แก่ปัตยุบันสมัยทั่วไปในประเทศยี่ปุ่น เมื่อประเทศทั้งปวงแลเห็นว่า กฎหมายแลศาลของยี่ปุ่นเปนระเบียบแบบแผนเรียบร้อยดีแล้ว ก็ยอมแก้สัญญายกเลิกอำนาจศาลกงสุลให้คนในบังคับต่างประเทศอยู่ในอำนาจกฎหมายแลศาลยี่ปุ่นตั้งแต่นั้นมา มีประเทศยี่ปุ่นที่เลิกอำนาจศาลกงสุลต่างประเทศได้ด้วยอุบายที่จัดการดังกล่าวมานี้เปนปฐม แลเปนทางที่ประเทศอื่น ๆ อันได้รับความลำบากอยู่ด้วยวิธีศาลกงสุลต่างประเทศเข้ามาตั้งในบ้านเมืองจะดำเนิรตามให้สำเร็จประโยชน์อย่างเดียวกันได้ ด้วยเหตุเหล่านี้ จึงได้โปรดให้หาเนติบัณฑิตย์ผู้ชำนาญกฎหมายต่างประเทศเข้ามารับราชการหลายนาย มีมองซิเออร์โลแลง ยัคแมงส์ ผู้ได้เคยเปนเสนาบดีในประเทศเบลเคียม ที่ได้มารับพระราชทานบรรดาศักดิ์เปนเจ้าพระยาอภัยราชานั้น เปนต้น แลเมื่อรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้มีกรรมการผู้ชำนาญกฎหมายทั้งฝ่ายไทยแลต่างประเทศ คือ
พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เปนประธาน ๑
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ซึ่งเคยรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ๑
พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม) เมื่อเปนอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง ๑
เจ้าพระยาอภัยราชา ที่ปฤกษาราชการ ๑
มองซิเออร์ริชาด์ ยัคส์ เกอกแปตริก เนติบัณฑิตย์เบลเคียม ที่ปฤกษากฎหมาย ๑
หมอโตกีจิ มาเซา เนติบัณฑิตย์ยี่ปุ่นเมื่อเปนผู้ช่วยของที่ปฤกษาราชการ ๑
พร้อมกันตรวจพระราชกำหนดบทพระอัยการเก่าใหม่แลปฤกษาลักษณการที่จะชำระแลจัดระเบียบกฎหมายเปนเดิมมา มองซิเออร์เกอกแปตริกถึงแก่กรรม มองซิเออร์คอร์เนย์ ชเลสเตอร์ เนติบัณฑิตย์เบลเคียม ได้รับตำแหน่งแทน แลได้รับหน้าที่พร้อมด้วยหมอโตกีจิ มาเซา ช่วยกันรวบรวมพระราชกำหนดบทพระอัยการอันควรคงจะใช้ต่อไปเรียบเรียงเปนร่างขึ้นไว้ แต่ยังหาได้ตรวจชำระไม่ ครั้นเมื่อรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๓ ทรงพระกรุณาโปรดให้หามองซิเออร์ยอชส์ ปาดู เนติบัณฑิตย์ฝรั่งเศส เข้ามารับราชการในตำแหน่งที่ปฤกษาในการร่างกฎหมาย จึงได้โปรดให้ตั้งกรรมการ มี
มองซิเออร์ยอชส์ ปาดู เปนประธาน ๑
มิสเตอร์วิลเลียม แอลเฟรด คุณะ ติลเก ผู้แทนเจ้ากรมอัยการ ๑
พระอัตถการประสิทธิ์ (ปลื้ม) ผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศ ๑
หลวงสกลสัตยาทร (ทองบุ๋น) ผู้พิพากษาศาลแพ่ง ๑
รับร่างกฎหมายที่กรรมการก่อนได้ทำไว้มาตรวจชำระแก้ไขอิกครั้งหนึ่ง เมื่อกรรม