หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/19

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๑ มิถุนายน ๑๒๗
เล่ม ๒๕ หน้า ๒๒๔
ราชกิจจานุเบกษา

อาญาก็ดี ลดหย่อนอาญาก็ดี หรือเพิ่มอาญาก็ดี ท่านให้ยกเหตุนั้นขึ้นใช้เฉภาะแก่ตัวมันเปนคน ๆ ไป ห้ามมิให้ยกเหตุที่มีในผู้หนึ่งไปใช้ตลอดถึงผู้อื่นที่กระทำผิดในคดีอันเดียวกันนั้น

ต่อเหตุที่ควรยกเว้นอาญา หรือลดหย่อนอาญา หรือเพิ่มอาญานั้นเปนเหตุอยู่ในส่วนลักษณดี ท่านจึงว่า ควรยกเหตุนั้นขึ้นใช้แก่ผู้กระทำผิดในคดีอันเดียวกันได้ทุกคน

มาตรา ๖๙

ผู้ใดสมรู้ในความผิดฐานลหุโทษ ท่านว่า ไม่ควรลงอาญาแก่มัน


มาตรา ๗๐

ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง แลการที่กระทำนั้นเปนการเลมิดกฎหมายหลายบทด้วยกัน ท่านให้ใช้บทกฎหมายที่อาญาหนักลงโทษแก่มัน

มาตรา ๗๑

เมื่อศาลพิจารณาเห็นว่า ผู้ใดมีความผิดหลายกทง ในคำพิพากษาอันเดียวกัน ศาลจะพิพากษาลงโทษตามกทงความผิดทุกกทงก็ได้ แต่เมื่อรวมโทษทุกกทงเข้าด้วยกัน ถ้าจะต้องจำคุก อย่าจำให้เกินยี่สิบปีขึ้นไป เว้นแต่โทษของมันถึงจำคุกตลอดชีวิตร์ เช่นนั้น ต้องเปนไปตามโทษ ถ้าแลรวมโทษทุกกทง ในฐานที่จะต้องจำคุกแทนปรับ ท่านว่า อย่าให้จำมันเกินกว่าสองปีขึ้นไป


มาตรา ๗๒

ผู้ใดถูกพิพากษาให้ลงโทษเพราะได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด แลเมื่อมันได้พ้นโทษไปแล้ว ไปกระทำความผิดขึ้นอิกภายในเวลาที่ท่านกำหนดไว้ ท่านว่า มันไม่เข็ดหลาบ

ผู้ใดศาลพิจารณาได้ความจริงว่า ไปกระทำความผิดขึ้นอิกภายในระหว่างห้าปีตั้งแต่ได้พ้นโทษไป ผู้นั้นต้องรวางโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดที่มันทำครั้งหลัง ทั้งเพิ่มโทษนั้นขึ้นอิกส่วนหนึ่งในสามส่วนด้วย

มาตรา ๗๓

ผู้ใดไม่เข็ดหลาบ แลมันกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจำแนกไว้ในมาตรานี้ ขึ้นอิกภายในสามปี ท่านว่า มันต้องรวางโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดที่มันกระทำครั้งหลังนั้น ทั้งเพิ่มโทษนั้นขึ้นอิกกึ่งหนึ่งด้วย