บริษัท หรือสมาคมอังกฤษ อันได้รวบรวมจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอังกฤษ เป็นคู่ความ หรือคดีที่คนเอเชียในบังคับอังกฤษเป็นจำเลยหรือผู้ต้องหา ก็ให้มีที่ปรึกษากฎหมายนั่งฟังการพิจารณาด้วย
๓)ให้ศาลจังหวัดที่รับฟ้องคดีไว้นั้นดำเนินการพิจารณาคดี และให้ทำความเห็นปิดสำนวนเสนอส่งมายังศาลเจ้าหน้าที่ จะได้ทำการพิพากษาต่อไป
๔)ส่งที่ปรึกษากฎหมายออกไปนั่งฟังการพิจารณาคดี และสั่งไปให้ศาลจังหวัดที่ได้รับฟ้องทำความเห็นเสนอมายังศาลเจ้าหน้าที่ (คือศาลที่ได้สั่งไป) ศาลเจ้าหน้าที่จะได้พิพากษาพร้อมด้วยที่ปรึกษากฎหมายนั้น
ในคดีที่คนในบังคับอังกฤษมิใช่เชื้อสายชาวเอเซีย หรือองค์คณะ หรือบริษัทสมาคมอังกฤษเป็นคู่ความ หรือคนเอเซียในบังคับอังกฤษ เป็นจำเลยหรือผู้ต้องหาแล้ว ในศาลชั้นต้นต้องมีที่ปรึกษาชาวยุโรปนั่งพิจารณาและบันทึกความเห็นไว้นายหนึ่ง ในชั้นศาลอุทธรณ์สองนาย ชั้นศาลฎีกาสองนาย
แต่อำนาจศาลสยามเกี่ยวกับการรับฟ้องในคดีแพ่งนั้นมีแตกต่างออกไป คือ ในคดีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์มฤดกของคนในบังคับอังกฤษซึ่งจดทะเบียนก่อนสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๙ ซึ่งกงสุลอังกฤษยังมิได้จัดตั้งผู้จัดการทรัพย์มฤดกให้จัดการทรัพย์นั้น และทั้งข้อพิพาทที่นำมาฟ้องร้องนั้นก็มิได้เกิดจากการจัดการทรัพย์มฤดกรายนั้นเองแล้ว ศาลไทยไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษา โดยกงสุลอังกฤษแต่ผู้เดียวมีอำนาจที่จะจัดตั้งผู้จัดการทรัพย์มฤดกของบุคคลเหล่านี้
อำนาจของศาลกงสุลอังกฤษเกี่ยวเรื่องทรัพย์มฤดกมีอยู่บ้างดังนี้
ในเรื่องมฤดก คนในบังคับอังกฤษจดทะเบียนก่อนสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๙ กงสุลมีอำนาจตั้งผู้จัดการมฤดก โดยปิดประกาศแจ้งความตามธรรมเนียมก่อน ถ้ามีผู้ยื่นคำร้องคัดค้านกงสุล ต้องสั่งให้ผู้ร้องคัดค้านไปฟ้องยังศาลไทยภายในเวลากำหนดได้ เมื่อฟ้องแล้ว ศาลไทยมีอำนาจสั่งตั้งผู้จัดการมฤดกได้ และมีอำนาจที่จะสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดในเรื่องที่เกี่ยวกับมฤดกนั้น และฝ่ายกงสุลก็มีอำนาจแต่เพียงรวบรวมทรัพย์มฤดกนั้น ๆ ในฐานเป็นตัวแทนของผู้ที่คอยรับทรัพย์นั้นเท่านั้น
อำนาจกงสุลอังกฤษในเรื่องมฤดกเหล่านี้นั้นจะสิ้นสุดลงเมื่อมีประกาศ