมโปรดสัตว์.

          สันนิษฐานเห็นว่า  เรื่องนี้กล่าวขยายพระพุทธดำริปรารภการ

แสดงพระธรรมเทศนาเป็นบุคคลาธิษฐาน. พรหมนั้นมีเมตตากรุณา เป็นวิหารธรรม, กล่าวถึงท้าวสหัมบดีพรหม ก็คือกล่าวถึงพระกรุณา

ร. ม. มู. ๑๒๓๒๔. สมนฺต. ตติย. ๑๔. ในสัตวโลกนั้นเอง. กล่าวถึงพรหมกราบทูลอาราธนา ก็คือกล่าวถึง พระกรุณา ทำให้กลับทรงพระปรารภถึงการแสดงธรรมอีกเล่า. กล่าว ถึงทรงรับอาราธนาของพรหม ก็คือทรงเปิดช่องแก่พระกรุณาให้เป็น ปุเรจาริก คือไปข้างหน้า.

          ครั้นพระองค์ทรงอธิษฐานพระหฤทัย  เพื่อจะทรงแสดงพระ

ธรรมเทศนาอย่างนั้นแล้ว ทรงพระดำริหาคนผู้สมควรรับเทศนา ครั้ง แรก ทรงพระปรารภถึงอาฬารดาบสและอุททกดาบส ที่พระองค์ได้ เคยอยู่อาศัยศึกษาลัทธิของเธอในกาลก่อนว่า เธอทั้งสองเป็นผู้ฉลาด ทั้งมีกิเลสเบาบาง สามารถจะรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน, แต่เธอทั้งสอง สิ้นชีพเสียแล้ว มีความฉิบหายเสียจากคุณอันใหญ่ ถ้าได้ฟังธรรม นี้แล้วคงรู้ได้โดยพลันทีเดียว, ภายหลังทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ว่า มีอุปการะแก่พระองค์มาก ได้เป็นผู้อุปัฏฐากพระองค์เมื่อครั้งทรง บำเพ็ญทุกรกิริยา, ทรงกำหนดลงว่าจะแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ก่อน, เบื้องหน้าแต่นี้ เสด็จออกจากต้นอชปาลนิโครธ, ตามอรรถกถา๑ ในเช้าวันขึ้น ๑๔ ค่ำแห่งเดือนอาสาฬหะ คือเดือน ๘, ทรงพระดำเนิน ไปโดยทางที่จะไปยังเมืองพาราณสี อันเป็นนครหลวงแห่งกาสีชนบท, ครั้นถึงตำบลเป็นระหว่างแห่งแม่น้ำคยากับแดนพระมหาโพธิต่อกัน พบ อาชีวกผู้หนึ่งชื่ออุปกะเดินสวนทางมา, อุปกะเห็นสีพระฉวีของพระองค์ ผุดผ่อง นึกประหลาดใจ อย่างจะใคร่ทราบว่า ใครเป็นศาสดา ผู้สอนของพระองค์ จึงทูลถาม. พระองค์ตรัสตอบแสดงความว่า

ย. ๑๙. พระองค์เป็นสยัมภู ผู้เป็นเองในทางตรัสรู้ ไม่มีใครเป็นครูสั่งสอน. อุปกะไม่เชื่อ สั่นศีรษะแล้วหลีกไป. พระองค์ก็เสด็จไปโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี อันเป็นที่อยู่แห่ง ปัญจวัคคีย์นั้น ในเย็นวันนั้น.

          ฝ่ายปัญจวัคคีย์  ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล  จึง

นัดหมายกันว่า พระสมณโคดมนี้ มีความมักมาก คลายเพียร เวียน มาเพื่อความมักมากเสียแล้ว มาอยู่ ณ บัดนี้, ในพวกเราผู้ใดผู้หนึ่งไม่ พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับเธอ ไม่พึงรับบาตรจีวรของเธอเลย ก็แต่ว่า พึงตั้งอาสนะที่นั่งไว้เถิด ถ้าเธอปรารถนาก็จักนั่ง. ครั้งพระ องค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว เธอพูดกับพระองค์ด้วยโวหารไม่เคารพ คือ พูดออกพระนาม และใช้คำว่า ' อาวุโส ' พระองค์ทรงห้ามเสียแล้ว ตรัสบอกว่า เราได้ตรัสรู้อมฤตธรรมโดยชอบเองแล้ว ท่านทั้งหลาย คอยฟังเถิด เราจักสั่งสอน, ท่านทั้งหลายปฏิบัติตามเราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าสักเท่าไร ก็จะได้บรรลุอมฤตธรรมนั้น. ปัญจวัคคีย์กล่าวค้าน ลำเลิกเหตุในปางหลังว่า " อาวุโส โคดม แม้แต่ด้วยความประพฤติ อย่างนั้น ท่านยังไม่บรรลุธรรมพิเศษได้, บัดนี้ ท่านมาปฏิบัติเพื่อความ เป็นคนมักมากเสียแล้ว เหตุไฉนท่านจะบรรลุธรรมพิเศษได้เล่า ? " พระองค์ทรงตักเตือน, เธอพูดคัดค้านโต้ตอบกันอย่างนั้นถึง ๒-๓ ครั้ง พระองค์จึงตรัสเตือนเธอให้ตามระลึกถึงความหลังว่า " ท่านทั้งหลาย จำได้อยู่หรือ วาจาเช่นนี้ เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อนแต่กาลนี้ ? " ปัญจวัคคีย์นึกขึ้นได้ว่า พระวาจาเช่นนี้ไม่เคยมีเลย, จึงมีความสำคัญ ในอันจะฟังพระองค์ทรงแสดงธรรม.

          ก็คำว่าอมฤตธรรมนั้น  เป็นสำนวนเรียกตามโวหารพราหมณ์

มีเรื่องเล่าไว้ในมหาภารตะ๑ว่า ในกาลก่อน เทวดาเป็นอันมาก อยาก ได้ของเป็นเครื่องกันตาย, พากันไปทูลถามพระนารายณ์เป็นเจ้า ๆ รับสั่งให้กวนพระมหาสมุทร จะเกิดน้ำทิพย์ที่ดื่มเข้าไปแล้ว ทำผู้ดื่ม ไม่ให้ตาย, เทวดาทั้งหลายก็กวนพระมหาสมุทร ตามคำพระเป็น เจ้ารับสั่ง. เมื่อกวนนั้น ใช้ภูเขารองข้างล่างเขาหนึ่ง วางข้างบน เข้าหนึ่ง ท่าทางคล้ายโม่สำหรับโม่แป้ง และเอานาคพันเขาข้างบน ช่วยกันชัก ๒ ข้าง. อาศัยความร้อนที่เกิดเพราะความหมุนเวียนแห่ง ภูเขา ต้นไม้ทั้งปวงที่เป็นเภสัชบนภูเขา คายรสไหลลงไปในมหา- สมุทร จนข้นเป็นปลักแล้ว เกิดเป็นน้ำทิพย์ในท่ามกลางมหาสมุทร เรียกว่า ' น้ำอมฤต ' บ้าง น้ำ ' สุรามฤต ' บ้าง แปลว่าน้ำทำผู้ดื่มไม่ให้ ตายของเทวดา. เทวดาได้ดื่มน้ำอมฤตนั้นแล้ว เป็นผู้ไม่ตาย จึงได้ นามว่า ' อมระ ' แปลว่าผู้ไม่ตาย, ศัพท์นั้นเป็นเครื่องใช้เรียกเทวดา แต่ครั้งนั้นมา. ส่วนพระพุทธศาสนาแสดงว่า สิ่งใดมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา, ผู้เกิดแล้วจะไม่ตาย ไม่มีเลย ก็แต่ว่า ความรู้สึกว่า ตายหรือไม่ตาย จะมีได้ด้วยอุบาย อย่างหนึ่ง คือคนที่ไม่เคยได้สดับ ละอัสมิมานะไม่ได้ ถือมั่นสิ่งนั้น ๆ ว่าเรา ว่าของเรา, ว่าเขา ว่าของเขา, เมื่อสิ่งนั้น ๆ แตกไปดับไป ก็เข้า

ังสือแสดงเรื่องสงครามใหญ่ระหว่างปาณฑพและโกรพกษัตริย์ เพื่อแย่ง หัสตินาปุระ นครหลวงของกษัตริย์จันทวงศ์โปรพโคตร: มี ๑๘ บรรพ. ใจว่า เราตาย ของเราตาย. เขาตาย ของเขาตาย. ฝ่ายผู้ที่ได้สดับ แล้ว ทำในใจโดยชอบ ละอัสมิมานะได้ขาด ไม่ถือมั่นดังกล่าวแล้ว เมื่อสิ่งนั้น ๆ แตกดับไป ก็ไม่สำคัญว่า เราตาย ของเราตาย, เขา ตาย ของเขาตาย, เห็นเป็นแต่สภาพอันหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป, ธรรม ของผู้ที่เห็นอย่างนี้ ควรเรียกว่า ' อมฤต ' ได้ จึงใช้โวหานี้สืบมา.

          ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตรัสเตือนปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังได้

แล้ว ตามอรรถกถา๑ว่า รุ่งขึ้นวันอาสาฬหบุรณมี พระองค์ตรัสปฐม- เทศนา๒ ประกาศความตรัสรู้ของพระองค์ดั่งนี้ว่า " ภิกษุทั้งหลาย ที่ สุด ๒ อย่าง อันบรรพชิตไม่ควรเสพ, คือประกอบตนให้พัวพันด้วยสุข ในกาม เป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุตั้งบ้านตั้งเรือน เป็นของคนมีกิเลส หนา, ไม่ใช่ของคนอริยะคือผู้บริสุทธิ์ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, กามสุขัลลิกานุโยคนี้อย่าง ๑, ประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ, ไม่ทำผู้ประกอบให้เป็นอริยะ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์, อัตตกิลมถานโยคนี้อย่าง ๑, อันบรรพชิตไม่ควร เสพ. ข้อปฏิบัติเป็นทางกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง ๒ นี้ เราได้ ตรัสรู้แล้ว, ทำดวงตาคือปรีชาญาณ, เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อนิพพานคือสิ้นตัณหาเครื่องรัดรึง. มัชฌิมาปฏิปทานั้นอย่างไร ? มัชฌิมาปฏิปทานั้น คือทางมีองค์ ๘ ทำผู้ดำเนินให้เป็นอริยะอันนี้เอง. องค์ ๘ นั้นอะไรบ้าง ? องค์ ๘ นั้น คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การ

ย. ๑๙. ๒. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร. มหาวคฺค. ๔๑๗. สํ. มหาวาร ๑๙๕๒๗. งานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑. มัชฌิมาปฏิปทานี้แล เราได้ตรัสรู้แล้ว ทำดวงตาคือ ปรีชาญาณ, เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ รู้ดี เพื่อนิพพาน. ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ เป็นของจริงของอริยบุคคล คือทุกข์ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์, ความแห้งใจ ความรำพัน ความเจ็บไข้ ความเสียใจ ความคับ ใจ เป็นทุกข์ละอย่าง ๆ, ความประจวบด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็น ทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์, ความปรารถนา ไม่ได้สมหวัง เป็นทุกข์ ข้อนี้ ก็เป็นของจริงของอริยบุคคล คือเหตุ ให้ทุกข์เกิดขึ้น ตัณหาคือความทะยานอยากอันใด ทำความเกิด อีก เป็นไปกับความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน เพลินนักใน อารมณ์นั้น ๆ. ตัณหานี้เป็นอย่างไร ? กามตัณหา คือความทะยาน อย่าในอารมณ์ที่ใคร่ ๑ ภวตัณหา คือความทะยานอยากในความมี ความเป็น ๑ วิภวตัณหา คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น ๑ ตัณหา ๓ ประการนี้แล เป็นเหตุให้ทุกข์เกิด. ข้อนี้ ก็เป็นของจริงของ อริยบุคคล คือความดับทุกข์ ความดับด้วยไม่ติดย้อมอยู่ได้ โดย ไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ความสละ ความวาง ความปล่อย ซึ่ง ตัณหานั้นแล ความที่ตัณหานั้นแล ไม่พัวพันติดอยู่ เป็นความดับ ทุกข์. ข้อนี้ ก็เป็นของจริงของอริยบุคคล คือทางถึงความดับทุกข์. ทางมีองค์ ๘ เป็นอริยะนี้แล คือปัญญาเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑ เป็นทางถึงความดับทุกข์, ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ใน ธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ข้อนี้ ทุกข์ และ ทุกข์นี้ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา และเราก็ได้กำหนดรู้แล้ว, ข้อนี้ เหตุให้ทุกข์เกิด ๆ นี้ควรละเสีย และเราก็ได้ละเสียแล้ว, ข้อนี้ ความ ดับทุกข์ ๆ นี้ควรทำให้แจ้งชัด และเราก็ได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว, ข้อนี้ ทางถึงความดับทุกข์ ๆ นี้ควรทำให้เกิด และเราก็ได้ทำให้เกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้อันเห็นตามเป็นแล้วอย่างไร ในอริย- สัจ ๔ เหล่านี้ของเรา อันมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่ หมดจดเพียงใดแล้ว เรายังไม่อาจยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ไม่มีใครสู้ในโลกเพียงนั้น. เมื่อใด ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นแล้ว อย่างหร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเราหมดจดดีแล้ว, เมื่อนั้น เรา อาจยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรูเองโดยชอบ ไม่มีใครสู้ในโลก ก็แล ปัญญาอันรู้อันเห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า " ความหลุดพ้นของเราไม่ กลับกำเริบ ความเกิดครั้งนี้เป็นหนที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก. "

          เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตรัสพระธรรมเทศนาอยู่  ธรรมจักษุ

คือดวงตาอันเห็นธรรม ปราศจากธุลีมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน โกณฑัญญะว่า " สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้ง หมดมีความดับเป็นธรรมดา๑. " พระองค์ทรงทราบว่าท่านโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานว่า ' โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ '

นิดนี้ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระโสดาปัตติมรรค, ท่านผู้ได้เป็น ว. ว. เพราะอุทานว่า ' อฺาสิ ๆ ' ที่เป็นภาษามคธ แปลว่า ' ได้รู้แล้ว ๆ ' คำว่า ' อัญญาโกณทัญญะ ' จึงได้เป็นชื่อของท่าน ตั้งแต่กาลนั้นมา.

