หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/8

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๒๕ หน้า ๒๑๓
วันที่ ๑ มิถุนายน ๑๒๗
ราชกิจจานุเบกษา

เปนเครื่องหมายต่างอักษรชื่อซึ่งบุคคลไม่รู้หนังสือเขียนลงไว้ในจดหมายนั้นด้วย

(๒๒)ปีหนึ่ง นั้น ท่านหมายความว่า ระยะเวลาสิบสองเดือนตามสุริยคติกาล โดยวิธีของรัฐบาล

(๒๓)วันหนึ่ง นั้น ท่านหมายความว่า ระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง

(๒๔)กลางคืน นั้น ท่านหมายความว่า เวลาระหว่างตั้งแต่พระอาทิตย์ตกไปจนพระอาทิตย์ขึ้น

(๒๕)ตอน นั้น ท่านหมายความว่า ส่วนข้อความในมาตราหนึ่งที่ตั้งต้นด้วยบรรทัดย่อหน้า

(๒๖)ข้อ นั้น ท่านหมายความว่า ส่วนข้อความในมาตราหนึ่งที่ขึ้นต้นด้วยบรรทัดย่อ แลมีเครื่องหมายเปนอักษรหรือเปนเลขกำกับอยู่ข้างหน้า


มาตรา ๗

บุคคลควรรับอาญาต่อเมื่อมันได้กระทำการอันกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติว่า เปนความผิด แลกำหนดโทษไว้

แลอาญาที่จะใช้ลงโทษผู้กระทำผิดนั้น ก็ไม่ควรใช้อาญาอย่างอื่นนอกจากอาญาที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย

มาตรา ๘

เมื่อใดความปรากฏว่า กฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะเมื่อผู้ต้องหากระทำการที่เกิดเปนคดีขึ้นนั้นต่างกันกับกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะเมื่อพิจารณาคดีไซ้ ท่านให้ใช้กฎหมายฝ่ายที่มีโทษเบาแก่ผู้ต้องหา

มาตรา ๙

บุคคลกระทำผิดภายในสยามประเทศ ท่านให้พิจารณาแลลงอาญาตามพระราชกำหนดกฎหมาย

มาตรา ๑๐

ผู้ใดกระทำความผิดภายนอกสยามประเทศ จะต้องรับอาญาภายในพระราชอาณาจักรแต่ในคดีเหล่านี้ คือ

(๑)คดีที่กระทำผิดคิดประทุษฐร้ายต่อพระเจ้าอยู่หัว หรือประทุษฐร้ายต่อพระราชอาณาจักร์ ตามความที่กล่าวไว้ตั้งแต่มาตรา ๙๗ จนมาตรา ๑๑๑

(๒)คดีที่เปนความผิดในทางปลอมเงินตรา ปลอมดวงตรา หรือปลอมบัตร์ตราหลวง ตามความที่กล่าวไว้ตั้งแต่มาตร ๒๐๒ จนมาตรา ๒๒๑

(๓)คดีที่เปนความผิดในฐานโจรสลัด

(๔)คดีที่คนในบังคับสยามไปกระทำผิดประกอบพร้อมด้วยเหตุ ๔ ประการนี้ คือ

ประการที่รัฐบาลประเทศอื่นหรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายได้ร้องฟ้องขอให้ทำโทษ

ประการที่ความผิดที่ได้กระทำนั้น กฎหมายในเมืองที่ผู้นั้นไปกระทำผิดบัญญัติว่า จะต้องถูกลงอาญา