กงสุลเขียนเป็นหนังสือถึงผู้พิพากษาแห่งศาลซึ่งพิจารณาความค้างอยู่ยังไม่แล้ว ในคดีที่คนชาวอเมริกัน หรือบริษัท หรือพวกหุ้นส่วนหรือสมาคม ที่สมควรอยู่ในป้องกันของอเมริกัน เป็นจำเลยหรือผู้ต้องหานั้น ถอนคดีที่ชำระค้างอยู่ในศาลสยามใด ๆ ก็ได้ ยกเว้นแต่ศาลฎีกาจึงถอนไม่ได้ ฯลฯ⟨”⟩[1] นอกจากนี้ คดีที่ได้ถอนไปพิจารณากันที่ศาลกงสุลนั้น จะต้องใช้กฎหมายสยามที่ได้ประกาศใช้แล้วขึ้นบังคับ รวมความตามสัญญาอเมริกันฉะบับนี้ ประเทศสยามได้เลิกอำนาจศาลกงสุลอเมริกันซึ่งมีอยู่ตามสัญญาเก่าปี ค.ศ. ๑๘๕๖ เสีย โดยคนอเมริกันทุกคนต้องอยู่ใต้อำนาจศาลสยามธรรมดา แต่เพื่อเป็นหลักประกันความยุตติธรรมอย่างดีที่สุด กรุงสยามยอมให้ฝ่ายเขามีสิทธิถอนคดีไปพิจารณาที่ศาลกงสุลได้ แต่ต้องเป็นคดีภายในชั้นศาลอุทธรณืได้ แลมีกำหนดเวลานับตั้งแต่ประเทศสยามประกาศใช้ประมวลกฎหมายครบแล้วอีก ๕ ปี และฉะเพาะในคดีที่คนอเมริกันเป็นจำเลยหรือผู้ต้องหา
ลุพุทธศักราช ๒๔๖๖ กรุงสยามได้เซ็นสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศญี่ปุ่นอีกเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม (แลกเปลี่ยนสัตยาบันวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๗) สัญญาฉะบับนี้ยกเลิกสัยญาเก่าปี ค.ศ. ๑๘๙๘ โดยญี่ปุ่นยอมให้คนของเขาอยู่ใต้อำนาจศาลไทยธรรมดา แลการถอนคดีก็ดำเนินตามแบบสัญญาอเมริกันทุกประการ แต่มีข้อที่ควรสังเกต คือ สัญญาฉะบับนี้ต่างกับสัญญาเก่าอยู่หน่อย ตามสัญญาเก่า สิทธิต่าง ๆ เกี่ยวกับศาลพิเศษนี้เป็นอันสิ้นสุดลงเด็จขาดเมื่อกรุงสยามได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายครบถ้วนแล้ว แต่สัญญาฉะบับใหม่นี้ให้สิทธิถอนคดีมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายครบบริบูรณ์แล้วและต่อจากนั้นไปอีก ๕ ปี
- ↑ ดูราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๘ หน้า ๒๓๕–๒๓๖