อีงออายุ ๑๗ ปีกับ ๔ เดือน ย่างเข้าใน ๑๘ ปี พิกัดกระเษียรอายุลดลงอยู่สามบาท แล้วนายเงินที่ ๕ ต้องออกเงินช่วยไถ่ รวมทั้งค่าตัวอ้ายกอ อีขอ อีงอ เปนเงินตรา ๓ ชั่ง ๕ ตำลึง สามบาท ถ้าอยู่กับนายเงินที่ ๕ ได้ ๒ ปีกับ ๘ เดือน อายุอีงอได้ ๒๐ ปีกับ ๒ เดือน ส่วนตัวอีงอหลุดพ้นค่าตัวเปนไทย แต่อ้ายกอ อีขอ พ่อแม่ ค่าตัวคง ๓ ชั่ง ๕ ตำลึงตามเดีม ถ้าอ้ายกอ อีขอ อ้ายคอ อีงอ คนใดคนหนึ่ง ตายเสียในระหว่างนายเงินใดนายเงินหนึ่ง ก็ให้คิดยกส่วนค่าตัวผู้ตาย ผู้ยัง เปนภัพแก่นายเงินตามพระราชกำหนดกฎหมายเดีม ๚ะ
๏มาตรา๕ว่า ตั้งแต่จุลศักราช ๑๒๓๖ ปีจอ ฉศกนี้ไป ผู้มีสินมีทรัพย์จะรับช่วยไถ่คนยากจนขาดแคลนมาเปนทาษลงใหม่ก็ดี ทาษเก่าที่วางเงินมาแต่นายอื่น ๆ ก็ดี ซึ่งมีลูกทาษเกีดในปีมโรง สัมริทธิศก ติดมาด้วยไซ้ร ให้ผู้เปนเจ้าเบี้ยนายเงินพร้อมกันกับอำเภอกำนันแลตัวทาษทำสารกรมธรรม์เขียนด้วยเส้นหมึกให้ชัดเปนส่วนออกว่า ลูกทาษชายหญิงเกิดในปีนั้น ๆ อายุได้เท่านัน เงินค่าตัวตามกระเษียรอายุใหม่เท่านั้น ให้ตัวทาษเขียนชื่อมันเอง ฤๅจ้างวานเขาเขียนชื่อมัน ไว้ในท้ายกรมธรรม์ แล้วประทับตราอำเภอกำนันไว้เปนสำคัญจงทุกฉบับ ๚ะ
๏มาตรา๖ทวยราษฎรซึ่งเปนไทยยังมิได้ทุกขยาก