หน้า:กอ ๑๒๗ (๒๔๕๑).pdf/9

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๑ มิถุนายน ๑๒๗
เล่ม ๒๕ หน้า ๒๑๔
ราชกิจจานุเบกษา

ประการที่  ความผิดที่กระทำนั้น แม้กระทำในสยามประเทศ พระราชกำหนดกฎหมายก็บัญญัติว่า จะต้องถูกลงอาญา

ประการที่  ผู้กระทำผิดนั้น ศาลในประเทศที่มันไปกระทำผิดไม่ได้ตัดสินปล่อยมันเสียโดยว่า ไม่มีโทษ หรือศาลตัดสินให้ลงอาญาแล้ว แต่มันยังไม่ได้รับอาญาตามคำตัดสิน หรือยังไม่พ้นอาญา ด้วยความยกเว้นแลลดหย่อนผ่อนโทษให้แก่มัน

มาตรา ๑๑

บรรดาความที่บัญญัติไว้ในภาค ๑ แห่งกฎหมายลักษณอาญานี้ ท่านให้ใช้ได้ทั่วไปในสรรพคดีซึ่งพระราชกำหนดกฎหมายอื่นบัญญัติว่า เปนความผิดอันควรลงอาญา เว้นเสียแต่ที่พระราชกำหนดกฎหมายนั้น ๆ บัญญัติไว้เปนอย่างอื่น


มาตรา ๑๒

อาญาสำหรับลงโทษแก่ผู้กระทำผิดนั้น ท่านกำหนดไว้เปนหกสฐานดังนี้

สฐานหนึ่ง ให้ประหารชีวิตร์

สฐานหนึ่ง ให้จำคุก

สฐานหนึ่ง ให้ปรับ

สฐานหนึ่ง ให้อยู่ภายในเขตร์ที่อันมีกำหนด

สฐานหนึ่ง ให้ริบทรัพย์

สฐานหนึ่ง ให้เรียกประกันทานบน

มาตรา ๑๓

ผู้ใดต้องคำพิพากษาให้ลงอาญาประหารชีวิตร์ ท่านให้เอามันไปตัดศีร์ษะเสีย

มาตรา ๑๔

ถ้าจะลงอาญาประหารชีวิตร์แก่ผู้ใด ท่านให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาเสียก่อน ต่อได้รับพระราชทานพระบรมราชาอนุญาตแล้ว จึงให้เอาตัวมันไปประการชีวิตร์ณะตำบลแลในเวลาที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการอันนั้นจะเห็นสมควร

มาตรา ๑๕

ศพของคนที่ต้องอาญาประหารชีวิตร์นั้น ถ้ามีญาติมาขอรับศพไปปลง ก็ให้ให้ไป แต่ห้ามมิให้ไปทำการปลงศพคนโทษที่ต้องประหารชีวิตร์นั้นเปนการเอิกเกริก

มาตรา ๑๖

หญิงใดจะต้องประหารชีวิตร์ ถ้ามีครรภ์ ท่านให้รอไว้ให้มันคลอดเสียก่อน จึงให้ประหารชีวิตร์

มาตรา ๑๗

โทษปรับนั้น ท่านหมายความว่า จำนวนเงินอันกำหนดไว้ในคำพิพากษา ให้ปรับเปนพินัยหลวง

มาตรา ๑๘

ผู้ใดต้องคำพิพากษาให้ปรับ แลมิใช้ค่าปรับภายในสิบห้าวัน นับตั้งแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น ให้ยึดทรัพย์สมบัติมัน