          ในพระธรรมเทศนาทีแรกนี้  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงยกที่สุด

๒ อย่างขึ้นแสดงว่า อันบรรพชิตไม่ควรเสพ ก่อนเรื่องอื่น เพราะ เป็นโทษสำคัญกว่าโทษอย่างอื่น ทำบรรพชิตไม่ให้บรรลุธรรมพิเศษ ได้, และบรรพชิตในครั้งนั้น หมกมุ่นอยู่ในที่สุดทั้ง ๒ อย่างนั้น ก็ คงมีเป็นพื้น.

          มีเรื่องเล่าในหนังสือมหาภารตะ  ของพวกพราหมณ์ว่า  ฤษี

ทั้งหลายล้วนเป็นคนมีเมียมีลูกทั้งนั้น, เพราะเขาถือกันว่า ชายใดไม่มี ลูกชาย ชายนั้นตายไปต้องตกขุมนรกอันหนึ่ง เรียกว่า ' ปุตตะ, ' ถ้ามีลูกชาย ๆ นั้นช่วยป้องกันไม่ให้ตกขุมนรกนั้นได้, ศัพท์ว่า ' บุตร ' จึงได้เป็นเครื่องเรียกลูกผู้ชายสืบว่า แปลว่าผู้ป้องกันพ่อจากขุมนรก ซึ่งเรียกว่า ' ปุตตะ. ' ใช่แต่เท่านั้น ฤษีทั้งหลายนั้น เป็นที่นับถือ ว่าเป็นผู้ให้สวัสดิมงคลได้ด้วย, ถ้าลูกสาวของใคร จะแต่งงานกับผู้ใด ผู้หนึ่ง, มารดาบิดาต้องขอสวัสดิมงคลแก่ฤษี ซึ่งเป็นที่นับถือของตน ก่อนแล้วจึงแต่งงานต่อภายหลัง. ถ้าได้เช่นนี้ เป็นมงคลอันใหญ่ หญิงนั้นเป็นคนมีหน้ามีตา ไม่เป็นที่รังเกียจแม้แห่งผู้เป็นจะสามี. ได้ยิน ว่า ประเพณีนี้ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสอินเดีย เมื่อพุทธศก ๒๔๑๔ ก็ยังมีอยู่. ถึงจะบูชายัญและบำเพ็ญเพียร ประพฤติวัตรทรมานร่างกาย ก็อยู่ ในหวังผลล้วนแต่กามคุณ ๆ นี้ เป็นมลทินเครื่องเหนี่ยวใจไว้ให้ท้อ ถอย ไม่ให้เพียรเพื่อคุณเบื้องหน้า. ส่วนการทรมานร่างกายนั้นเล่า ก็เป็นแต่ให้ลำบากเปล่า ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรได้ตามที่ว่า เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงประพฤติแล้วนั้น.

          พระองค์ทรงแสดงที่สุด ๒  อย่างว่า  อันบรรพชิตไม่ควรเสพ

อย่างนี้แล้ว, ทรงแสดงมัชฌิมปฏิปทา ข้อปฏิบัติเป็นกลางมีองค์ ๘ มีปัญญาอันเห็นชอบเป็นต้น อันไม่หย่อนนักยิ่งนัก ที่บรรพชิตควร เสพ ว่าเป็นทางที่จะให้บรรลุธรรมพิเศษได้สืบไป. มีคำเปรียบว่า เหมือนสายพิณ ที่หย่อนนักก็ดีดไม่ดัง ที่ตึงนักดีดเข้ามักขาด พอดี จึงจะดีดดังและไม่ขาด ฉันใด, ข้อปฏิบัติของบรรพชิตก็ฉันนั้น, ถ้า บรรพชิตปฏิบัติท้อถอยหรือแก่กล้าเกินนัก ก็ไม่สามารถจะบรรลุธรรม พิเศษได้ ต่อปฏิบัติเป็นกลาง ๆ ไม่ยิ่งนัก ไม่หย่อนนัก จึงสมารถ จะบรรลุธรรมพิเศษนั้นได้. นี่แลควรเห็นว่า พระพุทธศาสนาคำสอน ของพระพุทธเจ้าเป็นแต่กลาง ๆ เท่านั้น.

          บรรพชิตมาปฏิบัติเป็นกลาง ๆ  อย่างนั้นแล้ว  ควรบรรลุธรรม

พิเศษอย่างไร ? จึงทรงแสดงของจริง ๔ อย่าง, แล้วตรัสว่า พระองค์ ได้รู้เห็นของจริง ๔ อย่างนั้นแล้ว เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างที่ผู้อื่นจะ ดำเนินตาม. ก็การรู้ของจริงนั้นจะมีผลอย่างไร ? จึงทรงแสดงผลคือ วิมุตติ ความพ้นจากกิเลสอันเป็นเหตุก่อทุกข์ และสิ้นชาติไม่ต้อง เกิดอีก ในที่สุด.

          ในพระธรรมเทศนานี้  ใช้อาลปนะ  คือ  บทตรัสเรียกปัญจวัคคีย์

ว่า ' ภิกษุ, ' มีทางสันนิษฐาน ๒ ประการ คือพระคันถรจนาจารย์เรียง ตามแบบโวหารแห่งเทศนาอื่น, ไม่เช่นนั้น ให้สันนิษฐานว่าบรรพชิต มีชื่อเรียกหลายชนิด เช่น ฤษี ดาบส ชฎิล ปริพาชก อาชีวก ภิกขุ และอื่น ๆ อีก ตามธรรมเนียมที่ประพฤติอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า และปัญจวัคคีย์ ถือบรรพชาตามแบบของพวกนักบวช อันได้ชื่อว่า ภิกขุ และทรงรับเอาชื่อนี้มาตรัสเรียกผู้บวชในพระศาสนานี้.

          ในอธิการนี้  พระคันถรจนาจารย์แสดงว่า  เมื่อจบเทศนา  เทวดา

พากันสรรเสริญพระธรรมเทศนาเอิกเกริก ป่าวประกาศให้ได้ยินต่อ ๆ กันขึ้นไป, จนตลอดสวรรค์ทั้งชั้นเทวโลก ทั้งชั้นพรหมโลก, และ พรรณนาอัศจรรย์อันเป็นไปในสมัยนั้น คือ แผ่นดินไหว และเกิด แสงสว่างอย่างใหญ่ ล่วงอานุภาพแห่งเทวดา. อัศจรรย์มีแผ่นดินไหว เป็นอาทิ ท่านพรรณนาไว้ ทั้งในคราวประสูติ คราวตรัสรู้ และ คราวแสดงพระธรรมจักรปฐมเทศนานี้, เป็นแต่กล่าวมากออกไปกว่า นี้อีกนี้มี เช่นกลองทิพย์บันลือลั่น คนตาบอกอาจแลเห็น คนหูหนวก อาจได้ยิน คนต้องกรรมกรณ์มีเครื่องจำหลุด ไฟนรกดัง ให้สัตว์ที่ ทุกข์นั้นสร่างไปชั่วคราว. ท่านกล่าวดังนี้ เพื่อแสดงบุรพนิมิต แห่งอุบัติตรัสรู้และเทศนาว่า จะยังข่าวให้ระบือกระฉ่อน ที่เปรียบ ด้วยแผ่นดินไหวบ้าง กองทิพย์บันลือลั่นบ้าง เทวดาป่าวประกาศ บ้าง, จะให้คนทั้งหลายได้ปัญญารู้เห็น ที่เปรียบด้วยเกิดแสงสว่าง คนตาบอดแลเห็น คนหูหนวดได้ยิน, จะเปลื้องคนไม่ให้หลงติดอยู่ ในกามารมณ์ ที่เปรียบด้วยเครื่องจำหลุด, จะให้สุขแก่สัตว์ ที่เปรียบ ด้วยไฟนรกดับ, ล้วนเป็นอุปมาบุคคลาธิฏฐานทั้งนั้น. และปฐม- เทศนานี้ เรียกว่า ' พระธรรมจักร ' ก็เปรียบด้วยจักรรัตนะ, กล่าว คือ ตัวอำนาจแห่งพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้นเอง.

          ฝ่ายท่านโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว  สิ้นความสงสัย  ถึงความ

เป็นคนแกล้วกล้า ปราศจากครั่นคร้ามในอันประพฤติตามคำสั่งสอน ของพระศาสดา เป็นคนมีความเชื่อในพุทธศาสนาด้วยตนเองไม่ต้อง เชื่อแต่ผู้อื่น, จึงมูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัม- พุทธเจ้า, พระองค์ทรงอนุญาตให้ท่านโกณฑัญญะเป็นภิกษุ ในพระ ธรรมวินัยนี้ด้วยพระวาจาว่า " ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรา กล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ เถิด, " พระวาจานั้นก็ให้สำเร็จอุปสมบทของท่าน.

          ในครั้งนั้นยังไม่ได้ทรงอนุญาตวิธีอุปสมบทอย่างอื่น  แต่เป็น

ทรงอนุญาตแก่ผู้ใดด้วยพระวาจาเช่นนั้น ผู้นั้นก็เป็นภิกษุในพระธรรม วินัยนี้. อุปสมบทอย่างนี้เรียกว่า ' เอหิภิขุอุปสัมปทา, ' ส่วนผู้ที่ได้ รับอนุญาตเป็นภิกษุด้วยพระวาจาเช่นนี้ เรียกว่า ' เอหิภิกขุ, ' พระ ศาสดาทรงพระอนุญาตให้พระโกณฑัญญะเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ด้วยพระวาจาเช่นนั้น เป็นครั้งแรกในพระพุทธกาล.

          จำเดิมแต่กาลนั้นมา  พระองค์เสด็จจำพรรษาอยู่  ณ  ป่าอิสิปตน-

มฤคทายวัน, ทรงสั่งสอนบรรพชิตทั้ง ๔ ที่เหลือนั้น ด้วยพระธรรม- เทศนาเบ็ดเตล็ด ตามสมควรแก่อัธยาศัย. ท่านวัปปะและท่านภัททิยะ ได้เห็นธรรมอย่างพระอัญญาโกณฑัญญะแล้วทูลขออุปสมบท, พระ ศาสดาก็ประทานอุปสมบทแก่ท่านทั้ง ๒ นั้น เหมือนอย่างประทานแก่ พระอัญญาโกณฑัญญะ. ครั้งนั้นสาวกทั้ง ๓. เที่ยวบิณฑบาต นำ อาหารมาเลี้ยงกันทั้ง ๖ องค์. ภายหลังท่านมหานามและท่านอัสสชิ ได้เห็นธรรมเหมือนสาวก ๓ องค์แล้ว ทูลขออุปสมบท, พระศาสดา ก็ทรงอนุญาตอุปสมบทแก่ท่านทั้ง ๒ นั้น เหมือนอย่างทรงอนุญาตแก่ สาวกทั้ง ๓.๑

          เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์ตั้งอยู่ในที่แห่งสาวกแล้ว  มีอินทรีย์มีศรัทธา

เป็นต้นแก่กล้า ควรเจริญวิปัสสนาเพื่อวิมุตติแล้ว. ตามอรรถกถา๒ ครั้นถึงวันแรม ๕ ค่ำแห่งเดือนสาวนะ๓ คือเดือน ๙ พระศาสดา ตรัสพระธรรมเทศนา๔สั่งสอนว่า " ภิกษุทั้งหลาย รูป คือร่างกาย, เวทนา คือ ความรู้สุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์, สัญญาคือ ความจำ, สังขาร คือ สภาพที่เกิดกับใจปรุงใจให้ดีบ้าง ชั่วบ้าง, และวิญญาณ คือ ใจ. ๕ ขันธ์นี้เป็นอนัตตาไม่ใช่ตน, ถ้าขันธ์ทั้ง ๕ นี้จักได้เป็น ตนแล้ว ขันธ์ ๕ นี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่อความลำบาก, และผู้ที่ถือว่า เป็นเจ้าของก็จะพึงปรารถนาได้ในขันธ์ ๕ นี้ตามใจหวังว่า ' จงเป็น อย่างนี้เถิด อย่าเป็นอย่างนั้นเลย, ' เหตุใดขันธ์ ๕ นี้ไม่ใช่ตน เหตุนั้น ขันธ์ ๕ นี้ จึงเป็นไปเพื่อความลำบาก, และผู้ที่ถือว่าเป็นเจ้าของ ย่อมปรารถนาได้ได้ในขันธ์ ๕ นี้ตามใจหวังว่า ' จงเป็นอย่างนี้เถิด

ิย. ๒๕๙. สมนฺต. ตติย. ๑๙ ว่า สำเร็จวันละองค์ตามลำดับดังนี้ พระวัปปะ ภัททิยะ แรม ๒ ค่ำ, พระมหานามะ แรม ๓ ค่ำ. พระอัสสชิ แรม ๔ ค่ำ. ิย. ๑๕๙. สมนฺต. ตติย. ๑๙. ๓. นับข้างแรมเป็นต้นเดือน. ว. ว. เท่ากับ

๘ ไทย.   ๔.  อนัตตลักขณสูตร. มหาวคฺค. ป€ม. ๔๒๔. สํ. ขนฺธ ๑๗๘๒.

