หน้า:กม ร ๕ - ๒๔๔๓.pdf/98

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ศก ๑๑๙
91
 

อนึ่ง ทาษสินไถ่ในมณฑลตวันตกเฉียงเหนือนั้น ยังคงใช้ตามพระราชบัญญัติเดิมอันโบราณราชกระษัตริยตั้งไว้ตามคำภีร์พระธรรมสาตรในลักษณทาษ ๗ จำพวก คือ ทาษไถ่มาด้วยทรัพย์ เพราะฉนั้น ถ้าทาษไม่มีเงินมาให้แก่เจ้าทาษครบค่าแล้ว ก็ไม่มีเวลาที่จะพ้นยากจากทุกข์เปนไทยได้ ฝ่ายลูกทาษซึ่งเกิดแต่ทาษสินไถ่นั้น ถ้าเกิดในเรือนเบี้ย พอเกิดมาก็นับว่าเปนทาษมีค่าตัวไปดังนี้ จึงทรงพระราชดำริห์เห็นว่า ทาษชะเลยซึ่งได้มาในการศึกสงครามชั้นปู่ย่าบิดามารดาของคนทาษชะเลยปัจจุบันี้ ได้เปนทาษรับการงานใช้สอยของปู่ย่าบิดามารดาของนายเงินแลตัวนายเงินอยู่จนทุกวันนี้แล้ว แลลูกหลานเหลนของทาษชะเลยเหล่านี้ ตามประเพณีเมืองยังต้องจะเปนทาษสืบไปไม่มีที่สุดสิ้น ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า เปนการเดือดร้อนแก่อาณาประชาราษฎร ด้วยลูกหลานของทาษชะเลยสืบไปยังต้องรับโทษทุกข์ของปู่ย่าบิดามารดาอยู่ อนึ่ง การที่ว่าเปนทาษเช่นนี้ ก็ไม่มีหลักถานสิ่งใด มักนำให้บุตรหลานของนายเงินผู้รับมรฎกทาษต่อมาแย่งชิงเกิดเปนคดีวิวาทพาให้ยุ่งยากแก่โรงศาลบ้านเมือง แลส่วนลูกหลานของทาษสินไถ่นั้น เมื่อไม่มีเงินค่าไถ่ค่าตัวตามอัตราตัวเกษียณอายุเดิม ก็ต้องเปนทาษสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้สืบไปดังนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า พระราชบัญญัติลักษณทาษมณฑลตวันตกเฉียงเหนือ ร,ศ, ๑๑๙

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ เปนต้นไป