ฟ้องไว้ หรือศาลหนึ่งศาลใด จัดการไต่สวนฟังคำพะยานในคดีพร้อมด้วยที่ปรึกษากฎหมายชาวยุโรปซึ่งทางกระทรวงยุตติธรรมจะได้ส่งไปนั่งพิจารณาคดีนั้น และให้ศาลนั้นส่งสำนวนมาให้ศาลต่างประเทศทำคำพิพากษาพร้อมด้วยที่ปรึกษากฎหมายชาวยุโรปนั้น เมื่อการพิจารณาเสร็จสำนวนแล้ว
(๒)ถ้าไม่เป็นคดีอุกฉกรรจ์ ก็จะให้ศาลที่รับฟ้องพิจารณาแล้วส่งสำนวนมาให้ศาลต่างประเทศพิจารณาพร้อมด้วยที่ปรึกษาชาวยุโรปซึ่งจะนั่งในตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาคนหนึ่ง
ถ้าพลเมืองฝรั่งเศสเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในฐานเป็นจำเลยหรือผู้ต้องหา ศาลพึงปฏิบัติอย่างเดียวกับชั้นรับฟ้อง
(๑)ในศาลชั้นต้น ถ้าพลเมืองฝรั่งเศสเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องมีที่ปรึกษากฎหมายชาวยุโรปนั่งในตำแหน่งผู้พิพากษาหนึ่งนาย เว้นแต่ในคดีที่ศาลชั้นต้นนั้นได้รับอำนาจจากศาลต่างประเทศให้ทำการพิจารณา และ⟨ฟัง⟩คำพะยานแล้ว ก็ส่งสำนวนไปศาลต่างประเทศ โดยศาลต่างประเทศจะได้ทำคำพิพากษาพร้อมด้วยที่ปรึกษากฎหมายชาวยุโรปนายหนึ่ง ดังนี้ ชั้นไต่สวนในศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องมีที่ปรึกษากฎหมาย
(๒)ศาลจะแจ้งวันนัดพิจารณาคดีทุกนัดไปให้กงสุลหรือไวซกงสุลฝรั่งเศสประจำท้องถิ่นทราบล่วงหน้า
(๓)ในศาลชั้นต้นในคดีที่คนในสังกัดชาติฝรั่งเศสเป็นคู่ความ กงสุลหรือไวซกงสุลมีสิทธิจะเข้าไปอยู่ด้วยในเวลาพิจารณาคดีได้ หรือแต่งให้ผู้แทนเข้ามานั่งฟังการพิจารณาก็ได้[1]
(๔)ในศาลชั้นต้น คดีที่จำเลยหรือผู้ต้องหาเป็นคนสังกัดชาติฝรั่งเศสนั้น พนักงานทูตและพนักงานกงสุลฝรั่งเศสพึงดำเนินสิทธิถอนคดีไปพิจารณาเสียเองได้
- ↑ ดูโปรโตโคลว่าด้วยอำนาจศาลกับประเทศฝรั่งเศส ข้อ ๔ วรรค ๒