อย่าเป็นอย่างนั้นเลย. '

          พระองค์ทรงแสดงขันธ์ ๕  ว่าเป็นอนัตตา,  สอนภิกษุปัญจวัคคีย์

ให้พิจารณาแยกกายใจอันนี้ออกเป็นขันธ์ ๕ เป็นทางวิปัสสนาอย่างนี้ แล้ว ตรัสถามความเห็นของท่านทั้ง ๕ ว่า " ภิกษุทั้งหลาย ท่าน สำคัญความนั้นเป็นไฉน ? ขันธ์ ๕ นี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง ? "

          " ไม่เที่ยง  พระเจาข้า "
          " ก็สิ่งใดไม่เที่ยง  สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ? "
          " เป็นทุกข์  พระเจ้าข้า. "
          " ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา,  ควร

หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า ' นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตนของเรา ? "

          " ไม่อย่างนั้น  พระเจ้าข้า. "
          ต่อไปนี้  พระองค์ตรัสสอนสาวกทั้ง ๕  ให้ละความถือมั่นใน

ขันธ์ ๕ นั้น ต่อพระธรรมเทศนาข้างต้นว่า " ภิกษุทั้งหลาย เหตุนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง, ล่วงไปแล้ว ก็ดี ยังไม่มีมาก็ดี เกิดขึ้นจำเพาะบัดนี้ก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี งามก็ดี ในที่ไกลก็ดี, ในที่ใกล้ก็ดี, ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามเป็นแล้วอย่างไร ดั่งนี้ว่า ' นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา ' ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ ฟังแล้ว เมื่อเห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ครั้นเบื่อหน่ายก็ปราศจากความกำหนัดรักใคร่๑ เพราะปราศจากความกำหนัดรักใคร่ จิตก็พ้นจากความถือมั่น, เมื่อจิต พ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่าพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้นรู้ชัดว่าความเกิดสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ได้ประพฤติจบแล้ว, กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่น อีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. เมือพระศาสดาตรัสพระธรรมเทศนา แสดงอนัตตลักขณะอยู่ จิตของภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้พิจารณาภูมิธรรมตาม กระแสเทศนานั้น พ้นแล้วจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปทาน.๑

          ครั้งนั้น  มีพระอรหันต์ขึ้นในโลก ๖  องค์  คือ  พระศาสดา ๑

สาวก ๕ ด้วยประการฉะนี้.

สำเร็จพระอรหันต์.  ว. ว.
                                   ปริเฉทที่ ๗  
                     ส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา๑
          สมัยนั้น  มีกุลบุตรผู้หนึ่งชื่อยสะ  เป็นบุตรเศรษฐีในเมือง

พาราณสี มีเรือน ๓ หลัง เป็นที่อยู่ใน ๓ ฤดู, ครั้งนั้นเป็นฤดูฝน ยสกุลบุตรอยู่ในปราสาทสำหรับฤดู, บำเรอด้วยดนตรีล้วนแต่สตรี ประโคม ไม่มีบุรุษเจือปน. ค่ำวันหนึ่ง ยสกุลบุตรนอนหลับก่อน หมู่ ชนบริวารหลับต่อภายหลัง, แสงไฟตามสว่างอยู่. ยสกุลบุตรตื่นขึ้น เห็นหมู่ชนบริวารนอนหลับ มีอาการพิกลต่าง ๆ บางนางมีพิณตกอยู่ ที่รักแร้, บางนางมีตะโพนวางอยู่ข้างคอ, บางนางมีเปิงมางตกอยู่ ณ อก, บางนางสยายผม, บางนางมีเขฬะไหล, บางนางบ่นละเมอ ต่าง ๆ, ไม่เป็นที่ตั้งแหงความยินดีเหมือนก่อน ๆ, หมู่ชนบริวารนั้น ปรากฏแก่ยสกุลบุตรดุจซากศพที่ทิ้งอยู่ในป่าช้า. ครั้นยสกุลบุตรได้ เห็นแล้ว เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย ออกอุทานว่า " ที่นี่ วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ " ยสกุลบุตรรำคาญใจ จึงสวม รองเท้าเดินออกจากประตูเมือง ตรงไปทางที่จะไปป่าอิสิปตน- มฤคทายวัน.

          ในเวลานั้นจวนใกล้รุ่ง  พระศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง

ทรงได้ยินเสียงยสกุลบุตรออกอุทานนั้น เดินมายังที่ใกล้ จึงตรัส เรียกว่า " ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ท่านมานี่เถิด นั่งลงเถิด

€ม. ๔๒๘. เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน. " ยสกุลบุตรได้ยินอย่างนั้นแล้ว คิดว่า ได้ยินว่า ' ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ' จึงถอดรองเท้าเสีย เข้าไป ใกล้ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง.

          พระศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา  คือถ้อยคำที่กล่าวโดย 

ลำดับ, พรรณนาทานการให้ก่อนแล้ว, พรรณนาศีล ความรักษา กายวาจาเรียบร้อยเป็นลำดับแห่งทาน, พรรณนาสวรรค์ คือกามคุณ ที่บุคคลใคร่ ซึ่งจะพึงได้พึงถึงด้วยกรรมอันดี คือทานและศีลเป็น ลำดับแห่งศีล. พรรณนาโทษ คือความเป็นของไม่ยั่งยืน และ ประกอบด้วยความคับแค้นแห่งกามซึ่งได้ชื่อว่าสวรรค์นั้น เป็นลำดับ แห่งสวรรค์, พรรณนาอานิสงส์แห่งความออกไปจากกาม เป็นลำดับ แห่งโทษของกาม; ฟอกจิตยสกุลบุตรให้ห่างไกลจากความยินดีในกาม, ควรรับธรรมเทศนาให้เกิดดวงตาเห็นธรรม เหมือนผ้าที่ปราศจาก มลทินควรรับน้ำย้อมได้ฉะนั้น, แล้วจึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระองค์ยกขึ้นแสดงเอง คืออริยสัจ ๔ ทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความดับทุกข์ และทางดำเนินถึงความดับทุกข์ ยสกุลบุตรได้เห็น ธรรมพิเศษ ณ ที่นั่งนั้นแล้ว, ภายหลังพิจารณาภูมิธรรมที่พระศาสดา ตรัสสอนเศรษฐีผู้บิดาอีกวาระหนึ่ง จิตพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่น ด้วยอุปาทาน.

          ฝ่ายมารดาของยสกุลบุตร  เวลาเช้าขึ้นไปบนเรือนไม่เห็นลูก  จึง

บอกแก่เศรษฐีผู้สามีให้ทราบ, เศรษฐีใช้คนให้ไปตามหาใน ๔ ทิศ ส่วนตนออกเที่ยวหาด้วย, เผอิญเดินไปในทางที่ไปป่าอิสิปตน- มฤคทายวัน ได้เห็นรองเท้าของลูกตั้งอยู่ ณ ที่นั้นแล้วตามเข้าไปใกล้, ครั้นเศรษฐีเข้าไปถึงแล้ว พระศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพีกถาและ อริยสัจ ๔ ให้เศรษฐีได้เห็นธรรมแล้ว, เศรษฐีทูลสรรเสริญธรรม- เทศนา แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกว่า " ข้าพเจ้าถึงพระองค์กับพระ ธรรม และภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะที่ระลึกที่นับถือ, ขอพระองค์จงทรง จำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป, " เศรษฐีนั้นได้เป็นอุบาสก อ้างพระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ ครบทั้ง ๓ เป็นสรณะ ก่อนกว่าชนทั้งปวงในโลก. เศรษฐีผู้บิดายังไม่ทราบว่า ยสกุลบุตรมีอาสวะสิ้นแล้ว จึงบอก ความว่า " พ่อยสะ มารดาของเจ้าเศร้าโศกพิไรรำพัน, เจ้าจงให้ ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด. " ยสกุลบุตรแลดูพระศาสดา พระศาสดา จึงตรัสแก่เศรษฐีให้ทราบว่า " ยสกุลบุตรได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ไม่ใช่ผู้ควรจะกลับคืนไปครองฆราวาสอีก. " เศรษฐีทูลสรรเสริญว่า " เป็นลาภของยสกุลบุตรแล้ว " ทูลเชิญเสด็จพระศาสดากับยสกุลบุตร เป็นผู้ตามเสด็จเพื่อทรงรับภัตตาหารในเช้าวันนั้น, ครั้นทราบว่าทรง รับด้วยพระอาการดุษณีภาพแล้ว ลุกจากที่นั่งแล้วถวายอภิวาทแล้ว ทำประทักษิณ ( คือเดินเวียนข้างขวา ) แล้วหลีกไป.

          เมื่อเศรษฐีไปแล้วไม่ช้า  ยสกุลบุตรทูลขออุปสมบท.  พระ

ศาสดาก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุ ด้วยพระวาจาว่า " ท่านจงเป็น ภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ เถิด. " ในที่นี้ไม่ตรัสว่า ' เพื่อจะทำที่สุดทุกข์โดยรอบ ' เพราะพระ ยสะได้ถึงที่สุดทุกข์แล้ว. สมัยนั้นมีพระอรหันต์ขึ้นในโลกเป็น ๗ ทั้ง พระยสะ.

          ในเวลาเช้าวันนั้น  พระศาสดากับพระยสะตามเสด็จ  เสด็จไป

ถึงเรือนเศรษฐีนั้นแล้ว ทรงนั่ง ณ อาสนะที่แต่งไว้ถวาย. มารดาและ ภรรยาด่าของพระยสะเข้าไปเฝ้า, พระองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ ให้สตรีทั้ง ๒ นั้นเห็นธรรมแล้ว, สตรีทั้ง ๒ นั้นทูล สรรเสริญพระธรรมเทศนาแล้ว แสดงตนเป็นอุบาสิกาถึงพระรัตนตรัย เป็นสรณะโดยนัยหนหลัง ต่างแต่เป็นผู้ชายเรียกว่า ' อุบาสก ' เป็น ผู้หญิงเรียกว่า ' อุบาสิกา, ' เท่านั้น, สตรีทั้ง ๒ นั้นได้เป็นอุบาสิกาขึ้น ในโลกก่อนกว่าหญิงอื่น. ครั้นถึงเวลา มารดาบิดาและภรรยาเก่าแห่ง พระยสะ ก็อังคาสพระศาสดาและพระยสะ ด้วยของเคี้ยวของฉันอัน ประณีตโดยเคารพ ด้วยมือของตน. ครั้นฉันเสร็จแล้ว พระศาสดา ตรัสพระธรรมเทศนาสั่งสอนชนทั้ง ๓ ให้เห็น ให้สมาทาน ให้อาจ หาญ ให้รื่นเริงแล้ว เสด็จกลับไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน.

          ฝ่ายสหายของพระยสะ ๔  คน  ชื่อวิมล ๑  สุพาหุ ๑  ปุณณชิ ๑

ควัมปติ ๑ เป็นบุตรแห่งเศรษฐีสืบ ๆ กันมาในเมืองพาราณสี, ได้ ทราบข่าวว่า ยสกุลบุตรออกบวชแล้ว, จึงคิดว่าธรรมวินัยที่ยส- กุลบุตรออกบวชนั้น จักไม่เลวทรามแน่แล้ว คงเป็นธรรมวินัยอัน ประเสริฐ, ครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว พร้อมกันทั้ง ๔ คนไปหาพระยสะ พระยสะก็พาสหายทั้ง ๔ คนนั้นไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอให้ทรงสั่งสอน. พระองค์ทรงสั่งสอนให้กุลบุตรทั้ง ๔ นั้นเห็นธรรมแล้ว ประทาน อุปสมบทอนุญาตให้เป็นภิกษุแล้ว ทรงสั่งสอนให้บรรลุพระอรหัตตผล. ครั้งนั้นมีพระอรหันต์ขึ้นในโลก ๑๑ องค์.

          ฝ่ายสหายของพระยสะอีก  ๕๐  คนเป็นชาวชนบท  ได้ทราบข่าว

นั้นแล้ว คิดเหมือนหนหลัง พากันบวชตามแล้ว ได้สำเร็จพระ- อรหัตตผลด้วยกันสิ้นโดยนัยก่อน, บรรจบเป็นพระอรหันต์ ๖๑ องค์.

          เมื่อสาวกมีมาก  พอจะส่งไปเที่ยวประกาศพระศาสนา  เพื่อ

เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่หมู่ชนได้แล้ว พระศาสดาจึงตรัสเรียกสาวก ๖๐ องค์นั้นพร้อมกันแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เราได้พ้น แล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์, แม้ ท่านทั้งหลายก็เหมือนกัน. ท่านทั้งหลายจงเที่ยวไปในชนบท เพื่อ ประโยชน์และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก, แต่อย่าไปรวมกัน ๒ รูป โดยทางเดียวกัน, จงแสดงธรรมมีคุณในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด, จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ, อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสบังปัญญาดุจธุลีในจักษุน้อยเป็น ปกติมีอยู่. เพราะโทษที่ไม่ได้ฟังธรรม ย่อมเสื่อมจากคุณที่จะพึงได้ พึงถึง, ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมีอยู่, แม้เราก็จะไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อจะแสดงธรรม. "

          สาวก ๖๐  นั้นรับสั่งแล้ว  ก็เที่ยวไปในชนบทนั้น ๆ  แต่องค์

เดียว ๆ แสดงธรรมประกาศพระศาสนา ให้กุลบุตรที่มีอุปนิสัย ในประเทศนั้น ๆ ได้ความเชื่อในพระพุทธศาสนา น้อมอัธยาศัยใน อุปสมบทแล้ว ไม่สามารถจะให้อุปสมบทด้วยตนเองได้, จึงพา กุลบุตรเหล่านั้นมา ด้วยหวังจะทูลพระศาสดาประทานอุปสมบท, ทั้ง ภิกษุผู้อาจารย์และกุลบุตรเหล่านั้น ได้ความลำบากในทางกันดารเป็น ต้น. พระศาสดาทรงดำริถึงความลำบากนั้นแล้ว ยกขึ้นเป็นเหตุทรง อนุญาตว่า " เราอนุญาต, บัดนี้ท่านทั้งหลายจงให้กุลบุตรอุปสมบท ในทิศนั้น ๆ ในชนบทนั้น ๆ เองเถิด, กุลบุตรนั้น ท่านทั้งหลายพึง ให้อุปสมบทอย่างนี้ : พึงให้ปลงผมและหนวดเสียก่อนแล้ว ให้นุ่งผ้า ที่ย้อมด้วยน้ำฝาดแล้ว, ให้นั่งกระโหย่งประณมมือแล้ว ให้ไหว้เท้า ภิกษุทั้งหลายแล้ว สอนให้ว่าตามไปว่า ' ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ, ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ, ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็น สรณะ ฯ ล ฯ " ดั่งนี้. พระศาสดา ทรงอนุญาตอุปสมบทด้วย ไตรสรณคมน์ เป็นครั้งแรกในพระพุทธศาสนาอย่างนี้. ตั้งแต่กาล นั้นมีวิธีอุปสมบทเป็น ๒ คือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ที่พระศาสดาทรง เอง ๑ และติสรณคมนอุปสัมปทา ที่ทรงอนุญาตแก่สาวก ๑.

