หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/24

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๒๕ หน้า ๒๒๙
วันที่ ๑ มิถุนายน ๑๒๗
ราชกิจจานุเบกษา

แต่อำนาจที่จะบังคับให้ช่วยกันเสียหรือเสียแต่บางคนเช่นนี้ ท่านให้ใช้ได้แต่เฉภาะการบังคับให้เสียค่าทุนทรัพย์แลสินไหม ท่านห้ามมิให้ใช้ถึงโทษจำคกแทนค่าเหล่านั้น

มาตรา ๙๔

ถ้าต้องยึดทรัพย์ผู้ใดเพื่อใช้ค่าฤชาธรรมเนียม ใช้ค่าปรับ ใช้ค่าทุนทรัพย์แลค่าสินไหมด้วยกัน ถ้าทรัพย์ของมันไม่พอแก่ที่จะเสียได้ทั้ง ๓ อย่างไซ้ ท่านให้เอาทรัพย์นั้นใช้ในการต่าง ๆ เปนลำดับกันดังนี้ คือว่า

(๑) ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมจนครบก่อน

(๒) ใช้ค่าทุนทรัพย์แลค่าเสียหายรองมาจนครบแล้ว จึง

(๓) ใช้ค่าปรับเปนพินัยหลวง

มาตรา ๙๕

ถึงว่าผู้ที่ถูกความเสียหายเพราะการกระทำผิดจะไม่ได้ร้องฟ้องในทางแพ่งก็ดี เมื่อศาลพิพากษาคดีในทางอาญา ศาลจะพิพากษาให้คืนทรัพย์สิ่งของหรือใช้ราคาแทนทรัพย์สิ่งของให้แก่ผู้ซึ่งกฎหมายถือว่าเปนเจ้าของนั้นก็ได้

มาตรา ๙๖

การฟ้องคดีทางแพ่งอันเกี่ยวด้วยความผิดฐานอาญานั้น ท่านให้มีเขตร์อายุความดุจกันกับการฟ้องคดีทางอาญาในความเรื่องเดียวกันตามที่บัญญัติไว้ตั้งแต่มาตรา ๗๘ ถึงมาตรา ๘๑ และในมาตรา ๘๕ แลมาตรา ๘๖ นั้น




มาตรา ๙๗

ผู้ใดทนงองอาจกระทำการประทุษฐร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระมเหษีก็ดี มกุฎราชกุมารก็ดี ต่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในเวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี ท่านว่า โทษของมันถึงต้องประหารชีวิตร์

ผู้ใดพยายามจะกระทำการประทุษฐร้ายเช่นว่ามาแล้ว แม้เพียงตระเตรียมการก็ดี สมคบกันเพื่อการประทุษฐร้ายนั้นก็ดี หรือสมรู้เปนใจด้วยผู้ประทุษฐร้าย ผู้พยายามจะประทุษฐร้ายก็ดี มันรู้ว่า ผู้ใดคิดประทุษฐร้ายเช่นว่ามานี้ มันช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นก็ดี ท่านว่า โทษมันถึงตายดุจกัน

มาตรา ๙๘

ผู้ใดทนงองอาจแสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาทต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระมเหษีก็ดี มกุฎราชกุมาร