หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/18

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๒๕ หน้า ๒๒๓
วันที่ ๑ มิถุนายน ๑๒๗
ราชกิจจานุเบกษา


มาตรา ๖๓

ในคดีที่บุคคลตั้งแต่สองขึ้นไปกระทำความผิดอย่างเดียวกัน ท่านให้ถือว่า บรรดาผู้ที่ได้ลงมือกระทำความผิดนั้นเปนตัวการ แลอาจลงอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นแก่มันทุกคนเหมือนอย่างมันได้กระทำความผิดแต่ผู้เดียวฉนั้น

มาตรา ๖๔

ผู้ใดใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยอุบายอย่างใดใด เช่น ว่าจ้างวานหรือบังคับขู่เข็ญข่มขืนให้ผู้อื่นกระทำความผิด เปนต้น ท่านว่า มันผู้ใช้นั้นต้องรวางโทษฐานเปนตัวการ

มาตรา ๖๕

ผู้ใดกระทำการอุดหนุนแก่ผู้กระทำผิดด้วยประการหนึ่งประการใดดังจะกล่าวต่อไปในมาตรานี้ คือว่า

(๑) ช่วยหาช่องโอกาศ หรือให้กำลังพาหนะ หรือให้ความรู้ อันเปนอุปการะแก่การที่กระทำผิดนั้นก็ดี

(๒) กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในเวลาแต่ก่อนหรือเมื่อขณะความผิดนั้นได้เกิดขึ้น อันเปนการอุปการะแก่การกระทำผิดนั้นก็ดี

ท่านว่า ผู้กระทำการดังกล่าวมานี้เปนผู้สมรู้ด้วยผู้กระทำผิด แลอาญาที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นเท่าใด รวางโทษส่วนมันผู้สมรู้นั้น ท่านให้ลดจากกำหนดลงส่วนหนึ่ง คงไว้แต่สองส่วน

มาตรา ๖๖

ถ้ามีความผิดเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โฆษนาการในสมุด หรือในหนังสือที่ออกโดยมีกำหนด หรือในจดหมายอย่างใดใด ท่านให้ถือว่า ผู้ที่ให้โฆษนานั้นมีความผิดแลต้องรวางโทษฐานเปนตัวการ

ถ้าหากว่า จะเอาตัวผู้ที่ให้โฆษนามาพิจารณามิได้ไซ้ ท่านให้ถือว่า ผู้ที่โฆษนาหรือผู้ที่พิมพ์หนังสือนั้นต้องรวางโทษฐานตัวการดุจกัน

มาตรา ๖๗

ผู้ใดจำหน่าย ขาย แจกสมุดหรือหนังสือซึ่งความผิดมีอยู่เพราะโฆษนาการ ถ้าแลมันผู้จำหน่าย ขาย แจกหนังสือนั้นรู้อยู่ว่า เปนหนังสือซึ่งเปนเหตุแห่งความผิดไซ้ ท่านว่า มันต้องรวางโทษฐานเปนผู้สมรู้ด้วยผู้กระทำผิด

มาตรา ๖๘

ในคดีเรื่องใด ถ้าผู้กระทำผิดมีเหตุเปนส่วนตัวอันควรจะได้รับความยกเว้น