          ครั้นพระศาสดา  เสด็จอยู่ในเมืองพาราณสีพอควรแก่ความ

ต้องการแล้ว, เสด็จพระพุทธดำเนินไปโดยหนทางที่จะไปยังตำบล อุรุเวลา เสด็จแวะออกจากทางแล้วเข้าไปพักอยู่ที่ไร่ฝ้าย ทรงนั่ง ในร่มไม้ตำบลหนึ่ง. สมัยนั้น สหาย ๓๐ คนซึ่งเรียก ' ภัททวคคีย์ ' แปลว่า ' พวกเจริญ ' พร้อมทั้งภรรยาเล่นอยู่ ณ ที่นั้น. ภรรยาของ สหายผู้หนึ่งไม่มี สหายทั้งหลายจึงนำหญิงแพศยามาเพื่อประโยชน์ แก่สหายนั้น. ครั้นสหายเหล่านั้นเผลอไป มิได้เอาใจใส่ระวังรักษา หญิงแพศยาลักได้ห่อเครื่องประดับแล้วหนีไป. สหายเหล่านั้นชวน กันเที่ยวหาหญิงแพศยานั้น ไปถึงที่พระศาสดาประทับอยู่ เข้าใกล้ แล้วถามว่า " พระผู้มีพระภาคเห็นหญิงผู้หนึ่งบ้างหรือ ? " " กุมาร ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะต้องการอะไรด้วยสตรีเล่า " สหายทั้งหลาย นั้นเล่าความตั้งแต่ต้น จนถึงหญิงแพศยานั้นลักห่อเครื่องประดับแล้ว หนีไปถวายให้ทรงทราบ. พระองค์ตรัสถามว่า " กุมารทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะเห็นอย่างไร ท่านจะพึงแสวงหาหญิงนั้นดีกว่า หรือ จะพึงแสวงหาตนดีกว่า ? " " ข้าพเจ้าจะพึงแสวงหาตนนั่นแลดีกว่า พระเจ้าข้า " " ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายนั่งลงเถิด เราจักแสดง ธรรมแก่ท่าน. " สหายทั้งหลายนั้นทูลรับแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง. พระศาสดาตรัสอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ ให้สหาย ๓๐ คน นั้นเกิดดวงตาเห็นธรรมแล้ว ประทานอุปสมบทแล้ว, ส่งไปในทิศ นั้น ๆ เพื่อแสดงธรรมประกาศพระศาสนาเหมือนนัยหนหลัง.

          ส่วนพระองค์เสด็จไปโดยลำดับถึงตำบลอุรุเวลา  ซึ่งเป็นที่

อาศัยอยู่แห่งชฎิล ๓ คนพี่น้องกันทั้งหมู่ศิษย์บริวาร, อุรุเวลกัสสปะ เป็นพี่ชายใหญ่ นทีกัสสปะเป็นน้องชายกลาง คยากัสสปะเป็นน้อง ชายน้อย, ทั้ง ๓ คนพี่น้องนี้สร้างอาศรมอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เป็น ๓ สถานตามลำดับกัน. ครั้นพระศาสดาเสด็จถึงอุรุเวลาประเทศ แล้ว, ทรงทรมานอุรุเวลกัสสปะด้วยวิธีเครื่องทรมานต่าง ๆ แสดง ให้เห็นว่า ลัทธิของอุรุเวลกัสสปะนั้นไม่มีแก่นสาร, อุรุเวลกัสสปะ ถือตัวว่าตนเป็นผู้วิเศษฉันใด ๆ ตนก็หาเป็นฉันนั้น ๆ ไม่ จน อุรุเวลกัสสปะมีความสลดใจ, พร้อมทั้งศิษย์บริวารลอยผมที่เกล้า เป็นชฎาและบริขารเครื่องพรตเครื่องบูชาเพลิง ของชฎิลเสียในแม่น้ำ แล้ว ทูลขออุปสมบท. พระศาสดาก็ประทานอุปสมบท อนุญาต ให้เป็นภิกษุทั้งสิ้น.

          ฝ่ายนทีกัสสปะตั้งอาศรมอยู่ภายใต้  ได้เห็นชฎาและบริขารเครื่อง

พรตเครื่องบูชาเพลิงลอยไปตามกระแสน้ำ, สำคัญว่าเกิดอันตรายแก่ พี่ชายตน พร้อมทั้งบริวารรีบมาถึง, เห็นอุรุเวลกัสสปะผู้พี่ชาย ถือเพศเป็นภิกษุแล้ว ถามทราบความว่าพรหมจรรย์นี้ประเสริฐแล้ว, ลอยชฎาและบริขารเครื่องพรตเครื่องบูชาเพลิงของตนเสียในแม่น้ำแล้ว พร้อมด้วยบริวารเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลขออุปสมบท. พระองค์ ก็ประทานอุปสมบทแก่เธอทั้งหลาย.

          ฝ่ายคยากัสสปะน้องชายน้อย  ได้เห็นชฎาและบริขารเครื่องพรต

เครื่องบูชาเพลิงลอยมาตามกระแสน้ำ สำคัญว่าเกิดอันตรายแก่พี่ชาย ทั้ง ๒ พร้อมกับบริวารรีบมาถึง, เห็นพี่ชายทั้ง ๒ ถือเพศภิกษุแล้ว ถามทราบความว่าพรหมจรรย์นี้ประเสริฐ, ลอยชฎาและบริขาร เครื่องพรตเครื่องบูชาเพลิงของตนเสียในแม่น้ำแล้ว พร้อมด้วยบริขาร เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลขออุปสมบท. พระองค์ก็ประทานอุปสมบท ให้เป็นภิกษุโดยนัยหนหลัง.

          ในอธิการนี้  พระคันถรจนาจารย์๑  กล่าวถึงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ  ที่

ทรงแสดงเพื่อยังอุรุเวลกัสสปะ ให้คลายความถือตัวว่าเป็นพระอรหันต์ เริ่มแต่เสด็จไปถึง ตรัสขออาศัยในโรงเป็นที่บูชาเพลิง อุรุเวลกัสสปะ

€ม. ๔๔๕. บอกว่ามีนาคร้ายกาจอยู่ในที่นั้น อาศัยไม่ได้. พระองค์เฝ้าตรัสขอ ในที่สุดอุรุเวลกัสสปะก็อนุญาต, เสด็จเข้าไปอยู่ในโรงเพลิง ได้แสดง ฤทธิ์บันดาลให้เกิดควันและเปลวเพลิงสู้นาคได้ชัยชนะ เอานาคลง ขดในบาตรนำมาให้อุรุเวลกัสสปะดู แล้วทรงแสดงปาฏิหาริย์อย่าง อื่น ๆ อีก. ในที่สุด คราวหนึ่งฝนตกใหญ่น้ำท่วม พระองค์แหวกน้ำ จงกรมอยู่ในพื้นที่ฝุ่นฟุ้ง กว่าอุรุเวลกัสสปะจะเอาเรือมารับ.

          ถอดใจความแห่งปาฏิหาริย์ ๒  เรื่องนั้น,  น่าจะได้ดั่งนี้  ใน

ปาฏิหาริย์ต้น สันนิษฐานว่า พวกชฎิลคงนับถือและไหว้เทวรูปมีนาค เป็นบัลลังก์ หรือนับถือแต่ลำพังรูปนาคล้วน, ในโรงที่เป็นกองเพลิง บูชายัญนั้น เป็นที่ไว้เทวรูปนาคชนิดนั้นด้วย เช่นเดียวกับในวิหาร หรือในโรงอุโบสถ เป็นที่ไว้พระพุทธรูปเมื่อภายหลัง, และนับถือเป็น ที่ศักดิ์สิทธิ์ ใครเข้าไปกล้ำกรายไม่ได้ บันดาลให้มีอันเป็นต่าง ๆ จน เป็นที่เกรงขาม; บางทีอุรุเวลกัสสปะจะผดุงความศักดิ์สิทธิ์นั้นไว้เป็น เดชของตนเองก็ได้. พระศาสดาเสด็จไปขออาศัย, อุรุเวลากัสสปะ จึงบอกว่าอาศัยไม่ได้ เทวรูปนาคนั้นศักดิ์สิทธิ์นักจะเกิดเหตุขึ้น, พระองค์ตรัสว่าตามทีเถิด, อุรุเวลกัสสปะนึกว่าอวดดี ปล่อยให้ถูก ฤทธิ์เดชของเทวรูปนาคเสียบ้าง หรือสิ้นทางแก้ตัวจึงยอมให้อาศัย. ครั้นรุ่งเช้าพระองค์ไม่มีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง, พวกชฎิลพากัน เห็นเป็นอัศจรรย์. ในปาฏิหาริย์สุด ยังเห็นใจความไม่ถนัด น่าจะเป็น ดั่งนี้: พอน้ำท่วมมา พระองค์รู้จักทำหรือหาที่อาศัยพ้นน้ำในปัจจุบัน ทันด่วนรอดพ้นอุทกภัย เป็นเหตุประหลาดใจของพวกชฎิล๑.

          อนึ่ง  ท่านกล่าวจำนวนแห่งชฎิลไว้ว่า  อุรุเวลกัสสปะมีบริวาร

๕๐๐ คน, นทีกัสสปะมีบริวาร ๓๐๐ คน, คยากัสสปะมีบริวาร ๒๐๐ คน. คำนี้ดูเหมือนเป็น ๑,๐๐๓ คนทั้งหัวหน้า, แต่เมื่อกล่าวให้ที่อื่น รวมทั้งหัวหน้าทั้งบริวารเพียง ๑,๐๐๐ เท่านั้น ถึงอย่างนั้นก็ยังมาก ไม่ใช่น้อย.

          พระศาสดาเสด็จอยู่ในตำบลอุรุเวลา  ตามควรแก่พระพุทธ-

อัธยาศัยแล้ว, พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ชฎิลเหล่านั้นเสด็จไปยังตำบล คยาสีสะใกล้แม่น้ำคยา ประทับอยู่ ณ ที่นั้น. ครั้งนั้น พระองค์ตรัส เรียกภิกษุเหล่านั้นมาพร้อมแล้ว ทรงแสดงธรรมว่า " ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน. อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวง ? จักษุ คือนัยน์ตา รูป วิญญาณอาศัยจักษุ สัมผัส คือความถูกต้องอาศัยจักษุ เวทนา ที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย คือสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์บ้าง , โสตะ คือหู เสียง วิญญาณอาศัยโสตะ สัมผัสอาศัยโสตะ เวทนาที่เกิดเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย , ฆานะ คือจมูก กลิ่น วิญญาณอาศัยฆานะ สัมผัสอาศัยฆานะ เวทนาที่เกิด แต่ฆานสัมผัสเป็นปัจจัย , ชิวหา คือลิ้น รส วิญญาณอาศัย ชิวหา สัมผัสอาศัยชิวหา เวทนาที่เกิดเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย , กาย โผฏฐัพพะ คืออารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย วิญญาณ อาศัยกาย สัมผัสอาศัยกาย เวทนาที่เกิดเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย , มนะ คือใจ ธรรมคืออารมณ์ที่เกิดกับใจ วิญญาณ อาศัยมนะ สัมผัสอาศัยมนะ เวทนาที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย , ชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน. ร้อนเพราะอะไร ? อะไรมา เผาให้ร้อน ? เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือความกำหนัด ความโกรธ ความหลง. ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ร่ำไรรำพัน เจ็บไข้ เสียใจ คับใจ, ไฟกิเลสไฟทุกข์เหล่านี้มาเผาให้ ร้อน. ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่ายในสิ่งทั้งปวงนั้น ตั้งแต่ในจักษุ จนถึงเวทนาที่เกิดเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นที่สุด. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมปราศจากกำหนัด รักใคร่ เพราะปราศจากกำหนัดรักใคร่ จิตก็พ้นจากความถือมั่น. เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ความเกิดสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว, กิจที่จำจะต้องทำ ได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. เมื่อพระ ศาสดาตรัสพระธรรมเทศนานี้อยู่ จิตของภิกษุเหล่านั้น พ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

                                     ปริเฉทที่ ๘ 
             เสด็จกรุงราชคฤห์แค้นมคธและได้อัครสาวก 
          ครั้งนั้น  มคธชนบทอันตั้งอยู่ในชมพูทวีปหนใต้ติดบูรพ์,  เป็น 

แคว้นใหญ่ มีอำนาจและบริบูรณ์ด้วยสมบัติ, คับคั่งด้วยประชาชน ตำบลหนึ่ง ทั้งประมวลเอาอังคชนบทเข้าไว้ด้วย, มีอาณาเขตติด ต่อกับแควันโกศลกาสีและวัชชี, มีกรุงราชคฤห์เป็นพระนครหลวง, พระเจ้าพิมพิสารทรงปกครองโดยสิทธิ์ขาด, ทรงยศเป็นมหาราชเจ้า, แต่ในบาลีไม่ใช้คำว่า ' มหาราชา, ' จึงเรียกว่า ' ราชา มาคโธ ' แปล ว่า ' พระเจ้าแผ่นดินมคธ, ' ทั้งเป็นที่อออยู่แห่งครูเจ้าลัทธิมากกว่า มาก. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเลือกเป็นภูมิที่ประดิษฐานพระพุทธ- ศาสนาเป็นปฐม.

          ครั้นพระองค์เสด็จอยู่  ณ  ตำบลคยาสีสะ  ตามควรแก่อภิรมแล้ว

พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสาวกนั้นเสด็จเที่ยวไปโดยลำดับ ถึงกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ ลัฏฐิวันสวนตาลหนุ่ม.

