หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/5

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๑ มิถุนายน ๑๒๗
เล่ม ๒๕ หน้า ๒๑๐
ราชกิจจานุเบกษา

การนี้ได้ชำระร่างกฎหมายส่วนลักษณอาญาเสร็จ แลได้ส่งร่างนั้นไปปฤกษาเจ้ากระทรวงฝ่ายธุระการบรรดามีหน้าที่ราชการเกี่ยวข้องต้องปฏิบัติเนื่องด้วยกฎหมายนี้ทุกกระทรวง แล้วจึงนำร่างนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งกรรมการเสนาบดี มี

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เปนประธาน ๑

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ เสนาบดีกระทรวงนครบาล ๑

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ๑

พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ๑

แลให้มีกรรมการสำหรับตรวจเทียบเคียงถ้อยคำบทกฎหมายที่ร่างใหม่กับกฎหมายเก่า มี

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ กรรมการศาลฎีกา เปนประธาน ๑

พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม) กรรมการศาลฎีกา ๑

พระบริรักษ์จัตุรงค์ (พุ่ม) กระทรวงต่างประเทศ ๑

ช่วยกันตรวจชำระร่างกฎหมายลักษณอาญาที่ร่างใหม่ พร้อมด้วยกรรมการซึ่งมองซิเออร์ยอชส์ ปาดู เปนประธานนั้น เปนชั้นที่สุดอิกชั้นหนึ่ง กรรมการทั้งหลายนี้ได้ลงมือตรวจชำระมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕ ครั้นเมื่อมาประจวบเวลาเสด็จประพาศประเทศยุโรป พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ไปตามเสด็จ หมอโตกีจิ มาเซา กรรมการศาลฎีกา แลมิสเตอร์ยอนสติววาด แบล๊ก เนติบัณฑิตย์อังกฤษ กรรมการศาลฎีกา ได้รับหน้าที่ในกรรมการนี้แทนพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ตลอดมาจนถึงเดือนกันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ การตรวจชำระร่างกฎหมายลักษณอาญาสำเร็จได้ดังพระราชประสงค์ ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อเสด็จกลับคืนพระนคร ทรงตรวจแก้ไขด้วยพระองค์เองอิกชั้นหนึ่ง แลได้ทรงปฤกษาในที่ประชุมเสนาบดีเห็นชอบโดยพระราชบริหารแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราไว้เปนพระราชบัญญัติสืบไป ดังนี้


มาตรา ๑

ให้เรียกพระราชบัญญัตินี้ว่า กฎหมายลักษณอาญา

มาตรา ๒

ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้เปนกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๒๑ เดือนกันยายน รัตนโกสินทร์ ๑๒๗ เปนต้นไป

มาตรา ๓

ตั้งแต่วันที่ใช้กฎหมายนี้สืบไป ให้ยกเลิก

(๑) บรรดาพระราชกำหนดกฎหมายที่มีแจ้งอยู่ในบาญชีข้างท้ายกฎหมายนี้