หน้า:กม ร ๕ - ๒๔๔๓.pdf/99

หน้านี้ได้ตรวจสอบแล้ว
92
ศก ๑๑๙
 

มาตราคำซึ่งว่าทาษชะเลย หมายความว่า ทาษซึ่งเรียกว่าค่าปลายหอกงาช้าง หรือค่าหอคนโฮ่ง ซึ่งเปนคนในพื้นเมือง

คำซึ่งว่าทาษสินไถ่นั้น หมายความว่า ทาษซึ่งนายเงินได้ออกช่วยไถ่ค่าตัวมาตามพระราชกำหนดกฎหมาย

มาตราตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ เปนต้นแลสืบไป ในมณฑลตวันตกเฉียงเหนือ ให้ลดค่าตัวทาษชะเลยทั้งปวง ชายให้คงมีค่าตัวแต่ ๒๕ บาท หญิงแต่ ๓๒ บาท

มาตราทาษชะเลยก็ดี ทาษสินไถ่ก็ดี ทั้งชายหญิง ถ้าอายุถึง ๖๐ ปีแล้ว พ้นค่าตัวเปนไทย

มาตราทาษชะเลยมีเงินจะมาขอไถ่ค่าตัวตามอัตราค่าตัวที่ลดตามมาตรา ๔ นายเงินต้องรับเงินจากตัวทาษ จะกักขังหน่วงเหนี่ยวไว้ไม่ยอมให้ไถ่ค่าตัวไม่ได้

มาตราบรรดาลูกทาษชายหญิงทั้งปวง ซึ่งเปนลูกทาษชะเลยก็ดี หรือลูกทาษสินไถ่ก็ดี ซึ่งเกิดในวันที่ ๑๖ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ หรือภายหลังวันที่ ๑๖ ธันวาคม ศก ๑๑๖ ซึ่งเปนวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศยุโรปคืนสู่พระนครโดยสวัสดิภาพนั้น สืบไปให้พ้นค่าตัวเปนไทย

มาตราบรรดาลูกทาษชะเลยชายหญิงซึ่งเกิดก่อนวันที่ ๑๖ ธันวาคม ศก ๑๑๖ นั้น ให้คิดค่าตัวตามรายปีจนอายุ ๑๐ ปี จึงให้เปนทาษเต็มค่าตัว เปนต้นว่า ลูกทาษชาย ให้คิดค่าตัวขึ้นตามอายุลูกทาษ ปีละ ๒บาท ๓๒ อัฐ เพิ่มขึ้นเปนรายปีไปจนอายุ ๓๐ ปี เต็มค่าตัวชาย ๒๕ บาท