          ครั้งนั้น  มีกิตติศัพท์ขจรไปว่า  พระสมณโคดม  โอรสแห่ง

ศากยราช ละฆราวาสสมบัติเสีย เสด็จออกบรรพชาจากศากยสกุล, บัดนี้ เสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ ลัฏฐิวันแล้ว, พระองค์เป็น พระอรหันต์ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ, ทรงแสดงธรรมสั่งสอนมหาชน มีคุณในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ และพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง, การได้เห็นพระอรหันต์เช่นนั้น


เป็นความดีสามารถให้ประโยชน์สำเร็จ. พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้า แผ่นดินมคธได้ทรงสดับกิตติศัพท์นั้นแล้ว, เสด็จพระราชดำเนินพร้อม ด้วยราชบริวารออกไปเฝ้าพระศาสดาถึงลัฏฐิวัน ทรงนมัสการแล้ว ประทับ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. ส่วนราชบริวารนั้นมีอาการกายวาจาต่าง ๆ กัน, บางพวกถวายบังคม บางพวกเป็นแต่กล่าววาจาปราศรัย บาง พวกเป็นแค่ประณมมือ บางพวกร้องประกาศชื่อและโคตรของตน บางพวกนิ่งอยู่, ทั้ง ๕ เหล่านั้น นั่ง ณ ที่ควรตามลำดับที่นั่งอันถึงแล้ว แก่ตน ๆ.

          พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นอาการของชนราชบริวารเหล่านั้น

ต่าง ๆ กัน. ยังไม่อ่อนน้อมโดยเรียบร้อย ซึ่งควรจะรับพระธรรม- เทศนาได้. มีพระประสงค์จะให้พระอุรุเวลกัสสปะ ซึ่งเป็นที่นับถือของ ชนเหล่านั้น ประกาศความไม่มีแก่นสารแห่งลัทธิเก่าให้เขาทราบ จะ ได้สิ้นความเคลือบแคลงแล้วตั้งใจคอยฟังพระธรรมเทศนา, จึงตรัส ถามพระอุรุเวลกัสสปะว่า " กัสสปะผู้อยู่ในอุรุเวลามานาน ท่านเคย เป็นอาจารย์สั่งสอนหมู่ชฎิลผู้ผอมเพราะกำลังพรต ท่านเห็นเหตุอะไร แล้ว จึงละไฟที่ตนได้เคยบูชาแล้วตามลัทธิเดิม ? เราถามเนื้อความ นั้นแก่ท่าน เหตุไฉนท่านจึงละการบูชาเพลิงของท่านเสีย ? "

          พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลว่า   " ยัญทั้งหลายกล่าวสรรเสริญ

ผล คือรูปเสียงและรสเป็นอารมณ์ที่สัตว์ปรารถนา และสตรีทั้งหลาย แสดงว่า บูชายัญแล้ว ก็จะได้ผลคืออารมณ์ที่ปรารถนามีรูปเป็นต้น เหล่านี้, ข้าพเจ้าได้รู้ว่า ผลคือกามนั้นเป็นมลทินเครื่องเศร้าหมอง ตกอยู่ในกิเลส, ยัญทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญผลล้วนแต่มลทิน อย่างเดียว, เหตุนั้น ข้าพเจ้าจงมิได้ยินดีในการเซ่นและการบูชา เพลิงที่ได้เคยทำมาแล้วในปางก่อน. "

          พระศาสดาตรัสก่อนต่อไปอีกว่า   " กัสสปะ  ก็ใจของท่านไม่

ยินดีในอารมณ์เหล่านั้น คือรูปเสียงและรสซึ่งเป็นวัตถุกามแล้ว, ก็ ที่นั้นใจของท่านยินดีแล้วในสิ่งไรเล่า ในเทวโลกหรือในมนุษยโลก ? ท่านจงบอกข้อนั้นแก่เรา. "

          พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลว่า   " ข้าพเจ้าได้เห็นทางอันสงบ

ไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุก่อให้เกิดทุกข์ ไม่มีกังวลเข้าพัวพัน ไม่ติดอยู่ ในกามภพ มีอันไม่แปรปรวนเป็นอย่างอื่น, ไม่ใช่ธรรมที่บุคคลผู้อื่น แนะให้เชื่อ คือเป็นคุณปรากฏอยู่แก่ใจตนเอง, เหตุนั้นข้าพเจ้ามิได้ ยินดีแล้วในการเซ่นและการบูชาเพลิง ซึ่งได้เคยประพฤติมาแล้ว. " พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลอย่างนี้แล้ว, ลุกจากที่นั่ง ทำผ้าห่มเฉวียง บ่าข้างหนึ่ง ซบศีรษะลงที่พระบาทพระศาสดา ทูลประกาศว่า " พระ องค์เป็นพระศาสดาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นสาวกผู้ฟังคำสอน ของพระองค์. "

          ครั้นพระศาสดาตรัสถาม  และพระอุรุเวลกัสสปะกราบทูล

ประกาศความไม่มีแก่นสารแห่งลัทธิเดิมดั่งนั้นแล้ว, ราชบริวารทราบ แล้วน้อมจิตเชื่อถือตั้งโสตคอยฟังพระธรรมเทศนา พระศาสดาทรง แสดงอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔, พระเจ้าพิมพิสารและราชบริวาร แบ่งเป็น ๑๒ ส่วน, ๑๑ ส่วนได้จักษุเห็นธรรม, ส่วน ๑ ตั้งอยู่ใน ไตรสรณคมน์. ครั้งนั้น พระราชประสงค์ของพระเจ้าพิมพิสารสำเร็จ บริบูรณ์พร้อมทั้ง ๕ อย่าง พระองค์จึงกราบทูลความนั้นแด่พระ ศาสดาว่า " ครั้งก่อนเมื่อข้าพเจ้ายังเป็นราชกุมาร ยังไม่ได้รับ อภิเษก ได้มีความปรารถนา ๕ อย่าง, ข้อต้นว่า ขอให้ข้าพเจ้า ได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินมคธนี้เถิด, ข้อที่ ๒ ว่า ขอท่านผู้เป็น พระอรหันต์ผู้รู้เองเห็นเองโดยชอบ พึงมายังแว่นแคว้นของข้าพเจ้า ผู้ได้รับอภิเษกแล้ว, ข้อที่ ๓ ว่า ขอข้าพเจ้าพึงได้เข้าไปนั่งใกล้ พระอรหันต์นั้น, ข้อที่ ๔ ว่า ขอพระอรหันต์นั้น พึงแสดงธรรม แก่ข้าพเจ้า, ข้อที่ครบ ๕ ว่า ขอข้าพเจ้าพึงรู้ทั่วถึงธรรมของ พระอรหันต์นั้น. บัดนี้ความปรารถนาของข้าพเจ้านั้นสำเร็จแล้ว ทั้ง ๕ ประการ.

          ข้อที่พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลความปรารถนา  ขอให้ท่านผู้เป็น

พระอรหันต์ผู้รู้เองเห็นเองโดยชอบ มายังแว่นแคว้นของพระองค์แล้ว แสดงธรรมสั่งสอนให้พระองค์ได้รู้เห็นนั้น, พึงเข้าใจศัพท์ว่า ' อรหันต์ ' นั้นเป็นของเก่า, สำหรับใช้เรียกผู้วิเศษซึ่งควรรับสักการะบูชาของ ประชุมชน เช่นศัพท์ว่า ' ภควา ' ซึ่งเป็นของเก่า, สำหรับใช้เรียกฤษี ผู้เป็นที่นับถือ, และศัพท์ว่า ' ภิกษุ ' สำหรับใช้เรียกคนเที่ยวขอฉะนั้น.

          ในครั้งนั้นคงมีคนที่ตั้งตัวว่าเป็นพระอรหันต์หลายพวก  เช่นพระ

อุรุเวลกัสสปะ เมื่อครั้งยังเป็นชฎิลก็ตั้งตัวเป็นอรหันต์, จนพระ ศาสดาตรัสให้เกิดความสลดใจรู้สึกตัวว่าไม่ใช่พระอรหันต์ ชะรอย พระเจ้าพิมพิสารไม่ทรงสันนิษฐานได้ว่า ท่านองค์ไหนเป็นพระอรหันต์ แท้ จึงทรงตั้งความปรารถนาไว้อย่างนั้น. ก็ชนเหล่านั้น เขานับถือ กันว่าเป็นพระอรหันต์ผู้วิเศษควรรับบูชา ด้วยข้อปฏิบัติใด ข้อปฏิบัติ นั้นไม่เป็นสาระทำผู้ดำเนินตามให้เป็นพระอรหันต์ได้จริง, พระศาสดา จึงได้ทรงเสาะหาปฏิปทาอันทำให้เป็นพระอรหันต์ใหม่ ทรงทำให้แจ้ง แล้วสั่งสอนสาวกให้ดำเนินตาม. พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับพระ- ธรรมเทศนา ได้พระปรีชาญาณเห็นธรรมพิเศษด้วยพระองค์; ทรง สันนิษฐานแน่พระทัยว่าเป็นพระอรหันต์แท้ จึงกราบทูลเช่นนั้น.

          ครั้นพระเจ้าพิมพิสารกราบทูลความสำเร็จพระราชประสงค์อย่าง

นี้แล้ว ทรงสรรเสริญพระธรรมเทศนาแสดงพระองค์เป็นอุบาสกแล้ว กราบทูลเชิญเสด็จพระศาสดากับทั้งหมู่สาวก เพื่อเสวยที่พระราช- นิเวศน์ในวันพรุ่งนี้แล้ว, เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระ ศาสดา ทำประทักษิณเสร็จแล้ว เสด็จกลับพระราชวังแล้ว ตรัสสั่ง เจ้าพนักงาน ให้ตกแต่งอาหารของเคี้ยวของฉัน ล้วนแต่อย่างประณีต เสร็จแล้ว. ครั้นล่วงราตรีนั้นแล้ว ตรัสสั่งให้ราชบุรุษไปกราบทูล ภัตตกาล ( เวลาฉันเอาหาร ).

          พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร  เสด็จไปยังพระราช-

นิเวศน์ ประทับ ณ อาสนะที่แต่งไว้ถวายแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรง อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยอาหารอันประณีต ด้วยพระหัตถ์แห่งพระองค์, เสร็จแล้วเสด็จเข้าไปใกล้ ประทับ ณ ที่ควร ข้างหนึ่ง, ทรงพระราชดำริถึงสถานควรเป็นที่เสด็จอยู่แห่งพระศาสดา ทรงเห็นว่า พระราชอุทยานเวฬุวันสวนไม้ไผ่ เป็นที่ไม่ไกลไม่ใกล้นัก แต่บ้าน, บริบูรณ์ด้วยทางเป็นที่ไปและทางเป็นที่มา ควรที่ผู้มีธุระจะ พึงไปถึง,กลางวันไม่เกลื่อนกล่นด้วยหมู่มนุษย์ กลางคืนเงียบเสียง ที่จะอื้ออึงกึกก้อง ปราศจากลมแต่ชนที่เดินเข้าออก, สมควรเป็นที่ ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด และควรเป็นที่หลีกออกเร้นอยู่ตาม วิสัยสมณะ ควรเป็นที่เสด็จอยู่ของพระศาสดา, ครั้นทรงพระราชดำริ อย่างนี้แล้ว ทรงจับพระเต้าทองเต็มด้วยน้ำหลั่งลงถวายพระราช- อุทยานเวฬุวันนั้น แก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระ ศาสดาทรงรับแล้ว, ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พระเจ้าพิมพิสาร ทรงเห็น และทรงสมาทานอาจหาญรื่นเริงในสัมมาปฏิบัติ ตามสมควร แล้ว เสด็จไปประทับอยู่ ณ เวฬุวันนั้น. พระองค์ทรงปรารภเหตุนั้น ประทานพระพุทธานุญาต ให้ภิกษุรับอารามที่ทายกถวายตามปรารถนา. การถวายอารามเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในกาลนั้น.

          ครั้งนั้น  มาณพสกุลพราหมณ์ ๒  สหาย  ชื่ออุปติสสะ  บุตร

แห่งนางสารี เรียกตามนัยนี้ว่า ' สารุบุตร ' ๑, ชื่อโกลิตะ บุตรแห่ง นางโมคคัลลี เรียกตามนัยนี้ว่า ' โมคคัลลานะ ' ๑, พร้อมกับบริวาร ( ที่กล่าวจำนวนว่า ๑๕๐ ) บวชอยู่ในสำนักสัญชัยปริพาชก ณ กรุง ราชคฤห์นั้น. สองสหายไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษอันเป็นที่พอใจในสำนัก อาจารย์ จึงได้สัญญากันไว้ว่า ผู้ใดได้บรรลุธรรมพิเศษก่อน ผู้นั้น จงบอกแก่อีกคนหนึ่ง.

