หน้า:การตรวจชำระและร่าง ปกม ในกรุงสยาม - ยธ - ๒๔๗๒.pdf/23

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๑

ปรึกษาในเสนาบดีสภาหรืออภิรัฐมนตรีสภา เมื่อความเห็นนั้นได้รับอนุมัติแล้ว จึ่งคิดร่างกฎหมายโดยละเอียดต่อไป ส่วนที่จะออกกฎหมายหรือประกาศอื่น ๆ นั้น เมื่อเจ้ากระทรวงได้ตกลงในเรื่องโครงการและข้อสำคัญแล้ว ควรปรึกษาหารือติดต่อกับเจ้ากระทรวงทบวงการอื่นที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นเสียก่อน เมื่อตกลงเป็นเด็ดขาดอย่างใดแล้ว จึ่งค่อยส่งเรื่องมายังกรมร่างกฎหมาย เพื่อร่างขึ้นเป็นกฎหมาย

ในกรมร่างกฎหมาย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงยุตติธรรมเป็นนายกกรรมการโดยตำแหน่ง[1] กับมีกรรมการ[2] 


  1. เจ้าพระยาอภัยราชาฯ (พ.ศ. ๒๔๖๖–๒๔๖๙)
    เจ้าพระยาพิชัยญาติฯ (พ.ศ. ๒๔๖๙–๒๔๗๑)
    พระยาจินดาภิรมย์ฯ (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๑)
  2. กรรมการไทย พระยานรเนติบัญชากรกิจ (ลัด เศรษฐบุตร) (จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๒)
    พระยาจินดาภิรมย์ฯ (จิตร ณสงขลา)
    พระยาเทพวิทุรฯ (บุญช่วย วณิกกุล)
    พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณสงขลา) (เคยเป็นกรรมการประจำกรมร่างกฎหมายจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๗)
    พระราชวรวงศเธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙)
    พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙)