หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/17

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๑ มิถุนายน ๑๒๗
เล่ม ๒๕ หน้า ๒๒๒
ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๕๘

ถ้าเด็กอายุกว่าสิบสี่ขวบขึ้นไป แต่ยังไม่ถึงสิบหกขวบ กระทำความผิด ท่านว่า ศาลควรพิจารณาดูเสียก่อนว่า มันมีสติพอจะรู้ผิดชอบได้หรือไม่

ถ้าปรากฎว่า มันยังอ่อนแก่ความคิด ไม่มีสติพอจะรู้ผิดชอบไซ้ ท่านว่า ให้ศาลกระทำแก่มันดุจเดียวกันกับที่ควรกระทำแก่เด็กอายุเกินกว่าเจ็ดขวบ แต่ยังไม่ถึงสิบสี่ขวบ ดังที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗ นั้น

ถ้าแลปรากฎว่า มันมีสติพอจะรู้ผิดชอบได้แล้ว ศาลจะสั่งให้ลงอาญาแก่มันตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดเช่นนั้นแต่กึ่งหนึ่ง หรือมิฉนั้น จะสั่งให้ส่งตัวมันไปไว้ในโรงเรียนดัดสันดานตามลักษณข้อ ๓ แห่งมาตรา ๕๗ นั้นก็ได้

มาตรา ๕๙

เมื่อใดความปรากฎว่า มีเหตุอันควรปรานีแก่ผู้กระทำผิดไซ้ ถึงว่าศาลจะได้เพิ่มหรือลดกำหนดโทษตามความในมาตราอื่นของกฎหมายนี้แล้วก็ดี ศาลยังลดโทษฐานปรานีได้อิกโสดหนึ่ง ไม่เกินกว่ากึ่งอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

ที่เรียกว่า เหตุอันควรปรานี นั้น ท่านประสงค์ในเหตุเหล่านี้ คือ ผู้กระทำผิดจริตไม่ปรกติก็ดี ผู้กระทำเปนผู้มีคุณความดีมาแต่ก่อนก็ดี ผ้กระทำผิด เมื่อกระทำลงแล้ว มันรู้สึกตัวกลัวผิดแลได้พยายามแก้ไขให้บันเทาผลร้ายที่มันทำนั้นก็ดี ผู้กระทำผิดมาลุแก่โทษก่อนที่ความผิดของมันได้ปรากฎก็ดี ผู้กระทำผิดรับสารภาพให้ความสัจความรู้ต่อศาลให้เปนประโยชน์ในทางพิจารณาคดีนั้นก็ดี แลความชอบอย่างอื่น ๆ ซึ่งศาลพิเคราะห์เห็นว่า เปนทำนองเดียวกับที่กล่าวมานี้ก็ดี ท่านให้ถือว่า เปนเหตุอันควรปรานีแก่ผู้กระทำผิดดุจกัน


มาตรา ๖๐

ผู้ใดพยายามจะกระทำความผิด แต่หากมีเหตุอันพ้นวิไสยของมันจะป้องกันได้มาขัดขวางมิให้กระทำลงได้ไซ้ ท่านว่า มันควรรับอาญาตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แบ่งเปนสามส่วน ให้ลงอาญาแต่สองส่วน

มาตรา ๖๑

ผู้ใดพยายามจะกระทำความผิด แต่ยับยั้งเสียด้วยใจตนเอง ไม่ได้กระทำความผิดนั้นลงไปให้ตลอดตามความมุ่งหมาย ท่านว่า ควรเอาโทษแก่มันเพียงความผิดที่มันไดกระทำลงไปแล้ว

มาตรา ๖๒

ผู้ใดพยายามจะกระทำความผิดฐานลหุโทษ ท่านว่า อย่าให้ลงอาญาแก่มันเลย