          วันหนึ่ง  พระอัสสชิซึ่งนับเข้าในปัญจวัคคีย์  เข้าไปบิณฑบาต

ในเมืองราชคฤห์. สารีบุตรปริพาชกเดินมาแต่อาราม ได้เห็นท่านมี อาการน่าเลื่อมใส, จะก้าวไปถอยกลับแลเหลียวคู้แขนเหยียดแขน เรียบทุกอิริยาบถ ทอดจักษุแต่พอประมาณ มีอาการแปลกจาก บรรพชิตในครั้งนั้น, อยากจะทราบความว่า ใครเป็นศาสดาของ ท่าน แต่ยังไม่อาจถาม ด้วยเห็นว่าเป็นกาลไม่ควร, ท่านยังเที่ยว ไปบิณฑบาตอยู่. จึงติดตามไปข้างหลัง, ครั้นเห็นท่านกลับจาก บิณฑบาตแล้ว จึงเข้าไปใกล้พูดปราศรัยแล้วถามว่า " ผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีผิวของท่านหมดจดผ่องใส, ท่าน บวชจำเพาะใคร ? ใครเป็นศาสดาผู้สอนของท่าน ? ท่านขอบใจ ธรรมของใคร ? "

          " ผู้มีอายุ  เราบวชจำเพาะพระมหาสมณะ  ผู้เป็นโอรสแห่ง

ศากยะ ออกผนวชจากศากยสกุล, ท่านเป็นพระศาสดาของเรา, เรา ชอบใจธรรมของท่าน. "

          " พระศาสดาของท่านสั่งสอนอย่างไร ? "
          " ผู้มีอายุ  เราเป็นคนใหม่บวชยังไม่นาน  พึ่งมายังพระธรรม-

วินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านโดยกล้างขวาง เราจะกล่าวความ แก่ท่านโดยย่อพอรู้ความ. "

          " ผู้มีอายุ  ช่างเถิด  ท่านจะกล่าวน้อยก็ตาม มากก็ตาม

กล่าวแต่ความเถิด, เราต้องการด้วยความ ท่านจะกล่าวให้มาก ประโยชน์อะไร. "

          พระอัสสชิก็แสดงธรรมแก่สารีบุตร  พอเป็นเลาความว่า   " ธรรม

ใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และความ

ดับแห่งธรรมนั้น, พระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้. "

          สารีบุตรได้ฟังก็ทราบว่าในศาสนานี้แสดงว่า   " ธรรมทั้งปวง

เกิดแต่เหตุ และจะสงบระงับไปเพราะดับเหตุก่อน, พระศาสดาทรง สั่งสอนให้ปฏิบัติ เพื่อสงบระงับเหตุแห่งธรรมเป็นเครื่องก่อให้เกิด ทุกข์. " ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า " สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด ต้องมีความดับเป็นธรรมดา " แล้วถามว่า " พระศาสดาของเราเสด็จอยู่ที่ไหน ? "

          " ผู้มีอายุ  เสด็จอยู่ที่เวฬุวัน. "
          " ถ้าอย่างนั้น  พระผู้เป็นเจ้าไปก่อนเถิด,  ข้าพเจ้าจะกลับไป

บอกสหายแล้ว จะพากันไปเฝ้าพระศาสดา. "

          ครั้นพระเถระไปแล้ว  สารีบุตรก็กลับมาที่อยู่  บอกข่าวที่ได้ไป

พบพระอัสสชิแก่โมคคัลลานปริพาชกแล้ว แสดงธรรมนั้นให้ฟัง, โมคคัลลานะก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเหมือนสารีบุตร. สองสหายชวน กันจะไปเฝ้าพระศาสดา จึงไปลาสัญชัยผู้อาจารย์เดิม, สัญชัยห้ามไว้ อ้อนวอนให้อยู่เป็นหลายครั้ง ก็ไม่ฟัง. พาบริวารไปเวฬุวันเฝ้าพระ ศาสดา ทูลขออุปสมบท, พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยกัน ทั้งสิ้น. ได้ยินว่า ภิกษุที่เป็นบริวาร ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว บำเพ็ญเพียรได้สำเร็จพระอรหันต์ก่อน.

          ฝ่ายพระโมคคัลลานะ  นับแต่อุปสมบทแล้วได้ ๗  วัน  ไปทำ

ความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แขวงมคธ อ่อนใจนั่งโงกง่วงอยู่. พระศาสดาเสด็จไปที่นั้น ทรงแสดงอุบายสำหรับระงับความโงกง่วง สั่งสอนท่านว่า

          " โมคคัลลานะ  เมื่อท่านมีสัญญาอย่างใด  ความง่วงนั้นย่อม

ครอบงำได้ ท่านควรทำในใจถึงสัญญาอย่างนั้นให้มาก, ข้อนี้จะเป็น เหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นท่านควรตรึก- ตรองพิจารณาถึงธรรมที่ตนได้ฟังแล้วและได้เรียนแล้วอย่างไร ด้วยใจ ของตน, ข้อนี้จะเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้. ถ้ายังละไม่ได้ ท่านควรสาธยายธรรมที่ตนได้ฟังแล้วและได้เรียนแล้วอย่างไร โดย พิสดาร, ข้อนี้จะเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นท่านควรยอนช่องหูทั้ง ๒ ข้าง และลูบตัวด้วยฝ่ามือ, ข้อนี้จะ เป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นท่านควร ลุกขึ้นยืน แล้วลูบนัยน์ตาด้วยน้ำ เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว นักขัตฤกษ์, ข้อนี้จะเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้. ถ้ายังละ ไม่ได้ แต่นั้นท่านควรทำในใจถึงอาโลกสัญญา คือความสำคัญ ในแสงสว่าง, ตั้งความสำคัญว่ากลางวันไว้ในจิตให้เหมือนกันทั้ง กลางวันกลางคืน มีใจเปิดเผยฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมี แสงสว่างให้เกิด, ข้อนี้จะเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้. ถ้ายัง ละไม่ได้ แต่นั้นท่านควรอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายเดินกลับไป กลับมา สำรวมอินทรีย์ มีจิตไม่คิดไปภายนอก, ข้อนี้จะเป็นเหตุ ให้ท่านละความง่วงนั้นได. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นท่านควรสำเร็จ สีหไสยา คือนอนตะแคงข้างเบื้องหวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า, มีสติ สัมปชัญญะ ทำความหมายในอันจะลุกขึ้นไว้ในใจ, พอท่านตื่นแล้ว ควรรีบลุกขึ้นด้วยความตั้งใจว่า เราจะไม่ประกอบสุขในการนอน เราจักไม่ประกอบสุขในการเอนข้าง ( เอนหลัง ) เราจักไม่ประกอบ สุขในการเคลิ้มหลับ. โมคคัลลานะ ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้แล.

          อนึ่ง โมคคัลลานะ  ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า  เราจัก 

ไม่ชูงวง ( คือถือตัว ) เข้าไปสู่สกุล, เพราะว่า ถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปสู่ สกุล และกิจการในสกุลนั้นมีอยู่ ซึ่งเป็นเหตุที่มนุษย์เขาจะไม่นึกถึง ภิกษุผู้มาแล้ว, ภิกษุจะคิดเห็นว่า เดี๋ยวนี้ใครหนอยุยงให้เราแตก จากสกุลนี้ เดี๋ยวนี้มนุษย์พวกนี้มีอาการอิดหนาระอาใจในเรา เพราะ ไม่ได้อะไร เธอก็จะมีความเก้อ, ครั้นเก้อก็จะเกิดความคิดฟุ้งซ่าน ครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้ว ก็จะเกิดความไม่สำรวม, ครั้นไม่สำรวมแล้ว จิตก็จะห่างจากสมาธิ.

          อนึ่ง  ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า  เราจักไม่พูดคำซึ่งเป็นเหตุ

เถียงกัน ถือผิดต่อกัน, เพราะว่า เมื่อคำซึ่งเป็นเหตุเถียงกัน ถือผิด ต่อกันมีขึ้น ก็จำจะต้องหวังความพูดมาก, เมื่อความพูดมากมีขึ้น ก็จะเกิดความคิดฟุ้งซ่าน, ครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้ว ก็จะเกิดความไม่ สำรวม, ครั้นไม่สำรวมแล้ว จิตก็จะห่างจากสมาธิ.

          หนึ่ง  โมคคัลลานะ  เราหาสรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการ

ทั้งปวงไม่, แต่มิใช่จะติความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงเมื่อไร ? คือ เราไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยหมู่ชน ทั้งคฤหัสถ์ทั้งบรรพชิต, ก็แต่ ว่า เสนาสนะที่นอนที่นั่งอันใด เงียบเสียงอื้ออึง, ปราศจากลม แต่คนเดินเข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด ควร เป็นที่หลีกออกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย เราสรรเสริญความคลุกคลีด้วย เสนาสนะเห็นปานนั้น. "

          เมื่อพระศาสดาตรัสสอนอย่างนี้แล้ว พระโมคคัลลานะกราบ

ทูลถามว่า " กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อม ไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน เกษมจาก โยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ? "

          พระศาสดาตรัสตอบว่า   " โมคคัลลานะ  ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ได้สดับว่า บรรดาธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น, ครั้นได้สดับดั่งนั้นแล้ว เธอทราบธรรมทั้งปวงชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง, ครั้นทราบธรรมทั้งปวง ชัดด้วยปัญญาอันยิ่งดังนั้นแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง, ครั้น กำหนดรู้ธรรมทั้งปวงดังนั้นแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่าง หนึ่ง, สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี, เธอพิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยว พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องหน่าย พิจารณาเห็น ด้วยปัญญาเป็นเครื่องดับ พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องสละคืน ในเวทนาทั้งหลายนั้น, เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่ง อะไร ๆ ในโลก, เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น, เมื่อไม่ สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้จำเพาะตัว และทราบชัด ว่าชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว, กิจที่จำจะต้องทำได้ทำ เสร็จแล้ว, กิจอื่นที่จะต้องทำอย่างนี้อีกมิได้มี. กล่าวโดยย่อด้วยข้อ ปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา มี ความสำเร็จล่วงส่วน เกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารี- บุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย. " พระโมคคัลลานะปฏิบัติตามโอวาทที่พระศาสดาทรงสั่ง สอน ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ในวันนั้น๑.

          เมื่อพระสารีบุตรบวชแล้วได้กึ่งเดือน  พระศาสดาเสด็จอยู่ที่ถ้ำ

สุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ แขวงเมืองราชคฤห์. ปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อ ทีฆนขะ อัคคิเวสสนโคตร เข้าไปเฝ้าพระศาสดา กล่าวปราศรัย แล้ว ยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง, ทูลแสดงทิฏฐิของตนว่า " พระโคดม ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ ชอบใจหมด. "

          พระศาสดาตรัสตอบว่า   " อัคคิเวสสนะ  ถ้าอย่างนั้น  ความ

เห็นอย่างนั้น ก็ต้องไม่ควรแก่ท่าน, ท่านก็ต้องไม่ชอบความเห็นอย่าง นั้น " ตรัสตอบอย่างนี้แล้ว ทรงแสดงสมณพราหมณ์เจ้าทิฏฐิ ๓ จำพวกว่า " อัคคิเวสสนะ สมณพราหมณ์พวก ๑ มีทิฏฐิว่า สิ่ง ทั้งปวงควรแก่เรา เราชอบใจหมด, พวก ๑ ทีทิฏฐิว่า สิ่งทั้งปวง ไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจหมด, พวก ๑ มีทิฏฐิว่า บางสิ่งควร แก่เรา เราชอบใจ บางสิ่งไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ. ทิฏฐิของ สมณพราหมณ์พวกต้น ใกล้ข้างความกำหนัดรักใคร่ยินดีในสิ่งนั้น ๆ, ทิฏฐิของสมณพราหมณ์พวกที่ ๒ ใกล้ข้างความเกลียดชังสิ่งนั้น ๆ, ทิฏฐิของสมณพราหมณ์พวกที่ ๓ ใกล้ข้างความกำหนัดรักใคร่ใน

านสูตร. องฺ. สตฺตก. ๒๓๘๗. ของบางสิ่ง ใกล้ข้างความเกลียดชังของบางสิ่ง, ผู้รู้พิจารณาเห็นว่า ถ้าเราจักถือมั่นทิฏฐินั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวว่าสิ่งนี้แลจริง สิ่ง อื่นเปล่าหาจริงไม่ ก็จะต้องถือผิดจากคน ๒ พวกที่มีทิฏฐิไม่เหมือน กับตน. ครั้นความถือผิดกันมีขึ้น ความวิวาทเถียงกันก็มีขึ้น, ครั้น ความวิวาทมีขึ้น ความพิฆาตหมายมั่นก็มีขึ้น, ครั้นความพิฆาตมีขึ้น ความเบียดเบียนกันก็มีขึ้น, ผู้รู้มาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมละทิฏฐินั้น เสียด้วย ไม่ทำทิฏฐิอื่นให้เกิดขึ้นด้วย, ความละทิฏฐิ ๓ อย่างนั้น ย่อมมีด้วยอุบายอย่างนี้.

          ครั้นทรงแสดงโทษแห่งความถือมั่นด้วยทิฏฐิ  ๓  อย่างนั้นแล้ว

ทรงแสดงอุบายเครื่องไม่ถือมั่นต่อไปว่า " อัคคิเวสสนะ กาย คือ รูปประชุมหมาภูตรูป ๔ ( ดิน น้ำ ไฟ ลม ) มีบิดามารดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นเพราะข้าวสุกและขนมสดนี้, ต้องอมรมกันกลิ่นเหม็น และ ขัดสีมลทินเป็นนิตย์, มีความแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา ควรพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อดทนได้ยาก, เป็นโรคเป็นดั่งหัวฝี เป็นดั่งลูกศร โดยความยากลำบาก ชำรุด ทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่าไม่ใช่ตน, เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ ย่อม ละความพอใจรักใคร่กระวนกระวายในกามเสียได้.

          อนึ่ง  เวทนาเป็น ๓ อย่าง  คือ  สุข  ทุกข์  และอทุกขมสุข,  ใน

สมัยใดเสวยสุข ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกข์และอทุกขมสุข. ในสมัย ใดเสวยทุกข์ ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขและอทุกขมสุข ในสมัยใด เสวยทุกขมสุข ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขและทุกข์, สุข ทุกข์ อทุกขมสุข ทั้ง ๓ อย่างนี้ ไม่เที่ยง ปัจจัยแต่งขึ้น, อาศัยปัจจัย เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไป เสื่อมไป จางไป ดับไป เป็นธรรมดา, อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เมือเห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสุข ทุกข์ อทุกขมสุข, เมื่อเบื่อหน่ายก็ปราศจากกำหนัด, เพราะปราศจาก กำหนัด จิตก็พ้นจากความถือมั่น, เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณ รู้ว่าพ้นแล้ว, อริยสาวกนั้น รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ได้อยู่ จบแล้ว, กิจที่จำจะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี, ภิกษุผู้พ้นแล้วอย่างนี้ ไม่วิวาทโต้เถียงกับผู้ใดด้วย ทิฏฐิของตน โวหารอย่างใดเขาพูดันอยู่ในโลก ก็พูดตามโวหาร อย่างนั้น, แต่ไม่ถือมั่นด้วยทิฏฐิ. "

          สมัยนั้น  พระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัดอยู่  ณ  เบื้องพระ

ปฤษฎางค์แห่งพระศาสดา, ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ตรัสแก่ทีฆนข- ปริพาชก พลางดำริว่า " พระศาสดาตรัสสอนให้ละการถือมั่น ธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง. " เมื่อท่านพิจารณาอยู่อย่างนั้น จิตก็พ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

          ส่วนทีฆนขปริพาชกนั้น  เป็นแต่ได้ดวงตาเห็นธรรม  สิ้นความ

เคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธศาสนา, ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา และแสดงตนเป็นอุบาสกว่า " พระเจ้าข้า ภาษิตที่ตรัสนี้ไพเราะนัก ๆ, พระองค์ทรงประกาศธรรมให้ข้าพเจ้าทราบชัดโดยวิธีเป็นอันมาก ไม่ ใช่แต่อย่างเดียว, ดุจบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง แก่คนหลงในทาง ส่องตะเกียงในที่มือ ด้วยประสงค์ว่าคนมีดวงตา จักเห็นรูปฉะนั้น, ข้าพเจ้าถึงพระองค์ กับทั้งพระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ, ขอพระองค์จงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ถึงพระ รัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่นี้เป็นต้นไป๑. "

          เมื่อพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะสำหรับพระอรหันต์อย่างนี้ 

แล้ว ท่านได้ตั้งอยู่ในที่เป็นสาวกเลิศในพระศาสนาโดยคุณธรรมที่ มีในตน และอนุเคราะห์พรหมจารีเพื่อนบรรพชิตด้วยกัน ในอันให้ โอวาทสั่งสอน.

          พระศาสดาทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในมคธชนบทอย่างนี้

แล้ว เสด็จจาริกไปมาในชนบทนั้น ๆ ทรงแสดงพระธรรมเทศนา สั่งสอนประชุมชนให้ได้ความเชื่อ ความเลื่อมใส แล้วปฏิบัติตาม, ออกบวชในพระธรรมวินัย เป็นภิกษุบ้าง เป็นภิกษุณีบ้าง, คงอยู่ ในฆราวาส เป็นอุบาสกบ้าง อุบาสิกาบ้าง, สงเคราะห์เข้าเป็นพุทธ- บริษัท ๔ เหล่า, ประกาศพระสานาให้แพร่หลาย เพื่อสมพระพุทธ- ปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้เดิมนั้น.

          ประพฤติเหตุเบื้องหน้าแต่นี้ปันเป็น ๒  วิภาค  คือ  มัชฌิมโพธิ-

กาล คราวตรัสรู้ตอนกลาง, และปัจฉิมโพธิกาล คราวตรัสรู้ตอน หลัง, ดังจะแสดงต่อไปข้างหน้าแล.

ม. ม. ๑๓๒๖๓.
                                  เรื่องผนวกที่ ๑
                       ชื่อชนบท  และ  ชื่อนครหลวง 
          ในที่นี้  เห็นสมควรจะกล่าวถึงชนบททั้งหลาย  อันได้ออกชื่อ

ไว้ในปริเฉทที่ ๑ ให้พิสดารออกไปอีกโดยบรรยาย, เพื่อเกื้อกูลแก่ ความเข้าใจในการเสด็จเที่ยวจาริกประกาศพระศาสนา.

          ชนบทเหล่านั้น  ย่อมมีนครหลวงทั้งนั้น.  ในนิทานต้นพระสูตร

เมื่อกล่าวถึงชื่อนครหลวงแล้ว ไม่กล่าวถึงชนบทเลย, ต่อเสด็จใน ตำบลอื่นจึงกล่าว เช่นเดียวกับเราเรียกนครหลวงแห่งประเทศนั้น ๆ ในบัดนี้ว่าลอนดอน ( London ) ปารีส ( Paris ) เบอรลิน ( Berlin ) ไม่ต้องออกชื่อประเทศ เพราะเหตุรู้จักกันดังแล้ว แต่ในภายหลังชื่อ ชนบทเลยศูนย์ไป เช่นนครโกสัมพี เป็นราชธานีของชนบทชื่ออะไร ยากที่จะรู้, เว้นไว้แต่นครอันมีข่าวมากในพระคัมภีร์ คือ สาวัตถี ราชคฤห์ ยังรู้กันอยู่. ข้าพเจ้าค้นหาชื่อแห่งนครหลวงแห่งชนบทเหล่า นี้ ได้พบดั่งนี้ :-

                                        นครหลวง
                            แห่งอังคะ     ชื่อ     จัมปา๑

งอยู่ปลายแม่น้ำคงคา ( Ganges ) เทียบราวมณฑลเบงคอล ( Bengal ) า บัดนี้เรียกว่า ภคัลปุร ( Bhagalpur ) อยู่เหนือฝั่งแม่น้ำคงคา >

                            แห่งมคธะ             ชื่อราชคฤห์๑ 
                            แห่งกาสี                ชื่อพาราณสี๒
                            แห่งโกสละ             ชื่อสาวัตถี๓
                            แห่งวัชชี                 ชื่อเวสาลี๔
                            แห่งมัลละ               ชื่อเดิมกุสาวดี๕ 

แต่ภายหลังแยกเป็น กุสินารา กับ ปาวา.

ยู่ใต้แม่น้ำคงคาตองกลาง เทียบราวมณฑลพิหาร ( Bihar ) มีแม่น้ำ ือและมีภูเขาวินธยะ ( Vindhya ) อยู่ทิศใต้และทิศตะวันตก นครเก่า ตั้งอยู่บนเนินเขา ห่างจากปัตนะทางทิศใต้เฉียงอาคเนย์ ๖๕ กิโลเมตร พิมพิสารทรงสร้างนครใหม่ชื่อราชคฤห์ ตั้งอยู่ที่เชิงเขา ต่อมาพระเจ้า ของพระเจ้าอชาตศัตรูได้ย้ายไปตั้งที่นครปาฏลิบุตร บัดนี้เรียกว่า ปัตนะ อแม่น้ำโสน ระหว่างแม่น้ำนี้กับอังคะ. ๒. กาสี ตั้งอยู่ตรงที่บรรจบ มุนา นครหลวงชอ พาราณสี บัดนี้เรียกว่า เพนาเรส ( Benares ). งอยู่ระหว่างภูเขาหิมาลัยกับแม่น้ำคงคาตอนกลาง เทียบราวมณฑลอยุธยา ) บัดนี้ทิศเหนือจดภูเขาเนปาล ( Nepal ) ทิศตะวันตกและทิศใต้จด ตะวันออกจดแคว้นกาสีต่อกับมคธะ นครหลวงชื่อสาวัตถี บัดนี้เรียกว่า Sahet-mahet ) ตั้งอยู่ ณ ฝั่งลำนำน้ำรับติ ( Rubdi ) ริมเชิงเขาห่าง ๐ กิโลเมตร. และทางทิศใต้ห่างจากแดนเนปาลราว ๕๐ กิโลเมตร. งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกแห่งลำน้ำคันธกะติดต่อกับมัลละ นครหลวงชื่อ รียกว่า แขวงเพสารห์ ( Besarh ) ห่างจากปัตนะราว ๔๔ กิโลเมตร. งอยู่ถัดโกสละมาทางทิศตะวันออก อยู่ทิศเหนือแคว้นวัชชี และทิศตะวัน ครหลวงชื่อ กุสินคร หรือกุสินารา ตั้งอยู่ที่ประชุมลำน้ำรับดิกับลำน้ำ ือเนปาล บัดนี้เรียกแขวงกาเซีย ( Kasia ) ส่วนนครปาวาอยู่ระหว่าง นครเวสาลี บัดนี้เรียกแขวงปัทระโอนะ ( Padraona ).

                            แห่งเจตี             ชื่อโสตถิวดี๑ 
                            แห่งวังสะ           ชื่อโกสัมพี๒ 
                            แห่งกุรุ               ชื่ออินทปัตถุ๓
                            แห่งปัญจาละ     ชื่อกัมปิลละ๔
                            แห่งมัจฉะ           ชื่อสาคละ๕
                            แห่งสุรเสนะ        ชื่อยังหาทราบไม่๖

อยู่ต่อแคว้นอวันตี ( มาลวะ ) ออกมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นครหลวง

 ๒.  วังสะ  ตั้งอยู่ใต้ลำน้ำยมุนา ทางทิศใต้แคว้นโกสละและทางทิศ

สี นครหลวงชื่อ โกสัมพี ตั้งอยู่เหนือฝั่งใต้ลำน้ำยมุนา ที่เรียก อยู่ทางทิศหรดีในตำบลอัลลาฮาบัด ( Allahabad ). ๓. ในรัฏฐ- นิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ กล่าวว่า ถุลลโกฏฐิตนิคมเป็นราชสำนัก . ว. ว. กุรุ ตั้งอยู่ตรงลุ่มน้ำยมุนาตอนบน เทียบราวมณฑลปัญจาป เมืองเดลฮี ( Delhi ) นครหลวงอินเดียบัดนี้. ๔. ในอรรถกถาชาดก ื่อรัฏฐะ ปัญจาละ เป็นชื่อนคร กลับกันไป. ว. ว. ปัญจาละ ตั้งอยู่ ตอนบน มีแคว้นโกศลอยู่ทิศตะวันออก แคว้นกุรุอยู่ทิศตะวันตก ภูเขา เหนือและแม่น้ำคงคาอยู่ทิศใต้ เทียบราวมณฑลอกราบัดนี้ นครหลวงเดิม ะหรือหัสดิน ต่อมาจึงแยกไปตั้งนครหลวงใหม่ ๒ แห่ง คือกัมปิลละ ตั้ง ม่น้ำคงคา ถัดลงมาถึงสังกัสสนครแล้วจึงถึงกันยากุพช์ ซึ่งบัดนี้เรียกว่า ounge ) ๕. สาคละ เป็นนครหลวงของมัททชนบท ตามอรรถกถา ัททชนบท รวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน น่าจะเห็นว่าชนบทเดียวกัน

มัจฉะ ตั้งอยู่ระหว่างลำน้ำสินธูกับยมุนาตอนบน มีแคว้นโกศลอยู่ทิศ

้นสุรเสนะอยู่ทิศเหนือ มีแคว้นกุรุอยู่ทิศใต้ มีมณฑลปัญจาปอยู่ทิศ ื่อสาลคะ ตั้งอยู่เหนือแม่น้ำอสิคนีหรือจันทรภาค. ๖. สุรเสนะ ตั้ง ้ำสินธูกบยมุนาตอนล่าง ราวมณฑลราชปุตต์ฐาน ( Rajputthan ) บัดนี้ งเป็นราชธานีของพระกฤษณะ ชื่อมถุรา ราวเมืองมัตตรา ( Mattra ) n>

                            แห่งอัสสกะ            ชื่อโปตลิ๑ 
                            แห่งอวันตี              ชื่ออุชเชนี๒ 
                            แห่งคันธาระ           ชื่อตักกสิลา๓
                            แห่งกัมโพชะ           ชื่อยังหาทราบไม่๔
                                นอกจากมหาชนบท ๑๖ ตำบล
                            แห่งสักกะ                ชื่อกบิลพัสดุ์  และชื่ออื่น๕
                            แห่งโกลิยะ               ชื่อเทวทหะหรือรามคาม๖
                            แห่งภัคคะ                ชื่อสุงสุมารคีระ
                            แห่งวิเทหะ                ชื่อมิถิลา
               แห่งอังคุตตราปะ       เป็นแต่นิคมชื่ออาปณะ.
          ชนบทเหล่านี้ที่รวมอยู่ในอาณาจักรเดียวกัน,  ปรากฏเมื่อครั้ง

พุทธกาล อังคะรวมเข้ากับมคธะ, ท่านผู้ครองดำรงยศเป็นมหาราช ตั้งราชสำนักอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ กาสีรวมเข้ากับโกสละ, ท่านผู้

้งอยู่ตรงลุ่มน้ำโคธาวารี ทิศเหนือแห่งอวันตี นครหลวงชื่อโปตนะหรือ วันตี หรือ มาลวะ ตั้งอยู่เหนือภูเขาวินธยะ ทิศอีสานแห่งอัสสกะ นคร ิ ณ เมืองอุชเชน ( Ujjen ) ปัจจุบัน. ๓. คันธาระ ตั้งอยู่ตรงลุ่มน้ำ ยบมณฑลพรมแดนพายัพของอินเดียปัจจุบัน นครหลวงชื่อตักกสิลา ั้งอยู่ใต้แคว้นคันธาระ นครหลวงชื่อทวารกะ เป็นราชธานีซึ่งพระกฤษณะ ระกฤษณะ สร้างขึ้นริมมหาสมุทรในแคว้นวลภีหรือคุรชะ ซึ่งบัดนี้เรียก jarat ) ตั้งอยู่เหนือมณฑลบอมเบย์ ( Bombay ) ทุกวันนี้. ๕. สักกะ ันออกของแคว้นโกศล นครหลวงแห่ง ๑ ชื่อกบิลพัสดุ์ บัดนี้อยู่ในแขวง

) ในเนปาล.   ๖.  เดี๋ยวนี้อยู่ในเขตเนปาล.

ครองตำแหน่งเป็นมหาราช ตั้งราชสำนักอยู่ ณ กรุงสาวัตถี. การ ปกครองอาณาจักรที่รวมกันเช่นนี้ มีคำอรรถกถาธรรมบทปรารภ การปกครองกาสีและโกสละครั้งโบราณกล่าวว่า " ทฺวีสุ รฏฺเ€สุ รชฺชํ การยึสุ๑ " พระเจ้าทีฆาวุกับพระเหสีได้ทรงราชย์ในแคว้นทั้ง ๒ ดั่งนี้, น่าจะเห็นว่า ไม่ได้ถือเอาฝ่ายที่เข้ารวมเป็นพระเทศราชหรือ เป็นหัวเมืองขึ้น, เป็นแต่ปกครองรวมกัน เป็นพระราชาแห่งชนบท ทั้ง ๒ เช่นเดียวกับการปกครองอาณาจักรออสเตรีย ( Austria ) กับ ฮังการี ( Hungary ) ในแผ่นดินยุโรปในเวลานี้,๒ และการปกครอง อาณาจักรนอรฺเว ( Norway ) กับสวีเดน ( Sweden ) หลังแต่นี้เข้า ไปไม่ช้านัก. แต่ในโสณทัณฑสูตร๓ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค กล่าวว่า นครจัมปานั้น พระเจ้าพิมพิสารมคธราช พระราชทานให้โสณ- ทัณฑพราหมณ์ปกครอง, และในจีวรักขันธก มหาวรรค๔ พระวินัย กล่าวถึงพระเจ้ากาสี ทรงส่งผ้ากัมพลไปพระราชทานแก่หมอชีวก โกมารภัจจ์, และในอรรถกถา๕แก้ว่า พระเจ้ากาสีนั้น เป็นพระราช- ภาดาร่วมพระบิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล แต่ในที่อื่นไม่ได้กล่าวถึง พระเจ้ากาสีในครั้งพุทธกาลเลย. ถ้าฟังได้ตามนี้ การปกครองจะ พึงเป็นอย่างเมืองประเทศราชบ้าง อย่างเมืองอุปราชหรือเมืองลูก หลวงบ้าง แต่ไม่สมกับที่เรียกชื่อชนบทควบกัน. นอกจากนี้ได้พบ

ถา ป€ม. ๖๑. ๒. คือ พระราชวงศ์ฮัปสเบอรฺค ( Hapsburg ) ใน ยหลังมหาสงคราม พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้แยกกันปกครองโดยลัทธิประชา- ะมหากษัตริย์. ๓. ที. สี. ๙๑๔๒. ๔. มหาวคฺค. ทุติย. ๕๑๙๒.

ในชนวสภสูตร๑ ทีฆนิกาย มหาวรรค เรียกวัชชีกับมัลละ เจดีกับ วังสะ กุรุกับปัญจาละ มัจฉะกับสุรเสนะควบกัน. นี้นำให้สันนิษฐาน ว่า ชนบท ๒ ๆ เหล่านี้ รวมอยู่ในอาณาจักรเดียวกัน, แต่เมื่อสมัย แจกพระธาตุ ปรากฏชัดว่า วัชชีกับมัลละต่างอาณาจักรกัน. วัชชี กับมัลละอันหมู่ปกครอง ไม่มีพระราช ดังกล่าวแล้วในปริเฉท ที่ ๒. วังสะ กุรุ อวันตี ต่างมีพระราชาปกครอง, ตั้งราชสำนัก ณ นครโกสัมพี อันทปัตถะ อุชเชนี โดยลำดับกัน, นอกจากนั้นยัง ไม่ได้ข่าว.

          สักกชนบทนั้น  ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในปริเฉทที่ ๒  ว่า  ตั้งเป็น

หลายนคร และปกครองโดยสามัคคีธรรม; ต่อมาได้ค้นชื่อนครและ ตำบล ในนิทานต้นพระสูตร พบดั่งนี้ :-

          นคร ๓  คือกบิลพัสดุ์ ๑  วิธัญญา ๑  ศิลาวดี ๑,  นิคม ๔  คือ

เทวทหนิคม ๑ เมทฬุปนิคม ๑ โขมทุสสนิคม ๑ สักกรนิคม ๑, คาม ๑ คือ สาลคาม. ในโกลิยชนบท นิคม ๒ คือ หลิททวสนนิคม ๑ อุตตรนิคม ๑, คาม ๑ คือ รามคาม, พบคำเรียกว่า " กาปิลวตฺถวา สกฺยา " พวกศากยะชาวกบิลพัสดุ์ เข้าใจว่าน่าจะมีศากยะพวกอื่น, แต่พึ่งพบในนิทานต้นแห่งปาสาทิกสูตร๒ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ว่า " เวธฺา สกฺยา " พวกศากยะชาวเวธัญญา. นี้นำให้สันนิษฐาน ว่า ศากยะนั้นเป็นหลายพวก มีชื่อเรียกหลายเหล่าว่า ชาวเมือง นั้น ชาวเมืองนี้. ส่วนนิคมและคามนั้น จะเป็นแต่จังหวัดของนคร

๐๒๒๙. ๒. ที. ปา. ๑๑๑๒๘. หรือเป็นตัวนครเองไม่แน่, มีชัดแต่รามคามเป็นตัวนครเอง มีคำ เรียกในมหาปรินิพพานสูตร๑ว่า " รามคามกา โกลิยา " พวกโกลิยะ ชาวรามคาม.

          และข้อว่า  สักกชนบทอยู่ใต้อำนาจแห่งโกศลชนบทนั้น  นอก

จากคำของพระมหาบุรุษ ในบรรพชาสูตร๒ ที่ชักมากล่าวแล้วใน ปริเฉทที่ ๒ ได้พบอีกแห่งหนึ่ง ในธรรมเจติยสูตร๓ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เป็นคำของพระเจ้าปเสนทิโกศล ทูลพระศาสดา ว่า " พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นกษัตริย์ ข้าพเจ้าก็เป็นกษัตริย์, พระ ผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นชาวโกศล ข้าพเจ้าก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระ ภาคเจ้าก็มีชนมายุได้ ๘๐ ปี ข้าพเจ้าก็มีอายุได้ ๘๐ ปี ด้วย เหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงได้ทำความอ่อนน้อมเป็นอย่างยิ่งในพระผู้มีพระ ภาคเจ้า และแสดงอาการเป็นฉันมิตร " ดั่งนี้.

          ชนบทอื่น  ภัคคะ  ได้พบว่า  โพธิราชกุมารโอรสพระเจ้าอุเทน

พระเจ้าแผ่นดินวังสะ เป็นผู้ครอง ลงความว่าขึ้นในวังสะ. อังคุต- ตราปะได้พบว่า เป็นส่วนหนึ่งแห่งอังคะนั้นเอง อยู่เหนือแต่แม่น้ำมหี ขึ้นไป.

          วิเทหะ  เดิมมีพระราชครอง  ทรงพระนามว่าพระเจ้ามฆเทวะ

๐๑๙๔. ๒. ขุ. สุ. ๑๕๔๐๕. ๓. ม. ม. ๑๓๕๐๖. ๔. นี้แสดงว่า พบพระพุทธเจ้าในปีพุทธปรินิพพาน แต่พระเจ้าปเสนทิทิวงคตก่อน รรถกถาว่าเรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะพระโอรสได้ราชสมบัติแล้วยกกองทัพ าช พระพุทธเจายังได้เสด็จไปห้ามทัพ และปรินิพพานในปีที่ ๐ นั้นเอง. แต่ในครั้งพุทธกาล ไม่ปรากฏว่ามีพระราชา เป็นแต่พบว่าพราหมณ์ ชื่อพรหมายุอยู่ที่นั่น๑, แต่ไม่ได้กล่าวว่าอยู่ครองเหมือนโสณทัณฑ- พราหมณ์ครองนครจัมปา๒. คงตกอยู่ในอำนาจแห่งชนบทอื่นเสียแล้ว.

          มาถึงพุทธกาล  พระศาสดาและพระสาวก  ได้ประกาศพระศาสนา

ไปถึงชนบทไหนบ้าง จักกล่าวข้างหน้า.

ร. ม. ม. ๑๓๕๗๘. ๒. โสณทัณฑสูตร. ที. สี. ๙๑๔๒.

                                เรื่องผนวกที่ ๒
              ถอดใจความแห่งอภินิหารในเวลาประสูติ  
          ในเวลารจนาถึงประสูติ  ข้าพเจ้าได้ชักอภินิหารของพระมหา-

บุรุษ ที่พระคันถรจนาจารย์พรรณนาไว้มากล่าวด้วย แต่ยังไม่ได้ ปรารภจะถอดเอาใจความ, ครั้นมาถึงอธิการอื่น ตั้งแต่เสด็จออก บรรพชาเป็นต้นไป มีความบางข้อจะหลีกเสียว่าช่างเถิดไม่ได้ ก็จำ ต้องหานัยอธิบายให้แจ่มตามสามารถ, ตั้งแต่นั้นมา ได้สอดส่อง เพื่อจะถอดใจความแห่งข้อที่ท่านแสดงไว้โดยบุคคลาธิษฐาน, ข้อใด สันนิษฐานได้ ก็ได้ถอดใจความไว้, จนลุวิภาคปฐมโพธิกาลแล้ว หวนปรารภถึงอภินิหาเมื่อคราวประสูติ ข้าพเจ้าเชื่ออยู่ว่า คงมี มูลมาแต่ทางใดทางหนึ่ง ซึ่งเรายังไม่หยั่งทราบ, เป็นต้นว่าได้จาก หนังสือกาพย์ประพันธ์. ข้อที่ขบขันเป็นอย่างมาก ที่ชวนให้นึกไม่ วายว่า ได้แก่อะไรหนอ ก็คือพอประสูติแล้ว ทรงพระดำเนินได้ ตรัสได้, แต่เมื่อพิจารณาไป เกิดปฏิภาณขึ้นเองว่า เทียบกับได้ เวลาบำเพ็ญพุทธกิจนั่นเอง.

          พระองค์ตรัสรู้  ณ  จังหวัดคยา๑อันเป็นตนใต้  เสด็จเที่ยวประกาศ

พระศาสนาขึ้นไปหนเหนือ, แม้นเสด็จดำเนินด้วยพระบาท บ่ายพระ พักตร์สู่อุดรทิศ. เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่างพระบาท ๗ ก้าวแล้วหยุดยืนนั้น น่าจะได้แก่ทรงแผ่พระศาสนาได้แพร่หลายใน ๗ ชนบท, หรือเพียง

รียกว่า Buddha-Gaya. ได้เสด็จด้วยพระองค์เอง. ลองนับดูประมาณก็ได้กัน, นับชนบทที่ อยู่ในอาณาจักรเดียวกันเป็นแต่ ๑ คือ กาสีกับโกสละ ๑ มคธะ กับอังคะ ๑ สักกะ ๑ วัชชี ๑ มัลละ ๑ วังสะ ๑ กุรุ ๑ เป็น ๗, นอกจากนี้ มีแต่ชนบทน้อย ที่ขึ้นในชนบทในใหญ่. ทรงหยุดเพียงเท่า นั้น ไม่ก้าวต่อไป ก็ได้แก่สิ้นเวลาของพระองค์เพียงเท่านั้น.

          อาสภิวาจา  คือคำตรัสประกาศพระองค์ว่าเป็นเอกในโลกนั้น

ก็ได้แก่ตรัสพระธรรมเทศนาที่ตนได้ฟังอาจหยั่งเห็นพระคุณว่า พระ องค์เป็นยอดปราชญ์เพียงไร. เทียบลงกันได้อย่างนี้ จึงลงสันนิษฐาน ว่า เป็นความที่แสดงเทียบปฏิปทาเมื่อได้ตรัสแล้ว ทำให้เป็นเชิง บุรพนิมิต.

          ถอยหลังเข้าไปอีก  ก็คือพอประสูติแล้ว  มีเทวบุตรมารับ  ท่อ

น้ำร้อนน้ำเย็นตกจากอากาศสนานพระกาย, ได้แก่อาฬารดาบสและ อุททกดาบส หรือนักบวชอื่นรับไว้ในสำนัก, ทุกรกิริยาที่เปรียบ ด้วยท่อน้ำร้อน, วิริยะทางจิตที่เปรียบด้วยท่อน้ำเย็น ชำระพระ สันดานให้สิ้นสนเท่ห์ว่า อย่างไรเป็นทาง อย่างไรไม่ใช่ทาง.

          ถอยหลังเข้าไปอีก  คือเสด็จอยู่ในพระครรภ์,  พระองค์บริสุทธิ์

ไม่เปื้อนมลทิน ทรงนั่งขัดสมาธิ ไม่คุดคู้เหมือนคัพภเสยยกสัตว์อื่น ปรากฏแก่พระมารดา เหมือนด้ายเบญจพรรณอันบุคคลร้อยในแก้ว มณี, เสด็จออกขณะพระมารดาเสด็จยืน ได้แก่ทรงดำรงฆราวาส ไม่หลงเพลิดเพลินในกามคุณ ได้ทรงทำกิจที่ควรทำ, มีพระเกียรติ ปรากฏ เสด็จออกบรรพชาด้วยปรารถนาอันดี ไม่ใช่เพราะขัดข้อง ในฆราวาส, ทั้งได้วนะและร่มไม้เข้ามาประกอบด้วยกัน ช่วยทำให้ ความชัดขึ้น.

          ถอยหลังเข้าไปอีก เสด็จจุติจากชั้นดุสิต  เข้าสู่พระครรภ์

ปรากฏแก่พระมารดาในสุบินดุจพระยาช้างเผือก, แสดงอุปบัติขึ้น เป็นคนสำคัญของพระมหาบุรุษ ให้เกิดมีความยินดีพอใจทั่วหน้า.

          ฟังอธิบายมาเพียงเท่านี้  คงเข้าใจว่า  ความเหล่านี้ไม่ได้เกิด

ขึ้นโดยเว้นจากมูล, ท่านผู้รจนาได้ใช้ความดำริเทียบเคียงมากสัก เพียงไร จนพวกเราตามไม่ค่อยทัน เป็นเพราะความนิยมของหนังสือ ชนิดที่ต้องการความไพเราะด้วยประการทั้งปวงนั้นเอง.

          บางทีเพราะเป็นเรื่องเช่นนี้เอง  จึงเหลืออยู่ไม่สาบศูนย์เสีย  มี

อุทาหรณ์พอเทียบให้เห็น เช่นเรื่องขุนช้างขุนแผน, ได้ยินว่าเนื้อเรื่อง ก็เป็นตำนาน ถ้าไม่ได้แต่งเป็นเรื่องเสภาหรือเรื่องละคร ก็น่าจะสาบ ศูนย์เสียแล้ว, ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินยุโรปในรัชกาลที่ ๕ น่า จะมีคนอื่นซ้ำน้อย นอกจากต้องการจริง ๆ, การแสดงตำนานฝาก ไว้ในเรื่องกาพย์ จะเป็นอุบายรักษาตำนาน สมควรแก่สมัยของคน บ้างกระมัง ?